Jump to content


Photo
- - - - -

300 ทำไม 420 ต่อวันไปเลย


  • Please log in to reply
127 ความเห็นในกระทู้นี้

#101 Leeporter ขี้แพ้

Leeporter ขี้แพ้

    ขาประจำ

  • Banned
  • PipPipPip
  • 1,493 posts

ตอบ 14 เมษายน พ.ศ. 2556 - 19:15

 

คสรท.ชี้ของแพงดันค่าจ้างแท้จริง421บ./วัน

 

ประธาน คสรท. เผย เอกชนกว่า 200 แห่ง ใช้เทคนิคไม่ขึ้นค่าจ้าง 300 บาท ด้าน ลูกจ้าง โอด ของแพง ชี้ ค่าแรงเหมาะสม 421 บาท

นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย หรือ คสรท. เปิดเผยว่า แม้รัฐบาลจะประกาศ ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน

แต่ ขณะนี้ก็ยังพบว่ามีเอกชนกว่า 200 แห่ง ยังไม่ดำเนินการปรับขึ้นค่าจ้างให้กับผู้ใช้แรงงาน โดยบางแห่งมีการใช้เทคนิคหลบเลี่ยงที่จะไม่จ่าย จึงอยากเรียกร้องให้เอกชนปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาลที่ได้ประกาศไว้

ทั้ง นี้ มองว่าด้วยสภาพเศรษฐกิจและค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ค่าจ้าง 300 บาท ที่ผู้ใช้แรงงานได้รับนั้นมีจำนวนไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพในปัจจุบัน โดยผลการศึกษาล่าสุด ชี้ชัดว่า ค่าจ้างที่เหมาะสมคือ 421 บาทต่อวัน ซึ่งจากเดิม 348 บาทต่อวัน

 

จาก INN

 

 

ผมว่าน่าจะสักวันละ 1.200 ถ้าจะให้ดีมันต้องวันละ 2.500 ต่อวัน

ผมกำลังมองวิธีคิดแบบขาข้างเดียว

 

เก้าอี้ค่าแรง มี 3 ขาคือ รัฐ นายจ้าง ลูกจ้าง

 

รัฐเอาใจลูกจ้างเพื่อคะแนนเสียง ดังนั้น 3 ขาก็เหลือ 2 ขา

เมื่อลูกจ้างรู้ว่าตัวเองมีอะไร พวกเขาก็เริ่มกระทำการบีบภาครัฐ  ผมกล้าพูดว่า 1 พค วันแรงงานเรื่องนี้จะถูกหยิบขึ้นมา

 

ผมไม่แน่ใจว่าภาครัฐจะเอาไง  เพราะก่อนหน้านี้สัญญาว่าขึ้น 300 แล้ว 2 ปีจะไม่ขึ้นอีก 

 

แต่การเสนอขึ้นถึง 50 %

 

ผมนึกถึงปมอเล็คซานเดอร์  ที่ไม่มีใครแก้ได้  อเล็ดซานเดอร์ใช่ดาบตัด แล้วได้รับการยกย่องว่าฉลาดเก่ง เป็นมหาราช

 

ทั้งๆที่เชือกที่ถูกขมวดปมสั้นลง และการต่อมันต้องผูกปมใหม่  แท้จริงมหาราชท่านนั้นก็ถูกคนใกล้ชิดฆ่าตาย

 

การแก้ปัญหาด้วยปม ปมใหม่  ไม่มีอะไรนอกจากปัญหาที่รออยู่และใหญ่กว่าเดิม

 

 

 

พูดไปเรื่อยเปื่อย
 
เก้าอี 3 ขาที่คุณว่าหน่ะ ขาหนึ่งคือขาลูกจ้างมันสั้นกว่า 2 ขาที่เหลือมานานแล้วครับ
มันได้เวลาทำให้ขาทั้ง 3 มันเท่ากัน
 
ผมเห็นการศึกษาทุกแห่ง แม้แต่ของ TDRI เขาก็สรุปตรงกันว่า "ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา อัตราค่าจ้างขั้นต่ำสำหรับแรงงานไทยยังไม่เหมาะสมกับค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น  ยังมีแรงงานที่ไม่ได้รับค่าจ้างขั้นต่ำมากกว่า 4 ล้านคนในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ความไม่สมดุลดังกล่าวเป็นเครื่องบ่งชี้ว่า การคุ้มครองแรงงานยังครอบคลุมไม่ทั่วถึงที่จะทำให้แรงงานได้รับค่าจ้างสอดคล้องกับค่าครองชีพอีกเป็นจำนวนมากทั่วประเทศ ทำให้ฐานะทางเศรษฐกิจของแรงงานตกต่ำเสี่ยงต่อความยากจนและภาระหนี้สิน"
 
ปัญหาคือพอเราจะทำให้ขาลูกจ้างมันยาวเท่าอีก 2 ขา ขานายจ้างมันก็ต้องแบกรับภาระเพิ่มขึ้น (จากเดิมช่วง 10 ปีที่ผ่านมาเราให้ขาลูกจ้างช่วยแบกรับภาระ และเปลี่ยนภาระหนี้สินของลูกจ้างเป็นกำไรของนายจ้างจนทุกคนเคยชิน คิดว่ามันเป็นเรื่องปกติ ) นายจ้างก็ย่อมต้องได้รับผลกระทบแน่ 
การศึกษาทุกแห่งก็บอกตรงกันว่านายจ้างต้องเพิ่มระดับผลิตภาพแรงงานให้สูงขึ้นอีกร้อยละ 8 – 10 ซึ่งไม่ใช่ด้วยวิธีการให้ลูกจ้างทำงานเร็วขึ้นด้วยมือร้อยละ 8 – 10 แต่นายจ้างต้องลงทุนด้านเทคโนโลยี/เครื่องจักร/เครื่องมือในการผลิตเพื่อเพิ่มระดับผลิตภาพตรงนั้น แล้วลดการจ้างงานลง ซึ่งการศึกษาเขาก็บอกแล้วว่าช่วงนี้เป็นช่วงที่เหมาะสมเพราะ "ตลาดแรงงานไทยกำลังขาดแคลนแรงงาน (ระดับล่าง) อย่างรุนแรง" ซึ่งจะช่วยบรรเทาปํญหาการว่างงานได้ในระดับหนึ่งอยู่แล้ว
 
สรุปคือ
1) แรงงานได้รับค่าแรงต่ำกว่าที่ควรจะเป็นมานานนับทศวรรษ จึงสมควรปรับค่าแรงให้สอดคล้องกับภาวะค่าครองชีพ
2) นายจ้างมีหน้าที่ในการเพิ่มผลิตภาพ ไม่ใช่หน้าที่ของแรงงาน แต่ในช่วง 10-20 ปีที่ผ่านมา นายจ้างเลือกใช้วิธีเอาแรงงานถูกมาใช้งานแทนการลงทุนในเทคโนโลยี/เครื่องจักร/เครื่องมือ จึงได้เวลาแล้วที่นายจ้างจะต้องเปลี่ยน และต้องเปลี่ยนให้เร็วด้วย เพราะสถานะทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในช่วงนี้ถือว่ายังแข็งแรง และอัตราการว่างงานต่ำมากๆ
3) จากนั้นก็จะต้องเพิ่มผลตอบแทนในส่วนของเกษตรกรซึ่งเป็นฐานของปิรามิด และการปรับเงินเดือนในส่วนของลูกจ้างเงินเดือนให้เป็น 15,000 ขึ้นไป ซึ่งสินค้าต่างๆ ในประเทศก็จะมีราคาสูงขึ้น แต่กำลังซื้อของคนในระดับล่างก็จะเพิ่มขึ้นไปด้วย


#102 buddyart

buddyart

    น้องใหม่

  • Members
  • Pip
  • 21 posts

ตอบ 14 เมษายน พ.ศ. 2556 - 19:24

การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำนั้นถามว่าดีใหม ตอบได้เลยว่าดีครับ แต่มันต้องไปพร้อมกับองค์ประกอบส่วนอื่นๆด้วย เช่น สวัสดิ์การสังคม ปัญหาราคาสินค้าแพง ค่าครองชีพ หรืออื่นๆอีกมากมายที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ของคนทั่วไป ผมแปลกใจที่ทำไมเรียกร้องจังกับภาคเอกชนให้ดำเนินการตามนโยบายของรัฐ ในขณะที่รัฐหรือผู้ที่ออกนโยบายกลับไม่รับผิดชอบอะไรเลย เห็นข่าวแว่วๆว่าจะคอยดูว่ามีผลกระทบหรือไม่ และเตรียมหามาตรการช่วยเหลือ คำถามคือรอให้ภาคเอกชนเจ๊งไปเท่าไหร่ ถึงออกมาตราการมาช่วยเหลือครับ แล้วจะมาช่วยคนที่เจ๊งไปแล้วอย่างไร ในเมื่อบริษัทมันเจ๊งไปแล้ว...อันนี้งง....

นโยบายนี้ส่งผลกระทบโดยตรงกับ SME  ขนาดเล็กครับ แน่นอนว่ามีทั้งบริษัทที่เอาเปรียบและไม่เอาเปรียบแรงงาน แต่ผลกระทบนี้มันไม่ได้เลือกนี่ครับว่า SME นี้เป็น SME ที่ดีนะ งั้นไม่เจ๊ง ส่วน SME ที่เอาเปรียบก็เจ๊งไป (ขนาด SME ที่เอาเปรียบยังเจ๊ง แล้วประสาอะไรกับ SME ที่ไม่เอาเปรียบครับ) บริษัทที่จะอยู่รอดก็บริษัทที่มีสายป่าน มีฐานการเงินที่ดี หรือบริษัทขนาดใหญ่เท่านั้นที่สามารถปรับตัวหรือหาแนวทางแก้ใขปัญหาได้ / ตกลงคือจะให้ประเทศนี้มีแต่บริษัทประเภทนี้ใช่ใหมครับ พวก Home Office หรือธุรกิจภาคเครือเรือนก็ให้มันตายๆไปให้หมดใช่ใหม?


