ประกันรายได้เกษตรกร VS จำนำข้าว
จำนำข้าวกันต่อเนื่องเลยแล้วกันนะครับ
สัปดาห์ที่แล้วสรุปให้เข้าใจกันง่ายๆ ไปว่านโยบายสนิมกัดกร่อนประเทศไปเรื่อยๆ รัฐบาลเองเป็นอย่างไร คราวนี้ ก็เริ่มมีประเด็นคนเอาไปเปรียบเทียบกับนโยบายเรื่องข้าวของรัฐบาลชุดที่แล้ว ผิดบ้าง ถูกบ้าง ในฐานะที่ทำงานใกล้ชิดกับหัวหน้าทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลก่อน ทางเราขออธิบายประกอบภาพตามนี้เลย
ประกันรายได้เกษตรกร : ประชาธิปัตย์ VS จำนำข้าว : เพื่อไทย
เปรียบเทียบจำนวนเงินงบประมาณจากภาษีประชาชนที่ใช้ไปกับรายละเอียด โครงการ ดังที่เห็นในแผนภาพ ประชาธิปัตย์บริหารแผ่นดิน 2 ปีกว่า ใช้เงินงบประมาณเรื่องข้าว ปีละประมาณ 6 หมื่นล้าน สองปีก็ 1.2 แสนล้านกว่าๆ ย้ำว่า นี่ไม่ใช่ผลขาดทุน แต่เป็นตัวเลขค่าใช้จ่ายเงินงบ ประมาณ แต่แท่งใหญ่ด้านขวา เพื่อความแฟร์ เราจึงเอาเลขค่าใช้จ่ายเงินงบประมาณมาเทียบเช่นกัน จะเห็นว่า แค่ 1 ปี 10 เดือนของการบริหารงานรัฐบาลยิ่งลักษณ์ใช้เงินผลาญภาษีประชาชนไปแล้วทั้งสิ้น สูงถึง 6.6 แสนล้านบาท ย้ำว่านี่ไม่ใช่ผลขาดทุน เพราะตัวเลขขาดทุนที่กระทรวงการคลัง รายงานคือ 2.6 แสนล้าน และผลขาดทุนนี้ ก็เยอะกว่า ค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่รัฐบาลที่แล้วใช้จ่ายทั้งโครงการด้วยซ้ำไป ลงราย ละเอียดกันดีกว่าครับ
พรรคประชาธิปัตย์ รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
มีนโยบายเรื่องข้าว คือ “ประกันรายได้เกษตรกร” ไม่ใช่ ประกัน “ราคา” สินค้าเกษตร หลายคนเข้าใจผิดบ่อยครั้งว่าคือสิ่งเดียวกัน แต่หลักการประกัน ราคา คือจำนำนั่นเอง
รัฐบาลอภิสิทธิ์มีแนวคิดคือ ปล่อยให้การค้าขายข้าวเป็นไปตามกลไกตลาด และไทยก็ทำได้ดีเรื่อยมาเป็นแชมป์ ส่งออกข้าว ทั้งในเชิงมูลค่าและปริมาณ แต่เราเห็นว่า เกษตรกรยังมีรายได้ต่ำกว่าที่ควรจะใช้ชีวิตอยู่ได้ จึง “ประกัน” ว่าชาวนากระดูกสันหลังของชาติทุกคนจะต้องมี “รายได้” เพิ่ม ขึ้นจากจำนวนข้าวที่ปลูก โดยมีสูตรการคำนวณโดยรัฐ แล้วโอนส่วนต่างตรงเข้าไปยังบัญชีชาวนาผ่านทางธ.ก.ส. ไม่รั่วไหล ไม่ผ่านโรงสี ไม่มีนักการเมืองท้องถิ่นยุ่งเกี่ยว ชาวนาเข้าโครงการแทบทุกคนกว่า 4 ล้านครัวเรือน ใช้งบประมาณปีละแค่ 6 หมื่นล้านบาท และแน่นอน “ไม่มีขาดทุน” เพราะรัฐบาลไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับระบบ การซื้อ-ขายข้าวแต่อย่างใด
ที่กล้าพูดว่า นโยบายข้าวของรัฐบาลที่แล้วไม่มีผลขาดทุนเป็นเพราะว่า เราปล่อยให้กลไกการค้าเป็นไปตามกลไกตลาดโลก ชาวนาปลูกข้าวได้ ก็เอาไปขายโรงสี โรงสีก็มีหน้าที่สีข้าว ให้เป็นข้าวขาวใส่ถุงใส่กระสอบแล้วส่งออกตามปกติ ข้าวไทยคุณภาพดีกว่าก็ขายได้มากกว่า แพงกว่าของประเทศที่ผลิตข้าวได้คุณภาพต่ำ และเราก็ขึ้นชื่อด้านคุณภาพมาช้านาน
ขอย้ำอีกครั้งครับว่า โครงการประกันรายได้เกษตรกรนี้ ไม่ได้วุ่นวายกับ “ราคา” ของข้าวแต่อย่างใดเราต้องการแก้ปัญหาข้าว ที่ตัวคนปลูกหรือเกษตรกร เขาปลูกของเขาได้ดีอยู่แล้วก็ปล่อยให้เป็นไปตาม ธรรมชาติ ไม่ต้องไปแทรกแซงกระบวนการใดทางราคาทั้งสิ้น แต่ที่บอกว่าแก้ปัญหาที่ตัวคน คือ ไปเพิ่มรายได้ให้เขามีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นแทนและการปลดแอกจากการตกเป็นทาส ของนายทุนข้าว ก็จะเป็นผลในอนาคต เมื่อชาวนาลืมตาอ้าปากได้เอง แต่...
พรรคเพื่อไทย รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
มีนโยบายจำนำสินค้าเกษตรสืบเนื่องมาจากรัฐบาลไทยรักไทย รัฐบาลพลังประชาชน ที่มีผลภาระทางภาษีเรื่อยมา กระทั่งในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ยังต้องตั้งงบชดเชยจำนำข้าวสมัยรัฐบาลไทยรัก ไทยด้วยซ้ำ แต่ รัฐบาลยิ่งลักษณ์ครั้งนี้สาหัสที่สุด เพราะดันไปจำนำข้าวทุกเม็ด จนทำให้ ภาระการคลัง ผลาญเงินภาษีปีกว่า บานไป 6.6 แสนล้านบาท หนำซ้ำยังทำลายกลไกตลาดการค้าข้าวของทั้งประเทศ ลดศักยภาพตัวเอง เสียแชมป์ตกไปอันดับ 3-4 ในปีที่ผ่านมาข้าวเน่าเหลือล้นในโกดัง และระบบจำนำข้าวนี้ ทำให้มีผลขาดทุนจากการคำนวณ mark-to-market หรือเทียบราคาให้เป็นปัจจุบัน แล้ว “ขาดทุน 2.6 แสนล้านบาท” จากตัวเลขกระทรวงการคลังโดยรัฐบาลเอง
แต่ที่เป็นปัญหา เพราะกระทรวงพาณิชย์ที่มีหน้าที่ขายข้าวแล้วส่งเงินกลับมาไม่ยอมรับความ จริง เรื่องนี้ก็ยังคงเป็นเรื่องถกเถียงอย่างแพร่หลายในวงสังคม เพราะตัวเลขของทุกคนไม่ตรงกันเสียที คลัง พาณิชย์นักวิชาการ อดีตรมว.คลัง และฝ่ายค้าน ต่างมีข้อมูลตัวเลขในมือทั้งสิ้น ฝ่ายรัฐบาลแทนที่จะออกมากล่าวหาว่าคนอื่นมีตัวเลขใส่ร้าย แต่ตัวเองก็ไม่มีตัวเลขที่ชัดเจนชี้แจงเสียที เปลี่ยนตัวคนดูแลตัวเลขจำนำข้าว ไปเรื่อยๆ ไม่ได้ช่วยอะไร นายกฯ เป็นประธานคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ถึงเวลาก็ไม่เข้าประชุม เหมือนจะสะท้อนกลายๆ ว่า ไม่ได้แคร์หรอกว่า 2.6 แสนล้านที่เป็นผลขาดทุนจากภาษีคนไทยทั้งชาตินั้น อยู่ในมโนสำนึกในความรับผิดชอบของนายกฯ ที่เป็นทั้งประธานนโยบาย และประมุขฝ่ายบริหาร ลอยตัวไปวันๆ แบบนี้ มาตรฐานของผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของไทยจะมีแต่ต่ำลงทุกๆ วัน
ย้อนกลับไปในหลักการนิดนึงครับ สาเหตุที่บอกตอนต้นว่า หลักการ “ประกันราคา” คือ “จำนำข้าว” นั้นคือ มีการบอกว่า จะรับจำนำ ซึ่งจริงๆ คือ รับซื้อโดยราคาที่ประกันขั้นสูงไว้ที่ 15,000 บาท ดังนั้นนโยบายทางการข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ คือการเอาข้อเสียของทั้งระบบ “จำนำ” และ “ประกันราคา” มารวมไว้ด้วยกัน โดยไม่สนใจหลักกลไกตลาด และความสามารถในการแข่งขัน...ขอย้ำอีกครั้งครับว่า ของประชาธิปัตย์คือ “ประกันรายได้เกษตรกร”ไม่ใช่ ประกันราคา ไม่ใช่ จำนำ
ทั้งหมดที่พยายามอธิบายก็เพื่อให้เข้าใจในพื้นฐานหลักการของสองนโยบายของสอง พรรคใหญ่ก่อน เพื่อจะได้นำไปปรับปรุงแก้ไขและถกประเด็นกันอย่างถูกต้องในอนาคต ทั้งนี้เพื่อผลประโยชน์ของชาวนาไทย และเพื่อคนไทยที่เสียภาษีทุกคนได้รู้เท่าทันจำนำข้าว นโยบายสนิมของรัฐบาล
พัสณช เหาตะวานิช
http://www.naewna.co.../columnist/7172