ธปท.เผยหนี้ครัว เรือนยังพุ่งไม่หยุด ไตรมาสแรกปี 2556 โต 16.24% ดันหนี้คงค้างทั้งระบบเฉียด 9 ล้านล้านบาท ชี้กลุ่มโบรกเกอร์โตมากสุด 67%
คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประชุมวันนี้ โดยมีความกังวลสถานการณ์หนี้ครัวเรือนเพิ่ม ขึ้นต่อเนื่อง แต่การขึ้นดอกเบี้ยเพื่อแก้ปัญหาเป็นไปได้น้อยลง เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว โดยนักวิเคราะห์หลายสำนักประเมินตรงกันว่า กนง.จะคงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.50%
สถานการณ์หนี้ครัวเรือนที่ปรับสูงขึ้นต่อเนื่อง โดย ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานว่า การกู้ยืมภาคครัวเรือนของสถาบันรับฝากเงินทั้งระบบ พบว่า ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 2556 สถาบันรับฝากเงินทั้งระบบมียอดการให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือนรวม 8.97 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มียอดรวมอยู่ที่ 7.72 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 1.25 ล้านล้านบาท คิดเป็นการเพิ่มขึ้น 16.24%
นายสมบูรณ์ จิตเป็นธม ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายความเสี่ยง ธปท. กล่าวว่า ธปท.ยัง เป็นห่วงและติดตามดูสถานการณ์หนี้ภาคครัวเรือนอย่างใกล้ชิด เช่นเดียวกับที่ติดตามดูสถานการณ์ทางด้านภาคอสังหาริมทรัพย์ แต่ขณะนี้ยังไม่มีความจำเป็นที่ต้องมีมาตรการเพิ่มเติมออกมา
นอนแบงก์เพิ่มมากที่สุด 27.66%
การเพิ่มขึ้นของหนี้ครัวเรือนดัง กล่าว แบ่งเป็น การเพิ่มขึ้นในส่วนของสถาบันรับฝากเงิน ประกอบด้วย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเฉพาะกิจ สหกรณ์ออมทรัพย์ และ สถาบันรับฝากเงินอื่นๆ ซึ่งมียอดการปล่อยสินเชื่อแก่ภาคครัวเรือน ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 2556 รวมที่ 7.84 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งอยู่ที่ 6.83 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 1 ล้านล้านบาท คิดเป็นการเพิ่มขึ้น 14.76%
นอกจากนี้ เป็นการเพิ่มขึ้นในส่วนของ สถาบันการเงินอื่น ซึ่งประกอบด้วย บริษัทบัตรเครดิต ลิสซิ่ง และสินเชื่อส่วนบุคคล บริษัทประกันภัยและชีวิต บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ธุรกิจบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน โรงรับจำนำ และ สถาบันการเงินอื่นๆ โดยกลุ่มเหล่านี้มียอดการให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือน ณ สิ้นไตรมาสแรกปี 2556 ที่ 1.13 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งอยู่ที่ 8.84 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 2.44 แสนล้านบาท คิดเป็นการเพิ่มขึ้น 27.66%
แบงก์พาณิชย์เพิ่ม 20.68%
รายงานข่าวระบุว่า ในส่วนของสถาบันรับฝากเงิน ที่มียอดการปล่อยสินเชื่อ ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 2556 เพิ่มขึ้น 14.76% นั้น แบ่งออกเป็น การเพิ่มขึ้นในส่วนของ ธนาคารพาณิชย์ ซึ่งไตรมาสแรก มียอดปล่อยสินเชื่อแก่ภาคครัวเรือนคงค้างอยู่ที่ 3.76 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมียอดคงค้างอยู่ที่ 3.11 ล้านล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 6.44 แสนล้านบาท คิดเป็นการเพิ่มขึ้น 20.68%
นอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มขึ้นในส่วนของธนาคารเฉพาะกิจ โดย ณ สิ้นไตรมาสแรก มียอดการปล่อยสินเชื่อคงค้างที่ 2.72 ล้านล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งอยู่ที่ 2.53 ล้านล้านบาท คิดเป็นการเพิ่มขึ้น 1.92 แสนล้านบาท คิดเป็นการเพิ่มขึ้น 7.6% ขณะที่ สหกรณ์ออมทรัพย์ มียอดปล่อยสินเชื่อในไตรมาสแรกที่ 1.35 ล้านล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ 1.17 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.77 แสนล้านบาท คิดเป็นการเพิ่มขึ้น 15.1%
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของสถาบันรับฝากเงินอื่น เช่น บริษัทเงินทุน (บง.) และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ มียอดการให้กู้ยืมภาคครัวเรือนคงค้าง ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 2556 ลดลงราว 70% โดยลดลงจากระดับ 8.86 พันล้านบาท ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2555 มาอยู่ที่ 2.65 พันล้านบาท ณ สิ้นไตรมาสแรกปี 2556 หรือลดลงราว 6.2 พันล้านบาท
สำหรับในส่วนของสถาบันการเงินอื่น ที่มียอดการปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้น 27.66% นั้น แบ่งเป็น การเพิ่มขึ้นในส่วนของ กลุ่มบริษัทบัตรเครดิต ลิสซิ่ง และสินเชื่อส่วนบุคคล โดยไตรมาสแรกปี 2556 กลุ่มบริษัทเหล่านี้มียอดการให้กู้ยืมภาคครัวเรือนรวม 8.8 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งอยู่ที่ 6.61 แสนล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นราว 2.19 แสนล้านบาท คิดเป็นการเพิ่มขึ้น 33.2%
นอกจากนี้ยังมีกลุ่มบริษัทประกันชีวิตและประกันภัย ซึ่งกลุ่มนี้มียอดการปล่อยสินเชื่อภาคครัวเรือน รวม 7.24 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งอยู่ที่ 6.88 หมื่นล้านบาท คิดเป็นการเพิ่มขึ้น 3.53 พันล้านบาท หรือคิดเป็น 5.14%
บริษัทหลักทรัพย์ปล่อยสินเชื่อมากที่สุด
ส่วนกลุ่มบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ถือเป็นกลุ่มที่มีการให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้นสูงที่สุด โดย ณ สิ้นไตรมาสแรก กลุ่ม บล.มีการให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือนรวม 5.68 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งอยู่ที่ 3.39 หมื่นล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นราว 2.29 หมื่นล้านบาท คิดเป็นการเพิ่มขึ้น 67.48%
นอกจากนี้ยังมีกลุ่มโรงรับจำนำ ซึ่งมีการให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือนรวม 6.17 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งอยู่ที่ 5.79 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นราว 3.77 พันล้านบาท คิดเป็นการเพิ่มขึ้น 6.51%
ขณะที่ กลุ่มสถาบันการเงินอื่นๆ เช่น กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) หรือ บรรษัทประกันสินเชื่อขนาดย่อย เป็นต้นนั้น มียอดการให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือนรวม 6.63 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งอยู่ที่ 5.57 พันล้านบาท คิดเป็นการเพิ่มขึ้น 1.06 พันล้านบาท หรือคิดเป็น 19.02%
อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มของธุรกิจบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน มียอดการให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือน ณ สิ้นไตรมาสแรกปี 2556 ลดลง มาอยู่ที่ 5.14 หมื่นล้านบาท เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งอยู่ที่ 5.74 หมื่นล้านบาท หรือลดลงราว 5.98 พันล้านบาท คิดเป็นการลดลง 10.4%
http://www.bangkokbi...ตรมาส1โต16.html
Edited by ทรงธรรม, 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 13:41.
ขอให้พวกเรา ชาวหลากสี และพันธมิตร จงมีชีวิตรอด จากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ฝีมือปูนา ไปตลอดรอดฝั่งด้วยครับ
PEMDAS ย่อมาจาก ลำดับการคำนวณ Parentheses , Exponentials , Multiply , Divide , Add , Subtract
FWGHSO ย่อมาจาก ลำดับการประเมินผลของ query FROM, WHERE, GROUP BY, HAVING, SELECT, ORDER BY