ต่อครับ มีสิ่งต่างๆที่ภาครัฐ หรือโดยเฉพาะรัฐบาล (ผมเจาะจงที่พรรคเพื่อไทย เพราะมีเสียงข้างมากในรัฐสภา) ควรทำกับพี่น้องผุ้แรงงานกับเช่นกฎหมายประกันสังคมที่ภาคแรงงานพยายามเสนอเข้าไปในสภา อันนี้เป็นประโยชน์โดยตรงกับผู้ใช้แรงงาน แต่กลับถูกตีตกไป...คำถามคือไหงไม่ไปเรียกร้องเรื่องอย่างนี้กันครับ

 

เรื่องค่าแรงไม่ว่าจะ 300 หรือป.ตรี 15000 ผมว่าบริษัทหรือ SME ต่างๆที่จ้างแรงงานที่มีฝีมือจ้างแพงกว่านี้มากครับ หรือหากแรงงานเองทำงานในบริษัทที่ตัวเองคิดว่าถูกเอาเปรียบก็สามารถที่จะหาบริษัทใหม่ได้อยู่แล้ว แต่การปรับฐานแบบนี้คือมีฝีมือไม่มีฝีมือไม่สน ตั้งใจหรือไม่ตั้งใจทำงานไม่สน ทำงานไปวันๆก็ได้ค่าแรง 300 หรือโดยเฉพาะป.ตรี จบมาเกรด 1 กว่า ทำงานอะไรไม่เป็นเลยก็ได้ 15000 ถามว่ามันแฟร์แล้วเหรอครับ! (เด็กจบใหม่มาเก่งๆ เงินเดือนสองสามหมื่นก็มีครับ) 

ผมถึงบอกว่าปรับได้แต่มันต้องทำควบคู่กันไปในส่วนอื่นๆด้วย ไม่ใช่ปรับค่าแรงเสร็จ ต้องตามไปแก้ปัญหา SME ปิดตัว พอแก้ปัญหา SME ปิดตัวเสร็จก็ไปแก้ปัญหาของแพง พอแก้ปัญหาของแพงเสร็จก็ไปแก้ปัญหาค่าครองชีพ แล้วมันก็จะวนๆไปอยู่อย่างนี้ไม่จบหรอกครับ



#103 HiddenMan

HiddenMan

    Long Live The King

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 12,023 posts

ตอบ 14 เมษายน พ.ศ. 2556 - 19:50

:D งานวิจัยที่ไม่เห็นด้วยกับการขึ้นทันทีก็ม๊นะ...


“Live as if you were to die tomorrow. Learn as if you were to live forever.”  - Mahatma Gandhi

 

สนใจบ้านพักคนชราเสรีไทย (FB Secret Group) ติดต่อ (PM) เว็บบอร์ด

https://www.facebook...denman.serithai


#104 คนดี

คนดี

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 251 posts

ตอบ 14 เมษายน พ.ศ. 2556 - 19:52

ถามว่าจ่ายได้ไหม. 300 บาท ก็ต้องดูที่งานด้วย เช่นคนพม่า. เขมร ลาว.ทำงานก่อสร้าง เขาไม่มีความรู้ในเรื่องงาน.ไม่ได้ฝึกฝนเรียนรู้มา สื่อสารลำบาก งานที่ออกมาแย่ไม่มีคุณภาพ. ครั้งต่อไปก็ไม่มีคนจ้างบริษัทของคุณไปทำงาน อย่างคนไทยทำงานบ้าน ทำความสะอาดคอนโดหาก็ยาก เกียงว่าทำงานหนักค่าแรง 300 ไม่พอ แต่เรียนจบแค่ ป.4-ป6 แต่ค่าใช้จ่ายไม่พอแน่นอน ข้าวแกง 45 ก๋วยเตี๋ยว 50 ค่ารถ นำ้ เช่า มันไม่พอหรอก. ถ้าขึ้น420ต่อวัน พอแน่แต่อาหารเครื่องใช้สอยประจำบ้านเขาก็ขึ้นตามอีกเป็นอยู่อย่างนี้.

#105 sigree

sigree

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 10,883 posts

ตอบ 14 เมษายน พ.ศ. 2556 - 20:07

:D งานวิจัยที่ไม่เห็นด้วยกับการขึ้นทันทีก็ม๊นะ...

ครับถุกแล้ว

 

การทำอะไรแบบทำทันทีนั้น  เหมือนเทน้ำร้อนลงแก้วที่เย็นจัด  แก้วอาจร้าวและแตกได้

 

สมดุลระหว่างทุกอย่างเป็นเรื่องดี พูดกันมานาน 

แต่ไม่มีใครเขาทำทันทีทันใดให้แก้วมันแตกหรอก  เพราะไม่มีใครรู้ว่าผลเลวร้ายจะลงที่ใคร



#106 HiddenMan

HiddenMan

    Long Live The King

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 12,023 posts

ตอบ 14 เมษายน พ.ศ. 2556 - 20:18

:D งานวิจัยที่ไม่เห็นด้วยกับการขึ้นทันทีก็ม๊นะ...

ครับถุกแล้ว

 

การทำอะไรแบบทำทันทีนั้น  เหมือนเทน้ำร้อนลงแก้วที่เย็นจัด  แก้วอาจร้าวและแตกได้

 

สมดุลระหว่างทุกอย่างเป็นเรื่องดี พูดกันมานาน 

แต่ไม่มีใครเขาทำทันทีทันใดให้แก้วมันแตกหรอก  เพราะไม่มีใครรู้ว่าผลเลวร้ายจะลงที่ใคร

 

อันนี้เป็นของธนาคารแห่งประเทศไทยครับ

 

http://www.bot.or.th...s/Labour300.pdf

 

การปรับตัวควรเป็นไปทั้ง 3 ด้านพร้อมๆกันตามที่คุณ sigree บอกไว้

 

ลูกจ้าง

ผู้จ้าง

รัฐบาล


“Live as if you were to die tomorrow. Learn as if you were to live forever.”  - Mahatma Gandhi

 

สนใจบ้านพักคนชราเสรีไทย (FB Secret Group) ติดต่อ (PM) เว็บบอร์ด

https://www.facebook...denman.serithai


#107 Leeporter ขี้แพ้

Leeporter ขี้แพ้

    ขาประจำ

  • Banned
  • PipPipPip
  • 1,493 posts

ตอบ 14 เมษายน พ.ศ. 2556 - 21:26

 

:D งานวิจัยที่ไม่เห็นด้วยกับการขึ้นทันทีก็ม๊นะ...

ครับถุกแล้ว

 

การทำอะไรแบบทำทันทีนั้น  เหมือนเทน้ำร้อนลงแก้วที่เย็นจัด  แก้วอาจร้าวและแตกได้

 

สมดุลระหว่างทุกอย่างเป็นเรื่องดี พูดกันมานาน 

แต่ไม่มีใครเขาทำทันทีทันใดให้แก้วมันแตกหรอก  เพราะไม่มีใครรู้ว่าผลเลวร้ายจะลงที่ใคร

 

อันนี้เป็นของธนาคารแห่งประเทศไทยครับ

 

http://www.bot.or.th...s/Labour300.pdf

 

การปรับตัวควรเป็นไปทั้ง 3 ด้านพร้อมๆกันตามที่คุณ sigree บอกไว้

 

ลูกจ้าง

ผู้จ้าง

รัฐบาล

 

 

 

ผมเข้าไปอ่านแล้วนะ มันก็ไม่เห็นจะมีอะไรต่างจากที่ผมโพสไว้ข้างบนเลย
 
 
"ตลาดแรงงานของไทยเป็นตลาดที่เน้นใช้แรงงานราคาถูก ส่วนหนึ่งมาจากโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่
ต้องพึ่งพาการส่งออกเป็นตัวขับเคลื่อน จึงต้องพยายามรักษาขีดความสามารถของการแข่งขันของสินค้าไทย โดย
มาเน้นการกดต้นทุนการผลิตให้ต่ าจากค่าแรงราคาถูก ประกอบกับการผลิตสินค้าส่งออกของไทยส่วนใหญ่เป็น
ประเภทรับจ้างผลิตตามแบบที่ลูกค้าก าหนด (Original Equipment Manufacturer หรือ OEM) สินค้าที่ผลิต
ออกมาจึงมีมูลค่าเพิ่มแก่คนไทยค่อนข้างน้อย ไม่ได้ช่วยพัฒนาผลิตภาพแรงงาน (Labour productivity) 
ตลอดจนนวัตกรรมและเทคโนโลยี่ทางการผลิตได้มากนัก จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ท าให้ประเทศไทยตกอยู่ในกับดักของ
ประเทศรายได้ปานกลาง (Middle Income Trap)"
 
 
....
 
"ซึ่งผลิตภาพของแรงงานในที่นี้วัดจาก Real GDP ต่อจำนวนการจ้างงาน ซึ่งจากการวิเคราะห์ตามเกณฑ์ดังกล่าว พบว่าขนาดของอัตราค่าจ้างขั้นต่าในปัจจุบันยังต่ ากว่าระดับที่เหมาะสม "
 
...
 
