เหตุผลของการเสนอร่าง พรบ.ระบุไว้สำหรับร่างพระราชบัญญัติปรองดอง ของ ร.ต.อ.เฉลิม มีทั้งหมด 6 มาตรา
โดยเนื้อหาสำคัญอยู่ที่มาตรา 3 และ 4 ดังนี้
มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้ เรียกว่า “พระราชบัญญัติการปรองดองแห่งชาติ พ.ศ.”
มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในพระราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา 3 บรรดาการกระทำทั้งหลายทั้งสิ้นของบุคคลที่เกี่ยว เนื่องกับการชุมนุมทางการเมือง การแสดงความคิดเห็นทางการเมืองหรือการกระทำใดที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำดัง กล่าวในระหว่าง พ.ศ.2549 จนถึงวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ หากมีการกระทำใดเป็นความผิดตามกฎหมาย ไม่ว่ากระทำในฐานะตัวการ ผู้สนับสนุน ผู้ใช้กระทำรือผู้ถูกใช้ให้กระทำ ไม่เป็นความผิดต่อไป และให้ผู้ที่ได้กระทำการนั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด และความรับผิดชอบโดยสิ้นเชิง
ในกรณีที่ผู้กระทำการตามวรรคหนึ่งอยู่ในระหว่างการสอบสวน ให้ผู้มีอำนาจสอบสวนระงับการสอบสวนนั้น ถ้าอยู่ในระหว่างการฟ้องร้อง ให้พนักงานอัยการ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระงับการฟ้อง ถ้าอยู่ในระหว่างพิจารณาคดีให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดี ถ้าได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิด ถ้าผู้นั้นรับโทษอยู่ก็ให้การลงโทษนั้นสิ้นสุด ให้นำความในวรรคหนึ่งและวรรคสองมาใช้บังคับกับการกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐ และบุคคลใดๆ อันเกี่ยวเนื่องจากการป้องกันระงับ หรือปราบปราม ในเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมืองการแสดงความเห็นทางการเมือง หรือการกระทำใดที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำดังกล่าวตามวรรคหนึ่งด้วย โดยอนุโลม
เพื่อประโยชน์แห่งพระราชบัญญัตินี้ การชุมนุมทางการเมืองหรือการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง หมายความว่า การกระทำหรือการแสดงความคิดเห็นเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการใดๆ ตามข้อเรียกร้อง และให้หมายความรวมถึงการยึดหรือปิดสถานที่เพื่อประท้วง การต่อสู้ขัดขืนในการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือการประทุษร้ายต่อร่างกายและทรัพย์สิน ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ต่อเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง
มาตรา 4 บรรดาการกล่าวหาการกระทำความผิดบุคคลใดๆ ที่เกิดจากคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งได้ยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549 หรือจากคณะบุคคลซึ่งได้รับแต่งตั้งตามคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเป็นการกล่าวหาจากหน่วยงานอื่นใด อันเป็นผลสืบเนื่องจากการดำเนินการของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ไม่ว่าเป็นการกล่าวหาในข้อหาใด ให้ถือว่าเป็นการกล่าวหาในความผิดทางการเมือง และให้การกล่าวหาการกระทำความผิดนั้นเป็นอันระงับไป โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เป็นผู้กระทำความผิด และให้นำความในมาตรา 3 วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา 5 ในกรณีที่มีผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำใน เหตุการณ์การชุมนุมทางการเมือง การแสดงความคิดเห็นทางการเมืองหรือการกระทำใดที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำดัง กล่าวตนมมาตรา 3 วรรคหนึ่ง ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาช่วยเหลือเยียวยาความเสียหายตามความเหมาะสม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
มาตรา 6 ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
//--------------------------------------------------------------
ทักกี้ ไม่มีความผิด ได้เงินคืน กลับมาเล่นการเมืองใหม่
นักการเมืองทุกคนที่เกี่ยวข้อง สมัยสมัคร สมชาย อภิสิทธิ์ ไม่มีความผิด
เจ้าหน้าที่รัฐ ไม่มีความผิด
กลุ่มชุมนุมทุกสี ไม่มีความผิด