Jump to content


Photo
- - - - -

ช่วยชาวนาแบบใช้สมองหน่อย ตังสามแสนกว่าล้านเอาไปทำอย่างอื่นได้


  • Please log in to reply
30 replies to this topic

#1 แมว มหาภัย

แมว มหาภัย

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 827 posts

Posted 23 June 2013 - 14:55

๑.ลดค่าใช้จ่ายด้านต้นทุนของชาวนา  ทุกวันนี้ต้นทุนเกือบครึ่งหนึ่งหมดไปกับพลังงาน  การเปิดน้ำปล่อยน้ำให้ตรงกับการใช้งานของชาวนาจะช่วยลดการใช้เครื่องสูบน้ำลงได้มาก  ทั้งข้างสูบออกและสูบเข้า

๒.ใช้พลังงานสัตว์ทดแทน  เมื่อห้าหกร้อยปีก่อนเราไม่มีรถไถเราทำนากันมาอย่างไร  เราใช้แรงงานสัตว์ซึ่้งมันได้มาจากวัวควายที่เราเลี้ยงมันฟรี  แต่เราไม่เคยคิดที่จะปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพวันเลย เราไม่เคยพัฒนาเครื่องมือในการไถนา  ไม่เคยพัฒนาสายพันธุ์ควายให้มันทำงานได้มากขึ้น แข็งแรงขึ้น  ควายต่อตัวไถนามาก่อนเก่าได้ตัวละ ๑ ไร่  ด้วยคันไถใบมีดเดียวมาแต่โบราณ  ด้วยเทคโนโลยี่ปัจจุบัน  เราน่าจะเพิ่มประสิทธิภาพการไถนาของควายได้เป็นสองไร่ครึ่งต่อควายต่อวัน

๓.ปุ๋ย  ใช้ปุ๋ยพืชสดสาหร่ายสี่น้ำเงิแกมเขียว  และ  แหนแดง  ปล่อยให้เจริญเต็มพื้นนาแล้วไถกลบ  แทบไม่ต้องใช้ปุ๋ยเลยที่นาจะได้สารอาหารครบ ทั้ง n,p และ k

๔.การเก็บเกี่ยวหันกลับมาใช้วัฒนธรรมดั้งเดิมของเราที่มีมาแต่โบราณคือการแลกแรงกัน  มึงช่วยกูเกี่ยว กูช่วยมึงเกี่ยวลงแขกกัน  ค่ารถเกี่ยวไม่ต้องเสีย

๕.ปัญหาเรื่องศัตรูพืช และ ข้าวดีด  เกิดจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยวนาช้าวก็นาข้าวตลอด  มันจึงเกิดวงจรของศัตรูพืชและวัชพืชขนานกันไป  ถ้าเราสลับการปลูกบ้าง เว้นบ้างวงจรชีวิตของศัตรูพืชและวัชพืชก็จะไม่เกิด  ปริมาณข้าวในตลาดก็จะลดลงส่งผมให้ราคาดีขึ้นทางอ้อม

๖.การพัฒนาสายพันธุ์  ตอนนี้ข้าวปลูกมีปัญหามาก  คืออัตราการงอกต่ำ  กระทรวงเกษตรทำห่าอะไรอยู่  กรมวิชาการเกษตรไม่มีผลงานอะไรเลย  ผลผลิตต่อไร่ต่อสุดในอาเซี่ยน  เป็นเพราะเราเอากระทรวงเกษตรมาเป็นกระทรวงเกรดซี  เราจึงได้แต่นักการเมืองห่วยๆเข้ามาแดกงบประมาณอย่างเดียวไม่คิดถึงการพัฒนา  เรื่องการเกษตรของชาติเลย  

 

 

                                            แค่นี้ล่ะทำนาได้เลย  ลดต้นทุนไปไม่รู้เท่าไร  คิดกันบ้างไหมจะเอาเงินถมหวังแดกรายทางอย่างเดียว


แข็ง เยียบเย็น และสงบนิ่ง เหมือนนิวเคลียร์ลูกหนึ่งอำมาตย์เอกเจ้าพระยาวิฬาร์มหาภัยบดินทร์

#2 ant

ant

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,081 posts

Posted 23 June 2013 - 15:04

๓.ปุ๋ย  ใช้ปุ๋ยพืชสดสาหร่ายสี่น้ำเงิแกมเขียว  และ  แหนแดง  ปล่อยให้เจริญเต็มพื้นนาแล้วไถกลบ  แทบไม่ต้องใช้ปุ๋ยเลยที่นาจะได้สารอาหารครบ ทั้ง n,p และ k

 

ป้องกันหญ้า ปลาก็เยอะครับ ผมใช้ประจำ ปุ๋ยเคมีไม่ได้ขรี้ใส่นาผมหรอกครับ

ชีวภาพล้วนๆ ดินดี ไถง่าย ประหยัดค่าน้ำมัน

 

แต่ทุกวันนี้ ชาวนามักง่าย ขี้เกียจ จึงจ้างอย่างเดียว นี่ยังไม่นับค่าน้ำมันรถเทียวไปนาที่ต้องคิดเป็นต้นทุนด้วยนะครับ

 

ไม่จนก็ทนไม่ไหวแล้ว


ตราบที่สูอยู่-กิน..แผ่นดินไทย ตราบโคตรเหง้าสูใช้แผ่นดินนี้ตราบศพสูฝังใต้..ไทยปฐพี สูไม่มีสิทธิ์ยํ่ายี.." พระเจ้าแผ่นดิน "

#3 แมว มหาภัย

แมว มหาภัย

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 827 posts

Posted 23 June 2013 - 15:09

นิสัยมักง่ายของคนไทย  เกิดขึ้นพร้อมๆกับไอ้นโยบายทำลายชาติ  ประชานิยมสังคมเป็นง่อยนี่แหละ 


แข็ง เยียบเย็น และสงบนิ่ง เหมือนนิวเคลียร์ลูกหนึ่งอำมาตย์เอกเจ้าพระยาวิฬาร์มหาภัยบดินทร์

#4 i-mic

i-mic

    น้องเก่า

  • Members
  • PipPip
  • 74 posts

Posted 23 June 2013 - 15:21

2.  ในเรื่องของควายเนี่ย   สำหรับคนที่มีเวลา  ก็น่าเลี้ยงไว้ใช้งานน่ะ   แต่สำหรับ  ชีวิตที่ต้องดิ้นล้นมากกว่าเมื่อ 5-6  ร้อยปีก่อน   รัฐน่าจะ  หาเทคโนโลยี  ในการทำน้ำมันหรืออะไรก็ได้ที่มันช่วยลดต้นทุน  ให้เข้าถึงชาวบ้านมากกว่านี้หน่อย   ส่งเสริมความรู้ให้เยอะๆ   ไม่ใช่คิดแต่จะไปยุบโรงเรียนเค้า   กลัวเค้าฉลาดแล้วมาทำลายพวกโกงๆอย่างรัฐหรืองัย

 

แล้ว  ขอย้ำว่าต้องให้รัฐบาลใช้สมอง  ในทุกรัฐบาลที่จะเข้ามาบริหารประเทศ  ไม่แค่ในรัฐบาลของปู    เพราะตั้งแต่เกิดมา   ก็ไม่เคยเห็น  รัฐบาลไหนไม่โกง  เงินชาวนา   แค่โกงมากโกงน้อยเท่านั้นเอง



#5 กาลามสูตร

กาลามสูตร

    น้องเก่า

  • Members
  • PipPip
  • 194 posts

Posted 23 June 2013 - 15:22

จะช่วยชาวนาและเกษตรกรอื่นๆ จริงๆ มีวิธีช่วยที่ยั่งยืนอีกมากมาย ไม่ใช่ตะบี้ตะบันกู้เงินมาแจกมาคอรัปชั่นเอาเงินไปถมมหาสุมทรอย่างเดียว(เงินของเราทั้งนั้น) ถ้าชาวนาและเกษตรกรยังยืนด้วยขาตัวเองไม่ได้ เหมือนอาชีพอื่นๆเหตุการณ์ที่ชาวนาชาวสวนเดินทางเข้ากทม. มาชุมนุมหน้าทำเนียบมาแบมือขอให้รัฐช่วยเหลือ ก็จะมีให้เห็นอยู่ตลอดไป น่าเศร้าครับ ทั้งๆที่ประเทศเรา ยังมี บุคคล ที่ได้รับการยกย่องจากหลายประเทศในโลกว่า ท่านทรงเป็นปราช์ญเรื่องน้ำ และเป็นกษัตริย์นักพัฒนาได้ทรงคิดวางระบบรากฐาน ไม่ว่าจะเป็นการชลประทาน โครงการสหกรณ์ต่างๆ ฯลฯ ผ่านรัฐบาลมาหลายยุคสมัย แต่ยังไม่เห็นมีอะไรดีขึ้นเลย เสียดายจริงๆ
"อย่าเชื่อ......ก่อนพิสูจน์"

#6 แมว มหาภัย

แมว มหาภัย

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 827 posts

Posted 23 June 2013 - 15:26

ลองดู โรงเรียนสอนควาย  กาสรกสิวิทย์ดูซิ  พระองค์คิดไว้ให้หมดโรงเรียนสอนควายใช้งาน


แข็ง เยียบเย็น และสงบนิ่ง เหมือนนิวเคลียร์ลูกหนึ่งอำมาตย์เอกเจ้าพระยาวิฬาร์มหาภัยบดินทร์

#7 ผึ้งน้อยตุหรัดตุเหร่

ผึ้งน้อยตุหรัดตุเหร่

    หน้าตาดี มีอุดมการณ์

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 21,670 posts

Posted 23 June 2013 - 15:30

ทุกท่านหวังดีว่าจะช่วยชาวนาได้อย่างไร

ปัญหาคือมีคนตั้งใจทำแล้ว  เห็นผลแล้ว

แต่ชาวนาไทยส่วนใหญ่ไม่รับ ไม่เปลี่ยน ไม่ลองเองครับ

 

คำคม-เดชา ชาวนาไม่สนใจเรียน.jpg


gladiator 1.jpg

 

 

 

 

 

 


#8 asawinee

asawinee

    ปฏิรูป ก่อน เลือกตั้ง

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 9,003 posts

Posted 23 June 2013 - 16:04

ขอเสริม วิธีลดต้นทุนการทำนา

 

การกำจัดเพลี้ยกระโดด

  • ลุงชัยพร ชาวนาเงินล้าน แนะนำว่า เมื่อต้นข้าวเริ่มโต  ให้ไขน้ำออกจากนาจนผืนนาแห้ง เพลี้ยกระโดดชอบพื้นที่แฉะ  จะลดปริมาณเพลี้ยในนาลง จากนั้นใช้ วิธีรรมชาติคือใช้ตัวหำ้ ตัวเบียน กำจัด ซัก 7 วัน ต้นข้าวเริ่มแห้ง  ก็ไขน้ำเข้านา ทำสลับกัน ก็กำจัดเพลี้ยได้
  • กลุ่มชาวนาวันหยุด  ก็ยืนยันว่า นาไม่จำเป็นต้องเป็นที่น้ำท่วมขังตลอดเวลา ขอให้มีท่อพีวีซีวัดระดับน้ำใต้ดินในนา ระดับน้ำไม่พอก็ค่อยเติม
  • ลุงชาวนาอีกคน (ขออภัย จำชื่อไม่ได้) ใช้วิธีเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งในนา เป็ดจะกินทั้งเพลี้ย ทั้งหอยเชอร์รี่  โดยไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลง แถมยังขายเป็ดได้เป็นของแถมอีก ลุงแกเลี้ยงเป็ดทีละ 200-300 ตัว

 

การปรับสภาพน้ำปลูกข้าว

อาจารย์เคมีทางเชียงใหม่ (ขออภัย จำชื่อไม่ได้) เลิกอาชีพครูมาปลูกข้าวอินทรีย์ แนะนำให้ใช้น้ำที่เป็นกรดอ่อน ข้าวชอบ อาจารย์ท่านนี้เลยปลูกมะนาวรอบทางน้ำ ไม่เก็บมะนาวฝั่งทางน้ำ ปล่อยให้ตกลงไปในน้ำที่ใช้ปลูกข้าว ส่วนมะนาวฝั่งที่ติดกับผืนดิน ให้เก็บไปขาย

 

การกำจัดเชื้อรา

ลุงชัยพร แนะนำให้ใช้ ไตรโคเดอร์มา ทำเองง่ายๆ หว่านในนา ก็จะช่วยลดต้นทุน

 

อีกอย่างคือ ช่วงที่ข้าวออกรวง บริษัทขายปุ๋ย มักแนะนำให้ใส่ปุ๋ย บำรุงใบให้เขียวสดอยู่เสมอ ซึ่งลุงชัยพรบอกว่า ไม่จำเป็นเลย เป็นวิธีที่ผิด และสิ้นเปลือง เพราะข้าวเป็นพืชอายุสั้น ตามธรรมชาติ เมื่อออกรวง เก็บเกี่ยวแล้ว ก็ตาย ไม่จำเป็นต้องบำรุงใบในช่วงข้าวออกรวง ปล่อยให้ใบเป็นสีน้ำตาลไปบ้างก็ไม่เป็นไร

 

การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์

มีพี่ชาวนาคนหนึ่ง (ขออภัย จำชื่อไม่ได้) ขยันมาก เมื่อข้าวตั้งท้อง ออกรวง ก็คอยสังเกต รวงไหนสวย สมบูรณ์ จะเอาเชือกผูกทำสัญญลักษณ์ไว้ว่านี่คือ รวงที่จะนำมาเป็นเมล็ดพันธุ์  เมือเก็บเกี่ยวจะเกี่ยวแยกต่างหาก และดูแลคัดเลือกอย่างดี ทำให้ประหยัดค่าเมล็ดพันธุ์ แถมยังได้เมล็ดพันธุ์ที่ดีด้วย

 

 

ปัญหาที่สำคัญในบ้านเราจริงๆ คือ

  • ระบบชลประทานที่ยังไม่เอื้อต่อการทำนาในหลายพื้นที่  รัฐต้องแก้ไขอย่างจริงจัง ให้มีการนำทรัพยากรน้ำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
  • ชาวนา ไม่ยอมปรับตัว  มักง่าย เอาสะดวก  เวลาที่เหลือว่างๆก็ไปเล่นการพนัน ต่างจากชาวนาที่ทำนาแบบประณีต ซึ่งขยัน มีงานให้ทำตลอดปี แต่ลดต้นทุนได้  มีกำไร ไม่ต้องสะสมเอาสารพิษจากยาฆ่าแมลงจากปุ๋ยเคมีเข้าสู่ร่างกาย


#9 แมว มหาภัย

แมว มหาภัย

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 827 posts

Posted 23 June 2013 - 17:24

เยี่ยมครับช่วยกันคิด  อย่าเอาแต่สาดเงินถมเข้าไป  ที่จริงเราต้องช่วยตรงต้นทาง  ปลายทางให้เป็นไปตามกลไกของตลาด  ของดีต้องแพง  ของไม่ดีต้องถูก  พอรับจำนำเท่ากัน  ข้าวดีเลยลงมาเป็นข้าวห่วย  เพราะจำนำราคาเท่ากัน


แข็ง เยียบเย็น และสงบนิ่ง เหมือนนิวเคลียร์ลูกหนึ่งอำมาตย์เอกเจ้าพระยาวิฬาร์มหาภัยบดินทร์

#10 kabokaboh

kabokaboh

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 588 posts

Posted 23 June 2013 - 17:42

ปัญหามันก็อยู่แค่ตรงเอาเงินสาดนี่หล่ะครับ

 

เพราะ

 

เงิน คือตัวเร่งให้ชาวนา ปลูกข้าว ทำอย่างไรก็ได้ให้เร็วที่สุด

 

เพื่อที่จะเอาไปขายทำเงิน

 

ทำอย่างว่า อดตายครับ

 

ปล ผมก็โตมาจากครอบครับชาวนา ยังจำได้ในวัยเด็ก ยังเคยเห็นที่บ้าน ลงแขก เอาควายย่ำข้าว ให้กระพ้อลม ฟัดเมล็ดข้าวอยู่เลย

 

เพราะเป็นครอบครัวใหญ่อาศัยลงแรงเอา แต่ เดี๋ยวนี้ ทำแบบนั้นลำบาก สังคมมันเปลี่ยน พื้นที่ทำกินก็จำกัด นา ก็เช่าเค้าเอา เพราะหลายคนขายใช้หนี้ไปหมดแล้ว

 

ควายก็ช้า ไม่ทันกิน แถม ชาวนารุ่นใหม่ ก็มีน้อย ออกมารับจ้างเค้าได้เงินดีกว่า เหลือแต่ชาวนารุ่นเก่าๆ เรี่ยวแรงก็ไม่ค่อยมี ใช้เครื่องทุ่นแรง หรือ จ้างแรงงาน จะสะดวกกว่า

 

ของอย่างนี้ต้องลองไปคลุกคลีดูครับ บางที คนเหล่าอาจจะมีเหตุผลที่มากกว่าที่เราๆคิดกันอยู่ก็ได้



#11 IFai

IFai

    รักในหลวง

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,782 posts

Posted 23 June 2013 - 17:48

     ผมว่าในนี้กว่า95% เป็นมนุษย์เงินเดือน หรือเจ้าของกิจการ วิถีมันแตกต่างกับชาวนานะครับ เอาว่าคุณเป็นมนุษย์เงินเดือน นายจ้างคุณบอกปีนี้ไม่ขึ้นเงินเดือน ถ้าอยากได้เงินเพิ่มก็ไปทำงานวันหยุดหารายได้พิเศษเอา คุณจะคิดยังไง

     วันเดือนที่ผ่านไป เงินเดือนคุณเพิ่มขึ้น เคยสังเกตุไหมคุณทำงานมากขึ้น เท่าเดิม หรือน้อยลง 

     คุณขับรถเก๋ง ทำงานในห้องแอร์ ชาวนาก็อยากขับรถเก๋ง อยากทำนาในห้องแอร์เหมือนกัน

     คุณลาหยุดได้ยาวๆ กลับไปปริมาณงานที่ค้างไม่ใช่งานต่อวันคูณด้วยจำนวนวันที่ลา แต่ชาวนาไกล้เคียง

     ผมเองเป็นมนุษย์เงินเดือน มาค่อนชีวิต ตอนนี้มาเป็นชาวไร่ (ชาวไร่นี่งานไม่จี้ตูด กำหนดการทำงานไม่ตรงเด่ เหมือนชาวนา คือยังเบี้ยวได้มากกว่า)

 

    ผมเกิดมากลางถิ่นคนทำนา ทันการลงแขกช่วยกัน แต่วิถีชีวิตเริ่มเปลี่ยน เริ่มจากไม่มีฤดูน้ำท่วม จากการสร้างเขื่อนภูมิพล, มีไฟฟ้าเข้ามาในหมู่บ้าน, และมีคลองชลประทานเข้ามา  วิถีชีวิตก็เปลี่ยนไป

 

     ชาวนาในเขตคลองชลประทาน ที่เคยทำนาปีละครั้ง เป็น2-3ครั้ง การลงแขกช่วยกันซึ่งมีข้อได้เปรียบเสียเปรียบเช่นคนหนึ่งทำนา15ไร่ อีกคนทำนา20ไร่ ที่เคยเอาแรงกันโดยไม่คิดเรื่องเสียเปรียบ-ได้เปรียบ ก็เริ่มคิด ประกอบกับทุกคนไม่มีนาในเขตชลประทานทุกคน การที่จะช่วยลงแขกเอาแรงกันก็เริ่มหมดไป

      เทคโนโลยี่เข้ามา เช่นรถไถ เข้ามา ชาวนาแต่ละคนก็จ้างในเฉพาะที่ตนเอง แล้วก็กลับ ..ต่างกับสมัยก่อนจะไถ-จะหว่านต้องใช้เวลา2-3เดือนต้องพึ่งพากันตลอด เพราะต้องย้านครัวไปทำ

 

     วิถีชีวิตเปลี่ยนไป เช่นเคยอาบน้ำเวลาไกล้เคียงกันได้คุยกัน เปลี่ยนเป็นปั๊มน้ำขึ้นมาอาบบนบ้าน, สัก2ทุ่มดับตะเกียงนอน มีแว่วๆมาบ้างก็เสียงวิทยุเล็กๆ ปัจจุบันนอน4-5ทุ่ม มีเครื่องเสียง-โทรทัศน์, เหนื่อยๆมาเคยกินน้ำฝน ผสมน้ำยาอุทัยทิพย์ ปัจจุบันต้องน้ำแช่เย็น อาจเป็นน้ำอัดลม

      **ผมเปรียบเทียบยาว เพียงจะบอกว่า ชีวิตรุ่นหลังๆ ความต้องการมันเปลี่ยนไป สิ่งที่จะให้ได้สิ่งตอบสนองนั้น คือเงิน 

 

      ผมหงุดหงิดที่อ่านพบว่า ชาวนาขี้เกียจ มีครับผมเชื่อ และเคยพบ บางคนเดินเอาหัวไปก่อนมันก้าวได้3ก้าว ผมก้าวได้2 กับบางคนเดินเหมือนจูงเต่าชมจันทร์ ...เฉพาะคนที่ว่า หรือคิดว่าชาวนาขี้เกียจนะ เคยพิจารณาคนรอบตัวไหม ว่าคนไหนขยัน-คนไหนขี้เกียจ คุณจะไปว่าเขาขี้เกียจไหม ....คุณเห็นชาวนาเดินช้าๆ ก็มักช้ากว่าคุณ คุณอาจบอกว่า ไอ้ลักษณะแบบนี้จะทำพอกินได้อย่างไร ผมคิดว่าเขาไม่ได้รีบไปให้ทันเวลารถไฟฟ้า ไม่ต้องไปให้ทันปั๊มบัตรลงเวลาทำงาน

 

      ทั้งผม ทั้งคุณ รวมทั้งชาวนา ความต้องการคือเงิน ยิ่งตระกูล SIN ยิ่งต้องการมากจนดูเหมือนไม่มีที่สิ้นสุด

       รายรับของมนุษย์เงินเดือนนั้นมีปัจจัยเดียวคือนายจ้างอยู่ในฐานะที่จ่ายได้หรือไม่ ผิดกับชาวนาซึ่งปัจจัยองค์ประกอบมากกว่าหลายเท่า ...วิธีการ-กรรมวิธีในกระบวนการผลิต รวมทั้งรอความเมตตาจากเทวดาด้วย  และที่สำคัญรัฐบาลลมีนโยบายทำร้ายชาวนาขนาดไหน

 

       กว่า15ปีที่แล้ว ผมเคยคุยกับเพื่อนที่ทำนาจากมรดก ประมาณ20ไร่ ผมเคยบอกว่าพอเกี่ยวเสร็จ(ตอนนั้นยังใช้แรงคน) ให้ชักน้ำเข้านาพร้อมกับผสมน้ำอีเอ็มใส่แปลงนา ไปหมักไว้ พอดินหมาดก็ไถแปร ไถดะ แล้วปลูก จะลดการใช้ปุ๋ยเคมีลงเรื่อยๆ จนถึง5ปีน่าจะใช้ปุ๋ยเคมีคงที่ ก็คงประมาณ 20-25% ของปริมาณที่ใช้ใน(วันนั้น)  ...มันสวนมาว่าในช่วง4-5ปี ที่ไม่ได้ใช้ปุ๋ยเคมี ผลผลิตมันลดลง ใครจะจ่ายชดเชยให้มัน ...ผมไมได้ตอบครับ ทั้งที่มีคำตอบในใจ  เดี๋ยวเสียเพื่อน

 

        ไอ้เพื่อผมที่ว่า มีมรดกมาสัก10ไร่ ทำนามาตลอด จากที่ติดต่อกันครั้งสุดท้ายเมื่อสงกรานต์ มันมีที่นา 50กว่าไร่  มันบอกไม่ขวนขวายอีกแล้ว มันแก่แล้ว และลูก3คน ไม่มีใครรับมรดกทำนาสักคน    ที่เล่ามานี้เพียงจะบอกว่า มันก็เจริญฐานะของมันมา โดยปรกติ  ม่ใช่เพราะโครงการประกันราคา/ประกันรายได้ หรือโครงการรับซื้อข้าวของ นส.ปู  ...ไม่ว่ารบ.ไหน อย่ามาอ้างเป็นความดีความชอบเลย  แต่ที่แน่ใจคือนโยบาย นส.ปู ทำลายชาวนาไทยกว่าค่อน ไปเรียบร้อยแล้ว

 

         การแก้ปัญหาชาวนา ต้องแก้จริงจัง เป็นระบบ ใช้เวลานานและผู้ที่มีบทบาทสำคัญที่สุดคือ รัฐบาล ซึ่งนส.ปู ไม่มีแนวคิดนี้สักนิด เท่าขี้เล็บมดก็ไม่มี


ประโยชน์สูงสุดของประชาชน คือกฏหมายสูงสุดของประเทศ ...วิชา มหาคุณ


#12 ant

ant

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,081 posts

Posted 23 June 2013 - 18:16

 

ขอเสริม วิธีลดต้นทุนการทำนา

 

........

อีกอย่างคือ ช่วงที่ข้าวออกรวง บริษัทขายปุ๋ย มักแนะนำให้ใส่ปุ๋ย บำรุงใบให้เขียวสดอยู่เสมอ ซึ่งลุงชัยพรบอกว่า ไม่จำเป็นเลย เป็นวิธีที่ผิด และสิ้นเปลือง เพราะข้าวเป็นพืชอายุสั้น ตามธรรมชาติ เมื่อออกรวง เก็บเกี่ยวแล้ว ก็ตาย ไม่จำเป็นต้องบำรุงใบในช่วงข้าวออกรวง ปล่อยให้ใบเป็นสีน้ำตาลไปบ้างก็ไม่เป็นไร

 

........

 

ใช้ปุ๋ยชีวภาพ จะทำให้ข้าวเขียวนานกว่าใช้เคมี เพราะดินจะร่วนอุ้มน้ำได้ดีและชุ่มนานกว่าใช้ปุ๋ยเคมี เมื่อใบข้าวยังเขียวอยู่ ข้าวก็สามารถสังเคราะห์แสงได้ ทำให้สามารถดูดอาหารขึ้นไปเลี้ยงลำต้นและบำรุงผลที่ยังไม่สมบูรณ์ได้ ทำให้ปริมาณข้าวลีบน้อยลง ได้ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้นครับ ข้าวมีน้ำหนักกว่า ถ้าใช้เคมีดินจะแน่น อุ้มน้ำไม่ดี ทำให้พืชไม่สามารถดูดอาหารได้ แก่เร็ว ทำให้เกิดปัญหา"หักคอรวง" กรอบ เกี่ยวยาก ครับ


ตราบที่สูอยู่-กิน..แผ่นดินไทย ตราบโคตรเหง้าสูใช้แผ่นดินนี้ตราบศพสูฝังใต้..ไทยปฐพี สูไม่มีสิทธิ์ยํ่ายี.." พระเจ้าแผ่นดิน "

#13 เหล่าฮู

เหล่าฮู

    ขาประจำ

  • Banned
  • PipPipPip
  • 993 posts

Posted 23 June 2013 - 18:23

ทุกท่านหวังดีว่าจะช่วยชาวนาได้อย่างไร

ปัญหาคือมีคนตั้งใจทำแล้ว  เห็นผลแล้ว

แต่ชาวนาไทยส่วนใหญ่ไม่รับ ไม่เปลี่ยน ไม่ลองเองครับ

 

attachicon.gifคำคม-เดชา ชาวนาไม่สนใจเรียน.jpg



#14 ควันหลง

ควันหลง

    I am Royalist

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,696 posts

Posted 23 June 2013 - 18:32

 

 

 

แล้วมันเกี่ยวอะไรกับด้วยวะ เหล่าฮู วู้วววว  <_<


Edited by ควันหลง, 23 June 2013 - 18:33.


#15 ก๊องส์ไข่กวน

ก๊องส์ไข่กวน

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,012 posts

Posted 24 June 2013 - 08:32

ทุกท่านหวังดีว่าจะช่วยชาวนาได้อย่างไร
ปัญหาคือมีคนตั้งใจทำแล้ว  เห็นผลแล้ว
แต่ชาวนาไทยส่วนใหญ่ไม่รับ ไม่เปลี่ยน ไม่ลองเองครับ
 
attachicon.gifคำคม-เดชา ชาวนาไม่สนใจเรียน.jpg


ไอ้นี่ ก็เป็นเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ชาวนายากจน

#16 อาวุโสโอเค

อาวุโสโอเค

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,790 posts

Posted 24 June 2013 - 08:39

 

 

 

 

แล้วมันเกี่ยวอะไรกับด้วยวะ เหล่าฮู วู้วววว  <_<

 

ไปฟังใหม่ไป เอามานี่ข้อมูลเก่า ลองโทรไปสิเหล่าฮู บอกว่าจะพูดเรื่องนี้ วีระยังด่ารับบาลด้วย :lol:


การเมืองไม่ใช่เพื่อกลุ่มใด แต่เพื่อทุกคนในประเทศ

#17 PeaceMan

PeaceMan

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 513 posts

Posted 24 June 2013 - 09:15

ทุกท่านหวังดีว่าจะช่วยชาวนาได้อย่างไร
ปัญหาคือมีคนตั้งใจทำแล้ว  เห็นผลแล้ว
แต่ชาวนาไทยส่วนใหญ่ไม่รับ ไม่เปลี่ยน ไม่ลองเองครับ
 
attachicon.gifคำคม-เดชา ชาวนาไม่สนใจเรียน.jpg


นั่นเป็นเพราะภาครัฐ ยังไม่ได้ เข้ามาช่วยจัดการ อย่าง"จริงใจ"เเละ มีประสิทธิภาพ เป็นวาระเเห่งชาติครับ

เนื่องด้วย ภาครัฐยังมี "ผลประโยชน์ทับซ้อน" กับกลุ่มทุน ที่ทำธุกิจปุ๋ย+ยาเคมี

คือจะทำตรงนี้ได้ ต้องมีศูนย์ฝึกอบรมเเละปฏิบัติการ ครอบคลุมทั่วถึง ไม่ใช่ชาวนาอุบล บอกอยากทำปุ๋ยชีวะภาพ เเต่ต้องเดินทาง ไปศึกษาของจริง ถึงอีกจังหวัดหรืออีกภาค!

เเละที่สำคัญมากอีกข้อหนึ่ง รัฐจะต้อง"ลงทุน"จ้างสื่อ"สร้างจิตสำนึก" อย่างมีประสิทธิภาพ

ให้รู้โทษของระบบ "ผู้จัดการนา" เเละ คุณประโยชน์ที่เป็น รูปธรรมของ "เกษตรทฤษฏีใหม่"

จำ "ตาวิเศษ" ได้มั๊ยครับ ใครทิ้งของลงพื้นถนนนี่ ละอายกันไปเลย. สื่อสร้างจิตสำนึก ได้จริงครับ ขึ้นอยู่กับว่า รัฐจะทำจริงหรือไม่

#18 puggi

puggi

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,869 posts

Posted 24 June 2013 - 09:50

ที่ท่านๆ กล่าวมาทั้งหมด  ชาวนา บอกว่าเสียเวลาครับ เพราะต้องเอาเวลา ไป แดรก เหล้า หมด

 

เท่าที่ผมเจอ ส่วนใหญ่ ชาวนา ไทยโครตขี้เกียจ  ขี้เมา ผีพนัน  แล้วมันจะยกระดับชีวิตได้อย่างไร

 

เกี่ยวข้าวเสร็จ ก็เผาฟางข้าว  พอปลูก   ก็ลงปุ๋ยเคมี ยาฆ่าหญ้ากัน หมด

 

ขนาดผมคนกรุง มาดูสวนยางที่บ้าน เป็นชาวสวนยางมือใหม่ ผมยังใช้ ปุ๋ยอินทรีย์เลย

 

เคมีจะใช้นานๆที ยกเว้นยาฆ่าหญ้าที่อาจจต้องใช้ แต่ไม่บ่อย 

 

ชาวนา ชาวเกษตรส่วนใหญ่ เชื่อแบบเดิมๆ ทำแบบเดิมๆ ไม่กล้าลองวิธีใหม่ แล้วมันจะได้อะไรละครับ



#19 IFai

IFai

    รักในหลวง

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,782 posts

Posted 24 June 2013 - 10:05

    หน่วยงานของรัฐ มีตั้งแต่

   1.เกษตรตำบล เคยไปเที่ยวไร่ส้มที่เชียงราย สวยมากครับ ขับรถเลยมาหน่อยเห็นบ้านติดป้ายว่า ที่ทำการเกษตรตำบล เลยถามเจ้าของสวนว่าที่ผลงานสวยนี่ เพราะมีเกษจรมาอยู่ไกล้บัานใช่ไหม ....โอ๊ยขนาดพันธ์กล้วย มันยังไม่รู้จักเลย

      หมู่บ้านผม มีสาธารณสุหมู่บ้าน (น่าจะเรียกถูก) ตอนนี้ไข้เลือดออกเริ่มมี ...คนแรกที่เป็นคือคนในครอบครัวมัน

   2. เกษตร มีตั้งแต่กระทรวงเกษตร ยันเกษตรตำบล ระดับหมู่บ้านมีอีก เรียกปราชญ์ชาวบ้าน หรือหมอดิน อะไรนี่แหละ

       สถานีวิจัยเกษตร เห็นมีอยู่มาก เมื่อวิจัยเสร็จ ก็รายงานถึงกระทรวง ทางกระทรวงก็ออกประกาศโฆษณา ทางสื่อทั้งหลานแหล่ ...จบขั้นตอน-วิธีการ 

       อย่างเก่งก็แจ้งมากับผญบ. ในการประชุมรายครึ่งเดือน รายปลายเดือน ...มันได้ผลไม่เกิน1%

      ไม่เคยได้ยินว่ามีข้าราชการลงจากหองาช้าง ไปแนะนำชาวบ้านเลย  ใครสนใจก็ไปติดต่อเอง  แม้แต่สารปรับปรุงดิน พด. ทั้งหลายแหล่   มีไปถึงมือเกษตรกร บ้างไหม เคยไปสาธิต อธิบาย ต่อหน้าเกษตรกรไหม  ..สนใจอะไรไปติดต่อเอง

 

  นี่คือข้าราชการที่เกี่ยวข้องกับระบบเกษตร


ประโยชน์สูงสุดของประชาชน คือกฏหมายสูงสุดของประเทศ ...วิชา มหาคุณ


#20 asawinee

asawinee

    ปฏิรูป ก่อน เลือกตั้ง

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 9,003 posts

Posted 24 June 2013 - 10:18

ที่ท่านๆ กล่าวมาทั้งหมด  ชาวนา บอกว่าเสียเวลาครับ เพราะต้องเอาเวลา ไป แดรก เหล้า หมด

 

เท่าที่ผมเจอ ส่วนใหญ่ ชาวนา ไทยโครตขี้เกียจ  ขี้เมา ผีพนัน  แล้วมันจะยกระดับชีวิตได้อย่างไร

 

เกี่ยวข้าวเสร็จ ก็เผาฟางข้าว  พอปลูก   ก็ลงปุ๋ยเคมี ยาฆ่าหญ้ากัน หมด

 

ขนาดผมคนกรุง มาดูสวนยางที่บ้าน เป็นชาวสวนยางมือใหม่ ผมยังใช้ ปุ๋ยอินทรีย์เลย

 

เคมีจะใช้นานๆที ยกเว้นยาฆ่าหญ้าที่อาจจต้องใช้ แต่ไม่บ่อย 

 

ชาวนา ชาวเกษตรส่วนใหญ่ เชื่อแบบเดิมๆ ทำแบบเดิมๆ ไม่กล้าลองวิธีใหม่ แล้วมันจะได้อะไรละครับ

 

 

เรื่องเผาฟางข้าว ตอซังข้าว นี่อย่าคิดว่าเป็นเรื่องที่ชาวนาขี้เกียจ เลยเผาๆมันซะ จะได้ง่ายต่อการไถนา

อันที่จริงมีมานานตั้งแต่สมัยสุโขทัยโน่นแน่ะ

เป็นพระราชพิธี ที่เรียกกันว่า "ธานยเทาะห์"

ทำพิธีในเดือนสาม

มีความเชื่อว่า เป็นการ ส่งแม่โพสพกลับสู่ถิ่นเดิมหลังเสร็จสิ้นการช่วยเหลือมนุษย์ให้มีพืชพันธุ์ธัญญาหารแล้ว

ในพระราชพิธี มีการนำเอาฟางข้าวไปเผารวมทั้งข้าวที่เสียหายเพราะเมล็ดลีบ หรือถูกเพลี้ย ด้วง แมลงต่างๆ

รวมทั้งพิธีกรรมอื่นๆ

http://app1.bedo.or....eInfo.aspx?id=7

 

การจะแก้ไขความเชื่อเรื่องการเผาตอซังข้าว จึงแก้ไม่ได้ง่ายๆ เพราะเป็นความเชื่อซึ่งหยั่งรากลึกมานานหลายร้อยปี



#21 kabokaboh

kabokaboh

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 588 posts

Posted 24 June 2013 - 11:07

 

ทุกท่านหวังดีว่าจะช่วยชาวนาได้อย่างไร
ปัญหาคือมีคนตั้งใจทำแล้ว  เห็นผลแล้ว
แต่ชาวนาไทยส่วนใหญ่ไม่รับ ไม่เปลี่ยน ไม่ลองเองครับ
 
attachicon.gifคำคม-เดชา ชาวนาไม่สนใจเรียน.jpg


นั่นเป็นเพราะภาครัฐ ยังไม่ได้ เข้ามาช่วยจัดการ อย่าง"จริงใจ"เเละ มีประสิทธิภาพ เป็นวาระเเห่งชาติครับ

เนื่องด้วย ภาครัฐยังมี "ผลประโยชน์ทับซ้อน" กับกลุ่มทุน ที่ทำธุกิจปุ๋ย+ยาเคมี

คือจะทำตรงนี้ได้ ต้องมีศูนย์ฝึกอบรมเเละปฏิบัติการ ครอบคลุมทั่วถึง ไม่ใช่ชาวนาอุบล บอกอยากทำปุ๋ยชีวะภาพ เเต่ต้องเดินทาง ไปศึกษาของจริง ถึงอีกจังหวัดหรืออีกภาค!

เเละที่สำคัญมากอีกข้อหนึ่ง รัฐจะต้อง"ลงทุน"จ้างสื่อ"สร้างจิตสำนึก" อย่างมีประสิทธิภาพ

ให้รู้โทษของระบบ "ผู้จัดการนา" เเละ คุณประโยชน์ที่เป็น รูปธรรมของ "เกษตรทฤษฏีใหม่"

จำ "ตาวิเศษ" ได้มั๊ยครับ ใครทิ้งของลงพื้นถนนนี่ ละอายกันไปเลย. สื่อสร้างจิตสำนึก ได้จริงครับ ขึ้นอยู่กับว่า รัฐจะทำจริงหรือไม่

 

 

 

ถูกต้องเลยครับ

 

ผลประโยชน์มันบังตาอยู่

 

ระบบราชการ ก็อย่างว่านั่นหล่ะ หวังได้ยาก

 

ทางที่ดี ช่วยเงิน แต่พอประมาณ สนับสนุน ให้ปลูกอย่างอื่น  เลี้ยงสัตว์บ้างอะไรบ้าง (เจือกมาเจอระบบฟาร์มปิดของนายทุนอีก ไปไม่เป็นเช่นกัน)

 

ถ้าอยากจะช่วยจริง ๆ

 

มี อบต ไว้ทำพระแสงด้ามเคียวทำไม ไม่เห็น อบตที่บ้าน จะมีผลงานอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน

 

ใช้ อบต เป็นเครื่องมือก็ได้ ใกล้ชาวบ้านที่สุดแล้ว ใครไม่ทำตามนโยบาย ปลดแม่มออกให้หมด กล้าหรือเปล่า

 

ขนาดที่บ้าน ตอนแรกจะให้ไถที่ทำนากันเลยทีเดียว ผมปรามไว้ ด้วยเหตุผลที่ว่า เราไม่ควรจะลงทุนตามกระแส เพราะ เด่วอีกไม่นาน ข้าวก็เน่า (แล้วมันก็เน่าจริง) เพราะปรับที่ต้องใช้เงินมาก และ ไม่รู้ว่าอีกกี่ปีจะคุ้มทุน

 

ปลูกมัน ความเสียงน้อย ลงทุนต่ำ ไม่ได้หวังกำไรมาก เอาแค่ไม่ให้ที่ดิน รกร้างก็พอ (และกำไรก็ไม่ได้มากจริงๆ เกือบเจ้ง ทำเองคงเศร้า 5555)

 

ปลูกอ้อย ก็ดีนะ ได้ราคากว่ามัน ปีที่สองปีที่สาม สบาย ไม่ต้องลงทุนมาก แต่ระบบน้ำต้องดีหน่อย ขยันหน่อย ที่สำคัญคือ

 

เอทานอล เนี่ย บอกมาเลยว่า ต้องการอ้อยมัน กี่ล้านตันต่อปี ประกันราคาให้ดี จัดสรรค์พื้นที่ปลูกดีๆ เด่วอีกหน่อย เกษตรกร ก็หันมาปลูกเองนั้นหล่ะ

 

ความเป็นจริง บริษัท เอทานอล มันเงียบ กดราดาให้ต่ำไว้ กำไร จะได้เยอะๆ  จริงปะ รัฐบาลจ๋า

 

รักเกษตรกรจริงป่ะเนี่ย



#22 PeaceMan

PeaceMan

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 513 posts

Posted 24 June 2013 - 11:33

หน่วยงานของรัฐ มีตั้งแต่
   1.เกษตรตำบล เคยไปเที่ยวไร่ส้มที่เชียงราย สวยมากครับ ขับรถเลยมาหน่อยเห็นบ้านติดป้ายว่า ที่ทำการเกษตรตำบล เลยถามเจ้าของสวนว่าที่ผลงานสวยนี่ เพราะมีเกษจรมาอยู่ไกล้บัานใช่ไหม ....โอ๊ยขนาดพันธ์กล้วย มันยังไม่รู้จักเลย
      หมู่บ้านผม มีสาธารณสุหมู่บ้าน (น่าจะเรียกถูก) ตอนนี้ไข้เลือดออกเริ่มมี ...คนแรกที่เป็นคือคนในครอบครัวมัน
   2. เกษตร มีตั้งแต่กระทรวงเกษตร ยันเกษตรตำบล ระดับหมู่บ้านมีอีก เรียกปราชญ์ชาวบ้าน หรือหมอดิน อะไรนี่แหละ
       สถานีวิจัยเกษตร เห็นมีอยู่มาก เมื่อวิจัยเสร็จ ก็รายงานถึงกระทรวง ทางกระทรวงก็ออกประกาศโฆษณา ทางสื่อทั้งหลานแหล่ ...จบขั้นตอน-วิธีการ 
       อย่างเก่งก็แจ้งมากับผญบ. ในการประชุมรายครึ่งเดือน รายปลายเดือน ...มันได้ผลไม่เกิน1%
      ไม่เคยได้ยินว่ามีข้าราชการลงจากหองาช้าง ไปแนะนำชาวบ้านเลย  ใครสนใจก็ไปติดต่อเอง  แม้แต่สารปรับปรุงดิน พด. ทั้งหลายแหล่   มีไปถึงมือเกษตรกร บ้างไหม เคยไปสาธิต อธิบาย ต่อหน้าเกษตรกรไหม  ..สนใจอะไรไปติดต่อเอง
 
  นี่คือข้าราชการที่เกี่ยวข้องกับระบบเกษตร


นั่นเพราะภาครัฐ ไม่มีความ จริงใจในการปฏิบัติ ที่จะสนับสนุนให้ชาวนารู้จัก ใช้ระบบชีวภาพเเละ "เกษตรทฤษฏีใหม่" ในการพัฒนาคุณภาพงาน รายได้ &ชีวิต

ที่สำคัญ ศูนย์ปฏิบัติฝึกอบรม ที่ผมพูดถึงนี้

คือศูนย์ที่ใช้ "เกษตรทฤษฏีใหม่" ในการอบรม ปฏิบัติ ให้เข้าใจถึงวิธีที่จะ ลดต้นทุน+เพิ่มผลผลิต อย่างมีประสิทธิภาพ ใน"ทางรุก"

รวมไปถึงจัดหน่วยเคลื่อนที่ เพื่อเข้าถึง เเก้ปัญหา เเละ สร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ต่อ "เกษตรทฤษฏีใหม่" เเละอธิบายถึง "โทษ" ผลเสียต่างๆ หากยังคงใช้ระบบ "ผู้จัดการนา"

รองรับด้วย ระบบชลประทานที่มีประสิทธิภาพ

เสริมด้วยการจ้าง agencyผลิตโฆษนาชั้นนำ เพื่อ สร้างกระเเสโน้มน้าว ปลูกจิตสำนึก อัดเข้าไปในทุกๆสื่อ ที่เกษตรกรจะเสพได้

ด้วยงบประมาณเท่ากับที่ เสียหายไปกับการจำนำข้าว สิ่งที่กล่าวไปข้างต้น มันไม่ได้มากมายอะไร เเต่สิ่งที่ได้ จะยั่งยืน

#23 IFai

IFai

    รักในหลวง

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,782 posts

Posted 24 June 2013 - 16:48

     ชาวนาบ้านผมสมัยเด็กๆ

     จะเริ่มเก็บเกี่ยวกันช่วงปลายหนาว ขนเข้าบ้านตั้งเป็นกองไว้ รอครบทุกครอบครัวที่ลงแขกกันไว้ (5ครอบครัว)

     เมื่อครบทุกบ้านแล้วพักผ่อนเบาๆ ด้วยการทำลาน ย่ำลานสักสัปดาห์นึ่ง ก็เริ่มนวด มักแบ่งเป็น2ลาน ลานหนึ่งใช้วัวเดินลาน อีกลานคัดฟางออก เมื่อเรียบร้อย อีกลานก็ได้ที่พอจะเอาฟางออก(จำไม่ได้เขาเรียกอะไร) สลับกันจนได้ข้าวเปลือกล้วนจึงฝัด ขนเข้ายุ้ง  ทำเช่นนี้จนหมดข้าวฟ่อน ทุกครอบครัว

 

     การเก็บข้าวคือเอาข้าวขึ้นเก็บในยุ้ง อาจมีกะพ้อมสำหรับเม็ดพันธ์ กับเก็บไว้กิน ด้วยถ้ายุ้งไม่พอเก็บ

 

     ทั้งหมดจะเสร็จ ก่อนตรุษ เพื่อเตรียมตัวรับปีใหม่ ....สงกรานต์

 

     การขายข้าว แถวบ้านจะมีคนกลางรับซื้อ

      1. จำนำข้าว คือถ้าเงินขาดมือ ก็ไปเรียกคนซื้อมาตีราคา เขาจะตีราคาแล้วประมาณการข้าวในยุ้งว่ามีเท่าไร แล้วจ่ายเงินกันประมาณ 80% ของการคำนวณ หรืออาจจำนำไม่หมด กำหนดเป็นเกวียนก็มี

      2. การขาย ก็เหมือนกับข้อ1 เมื่อตีราคากันได้ ก็รอกำหนดขาย ..มักจะขายพร้อมๆกัน ด้วยเห็นตรงกันว่าได้ราคาดีที่สุด

 

       เมื่อถึงเวลาคนซื้อมาขนก็ ปักติ้วนับจำนวนถัง ขนลงเรือ จ่ายเงินกันตามจำนวนที่ขายจริง

 

      *การตรวจคุณภาพข้าว ..คนซื้อจะมาพร้อมไม้กลมๆ อันหนึ่ง เอาข้าวตัวอย่างมาบดเอาเปลือกออก ตีราคาตามเม็ดข้าวที่เอาเปลือกออกแล้ว

      *ความชื้นมีส่วนเกี่ยวข้องไหม อันนี้จำไม่ได้ครับ แต่ดูแล้วไม่น่าเกี่ยว เพราะจากวันเกี่ยวถึงวันขาย ก็3-4 เดือน

 

      วิถีชีวิตของชาวนา เพื่อนร่วมชาติเรา ก็เป็นอย่างนี้ ถ้าคราวเคราะห์ คือนาล่ม ก็ไม่เคยตีอกชกตัว ร้องแรกแหกกะเฌอ อะไร ถึงนาจะล่มขนาดไหน ก็ยังพอมีข้าวกินจนถึงฤดูใหม่ ....ปีนี้อาจมีหนี้บ้างก็เพื่อดำรงค์ชีวิต อย่างเก่งที่มักไม่เลื่อน คืองานบวชลูกชาย, ส่งลูกหลานเรียน ให้เป็นเจ้าคน นายคน,  ส่วนงานแต่งถ้าเจ้าสาวไม่แอบช่วย เจ้าสาวก็อดอยากไปอีกปี

       หนี้สินสมัยนี้  เครื่องใช้ใหม่ๆ ทีวี, ตู้เย็น, มือถือ, มอ-ไซค์, ปิีกอัพ ความต้องการเหล่านี้ เป็นเฉพาะชาวนาเท่านั้น หรือเปล่า???  อาชีพอื่นไม่ต้องการ???   และอีกจำนวน ...มาจากการลงทุนในฤดูต่อไป

 

       วิถีชีวิตเปลี่ยนไป ตามเวลาที่เดินไม่หยุด แต่ที่เปลี่ยนมากที่สุด มาจากนักการเมืองที่จับชาวนามาเป็นฐานเสียง-ตัวประกัน เริ่มจากถ้าอยากได้ราคาดี ไปก่อม๊อบ กูลงทุนให้ ...นักการเมืองนั้น จึงเป็นนักการเมืองที่คงกระพัน และชาวนาเสพติดผลประโยชน์ ที่ได้มาง่ายๆ

 

      ถึงยุค นส.ปู ก็เหมือนเดิม เพียงแต่อ่อยเหยื่อมากเกินไป ด้วยต้องการเสียงมาเป็นฐานให้ตั้งรัฐบาลได้ แต่หลายอย่างพลาดไป จึงต้องเปลี่ยนจากหมื่นห้า รับจำนำทุกเม็ด มาเป็นหมื่นสอง พร้อมข้อแม้อีกหลายข้อ ...ชาวนาจึงออกมาประท้วง เอาชาวนาจริงๆ หรือดูข้อมูลจริงๆ คือลงทุน เร่งปลูกเต็มที่ ด้วยหวังว่าจะได้หมื่นห้าเหมือนเดิม แต่นส.ปู พลิกเป็นหมื่นสอง  และมีกำหนดเวลา ที่ข้าวที่ลงทุนปลูกฤดูนี้เก็บเกี่ยวไม่ทัน จึงทำให้ขาดทุน

 

       กรณีทุกวันนี้ ก่อนจะด่าชาวนา อยากให้พิจารณาสักนิด พวกชาวนาผิด หรือนส.ปู ผิด .....จะได้ด่าไม่ผิดตัว


Edited by IFai, 24 June 2013 - 16:51.

ประโยชน์สูงสุดของประชาชน คือกฏหมายสูงสุดของประเทศ ...วิชา มหาคุณ


#24 Norachon

Norachon

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 377 posts

Posted 24 June 2013 - 17:01

เสนอแนะอย่างไรก็ไร้ประโยชน์ ตราบเท่าที่นักการเมืองไม่ได้เอาสมองอันน้อยนิดคิดถึงผลประโยชน์ของชาวนาเป็นที่ตั้ง ถ้าไม่ได้มองชาวนาเป็นเครื่องมือทำมาหาแดรก ไม่เสนอมันก็คิดออก



#25 asawinee

asawinee

    ปฏิรูป ก่อน เลือกตั้ง

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 9,003 posts

Posted 24 June 2013 - 21:01

 

 

ขอเสริม วิธีลดต้นทุนการทำนา

 

........

อีกอย่างคือ ช่วงที่ข้าวออกรวง บริษัทขายปุ๋ย มักแนะนำให้ใส่ปุ๋ย บำรุงใบให้เขียวสดอยู่เสมอ ซึ่งลุงชัยพรบอกว่า ไม่จำเป็นเลย เป็นวิธีที่ผิด และสิ้นเปลือง เพราะข้าวเป็นพืชอายุสั้น ตามธรรมชาติ เมื่อออกรวง เก็บเกี่ยวแล้ว ก็ตาย ไม่จำเป็นต้องบำรุงใบในช่วงข้าวออกรวง ปล่อยให้ใบเป็นสีน้ำตาลไปบ้างก็ไม่เป็นไร

 

........

 

ใช้ปุ๋ยชีวภาพ จะทำให้ข้าวเขียวนานกว่าใช้เคมี เพราะดินจะร่วนอุ้มน้ำได้ดีและชุ่มนานกว่าใช้ปุ๋ยเคมี เมื่อใบข้าวยังเขียวอยู่ ข้าวก็สามารถสังเคราะห์แสงได้ ทำให้สามารถดูดอาหารขึ้นไปเลี้ยงลำต้นและบำรุงผลที่ยังไม่สมบูรณ์ได้ ทำให้ปริมาณข้าวลีบน้อยลง ได้ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้นครับ ข้าวมีน้ำหนักกว่า ถ้าใช้เคมีดินจะแน่น อุ้มน้ำไม่ดี ทำให้พืชไม่สามารถดูดอาหารได้ แก่เร็ว ทำให้เกิดปัญหา"หักคอรวง" กรอบ เกี่ยวยาก ครับ

 

 

จริงค่ะ ปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยพืชสด ทำให้โครงสร้างของดินมีรูพรุน อากาศและน้ำซึมผ่านได้ดี มีฮิวมัสช่วยบำรุงดิน

ปุ๋ยเคมี ทำให้ดินแข็ง แน่น

 

แต่น่าเจ็บใจคือ บริษัทขายปุ๋ยเคมี มาหลอกขายชาวนา ให้ชาวนาใส่ปุ๋ยเร่งใบ พวกยูเรีย แอมโมเนียในช่วงที่ข้าวเริ่มออกรวงแล้ว

ข้าวเลยเกิดอาการ บ้าใบ รากแทงลึกเพื่อดูดซึมไนโตรเจนในชั้นดินลึกๆ อย่างไม่หยุดยั้ง  ผลคือ   ใบงาม เขียวสด กอใหญ่ แต่เมล็ดข้าวจะรวงเล็ก เมล็ดลีบ

สาเหตุเพราะพืชขาดสมดุลของธาตุอาหาร

และถึงจะมีใบมาก การสังเคราะห์แสงมาก แต่กระบวนการเติบโตของรวงข้าวกลับหยุดชะงัก

 

ผิดกับปุ๋ยชีวภาพ ซึ่งมีสมดุลของแร่ธาตุอยู่

ต้นข้าว นำแร่ธาตุต่างๆไปใช้ในกระบวนการสร้างเมล็ดให้สมบูรณ์ได้



#26 RiDKuN_user

RiDKuN_user

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 13,167 posts

Posted 24 June 2013 - 21:17

ปัญหาที่สำคัญคือการทำนาของชาวนา แต่คนส่วนใหญ่มักไม่โทษตัวเอง และมักจะไม่คิดว่าตัวเองนั่นแหละคือปัญหา

การช่วยเหลือชาวนาโดนรัฐ ต้องเป็นไปเพื่อให้ชาวนามีหลักประกัน ไม่ให้เดือดร้อนไม่ว่าจะจากภัยธรรมชาติหรือราคาตลาด

เช่นเดียวกับสวัสดิการทั้งหลายของรัฐ ที่เป็นไปเพื่อความมั่นคงในชีวิต มิใช่เพื่อความมั่งคั่ง เพื่อให้ร่ำรวย

เพราะสิ่งเหล่านั้นชาวนาจะต้องเป็นผู้ขวนขวายหามาเอง เช่นเดียวกับเพื่อนร่วมชาติอีกหลายสิบล้านคน

ที่เสียภาษีมาเพื่อให้รัฐมีเงินมาช่วยเหลือชาวนาที่ได้รับการยกเว้นภาษีตลอดชีวิตการทำนา  -_-


" ชีวิตผมไม่เคยกลัวอะไรทั้งนั้น ผมกลัวอย่างเดียว...กลัวจะถูกมองว่า 'ขายชาติ' " - The Last Tycoon

~ ทักษิณตาย เสรีไทยไชโย ~

#27 asawinee

asawinee

    ปฏิรูป ก่อน เลือกตั้ง

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 9,003 posts

Posted 24 June 2013 - 21:19

     ผมว่าในนี้กว่า95% เป็นมนุษย์เงินเดือน หรือเจ้าของกิจการ วิถีมันแตกต่างกับชาวนานะครับ เอาว่าคุณเป็นมนุษย์เงินเดือน นายจ้างคุณบอกปีนี้ไม่ขึ้นเงินเดือน ถ้าอยากได้เงินเพิ่มก็ไปทำงานวันหยุดหารายได้พิเศษเอา คุณจะคิดยังไง

     วันเดือนที่ผ่านไป เงินเดือนคุณเพิ่มขึ้น เคยสังเกตุไหมคุณทำงานมากขึ้น เท่าเดิม หรือน้อยลง 

     คุณขับรถเก๋ง ทำงานในห้องแอร์ ชาวนาก็อยากขับรถเก๋ง อยากทำนาในห้องแอร์เหมือนกัน

     คุณลาหยุดได้ยาวๆ กลับไปปริมาณงานที่ค้างไม่ใช่งานต่อวันคูณด้วยจำนวนวันที่ลา แต่ชาวนาไกล้เคียง

     ผมเองเป็นมนุษย์เงินเดือน มาค่อนชีวิต ตอนนี้มาเป็นชาวไร่ (ชาวไร่นี่งานไม่จี้ตูด กำหนดการทำงานไม่ตรงเด่ เหมือนชาวนา คือยังเบี้ยวได้มากกว่า)

 

    ผมเกิดมากลางถิ่นคนทำนา ทันการลงแขกช่วยกัน แต่วิถีชีวิตเริ่มเปลี่ยน เริ่มจากไม่มีฤดูน้ำท่วม จากการสร้างเขื่อนภูมิพล, มีไฟฟ้าเข้ามาในหมู่บ้าน, และมีคลองชลประทานเข้ามา  วิถีชีวิตก็เปลี่ยนไป

 

     ชาวนาในเขตคลองชลประทาน ที่เคยทำนาปีละครั้ง เป็น2-3ครั้ง การลงแขกช่วยกันซึ่งมีข้อได้เปรียบเสียเปรียบเช่นคนหนึ่งทำนา15ไร่ อีกคนทำนา20ไร่ ที่เคยเอาแรงกันโดยไม่คิดเรื่องเสียเปรียบ-ได้เปรียบ ก็เริ่มคิด ประกอบกับทุกคนไม่มีนาในเขตชลประทานทุกคน การที่จะช่วยลงแขกเอาแรงกันก็เริ่มหมดไป

      เทคโนโลยี่เข้ามา เช่นรถไถ เข้ามา ชาวนาแต่ละคนก็จ้างในเฉพาะที่ตนเอง แล้วก็กลับ ..ต่างกับสมัยก่อนจะไถ-จะหว่านต้องใช้เวลา2-3เดือนต้องพึ่งพากันตลอด เพราะต้องย้านครัวไปทำ

 

     วิถีชีวิตเปลี่ยนไป เช่นเคยอาบน้ำเวลาไกล้เคียงกันได้คุยกัน เปลี่ยนเป็นปั๊มน้ำขึ้นมาอาบบนบ้าน, สัก2ทุ่มดับตะเกียงนอน มีแว่วๆมาบ้างก็เสียงวิทยุเล็กๆ ปัจจุบันนอน4-5ทุ่ม มีเครื่องเสียง-โทรทัศน์, เหนื่อยๆมาเคยกินน้ำฝน ผสมน้ำยาอุทัยทิพย์ ปัจจุบันต้องน้ำแช่เย็น อาจเป็นน้ำอัดลม

      **ผมเปรียบเทียบยาว เพียงจะบอกว่า ชีวิตรุ่นหลังๆ ความต้องการมันเปลี่ยนไป สิ่งที่จะให้ได้สิ่งตอบสนองนั้น คือเงิน 

 

      ผมหงุดหงิดที่อ่านพบว่า ชาวนาขี้เกียจ มีครับผมเชื่อ และเคยพบ บางคนเดินเอาหัวไปก่อนมันก้าวได้3ก้าว ผมก้าวได้2 กับบางคนเดินเหมือนจูงเต่าชมจันทร์ ...เฉพาะคนที่ว่า หรือคิดว่าชาวนาขี้เกียจนะ เคยพิจารณาคนรอบตัวไหม ว่าคนไหนขยัน-คนไหนขี้เกียจ คุณจะไปว่าเขาขี้เกียจไหม ....คุณเห็นชาวนาเดินช้าๆ ก็มักช้ากว่าคุณ คุณอาจบอกว่า ไอ้ลักษณะแบบนี้จะทำพอกินได้อย่างไร ผมคิดว่าเขาไม่ได้รีบไปให้ทันเวลารถไฟฟ้า ไม่ต้องไปให้ทันปั๊มบัตรลงเวลาทำงาน

 

      ทั้งผม ทั้งคุณ รวมทั้งชาวนา ความต้องการคือเงิน ยิ่งตระกูล SIN ยิ่งต้องการมากจนดูเหมือนไม่มีที่สิ้นสุด

       รายรับของมนุษย์เงินเดือนนั้นมีปัจจัยเดียวคือนายจ้างอยู่ในฐานะที่จ่ายได้หรือไม่ ผิดกับชาวนาซึ่งปัจจัยองค์ประกอบมากกว่าหลายเท่า ...วิธีการ-กรรมวิธีในกระบวนการผลิต รวมทั้งรอความเมตตาจากเทวดาด้วย  และที่สำคัญรัฐบาลลมีนโยบายทำร้ายชาวนาขนาดไหน

 

       กว่า15ปีที่แล้ว ผมเคยคุยกับเพื่อนที่ทำนาจากมรดก ประมาณ20ไร่ ผมเคยบอกว่าพอเกี่ยวเสร็จ(ตอนนั้นยังใช้แรงคน) ให้ชักน้ำเข้านาพร้อมกับผสมน้ำอีเอ็มใส่แปลงนา ไปหมักไว้ พอดินหมาดก็ไถแปร ไถดะ แล้วปลูก จะลดการใช้ปุ๋ยเคมีลงเรื่อยๆ จนถึง5ปีน่าจะใช้ปุ๋ยเคมีคงที่ ก็คงประมาณ 20-25% ของปริมาณที่ใช้ใน(วันนั้น)  ...มันสวนมาว่าในช่วง4-5ปี ที่ไม่ได้ใช้ปุ๋ยเคมี ผลผลิตมันลดลง ใครจะจ่ายชดเชยให้มัน ...ผมไมได้ตอบครับ ทั้งที่มีคำตอบในใจ  เดี๋ยวเสียเพื่อน

 

        ไอ้เพื่อผมที่ว่า มีมรดกมาสัก10ไร่ ทำนามาตลอด จากที่ติดต่อกันครั้งสุดท้ายเมื่อสงกรานต์ มันมีที่นา 50กว่าไร่  มันบอกไม่ขวนขวายอีกแล้ว มันแก่แล้ว และลูก3คน ไม่มีใครรับมรดกทำนาสักคน    ที่เล่ามานี้เพียงจะบอกว่า มันก็เจริญฐานะของมันมา โดยปรกติ  ม่ใช่เพราะโครงการประกันราคา/ประกันรายได้ หรือโครงการรับซื้อข้าวของ นส.ปู  ...ไม่ว่ารบ.ไหน อย่ามาอ้างเป็นความดีความชอบเลย  แต่ที่แน่ใจคือนโยบาย นส.ปู ทำลายชาวนาไทยกว่าค่อน ไปเรียบร้อยแล้ว

 

         การแก้ปัญหาชาวนา ต้องแก้จริงจัง เป็นระบบ ใช้เวลานานและผู้ที่มีบทบาทสำคัญที่สุดคือ รัฐบาล ซึ่งนส.ปู ไม่มีแนวคิดนี้สักนิด เท่าขี้เล็บมดก็ไม่มี

 

มนุษย์เงินเดือน หรือชาวนา มีวิถีชีวิต ที่ยากลำบากต่างกัน เปรียบเทียบกันตรงๆคงไม่ง่ายนัก

ชาวนา ต้องทำงานหนัก กลางแดด กลางฝน หลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน ต่อสู่กับความผันผวนของธรรมชาติ

มนุษย์เงินเดือน ต้องคอยเอาใจลูกค้าทั้งๆที่ในใจแสนเบื่อ คอยดูสีหน้าเจ้านาย ระวังตัวไม่ให้เจ้านายหรือลูกค้าขี้หลีล่วงละเมิด  ระวังเพื่อนร่วมงานเหยียบเราขึ้นไป ต้องตื่นแต่เช้ามืด เพื่อไปอยู่บนท้องถนนหลายชั่วโมงก่อนถึงที่ทำงาน และในตอนเย็นก็เช่นกันต้องผจญรถติดก่อนกลับบ้าน บางทีต้องทำโอทีทั้งๆที่อยากกลับบ้าน อยากไปสังสรรค์

 

ทุกอาชีพ มีทั้งคนที่ประสบความสำเร็จ คนที่ล้มเหลว

คนที่อดทน คนที่จับจด

คนที่ขยัน คนที่ขี้เกียจ

คนที่พัฒนา คนที่ย่ำอยู่กับที่

 

ชาวนา เมื่อรู้ตัวว่า เป็นทุกข์้พราะทำนาแล้วขาดทุน

สมุทัย คืออะไร ต้นทุนสูง ใช่ไหม ราคาข้าวในท้องตลาดตกต่ำใช่ไหม

นิโรธ ล่ะ วิธีลดต้นทุน  เพิ่มผลผลิต ชาวนาลงมือปฏิบัติด้วยตนเองได้ ส่วนราคาในท้องตลาด คงไม่สามารถไปกำหนดเอง

มรรค ชาวนาลงมือทำเพื่อลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต เลียนแบบตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จ ซึ่งมีให้เห็นอยู่ หรือว่าจะยังใช้วิธีเดิมๆและได้ผลลัพธ์แบบเดิมๆ



#28 HiddenMan

HiddenMan

    Long Live The King

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 12,023 posts

Posted 24 June 2013 - 22:01

 

ทุกท่านหวังดีว่าจะช่วยชาวนาได้อย่างไร

ปัญหาคือมีคนตั้งใจทำแล้ว  เห็นผลแล้ว

แต่ชาวนาไทยส่วนใหญ่ไม่รับ ไม่เปลี่ยน ไม่ลองเองครับ

 

attachicon.gifคำคม-เดชา ชาวนาไม่สนใจเรียน.jpg

 

 

:D หมายถึงนางยก กับ รมว คลังหรอ... ไล่ให้ไปปลูกอ้อยแทน


“Live as if you were to die tomorrow. Learn as if you were to live forever.”  - Mahatma Gandhi

 

สนใจบ้านพักคนชราเสรีไทย (FB Secret Group) ติดต่อ (PM) เว็บบอร์ด

https://www.facebook...denman.serithai


#29 kim

kim

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,724 posts

Posted 25 June 2013 - 12:27

เจ้าสั้ว CP รวยอีกแล้ว ขึ้นราคาขายปุ๋ยขายยา



#30 แมว มหาภัย

แมว มหาภัย

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 827 posts

Posted 25 June 2013 - 18:59

ที่จริงแล้ว  เราต้องเข้าไปจัดการช่วยเหลือตรงต้นทาง  แล้ว ปลายทางปล่อยให้เป็นกลไกของการตลาด  ใครขยันได้มาก ของใครดีขายได้แพง  พอเราเข้าไปช่วยปลายทางของดีของเลวเลยลงมาเลวเท่ากันหมด  เพราะราคาจำนำเท่ากันใครจะทำของดีให้มันเมื่อย  มาเป็นนายกทำไมถามจริง


แข็ง เยียบเย็น และสงบนิ่ง เหมือนนิวเคลียร์ลูกหนึ่งอำมาตย์เอกเจ้าพระยาวิฬาร์มหาภัยบดินทร์

#31 IFai

IFai

    รักในหลวง

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,782 posts

Posted 26 June 2013 - 09:53

 

 

 

ขอเสริม วิธีลดต้นทุนการทำนา

 

........

อีกอย่างคือ ช่วงที่ข้าวออกรวง บริษัทขายปุ๋ย มักแนะนำให้ใส่ปุ๋ย บำรุงใบให้เขียวสดอยู่เสมอ ซึ่งลุงชัยพรบอกว่า ไม่จำเป็นเลย เป็นวิธีที่ผิด และสิ้นเปลือง เพราะข้าวเป็นพืชอายุสั้น ตามธรรมชาติ เมื่อออกรวง เก็บเกี่ยวแล้ว ก็ตาย ไม่จำเป็นต้องบำรุงใบในช่วงข้าวออกรวง ปล่อยให้ใบเป็นสีน้ำตาลไปบ้างก็ไม่เป็นไร

 

........

 

ใช้ปุ๋ยชีวภาพ จะทำให้ข้าวเขียวนานกว่าใช้เคมี เพราะดินจะร่วนอุ้มน้ำได้ดีและชุ่มนานกว่าใช้ปุ๋ยเคมี เมื่อใบข้าวยังเขียวอยู่ ข้าวก็สามารถสังเคราะห์แสงได้ ทำให้สามารถดูดอาหารขึ้นไปเลี้ยงลำต้นและบำรุงผลที่ยังไม่สมบูรณ์ได้ ทำให้ปริมาณข้าวลีบน้อยลง ได้ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้นครับ ข้าวมีน้ำหนักกว่า ถ้าใช้เคมีดินจะแน่น อุ้มน้ำไม่ดี ทำให้พืชไม่สามารถดูดอาหารได้ แก่เร็ว ทำให้เกิดปัญหา"หักคอรวง" กรอบ เกี่ยวยาก ครับ

 

 

จริงค่ะ ปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยพืชสด ทำให้โครงสร้างของดินมีรูพรุน อากาศและน้ำซึมผ่านได้ดี มีฮิวมัสช่วยบำรุงดิน

ปุ๋ยเคมี ทำให้ดินแข็ง แน่น

 

แต่น่าเจ็บใจคือ บริษัทขายปุ๋ยเคมี มาหลอกขายชาวนา ให้ชาวนาใส่ปุ๋ยเร่งใบ พวกยูเรีย แอมโมเนียในช่วงที่ข้าวเริ่มออกรวงแล้ว

ข้าวเลยเกิดอาการ บ้าใบ รากแทงลึกเพื่อดูดซึมไนโตรเจนในชั้นดินลึกๆ อย่างไม่หยุดยั้ง  ผลคือ   ใบงาม เขียวสด กอใหญ่ แต่เมล็ดข้าวจะรวงเล็ก เมล็ดลีบ

สาเหตุเพราะพืชขาดสมดุลของธาตุอาหาร

และถึงจะมีใบมาก การสังเคราะห์แสงมาก แต่กระบวนการเติบโตของรวงข้าวกลับหยุดชะงัก

 

ผิดกับปุ๋ยชีวภาพ ซึ่งมีสมดุลของแร่ธาตุอยู่

ต้นข้าว นำแร่ธาตุต่างๆไปใช้ในกระบวนการสร้างเมล็ดให้สมบูรณ์ได้

 

     เรื่องปุ๋ยชีวภาพนี่เห็นด้วยครับ แต่ก็ใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมี เพราะอย่างมูลสัตว์นี่ ธาตุแต่ละตัว มีค่าเป็นจุดทศนิยม แต่ได้ดีด้านคุณภาพดิน แต่จะดีเร็วขึ้น(ผมว่านะ..ทำอยู่) เอามูลสัตว์หว่าน ฉีดด้วยอีเอ็มให้ชุ่ม ขุดไถกลบ ทำตอนปลูกพืชสวนครัว และฉีดพ่นผัก ... สักปีหนึ่งเห็นชัดว่าดินดีขึ้น ขุดง่าย ร่วนซุยขึ้น แต่ทั้งหมดที่ทำ +ระยะเวลาเกือบปี ได้ผลผลิต เท่ากับใช้ปุ๋ยเคมีกำมือเดียว  ..บางทีใช้ร่วมกับปุยพืชสด(เก็บไว้ให้ผุ)  ผมแทบไม่เคยจุดไฟเผาหญ้า กิ่งไม้เลย เกือบสิบปีแล้ว เมื่อ2ปีที่แล้วโค่นมะม่วงสัก10ไร่ ให้เขาเอาเศษที่เหลือจากขาย เอามาสุมรวมไว้3-4กอง ทิ้งไว้เกือบปีก็ย้ายกองใหม่ ไอ้เหลือมขนาดต้นแขน เลื้อยออกมาเป็นอาหารคนงาน...

     ไม่รู้ตอนนี้ชาวนายังเผาฟาง/ซังข้าวอีกไหม ตอนนี้ฟางข้าวอัด มัดด้วยเชือกยาวสัก 1.5ม.  ส่งถึงที่ ฟ่อนละ50-60บ.

 

     แต่ปุ๋ยชีวภาพ บำรุงต้น บำรุงดิน ดีที่สุดคือโบกาฉิ อันนี้เยี่ยมแน่ แต่ผมหาวัสดุมาทำยาก


ประโยชน์สูงสุดของประชาชน คือกฏหมายสูงสุดของประเทศ ...วิชา มหาคุณ





0 user(s) are reading this topic

0 members, 0 guests, 0 anonymous users