ข้อมูลน้ำมันแก๊สโซฮอล์
1. ความหมายและความเป็นมา
ในช่วงประมาณ 5 – 6 ปี ที่ผ่านมา คนไทยเริ่มได้ยินน้ำมันที่ชื่อว่า “น้ำมันแก๊สโซฮอล์” ช่วงแรก ยังมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนว่าเป็นน้ำมันหรือเป็นก๊าซ เพราะเนื่องจากในบ้านเรามีการใช้ก๊าซ LPG (Liquid Petroleum Gas) และ NGV (Natural Gas for Vehicle) ในรถยนต์ ข้อเท็จจริง “แก๊สโซฮอล์” คือ น้ำมันเบนซินชนิดหนึ่ง อาจมีคำถามว่า ทำไมใช้คำว่า “แก๊สโซฮอล์” คำว่า Gasohol มาจากคำว่า Gasoline + Alcohol = Gasohol หากเราเดินทางไปต่างประเทศและไปเติมน้ำมันในสถานีบริการของ หลายๆ ประเทศโดยแจ้งว่าขอเติมเบนซิน ผู้ให้บริการอาจจะงงและไม่เข้าใจ หรืออาจจะบอกว่าที่สถานี บริการของเขาไม่มีจำหน่าย เพราะในต่างประเทศไม่เรียกน้ำมันเบนซินเช่นในประเทศไทย แต่เขาจะ เรียกว่า แก๊สโซลีน (Gasoline)
น้ำมันแก๊สโซฮอล์ คือ น้ำมันเชื้อเพลิงที่เป็นส่วนผสมระหว่างเอทิลแอลกอฮอล์หรือเอทานอล ชนิดความบริสุทธิ์ 99.5% โดยปริมาตร ที่ได้จากการหมักและกลั่นผลิตผลทางการเกษตร (อ้อยและมัน สำปะหลัง) ผสมกับน้ำมันเบนซิน ตามสัดส่วนการผสมที่กำหนด
ในเรื่องของ “แก๊สโซฮอล์” มีจุดเริ่มต้นจากแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ เริ่มขึ้นเมื่อกว่า 20 ปีที่ผ่านมา ซึ่งในขณะนั้นเกิดปัญหาวิกฤตการณ์ด้านราคาน้ำมัน น้ำมันดิบใน ตลาดโลกมีราคาสูงมาก หลายประเทศจึงหาทางออกโดยจัดเตรียมสำรองเชื้อเพลิงไว้ใช้ในอนาคต พร้อม ทั้งศึกษาและพัฒนาเชื้อเพลิงอื่นๆ มาใช้แทนน้ำมัน และนับว่าประชาชนชาวไทยที่เกิดมาใต้พระบรมโพธิ สมภารในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้เปี่ยมด้วยพระปรีชาญาณและพระเมตตา ทรงเล็งเห็นปัญหาที่ จะเกิดขึ้นในอนาคตในเรื่องพลังงาน จึงทรงมีพระราชดำริให้โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา ทำการศึกษาการนำอ้อยมาแปรรูปเป็นเอทานอล เพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งในการ ช่วยแก้ปัญหาและช่วยส่งเสริมเกษตรกร โดยได้รับความร่วมมือจากหลายๆ หน่วยงาน และหนึ่งในองค์กร ที่เป็นบริษัทน้ำมันแห่งชาติ คือ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ในขณะนั้น ปัจจุบันคือ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ร่วมศึกษาวิจัยและพัฒนาสูตรจนเป็นผลสำเร็จ และในปี 2539 น้อมเกล้าฯ ถวายสถานีบริการ แก๊สโซฮอล์เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับรถยนต์ที่ใช้แก๊สโซฮอล์ในโครงการส่วนพระองค์นับตั้งแต่นั้นมา
จนเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2544 ปตท. ได้ร่วมกับโครงการส่วนพระองค์ และโรงกลั่นไทยออยล์ จัดทำโครงการนำร่องในการจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล์ให้แก่ประชาชนทั่วไป ณ สถานีบริการ ปตท. สำนักงานใหญ่ เป็นแห่งแรกในประเทศไทย สำหรับน้ำมันแก๊สโซฮอล์ ที่ ปตท. นำออกจำหน่ายเป็น ส่วนผสมของแอลกอฮอล์ (เอทานอล 99.5%) กับ น้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่ว ชนิดพิเศษ ออกเทน 91 โดย ผสมในสัดส่วน 1 : 9 ได้เป็นน้ำมันแก๊สโซฮอล์ อี 10 ชนิดออกเทน 95 และต่อมาได้มีการพัฒนาสูตรการ ผลิตน้ำมันแก๊สโซฮอล์ อี 10 ชนิดออกเทน 91 ออกจำหน่ายให้กับประชาชน เมื่อ 16 มีนาคม 2550 โดย น้ำมันดังกล่าวเป็นส่วนผสมของแอลกอฮอล์ (เอทานอล 99.5%) กับ น้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่ว ชนิดพิเศษ
ภาครัฐให้การส่งเสริมในเรื่องพลังงานทดแทนแก๊สโซฮอล์อย่างต่อเนื่อง คือ คณะรัฐมนตรีมีมติ ยกเว้นภาษีสรรพสามิตของเอทานอลที่ใช้ในการผสมเป็นน้ำมันแก๊สโซฮฮล์ ลดหย่อนกองทุนน้ำมันเชื้อ เพลิงและกองทุนอนุรักษ์พลังงาน เพื่อทำให้ราคาของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ต่ำกว่าน้ำมันเบนซิน นอกจากนั้น ยังให้การส่งเสริมแก่โรงงานผู้ผลิตเอทานอลผ่านสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ในด้าน ภาษีเครื่องจักรอุปกรณ์ที่นำเข้ามาเพื่อผลิตเอทานอล ส่งเสริมและสนับสนุนให้แก่กลุ่มอุตสาหกรรมยาน ยนต์และโรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม เพื่อเตรียมความพร้อมที่จะรองรับการผลิตและการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่ มีเอทานอลเป็นส่วนผสม ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดตั้งโรงงานผลิตเอทานอลของผู้ประกอบการ ขนาดย่อมและขนาดกลาง โดยองค์กรหรือสถาบันเกษตรกรที่มีศักยภาพ เพื่อให้มีแหล่งผลิตเชื้อเพลิงจาก ผลผลิตทางการเกษตรกระจายอยู่ทั่วไปในท้องถิ่นต่างๆ
2. ประโยชน์ในภาพรวมต่อเศรษฐกิจของประเทศ
การใช้เอทานอล ซึ่งได้จากผลิตผลทางการเกษตร เช่น อ้อย และมันสำปะหลัง นำมาผสมกับ น้ำมันเบนซิน เพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน จะช่วยก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจน สภาพแวดล้อม ดังนี้
1. ประหยัดการใช้น้ำมัน ขณะนี้ประเทศไทยมีความต้องการใช้น้ำมันเบนซิน วันละประมาณ 20 ล้านลิตร (เบนซิน ออกเทน 95 ประมาณ 7 ล้านลิตร/วัน เบนซิน ออกเทน 91 ประมาณ 13 ล้านลิตร/วัน) หากนำเอทานอลมาผสมร่วมกับน้ำมันเบนซิน จะช่วยลดปริมาณการใช้น้ำมันลงได้ประมาณ 10% หรือวัน ละ 2 ล้านลิตร คิดเป็นมูลค่านับหมื่นล้านบาทต่อปี
2. ช่วยลดการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงจากต่างประเทศ เป็นการประหยัดเงินตราต่างประเทศ
3. ช่วยลดการขาดดุลการค้า ซึ่งส่งผลดีต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ
- ใช้ประโยชน์จากพืชผลทางการเกษตรในประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด และกระตุ้นให้เกิด
การวิจัยในด้านเกษตรกรรม การคิดค้นใหม่ๆ ทั้งด้านการเกษตร เทคโนโลยีชีวภาพ จุลชีววิทยา พันธุ- ศาสตร์ ฯลฯ
- ช่วยยกระดับราคาพืชผลทางการเกษตร เช่น อ้อย หัวมันสด และพืชอื่นๆ อีกทั้งยังช่วยสร้าง เสถียรภาพทางด้านราคาพืชผลเกษตรลดงบประมาณในการแทรกแซงราคาสินค้าเกษตร ทั้งนี้ เพราะ
6. ช่วยเสริมสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงาน
7. ช่วยลดมลพิษทางอากาศและแก้ไขปัญหาสภาพแวดล้อม เนื่องจากแอลกอฮอล์สามารถนำมา ใช้เติมในน้ำมันเบนซินทดแทนสารช่วยเพิ่มค่าออกเทน (MTBE) ซึ่งเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม
- ช่วยลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสุขภาพและค่ารักษาพยาบาลของประชาชนอันเกิดจากมลพิษ เช่น จากสารคาร์บอนมอนอกไซด์ เป็นต้น
- ทำให้เกิดการลงทุนที่หลากหลายมากขึ้นทั้งทางด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมในชนบท เกิด การจ้างงานทั้งในทางตรงและทางอ้อม
3. การดำเนินงานของ ปตท.
ปตท. มุ่งเน้นด้านคุณภาพของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ ด้วยการวิจัยพัฒนาและระบบควบคุมคุณภาพ มาตรฐาน ISO 9000 ในทุกขั้นตอนของการผลิต เพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจว่าน้ำมันแก๊สโซฮอล์ของ ปตท. มี คุณภาพดีไม่ส่งผลเสียต่อเครื่องยนต์ของผู้บริโภค
ปตท. กำหนดขั้นตอนการควบคุมคุณภาพครอบคลุมในทุกกระบวนการ ตั้งแต่การรับวัตถุดิบทั้ง ในส่วนของ GBASE (Base Fuel) และเอทานอล โดยจัดหา GBASE และเอทานอล จากโรงกลั่นและ ผู้ผลิตในประเทศ ด้วยการขนส่งน้ำมันจากโรงกลั่นมายังคลังทั้งทางท่อ ทางเรือ และขนส่งเอทานอลทาง รถบรรทุก และนำมาเก็บสำรองที่คลังเพื่อทำการผสมเป็นน้ำมันแก๊สโซฮอล์ ด้วยระบบ Automatic Inline Blending และ Batch Blending การจ่ายน้ำมันออกจากคลัง และระบบการควบคุมคุณภาพน้ำมัน เชื้อเพลิงที่ สน.บริการ อย่างเช่น
การเก็บเอทานอลที่คลัง ใช้ถังที่เป็นระบบ Internal Floating Roof เพื่อป้องกันความชื้น และน้ำในอากาศ
การเก็บตัวอย่างและตรวจสอบคุณภาพจากทุก Batch ที่รับเอทานอลเข้ามายังคลัง
การวัดน้ำที่ถังใต้ดินในสถานีบริการ ที่ต้องใช้น้ำยาชนิดต่างจากเบนซินทั่วๆ ไป จนมั่นใจว่า คุณภาพที่ออกจากคลัง และที่สถานีบริการของ ปตท. ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดคุณภาพของ กรมธุรกิจพลังงาน และย้ำกับทางเจ้าของสถานีบริการให้เข้มงวดในการตรวจสอบคุณภาพ ของน้ำมันในถังใต้ดิน
4. บทบาทของการส่งเสริมการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ของ ปตท. (มีส่วนช่วยผลักดันให้ผู้ใช้รถยนต์ หันมาใช้แก๊สโซฮอล์)
ปตท. มีนโยบายเรื่องส่งเสริมการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ ตามนโยบายรัฐมาโดยตลอด กล่าวได้ว่า เป็นบริษัทน้ำมันแห่งแรกที่วิจัยและพัฒนาเรื่องน้ำมันแก๊สโซฮอล์ ตั้งแต่สูตรการผลิต การผสมและทดลอง ใช้กับรถยนต์ จนสามารถออกจำหน่ายแก่ผู้บริโภคในเชิงพาณิชย์ได้เช่นในปัจจุบัน
ปตท. มีแผนดำเนินการส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง ดังนี้
- เปิดจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 ในสถานีบริการน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 เป็นแห่ง แรกของประเทศไทย เมื่อ 11 ม.ค.2544
พร้อมกับการลงทุนขยายสถานีบริการ และปรับปรุงคลังผสมและคลังจ่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 เพื่อให้มีสถานีบริการรองรับความต้องการใช้ของผู้บริโภคอย่างทั่วถึง โดยเป็นรายแรกที่มีสถานีบริการ จำหน่ายแก๊สโซฮอล์ 95 ทั่วประเทศ และมีแก๊สโซฮอล์ 95 จำหน่ายทุกสถานี
2. เป็นผู้นำด้านราคา ในการเพิ่มส่วนต่างราคาแก๊สโซฮอล์ 95 ให้ถูกกว่าเบนซิน 95 ถึง 1.50 บาท/ลิตร
เมื่อ ก.พ. 2548 เพิ่มส่วนต่างราคาจำหน่ายแก๊สโซฮอล์ที่สถานีบริการ ให้ถูกกว่าเบนซิน 95 จากเดิมถูกกว่า 50 สต./ลิตร เป็น 1.50 บาท/ลิตร มีผลให้ปริมาณการจำหน่ายเพิ่มขึ้นถึง 40%
- ดำเนินการวิจัยและพัฒนาคุณภาพของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ให้อยู่ในระดับดีเยี่ยม
โดยพัฒนาสูตรน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 พลัส ที่เพิ่มสาร Friction Modifier มีคุณสมบัติช่วยเพิ่ม การหล่อลื่นภายในกระบอกสูบ ขจัดความฝืด ทำให้ประหยัดเชื้อเพลิง และสารเติมแต่งชะล้างทำความ สะอาดในระดับดีเยี่ยม (Top Tier Requirement , USA) ที่ทำให้เครื่องเดินเรียบ ลดการซ่อมบำรุง เพิ่ม กำลังให้เครื่องยนต์ รวมทั้งลดมลพิษ ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้บริโภค
- เปิดจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 ในสถานีบริการของ ปตท. เมื่อ 16 มี.ค.2550
ขณะนี้มีจำหน่ายแล้วกว่า 400 สถานี (ณ 30 พ.ย.50) และมีแผนขยายสถานีบริการเพิ่มเติม อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ครอบคลุมทั่วทุกภูมิภาค
5. ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องผ่านสื่อและกิจกรรม รณรงค์และส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอล์ตามนโยบายรัฐในหน่วยงานต่างๆ
- กิจกรรมส่งเสริมการขาย ในการรณรงค์ใช้แก๊สโซฮอล์
- โฆษณาและประชาสัมพันธ์ ผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ Web site
- กิจกรรมด้านพลังงาน เช่น งานสัมนาวิชาการ นิทรรศการ บรรยายให้หน่วยงานภายนอก ทั้งภาครัฐและเอกชน
6. การรับประกันคุณภาพน้ำมันแก๊สโซฮอล์ว่าสามารถใช้กับรถยนต์ทุกรุ่นที่ได้รับการ รับรองจากสมาคมยานยนต์
7. วิจัยและทดสอบว่าน้ำมันแก๊สโซฮอล์สามารถใช้กับรถยนต์คาร์บูเรเตอร์ได้
วิจัยและทดสอบให้กับกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน พร้อมเผยแพร่สู่ สาธารณะ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าสามารถใช้กับรถยนต์รุ่นเก่าได้ รวมทั้งมีแผนศึกษาวิจัยและพัฒนา แก๊สโซฮอล์ต่อเนื่องจาก E10 เป็น E20 จนถึง FFV
5. การสร้างความเชื่อมั่น ค่านิยม และวางเป้าหมายของประชาชนในการใช้แก๊สโซฮอล์
1. ปตท. มุ่งเน้นด้านคุณภาพของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ ด้วยการวิจัยพัฒนาและระบบควบคุม คุณภาพมาตรฐาน ISO 9000 ในทุกขั้นตอนของการผลิต เพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจว่าน้ำมันแก๊สโซฮอล์ของ ปตท. มีคุณภาพดีไม่ส่งผลเสียต่อเครื่องยนต์ของผู้บริโภค
2. ปตท. กำหนดให้รถใช้งานภายในของ ปตท. เติมน้ำมันแก๊สโซฮอล์ นอกจากนั้นยังร่วมกับ กระทรวงพลังงาน ในการจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล์ในสถานีบริการที่ตั้ง อยู่ในหน่วยราชการ เพื่อให้ รถยนต์ของหน่วยงานราชการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ตามนโยบายรัฐ เป็นแบบอย่างให้กับประชาชนทั่วไป
- เผยแพร่ผลการวิจัยและทดสอบผลการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์กับรถยนต์ทดสอบทั้งในส่วนของ รถใหม่และรถเก่า ว่ารถยนต์ที่นำมาทดสอบไม่พบปัญหาที่เกิดจากน้ำมันแก๊สโซฮอล์แต่อย่างใด รวมทั้ง ส่งเสริมกิจกรรมการทดสอบการใช้แก๊สโซฮอล์กับรถยนต์ของหน่วยราชการอื่นๆ เช่น กองทัพ และกรม ธุรกิจพลังงาน กิจกรรมประชาสัมพันธ์ของ ปตท. ต่างๆ ได้เผยแพร่และและข้อมูลความรู้ความเข้าใจที่ ถูกต้อง ถึงผลดี ประโยชน์ของการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ต่อประชาชนทั่วไป หน่วยงานราชการ สถาบัน การศึกษาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจากผลการวิจัยสำรวจทัศนคติและความต้องการของผู้บริโภคในปี 2549 พบว่าผู้บริโภคกว่า 80% มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับแก๊สโซฮอล์
- เปิดสายและ Web site ของ ปตท. เพื่อรับข้อร้องเรียนต่างๆ ที่เกี่ยวกับการใช้น้ำมันแก๊ส โซฮอล์ เพื่อให้ผู้บริโภคที่ยังไม่มั่นใจว่ารถยนต์นั้นๆ ใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ได้หรือไม่เกิดความมั่นใจและกล้า ใช้
ปตท. กำหนดเป้าหมายการใช้แก๊สโซฮอล์ของประชาชน ไปทางทิศทางเดียวกับนโยบาย รัฐ สิ่งสำคัญ คือ สร้างความมั่นใจและเชื่อมั่นว่า น้ำมันแก๊สโซฮอล์สามารถใช้กับรถยนต์ได้ และ ก่อให้เกิดผลดีในด้านสิ่งแวดล้อม และลดการพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศ
6. การพัฒนาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ อี 20
ในยุคของการที่โลกให้ความสำคัญในเรื่องสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออก ไซด์สู่บรรยากาศ และเป็นปัญหาภาวะโลกร้อนที่ทุกประเทศให้ความสำคัญอยู่ในขณะนี้ หลายประเทศไม่ ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ จีน ญี่ป่น เป็นต้น ก็ให้ความสนใจและส่งเสริมการผลิต และใช้เอทานอลเป็นเชื้อเพลิงกันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะบราซิล ซึ่งเป็นประเทศที่เริ่มใช้เอทานอล เป็นประเทศแรกในโลกและปัจจุบันใช้ในอัตราส่วนผสมเอทานอลกับน้ำมันเบนซินถึง 22% - 25%
กองทุนน้ำมันมาจากการอุดหนุน LPG หากคำนวณจากยอดการผลิตของโรงแยกแก๊สทั้ง 6 โรง ที่ไม่นับจากโรงแยกแก๊สที่จะนะเสียด้วยซ้ำ ก็มีกำลังการผลิตเพียงพอสำหรับทุกภาคส่วน จึงไม่จำเป็นต้องอุดหนุนราคา LPG ให้โรงกลั่นและที่นำเข้าอีกต่อไป กองทุนก็ไม่ต้องมีอีกต่อไป ให้ทางรัฐบาลชี้แจงตัวเลขความจริงในข้อนี้ให้ชัดเจน ว่าเป็นจริงหรือไม่ ในเมื่อกองทุนไม่ต้องอุดหนุน ราคาน้ำมันก็จะลดลง 7- 8 %
ในเนื้อน้ำมัน รัฐควรสนับสนุนให้โรงกลั่น กลั่นน้ำมันเบนซินพื้นฐาน (Gasoline Base หรือ G-Base) ออกมาให้เพียงพอใช้ในประเทศ ให้ชี้แจงปริมาณน้ำมันดิบที่ขุดได้ในไทยมีจำนวนที่แท้จริงเท่าไรกันแน่ กลั่นเป็น G-Base เท่าไหร่กันแน่ รวมกับดีซลที่กลั่นได้มีเท่าไหร่กันแน่ เมื่อได้ตัวเลขที่ถูกต้อง ก็จัดสรรปริมาณน้ำมันให้แก่กลุ่มผู้ใช้ให้เพียงพอ เช่น ปริมาณผู้ใช้ดีเซลมีเท่าไหร่ ปริมาณผู้ใช้เบ็นซินมีเท่าไหร่
เมื่อได้ตัวเลขผู้ใช้ในแต่ละกลุ่มถูกต้องแล้ว เหมือนที่ทำกับกลุ่มที่ใช้ LPG ก็จะทราบปริมาณน้ำมันที่เราผลิตเพิ่มได้เองจากพืชมาชดเชยปริมาณที่ขาดไป เป็นไบโอดีเซล เท่าไหร่ เป็นแก๊สโซฮอลล์เท่าไหร่ โดยไม่ต้องนำเข้าน้ำมันดิบและน้ำมันที่ใช้ในประเทศ ราคาก็จะเป็นไปตามตลาดในประเทศ ราคาก็จะไม่ต้องอ้างอิงสิงค์โปร์และราคาของต่างประเทศอีกต่อไป ราคาน้ำมันดิบที่ผลิตได้ และราคาน้ำมันจากพืช ก็จะถูกกว่า 62%
ส่วนน้ำมันเบนซิน 95 ไม่จำเป็นต้องผลิตในประเทศ เพราะผลิตเป็น G-Base หมดแล้ว ต้องนำเข้ามาขายได้โดยเสรี ไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า ภาษีสรรพสามิต ไม่ค้องหักเงินเข้ากองทุน เพราะกองทุนน้ำมันยุบไปแล้ว
ส่วนภาษีนั้นควรให้ผู้ผลิตเป็นผู้แบกรับแทนผูใช้ โดยการต้องมีมาตรการซื้อน้ำมันที่ผลิตได้ทั้งหมดในไทย ไม่ให้ส่งออก เพื่อเป็นการตัดความเกี่ยวพันกับตลาดโลกออก และเป็นการตัดวงจรน้ำมันดิบเถื่อนที่ลักลอบนำออกโดยไม่ผ่านมิเตอร์ และทำให้ได้ภาษีเพิ่มมากขึ้นจากปริมาณการผลิตที่แท้จริงไม่ลักลอบนำออกเสียด้วยอีกทางหนึ่ง