มาอ่านมาตรา ๑๐๒(๖) ไปพลางๆ ก่อนครับ
มาตรา ๑๐๒
บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัคร รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
(๑) ติดยาเสพติดให้โทษ
(๒) เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต
(๓) เป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตามมาตรา ๑๐๐ (๑) (๒) หรือ (๔)
(๔) ต้องคำพิพากษาให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาล
(๕) เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกโดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึงห้าปีในวันเลือกตั้ง เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๖) เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ เพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือถือว่ากระทำการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ
(๗) เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน เพราะร่ำรวย ผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ
(๘) เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำนอกจากข้าราชการการเมือง
(๙) เป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
(๑๐) เป็นสมาชิกวุฒิสภาหรือเคยเป็นสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกภาพสิ้นสุดลงแล้ว ยังไม่เกินสองปี
(๑๑) เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ
(๑๒) เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน หรือกรรมการ สิทธิมนุษยชน
ตามรัฐธรรมนูญ จะเห็นได้ว่าหากอ้างมาตรา ๑๐๒(๖) จะต้องเป็นการไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการเท่านั้น แต่ที่สุกำพลเซ็นไปนั้น มันเป็นการ "เพิกถอนคำสั่ง" ซึ่งไม่ได้เป็นการ ไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ
ถามว่า การเพิกถอนคำสั่ง มีผลเท่ากับการปลด ดังนั้นจะถือว่าเป็นการปลดได้หรือไม่ ก็ต้องตอบว่า ไม่ เพราะไม่งั้น รัฐธรรมนูญคงไม่ต้องเขียนย้ำๆ ว่า ไล่ออกบ้าง ปลดออกบ้าง ให้ออกบ้าง ซึ่งแปลว่าต้องไม่รวมถึงการออกจากราชการแบบอื่นๆ เช่น การสิ้นสุดความเป็นข้าราชการโดยผลของกฎหมาย การลาออก เป็นต้น ซึ่งการที่สิ้นสภาพแต่ละแบบก็มีผลลัพธ์ที่ต่างกัน จะเหมารวมเป็นอย่างเดียวกันไม่ได้
ทั้งนี้ ไม่ได้หมายความว่าอภิสิทธิ์ทำผิดจริง เพียงแต่ยึดตามคำสั่ง(ที่อาจจะเป็นคำสั่งที่มิชอบ)ที่สุกำพลเซ็นมา ก็ยังไม่เข้าข่ายที่จะทำให้อภิสิทธิ์พ้นสภาพ ส.ส. ได้