เจ๊เพ็ญ'จัดหนัก'ช่อง3' ซ่อนมือกำมีด-รับใช้ใคร อัด'ทำข่าวให้เป็นละคร' ฉุนใช้'ออฟ'ทำจุฑาเทพ
วันที่ 24 พ.ค.2556 นายจักรภพ เพ็ญแข อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ค"จักรภพ เพ็ญแข - Jakrapob Penkair" วิพากษ์วิจารณ์การทำหน้าที่สื่อมวลชนของสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง3 แบบถึงพริกถึงขิง มีใจความว่า
ต่อเรื่องช่อง ๓ กันอีกสักวันนะครับ เพราะดูเหมือนท่านจะสนใจกันและผมก็ยังมีเรื่องเล่าอีกมาก หากมีใครถามขึ้นว่า เราคุยเรื่องช่อง ๓ กันตั้งนานสองนานไปทำไม ทำไมไม่เสวนาในเรื่องที่ดูจะใหญ่กว่านั้น เช่น การแก้ไขรัฐธรรมนูญ การนิรโทษกรรม ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ แนวคิดปฏิรูปพรรคประชาธิปัตย์ เป็นต้น ท่านกรุณาอธิบายให้เขาฟังแทนผมด้วยว่า เหตุที่การเมืองไทยเข้าสู่วิกฤติถึงขนาดนี้ เพราะการครอบงำทางวัฒนธรรมในสังคมไทย เราจึงจำเป็นต้องเริ่มวางแนวทางปฏิรูปวัฒนธรรม หรือแม้แต่ต้องคิดปฏิวัติวัฒนธรรมอย่างเป็นกระบวนการ จากนี้ไป วัฒนธรรมเป็นแบบแผนความคิด-ความเชื่อที่ส่งผลโดยตรงต่อพฤติกรรมและการปฏิบัติตัวของคนไทย เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ มีประเด็นเกี่ยวข้องมาก ผมจึงเริ่มจากเรื่องเล็กๆที่ส่งผลมากๆ ในสังคมไทยปัจจุบันเสียก่อน ตอนนี้จึงมาคุยเรื่องช่อง ๓ ซึ่งกลายเป็นขุนพลของอีกฝ่ายหนึ่งในการบังคับความคิดของคนไทยให้อยู่ในกรอบของยุทธศาสตร์เก่า โดยใช้ฝีมืออันจัดเจนและทักษะในระดับสูงมาเป็นเครื่องมือ ไม่เฉพาะในการเสนอข่าว แต่รวมถึงละคร บันเทิง กีฬา และกิจกรรมการตลาดเกี่ยวเนื่องที่แตกลูกออกไปอีกมาก
กลยุทธ์การทำข่าวให้เป็นละคร (news dramatisation) ความจริงเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการทำสังคมไทยให้เป็นละคร (national dramatisation) ความเป็นละครหมายความว่า ชีวิตแบบไทยมีจุดจบของแต่ละตอน หรือตอนจบของเรื่องที่แน่นอนอยู่แล้ว ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นการจบแบบให้ความสุข (happy ending) ไม่ว่าก่อนหน้านั้นจะระหกระเหินผ่านความทุกข์ร้อนขนาดไหนก็ตาม การสร้างละครมาให้คนเขาได้ “หนี” จากความจริงที่บางครั้งก็เจ็บปวดทุกข์ร้อนนั้นไม่ใช่เรื่องแปลก และไม่ได้ทำเฉพาะในเมืองไทยหรือช่อง ๓ เท่านั้น แต่ช่อง ๓ เป็นผู้เพิ่มความหมายทางการเมืองและสังคมผ่านช่องทางละครและรายการข่าวของตัวเองเข้าไปทีละน้อย ด้วยวิธีทำให้พรมแดนระหว่างข่าวกับบันเทิงเจือจางลง จนกลายเป็นเนื้อเดียวกันในบางครั้ง