 
"โดยผล (Simulation results) จาก S2 และ S3 ช่วยให้เห็นถึงช่องทางการเยียวยาหากต้องการจะ
เพิ่มค่าแรงทันทีแบบก้าวกระโดดเช่นนี้ ก็ต้องเพิ่มผลิตภาพของแรงงานขึ้นอีกร้อยละ 8 หรือไม่ก็ต้องปรับปรุง
ประสิทธิภาพโดยรวมของการผลิตให้สูงขึ้นร้อยละ 2.5 หรือผสมผสานทั้งสองแนวทาง ซึ่งจะเป็นเรื่องดีต่อศักยภาพ
การผลิตและการแข่งขันของประเทศในระยะยาวต่อไป"
 
---
 
อันที่จริงมันก็เป็นเรื่องที่รู้กันทั่วไปอยู่แล้ว ไม่ใช่เรื่องใหม่
ปัญหาคือไอ้เรื่องการเพิ่มผลิตภาพขึ้นโดยการที่นายจ้างต้องลงทุนทางด้านเทคโนโลยี/เครื่องจักร/เครื่องมือนั้น มันพูดกันมานานกว่า 10 ปีแล้ว เรียกว่าพูดกันทุกปีมาตลอดเกือบ 20 ปีที่ผ่านมา แต่นายจ้างไม่ยอมลงทุนและรับความเสี่ยงในตรงนี้ เพราะเครื่องจักรมันลงทุนครั้งแรกเยอะ และไล่ออกไม่ได้
 
เก้าอีขาที่ 2 และ 3 ก็กดค่าจ้างเอาไว้ตลอด 10 กว่าปีที่เราเน้นการส่งออก และผัดผ่อนการลงทุนไปเรื่อยๆ พอเขาบอกว่าจะเอาจริงแล้วนะ ก็ออกมาบอกว่าให้ค่อยๆ ปรับขึ้นอีก ก็ไอ้ที่ผ่านมามันค่อยๆ ปรับขึ้นจนมันไม่ทันกับค่าครองชีพจนมันห่างกันมากมายเกินไปแล้ว คุณยังจะให้แรงงานเขารอจนอดตายหมดอย่างนั้นหรือ? มันก็ต้องปรับให้มันสอดคล้องกับค่าครองชีพเพื่อไม่ให้เขาตายก่อน 
 
ผมบอกแล้วว่ากำไรของนายจ้างที่ได้มาในช่วง 10-20 ปีที่ผ่านมานั้น มันมาจากภาระหนี้ของแรงงานที่เขาแบกรับแทนนายจ้าง
 
คุณต้องคืนเขาย้อนหลังด้วยซ้ำ ยังจะมาขอผ่อนเขาอีก

Edited by Leeporter ขี้แพ้, 14 เมษายน พ.ศ. 2556 - 21:29.


#108 พอล คุง

พอล คุง

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 11,014 posts

ตอบ 14 เมษายน พ.ศ. 2556 - 21:28

โอ้ยยยยยยยยยยยยย

 

น้ำ ๆ ๆ ๆ 


ถึงตรูจะเลวยังไง ตรูก้อไม่ได้ขายชาติ เหมือนเสื้อแดงว่ะ เข้าใจนะ

 


#109 HiddenMan

HiddenMan

    Long Live The King

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 12,023 posts

ตอบ 14 เมษายน พ.ศ. 2556 - 21:30

:lol:  :lol: ก็เลือกตัดมาแค่ส่วนที่ชอบ...

 

งานศึกษานี้ไม่ได้ปฏิเสธการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่า และเห็นว่าการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่าเป็นเรื่องจาเป็นและเร่งด่วน เนื่องจากค่าแรงขั้นต่ารายวันในปัจจุบันยังไม่เพียงพอต่อการดารงชีพตามเกณฑ์ของค่าใช้จ่ายตามอัตภาพและคุณภาพ รวมถึงเกณฑ์ในเรื่องของความเป็นธรรมในการจัดสรรผลประโยชน์ให้แก่แรงงานตามคุณค่าของน้าพักน้าแรงที่แรงงานใช้ อย่างไรก็ตาม การปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่าแบบก้าวกระโดดมีผลกระทบเชิงลบค่อนข้างรุนแรง เพราะจากการศึกษาพบว่าการขึ้นค่าจ้างขั้นต่าทีเดียวแบบก้าวกระโดดเป็น 300 บาทนี้ เปรียบเสมือน Supply shock อย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นในตลาดแรงงาน ซึ่งจะส่งผลต่อไปยังต้นทุนการผลิตอื่นๆ และความต้องการจ้างงาน


“Live as if you were to die tomorrow. Learn as if you were to live forever.”  - Mahatma Gandhi

 

สนใจบ้านพักคนชราเสรีไทย (FB Secret Group) ติดต่อ (PM) เว็บบอร์ด

https://www.facebook...denman.serithai


#110 Leeporter ขี้แพ้

Leeporter ขี้แพ้

    ขาประจำ

  • Banned
  • PipPipPip
  • 1,493 posts

ตอบ 14 เมษายน พ.ศ. 2556 - 21:37

:lol:  :lol: ก็เลือกตัดมาแค่ส่วนที่ชอบ...

 

งานศึกษานี้ไม่ได้ปฏิเสธการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่า และเห็นว่าการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่าเป็นเรื่องจาเป็นและเร่งด่วน เนื่องจากค่าแรงขั้นต่ารายวันในปัจจุบันยังไม่เพียงพอต่อการดารงชีพตามเกณฑ์ของค่าใช้จ่ายตามอัตภาพและคุณภาพ รวมถึงเกณฑ์ในเรื่องของความเป็นธรรมในการจัดสรรผลประโยชน์ให้แก่แรงงานตามคุณค่าของน้าพักน้าแรงที่แรงงานใช้ อย่างไรก็ตาม การปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่าแบบก้าวกระโดดมีผลกระทบเชิงลบค่อนข้างรุนแรง เพราะจากการศึกษาพบว่าการขึ้นค่าจ้างขั้นต่าทีเดียวแบบก้าวกระโดดเป็น 300 บาทนี้ เปรียบเสมือน Supply shock อย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นในตลาดแรงงาน ซึ่งจะส่งผลต่อไปยังต้นทุนการผลิตอื่นๆ และความต้องการจ้างงาน

 

 

ผมไม่ได้เลือกตัดนะ คุณอ่านเองก็เห็นแล้วว่าเขาบอกว่าการข้นค่าแรงเป็นเรื่องจำเป็นและเร่งด่วน แต่มันเกิดผลกระทบแน่ มันก็ต้องแก้ปัญหา

แต่ไม่ใช่บอกว่ามันเกิดผลกระทบแล้วค่อยๆ ปรับไปเรื่อยๆ ยังไงมันก็ไล่ค่าครองชีพไม่ทัน แรงงานเขาตายไปหมดก่อนแล้ว

คุณเข้าใจหรือเปล่า

 

เอาง่ายๆ นะ คุณให้ค่าแรงเขาน้อยกว่าที่เขาจะได้รับ เมื่อถึงเวลา คุณก็ต้องให้เขาเท่าที่เขาควรจะได้รับ ไม่ใช่บอกว่าคนอื่นจะเดือดร้อน ให้แรงงานกลุ่มนี้รอไปก่อนหรือค่อยๆ เพิ่ม มันไม่ยุติธรรมสำหรับเขา

 

ส่วนปัญหาของคนกลุ่มอื่นมันก็มีกระบวนการแก้ไขของเขาที่จะออกตามมาเพื่อยกระดับรายได้ของทั้งประเทศพร้อมกับค่าครองชีพที่จะสูงขึ้น แต่สุดท้ายแล้ว คนทั้งประเทศโดยเฉพาะกลุ้มเกษตรและแรงงานก็จะมีกำลังซื้อมากขึ้น ซึ่งมีความหมายเดียวกับจนน้อยลง


Edited by Leeporter ขี้แพ้, 14 เมษายน พ.ศ. 2556 - 21:37.


#111 คนดี

คนดี

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 251 posts

ตอบ 14 เมษายน พ.ศ. 2556 - 21:40

300บาทก็ไม่พอหรอกถ้าไม่ควบคุมราคาสินค้า. แบบไม่ต้องไว้หน้าใครพวกนายห้างคนมีจะกินทั้งหลายแล้ ชอบขึ้นราคาแข่งกับรัฐบาล กลัวตัวเองได้กำไรน้อย

#112 Leeporter ขี้แพ้

Leeporter ขี้แพ้

    ขาประจำ

  • Banned
  • PipPipPip
  • 1,493 posts

ตอบ 14 เมษายน พ.ศ. 2556 - 21:42

คุณเห็นที่ธปทเขียนเหรือเปล่าว่าการกดค่าแรงทำให้ประเทศไทยตกอยู่ในกับดักของประเทศรายได้ปานกลาง (Middle Income Trap)

 
เราไปกลัวค่าครองชีพที่สูงขึ้นเพราะเราเลือกดูเพียงบางรายการ แต่ไม่ได้ดูทั้งหมดที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน เราจึงกลัวการเพิ่มรายได้และค่าครองชีพ เราเลือกที่จะอยู่แบบรายได้น้อย ค่าครองชีพต่ำ แต่มันทำให้กำลังซื้อเราต่ำเกินกว่าที่ควรจะเป็น และเราก็เลยติดอยู่ตรงนี้มาหลายปีแล้วทั้งๆ ที่เราก็ไม่ได้ห่วยกว่ามาเลเซียเลย

Edited by Leeporter ขี้แพ้, 14 เมษายน พ.ศ. 2556 - 21:42.


#113 HiddenMan

HiddenMan

    Long Live The King

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 12,023 posts

ตอบ 14 เมษายน พ.ศ. 2556 - 21:42

:lol:  :lol: ก็เลือกตัดมาแค่ส่วนที่ชอบ...

 

งานศึกษานี้ไม่ได้ปฏิเสธการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่า และเห็นว่าการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่าเป็นเรื่องจาเป็นและเร่งด่วน เนื่องจากค่าแรงขั้นต่ารายวันในปัจจุบันยังไม่เพียงพอต่อการดารงชีพตามเกณฑ์ของค่าใช้จ่ายตามอัตภาพและคุณภาพ รวมถึงเกณฑ์ในเรื่องของความเป็นธรรมในการจัดสรรผลประโยชน์ให้แก่แรงงานตามคุณค่าของน้าพักน้าแรงที่แรงงานใช้ อย่างไรก็ตาม การปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่าแบบก้าวกระโดดมีผลกระทบเชิงลบค่อนข้างรุนแรง เพราะจากการศึกษาพบว่าการขึ้นค่าจ้างขั้นต่าทีเดียวแบบก้าวกระโดดเป็น 300 บาทนี้ เปรียบเสมือน Supply shock อย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นในตลาดแรงงาน ซึ่งจะส่งผลต่อไปยังต้นทุนการผลิตอื่นๆ และความต้องการจ้างงาน

 

 

ผมไม่ได้เลือกตัดนะ คุณอ่านเองก็เห็นแล้วว่าเขาบอกว่าการข้นค่าแรงเป็นเรื่องจำเป็นและเร่งด่วน แต่มันเกิดผลกระทบแน่ มันก็ต้องแก้ปัญหา

แต่ไม่ใช่บอกว่ามันเกิดผลกระทบแล้วค่อยๆ ปรับไปเรื่อยๆ ยังไงมันก็ไล่ค่าครองชีพไม่ทัน แรงงานเขาตายไปหมดก่อนแล้ว

คุณเข้าใจหรือเปล่า

 

