Jump to content


Photo
- - - - -

ความเห็นส่วนตัวผมว่า จำนำดีกว่าประกัน ถ้า....


  • Please log in to reply
54 ความเห็นในกระทู้นี้

#51 ปุถุชน

ปุถุชน

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 27,531 posts

ตอบ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2556 - 23:28

ราคามันสมเหตุสมผล  เป็นการจำนำจริงๆ  ไม่ใช่การรับซื้อที่ราคาสูงกว่าตลาด   หากจะยอมเสียเพื่อช่วยชาวนา  ก็รับซื้อในราคาที่เป็นธรรมกับชาวนานิดหน่อย  แบบช่วยๆ  กัน  หยวนๆ  ไม่หักค่าความชื้นโหดๆ เท่าเอกชนอะไรแบบเนี้ย  แล้วให้ชาวนามาไถ่คืนไปขายได้ได้อีกหากราคาตลาดโลกสูงขึ้น  มีการจำกัดโควตา  รายหัวไม่เกินกี่ตัน  เพื่อเน้นช่วยชาวนารายย่อยตัวเล็กจริงๆ  ไม่ใช่นายทุน  เจ้าของที่ดิน  ชาวนารวยๆ  ปลูกเยอะๆ  ส่วนที่จำนำไม่หมดก็ไปหาทางระบายเอาเอง  

 

แต่มันพลาดก็ตรง  ไปกำหนดราคา 15000  นี่ล่ะ  มันเวอร์เกิน  การจำนำทุกเมล็ด  ก็แทรกแซงตลาดมากเกินไป  สุดท้ายรัฐก็ขายไม่ได้ขาดทุนเป็นแสนล้าน

สิ่งที่รัฐบาลนี้ทำอยู่  คือลดลงเหลือ 12000  กับจำกัดปริมาณรับจำนำ  ผมว่าถูกแล้ว  แต่ว่า......  มันผิดจังหวะโครตๆ   หากทำอย่างนี้แต่แรกอาจไม่มีอะไรเสียหายมากมาย   แต่ดันไปสัญญากับชาวนา 15000  ไปแล้ว  ต้นทุนก็พุ่งนำหน้าไปแล้ว  รัฐบาลเองก็เป็นตัวการด้วย  ทั้งน้ำมัน  แก๊ส  ค่าแรง  จะมาลด  หักดิบชาวนาตอนนี้

ก็เดือดร้อนดิ   เตรียมรับมือม๊อบชาวนาได้เลย  ยังไม่รู้เลยจะเอากันอย่างไรต่อไป

 

อีกอย่าง  นโยบายจำนำ  แม้ปรับให้สมเหตุสมผลแค่ไหน  มันก็เป็นเพียงแค่นโยบายช่วยเหลือ  เกษตรระยะสั้นเท่านั้น   มันอยู่เดี่ยวๆ  ไม่ได้  แต่มันต้องมีนโยบายการพัฒนาด้านการเกษตร  ระยะยาว  ควบคู่ด้วย  สิ่งที่รัฐบาลควรทำควบคู่ไปกับโครงการรับจำนำข้าวคือ  นโยบายอะไรก็ได้  ที่เน้นลดต้นทุนการผลิตให้ชาวนา  

มีการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน  และเป้าหมายเพื่อให้  ชาวนามีชีวิตที่ดีขึ้นเรื่อยๆ  โดยพึ่งพาการช่วยเหลือจากรัฐน้อยลงเรื่อยๆ  จนถึงจุดนึงที่รัฐไม่จำเป็นต้องช่วยเหลืออีก   หรือ  การยกเลิกจำนำข้าวไปเลยนั่นเอง 

 

 

 

ราคาจำนำ 15,000 บาทต่อตัน....

ชาวนาจะจำนำได้ประมาณ 7,500-10,000 บาทต่อตัน หลังจากหักความชื้นและค่าใช้จ่ายอื่นๆ....

 

ราคาจำนำ 12,000 บาทต่อตัน

ชาวนาจะจำนำได้ประมาณ 7,000-9,000 บาทต่อตัน หลังจากหักความชื้นและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ

 

แต่โรงสี โกดังข้าวนำที่รับจำนำจากชาวนาซึ่งมีความชื้น ทำให้ความชื้นลดลงไม่เกิน 15 % จะจำนำกับรัฐบาล 15,000 บาทต่อตัน......!


เคียงข้างลุงกำนัน ปฏิรูปการเมืองไทย กำจัดระบอบทักษิณ ขับไล่มวลหมู่ขี้ข้า วันที่ 26 พฤษภาคม 2557...


#52 orogaros

orogaros

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,204 posts

ตอบ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556 - 01:29

เมื่อก่อนคิดว่าประกันดี  เวลานี้ก็แอบคิดว่าประกันราคาดี

 

แต่ในมุมมองส่วนตัวเวลานี้  ไม่ว่าจะจำนำ รับซื้อ ประกัน  ก็ไม่ดีทั้งนั้น  แทนที่จะปล่อยตลาดเป็นไปตามกลไก

ส่วนรัฐมีหน้าที่ช่วยเหลือโดยการทุ่มงบให้กับการพัฒนาสายพันธ์  หรือวิธีการปลูกแบบใหม่ๆ  เพื่อผลผลิตที่มาก

แต่รัฐกลับให้งบด้านวิจัยน้อยกว่าที่ควรจะเป็น  (เคยได้ยินอาจารย์ท่านหนึ่งบอกไว้  ประมาณว่าบางปีก็มีงบ

บางปีก็ไม่มีงบ)  แบบนี้จะเป็นการช่วยเหลือระยะยาวมากกว่า

 

ส่วนชาวนาที่มักบอกว่าตัวเองทำนาแล้วขาดทุนนั้น  ผมแนะนำเลย  เลิกทำเถอะ  ถ้าทำแล้วจนแล้วเจ๊ง

จะไปทำกันทำไมเหนื่อยครับ  ส่วนที่เจ๊งเพราะน้ำท่วมโดยธรรมชาติพอรับได้  ส่วนไอ้ที่เจ๊งเพราะน้ำแล้ง

ทำใจรับไม่ได้ครับ  เพราะส่วนใหญ่รัฐบาลทุกรัฐบาลจะประกาศเตือนแล้วว่าน้ำที่สำรองไว้จะพอหรือไม่

แต่ชาวนาส่วนใหญ่ด้วยความงก หรือเห็นแก่ได้ก็มักจะทำนาช่วงฤดูแล้งแล้วก็ไม่มีน้ำ  สุดท้ายก็เจ๊ง



#53 Redulah

Redulah

    น้องเก่า

  • Members
  • PipPip
  • 94 posts

ตอบ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556 - 11:40

ยังไงก็มองว่าประกันราคาดีที่สุดครับ แต่อาจจะต้องมีการปรับเงื่อนไขเล็กน้อยเพื่อความเหมาะสม เช่น การกำหนดขนาดพื้นที่ของเกษตรกรที่เข้าโครงการ ไม่ให้รายใหญ่ได้ประโยชน์เหมือนที่ผ่านมา

 

ข้อดี

- ประกันรายได้ไม่ทำให้ราคาตลาดบิดเบียน เพราะไม่ได้เข้าไปแทรกแซงที่ราคาตลาด แต่ไปนำเงินส่วนต่างไปให้เกษตรกรโดยตรง หากขายได้ไม่ถึงราคาตลาด

- ประกันรายได้ไม่ทำให้คุณภาพของข้าวเสีย ยังคงรักษามาตรฐานเดิมไว้

- ประกันรายได้ไม่ทำให้ผลผลิตจากข้าวหายไป นั่นคือ มีการซื้อขายปกติของข้าวสาร มีการแปรสภาพปกติเป็นกากรำ รำสกัด เป็นต้น แต่การจำนำทำให้ข้าวสารอยู่ในโกดัง รอคำสั่งแปรสภาพ ผลผลิตจากข้าวเปลือกไม่มีในตลาด ทำให้ราคาปรับตัวสูงขึ้น บรรดาโรงสกัด โรงงานอาหารสัตว์ ต้องหาวัตถุดิบทดแทน ของในโกดังก็ค้างปล่อยไว้คุณภาพเสื่อม พอมาประมูลผู้ประกอบการก็ไม่เอา จบ.

 

 

ข้อเสีย

- เสียเวลาในการทำเรื่อง กว่าจะได้เงินส่วนต่าง ทำให้เกษตรกรไม่มีเงินมาหมุนทำนารอบต่อไปได้ทัน

- มีการขายสิทธิ์ในการเข้าร่วมโครงการ ทำให้เกิดคอรับชั่น ชาวนาได้ประโยชน์ไม่ทั่วถึง

 

เท่าที่คิดได้ มีแค่นี้ แต่ข้อเสียข้อดีของจำนำ ไม่ขอเอ่ยถึง เพราะมีหลายท่านให้ข้อมูลน่าสนใจไว้แล้ว



#54 55555

55555

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 13,795 posts

ตอบ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556 - 12:09

ยังไงก็มองว่าประกันราคาดีที่สุดครับ แต่อาจจะต้องมีการปรับเงื่อนไขเล็กน้อยเพื่อความเหมาะสม เช่น การกำหนดขนาดพื้นที่ของเกษตรกรที่เข้าโครงการ ไม่ให้รายใหญ่ได้ประโยชน์เหมือนที่ผ่านมา

 

ข้อดี

- ประกันรายได้ไม่ทำให้ราคาตลาดบิดเบียน เพราะไม่ได้เข้าไปแทรกแซงที่ราคาตลาด แต่ไปนำเงินส่วนต่างไปให้เกษตรกรโดยตรง หากขายได้ไม่ถึงราคาตลาด

- ประกันรายได้ไม่ทำให้คุณภาพของข้าวเสีย ยังคงรักษามาตรฐานเดิมไว้

- ประกันรายได้ไม่ทำให้ผลผลิตจากข้าวหายไป นั่นคือ มีการซื้อขายปกติของข้าวสาร มีการแปรสภาพปกติเป็นกากรำ รำสกัด เป็นต้น แต่การจำนำทำให้ข้าวสารอยู่ในโกดัง รอคำสั่งแปรสภาพ ผลผลิตจากข้าวเปลือกไม่มีในตลาด ทำให้ราคาปรับตัวสูงขึ้น บรรดาโรงสกัด โรงงานอาหารสัตว์ ต้องหาวัตถุดิบทดแทน ของในโกดังก็ค้างปล่อยไว้คุณภาพเสื่อม พอมาประมูลผู้ประกอบการก็ไม่เอา จบ.

 

 

ข้อเสีย

- เสียเวลาในการทำเรื่อง กว่าจะได้เงินส่วนต่าง ทำให้เกษตรกรไม่มีเงินมาหมุนทำนารอบต่อไปได้ทัน

- มีการขายสิทธิ์ในการเข้าร่วมโครงการ ทำให้เกิดคอรับชั่น ชาวนาได้ประโยชน์ไม่ทั่วถึง

 

เท่าที่คิดได้ มีแค่นี้ แต่ข้อเสียข้อดีของจำนำ ไม่ขอเอ่ยถึง เพราะมีหลายท่านให้ข้อมูลน่าสนใจไว้แล้ว

 

 

ข้อเสียอีกประหนึ่งคือ .....การประกันราคาข้าว กว่าจะส่งผลจริง ๆ ต้องใช้เวลาต่อเนื่องซักระยะหนึ่ง ถึงแม้จะเป็นผลดีในระยะยาว และ อาจไม่ต้องใช้เงินภาษีเข้าแทรกแซง

 

                                       ในบางช่วง บางจังหวะ

 

 

แต่ที่ผมสงสัยตอนนี้คือ......เรามีสต็อค อยู่เกือบ 20 ล้านตัน แล้วยังมีแนวโน้มจะเพิ่มขึนอีก หากยังบริหารด้วยรัฐบาลเผาไทย ....เราจะกลับมาทำประกันรายได้ ยังไง

 

                                          ตอนนี้ตลาดโลกก็รับรู้ และรับได้กับข้าวเขมร อินเดีย เวียดนามกันไปพอสมควร  มันทำให้ความแตกต่างด้านราคา

 

                                          มีนัยยะสำคัญขึ้นมาแล้ว......ในขณะที่เมื่อก่อนผู้ซื้อรับได้กับข้าวไทย ที่มีมีราคาแพงกว่า พวกข้าวเวียดนาม ประมาณหนึ่ง  ตอนนี้คงไม่แล้ว

 

                                                  :D

 

 

                                         



#55 Redulah

Redulah

    น้องเก่า

  • Members
  • PipPip
  • 94 posts

ตอบ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556 - 15:48

 

ยังไงก็มองว่าประกันราคาดีที่สุดครับ แต่อาจจะต้องมีการปรับเงื่อนไขเล็กน้อยเพื่อความเหมาะสม เช่น การกำหนดขนาดพื้นที่ของเกษตรกรที่เข้าโครงการ ไม่ให้รายใหญ่ได้ประโยชน์เหมือนที่ผ่านมา

 

ข้อดี

- ประกันรายได้ไม่ทำให้ราคาตลาดบิดเบียน เพราะไม่ได้เข้าไปแทรกแซงที่ราคาตลาด แต่ไปนำเงินส่วนต่างไปให้เกษตรกรโดยตรง หากขายได้ไม่ถึงราคาตลาด

- ประกันรายได้ไม่ทำให้คุณภาพของข้าวเสีย ยังคงรักษามาตรฐานเดิมไว้

- ประกันรายได้ไม่ทำให้ผลผลิตจากข้าวหายไป นั่นคือ มีการซื้อขายปกติของข้าวสาร มีการแปรสภาพปกติเป็นกากรำ รำสกัด เป็นต้น แต่การจำนำทำให้ข้าวสารอยู่ในโกดัง รอคำสั่งแปรสภาพ ผลผลิตจากข้าวเปลือกไม่มีในตลาด ทำให้ราคาปรับตัวสูงขึ้น บรรดาโรงสกัด โรงงานอาหารสัตว์ ต้องหาวัตถุดิบทดแทน ของในโกดังก็ค้างปล่อยไว้คุณภาพเสื่อม พอมาประมูลผู้ประกอบการก็ไม่เอา จบ.

 

 

ข้อเสีย

- เสียเวลาในการทำเรื่อง กว่าจะได้เงินส่วนต่าง ทำให้เกษตรกรไม่มีเงินมาหมุนทำนารอบต่อไปได้ทัน

- มีการขายสิทธิ์ในการเข้าร่วมโครงการ ทำให้เกิดคอรับชั่น ชาวนาได้ประโยชน์ไม่ทั่วถึง

 

เท่าที่คิดได้ มีแค่นี้ แต่ข้อเสียข้อดีของจำนำ ไม่ขอเอ่ยถึง เพราะมีหลายท่านให้ข้อมูลน่าสนใจไว้แล้ว

 

 

ข้อเสียอีกประหนึ่งคือ .....การประกันราคาข้าว กว่าจะส่งผลจริง ๆ ต้องใช้เวลาต่อเนื่องซักระยะหนึ่ง ถึงแม้จะเป็นผลดีในระยะยาว และ อาจไม่ต้องใช้เงินภาษีเข้าแทรกแซง

 

                                       ในบางช่วง บางจังหวะ

 

 

แต่ที่ผมสงสัยตอนนี้คือ......เรามีสต็อค อยู่เกือบ 20 ล้านตัน แล้วยังมีแนวโน้มจะเพิ่มขึนอีก หากยังบริหารด้วยรัฐบาลเผาไทย ....เราจะกลับมาทำประกันรายได้ ยังไง

 

                                          ตอนนี้ตลาดโลกก็รับรู้ และรับได้กับข้าวเขมร อินเดีย เวียดนามกันไปพอสมควร  มันทำให้ความแตกต่างด้านราคา

 

                                          มีนัยยะสำคัญขึ้นมาแล้ว......ในขณะที่เมื่อก่อนผู้ซื้อรับได้กับข้าวไทย ที่มีมีราคาแพงกว่า พวกข้าวเวียดนาม ประมาณหนึ่ง  ตอนนี้คงไม่แล้ว

 

                                                 

 

ตอนนี้คนที่ได้รับประโยชน์เต็มๆ ไม่ต้องเสียอะไรเลย คือ โกดังที่เข้าร่วมโครงการจากเอกชน ซึ่งพยายามเคลียร์สินค้าในสต็อกออกเกือบหมดทุกหลัง เพื่อมาเก็บข้าวเปลือกครับ ราคาที่รับต่อกระสอบจำไม่ได้แล้ว (ประมาณ 60 บาท/ตัน/เดือนมั้ง) ไม่รวมค่ายารมมอด ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่รัฐออกให้ หรือโกดังจ่ายแล้วไปเรียกเก็บ ไม่ต้องดูแลมาก ล็อคโกดัง ถึงเวลาก็รมๆๆๆ จบ....

 

ยกตัวอย่าง โกดังเก็บข้าว 10,000 ตัน x 60 บาท = 600,000 บาท/เดือน x 12 เดือน = 7,200,000 บาท/ปี นี่คือรายได้แทบจะไม่มีความเสี่ยงใดๆเลยครับ

 

ปล. หากตัวเลขผิดขออภัย จำไม่ได้จริงครับ หากใครรู้ช่วยแก้ไขหน่อย 

                                         

 






ผู้ใช้ 2 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้

สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 2 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน