นำมาจากเฟสบุ๊คนะครับ
ปล. เกิน 3 บรรทัด นะฮะ
เนื่องมาจากรัฐบาลและพรรคเพื่อไทยได้เสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ต่อมามีประชาชนไปร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญว่าการแก้ไขมาตรา 291 ดังกล่าวขัดมาตรา 68 ศาลรับไว้พิจารณา และมีคำวินิจฉัยออกมาทำให้รัฐสภาไม่กล้าที่จะดำเนินการต่อจนถึงปัจจุบัน จึงเกิดข้อถกเถียงว่า
1.ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจรับเรื่องที่ประชาชนไปร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยตรงได้หรือไม่
ฝ่ายรัฐบาลและพรรคเพื่อไทยเห็นว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจรับคำร้องจากประชานผู้ร้องโดยตรง ผู้ร้องต้องร้องผ่านอัยการสูงสุด และเห็นว่าการที่ศาลรัฐธรรมนูญรับเรื่องนี้ไว้พิจารณาเป็นการก้าวก่ายอำนาจนิติบัญญัติ ฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลก็อธิบายว่าศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจและไม่เป็นการก้าวก่ายอำนาจนิติบัญญัติ คือต่างฝ่ายต่างตีความไปทางที่ตนเองต้องการแล้วก็บอกว่าไม่มีทางออก รัฐบาลและพรรคเพื่อไทยจึงเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 68 เพื่อให้ประชาชนยื่นโดยตรงต่อศาลไม่ได้ต้องผ่านอัยการสูงสุด...ฝ่ายตรงข้ามก็ค้านว่าอย่างนี้เป็นการตัดสิทธิประชาชน
ปัญหาดังกล่าวถกเถียงกันในเรื่องของการตีความ เพราะประเทศเราสอนเรื่องการตีความเป็นหลักไม่ค่อยมีการสอนหลักในการคิดวิเคราะห์ ปัญหาจึงเกิดและเกิดเป็นต้นเหตุของหลายมาตรฐาน
สิ่งที่น่าจะนำมาพิจารณาก็คืออำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย ดังนั้นการใช้อำนาจต้องกระทำเพื่อประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก เพราะระบอบประชาธิปไตยนั้นมาจากประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน แต่การถกเถียงหรือเป็นปัญหาทางการเมืองในเวลานี้ไม่ได้คิดถึงประชาชน คิดถึงแต่ประโยชน์ของผู้ใช้อำนาจ...ไม่ไช่หลักประชาธิปไตย
การที่ศาลรับเรื่องที่ประชาชนไปร้องต่อศาลถามว่าประชาชนได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์...ประชาชนไม่เสียหายแต่หากศาลไม่รับซิประชาชนเสียหาย เพราะหากประชาชนต้องไปยื่นต่ออัยการสูงสุดแล้วอัยการบอกไม่มีเหตุผลไม่ยื่นต่อให้ศาลพิจารณา อย่างนี้ซิประชาชนเสียหายทำไมรัฐบาลและพรรคเพื่อไทยไม่พูดเรื่องนี้ซึ่งเป็นหลักสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน
ส่วนประเด็นว่าศาลรัฐธรรมนูญ(อำนาจตุลาการ) ก้าวก่ายรัฐสภา(อำนาจนิติบัญญัติ) เรื่องนี้ ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลก็ออกมาด่าว่าศาลล้วงลูกก้าวก่ายรัฐสภาขยายอำนาจของตนเอง ลูกสมุนก็ประท้วงคัดค้านด่าศาลกันอย่างเมามันจนเข้าคุกไปแล้วก็มีและกำลังจะเข้าคุกอีกก็มี
เรื่องนี้ก็เป็นหลักการพื้นฐานของการแบ่งแยกอำนาจของมองเตสกิเออ ที่เด็กชั้นมัธยมก็เรียนกันแล้วว่าในระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภาอย่างประเทศไทยนี่อำนาจนิติบัญญัติก็ถ่วงดุลอำนาจตุลาการ เพราะอำนาจนิติบัญญัติเป็นผู้บัญญัติกฎหมายถ้าอำนาจนิติบัญญัติไม่บัญญัติกฎหมายให้อำนาจตุลาการๆก็จะไม่มีอำนาจหรือบัญญัติให้อำนาจมากน้อยเพียงใดก็เท่านั้น และอำนาจตุลาการโดยศาลรัฐธรรมนูญก็ควบคุมตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญความชอบด้วยกฎหมายที่อำนาจนิติบัญญัติๆออกมา...กระบวนการดังกล่าวก็เพื่อประโยชน์ของประชาชน หากไม่ยอมรับการถ่วงดุลตรวจสอบก็ไม่ต่างอะไรกับบ้านป่าเมืองเถื่อน...คนชั่วจะมีอำนาจ
ดังนั้นการที่ศาลรัฐธรรมนูญรับวินิจฉัยและวินิจฉัยออกมาเป็นประโยชน์แก่ประชาชน ไม่เห็นมีอะไรเสียหาย
แต่ในทางตรงข้ามถ้าศาลรัฐธรรมนูญไม่รับวินิจฉัยปล่อยให้อำนาจนิติบัญญัติหรือรัฐสภาแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ตามใจชอบเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองยุบเลิกศาลแล้วเอาอำนาจไปอยู่ที่ฝ่ายรัฐบาลหมดประชาชนจะไม่เดือดร้อนหรือ
รัฐบาลและพรรคเพื่อไทยทำเพื่อประชาชนหรือทำเพื่อใคร ด้วยเหตุนี้ลิ่วล้อเผด็จการรัฐสภาเห็นว่าศาลรัฐธรรมนูญเป็นก้างขวางคอจึงต้องจัดการแก้ไขมาตรา 68 ไม่ให้ศาลมีอำนาจช่วยเหลือประชนได้ประชาชนจะพึง่ใคร
ผู้เขียนถูกใจคำพูดของเพื่อนใน fb ส่งมาบอกว่า “บ้านเมืองจะเปลี่ยนไป กฎหมายไทยก็กำลังจะถูกทำลาย”....”กฎหมายจะไร้ค่า ถ้าได้คนหมาๆมาใช้อำนาจ” (24/05/56)