รายการ “เรื่องเล่าเช้านี้” และ “เรื่องเล่าเสาร์-อาทิตย์” ซึ่งเป็นรายการข่าวของช่อง ๓ ที่ทำกำไรจากเม็ดเงินโฆษณาได้มากที่สุด เป็นหัวหอกในเรื่องนี้ วิธีการคือลดทั้งขนาดและความสำคัญของข่าวการเมือง ลงมาเป็นเพียงเนื้อหาส่วนหนึ่งของรายการ เพื่อให้ข่าวอื่นๆที่มิใช่ข่าวการเมืองช่วยข่มและกดทับความสำคัญของข่าวการเมืองลงไป เราจะเห็น “โฆษกช่อง ๓” แบบคุณสรยุทธ์ฯ คุณกรุณาฯ คุณภาษิตฯ และคุณอะไรต่อมิอะไรอีกหลายคุณ นำเสนอข่าวการเมืองแบบเหนื่อยหน่าย จำใจ และมีลักษณะชวนให้รู้สึกตามว่า บ้านเมืองจะไม่น่าอยู่หากเราคุยการเมืองกันมากเกินไป เขาจึงเป็นตัวแทนช่อง ๓ เอาโก๊ะตี๋และตัวแสดงอื่นๆรีบนำเนื้อหาฝ่ายบันเทิง มโนสาเร่ กีฬา การพนัน (โดยอ้อม) ไสยศาสตร์ (โดยตรงและโดยอ้อม) มาสวมต่อกันทันที อาศัยจุดอ่อนของคนไทยจำนวนไม่น้อยหนึ่งที่ถูกระบบการศึกษาทำให้กลายเป็นคนสมาธิสั้น อดทนสั้น กลัวการคิดที่ซับซ้อน กลัวเครียดฯลฯ มาเป็นเครื่องมือสำคัญ
รายการข่าวต้องนำเสนอข่าวทุกชนิด ไม่ใช่เสนอเฉพาะข่าวการเมืองก็ถูกต้องล่ะครับ แต่การออกจากพรมแดนข่าวหนึ่งไปสู่อีกข่าวหนึ่ง ต้องกระทำอย่างจริงจังและแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมมากกว่าจะโยนทิ้งไปเหมือนเศษกระดาษสักชิ้นหนึ่ง เจตนานำภาพลักษณ์ของความเป็นข่าวบันเทิงเข้ามาปะปนกับข่าวการเมือง จนข่าวการเมืองมีลักษณะเลือนหรือด้อยความสำคัญลงไป ทั้งๆที่เรื่องเหล่านั้นก่อให้เกิดสงครามกลางเมืองระหว่างคนไทยกันมาแล้ว ถือเป็นมิจฉาทิฐิ ตั้งใจจะทำให้สังคมไทยเป็นสังคมที่คิดตื้น ทำตื้น ไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์อยู่ไม่กี่องค์แล้วอะไรมันก็ดีไปเองโดยไม่ต้องบริหารหรือเสียสละลงทุนอะไรในชีวิต ไม่แปลกใจบ้างหรือ เพียงไม่กี่ปีมานี้ มวลชนเขายกขบวนกันไปถึงอาคารมาลีนนท์ที่ถนนพระราม ๔ เพื่อถามหาความเป็นธรรม จนต้องอพยพพนักงานวุ่นวายไปทั้งตึก เพราะกลัวเขาจะเผาตึก (พนักงานช่อง ๓ โลกแคบบางคนถือเอาเหตุนี้มาโกรธแค้นมวลชนฝ่ายนี้ไปเลย)
สงสัยบ้างไหมครับว่าทำไมเขาจึงกล่าวโทษช่อง ๓ ได้ ทั้งๆที่ช่อง ๓ ก็ซ่อนมือที่กำมีดเอาไว้อย่างมิดชิด ผมอยากจะบอกไว้ตรงนี้ว่า นี่ล่ะครับคือปัญญามวลชนที่คนบางกลุ่มในสังคมไทยดูถูกนักหนา มวลชนที่ผมได้สัมผัสและรู้จักอย่างใกล้ชิดมีลักษณะที่แปลก หลายท่านไม่ได้เรียนมาสูง พูดภาษาวิชาการอะไรกับเขาสักนิดก็ไม่ได้ แต่เอาเข้าจริงแล้วกลับมีความเข้าใจลึกซึ้งเกี่ยวกับสังคมไทย ยิ่งกว่านักวิชาการมืออาชีพบางคนที่ดำรงตนเป็นโสเภณีมาตั้งแต่ได้ทุนการศึกษาจากผู้มีอำนาจ เหมือนคนขับแท็กซี่หลายท่านที่วิเคราะห์การเมืองไทยได้ลึกซึ้งกว่านักรัฐศาสตร์สำนักหลวง ก็เพราะมวลชนเหล่านี้เป็นชาวบ้านแท้ๆ ฉลาดด้วยประสบการณ์ที่ผ่านร้อนผ่านหนาว ฉลาดจากความยากจนข้นแค้น ฉลาดแบบคนรู้ทุกข์รู้สุข ฉลาดแบบคนขวนขวายหาทางรอดเพราะไม่มีใครมาช่วยและไม่มีมรดกตกทอดมาจากใคร และฉลาดแบบปฏิบัติไม่ใช่ทฤษฎี เขาอาจจะไม่สามารถวิเคราะห์ได้เป็นฉากๆ ว่าช่อง ๓ ทำอะไรอยู่ แต่เขาเข้าใจลึกซึ้งทีเดียวว่าช่อง ๓ กำลังทำให้ใคร
ผมยังจำคุณป้าคนหนึ่งได้ ท่านไปฟังคำบรรยาย “นิติราษฎร์” ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ฟังแล้วก็เล่าว่าไม่ค่อยรู้เรื่องนักว่า “นิติราษฎร์” นำเสนออะไร เพราะใช้ภาษาสูงเกินไปสำหรับป้า แต่ป้ารู้อย่างเดียวว่า สิ่งที่ “นิติราษฎร์” เสนอนั้นป้าเอาด้วย และนั่นล่ะคือสิ่งที่มวลชนด้อยการศึกษาอย่างป้าต้องการเห็นเกิดขึ้นในเมืองไทย ผมจึงเข้าใจซาบซึ้งว่า สิ่งที่สำคัญกว่าความรู้คือจิตสำนึกและภูมิปัญญา คนหัวดีมักทำงานหลายอย่างแทนคนอื่นๆ ที่หัวไม่ดีเท่า เช่น รักษาโรค สอนหนังสือ สร้างบ้านสร้างตึก เป็นต้น แต่คนที่เปลี่ยนแปลงสังคมจริงๆ มักเป็นคนจิตใจดีมากกว่าคนหัวดีเสมอ คนหัวดีเสียอีกที่บางครั้งคิดมากเกินไปในเรื่องของผลประโยชน์ส่วนตน จนหมดความกล้าหาญที่จะทำประโยชน์ต่อส่วนรวม ก็เพราะเอาปัญญามารับใช้ความสุขส่วนตัวจนเกินไปนั่นเอง
ช่อง ๓ และสื่อผู้มีอิทธิพลและรวยล้นเหลือแล้วทั้งหลายควรปรับบทบาทเสียใหม่ สื่อไทยต้องทำตัวเป็นที่ปรึกษาทางความรู้และวิชาการของประชาชนที่ประชาชนไม่ต้องเสียสตางค์มากเกินไปเพื่อให้ได้มา ชี้ให้เห็นช่องทางพัฒนาตัวเองทั้งในทางปัญญา การดำรงชีวิต และการประกอบอาชีพ ละครอย่างตระกูล “จุฑาเทพ” กำลังทำตรงข้าม เอาเรื่องของหม่อมราชวงศ์ที่ในตระกูลเขาเองถือว่าเป็นเจ้าหางแถว (ยังจำอาจารย์รัฐศาสตร์ จุฬาฯ ท่านหนึ่งที่อยู่ในสายสกุล “สนิทวงศ์” ท่านเรียกตัวเองว่า “หางวงศ์”) มายั่วให้คนในสังคมคิดถึงชาติตระกูล ฐานันดร มรดกตกทอดที่ไปเบียดเบียนเขามามากกว่าจะคิดถึงความเป็นมนุษย์ที่มีสิทธิเท่าเทียมกันในความสุขและความสำเร็จแห่งชีวิต เจ้าจะดีงามหรือตกต่ำเสื่อมถอยขนาดไหนขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของเจ้าเอง ไม่ได้อยู่ที่ละครช่อง ๓ ถ้าจะซ้ำซากกันเอา “บ้านทรายทอง” มาทำซ้ำเป็นครั้งที่ห้าร้อยเสียยังดีกว่า เพราะ “บ้านทรายทอง” เป็นเรื่องของคนกลุ่มหนึ่งที่แสร้งว่าเป็นมาตรวัดอันสูงส่งแห่งสังคม ขนาดที่คนทั่วไปควรกราบไหว้เพราะต่ำกว่า แต่เอาเข้าจริงก็คนธรรมดาที่เปี่ยมไปด้วยรัก โลภ โกรธ หลงเท่านั้นเอง ชาวบ้านเขาถึงชอบดูกันนัก พึงรู้ด้วยว่า เขาไม่ได้ดูเพราะประทับใจในความเป็น “สว่างวงศ์” แต่เขาดูเพราะอยากรู้ว่า “สว่างวงศ์” โดยเนื้อแท้มีวิสัยอย่างไร ก็เพื่อความสะใจของคนที่ถูกบังคับให้เคารพบูชา “สว่างวงศ์” มาตลอดชีวิตของการดูมหรสพนั่นเอง
แถมยังเลือกคนแบบ นายพงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง มาเป็นผู้กำกับฯ ส่วนหนึ่งเสียด้วย คนๆนี้ไล่คนไทยที่ไม่เห็นด้วยกับเขาออกจาก “บ้านพ่อ” มาแล้ว ช่อง ๓ เลือกคนที่มีแนวคิดแบบนี้มาทำอะไร หรือละครที่กำลังนำเสนออยู่นี้เป็นเพียงภารกิจทาสีบ้านพ่อที่สีจางลงเท่านั้นเอง จึงต้องการนักระบายสีรุ่นใกล้ชรามาทดแทนนักระบายสีรุ่นเก่าที่ชราภาพหมดแรงไปแล้ว
ผมรู้จักช่อง ๓ ดี และรู้ว่ายังมีคนมีอุดมการณ์แฝงอยู่ในช่อง ๓ มาก ผมใช้คำว่าแฝง เพราะท่านเหล่านี้แสดงตัวไม่ได้ ขอให้ท่านรู้ว่าผมรู้และอย่าเคืองใจที่บางครั้งผมพูดเหมือนเหมาทั้งเข่ง บรรยากาศภายช่อง ๓ ไม่แตกต่างจากระบบเจ้าขุนมูลนายภายนอกนัก เจ้าหน้าที่หลายคนเรียกผู้บังคับบัญชาว่านาย แทนที่จะเรียกตำแหน่งหรือขานชื่อ เหมือนข้าราชการสายทหารหรือสายปกครอง ผมรู้สึกทะ***ๆ กับประเพณีมาตั้งแต่ต้น ครั้งหนึ่งผมลงลิฟต์มากับอดีตนายกรัฐมนตรี สมัคร สุนทรเวช ซึ่งในขณะนั้นมิได้เป็นผู้มีตำแหน่งทางการเมืองและผมเองมีความสัมพันธ์กับท่านเพียงผู้สัมภาษณ์กับผู้ให้สัมภาษณ์ทางโทรทัศน์เท่านั้น ปรากฏว่าผู้ประกาศข่าวชายที่มีชื่อเสียงมากคนหนึ่ง ก้าวเข้ามาในลิฟต์แล้วก็เรียกคุณสมัครฯ ว่า “นาย” เขาจะมีบุญคุณคุ้มหัวกันมาขนาดไหนผมก็ไม่ทราบ แต่ผมรู้สึกสะดุดใจมาก คนเป็นสื่อมวลชนไม่ควรอย่างยิ่งที่จะนับถือใครเป็น “นาย” อย่างมากก็เพียงยกย่องตามตำแหน่งหน้าที่และภารกิจเท่านั้น
คำว่า “นาย” เป็นคำแรงสำหรับอาชีพที่ต้องรับใช้สังคมและมวลชน เพราะต้องสำแดงความจงรักภักดีอย่างออกนอกหน้าเพื่อให้คนรอบข้างยอมรับว่าเป็นลูกน้องที่ดี วัฒนธรรมในช่อง ๓ ขณะนี้ยังเป็นเช่นนี้ ผมจึงเข้าใจดีที่บางคนแสดงตัวในทางการเมืองชัดเจนนักไม่ได้ และท่านก็ไม่ควรแสดง รอเวลาให้สถานการณ์เรียกหาเมื่อใด ท่านช่วยเอื้อมมาจับมือมวลชนด้วยก็แล้วกัน
ไอ้ตุ๊ดเวรนี่ มันมีอดีตอะไรที่ขมขื่นกับเจ้ามากมาย มันนึกว่าเขมรคงคุ้มครองมันได้ตลอดชีวิต ก็จงอยู่เขมรไปทั้งชีวิต จนกว่าจะตายด้วยโรคเอดส์ อย่าได้คิดกลับเมืองไทย มาเมื่อไหร่ คงมีคนรอรับขวัญด้วยสิ่งแปลกปลอมนานาชนิด เพราะไอ้นี่ชอบของแปลก
ไอ้พวกขี้ข้าทักษิณ มันก็เรียกไอ้เหลี่ยมว่านายกันทั้งนั้น ทำไมไม่ไปเตือนพวกเดียวกัน
Edited by Tatiana, 24 May 2013 - 23:10.