เอาง่ายๆ นะ คุณให้ค่าแรงเขาน้อยกว่าที่เขาจะได้รับ เมื่อถึงเวลา คุณก็ต้องให้เขาเท่าที่เขาควรจะได้รับ ไม่ใช่บอกว่าคนอื่นจะเดือดร้อน ให้แรงงานกลุ่มนี้รอไปก่อนหรือค่อยๆ เพิ่ม มันไม่ยุติธรรมสำหรับเขา

 

ส่วนปัญหาของคนกลุ่มอื่นมันก็มีกระบวนการแก้ไขของเขาที่จะออกตามมาเพื่อยกระดับรายได้ของทั้งประเทศพร้อมกับค่าครองชีพที่จะสูงขึ้น แต่สุดท้ายแล้ว คนทั้งประเทศโดยเฉพาะกลุ้มเกษตรและแรงงานก็จะมีกำลังซื้อมากขึ้น ซึ่งมีความหมายเดียวกับจนน้อยลง

 

 

^_^ ผมอิงผลการศึกษา... มากกว่าความรู้สึกส่วนตัวครับ และก็ไม่ดูแค่มุมแรงงาน นายจ้าง หรือรัฐบาล เพียงด้านเดียว

 

 

ดังนั้น ข้อเสนอของทางเลือกในการปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่าและแนวทางการส่งเสริมพัฒนาแรงงานไทยควรเป็น ดังนี้
 
1. ทยอยปรับขึ้นค่าแรงอย่างเป็นขั้นเป็นตอน และให้มีความสอดคล้องกับภาวะตลาดและผลิตภาพของแรงงาน เพื่อให้เวลาแก่ทั้งฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างปรับตัว โดยฝ่ายนายจ้างควรหาแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตหรือตัดทอนต้นทุนด้านอื่น ขณะเดียวกันก็มีเวลาให้ลูกจ้างสามารถเพิ่มผลิตภาพหรือคุณภาพทางการผลิตของตนเอง โดยในขั้นแรกนี้ควรปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่าให้อย่างน้อยขึ้นมาอยู่ในระดับที่เพียงพอต่อการใช้จ่ายตามอัตภาพ ซึ่งในแต่ละจังหวัดอาจแตกต่างกันตามอัตราค่าครองชีพของในแต่ละจังหวัด
 
2. ภาครัฐจาเป็นต้องเข้ามาดูแลกระบวนการปรับค่าจ้างขั้นต่าผ่านทางคณะกรรมการค่าจ้าง คณะอนุกรรมการกาหนดค่าจ้างขั้นต่าจังหวัด และคณะอนุกรรมการวิชาการและกลั่นกรอง ที่ปัจจุบันภาครัฐก็เป็นหนึ่งในไตรภาคีของคณะกรรมการและอนุกรรมการเหล่านี้อยู่แล้ว โดยเน้นถึงผลิตภาพหรือฝีมือแรงงาน และความเป็นธรรมในการจัดสรรผลประโยชน์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างให้มากขึ้นในการกาหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่า
 
3. ปรับแนวคิด (Mind-set) ของทุกภาคส่วนในเรื่องแรงงานและค่าจ้าง ที่หวังพึ่งพาแรงงานราคาถูก (Cheap labour cost) เพื่อกดต้นทุนและรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทย โดยต้องมาเน้นในเรื่องคุณภาพหรือมูลค่าเพิ่มของสินค้าและความคุ้มค่าของสินค้า และให้ค่าจ้างเป็นกลไกที่จะจูงใจให้แรงงานหันมาปรับปรุงคุณภาพของตนเอง และทางานให้เต็มศักยภาพสมกับค่าจ้างที่สูงขึ้น ซึ่งจะสอดคล้องกับแนวนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจแบบสร้างสรรค์หรือ Creative economy ที่ต้องเน้นการเพิ่ม Value added ของสินค้าแทนการพึ่งพาแรงงานไร้ฝีมือราคาถูก
 
4. การเพิ่มผลิตภาพและคุณภาพของแรงงานโดยการเสริมสร้าง Knowledge society ให้แก่แรงงาน ปัจจุบันทางภาครัฐและนายจ้างได้มีการฝึกอบรมฝีมือและทักษะให้แก่แรงงาน แต่ยังมีข้อจากัดอยู่ เนื่องจากแรงงานต้องทางานล่วงเวลา (OT) เพื่อให้ได้เงินเพิ่มขึ้นเพียงพอต่อการใช้จ่ายหรือดูแลครอบครัว จึงเหนื่อยล้าและไม่มีเวลาเพียงพอสาหรับการเรียนรู้ในการสะสมความรู้ความชานาญ ดังนั้น การเพิ่มค่าจ้างจะช่วยให้รายได้ของแรงงานเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นช่องทางหนึ่งที่ช่วยให้แรงงานลดการทา OT ลงได้บ้าง และเอาเวลามาใช้กับการเรียนรู้ได้มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อคุณภาพแรงงานและเศรษฐกิจในระยะยาว
 
5. การเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวมของการผลิตสามารถทาโดยการปรับปรุงระบบขนส่งและ โลจิสติกส์ รวมทั้งการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจให้ดียิ่งขึ้น และเน้นใช้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมทางการผลิตใหม่ๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ต้องลงทุนในการคิดค้นและวิจัยให้มากขึ้น และนาเอาผลที่ได้มาปฏิบัติอย่างจริงจัง นอกจากนี้ การเพิ่มมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าหรือสร้างความแตกต่างของสินค้าเพื่อคงความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก หรือการขยายตลาดส่งออกเดิมหรือบุกเบิกตลาดใหม่ๆ ให้มากขึ้น จะช่วยเพิ่มอุปสงค์และรายได้เพื่อชดเชยผลของต้นทุนแรงงานที่เพิ่มขึ้นได้เช่นกัน
 
6. แนวทางที่ดีในการเพิ่มผลิตภาพแรงงานและประสิทธิภาพการผลิตควรต้องขับเคลื่อนควบคู่กันไปทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งตามตัวอย่างของงานศึกษานี้คือการเพิ่มผลิตภาพแรงงานและประสิทธิภาพการผลิต อย่างไรก็ตาม ในแนวทางปฎิบัตินั้นอาจมีต้นทุนและเวลาดาเนินการจนกว่าจะเห็นผลอาจแตกต่างกัน ซึ่งวิธีที่ดีคือวิธีการที่มีต้นทุนที่ต่าสุดและได้ประโยชน์สูงสุด และประโยชน์นั้นควรตกอยู่ในระยะยาวด้วย จึงต้องมีการวิเคราะห์เพิ่มเติมถึงแนวทางและรายจ่ายของแต่ละแนวทาง หรือใช้หลายๆ แนวทางร่วมกัน โดยอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลกระทบที่จะตกอยู่กับผู้ประกอบการในแต่ละสาขาการผลิต

“Live as if you were to die tomorrow. Learn as if you were to live forever.”  - Mahatma Gandhi

 

สนใจบ้านพักคนชราเสรีไทย (FB Secret Group) ติดต่อ (PM) เว็บบอร์ด

https://www.facebook...denman.serithai


#114 Leeporter ขี้แพ้

Leeporter ขี้แพ้

    ขาประจำ

  • Banned
  • PipPipPip
  • 1,493 posts

ตอบ 14 เมษายน พ.ศ. 2556 - 21:47

 

:lol:  :lol: ก็เลือกตัดมาแค่ส่วนที่ชอบ...

 

งานศึกษานี้ไม่ได้ปฏิเสธการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่า และเห็นว่าการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่าเป็นเรื่องจาเป็นและเร่งด่วน เนื่องจากค่าแรงขั้นต่ารายวันในปัจจุบันยังไม่เพียงพอต่อการดารงชีพตามเกณฑ์ของค่าใช้จ่ายตามอัตภาพและคุณภาพ รวมถึงเกณฑ์ในเรื่องของความเป็นธรรมในการจัดสรรผลประโยชน์ให้แก่แรงงานตามคุณค่าของน้าพักน้าแรงที่แรงงานใช้ อย่างไรก็ตาม การปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่าแบบก้าวกระโดดมีผลกระทบเชิงลบค่อนข้างรุนแรง เพราะจากการศึกษาพบว่าการขึ้นค่าจ้างขั้นต่าทีเดียวแบบก้าวกระโดดเป็น 300 บาทนี้ เปรียบเสมือน Supply shock อย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นในตลาดแรงงาน ซึ่งจะส่งผลต่อไปยังต้นทุนการผลิตอื่นๆ และความต้องการจ้างงาน

 

 

ผมไม่ได้เลือกตัดนะ คุณอ่านเองก็เห็นแล้วว่าเขาบอกว่าการข้นค่าแรงเป็นเรื่องจำเป็นและเร่งด่วน แต่มันเกิดผลกระทบแน่ มันก็ต้องแก้ปัญหา

แต่ไม่ใช่บอกว่ามันเกิดผลกระทบแล้วค่อยๆ ปรับไปเรื่อยๆ ยังไงมันก็ไล่ค่าครองชีพไม่ทัน แรงงานเขาตายไปหมดก่อนแล้ว

คุณเข้าใจหรือเปล่า

 

เอาง่ายๆ นะ คุณให้ค่าแรงเขาน้อยกว่าที่เขาจะได้รับ เมื่อถึงเวลา คุณก็ต้องให้เขาเท่าที่เขาควรจะได้รับ ไม่ใช่บอกว่าคนอื่นจะเดือดร้อน ให้แรงงานกลุ่มนี้รอไปก่อนหรือค่อยๆ เพิ่ม มันไม่ยุติธรรมสำหรับเขา

 

ส่วนปัญหาของคนกลุ่มอื่นมันก็มีกระบวนการแก้ไขของเขาที่จะออกตามมาเพื่อยกระดับรายได้ของทั้งประเทศพร้อมกับค่าครองชีพที่จะสูงขึ้น แต่สุดท้ายแล้ว คนทั้งประเทศโดยเฉพาะกลุ้มเกษตรและแรงงานก็จะมีกำลังซื้อมากขึ้น ซึ่งมีความหมายเดียวกับจนน้อยลง

 

 

^_^ ผมอิงผลการศึกษา... มากกว่าความรู้สึกส่วนตัวครับ และก็ไม่ดูแค่มุมแรงงาน นายจ้าง หรือรัฐบาล เพียงด้านเดียว

 

 

ดังนั้น ข้อเสนอของทางเลือกในการปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่าและแนวทางการส่งเสริมพัฒนาแรงงานไทยควรเป็น ดังนี้
 
1. ทยอยปรับขึ้นค่าแรงอย่างเป็นขั้นเป็นตอน และให้มีความสอดคล้องกับภาวะตลาดและผลิตภาพของแรงงาน เพื่อให้เวลาแก่ทั้งฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างปรับตัว โดยฝ่ายนายจ้างควรหาแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตหรือตัดทอนต้นทุนด้านอื่น ขณะเดียวกันก็มีเวลาให้ลูกจ้างสามารถเพิ่มผลิตภาพหรือคุณภาพทางการผลิตของตนเอง โดยในขั้นแรกนี้ควรปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่าให้อย่างน้อยขึ้นมาอยู่ในระดับที่เพียงพอต่อการใช้จ่ายตามอัตภาพ ซึ่งในแต่ละจังหวัดอาจแตกต่างกันตามอัตราค่าครองชีพของในแต่ละจังหวัด
 
2. ภาครัฐจาเป็นต้องเข้ามาดูแลกระบวนการปรับค่าจ้างขั้นต่าผ่านทางคณะกรรมการค่าจ้าง คณะอนุกรรมการกาหนดค่าจ้างขั้นต่าจังหวัด และคณะอนุกรรมการวิชาการและกลั่นกรอง ที่ปัจจุบันภาครัฐก็เป็นหนึ่งในไตรภาคีของคณะกรรมการและอนุกรรมการเหล่านี้อยู่แล้ว โดยเน้นถึงผลิตภาพหรือฝีมือแรงงาน และความเป็นธรรมในการจัดสรรผลประโยชน์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างให้มากขึ้นในการกาหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่า
 
3. ปรับแนวคิด (Mind-set) ของทุกภาคส่วนในเรื่องแรงงานและค่าจ้าง ที่หวังพึ่งพาแรงงานราคาถูก (Cheap labour cost) เพื่อกดต้นทุนและรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทย โดยต้องมาเน้นในเรื่องคุณภาพหรือมูลค่าเพิ่มของสินค้าและความคุ้มค่าของสินค้า และให้ค่าจ้างเป็นกลไกที่จะจูงใจให้แรงงานหันมาปรับปรุงคุณภาพของตนเอง และทางานให้เต็มศักยภาพสมกับค่าจ้างที่สูงขึ้น ซึ่งจะสอดคล้องกับแนวนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจแบบสร้างสรรค์หรือ Creative economy ที่ต้องเน้นการเพิ่ม Value added ของสินค้าแทนการพึ่งพาแรงงานไร้ฝีมือราคาถูก
 
4. การเพิ่มผลิตภาพและคุณภาพของแรงงานโดยการเสริมสร้าง Knowledge society ให้แก่แรงงาน ปัจจุบันทางภาครัฐและนายจ้างได้มีการฝึกอบรมฝีมือและทักษะให้แก่แรงงาน แต่ยังมีข้อจากัดอยู่ เนื่องจากแรงงานต้องทางานล่วงเวลา (OT) เพื่อให้ได้เงินเพิ่มขึ้นเพียงพอต่อการใช้จ่ายหรือดูแลครอบครัว จึงเหนื่อยล้าและไม่มีเวลาเพียงพอสาหรับการเรียนรู้ในการสะสมความรู้ความชานาญ ดังนั้น การเพิ่มค่าจ้างจะช่วยให้รายได้ของแรงงานเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นช่องทางหนึ่งที่ช่วยให้แรงงานลดการทา OT ลงได้บ้าง และเอาเวลามาใช้กับการเรียนรู้ได้มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อคุณภาพแรงงานและเศรษฐกิจในระยะยาว
 
5. การเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวมของการผลิตสามารถทาโดยการปรับปรุงระบบขนส่งและ โลจิสติกส์ รวมทั้งการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจให้ดียิ่งขึ้น และเน้นใช้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมทางการผลิตใหม่ๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ต้องลงทุนในการคิดค้นและวิจัยให้มากขึ้น และนาเอาผลที่ได้มาปฏิบัติอย่างจริงจัง นอกจากนี้ การเพิ่มมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าหรือสร้างความแตกต่างของสินค้าเพื่อคงความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก หรือการขยายตลาดส่งออกเดิมหรือบุกเบิกตลาดใหม่ๆ ให้มากขึ้น จะช่วยเพิ่มอุปสงค์และรายได้เพื่อชดเชยผลของต้นทุนแรงงานที่เพิ่มขึ้นได้เช่นกัน
 
6. แนวทางที่ดีในการเพิ่มผลิตภาพแรงงานและประสิทธิภาพการผลิตควรต้องขับเคลื่อนควบคู่กันไปทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งตามตัวอย่างของงานศึกษานี้คือการเพิ่มผลิตภาพแรงงานและประสิทธิภาพการผลิต อย่างไรก็ตาม ในแนวทางปฎิบัตินั้นอาจมีต้นทุนและเวลาดาเนินการจนกว่าจะเห็นผลอาจแตกต่างกัน ซึ่งวิธีที่ดีคือวิธีการที่มีต้นทุนที่ต่าสุดและได้ประโยชน์สูงสุด และประโยชน์นั้นควรตกอยู่ในระยะยาวด้วย จึงต้องมีการวิเคราะห์เพิ่มเติมถึงแนวทางและรายจ่ายของแต่ละแนวทาง หรือใช้หลายๆ แนวทางร่วมกัน โดยอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลกระทบที่จะตกอยู่กับผู้ประกอบการในแต่ละสาขาการผลิต

 

 

ผมถามคุณว่า 2 ปีที่ผ่านมานายจ้างมีการขยับตัวอย่างไรบ้างในการเพิ่มผลิตภาพ?

นายจ้างที่เขาตั้งใจจริงเขาก็ปรับตัวไปเรียบร้อยแล้ว เหลือแต่ไอ้พวกที่ปล่อย 2 ปีที่ผ่านมาไปเปล่าๆ นั่งงอมืองอเท้ารอรัฐบาลเปลี่ยนนโยบาย

2 ปีที่ผ่านมามันยังไม่เรียกว่าค่อยๆ ปรับอีกหรือ? 

 

อันที่จริงเขารู้ตัวมาตั้งแต่ 10 ปีที่แล้ว แต่ไม่ยอมขยับตูด

ถามว่าเพราะอะไร?


Edited by Leeporter ขี้แพ้, 14 เมษายน พ.ศ. 2556 - 21:48.


#115 Leeporter ขี้แพ้

Leeporter ขี้แพ้

    ขาประจำ

  • Banned
  • PipPipPip
  • 1,493 posts

ตอบ 14 เมษายน พ.ศ. 2556 - 21:55

 

:D งานวิจัยที่ไม่เห็นด้วยกับการขึ้นทันทีก็ม๊นะ...

ครับถุกแล้ว

 

การทำอะไรแบบทำทันทีนั้น  เหมือนเทน้ำร้อนลงแก้วที่เย็นจัด  แก้วอาจร้าวและแตกได้

 

สมดุลระหว่างทุกอย่างเป็นเรื่องดี พูดกันมานาน 

แต่ไม่มีใครเขาทำทันทีทันใดให้แก้วมันแตกหรอก  เพราะไม่มีใครรู้ว่าผลเลวร้ายจะลงที่ใคร

 

อันนี้เป็นของธนาคารแห่งประเทศไทยครับ

 

http://www.bot.or.th...s/Labour300.pdf

 

การปรับตัวควรเป็นไปทั้ง 3 ด้านพร้อมๆกันตามที่คุณ sigree บอกไว้

 

ลูกจ้าง

ผู้จ้าง

รัฐบาล

 

 

อีกอย่างนะ

ผมคิดว่า simulation ที่ทำมัน "สมมติให้ปัจจัยอื่นในระบบเศรษฐกิจไม่เปลี่ยนแปลง"

ดังนั้นมันละเลยกำลังซื้อของแรงงานที่ได้รับค่าแรงเพิ่มขึ้น

ละเลยเงินเดือนที่จะปรับเพิ่มขึ้นตามมา

และละเลยปัจจัยการเพิ่มขึ้นของผลตอบแทนของเกษตรกรในโครงการต่างๆ ที่จะเป็นการเพิ่มรายได้และกำลังซื้อของเกษตรกร

ทั้ง 3 อันนั้นมันเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศมหาศาล

 

แต่ simulation เขามองแต่ปัจจัยลบว่ามันมีผลในเชิงลบจากการขึ้นค่าแรงเท่าใด แต่ไม่คิดถึงผลในเชิงบวกจากกำลังซื้อภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น

 

พูดง่ายๆ ก็คือ simulator มันมองแต่ด้านลบ ไม่มองด้านบวกเลย

 

หรือผมเข้าใจผิด?


Edited by Leeporter ขี้แพ้, 14 เมษายน พ.ศ. 2556 - 22:16.


#116 HiddenMan

HiddenMan

    Long Live The King

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 12,023 posts

ตอบ 14 เมษายน พ.ศ. 2556 - 21:59

^_^

 

นายจ้างที่ขยับก็มี ไม่ขยับก็มี ขยับไม่ทัน หรือขยับไม่ได้ก็มี

ผลกระทบมันเกิดกับนายจ้างแบบไหนล่ะ? เล็ก กลาง ใหญ่?

 

พวกที่ไม่ขยับเพราะเห็นแก่ตัวก็มี

ไม่ขยับเพราะ ขยับไม่ได้ก็มี จะด้วยสภาพเศรษฐกิจ ตัวสินค้า หรือเหตุบ้านการเมือง

พวกที่เพิ่งเริ่มกิจการก็มี คิดว่านายจ้างเป็นผู้มีอันจะกิน ที่จะทุ่มเงินได้ไม่อั้นหรือไง

 

แล้วที่เหลือขยับยังไงบ้าง?

รัฐบาลผู้รู้ตัวกลุ่มแรกสุด ขยับตัวอย่างไร? เร็ว ช้า ช่วย หรือถ่วง

นโยบายที่ออกมาตรงจุดหรือไม่ รับฟัง Feedback กลับไปบ้างหรือไม่

 

แรงงานล่ะพัฒนาตัวเองขึ้นบ้างหรือไม่ แรงงานที่เอาเปรียบนายจ้างล่ะมีมั๊ย

ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพแล้วหรอ... ยังอู้งานเวลาประจำ เพื่อทำโอทีอยู่หรือไม่

 

ผมไม่คัดค้านการเพิ่มค่าแรงให้กับแรงงานเลยสักนิด ถ้ามันสมเหตุสมผลกับทั้งนายจ้างและลูกจ้าง


Edited by HiddenMan, 14 เมษายน พ.ศ. 2556 - 22:00.

“Live as if you were to die tomorrow. Learn as if you were to live forever.”  - Mahatma Gandhi

 

สนใจบ้านพักคนชราเสรีไทย (FB Secret Group) ติดต่อ (PM) เว็บบอร์ด

https://www.facebook...denman.serithai


#117 Leeporter ขี้แพ้

Leeporter ขี้แพ้

    ขาประจำ

  • Banned
  • PipPipPip
  • 1,493 posts

ตอบ 14 เมษายน พ.ศ. 2556 - 22:05

^_^

 

นายจ้างที่ขยับก็มี ไม่ขยับก็มี ขยับไม่ทัน หรือขยับไม่ได้ก็มี

ผลกระทบมันเกิดกับนายจ้างแบบไหนล่ะ? เล็ก กลาง ใหญ่?

 

พวกที่ไม่ขยับเพราะเห็นแก่ตัวก็มี

ไม่ขยับเพราะ ขยับไม่ได้ก็มี จะด้วยสภาพเศรษฐกิจ ตัวสินค้า หรือเหตุบ้านการเมือง

พวกที่เพิ่งเริ่มกิจการก็มี คิดว่านายจ้างเป็นผู้มีอันจะกิน ที่จะทุ่มเงินได้ไม่อั้นหรือไง

 

แล้วที่เหลือขยับยังไงบ้าง?

รัฐบาลผู้รู้ตัวกลุ่มแรกสุด ขยับตัวอย่างไร? เร็ว ช้า ช่วย หรือถ่วง

นโยบายที่ออกมาตรงจุดหรือไม่ รับฟัง Feedback กลับไปบ้างหรือไม่

 

แรงงานล่ะพัฒนาตัวเองขึ้นบ้างหรือไม่ แรงงานที่เอาเปรียบนายจ้างล่ะมีมั๊ย

ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพแล้วหรอ... ยังอู้งานเวลาประจำ เพื่อทำโอทีอยู่หรือไม่

 

ผมไม่คัดค้านการเพิ่มค่าแรงให้กับแรงงานเลยสักนิด ถ้ามันสมเหตุสมผลกับทั้งนายจ้างและลูกจ้าง

 

 

มันไม่สมเหตุสมผลตรงไหนครับ

คุณก็อ่านแล้วว่ามันเป็นเรื่องที่เหมาะสมและจำเป็นเร่งด่วน

ที่จริงมันควรจะเป็น 500 บาทเสียด้วยซ้ำตามความเห็นของผม

คุณไปอ้างแรงงานที่อู้งาน ทำงานไม่เป็น

เขาชอบอู้งาน ทำงานไม่เป็นก็ไม่ต้องจ้างเขาสิครับ ไปจ้างคนที่ขยันทำงานและมีความรู้ทักษะที่เหมาะสมกับงานของคุณ

แต่ที่ผ่านมามันเพราะนายจ้างไปจ้างแรงงานถูกๆ ไม่มีคุณภาพ แต่จ้างเพราะค่าแรงถูกเท่านั้น

แม้แต่แรงงานพม่า เขมร ที่ทำงานไม่ได้เรื่องก็ยังไปจ้างเพียงเพราะค่าแรงมันถูก

ใช่หรือไม่?



#118 Bookmarks

Bookmarks

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 33,617 posts

ตอบ 14 เมษายน พ.ศ. 2556 - 22:26

^_^

 

นายจ้างที่ขยับก็มี ไม่ขยับก็มี ขยับไม่ทัน หรือขยับไม่ได้ก็มี

ผลกระทบมันเกิดกับนายจ้างแบบไหนล่ะ? เล็ก กลาง ใหญ่?

 

พวกที่ไม่ขยับเพราะเห็นแก่ตัวก็มี

ไม่ขยับเพราะ ขยับไม่ได้ก็มี จะด้วยสภาพเศรษฐกิจ ตัวสินค้า หรือเหตุบ้านการเมือง

พวกที่เพิ่งเริ่มกิจการก็มี คิดว่านายจ้างเป็นผู้มีอันจะกิน ที่จะทุ่มเงินได้ไม่อั้นหรือไง

 

แล้วที่เหลือขยับยังไงบ้าง?

รัฐบาลผู้รู้ตัวกลุ่มแรกสุด ขยับตัวอย่างไร? เร็ว ช้า ช่วย หรือถ่วง

นโยบายที่ออกมาตรงจุดหรือไม่ รับฟัง Feedback กลับไปบ้างหรือไม่

 

แรงงานล่ะพัฒนาตัวเองขึ้นบ้างหรือไม่ แรงงานที่เอาเปรียบนายจ้างล่ะมีมั๊ย

ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพแล้วหรอ... ยังอู้งานเวลาประจำ เพื่อทำโอทีอยู่หรือไม่

 

ผมไม่คัดค้านการเพิ่มค่าแรงให้กับแรงงานเลยสักนิด ถ้ามันสมเหตุสมผลกับทั้งนายจ้างและลูกจ้าง

 

 

มันไม่สมเหตุสมผลตรงไหนครับ

คุณก็อ่านแล้วว่ามันเป็นเรื่องที่เหมาะสมและจำเป็นเร่งด่วน

ที่จริงมันควรจะเป็น 500 บาทเสียด้วยซ้ำตามความเห็นของผม

คุณไปอ้างแรงงานที่อู้งาน ทำงานไม่เป็น

เขาชอบอู้งาน ทำงานไม่เป็นก็ไม่ต้องจ้างเขาสิครับ ไปจ้างคนที่ขยันทำงานและมีความรู้ทักษะที่เหมาะสมกับงานของคุณ

แต่ที่ผ่านมามันเพราะนายจ้างไปจ้างแรงงานถูกๆ ไม่มีคุณภาพ แต่จ้างเพราะค่าแรงถูกเท่านั้น

แม้แต่แรงงานพม่า เขมร ที่ทำงานไม่ได้เรื่องก็ยังไปจ้างเพียงเพราะค่าแรงมันถูก

ใช่หรือไม่?

พูดเหมือนคนไม่เคยเป็นเจ้าของกิจการ เลยมองตื้นๆ ถามว่า คุณรับสมัครพนักงาน คุณรู้ได้ไงว่า คนที่คุณรับมาทำงาน ทำงานได้ตามที่เค้าบอกตอนสัมภาษณ์ 



#119 Leeporter ขี้แพ้

Leeporter ขี้แพ้

    ขาประจำ

  • Banned
  • PipPipPip
  • 1,493 posts

ตอบ 14 เมษายน พ.ศ. 2556 - 22:31

 

^_^

 

นายจ้างที่ขยับก็มี ไม่ขยับก็มี ขยับไม่ทัน หรือขยับไม่ได้ก็มี

ผลกระทบมันเกิดกับนายจ้างแบบไหนล่ะ? เล็ก กลาง ใหญ่?

 

พวกที่ไม่ขยับเพราะเห็นแก่ตัวก็มี

ไม่ขยับเพราะ ขยับไม่ได้ก็มี จะด้วยสภาพเศรษฐกิจ ตัวสินค้า หรือเหตุบ้านการเมือง

พวกที่เพิ่งเริ่มกิจการก็มี คิดว่านายจ้างเป็นผู้มีอันจะกิน ที่จะทุ่มเงินได้ไม่อั้นหรือไง

 

แล้วที่เหลือขยับยังไงบ้าง?

รัฐบาลผู้รู้ตัวกลุ่มแรกสุด ขยับตัวอย่างไร? เร็ว ช้า ช่วย หรือถ่วง

นโยบายที่ออกมาตรงจุดหรือไม่ รับฟัง Feedback กลับไปบ้างหรือไม่

 

แรงงานล่ะพัฒนาตัวเองขึ้นบ้างหรือไม่ แรงงานที่เอาเปรียบนายจ้างล่ะมีมั๊ย

ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพแล้วหรอ... ยังอู้งานเวลาประจำ เพื่อทำโอทีอยู่หรือไม่

 

ผมไม่คัดค้านการเพิ่มค่าแรงให้กับแรงงานเลยสักนิด ถ้ามันสมเหตุสมผลกับทั้งนายจ้างและลูกจ้าง

 

 

มันไม่สมเหตุสมผลตรงไหนครับ

คุณก็อ่านแล้วว่ามันเป็นเรื่องที่เหมาะสมและจำเป็นเร่งด่วน

ที่จริงมันควรจะเป็น 500 บาทเสียด้วยซ้ำตามความเห็นของผม

คุณไปอ้างแรงงานที่อู้งาน ทำงานไม่เป็น

เขาชอบอู้งาน ทำงานไม่เป็นก็ไม่ต้องจ้างเขาสิครับ ไปจ้างคนที่ขยันทำงานและมีความรู้ทักษะที่เหมาะสมกับงานของคุณ

แต่ที่ผ่านมามันเพราะนายจ้างไปจ้างแรงงานถูกๆ ไม่มีคุณภาพ แต่จ้างเพราะค่าแรงถูกเท่านั้น

แม้แต่แรงงานพม่า เขมร ที่ทำงานไม่ได้เรื่องก็ยังไปจ้างเพียงเพราะค่าแรงมันถูก

ใช่หรือไม่?

พูดเหมือนคนไม่เคยเป็นเจ้าของกิจการ เลยมองตื้นๆ ถามว่า คุณรับสมัครพนักงาน คุณรู้ได้ไงว่า คนที่คุณรับมาทำงาน ทำงานได้ตามที่เค้าบอกตอนสัมภาษณ์ 

 

 

 

ตลกนะครับ คุณบอกว่าธุรกิจคุณไม่มีระบบคัดกรองพนักงานที่เหมาะสม จึงเป็นเหตุผลที่คุณไม่ควรจ่ายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทเนื่องจากคุณไม่รู้ว่าพนักงานที่คุณจะรับเข้ามาเขาทำงานเป็นหรือไม่เป็น
 
มันเป็นเหตุผลที่ถูกต้องหรือ?
 
ถ้าธุรกิจเป็นแบบคุณทั้งประเทศก็ปล่อยให้มันเจ๊งไปเถอะ


#120 HiddenMan

HiddenMan

    Long Live The King

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 12,023 posts

ตอบ 14 เมษายน พ.ศ. 2556 - 22:57

^_^

 

นายจ้างที่ขยับก็มี ไม่ขยับก็มี ขยับไม่ทัน หรือขยับไม่ได้ก็มี

ผลกระทบมันเกิดกับนายจ้างแบบไหนล่ะ? เล็ก กลาง ใหญ่?

 

พวกที่ไม่ขยับเพราะเห็นแก่ตัวก็มี

ไม่ขยับเพราะ ขยับไม่ได้ก็มี จะด้วยสภาพเศรษฐกิจ ตัวสินค้า หรือเหตุบ้านการเมือง

พวกที่เพิ่งเริ่มกิจการก็มี คิดว่านายจ้างเป็นผู้มีอันจะกิน ที่จะทุ่มเงินได้ไม่อั้นหรือไง

 

แล้วที่เหลือขยับยังไงบ้าง?

รัฐบาลผู้รู้ตัวกลุ่มแรกสุด ขยับตัวอย่างไร? เร็ว ช้า ช่วย หรือถ่วง

นโยบายที่ออกมาตรงจุดหรือไม่ รับฟัง Feedback กลับไปบ้างหรือไม่

 

แรงงานล่ะพัฒนาตัวเองขึ้นบ้างหรือไม่ แรงงานที่เอาเปรียบนายจ้างล่ะมีมั๊ย

ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพแล้วหรอ... ยังอู้งานเวลาประจำ เพื่อทำโอทีอยู่หรือไม่

 

ผมไม่คัดค้านการเพิ่มค่าแรงให้กับแรงงานเลยสักนิด ถ้ามันสมเหตุสมผลกับทั้งนายจ้างและลูกจ้าง

 

 

มันไม่สมเหตุสมผลตรงไหนครับ

คุณก็อ่านแล้วว่ามันเป็นเรื่องที่เหมาะสมและจำเป็นเร่งด่วน

ที่จริงมันควรจะเป็น 500 บาทเสียด้วยซ้ำตามความเห็นของผม

คุณไปอ้างแรงงานที่อู้งาน ทำงานไม่เป็น

เขาชอบอู้งาน ทำงานไม่เป็นก็ไม่ต้องจ้างเขาสิครับ ไปจ้างคนที่ขยันทำงานและมีความรู้ทักษะที่เหมาะสมกับงานของคุณ

แต่ที่ผ่านมามันเพราะนายจ้างไปจ้างแรงงานถูกๆ ไม่มีคุณภาพ แต่จ้างเพราะค่าแรงถูกเท่านั้น

แม้แต่แรงงานพม่า เขมร ที่ทำงานไม่ได้เรื่องก็ยังไปจ้างเพียงเพราะค่าแรงมันถูก

ใช่หรือไม่?

 

เพิ่มค่าแรงเหมาะสมและเร่งด่วน.. ใช่ครับ แต่อย่าตัดตอนส่วนที่เป็นคำแนะนำจากการศึกษาไปซิ่  :D

ทุกอย่างมีขั้นมีตอน มีการดูความเหมาะสมกับสภาวะ มีการปรับตัวทุกส่วน ไม่ใช่แค่ผู้ประกอบการ

 

ไอ้ตัวเลข 500 ถ้ามันเป็นแค่จินตนาการของตัวเองก็ไม่ต้องเอามาอ้างหรอกนะ... ไร้ประโยชน์

 

ส่วนคนอู้งานที่ยกขึ้นมาเป็นตัวอย่างของแรงงานที่ขาดประสิทธิภาพ...

คุณยังยกตัวอย่าง นายจ้างที่ไม่มีประสิทธิภาพมาเป็นเหตุผลได้

ทำไมผมจะยกเรื่องแรงงานที่ขาดประสิทธิภาพมาบ้างไม่ได้  :D ในเมื่อมันมีจริงๆ

 

อยากมองด้านเดียวก็เรื่องของคุณ


“Live as if you were to die tomorrow. Learn as if you were to live forever.”  - Mahatma Gandhi

 

สนใจบ้านพักคนชราเสรีไทย (FB Secret Group) ติดต่อ (PM) เว็บบอร์ด

https://www.facebook...denman.serithai


#121 Bookmarks

Bookmarks

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 33,617 posts

ตอบ 14 เมษายน พ.ศ. 2556 - 23:54

 

 

^_^

 

นายจ้างที่ขยับก็มี ไม่ขยับก็มี ขยับไม่ทัน หรือขยับไม่ได้ก็มี

ผลกระทบมันเกิดกับนายจ้างแบบไหนล่ะ? เล็ก กลาง ใหญ่?

 

พวกที่ไม่ขยับเพราะเห็นแก่ตัวก็มี

ไม่ขยับเพราะ ขยับไม่ได้ก็มี จะด้วยสภาพเศรษฐกิจ ตัวสินค้า หรือเหตุบ้านการเมือง

พวกที่เพิ่งเริ่มกิจการก็มี คิดว่านายจ้างเป็นผู้มีอันจะกิน ที่จะทุ่มเงินได้ไม่อั้นหรือไง

 

แล้วที่เหลือขยับยังไงบ้าง?

รัฐบาลผู้รู้ตัวกลุ่มแรกสุด ขยับตัวอย่างไร? เร็ว ช้า ช่วย หรือถ่วง

นโยบายที่ออกมาตรงจุดหรือไม่ รับฟัง Feedback กลับไปบ้างหรือไม่

 

แรงงานล่ะพัฒนาตัวเองขึ้นบ้างหรือไม่ แรงงานที่เอาเปรียบนายจ้างล่ะมีมั๊ย

ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพแล้วหรอ... ยังอู้งานเวลาประจำ เพื่อทำโอทีอยู่หรือไม่

 

ผมไม่คัดค้านการเพิ่มค่าแรงให้กับแรงงานเลยสักนิด ถ้ามันสมเหตุสมผลกับทั้งนายจ้างและลูกจ้าง

 

 

มันไม่สมเหตุสมผลตรงไหนครับ

คุณก็อ่านแล้วว่ามันเป็นเรื่องที่เหมาะสมและจำเป็นเร่งด่วน

ที่จริงมันควรจะเป็น 500 บาทเสียด้วยซ้ำตามความเห็นของผม

คุณไปอ้างแรงงานที่อู้งาน ทำงานไม่เป็น

เขาชอบอู้งาน ทำงานไม่เป็นก็ไม่ต้องจ้างเขาสิครับ ไปจ้างคนที่ขยันทำงานและมีความรู้ทักษะที่เหมาะสมกับงานของคุณ

แต่ที่ผ่านมามันเพราะนายจ้างไปจ้างแรงงานถูกๆ ไม่มีคุณภาพ แต่จ้างเพราะค่าแรงถูกเท่านั้น

แม้แต่แรงงานพม่า เขมร ที่ทำงานไม่ได้เรื่องก็ยังไปจ้างเพียงเพราะค่าแรงมันถูก

ใช่หรือไม่?

พูดเหมือนคนไม่เคยเป็นเจ้าของกิจการ เลยมองตื้นๆ ถามว่า คุณรับสมัครพนักงาน คุณรู้ได้ไงว่า คนที่คุณรับมาทำงาน ทำงานได้ตามที่เค้าบอกตอนสัมภาษณ์ 

 

 

 

ตลกนะครับ คุณบอกว่าธุรกิจคุณไม่มีระบบคัดกรองพนักงานที่เหมาะสม จึงเป็นเหตุผลที่คุณไม่ควรจ่ายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทเนื่องจากคุณไม่รู้ว่าพนักงานที่คุณจะรับเข้ามาเขาทำงานเป็นหรือไม่เป็น
 
มันเป็นเหตุผลที่ถูกต้องหรือ?
 
ถ้าธุรกิจเป็นแบบคุณทั้งประเทศก็ปล่อยให้มันเจ๊งไปเถอะ

โง่หรือเปล่า ไม่งั้นคงไม่มีการทดลองงานหรอก ไม่ว่าบริษัทใหญ่หรือเล็ก ก็มีคนไม่ผ่านทดลองงานทั้งนั้น 



#122 เมาอยู่

เมาอยู่

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,182 posts

ตอบ 15 เมษายน พ.ศ. 2556 - 01:17

อัตราค่าตอบแทน ต้องมาจากผลิตภาพแรงงานอย่างเดียวเหรอ

 

ก่อนจะมีสามร้อย ค่าแรงคนไทยก็ไม่ได้น้อยไปซะทั้งหมด แท็กซี่ วินมอไซค์ ผมไปถามเขา

 

บางคน บางวัน เขาได้ 500-1,000 ขึ้นอยู่กับความขยัน บวกช่วงฤดูกาล

 

รปภ. หรือพี่ยามนั่งหลับ ผมเห็นบริษัทเขาเปิดรับ ให้วันล่ะ 450 มีเท่าไหร่รับไม่อั้น

 

300 น่ะจิ๊บๆ ไปเลย

 

ถามว่าทำไมให้เยอะจัง ก็ตอบว่าความต้องการมีสูง ถึงพวกนี้วันๆ งานการก็ไม่มีอะไร แค่นั่งตบยุ่งกะโบกรถก็เถอะ

 

ไอ้เราฟังแล้วยังนึกอิจฉา งานง่ายได้เงินก็มิใช่น้อย อยากสมัครไปทำกะเขามั่งจัง

 

ดังนั้น ความต้องการแรงงานนี่สำคัญในการกำหนดค่าแรง ถามว่าเมื่อไหร่ จึงไม่มีความต้องการแรงงาน

 

ก็เป็นไปได้สองอย่าง คือ1.แรงงานมันล้น กับ2.กิจการมันเจ๊ง

 

คิดว่า ถ้าเจ๊งกันระนาว จะเหลือใครอยากจ้างใครกัน

 

ถึงตอนนั้น พวกลูกจ้างน่ะ ไม่ต้องถึง300 หรอก

 

แค่เลี้ยงข้าวสามมื้อยังเอาเลย

 

ไอ้ที่เล่าไปข้างต้น แค่ก่อน300 มาดๆ ณ ขณะนี้เป็นไง ก็ไม่ทราบได้

 

ไอ้เรื่องเพิ่มค่าแรงน่ะ ไอ้เรามันก็แค่ขี้ข้า ไม่ได้คัดค้านหรอก

 

เพราะถ้าไม่ความจำสั้นกันมาก ตอนเลือกตั้ง ก็เห็นจะเพิ่มค่าแรงให้ กันมันทุกพรรค

 

วิธีเพิ่มของแต่ล่ะพรรคมันไม่เหมือนกัน แต่ไอ้วิธีที่เห็นว่ามันดูเหมือนไม่ได้ใช้สมองคิดเท่าไหร่

 

ก็ดูจะเป็นของไอ้พรรคที่ทำกันอยู่ตอนนี้นี่แหล่ะ

 

อยากบอกว่า ไม่ได้ค้านเล๊ยยย ไอ้การขึ้นค่าแรง

 

แต่ช่วยใช้วิธีที่มันมีสมอง ออกนอกกรอบอย่างที่ชอบคุยได้ม่ะ

 

ไอ้แบบนี้ เด็กอมมือก็คิดได้ อยากบอกว่า กากมาก...



#123 พิฆาตอสูร

พิฆาตอสูร

    พอจะทนเสื้อแดงได้นิดๆ

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,786 posts

ตอบ 15 เมษายน พ.ศ. 2556 - 13:44

พยายามเลิกค่าแรงขั้นต่ำมาหลายสิบปี

 

แต่ถ้าเลิกเมื่อไหร่ คงมีคนอดตายเป็นเบือ


ฟ้าสีทองผ่องอำไพ  ประชาชนจะเป็นใหญ่ในแผ่นดิน


#124 RiDKuN_user

RiDKuN_user

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 13,167 posts

ตอบ 16 เมษายน พ.ศ. 2556 - 15:51

พยายามเลิกค่าแรงขั้นต่ำมาหลายสิบปี

 

แต่ถ้าเลิกเมื่อไหร่ คงมีคนอดตายเป็นเบือ

 

บางทีผมก็คิดว่า ค่าแรงขั้นต่ำ มันเป็นประโยชน์หรือเป็นโทษกันแน่

เพราะค่าแรงขั้นต่ำก็เหมือนมาตรฐาน พอมีขั้นต่ำแล้วนายจ้างก็ไม่คิดจะจ่ายมากกว่านี้


" ชีวิตผมไม่เคยกลัวอะไรทั้งนั้น ผมกลัวอย่างเดียว...กลัวจะถูกมองว่า 'ขายชาติ' " - The Last Tycoon

~ ทักษิณตาย เสรีไทยไชโย ~

#125 ม่านน้ำ

ม่านน้ำ

    ผมเพิ่งมาครับ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,373 posts

ตอบ 16 เมษายน พ.ศ. 2556 - 15:55

พยายามเลิกค่าแรงขั้นต่ำมาหลายสิบปี

 

แต่ถ้าเลิกเมื่อไหร่ คงมีคนอดตายเป็นเบือ

 

บางทีผมก็คิดว่า ค่าแรงขั้นต่ำ มันเป็นประโยชน์หรือเป็นโทษกันแน่

เพราะค่าแรงขั้นต่ำก็เหมือนมาตรฐาน พอมีขั้นต่ำแล้วนายจ้างก็ไม่คิดจะจ่ายมากกว่านี้

จริงๆ ถ้าไม่กำหนดอัตราค่าจ้างกันไปเลยก็ดีนะ ผมว่า

 

ลูกจ้างก็จะรับจ้างทำงานในงานที่ตนได้รับค่าจ้างที่ต้องการเท่านั้น

ถ้าตนเป็นลูกจ้างที่มีความสามารถ

 

นายจ้างก็จะจ้างคนงานในอัตราที่ตัวเองยอมรับได้เท่านั้น

ถ้าองค์กรของตนแข็งแรง มั่นคง มีอนาคต

 

ทุกคนสบายใจ ไม่ต้องมากำหนดกฎเกณฑ์กัน


Posted Image


#126 พิฆาตอสูร

พิฆาตอสูร

    พอจะทนเสื้อแดงได้นิดๆ

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,786 posts

ตอบ 16 เมษายน พ.ศ. 2556 - 21:39

หลายฝ่ายโดยเฉพาะผู้ประกอบการ พยายามเสนอเรื่องนี้

เพราะเห็นว่า ควรจ่ายตามทักษะ ซึ่งจะทำให้แรงงานพยายามพัฒนาตัวเอง

หลายประเทศอย่างสิงคโปร์ ก็ไม่มีการกำหนดค่าแรงขั้นต่ำ

 

สำหรับบ้านเรา ถ้าไม่มีการกำหนดไว้ อาจจะทำให้แรงงานบางส่วน

ซึ่งไม่มีการศึกษา หรือบางคนก็ไม่มีบัตรประชาชนด้วยซ้ำ ยิ่งมีโอกาสน้อย

แต่หลังจากกำหนดค่าแรง 300 บาทแล้ว

ไม่แน่ การเลิกค่าจ้างขั้นต่ำอาจจะเกิดขึ้นได้จริง

เพราะค่าแรงเราเข้าข่ายขั้นสูงแล้ว

จึงไม่ต้องห่วงเรื่องรายได้ของแรงงาน


ฟ้าสีทองผ่องอำไพ  ประชาชนจะเป็นใหญ่ในแผ่นดิน


#127 พอล คุง

พอล คุง

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 11,014 posts

ตอบ 16 เมษายน พ.ศ. 2556 - 21:42

หลายฝ่ายโดยเฉพาะผู้ประกอบการ พยายามเสนอเรื่องนี้

เพราะเห็นว่า ควรจ่ายตามทักษะ ซึ่งจะทำให้แรงงานพยายามพัฒนาตัวเอง

หลายประเทศอย่างสิงคโปร์ ก็ไม่มีการกำหนดค่าแรงขั้นต่ำ

 

สำหรับบ้านเรา ถ้าไม่มีการกำหนดไว้ อาจจะทำให้แรงงานบางส่วน

ซึ่งไม่มีการศึกษา หรือบางคนก็ไม่มีบัตรประชาชนด้วยซ้ำ ยิ่งมีโอกาสน้อย

แต่หลังจากกำหนดค่าแรง 300 บาทแล้ว

ไม่แน่ การเลิกค่าจ้างขั้นต่ำอาจจะเกิดขึ้นได้จริง

เพราะค่าแรงเราเข้าข่ายขั้นสูงแล้ว

จึงไม่ต้องห่วงเรื่องรายได้ของแรงงาน

 

เห็นด้วยครับ

 

ควรจะจ่ายตามทักษะ ความสามารถ

 

เพื่อแรงงาน จะได้พัฒนาตนเองต่อไปด้วย

 

ไม่ใช่ มีค่าแรงขึ้นต่ำ แล้วไม่ต้องพัฒนาอะไรเลย


ถึงตรูจะเลวยังไง ตรูก้อไม่ได้ขายชาติ เหมือนเสื้อแดงว่ะ เข้าใจนะ

 


#128 sigree

sigree

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 10,883 posts

ตอบ 17 เมษายน พ.ศ. 2556 - 09:15

ค่าเเรง 300 บาท ทำพิษ

เถ้าแก่เอสเอ็มอีงัดสารพัดทีเด็ด สู้ค่าแรง300บาทดิ้นรนหนีตาย
หลังจากรัฐบาลปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันทั่วประเทศเท่ากันทั้งหมดได้สร้างความปั่นป่วนแก่บรรดาเถ้าแก่ตามโรงงานภาคอุตสาหกรรมอย่างมาก เนื่องจากเป็นการปรับขึ้นในอัตราที่ก้าวกระโดดในลักษณะที่สูงสุดของโลก

เมื่อนโยบายดังกล่าวมีผลบังคับใช้ 3 เดือน ’ทีมข่าวเศรษฐกิจเดลินิวส์“ ได้สอบถามผลกระทบผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และวิธีรับมือกับต้นทุนที่พุ่งกระฉูดอย่างไร

ภาคเหนือขาดสภาพคล่อง

เริ่มจาก “ภาคเหนือ” ที่พบว่าธุรกิจเอสเอ็มอีจะได้รับผลกระทบเรื่องของค่าจ้าง 300 บาทต่อวันมากเป็นลำดับที่สองรองจากอีสาน ส่วนใหญ่ก็จะเป็นกลุ่มแก้วและเซรามิก, เฟอร์นิเจอร์, อาหาร, เกษตรแปรรูป สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ที่ทยอยปิดกิจการบ้างในไตรมาสแรก แต่คงไม่มากนัก ทั้งหมดคงชัดเจนได้ในต้นปีหน้า

จากการสอบถาม “วีระยุทธ สุขวัฑตโก” รองประธานสภาอุตสาหกรรมภาคเหนือ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) พบว่า เอสเอ็มอีภาคเหนือประสบปัญหาความเดือดร้อนจากค่าจ้างอย่างมาก แต่ผู้ประกอบการจำเป็นต้องต่อสู้แม้ว่าจะเริ่มขาดแคลนสภาพคล่องมากขึ้น ซึ่งในช่วง 3 เดือนแรกในการขึ้นค่าจ้าง 300 บาท ผู้ประกอบการก็มีการประหยัดค่าใช้จ่ายทุกอย่างที่ขวางหน้าทั้งต้นทุนการผลิต การประหยัดพลังงาน รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในทุกขั้นตอน

อย่างไรก็ตามหากไม่สามารถหาเงินมาเสริมสภาพคล่องได้ ขั้นต่อไปโรงงานต่าง ๆ ก็คงมีการลดพนักงานลง 20-30% หากยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ผู้ประกอบการมีแนวโน้มที่จะปิดตัวสู

http://www.dailynews.co.th/businesss/197715





ผู้ใช้ 2 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้

สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 2 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน