รัฐบาลให้เหตุผลในการออกพระราชกำหนดกู้เงิน 3.5 แสนล้าน เพื่อบริหารจัดการน้ำ โดยอ้างความเร่งด่วนจากวิกฤตน้ำท่วมในปี 2554 และรัฐบาลมีความพร้อมที่จะดำเนินโครงการทันที จนศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่า ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ แต่หลังจากพระราชกำหนดกู้เงิน 3.5 แสนล้าน มีผลบังคับใช้มานานกว่า 1 ปี กลับพบว่ามีการเบิกจ่ายเงินกู้ก้อนนี้เ...พียงแค่ 5,900 ล้านบาทเท่านั้น ในขณะที่ตามเงื่อนไขของพระราชกำหนดดังกล่าวจะต้องกู้เงินทั้งหมดให้แล้วเสร็จภายในเดือนมิถุนายน 2556 หรือในอีก 2 เดือนข้างหน้า ไม่เช่นนั้นจะเท่ากับรัฐบาลหมดสิทธิกู้เงินก้อนนี้
สิ่งที่เกิดขึ้นสะท้อนถึงวิธีคิดของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ชินวัตร ที่บริหารประเทศด้วยการกู้เงินไว้ก่อนแล้วค่อยมาบริหารทีหลัง โดยมีบทพิสูจน์จากกรณีนี้ว่าไร้ประสิทธิภาพ รวมทั้งยังมีการให้ข้อมูลเท็จกับศาลรัฐธรรมนูญและประชาชนด้วย เพราะในขณะที่จะออกพระราชกำหนดกู้เงิน 3.5 แสนล้าน มีการข่มขู่ว่า หากไม่เห็นด้วยกับพระราชกำหนดกู้เงินนี้จะทำให้เกิดน้ำท่วมในปี 2555
ที่น่าสนใจคือเมื่อรัฐบาลไม่สามารถที่จะเบิกจ่ายเงินเพื่อมาทำโครงการบริหารจัดการน้ำจำนวน 3.5 แสนล้านบาทให้แล้วเสร็จภายในเดือนมิถุนายน เพราะขาดความพร้อม แทนที่รัฐบาลจะยกเลิกการกู้เงินจำนวนดังกล่าว กลับเตรียมใช้วิธีการเบิกเงินเป็นตัวเลขมาไว้ก่อน แล้วค่อยเบิกจ่ายทีหลัง ซึ่งมีความหมิ่นเหม่อย่างยิ่งที่จะขัดต่อรัฐธรรมนูญ เนื่องจากแสดงให้เห็นว่าการใช้เงินก้อนนี้ไม่ได้มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องออกเป็นพระราชกำหนด ซึ่งเรื่องนี้คงจะมีผู้ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเพื่อชี้ขาดในโอกาสต่อไป
แผนการใช้เงินกู้ 3.5 แสนล้านของรัฐบาล (เอกสารจากสำนักบริหารหนี้สาธารณะฉบับปรับปรุงปี 56 ครั้งที่ 1)
1.) ปรับวงเงินจาก 3.5 แสนล้านบาทเหลือ 3.4 แสนล้านบาท
2.) ปีกว่าหลังพระราชกำหนดกู้เงินมีผลบังคับใช้ กระทรวงการคลังกู้ไปแล้ว 1 หมื่นล้าน แต่มีการเบิกจ่ายถึง ม.ค.56 เพียงแค่ 5,900 ล้านบาท หรือคิดเป็น 1.73 % ของยอดเงินกู้ 3.4 แสนล้าน
3.) แบ่งการเบิกจ่ายออกเป็น 5 ปี ดังนี้
ปี 2556 จำนวน 69,800 ล้านบาท
ปี 2557 จำนวน 59,892.44 ล้านบาท
ปี 2558 จำนวน 62,696.16 ล้านบาท
ปี 2559 จำนวน 53,311.86 ล้านบาท
ปี 2560 จำนวน 94,299.08 ล้านบาท
(อัตราดอกเบี้ย 5.25 %)
จากแผนการใช้เงินข้างต้นจะเห็นว่ารัฐบาลไม่มีความจำเป็นที่จะต้องกู้เงินนอกระบบงบประมาณ เพราะการใช้เงินก้อนนี้สามารถจัดสรรในงบประมาณราบจ่ายประจำปีตามปกติได้ เนื่องจากเพดานหนี้ต่องบประมาณยังเหลือพื้นที่สำหรับการกู้เงินได้เพียงพอต่อความต้องการที่จะใช้จ่ายของรัฐบาล แต่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ กลับเลือกที่จะกู้เงินนอกงบประมาณผ่านการออกพระราชกำหนด ซึ่งหมิ่นเหม่ต่อการขัดรัฐธรรมนูญด้วย เนื่องจากไม่ใช่เรื่องเร่งด่วนตามที่กล่าวไปแล้วในข้างต้น เพียงเพื่อที่จะหลีกเลี่ยงการตรวจสอบตามระบบงบประมาณ...
ลิงค์แผนการบริหารหนี้สาธารณะ http://www.pdmo.go.th/plan2.php?m=pp&ms_id=64
