Jump to content


Photo
- - - - -

เกือบ 12 ปี ..ความยุติธรรมที่มาช้าก็ยังดีกว่าไม่มา

ปัญญา ตันติยวรงค์ ประธาน ดาบเพชร จารุวรรณ เมณฑกา

  • Please log in to reply
16 ความเห็นในกระทู้นี้

#1 หนูอ้อย

หนูอ้อย

    นักเขียนหน่อมแน้ม

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,215 posts

ตอบ 10 เมษายน พ.ศ. 2556 - 14:25

ศาลฎีกาพลิกคำพิพากษา!

สั่งลงโทษจำคุก "อดีต ปธ.คตง." 3 ปี ปฏิบัติหน้าที่มิชอบ

 

เมื่อวันที่ 10 เมษายน ที่ห้องพิจารณา 803 ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ศาลอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา คดีที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 2 และนายประธาน ดาบเพชร อดีตผู้ได้รับการเสนอชื่อต่อวุฒิสภาเพื่อรับคัดเลือกเป็นผู้ว่าการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ร่วมกันเป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง นายปัญญา ตันติยวรงค์ อายุ 73 ปี อดีตประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) เป็นจำเลย ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและโดยทุจริต เพื่อแสวงหาประโยชน์อันมิควรแก่ตนเองหรือผู้อื่นได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้หนึ่งผู้ใด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157


โจทก์ยื่นฟ้องและนำสืบว่า วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ.2544 จำเลยเสนอรายชื่อบุคคลให้ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินต่อวุฒิสภาโดยมิชอบ ขัดต่อระเบียบของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินฯ ข้อ 6 (5) ที่กำหนดให้ คตง. เสนอรายชื่อผู้ซึ่งรับคะแนนสูงสุดจากที่ได้รับการคัดเลือก จาก คตง.เพียงคนเดียว ให้สมควรเป็นผู้ว่าการ สตง. และให้เสนอต่อวุฒิสภาเพื่อให้ความเห็นชอบ และดำเนินการตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.2542 มาตรา 15 แต่ปรากฏว่าในการสรรหาผู้สมควรได้รับการเสนอชื่อ จำเลยกลับเสนอชื่อบุคคลทั้งสิ้น 3 ราย ประกอบด้วย 1.นายประธาน ดาบเพชร 2.คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา และ 3.นายนนทพล นิ่มสมบูรณ์ ทั้งที่ระเบียบของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินฯ ข้อ 6 (5) กำหนดว่า การคัดเลือกของคณะกรรมการ คตง.นั้น ต้องลงมติด้วยคะแนนลับ และผู้ได้รับการคัดเลือกต้องได้รับคะแนนสูงสุดโดยมีคะแนนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของคณะกรรมการ คตง.ทั้งหมดที่มีอยู่


แต่ในการประชุม คตง.ครั้งที่ 26/2544 เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ.2544 พบว่าบุคคลที่ได้รับคะแนนสูงสุดและเกินกว่ากึ่งหนึ่งของกรรมการ คือนายประธาน ดาบเพชร ได้ 5 คะแนน จากกรรมการทั้งหมดที่มาประชุมจำนวน 8 คน

 

นอกจากนี้ เมื่อที่ประชุม คตง.เสนอชื่อไปแล้วในหนังสือที่จำเลย เสนอต่อประธานวุฒิสภาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบนั้น ยังได้ระบุว่า มีผู้ได้รับคะแนนเสียง 2 ราย คือ นายประธาน ดาบเพชร ได้รับคะแนนเป็นอันดับ 1 ตามบัญชีรายชื่อและเอกสารประกอบ จึงขอส่งเรื่องเพื่อให้วุฒิสภาคัดเลือกบุคคลตามบัญชีรายชื่อดังกล่าว พร้อมทั้งได้ส่งบัญชีรายชื่อไปทั้งสิ้น 3 คน ทั้งที่ คตง.มีหน้าที่เสนอชื่อนายประธาน ได้คะแนนสูงสุดเพียงคนเดียวเสนอต่อวุฒิสภาเพื่อให้ความเห็นชอบ


ในชั้นพิจารณาจำเลยต่อสู้คดีโดยให้การปฏิเสธ อ้างว่าจำเลยดำเนินกระบวนการสรรหา และเสนอชื่อผู้สมควรได้รับการเสนอชื่อเป็นผู้ว่าการ สตง.ตามขั้นตอนและหลักเกณฑ์กฎหมายแล้ว ซึ่งไม่มีเจตนาจะทำให้โจทก์ร่วมได้รับความเสียหาย


ศาลชั้นต้น มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ.2549 ให้จำคุกจำเลยเป็นเวลา 3 ปี โดยไม่รอลงอาญา เนื่องจากเห็นว่าการที่จำเลยเสนอรายชื่อบุคคลทั้ง 3 ต่อประธานวุฒิสภาเพื่อคัดเลือกเป็นผู้ว่าการ สตง.ทั้งที่กฎหมายกำหนดจะต้องส่งเพียงชื่อของบุคคลที่ได้รับคะแนนสูงสุดเกินกึ่งหนึ่งจากที่ประชุม คตง.ด้วยวิธีการลงคะแนนลับ ซึ่งคือนายประธานคนเดียวเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่มิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157


ต่อมาจำเลยยื่นอุทธรณ์ ซึ่งศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ.2551 พิพากษากลับให้ยกฟ้อง เนื่องจากเห็นว่า การกระทำของจำเลย ยังไม่เป็นการทำให้โจทก์ร่วมและ คตง.ต้องเสียหาย เพราะเมื่อมีการส่งรายชื่อแล้วยังไม่มีใครคาดหมายได้ว่าวุฒิสภาจะส่งหนังสือคืนจำเลยให้ทำใหม่ หรือจะเลือกบุคคลใดเป็นผู้ว่าการ สตง.ซึ่งกฎหมายให้วุฒิสภาเป็นผู้ทำความเห็นชอบพิจารณาเลือกบุคคลที่ไมมีคุณสมบัติต้องห้าม


โดยวุฒิสภาเป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติจึงมีอำนาจเหนือกว่าจำเลยหลายเท่า ดังนั้น หากจะเกิดความเสียหายก็ต้องเกิดในชั้นวุฒิสภา และหากวุฒิสภาปฏิบัติหน้าที่โดยถูกต้อง การเลือกบุคคลเป็นผู้ว่าการ สตง.ก็จะไม่มีปัญหาขณะที่พยานหลักฐานยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาพิเศษเพื่อจูงใจปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย ต่อมาโจทก์ยื่นฎีกา


ศาลฎีกาประชุมตรวจสำนวนแล้ว เห็นว่าพฤติกรรมของจำเลยที่ไม่เสนอรายชื่อโจทก์ร่วม ซึ่งได้คะแนนเสียงสูงสุดเกินกึ่งหนึ่งจากที่ประชุม ต่อประธานวุฒิสภาเพื่อคัดเลือกเป็นผู้ว่าการ สตง.เพียงคนเดียว ตามที่กฎหมายกำหนด แต่กลับส่งรายชื่อบุคคลอีก 2 คนให้วุฒิสภาคัดเลือกนั้น ถือว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดสำเร็จแล้ว แม้ขั้นตอนสุดท้ายจะเป็นอำนาจของวุฒิสภาพิจารณาให้ความเห็นชอบคัดเลือกบุคคลเป็นผู้ว่าการ สตง.ก็ตาม และเมื่อการกระทำของจำเลย เป็นการปฏิบัติหน้าที่มิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ซึ่งกฎหมายก็ยังกำหนดโทษปรับไว้ด้วยตั้งแต่ 2,000 บาท -20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ พิพากษายกฟ้อง ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย จึงเห็นควรกำหนดบทลงโทษให้เหมาะสมกับพฤติการณ์ พิพากษากลับให้จำคุกจำเลย 3 ปี และปรับ 20,000 บาทด้วย แต่เมื่อจำเลยไม่เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน โทษจำคุกจึงให้รอลงอาญามีกำหนด 2 ปี

 
 http://www.matichon....9&subcatid=1905


 AMAZING  coup d'etat  , THAILAND ONLY ..  :ph34r:  


#2 หนูอ้อย

หนูอ้อย

    นักเขียนหน่อมแน้ม

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,215 posts

ตอบ 10 เมษายน พ.ศ. 2556 - 14:40

"คตง.ถ้าพูดจริงๆ ก็มีส่วนไม่ถูกที่ประธาน คตง.ครั้งแรกนั้น คตง.ลงมติว่าให้เสนอไปคนเดียว เขาก็เสนอไปคนเดียว
ปรากฏว่าประธานกรรมาธิการสอบประวัติบอกว่าต้องเสนอเป็นบัญชีรายชื่อ ทางนี้ก็ดันเชื่อ โดยไม่ได้หารือ คตง.เขาเลย
การที่มติให้เสนอคนเดียว ประธานดันเสนอ 3 คน ถึงเวลาที่ประชุมวุฒิฯ ก็บอกตัวเองเป็นคนเลือกคุณหญิงจารุวรรณ
ฉะนั้นขั้นตอนมันก็มีอยู่ ผมถึงไม่อยากจะบอกว่าใครผิด เพราะมันเป็นการทำตามความเชื่อของแต่ละคน"
 
เกรียงศักดิ์ วัฒนวรางกูร (อดีตกรรมการ คตง.)
: 'ต้องมีคนเจ็บตัว'
ธันวาคม 2548

 


 AMAZING  coup d'etat  , THAILAND ONLY ..  :ph34r:  


#3 หนูอ้อย

หนูอ้อย

    นักเขียนหน่อมแน้ม

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,215 posts

ตอบ 10 เมษายน พ.ศ. 2556 - 16:00

http://www.vajira.ac...article&sid=196

 

 

ขณะนี้สังคมให้ความสนใจเรื่องมาตรา 157 แห่งประมวลกฎหมายอาญา เนื่องจากประชาชนตื่นตัวกับเรื่องสิทธิและเสรีภาพกันมากขึ้น แนวโน้มที่ประชาชนจะเรียกร้องเอาผิดกับเจ้าพนักงานเมื่อพบเห็นเจ้าพนักงานกระทำความผิดต่อหน้าที่จึงมีเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน โดยหลักแล้วมาตรานี้เป็นเรื่องการเอาผิดเจ้าพนักงานที่ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ดังนั้นเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ประชาชนทั่วไปและเพื่อประโยชน์สูงสุดของการบังคับใช้กฎหมาย จึงควรศึกษาว่าหลักกฎหมายของมาตราดังกล่าวมีว่าอย่างไร

เหตุใดจึงต้องมีการบัญญัติเรื่องการลงโทษเจ้าพนักงานไว้โดยเฉพาะ

เนื่องจากบุคคลซึ่งเป็นเจ้าพนักงานนั้นถูกกำหนดให้มีบทบาทในสังคมที่เหนือกว่าบุคคลธรรมดาบางประการ ซึ่งมีผลมาจากอำนาจหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติและต้องอยู่ในขอบเขตของกฎหมาย จึงต้องมีการบัญญัติกฎหมายขึ้นมาเพื่อคุ้มครองและควบคุมบุคคลผู้เป็นเจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่

ทั้งนี้ในการคุ้มครองเจ้าพนักงานจะต้องมีกฎหมายบัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานปฏิบัติการในหน้าที่ หากมีการต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานผู้ปฏิบัติตามหน้าที่ ผู้กระทำต้องรับโทษในความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน หรือ การทำร้ายเจ้าพนักงานผู้ปฏิบัติตามหน้าที่มีผลให้ผู้กระทำความผิดต้องรับโทษหนักขึ้น เป็นต้น ในขณะที่การควบคุมเจ้าพนักงาน กฎหมายก็ได้บัญญัติขึ้นมาเพื่อจำกัดขอบเขตการใช้อำนาจของเจ้าพนักงานไม่ให้กระทำการเกินกรอบที่กฎหมายกำหนดไว้ ซึ่งการควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานนี้ได้บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา หมวด 2เรื่อง ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ

จะเห็นได้ว่า เจ้าพนักงานนั้นเป็นบุคคลที่กฎหมายกำหนดให้ทั้งอำนาจ หน้าที่และความรับผิดในการปฏิบัติการ ซึ่งอาจได้รับทั้งคุณและโทษจากบทบัญญัติของกฎหมายจึงต้องกระทำการด้วยความระมัดระวัง และหากกระทำการนอกขอบเขตที่กฎหมายให้ไว้ ก็มีมาตรการลงโทษเจ้าพนักงานไว้เป็นการเฉพาะซึ่งมีบทลงโทษที่หนักยิ่งกว่าบุคคลธรรมดาทั่วไป

ใครคือเจ้าพนักงาน...?

เจ้าพนักงาน หมายความถึง ผู้ปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยได้รับการแต่งตั้งตามกฎหมาย ซึ่งคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 700/2490 ได้อธิบายถึงความหมายของเจ้าพนักงาน ว่าหมายถึง “ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งโดยทางการของรัฐไทย ให้ปฏิบัติราชการของรัฐไทย” จากคำพิพากษานี้จึงสามารถวางองค์ประกอบของการเป็นเจ้าพนักงานได้ 2 ประการ คือ

1.ต้องมีการแต่งตั้ง และ

2.เป็นการแต่งตั้งให้ปฏิบัติราชการ


กล่าวคือ ถ้าไม่มีการแต่งตั้งแม้จะได้ปฏิบัติราชการก็ไม่เป็นเจ้าพนักงาน หากจะเอาผิดก็ต้องมีกฎหมายบัญญัติขึ้นอีกโดยเฉพาะ หรือมีการแต่งตั้งหรือมอบหมายให้มีหน้าที่โดยเฉพาะแต่มิได้แต่งตั้งให้ปฏิบัติราชการ ก็ไม่เป็นเจ้าพนักงานเช่นเดียวกัน เช่น ราษฎรช่วยจับคนร้ายแม้จะเป็นงานของทางราชการแต่ราษฎรผู้นั้นก็ไม่ได้เป็นเจ้าพนักงาน การที่นายอำเภอตั้งราษฎรคุมผู้ต้องหาไม่ทำให้ราษฎรเป็นเจ้าพนักงานมีอำนาจควบคุมผู้ต้องหานั้น ราษฎรปล่อยผู้ต้องหาจึงไม่เป็นความผิดฐานเจ้าพนักงานปล่อยผู้ต้องคุมขังให้หลบหนีไป (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 294/2474) หรือในกรณีที่ผู้ปฏิบัติงานในองค์กรของรัฐ เช่น รัฐวิสาหกิจ อาทิ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การประปา ที่ไม่ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าพนักงานแต่ปฏิบัติหน้าที่ราชการก็ไม่เป็นเจ้าพนักงาน เพราะไม่มีการแต่งตั้งให้ปฏิบัติราชการ จึงต้องมีกฎหมายเข้าไปควบคุมและคุ้มครองอีกฉบับหนึ่ง คือ พระราชบัญญัติว่าด้วยความรับผิดของพนักงานในองค์กรของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 เป็นต้น

