Jump to content


Photo
- - - - -

"อาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ" วิพากษ์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ


  • Please log in to reply
15 ความเห็นในกระทู้นี้

#1 หมื่นปีขอมีทักษิณคนเดียว

หมื่นปีขอมีทักษิณคนเดียว

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,167 posts

ตอบ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2556 - 19:29

จาก www.pub-law.net        
                        

 

ศ.ดร.นันทวัฒน์ บรมานันท์  อาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ  บรรณาธิการ เว๊ปไซต์ กฎหมายมหาชน www.pub-law.net  ได้เขียน บทบรรณาธิการ เรื่อง  การสลับตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญ (วันจันทร์ที่ 3 ถึงวันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน 2556) สาระสำคัญ มีดังนี้

 

 

เมื่อวันอังคารที่ 28 พฤษภาคม ที่ผ่านมา คณะกรรมาธิการกิจการองค์กรตามรัฐธรรมนูญและติดตามการบริหารงบประมาณ วุฒิสภา ได้มีหนังสือเชิญให้ผมไปร่วมประชุมกับคณะกรรมาธิการเพื่อปรึกษาหารือและขอคำแนะนำในปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญของคุณชัช ชลวร ภายหลังการลาออกจากตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญ
                        

 

เดิมนั้น ผมเข้าใจว่าเรื่องข้อกังขาเกี่ยวกับสถานะของคุณชัช ชลวร นั้นคงไม่มีใครนำมาพูดถึงอีกแล้ว เพราะที่ผ่านมาเมื่อครั้งที่คุณชัช ฯ ดำรงตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญ เลขานุการของคุณชัชฯ ก็ได้สร้างข่าวครึกโครมเกี่ยวกับการเข้าไปมีส่วนพัวพันกับปัญหาการยุบพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งในตอนนั้นก็มีการตั้งประเด็นกันว่า คุณชัช ฯ ตั้งคนๆ นั้นเข้ามาเป็นเลขานุการตนเองได้อย่างไร เรื่องดังกล่าวจบลงด้วยการปล่อยให้ผ่านไปจนคนลืม

 

 

ผมก็เลยคิดว่าเรื่องของสถานะการเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญของคุณชัช ฯ ก็คงเป็นเช่นเดียวกับเรื่องก่อนก็คือเงียบแล้วปล่อยให้ผ่านไปจนคนอื่นลืมๆ กันไปเอง แต่เมื่อได้รับหนังสือจากคณะกรรมาธิการจึงทราบว่ายังมีผู้ติดตามเรื่องนี้อยู่ โดยเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2556 คุณเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ได้มีหนังสือไปยังคณะกรรมาธิการกิจการองค์กรตามรัฐธรรมนูญและติดตามการบริหารงบประมาณ วุฒิสภา เพื่อขอให้สอบสวนการงบประมาณของสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญว่ามีการจ่ายเงินเดือนหรือผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นให้นายชัช ชลวร ในสถานะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งไม่ได้รับการโปรดเกล้าตั้งแต่วันที่ลาออกจากประธานศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2554 ว่า การงบประมาณที่ใช้จ่ายไปตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม 2554 มาถึงปัจจุบันให้แก่นายชัช ชลวร นั้น ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
                        

 

เพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบเกี่ยวกับเรื่องเงิน คณะกรรมาธิการมีความจำเป็นที่จะต้องทราบถึง “สถานะ” ของคุณชัช ชลวร ว่าปัจจุบันยังคงดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่ จึงได้เชิญผมและนักวิชาการบางคนไปร่วมแสดงความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าว
                        

 

บทบรรณาธิการครั้งนี้ ผมจึงขอนำเอาข้อมูลที่ได้จากการไปแสดงความคิดเห็นต่อคณะกรรมาธิการนำมาเสนอเพื่อให้เรื่องดังกล่าวถูกบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าและเพื่อประโยชน์ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องที่จะมีในวันข้างหน้าต่อไปครับ
                        

 

เรื่องเริ่มต้นในวันที่ 27 มิถุนายน 2551 ราชกิจจานุเบกษาได้พิมพ์ประกาศแต่งตั้งประธานศาลรัฐธรรมนูญและคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญลงวันที่ 28 พฤษภาคม 2551 โดยในตอนต้นของประกาศ เป็นการเล่าถึงกระบวนการได้มาซึ่งบุคคลเก้าคน โดยมีข้อความตอนหนึ่งระบุว่า ...ซึ่งบุคคลทั้งเก้าคนได้ประชุมเลือกกันเองให้คนหนึ่งเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ... ในวรรคต่อมาของประกาศเป็นพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ โดยมีชื่อของคุณชัช ชลวร เป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ ส่วนอีก 8 คนเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
                        

 

ในการประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2554 คุณชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญแถลงขอสลับตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญโดยยังดำรงตำแหน่งเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ที่ประชุมเสียงข้างมากคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จำนวน 7 คน มีมติเป็นเอกฉันท์เห็นชอบให้คุณชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญพ้นจากตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา 210 วรรคสี่ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 โดยยังดำรงตำแหน่งเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และให้คุณชัช ชลวร ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญปฏิบัติหน้าที่ประธานในที่ประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จากนั้นคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญก็ได้ประชุมเพื่อเลือกประธานศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่ เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2554 ปรากฎว่า คุณวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ได้รับเลือกให้เป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ
                        

 

ต่อมาวันที่ 26 สิงหาคม 2554 เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญได้มีหนังสือแจ้งไปยังประธานวุฒิสภา เพื่อขอให้ดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ คือนำชื่อประธานศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่ขึ้นกราบบังคมทูล โดยมีข้อความตอนหนึ่งว่า ...ในการประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2554 ประธานศาลรัฐธรรมนูญแถลงต่อที่ประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญว่าการสลับตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลรัฐธรรมนูญยังคงดำรงตำแหน่งเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญอยู่จนกว่าจะมีพระบรมราชโอการโปรดเกล้าฯ ให้พ้นจากตำแหน่ง ประธานศาลรัฐธรรมนูญเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและแต่งตั้งประธานศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่... และต่อมาในวันที่ 9 กันยายน 2554 เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญก็ได้มีหนังสือไปถึงเลขาธิการวุฒิสภา อธิบายขยายความรายละเอียดเกี่ยวกับการเลือกประธานศาลรัฐธรรมนูญ มีเนื้อหาสรุปได้ว่า ประธานศาลรัฐธรรมนูญนั้นดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญด้วยอีกสถานะหนึ่ง และการสลับตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญมาเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญสามารถทำได้
                        

 

ในวันที่ 13 ตุลาคม 2554 สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ได้มีหนังสือแจ้งไปยังเลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญขอให้ตรวจสอบพิจารณาร่างหนังสือกราบบังคมทูลและร่างประกาศแต่งตั้งประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ในวันถัดมา คือวันที่ 14 ตุลาคม 2554 สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญก็ได้มีหนังสือไปยังเลขาธิการวุฒิสภา อธิบายเรื่องของการสลับตำแหน่งอีกครั้งหนึ่ง พร้อมกับขอให้ประธานวุฒิสภานำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง 
                        

(1) นายชัช ชลวร พ้นจากตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญ และเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
                        

(2) นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ เป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ
                        

ในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2554 ราชกิจจานุเบกษาได้พิมพ์ประกาศแต่งตั้งประธานศาลรัฐธรรมนูญลงวันที่ 26 ตุลาคม 2554 โดยมีข้อความว่า
                        

 “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศว่า ตามที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้ง นายชัช ชลวร เป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ ตามประกาศลงวันที่ 28 พฤษภาคม 2551 แล้วนั้น 
                    

 

บัดนี้ นายชัช ชลวร ได้ขอลาออกจากตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พ้นจากตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญ 
                    

 

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 204 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งนายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญตามคำแนะนำของวุฒิสภา ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป”
                        

 

ภายหลังจากที่ได้มีการประกาศพระบรมราชโองการแต่งตั้ง คุณวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ เป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ ก็ได้เกิดข้อโต้เถียงทางวิชาการตามมามากมาย
                        

 

ข้อถกเถียงประการที่สำคัญที่สุดก็คือ คุณชัช ชลวร ยังคงเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอยู่หรือไม่
                        

 

ในประเด็นที่เป็นข้อกฎหมายนั้น หากพิจารณาด้วยถ้อยคำของมาตรา 204 ของรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2550 เกี่ยวกับองค์ประกอบของศาลรัฐธรรมนูญ มาตรา 204 บัญญัติว่า ศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วยประธานศาลรัฐธรรมนูญคนหนึ่งและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอื่นอีก 8 คน มีที่มาจากการที่ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกตามกระบวนการที่กำหนดไว้ในมาตรา 204 ประชุมเลือกกันเองให้คนหนึ่งเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อมีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง จึงเป็นการแต่งตั้งตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ คือ แต่งตั้งให้บุคคลหนึ่งเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญและอีก 8 คนเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญสามารถลาออกได้ตามมาตรา 209 (3) แห่งรัฐธรรมนูญ ผลของการลาออกก็เป็นไปตามหลักทั่วไปคือ พ้นจากตำแหน่งนั้น

 

กล่าวคือ หากประธานศาลรัฐธรรมนูญลาออกจากตำแหน่ง ก็ต้องพ้นจากความเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ หากตุลาการศาลรัฐธรรมนูญลาออกจากตำแหน่ง ก็ต้องพ้นจากความเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อมีการลาออก รัฐธรรมนูญก็ได้กำหนดกระบวนการให้ได้ “คนใหม่” เอาไว้อย่างชัดเจนว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญสายไหนลาออกต้องดำเนินการอย่างไร ซึ่งในกรณีของคุณชัช ชลวร หากพิจารณาตามตัวบทอย่างตรงไปตรงมา ก็จะเห็นได้ว่าทั้งรัฐธรรมนูญและประกาศพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีข้อความที่สอดคล้องกันคือ แยกประธานศาลรัฐธรรมนูญกับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญออกจากกัน ดังนั้น เมื่อประธานศาลรัฐธรรมนูญลาออกจากตำแหน่งที่ได้รับโปรดเกล้าฯ ก็จะต้อง “หลุด” ออกไปจากการเป็น 1 ใน 9 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญด้วย จึงต้องมีการดำเนินการเพื่อให้ได้ 1 ใน 9 กลับคืนมาใหม่ตามกระบวนการที่กำหนดไว้ในมาตรา 210 วรรคสองแห่งรัฐธรรมนูญ แล้วจึงค่อยทำการประชุมเลือกกันเองให้คนหนึ่งเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา 204 แห่งรัฐธรรมนูญ
                        

 

ในขณะที่โครงสร้างของข้อเท็จจริงนั้น อย่างแรกที่ต้องทำความเข้าใจกับนักกฎหมายด้วยกันก่อนก็คือ การสลับตำแหน่งทำไม่ได้ เพราะการแต่งตั้งให้บุคคลดำรงตำแหน่งใดเป็นเรื่องเฉพาะตัว ผู้แต่งตั้งต้องคำนึงถึงความรู้ ความสามารถ และอื่นๆ อีกหลายอย่างประกอบ หากการสลับตำแหน่งสามารถทำได้คงต้องวุ่นวายกันน่าดู และเราก็คงได้คนใหม่ๆ มาอยู่ในตำแหน่งตลอดเวลา เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ทั้งศาลรัฐธรรมนูญและสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญไม่น่าพลาดได้ และยิ่งไปอ่านหนังสือสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ลงวันที่ 14 ตุลาคม 2554 ที่มีไปถึงเลขาธิการวุฒิสภาก็ยิ่ง “เศร้า” เข้าไปใหญ่ เพราะเขียนเอาไว้ว่า ...คำว่า “สลับตำแหน่ง” เป็นคำที่ไม่มีบัญญัติในรัฐธรรมนูญ แต่การตีความการแสดงเจตนาย่อมต้องถือตามเจตนาที่แท้จริงยิ่งกว่าลายลักษณ์อักษร...  ไม่ทราบว่า ข้อความดังกล่าวมีที่มาจากหลักกฎหมายใด หากถือถ้อยคำดังกล่าวเป็นหลัก คงไม่ต้องดูตัวบทกฎหมายเป็นแน่ เพราะเจตนาสำคัญที่สุด !!! 

 

 

ข้อเท็จจริงประการหนึ่งที่จะต้องกล่าวถึงในที่นี้ก็คือ ในหนังสือฉบับเดียวกันนั่นเอง สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญได้ขอให้ประธานวุฒิสภานำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้คุณชัช ชลวร พ้นจากตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญ และเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งก็หมายความว่า สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญเห็นปัญหาตั้งแต่ต้นและเข้าใจว่าต้องทำทั้ง 2 อย่างพร้อมๆ กัน แต่เมื่อมีการโปรดเกล้าฯ ก็ได้โปรดเกล้าให้คุณชัช ชลวร พ้นจากตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญ โดยไม่มีการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด
                        

 

ด้วยเหตุนี้เองที่ความเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญของคุณชัช ชลวร ได้สิ้นสุดลงนับแต่วันที่มีการโปรดเกล้าฯ ให้พ้นจากตำแหน่งในวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2554  ช่วงเวลาก่อนหน้านี้ นับแต่วันที่ 10 สิงหาคม 2554 อันเป็นวันที่คุณ ชัช ชลวร แถลงขอสลับตำแหน่งและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์เห็นชอบให้คุณชัช ชลวร พ้นจากตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญไปจนถึงวันที่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้คุณชัช ชลวร พ้นจากตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญ จึงเป็นการดำเนินการที่ไม่มีผลใดๆ ในทางกฎหมายต่อตัวคุณชัช ชลวร แต่อย่างใด คุณชัช ชลวร ยังคงเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญอยู่ในช่วงเวลาดังกล่าว
                        

หลังจากวันที่ 26 ตุลาคม 2554 เป็นต้นไปต่างหากที่มีปัญหา เพราะหลังจากวันที่คุณชัช ชลวร พ้นจากตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญอย่างเป็นทางการแล้ว ไม่มีที่ใด ทั้งในรัฐธรรมนูญ หรือในประกาศพระบรมราชโองการที่บอกว่าคุณชัช ชลวร ยังคงเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอยู่  คงมีเพียงตุลาการศาลรัฐธรรมนูญด้วยกันเองที่เห็นว่าคุณ ชัช ชลวร ยังคงเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอยู่ และยินยอมทำงานร่วมกับคุณชัช ชลวร อย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาเกือบ 2 ปีที่ผ่านมาโดยไม่ตั้งข้อสงสัยถึงสถานะของคุณ ชัช ชลวร แต่อย่างใด
                        

 

การยินยอมดังกล่าว มีผลเสมือนหนึ่งเป็นการเขียนบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่ในหลายเรื่องด้วยกัน เช่น ประธานศาลรัฐธรรมนูญดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอีกหนึ่งตำแหน่ง ประธานศาลรัฐธรรมนูญสามารถลาออกจากตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญได้และเมื่อลาออกก็ยังคงเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอยู่ ไม่ต้องโปรดเกล้าฯ ก็สามารถเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้
                        

 

ไม่ทราบว่ามีมาตราใดในรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจและหน้าที่ที่จะในการเขียนบทบัญญัติเพิ่มเติมไว้ในรัฐธรรมนูญได้ครับ
         

 

ดูๆ แล้ว เรื่องของคุณชัช ชลวร นี้มีลักษณะคล้ายกับเรื่องของมาตรา 68 แห่งรัฐธรรมนูญฯ ที่ศาลรัฐธรรมนูญเข้าไปเขียนบทบัญญัติเพิ่มอำนาจให้ตนเองขึ้นมาใหม่นั่นเองครับ !!!

 

อ่านต้นฉบับที่นี่



#2 Bookmarks

Bookmarks

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 33,617 posts

ตอบ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2556 - 19:32

ไร้ราคา



#3 นิติรั่ว

นิติรั่ว

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,513 posts

ตอบ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2556 - 19:35

 

จาก www.pub-law.net        
                        

 

ศ.ดร.นันทวัฒน์ บรมานันท์  อาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ  บรรณาธิการ เว๊ปไซต์ กฎหมายมหาชน www.pub-law.net  ได้เขียน บทบรรณาธิการ เรื่อง  การสลับตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญ (วันจันทร์ที่ 3 ถึงวันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน 2556) สาระสำคัญ มีดังนี้

 

 

เมื่อวันอังคารที่ 28 พฤษภาคม ที่ผ่านมา คณะกรรมาธิการกิจการองค์กรตามรัฐธรรมนูญและติดตามการบริหารงบประมาณ วุฒิสภา ได้มีหนังสือเชิญให้ผมไปร่วมประชุมกับคณะกรรมาธิการเพื่อปรึกษาหารือและขอคำแนะนำในปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญของคุณชัช ชลวร ภายหลังการลาออกจากตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญ
                        

 

เดิมนั้น ผมเข้าใจว่าเรื่องข้อกังขาเกี่ยวกับสถานะของคุณชัช ชลวร นั้นคงไม่มีใครนำมาพูดถึงอีกแล้ว เพราะที่ผ่านมาเมื่อครั้งที่คุณชัช ฯ ดำรงตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญ เลขานุการของคุณชัชฯ ก็ได้สร้างข่าวครึกโครมเกี่ยวกับการเข้าไปมีส่วนพัวพันกับปัญหาการยุบพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งในตอนนั้นก็มีการตั้งประเด็นกันว่า คุณชัช ฯ ตั้งคนๆ นั้นเข้ามาเป็นเลขานุการตนเองได้อย่างไร เรื่องดังกล่าวจบลงด้วยการปล่อยให้ผ่านไปจนคนลืม

 

 

ผมก็เลยคิดว่าเรื่องของสถานะการเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญของคุณชัช ฯ ก็คงเป็นเช่นเดียวกับเรื่องก่อนก็คือเงียบแล้วปล่อยให้ผ่านไปจนคนอื่นลืมๆ กันไปเอง แต่เมื่อได้รับหนังสือจากคณะกรรมาธิการจึงทราบว่ายังมีผู้ติดตามเรื่องนี้อยู่ โดยเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2556 คุณเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ได้มีหนังสือไปยังคณะกรรมาธิการกิจการองค์กรตามรัฐธรรมนูญและติดตามการบริหารงบประมาณ วุฒิสภา เพื่อขอให้สอบสวนการงบประมาณของสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญว่ามีการจ่ายเงินเดือนหรือผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นให้นายชัช ชลวร ในสถานะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งไม่ได้รับการโปรดเกล้าตั้งแต่วันที่ลาออกจากประธานศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2554 ว่า การงบประมาณที่ใช้จ่ายไปตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม 2554 มาถึงปัจจุบันให้แก่นายชัช ชลวร นั้น ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
                        

 

เพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบเกี่ยวกับเรื่องเงิน คณะกรรมาธิการมีความจำเป็นที่จะต้องทราบถึง “สถานะ” ของคุณชัช ชลวร ว่าปัจจุบันยังคงดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่ จึงได้เชิญผมและนักวิชาการบางคนไปร่วมแสดงความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าว
                        

 

บทบรรณาธิการครั้งนี้ ผมจึงขอนำเอาข้อมูลที่ได้จากการไปแสดงความคิดเห็นต่อคณะกรรมาธิการนำมาเสนอเพื่อให้เรื่องดังกล่าวถูกบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าและเพื่อประโยชน์ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องที่จะมีในวันข้างหน้าต่อไปครับ
                        

 

เรื่องเริ่มต้นในวันที่ 27 มิถุนายน 2551 ราชกิจจานุเบกษาได้พิมพ์ประกาศแต่งตั้งประธานศาลรัฐธรรมนูญและคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญลงวันที่ 28 พฤษภาคม 2551 โดยในตอนต้นของประกาศ เป็นการเล่าถึงกระบวนการได้มาซึ่งบุคคลเก้าคน โดยมีข้อความตอนหนึ่งระบุว่า ...ซึ่งบุคคลทั้งเก้าคนได้ประชุมเลือกกันเองให้คนหนึ่งเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ... ในวรรคต่อมาของประกาศเป็นพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ โดยมีชื่อของคุณชัช ชลวร เป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ ส่วนอีก 8 คนเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
                        

 

ในการประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2554 คุณชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญแถลงขอสลับตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญโดยยังดำรงตำแหน่งเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ที่ประชุมเสียงข้างมากคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จำนวน 7 คน มีมติเป็นเอกฉันท์เห็นชอบให้คุณชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญพ้นจากตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา 210 วรรคสี่ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 โดยยังดำรงตำแหน่งเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และให้คุณชัช ชลวร ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญปฏิบัติหน้าที่ประธานในที่ประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จากนั้นคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญก็ได้ประชุมเพื่อเลือกประธานศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่ เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2554 ปรากฎว่า คุณวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ได้รับเลือกให้เป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ
                        

 

ต่อมาวันที่ 26 สิงหาคม 2554 เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญได้มีหนังสือแจ้งไปยังประธานวุฒิสภา เพื่อขอให้ดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ คือนำชื่อประธานศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่ขึ้นกราบบังคมทูล โดยมีข้อความตอนหนึ่งว่า ...ในการประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2554 ประธานศาลรัฐธรรมนูญแถลงต่อที่ประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญว่าการสลับตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลรัฐธรรมนูญยังคงดำรงตำแหน่งเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญอยู่จนกว่าจะมีพระบรมราชโอการโปรดเกล้าฯ ให้พ้นจากตำแหน่ง ประธานศาลรัฐธรรมนูญเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและแต่งตั้งประธานศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่... และต่อมาในวันที่ 9 กันยายน 2554 เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญก็ได้มีหนังสือไปถึงเลขาธิการวุฒิสภา อธิบายขยายความรายละเอียดเกี่ยวกับการเลือกประธานศาลรัฐธรรมนูญ มีเนื้อหาสรุปได้ว่า ประธานศาลรัฐธรรมนูญนั้นดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญด้วยอีกสถานะหนึ่ง และการสลับตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญมาเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญสามารถทำได้
                        

 

ในวันที่ 13 ตุลาคม 2554 สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ได้มีหนังสือแจ้งไปยังเลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญขอให้ตรวจสอบพิจารณาร่างหนังสือกราบบังคมทูลและร่างประกาศแต่งตั้งประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ในวันถัดมา คือวันที่ 14 ตุลาคม 2554 สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญก็ได้มีหนังสือไปยังเลขาธิการวุฒิสภา อธิบายเรื่องของการสลับตำแหน่งอีกครั้งหนึ่ง พร้อมกับขอให้ประธานวุฒิสภานำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง 
                        

(1) นายชัช ชลวร พ้นจากตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญ และเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
                        

(2) นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ เป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ
                        

ในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2554 ราชกิจจานุเบกษาได้พิมพ์ประกาศแต่งตั้งประธานศาลรัฐธรรมนูญลงวันที่ 26 ตุลาคม 2554 โดยมีข้อความว่า
                        

 “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศว่า ตามที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้ง นายชัช ชลวร เป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ ตามประกาศลงวันที่ 28 พฤษภาคม 2551 แล้วนั้น 
                    

 

บัดนี้ นายชัช ชลวร ได้ขอลาออกจากตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พ้นจากตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญ 
                    

 

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 204 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งนายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญตามคำแนะนำของวุฒิสภา ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป”
                        

 

ภายหลังจากที่ได้มีการประกาศพระบรมราชโองการแต่งตั้ง คุณวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ เป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ ก็ได้เกิดข้อโต้เถียงทางวิชาการตามมามากมาย
                        

 

ข้อถกเถียงประการที่สำคัญที่สุดก็คือ คุณชัช ชลวร ยังคงเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอยู่หรือไม่
                        

 

ในประเด็นที่เป็นข้อกฎหมายนั้น หากพิจารณาด้วยถ้อยคำของมาตรา 204 ของรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2550 เกี่ยวกับองค์ประกอบของศาลรัฐธรรมนูญ มาตรา 204 บัญญัติว่า ศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วยประธานศาลรัฐธรรมนูญคนหนึ่งและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอื่นอีก 8 คน มีที่มาจากการที่ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกตามกระบวนการที่กำหนดไว้ในมาตรา 204 ประชุมเลือกกันเองให้คนหนึ่งเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อมีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง จึงเป็นการแต่งตั้งตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ คือ แต่งตั้งให้บุคคลหนึ่งเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญและอีก 8 คนเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญสามารถลาออกได้ตามมาตรา 209 (3) แห่งรัฐธรรมนูญ ผลของการลาออกก็เป็นไปตามหลักทั่วไปคือ พ้นจากตำแหน่งนั้น

 

กล่าวคือ หากประธานศาลรัฐธรรมนูญลาออกจากตำแหน่ง ก็ต้องพ้นจากความเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ หากตุลาการศาลรัฐธรรมนูญลาออกจากตำแหน่ง ก็ต้องพ้นจากความเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อมีการลาออก รัฐธรรมนูญก็ได้กำหนดกระบวนการให้ได้ “คนใหม่” เอาไว้อย่างชัดเจนว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญสายไหนลาออกต้องดำเนินการอย่างไร ซึ่งในกรณีของคุณชัช ชลวร หากพิจารณาตามตัวบทอย่างตรงไปตรงมา ก็จะเห็นได้ว่าทั้งรัฐธรรมนูญและประกาศพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีข้อความที่สอดคล้องกันคือ แยกประธานศาลรัฐธรรมนูญกับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญออกจากกัน ดังนั้น เมื่อประธานศาลรัฐธรรมนูญลาออกจากตำแหน่งที่ได้รับโปรดเกล้าฯ ก็จะต้อง “หลุด” ออกไปจากการเป็น 1 ใน 9 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญด้วย จึงต้องมีการดำเนินการเพื่อให้ได้ 1 ใน 9 กลับคืนมาใหม่ตามกระบวนการที่กำหนดไว้ในมาตรา 210 วรรคสองแห่งรัฐธรรมนูญ แล้วจึงค่อยทำการประชุมเลือกกันเองให้คนหนึ่งเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา 204 แห่งรัฐธรรมนูญ
                        

 

ในขณะที่โครงสร้างของข้อเท็จจริงนั้น อย่างแรกที่ต้องทำความเข้าใจกับนักกฎหมายด้วยกันก่อนก็คือ การสลับตำแหน่งทำไม่ได้ เพราะการแต่งตั้งให้บุคคลดำรงตำแหน่งใดเป็นเรื่องเฉพาะตัว ผู้แต่งตั้งต้องคำนึงถึงความรู้ ความสามารถ และอื่นๆ อีกหลายอย่างประกอบ หากการสลับตำแหน่งสามารถทำได้คงต้องวุ่นวายกันน่าดู และเราก็คงได้คนใหม่ๆ มาอยู่ในตำแหน่งตลอดเวลา เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ทั้งศาลรัฐธรรมนูญและสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญไม่น่าพลาดได้ และยิ่งไปอ่านหนังสือสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ลงวันที่ 14 ตุลาคม 2554 ที่มีไปถึงเลขาธิการวุฒิสภาก็ยิ่ง “เศร้า” เข้าไปใหญ่ เพราะเขียนเอาไว้ว่า ...คำว่า “สลับตำแหน่ง” เป็นคำที่ไม่มีบัญญัติในรัฐธรรมนูญ แต่การตีความการแสดงเจตนาย่อมต้องถือตามเจตนาที่แท้จริงยิ่งกว่าลายลักษณ์อักษร...  ไม่ทราบว่า ข้อความดังกล่าวมีที่มาจากหลักกฎหมายใด หากถือถ้อยคำดังกล่าวเป็นหลัก คงไม่ต้องดูตัวบทกฎหมายเป็นแน่ เพราะเจตนาสำคัญที่สุด !!! 

 

 

ข้อเท็จจริงประการหนึ่งที่จะต้องกล่าวถึงในที่นี้ก็คือ ในหนังสือฉบับเดียวกันนั่นเอง สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญได้ขอให้ประธานวุฒิสภานำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้คุณชัช ชลวร พ้นจากตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญ และเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งก็หมายความว่า สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญเห็นปัญหาตั้งแต่ต้นและเข้าใจว่าต้องทำทั้ง 2 อย่างพร้อมๆ กัน แต่เมื่อมีการโปรดเกล้าฯ ก็ได้โปรดเกล้าให้คุณชัช ชลวร พ้นจากตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญ โดยไม่มีการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด
                        

 

ด้วยเหตุนี้เองที่ความเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญของคุณชัช ชลวร ได้สิ้นสุดลงนับแต่วันที่มีการโปรดเกล้าฯ ให้พ้นจากตำแหน่งในวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2554  ช่วงเวลาก่อนหน้านี้ นับแต่วันที่ 10 สิงหาคม 2554 อันเป็นวันที่คุณ ชัช ชลวร แถลงขอสลับตำแหน่งและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์เห็นชอบให้คุณชัช ชลวร พ้นจากตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญไปจนถึงวันที่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้คุณชัช ชลวร พ้นจากตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญ จึงเป็นการดำเนินการที่ไม่มีผลใดๆ ในทางกฎหมายต่อตัวคุณชัช ชลวร แต่อย่างใด คุณชัช ชลวร ยังคงเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญอยู่ในช่วงเวลาดังกล่าว
                        

หลังจากวันที่ 26 ตุลาคม 2554 เป็นต้นไปต่างหากที่มีปัญหา เพราะหลังจากวันที่คุณชัช ชลวร พ้นจากตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญอย่างเป็นทางการแล้ว ไม่มีที่ใด ทั้งในรัฐธรรมนูญ หรือในประกาศพระบรมราชโองการที่บอกว่าคุณชัช ชลวร ยังคงเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอยู่  คงมีเพียงตุลาการศาลรัฐธรรมนูญด้วยกันเองที่เห็นว่าคุณ ชัช ชลวร ยังคงเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอยู่ และยินยอมทำงานร่วมกับคุณชัช ชลวร อย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาเกือบ 2 ปีที่ผ่านมาโดยไม่ตั้งข้อสงสัยถึงสถานะของคุณ ชัช ชลวร แต่อย่างใด
                        

 

การยินยอมดังกล่าว มีผลเสมือนหนึ่งเป็นการเขียนบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่ในหลายเรื่องด้วยกัน เช่น ประธานศาลรัฐธรรมนูญดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอีกหนึ่งตำแหน่ง ประธานศาลรัฐธรรมนูญสามารถลาออกจากตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญได้และเมื่อลาออกก็ยังคงเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอยู่ ไม่ต้องโปรดเกล้าฯ ก็สามารถเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้
                        

 

ไม่ทราบว่ามีมาตราใดในรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจและหน้าที่ที่จะในการเขียนบทบัญญัติเพิ่มเติมไว้ในรัฐธรรมนูญได้ครับ
         

 

ดูๆ แล้ว เรื่องของคุณชัช ชลวร นี้มีลักษณะคล้ายกับเรื่องของมาตรา 68 แห่งรัฐธรรมนูญฯ ที่ศาลรัฐธรรมนูญเข้าไปเขียนบทบัญญัติเพิ่มอำนาจให้ตนเองขึ้นมาใหม่นั่นเองครับ !!!

 

อ่านต้นฉบับที่นี่

 

สามารถทำได้ตามรัฐธรรมนูญครับ และคงไม่มีคนที่เห็นต่างกลุ่มใดไปปิดล้อมหรือด่าทอครับ


ผมไม่ใช่คนเก่งกฎหมาย แค่รู้กฎหมาย แต่ไม่เคยคิดใช้ช่องว่างของกฎหมายมาทำให้กฎหมายขาดความเป็นธรรม

#4 สันขวาน

สันขวาน

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 219 posts

ตอบ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2556 - 19:38

ยาวจัง ทำได้ไง

#5 nunoi

nunoi

    เด็กข้างถนน

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,745 posts

ตอบ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2556 - 19:57

บทความนี้พอจะเลเวลอัพหน่อย ^^ 

 

ฮาฮา รับประกันความฮาได้ทุกโพสจริงๆๆ ^^


กฎหมายมันก็แค่สิงที่สร้างมาอย่างมีเป้าหมาย แต่หาก เอาแต่บอกว่ากฎหมายเป็นแบบนี้ แบบนั้น โดยไม่สนใจว่าเป้าหมายจริงๆ นันคืออะไร ก็คงไม่ใช่ 

 

 


#6 จีรนุช

จีรนุช

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,934 posts

ตอบ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2556 - 21:45

ทีหลังบอกเเค่ชื่อคนพูดก็พอ  อย่าโหน


รำคาญสลิ่มเที่ยมที่เข้ามาปล่อยสารพิษเรียกร้องความรุนเเรงเสดงออกถึงความคลั่งสงครามกลางเมืองยุเเยงสร้างภาพชั่วๆ

เอียนวะ   เห็นคนเเถวนี้ไอคิวต่ำกว่า 90 หรือไง


#7 ม่านน้ำ

ม่านน้ำ

    ผมเพิ่งมาครับ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,373 posts

ตอบ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2556 - 21:52

อย่าอ้างสถาบันให้มัวหมอง

แค่คนพูด ไม่ใช่สถาบันพูด

อย่ามาเสื่อม!

Posted Image


#8 grand_v

grand_v

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 841 posts

ตอบ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2556 - 22:34

หมื่นปี ถามจริงๆ เอามาลงเนี่ย อ่านหรือยัง 55555



#9 grand_v

grand_v

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 841 posts

ตอบ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2556 - 22:39

"ในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2554 ราชกิจจานุเบกษาได้พิมพ์ประกาศแต่งตั้งประธานศาลรัฐธรรมนูญลงวันที่ 26 ตุลาคม 2554 โดยมีข้อความว่า
                        

 “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศว่า ตามที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้ง นายชัช ชลวร เป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ ตามประกาศลงวันที่ 28 พฤษภาคม 2551 แล้วนั้น 
                    

 

บัดนี้ นายชัช ชลวร ได้ขอลาออกจากตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พ้นจากตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญ 
                    

 

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 204 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งนายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญตามคำแนะนำของวุฒิสภา ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป”

//////////////////

 

หมื่นปี คิดจะวิพากษ์แทนการก็อปมาลงบ้างไหม อยากฟัง ;)            



#10 eAT

eAT

    ผมเป็นเสื้อแดงฮับ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 10,589 posts

ตอบ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2556 - 22:42

หมื่นปี ถามจริงๆ เอามาลงเนี่ย อ่านหรือยัง 55555

 

ผมเชื่อว่าอ่านไม่ถึง 3 บรรทัดแน่นอน



#11 grand_v

grand_v

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 841 posts

ตอบ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2556 - 22:59

หมื่นปี ถ้าอ่านน่าจะรู้ว่า ประเด้นที่บทความชี้ให้เก็นว่าเป็นปัญหา

คือ คุณสมบัติของ ชัช ชลวร

คนนี้ ไปได้ก็ดีครับ 

ผิดพลาดร้ายแรงเรื่อง อีปอย 

อีปอย คนนี้หมื่นปี ต้องเอาเป็นแบบอย่าง

ได้ดิบได้ดีอย่างไร 

มัวแต่มาตั้งกระทู้ ให้นายทาสถูกด่า ไม่รุ่งหรอก

นั่งทำไข่ไก่เค็มขาย ยังเจริญกว่า555555



#12 nastyfunky

nastyfunky

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 395 posts

ตอบ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2556 - 02:47

อาจารย์จุฬาแล้วไง  คนแบบนี้ใน แบบนี้  มธ มช มกท มร. ยังมีเลย! บ่นมากๆ โดยลูกศิษย์หมั่นไส้ร้องเรียน ขอไล่ออกก็ทำหงอเหมือนเดิม ตอนนี้อาจจะทรัพย์ลงเลยกล้าหน่อย ขอแสดงเครดิตหน่อย แต่พอสังพัก เงียบ...


Savoir…
Savoir parler…
Savoir parler pour ne rien dire…


#13 เรื่อยๆเอื่อยๆ

เรื่อยๆเอื่อยๆ

    There is a face beneath this mask, but it isn't me.

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,223 posts

ตอบ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2556 - 08:08

อ.นันทวัฒน์ก็ตีความเกินรัฐธรรมนูญเหมือนกันนี่ครับ ในเมื่อรธนก็ไม่ได้ระบุว่าการเป็นประธานศาลจะทำให้สถานภาพตุลาการจบลง เทียบเคียงกับประธานสภาสิครับ ถ้าลาออกจากการเป็นประธานสภา จะยังมีสมาชิกภาพสส อยู่หรือเปล่า

#14 ผึ้งน้อยตุหรัดตุเหร่

ผึ้งน้อยตุหรัดตุเหร่

    หน้าตาดี มีอุดมการณ์

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 21,670 posts

ตอบ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2556 - 08:13

เชื่อว่าไอ้ไข่เค็มนสี่เอามาลงคงไม่ได้อ่านหรอก เกิน 3 บรรทัด

เห็นเข้าทางก็ก๊อปเพสต์เลย


gladiator 1.jpg

 

 

 

 

 

 


#15 ypk

ypk

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,173 posts

ตอบ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2556 - 10:05

ซึ่งกรณีของคุณชัช ชลวร หากพิจารณาตามตัวบทอย่างตรงไปตรงมา

ก็จะเห็นได้ว่า ทั้งรัฐธรรมนูญและประกาศพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานศาล

รัฐธรรมนูญมีข้อความสอดคล้องต้องกันคือ แยกประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการ

ศาลรัฐธรรมนูญออกจากกัน

ดังนั้น เมื่อประธานศาลรัฐธรรมนูญลาออกจากตำแหน่งที่ได้รับโปรดเกล้า ฯ ก็จะต้อง

"หลุด" ออกจากการเป็น 1 ใน 9 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญด้วย

 

เหอะ เหอะ  อ่านแล้วเหมือนขัดแย้งกันเอง ท่อนบทบอกตามตัวบทอย่างตรงไปตรงมา

แยกประธานศาลรัฐธรรมนูญกับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญออกจากกัน  แต่ท่อนล่างสรุปว่า

ถ้าลาออกต้อง "หลุด" ทั้งสองสถานะ

 

สรุปแบบนี้เขียนรัฐธรรมนูญเองรึเปล่า

 

นายชัช ชลวร ก่อนจะได้เป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ เขาจะต้องได้รับเลือกให้มีสถานะ

เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญก่อน และเมื่อได้รับเลือกเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญแล้ว

ก็ไม่ได้มีบทบัญญัติใดที่บอกว่า สถานะความเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญต้อง "หลุด" ไป

เมื่อมันไม่มีบทบัญญัติให้สถานะความเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญต้องหลุดไป แสดงว่า

มันต้องยังคงอยู่ และเมื่อเขาลาออกจากสถานะประธาน ไม่ได้ลาออกจากสถานะความเป็น

ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จะให้เขา "หลุด" ทั้งสองสถานะเนี่ยะ

อาศัยบทบัญญัติตรงไหนทำไมไม่บอก แต่มาสรุปเอาเองว่า ต้อง "หลุด" เพราะแยกประธาน

และตุลาการออกจากกัน



#16 อาตี๋

อาตี๋

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,267 posts

ตอบ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2556 - 10:56

ซึ่งกรณีของคุณชัช ชลวร หากพิจารณาตามตัวบทอย่างตรงไปตรงมา

ก็จะเห็นได้ว่า ทั้งรัฐธรรมนูญและประกาศพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานศาล

รัฐธรรมนูญมีข้อความสอดคล้องต้องกันคือ แยกประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการ

ศาลรัฐธรรมนูญออกจากกัน

ดังนั้น เมื่อประธานศาลรัฐธรรมนูญลาออกจากตำแหน่งที่ได้รับโปรดเกล้า ฯ ก็จะต้อง

"หลุด" ออกจากการเป็น 1 ใน 9 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญด้วย

 

เหอะ เหอะ  อ่านแล้วเหมือนขัดแย้งกันเอง ท่อนบทบอกตามตัวบทอย่างตรงไปตรงมา

แยกประธานศาลรัฐธรรมนูญกับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญออกจากกัน  แต่ท่อนล่างสรุปว่า

ถ้าลาออกต้อง "หลุด" ทั้งสองสถานะ

 

สรุปแบบนี้เขียนรัฐธรรมนูญเองรึเปล่า

 

นายชัช ชลวร ก่อนจะได้เป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ เขาจะต้องได้รับเลือกให้มีสถานะ

เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญก่อน และเมื่อได้รับเลือกเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญแล้ว

ก็ไม่ได้มีบทบัญญัติใดที่บอกว่า สถานะความเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญต้อง "หลุด" ไป

เมื่อมันไม่มีบทบัญญัติให้สถานะความเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญต้องหลุดไป แสดงว่า

มันต้องยังคงอยู่ และเมื่อเขาลาออกจากสถานะประธาน ไม่ได้ลาออกจากสถานะความเป็น

ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จะให้เขา "หลุด" ทั้งสองสถานะเนี่ยะ

อาศัยบทบัญญัติตรงไหนทำไมไม่บอก แต่มาสรุปเอาเองว่า ต้อง "หลุด" เพราะแยกประธาน

และตุลาการออกจากกัน

 

นั่นดิ ว่าจะตอบอยู่ มันก็เหมือนกับประธานสภาผู้แทนราษฎร กับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั่นแหละ 

ปัญหาจริงๆคือดันไปใช้คำว่า "สลับตำแหน่ง" (และดูเหมือนจะเป็นเป้าหมายหลักของคนเขียนบทความด้วย ขนาดไปตามดูเอกสารที่เกี่ยวข้องเลยทีเดียว) คำนี้เค้าไม่ค่อยใช้กันในทางราชการ เพราะความรู้สึกเหมือนจะรู้กันก่อนประชุมหรือเลือกตั้งใหม่ (ตามความคิดของเสื้อแดง ในระบอบประชาธิปไตย การเลือกตั้งจะเป็นพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ที่ต้องมีทุกครั้งเมื่อมีการลงมติอะไรก็ตาม) เค้าจะเขียนว่า "ใครลาออก และแต่ตั้งใคร" จะดูเป็นทางการกว่า เลยทำให้นักกฎหมายหัวหมอเอามาตีไข่หลอกควายแดงไปวันๆ 

 

 

 

มาตรา ๒๑๐

   ในกรณีที่ประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญพ้นจาก ตำแหน่งตามวาระพร้อมกันทั้งหมด ให้เริ่มดำเนินการตามมาตรา ๒๐๔ และมาตรา ๒๐๖ ภายใน สามสิบวันนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่ง

    ในกรณีที่ประธานศาลรัฐธรรมนูญหรือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญพ้นจากตำแหน่งนอกจาก กรณีตามวรรคหนึ่ง ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้ (ดันไปตีความวรรคนี้ วรรคนี้เป็นกล่าวว่าไม่เหมือนวรรคแรก คือ ไม่ได้พ้นจากตำแหน่งทั้งหมดตามวาระ ที่เค้าใช้คำว่า "หรือ" แทน "และ" เพราะ อาจมีประธานพ้นจากตำแหน่งพร้อมตุลาการ หรือ อาจมีแค่ตุลาการหลายคนพ้นจากตำแหน่ง)

   (๑) ในกรณีที่เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ให้ดำเนินการตามมาตรา ๒๐๔ ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่ง

   (๒) ในกรณีที่เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ตุลาการ ในศาลปกครองสูงสุด ให้ดำเนินการตามมาตรา ๒๐๔ ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่พ้นจาก ตำแหน่ง

   (๓) ในกรณีที่เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา ๒๐๔ (๓) หรือ (๔) ให้ดำเนินการตามมาตรา ๒๐๖ ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่ง

   ในกรณีที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญพ้นจากตำแหน่งไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน นอกสมัยประชุมของรัฐสภา ให้ดำเนินการตามมาตรา ๒๐๖ ภายในสามสิบวันนับแต่วันเปิดสมัยประชุม ของรัฐสภา

    ในกรณีที่ประธานศาลรัฐธรรมนูญพ้นจากตำแหน่ง ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๒๐๔ วรรคสาม มาใช้บังคับ (กรณีนี้ประธานพ้นจากตำแหน่ง ต้องใช้วรรคนี้ วรรคอื่น วงเล็บอื่นกล่าวถึงแค่ตุลาการพ้นจากตำแหน่ง)

 

มาตรา ๒๐๔

   ศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วยประธานศาลรัฐธรรมนูญคนหนึ่งและตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญอื่นอีกแปดคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภาจากบุคคล ดังต่อไปนี้

   (๑) ผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกา ซึ่งได้รับเลือก โดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาโดยวิธีลงคะแนนลับ จำนวนสามคน

   (๒) ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาล ปกครองสูงสุดโดยวิธีลงคะแนนลับ จำนวนสองคน

   (๓) ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านนิติศาสตร์ อย่างแท้จริงและได้รับเลือกตามมาตรา ๒๐๖ จำนวนสองคน

   (๔) ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ หรือสังคมศาสตร์อื่น ซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญทางด้านการบริหารราชการแผ่นดินอย่างแท้จริงและได้รับเลือกตามมาตรา ๒๐๖ จำนวน สองคน

     ในกรณีที่ไม่มีผู้พิพากษาในศาลฎีกาหรือตุลาการในศาลปกครองสูงสุดได้รับเลือก ตาม (๑) หรือ (๒) ให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาหรือที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด แล้วแต่กรณี เลือกบุคคลอื่นซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๐๕ และมีความรู้ ความเชี่ยวชาญทางด้านนิติศาสตร์ที่เหมาะสมจะปฏิบัติหน้าที่เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญตาม (๑) หรือ (๒) แล้วแต่กรณี

   ให้ผู้ได้รับเลือกตามวรรคหนึ่ง ประชุมและเลือกกันเองให้คนหนึ่งเป็นประธานศาล รัฐธรรมนูญ แล้วแจ้งผลให้ประธานวุฒิสภาทราบ

   ให้ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานศาล รัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

 

http://th.wikisource....B9.90.E0.B9.99


Edited by อาตี๋, 5 มิถุนายน พ.ศ. 2556 - 11:42.

สิทธิตามระบอบประชาติปไตยมีไว้สำหรับให้เสื้อแดงผู้เรียกร้องประชาติปไตยเท่านั้น


ผู้อื่นห้ามใช้มิเช่นนั้นจะโดนประชาติปไตยลงโทษ





ผู้ใช้ 2 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้

สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 2 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน