นั่นดิ
V
V
nnnn43, on 01 Jul 2013 - 07:56, said:
ไม่คิดจะรักษาวินัยการคลังแล้วเหรอ 
ONETHAI, on 01 Jul 2013 - 08:37, said:
“โต้ง” ไวต์ลาย พลิกมติ กขช. รับจำนำ 1.5 หมื่น ทั้งๆ ที่ค้านสุดตัวก่อนหน้า ทำ “บุญทรง” ช้ำหนักเป็นแพะรับบาป
http://www.manager.c...D=9560000079814
“โต้ง” ไวต์ลายอีกแล้ว พลิกมติ กขช.กลับรับจำนำข้าวตันละ 1.5 หมื่นบาทเหมือนเดิมทั้งๆ ที่เป็นคนผลักดันให้ลดราคาจำนำโดยอ้างวินัยการคลังก่อนหน้านี้ ส่งผลให้ “บุญทรง” กลายเป็นแพะรับบาปไปในทันที
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) วันที่ 1 กรกฎาคม 2556 ที่ตึกบัญชาการทำเนียบรัฐบาล ที่มีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง เป็นประธาน ได้มีมติให้คงราคารับจำนำข้าวเปลือกเจ้า 100% ความชื้น 15% ที่ 15,000 บาท/ตัน และข้าวชนิดอื่นๆ กลับมาที่ราคาเดิม โดยจะรับจำนำเฉพาะปริมาณที่ไม่เกินที่ได้ระบุไว้ในใบรับรองเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนแล้วเท่านั้น และในวงเงินไม่เกิน 500,000 บาทต่อครัวเรือนตามมติ กขช. เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2556 สำหรับโครงการรับจำนำข้าวเปลือกปีการผลิต 2555/56 จะสิ้นสุดวันที่ 15 กันยายน 2556 และเฉพาะภาคใต้ภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2556
ทั้งนี้ มติ กขช.เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2556 ให้ปรับลดราคารับจำนำข้าวเปลือกเจ้า 100% เป็น 12,000 บาท/ตัน และข้าวเปลือกชนิดอื่นๆ ปรับลดลงร้อยละ 20
สำหรับการขึ้นทะเบียนเกษตรกร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รายงานว่า จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2556 ซึ่งเป็นวันสิ้นสุดการขึ้นทะเบียนเกษตรกร มีจำนวนเกษตรกรขึ้นทะเบียน 200,000 กว่าราย ปริมาณข้าว 2.9 ล้านตัน
นอกจากนี้ กขช.ยังเห็นชอบให้เพิ่มช่องทางและเพิ่มประสิทธิภาพการระบายข้าวในสต๊อกของรัฐบาลในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2556 ดังนี้ เห็นชอบให้ขายเป็นการทั่วไปให้แก่ผู้ประกอบการในประเทศเพื่อการส่งออกต่างประเทศ และ/หรือจำหน่ายภายในประเทศ ทั้งข้าวหอม ข้าวเหนียว และข้าวขาว รวมทั้งขายข้าวเปลือก ในกรณีที่ผู้ซื้อมีคำสั่งซื้อข้าวนึ่งจากต่างประเทศและมีโรงสีที่ดำเนินการเป็นการเฉพาะ และยังได้เร่งรัดให้ขยายช่องทางเดิมในการเจรจาขายแบบรัฐต่อรัฐ (G to G) โดยเพิ่มประเทศเป้าหมายและปริมาณขาย ได้แก่ ประเทศในอาเซียน จีน และแอฟริกา เป็นต้น และเร่งรัดการระบายผ่านตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (AFET) อย่างต่อเนื่องเพื่อให้ผู้ซื้อข้าวในประเทศและต่างประเทศมีโอกาสในการเข้าร่วมประมูลอย่างโปร่งใส สำหรับการขายให้องค์กรหรือหน่วยงานต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อสาธารณประโยชน์ และการบริจาคประเทศต่างๆ ซึ่งเป็นช่องทางเดิมก็ยังให้ดำเนินการต่อไป
ขณะเดียวกัน ได้พิจารณาข้อกังวลของสาธารณชนในเรื่องทุจริต เช่น การสวมสิทธิเกษตรกร การนำข้าวต่างประเทศมาสวมสิทธิ และเพื่อให้โครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลดำเนินการต่อไปด้วยความรอบคอบ สุจริต และโปร่งใส จึงมอบให้คณะอนุกรรมการระดับจังหวัดนำปัญหาที่เกิดขึ้นไปปรับปรุงหลักเกณฑ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพโครงการฯ ตำรวจ ทหาร ตำรวจตระเวนชายแดน ตรวจตราบริเวณชายแดนอย่างเข้มงวดเพื่อป้องกันการลักลอบนำเข้าข้าวต่างประเทศมาสวมสิทธิ และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เข้มงวดในการขึ้นทะเบียนเกษตรกรให้ถูกต้อง มอบหมายกระทรวงพาณิชย์ อคส. อ.ต.ก. ให้กำกับดูแล ณ จุดรับจำนำและคลังสินค้า ติดกล้อง CCTV ให้สาธารณชนร่วมตรวจสอบได้ เชื่อมโยงระบบการขึ้นทะเบียนเกษตรกร การออกใบประทวน การจ่ายเงินให้เกษตรกร และการส่งข้าวจากโรงสีเข้าคลังกลาง เพื่อให้สามารถตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับได้ระหว่างหน่วยงาน และรายงานการดำเนินงานให้ที่ประชุมครั้งต่อไป
สำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูกข้าวเพื่อลดต้นทุนการผลิตข้าวและเพิ่มรายได้ให้ชาวนา (Zoning) ที่ประชุมเห็นชอบในหลักการแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูกข้าวเพื่อลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มรายได้ (Zoning) ตามที่กระทรวงเกษตรฯ เสนอ ซึ่งได้กำหนดเขตความเหมาะสมสำหรับปลูกข้าว โดยผลผลิตเฉลี่ยในเขตชลประทาน 700 กิโลกรัมต่อไร่ขึ้นไป และนอกเขตชลประทานแต่อยู่ในเขต Zoning ได้ 500 กิโลกรัมต่อไร่ รวมทั้งสิ้น 43.9 ล้านไร่ ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ จะมีการพัฒนาคุณภาพข้าวให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด จัดระบบการปลูกข้าวในเขตพื้นที่ชลประทาน ซึ่งจะมีการสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ และปัจจัยอื่นๆ ที่มีความจำเป็นเพื่อเป็นมาตรการจูงใจ โดยจะดำเนินการปรับระบบการปลูกข้าวปีละไม่ต่ำกว่า 500,00 ไร่
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ก่อนหน้านี้นายกิตติรัตน์ได้เป็นผู้ออกมาให้ข่าวในช่วงที่พรรคฝ่ายค้านได้ออกมาโจมตีโครงการรับจำนำข้าวว่าขาดทุนสูงถึง 2.6 แสนล้านบาท โดยเสนอให้มีการปรับลดราคารับจำนำลงมา อ้างว่าเพื่อรักษาวินัยการเงินการคลัง และทำให้งบประมาณสมดุลในปี 2560 จนทำให้ กขช.ที่มีนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีต รมว.พาณิชย์ ทำหน้าที่ประธาน ได้มีการพิจารณาปรับลดราคาจำนำลง และได้เสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติ แต่หลังจากที่ได้มีการปรับ ครม. และนายกิตติรัตน์ได้มาทำหน้าที่ประธาน กขช.ก็ได้มีการพิจารณาให้กลับไปใช้ราคารับจำนำที่ราคาเดิมตันละ 15,000 บาท เท่ากับว่าสิ่งที่นายบุญทรงดำเนินการตามที่นายกิตติรัตน์เสนอไม่ได้มีประโยชน์อะไรเลย และยังทำให้ต้องหลุดพ้นจากตำแหน่งด้วย