ในทำนองเดียวกัน แม้จะมีการแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการ แต่ถูกให้ไปทำงานอื่นนอกหน้าที่ราชการของตน ก็ไม่เป็นเจ้าพนักงาน เช่น ให้ข้าราชการครูไปทำงานคุรุสภาซึ่งไม่ใช่หน้าที่ราชการจึงไม่เป็นเจ้าพนักงาน หรือ ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 548/2499 ที่ว่า “หนังสือข่าวทหารอากาศ ไม่ปรากฎว่าเป็นราชการของกองทัพอากาศ ผู้ทำหนังสือจึงไม่อยู่ในฐานะเป็นเจ้าพนักงาน” เป็นต้น

เมื่อเจ้าพนักงานละเว้นหรือปฎิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือทุจริต

“มาตรา 157 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ”

มาตรานี้แยกการกระทำเป็น 2 ความผิด คือ

1. ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด

คำว่า “โดยมิชอบ” หมายความถึง โดยมิชอบด้วยหน้าที่ซึ่งเจ้าพนักงานมีอยู่ตามกฎหมาย ดังเช่นคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1403/2521 ที่วินิจฉัยว่า “การกระทำโดยมิชอบนั้น เฉพาะตามหน้าที่ของเจ้าพนักงานนั้นโดยตรงที่ได้รับมอบให้มีหน้าที่นั้นๆ ถ้าการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติไม่เกี่ยวกับหน้าที่ของเจ้าพนักงานแล้ว ย่อมไม่มีความผิด”

ถ้าการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติ ไม่อยู่ในหน้าที่หรืออยู่ในหน้าที่แต่เป็นการกระทำที่ชอบด้วยหน้าที่โดยสุจริต ก็ไม่เป็นความผิด ดังนั้นถ้ามีหน้าที่ต้องปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นก็เป็นการกระทำความผิดตามมาตรานี้

องค์ประกอบของความผิดมาตรานี้อยู่ที่ มูลเหตุชักจูงใจ คือ “มีเจตนาพิเศษ” ที่ต้องการกระทำเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ซึ่งรวมถึงความเสียหายในทุกๆด้านโดยไม่จำกัดเฉพาะความเสียหายที่เป็นทรัพย์สินเท่านั้น เช่น ความเสียหายแก่ชื่อเสียงหรือเสียหายแก่เสรีภาพ เป็นต้น

ตัวอย่างเช่น เจ้าพนักงานตำรวจจับผู้ที่กระทำผิดความฐานมีสุราผิดกฎหมายไว้ในครอบครอง แล้วทำร้ายร่างกายผู้ถูกจับกุม การทำร้ายนี้ไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจขณะจับกุม แต่เป็นทำร้ายหลังการจับกุมแล้ว จึงไม่มีความผิดฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 292/2479) แต่ถ้า เป็นพนักงานสอบสวน ในระหว่างสอบสวนไปทำร้ายผู้ต้องหาเพราะไม่ยอมรับสารภาพ เช่นนี้ เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เมื่อเกิดความเสียหายแก่เขาย่อมมีความผิดตามมาตรานี้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1399/2508) หรือ เจ้าพนักงานมีหน้าที่ในการออกใบสุทธิจดเปลี่ยนแปลงข้อความไม่ตรงกับความจริงและผิดระเบียบ เพื่อให้เขานำไปแสดงต่อผู้บังคับบัญชาในการขอบำเหน็จความชอบนั้น เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายจึงมีความผิดตามมาตรานี้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 407-410/2509) เป็นต้น

2. ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต

คำว่า “โดยทุจริต” ตามความหมายนี้ คือการใช้อำนาจในหน้าที่เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่นจากการปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่นั้น และที่สำคัญคือ “ต้องมีหน้าที่” คือ การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัตินั้นต้องอยู่ในหน้าที่ ดังนั้นหากไม่อยู่ในหน้าที่หรืออยู่ในหน้าที่แต่ทำโดยชอบและโดยสุจริต ก็ไม่เป็นความผิดตามมาตรานี้ การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต สามารถพบได้ในหลายกรณี เช่นพนักงานที่ดินไม่โอนที่ดินตามคำสั่งนายอำเภอ โดยทุจริตและอาจเสียหายแก่ผู้อื่น (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 955/2512) เจ้าพนักงานเทศบาลมีหน้าที่เก็บเงินลักเอาใบเสร็จเก็บค่ากระแสไฟฟ้าซึ่งอยู่ในความดูแลของเจ้าหน้าที่อีกผู้หนึ่งไป เพื่อไปเรียกเก็บค่ากระแสไฟฟ้าแล้วเอาเป็นประโยชน์ส่วนตัวเสีย ถือว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 700/2503) หรือ นายตำรวจจับคนนำพลอยหนีภาษีไม่นำส่งดำเนินคดี เอาพลอยไว้เสียเอง เป็นการปฏิบัติและละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1677/2525)

การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต มีลักษณะคล้ายคลึงกับการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ แต่มีข้อแตกต่างอยู่ที่ว่าการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบที่จะเป็นความผิดได้นั้น จะต้องเป็นการกระทำเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หากการกระทำนั้นไม่เกิดความเสียหายแล้วย่อมจะไม่เป็นความผิดตามมารา 157 ในขณะที่การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตไม่ต้องคำนึงถึงข้อเท็จจริงว่าการกระทำนั้นมีจุดมุ่งหมายที่จะให้ผู้อื่นเสียหายหรือไม่ แม้ไม่เกิดความเสียหายก็ยังคงถือว่าเป็นการกระทำความผิดได้

สรุป

จากที่กล่าวมาข้างต้นสรุปได้ว่า หลักการกระทำความผิดตามมาตรา 157 แห่งประมวลกฎหมายอาญานี้ ต้องมีองค์ประกอบดังนี้ ผู้กระทำต้องเป็นเจ้าพนักงาน และที่สำคัญต้องเป็นเจ้าพนักงานที่มีหน้าที่กระทำการตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ และในการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่นั้นเป็นการกระทำโดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ดังนั้นหากขาดองค์ประกอบข้อใดข้อหนึ่งไปก็ไม่อาจถือได้ว่าเป็นการกระทำความผิดตามมาตรา 157 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ส่วนจะเป็นความผิดตามกฎหมายอื่นหรือไม่นั้น คงต้องพิจารณาข้อเท็จจริงแต่ละเรื่องไป

สราวุธ เบญจกุล
โฆษกสำนักงานศาลยุติธรรม
รองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม
ติดประกาศ Thursday 06 Sep 07@ 13:29:26

 


 AMAZING  coup d'etat  , THAILAND ONLY ..  :ph34r:  


#4 หนูอ้อย

หนูอ้อย

    นักเขียนหน่อมแน้ม

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,215 posts

ตอบ 10 เมษายน พ.ศ. 2556 - 16:38

วิบากกรรมยิ่งลักษณ์ยังไม่หมด

หน.พรรคก.ม.ม.เล็งยื่นสอบจริยธรรม “ปู-ปึ้ง” ปมคืนพาสปอร์ต “แม้ว”

ก่อนชง ป.ป.ช.ถอดถอน

 

 

นายสมศักดิ์ โกศัยสุข หัวหน้าพรรคการเมืองใหม่ กล่าวว่าการ ที่รมว.ต่างประเทศอ้างว่าการคืนหนังสือเดินทางให้ พ.ต.ท.ทักษิณเป็นเรื่องนโยบายของรัฐบาลไม่เกี่ยวข้องกับระเบียบกระทรวงการต่างประเทศว่าด้วยการออกหนังสือเดินทาง 2548 นั้น ถือว่า รมว.ต่างประเทศกระทำการผิดกฎหมาย ขณะเดียวกัน การที่นายกรัฐมนตรีนิ่งเฉยต่อกรณีนี้ถ้าถือเป็นเจ้าหน้าที่รัฐก็ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ การกระทำของบุคคลทั้งสองจึงเข้าข่ายใช้อำนาจไปเพื่อประโยชน์ของตนเองและผู้อื่น ขัดจริยธรรมผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งโดยข้อเท็จจริงแล้วผู้ตรวจการแผ่นดินควรจะดำเนินการตรวจสอบและยื่น ป.ป.ช.ถอดถอนได้ แต่เมื่อผู้ตรวจฯ อ้างว่ากฎหมายระบุให้การสอบสวนเรื่องจริยธรรมต้องมีผู้ร้อง ตนก็จะยื่นคำร้องให้เป็นเรื่องราวในวันที่ 13 มี.ค.2556 เพื่อให้ตรวจสอบจริยธรรมบุคคลทั้งสองและยื่นถอดถอนไปยัง ป.ป.ช.ต่อไป

 

http://www.manager.c...D=9560000030420
 


 AMAZING  coup d'etat  , THAILAND ONLY ..  :ph34r:  


#5 หนูอ้อย

หนูอ้อย

    นักเขียนหน่อมแน้ม

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,215 posts

ตอบ 10 เมษายน พ.ศ. 2556 - 18:47

fx7reo.jpg


 AMAZING  coup d'etat  , THAILAND ONLY ..  :ph34r:  


#6 เรื่อยๆเอื่อยๆ

เรื่อยๆเอื่อยๆ

    There is a face beneath this mask, but it isn't me.

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,223 posts

ตอบ 10 เมษายน พ.ศ. 2556 - 21:42

คดีแค่นี้ยังต้อง 12 ปี เลยเหรอครับ อย่างนี้ กว่าธาริตจะได้เข้าคุกก็อีกนานสิครับ



#7 eAT

eAT

    ผมเป็นเสื้อแดงฮับ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 10,589 posts

ตอบ 10 เมษายน พ.ศ. 2556 - 22:40

3 ปี ได้รอลงอาญา?

คือว่าเคยได้ยินคำอธิบายถ้าโทษเกิน 2 ปี ไม่ถือว่า "ลหุโทษ"

รอลงอาญาไม่ได้ ตกลงความจริงต้องเป็นยังไงครับ ถ้าหาก

ลงโทษตัดสินประหารชีวิต แต่จำเลยไม่เคยทำผิดมาก่อน

สามารถรอลงอาญาได้หรือเปล่า?



#8 tumzzz

tumzzz

    น้องเก่า

  • Members
  • PipPip
  • 134 posts

ตอบ 11 เมษายน พ.ศ. 2556 - 02:56

ป.อาญา มาตรา56
แก้จาก2ปี เป็น3ปีแล้วนะครับ
ตอนเรียนจำได้ว่ายัง2ปีอยู่เลย ไม่รู้แก้ตอนไหน

#9 Bourne

Bourne

    สายลับ ๆ ล่อ ๆ หัดเกรียน

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,471 posts

ตอบ 11 เมษายน พ.ศ. 2556 - 03:26

เลิกได้แล้ว "รอลงอาญา"

บ่องตง "เซ็ง"


ภาระกิจหลักของผมบนบอร์ดเสรีไทย คือ ด่าควายครับ เรื่องคิดต่างผมรับได้ แต่เรื่องคิดชั่วผมรับไม่ไหวครัช

#10 หนูอ้อย

หนูอ้อย

    นักเขียนหน่อมแน้ม

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,215 posts

ตอบ 11 เมษายน พ.ศ. 2556 - 08:47

^  ^

หลายเรป.ข้างบนที่ข้าพเจ้านำมาลงคือ part ที่เป็นข้อมูล (data)

ส่วนที่จะเขียน(พิมพ์) ต่อไปนี้คือ ความคิดเห็น (opinion)

 

คดีท่านประธาน ดาบเพชร นี้ บอกตรงๆว่าตอนเกิดเรื่องนั้นยังเด็กอยู่มาก

แต่ที่บ้านคุยกัน ผู้ใหญ่เล่าว่าท่านประธานเป็นคนตงฉินมาก

เมื่อหน่วยงานส่งชื่อมา 1 ชื่อเพราะเอาตามกฎหมายที่เอาคนชนะเสียงเกินครึ่ง

แต่พอวุฒิฯซึ่งสมัยนั้นอยู่ในยุคสถาเผียมัว กลัวการตรวจสอบมาก

จึงไม่ยอมเสนอชื่อท่านประธานเพียงคนเดียวตามกฎหมายก็ลูกเล่นส่งเป็นบัญชีรายชื่อ

โดยมีแถมคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกาเข้าไปใหัวุฒิสภาเลือกเพราะยังไม่รู้กิตติศัพท์คือเห็นเป็นหญิงๆน่าจะอ่อน

วุฒิสภายุคนั้นจึงได้เลือกคุณหญิงจารุวรรณเข้าไป

(แทนที่จะรับรองท่านประะธาน ดาบเพขร หากทำตามระเบียบแบบที่ศาลฎีกาชี้ขาดเมื่อวันที่ 10 เมษา 56)

 

วิบากกรรมของทักษิโณมิกส์จึงโดนดาบคุณหญิงจารุวรรณไปหลายกรณี (นานแล้วจำไม่ได้เรื่องไรมั่ง)

แต่รู้ว่าฤทธิ์คุณหญิงจารุวรรณยังได้ตามมาหลอกหลอนคุณพ่อดูไบ

เพราะบิ๊กสมคบคิดสนธิบังได้แต่งตั้งคุณหญิงจาและท่านเหม่งกล้าณรงค์จัดการคุณพ่อดูไบอีกหลายกรณี

เรียกว่าสุชินชาีเครือคำนวณมิสู้ฟ้าลิขิต

 

คดีท่านประธาน ดาบเพชรฟ้องนั้น  สามารถเรียกร้องกู้เกียรติและศักดิ์ศรีคืนมาได้แล้วในวันนี้

แต่คดีความที่คุณหญิงจารุวรรณได้มีส่วนสืบสวนสอบสวนก็น่าจะเลยตามเลย (คิดเอาเอง ส่วนตัวล้วนๆ)

อย่างน้อยวันนี้ได้ความรู้สึกเชื่อมั่นในศาลสถิตย์ยุติธรรมที่ตัดสินไปตามตัวบทกฎหมายไม่ได้สองมาตรฐานอย่างที่ถูกใส่ร้าย

ปิดคดีไปเคสหนึ่งที่ค้างคาใจมาร่วมสิบปี


 AMAZING  coup d'etat  , THAILAND ONLY ..  :ph34r:  


#11 susu

susu

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,066 posts

ตอบ 11 เมษายน พ.ศ. 2556 - 08:47

3 ปี ได้รอลงอาญา?

คือว่าเคยได้ยินคำอธิบายถ้าโทษเกิน 2 ปี ไม่ถือว่า "ลหุโทษ"

รอลงอาญาไม่ได้ ตกลงความจริงต้องเป็นยังไงครับ ถ้าหาก

ลงโทษตัดสินประหารชีวิต แต่จำเลยไม่เคยทำผิดมาก่อน

สามารถรอลงอาญาได้หรือเปล่า?

ประเทศไทยที่แล๊ะ ตุ้มแป๊ะ เพราะกฏหมายก็อยากให้ประณีประนอม คนไม่เคยมีความผิดเพราะศาลสั่ง ควรให้อภัย ถ้าหากอยากให้ข้าราชการเป็นคนดี กลัวกฏหมายต้องให้ว่า ผู้กระทำต้องเป็นเจ้าพนักงาน และที่สำคัญต้องเป็นเจ้าพนักงานที่มีหน้าที่กระทำการตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ และในการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่นั้นเป็นการกระทำโดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ดังนั้นหากขาดองค์ประกอบข้อใดข้อหนึ่งไปก็ไม่อาจถือได้ว่าเป็นการกระทำความผิดตามมาตรา 157 แห่งประมวลกฎหมายอาญา มีโทษจำคุกพร้อมปรับ และไม่มีการรอลงอาญา เพียงสองประการเท่านี้ รับรอง ...ไอ้ที่โครงการโตไปไม่โกง ฉีกทิ้งไปได้เลยอีกไม่เกิน 5 ปี

 

นักการเมืองชั่วไม่มีแขนขา ทำชั่วไม่ได้หรอก เพราะคนพวกนี้มัน- ขี้ขลาดไม่กล้าทำเอง ต้องให้ แขนขา(เจ้าพนักงาน)ทำ



#12 หนูอ้อย

หนูอ้อย

    นักเขียนหน่อมแน้ม

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,215 posts

ตอบ 11 เมษายน พ.ศ. 2556 - 13:53

ข้อมูล (data) บางเรื่องกว่าจะได้ภาพที่ต่อจิ๊กซอว์จนเกือบสมบูรณ์อ่านเรื่องราวได้ชัด

ใช้เวลาเป็นสิบปี  และยังเป็นนิวเคลียสสำหรับเรื่องราวอื่นที่แตกแขนงออกไปอีก ..


 AMAZING  coup d'etat  , THAILAND ONLY ..  :ph34r:  


#13 eAT

eAT

    ผมเป็นเสื้อแดงฮับ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 10,589 posts

ตอบ 11 เมษายน พ.ศ. 2556 - 14:24

3 ปี ได้รอลงอาญา?

คือว่าเคยได้ยินคำอธิบายถ้าโทษเกิน 2 ปี ไม่ถือว่า "ลหุโทษ"

รอลงอาญาไม่ได้ ตกลงความจริงต้องเป็นยังไงครับ ถ้าหาก

ลงโทษตัดสินประหารชีวิต แต่จำเลยไม่เคยทำผิดมาก่อน

สามารถรอลงอาญาได้หรือเปล่า?

ประเทศไทยที่แล๊ะ ตุ้มแป๊ะ เพราะกฏหมายก็อยากให้ประณีประนอม คนไม่เคยมีความผิดเพราะศาลสั่ง ควรให้อภัย ถ้าหากอยากให้ข้าราชการเป็นคนดี กลัวกฏหมายต้องให้ว่า ผู้กระทำต้องเป็นเจ้าพนักงาน และที่สำคัญต้องเป็นเจ้าพนักงานที่มีหน้าที่กระทำการตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ และในการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่นั้นเป็นการกระทำโดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ดังนั้นหากขาดองค์ประกอบข้อใดข้อหนึ่งไปก็ไม่อาจถือได้ว่าเป็นการกระทำความผิดตามมาตรา 157 แห่งประมวลกฎหมายอาญา มีโทษจำคุกพร้อมปรับ และไม่มีการรอลงอาญา เพียงสองประการเท่านี้ รับรอง ...ไอ้ที่โครงการโตไปไม่โกง ฉีกทิ้งไปได้เลยอีกไม่เกิน 5 ปี

 

นักการเมืองชั่วไม่มีแขนขา ทำชั่วไม่ได้หรอก เพราะคนพวกนี้มัน- ขี้ขลาดไม่กล้าทำเอง ต้องให้ แขนขา(เจ้าพนักงาน)ทำ

 

 

แต่ผมคิดว่า ควรมีการรอลงอาญา แค่เป็นโทษที่ไม่เกิน 1 ปี

ถ้ามากกว่า ให้จำคุกโลดครับ นี่ 3 ปียังรอฯ อยากรู้ว่าต้อง

โดนขนาดไหนถึงจะไม่รอฯ



#14 hentai

hentai

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 6,046 posts

ตอบ 11 เมษายน พ.ศ. 2556 - 15:58

อย่างคุ้มเลย...  ถ้าสำเร็จ...  สบายไป..

ถ้าไม่สำเร็จ.. ไม่เคยติดคุก... จ่าย ค่าปรับสูงสุด สองหมื่น 

รอลงอาญา โลด...  

 

ดูอย่าง "อมเรศ ปรส"...ก็ ปรัป สองหมื่น   รอลงอาญา   

 

:D


"คนโง่มักจะชอบว่าคนอื่นว่าโง่"

"ถ้าคนเราคิดเหมือนกันหมด ก็ไม่มีเลือกตั้งซิครับ"

"ผมไม่พูด เรื่อง 112 แล้ว นะครับ กรุณาอย่าถาม (17 พค 2012)"


#15 ครุฑดำ

ครุฑดำ

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,056 posts

ตอบ 11 เมษายน พ.ศ. 2556 - 16:39

อย่างคุ้มเลย...  ถ้าสำเร็จ...  สบายไป..

ถ้าไม่สำเร็จ.. ไม่เคยติดคุก... จ่าย ค่าปรับสูงสุด สองหมื่น 

รอลงอาญา โลด...  

 

ดูอย่าง "อมเรศ ปรส"...ก็ ปรัป สองหมื่น   รอลงอาญา   

 

:D

แต่ไอ้ผีเร่ร่อนตัวนึงดันหนีคำตัดสินศาล เพราะเมียซื้อที่ดินผัวผิด :lol: :lol:


เอ็งขอเป็น"ขี้ข้าโจร" ข้าเลือกเป็น"ข้าธุลีพระบาท" เอ็งขอเป็น"ไพร่" ข้าเลือกเป็น"พสกนิกร"


#16 conservative

conservative

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 762 posts

ตอบ 11 เมษายน พ.ศ. 2556 - 18:32


อย่างคุ้มเลย...  ถ้าสำเร็จ...  สบายไป..
ถ้าไม่สำเร็จ.. ไม่เคยติดคุก... จ่าย ค่าปรับสูงสุด สองหมื่น 
รอลงอาญา โลด...  
 
ดูอย่าง "อมเรศ ปรส"...ก็ ปรัป สองหมื่น   รอลงอาญา   
 
:D

แต่ไอ้ผีเร่ร่อนตัวนึงดันหนีคำตัดสินศาล เพราะเมียซื้อที่ดินผัวผิด :lol: :lol:


ผีเร่ร่อนตนนี่มันเฮี้ยน(เหี้..)มากเลย

สามารถเอาถุงขนมมาให้ศาลได้ด้วย

#17 susu

susu

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,066 posts

ตอบ 11 เมษายน พ.ศ. 2556 - 19:30

 

3 ปี ได้รอลงอาญา?

คือว่าเคยได้ยินคำอธิบายถ้าโทษเกิน 2 ปี ไม่ถือว่า "ลหุโทษ"

รอลงอาญาไม่ได้ ตกลงความจริงต้องเป็นยังไงครับ ถ้าหาก

ลงโทษตัดสินประหารชีวิต แต่จำเลยไม่เคยทำผิดมาก่อน

สามารถรอลงอาญาได้หรือเปล่า?

ประเทศไทยที่แล๊ะ ตุ้มแป๊ะ เพราะกฏหมายก็อยากให้ประณีประนอม คนไม่เคยมีความผิดเพราะศาลสั่ง ควรให้อภัย ถ้าหากอยากให้ข้าราชการเป็นคนดี กลัวกฏหมายต้องให้ว่า ผู้กระทำต้องเป็นเจ้าพนักงาน และที่สำคัญต้องเป็นเจ้าพนักงานที่มีหน้าที่กระทำการตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ และในการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่นั้นเป็นการกระทำโดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ดังนั้นหากขาดองค์ประกอบข้อใดข้อหนึ่งไปก็ไม่อาจถือได้ว่าเป็นการกระทำความผิดตามมาตรา 157 แห่งประมวลกฎหมายอาญา มีโทษจำคุกพร้อมปรับ และไม่มีการรอลงอาญา เพียงสองประการเท่านี้ รับรอง ...ไอ้ที่โครงการโตไปไม่โกง ฉีกทิ้งไปได้เลยอีกไม่เกิน 5 ปี

 

นักการเมืองชั่วไม่มีแขนขา ทำชั่วไม่ได้หรอก เพราะคนพวกนี้มัน- ขี้ขลาดไม่กล้าทำเอง ต้องให้ แขนขา(เจ้าพนักงาน)ทำ

 

 

แต่ผมคิดว่า ควรมีการรอลงอาญา แค่เป็นโทษที่ไม่เกิน 1 ปี

ถ้ามากกว่า ให้จำคุกโลดครับ นี่ 3 ปียังรอฯ อยากรู้ว่าต้อง

โดนขนาดไหนถึงจะไม่รอฯ

ผู้กระทำต้องเป็นเจ้าพนักงาน :)  และที่สำคัญต้องเป็นเจ้าพนักงานที่มีหน้าที่กระทำการตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ และในการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่นั้นเป็นการกระทำโดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต






ผู้ใช้ 0 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้

สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 0 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน