กรมวิทยาศาสตร์ชี้ชัด การรับสาร เมทิล โบรมายด์ ในปริมาณน้อยเทียบเท่ากับการได้รับยาบำรุง และปริมาณสารตกค้างในข้าวนั้น มีน้อยกว่าที่เขาระบุครับ เพราะงั้น เสพได้ อย่าได้แคร์ครับ สงสัยแค่ว่า ถ้ารับแล้วมันมีประโยชน์ แล้วจะมีมาตรฐานตรวจต่ำๆขนาดที่ตรวจมาแล้วเกิน ไว้เพื่ออะไร ไปเปลี่ยนมาตรฐานดีมั้ย จะได้ขายข้าวรมควันกันได้สบายๆ

มาเสพสาร เมทิล โบรมายด์ กันเถอะครับ
#1
ตอบ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 08:44
#2
ตอบ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 11:37
อยากได้คนใน กรมวิทยาศาสตร์ ช่วยแดกข้าวที่มีสาร เมทิล โบรมายด์ โชว์ที่สิ
อยากรู้ว่า แดกแล้ว จะเป็นไงบ้าง
- คนไทย916, อ่อนโลก and แอบดูที่รูเดิม like this
ถึงตรูจะเลวยังไง ตรูก้อไม่ได้ขายชาติ เหมือนเสื้อแดงว่ะ เข้าใจนะ
#3
ตอบ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 11:44
อยากได้คนใน กรมวิทยาศาสตร์ ช่วยแดกข้าวที่มีสาร เมทิล โบรมายด์ โชว์ที่สิ
อยากรู้ว่า แดกแล้ว จะเป็นไงบ้าง
หุงให้กินทุกวันซักหกเดือนแล้วเอาไปตรวจสุขภาพดู ถ้ายังไม่เป็นอะไรแสดงว่าปลอดภัยฮะ
กินโชว์แค่คำสองคำ มันไม่ตายหรอกฮะ จริงจริ๊งงงง
- คนทุกที่, พ่อไอ้ร้อยล็อคอิน and พอล คุง like this
#4
ตอบ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 11:50
ได้ยินมาว่า เป็นอันตรายต่อคนรมยา
คนกิน หุงแล้วกินได้ปลอดภัยหายห่วง
งั้นแบบนี้ก็แดกโชว์หน่อยเลยแล้วกัน
#6
ตอบ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 13:28
ย่อๆ
นพ.นิพนธ์ โพธิ์พัฒนะชัย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงกรณีมูลนิธิชีววิถี ออกมาระบุว่าพบโบรไมด์ไอออนในระดับโมเลกุลข้าวว่า ในพืชทุกชนิดในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมล้วนมีโบรไมด์ไอออนเป็นส่วนประกอบ เหมือนเช่นแร่ธาตุอื่น ทั้งคลอไรด์ หรือทองแดง ที่มีส่วนช่วยในการเจริญเติบโตของพืช การออกมาระบุว่าพบโบรไมด์ไอออนถือเป็นเรื่องปกติ และไม่จำเป็นต้องตรวจลึกถึงขนาดนั้น การใช้เมทิลโบรไมด์ในการรมควันข้าวทำกันมานานหลายสิบปีแล้ว ไม่ใช่ของใหม่ และทั่วโลกก็ทำกัน เพื่อกันแมลง การกำหนดห้ามเกินค่ามาตรฐานที่ 50 PPM ก็ไม่ใช่เรื่องใหม่ การออกมาพูดโดยไม่เข้าใจ หรือไม่ใช่นักวิทยาศาสตร์ยิ่งจะทำให้เกิดความเข้าใจผิด สับสน ส่งผลเสียต่อประเทศ การตรวจสอบมาตรฐานของข้าวมีมาตรฐาน มีทั้งกระบวนการต้นทางและปลายทาง และไทยส่งออกข้าวเป็นอันดับ 3 ของโลก หากข้าวไทยไม่ดีจริงต่างชาติคงไม่มีใครซื้อเช่นกัน ข้าวมีความปลอดภัยมากกว่าขนมปัง เพราะขนมปังยังมีสารกันบูด
ที่มา http://www.mcot.net/...46#.UfDFE_mnArU
เอ ถ้ามันมีอยู่แล้วตามธรรมชาติและไม่เป็นอันตราย คำถามคือ แล้วกำหนดค่ามาตรฐานทำไม มีคนตอบผมว่า เป็นมาตรการกีดกันทางการค้าเฉยๆ ไม่มีผลต่อสุขภาพ แหมะ ขอให้จริงครับ
#7
ตอบ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 13:37
เขาให้รางวัลว่าตายได้กี่ล้านนะครับ
เยอะกว่าตายเพื่อพ่อแม้วอีกรึเปล่า
ประชาธิปไตยก็เหมือนส้วมสาธารณะแบบนั่งเต็มตูด ควายนับถือศาสนาชินวัตรใช้แล้วสกปรกชิบเป๋ง
#8
ตอบ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 14:04
เขาให้รางวัลว่าตายได้กี่ล้านนะครับ
เยอะกว่าตายเพื่อพ่อแม้วอีกรึเปล่า
เค้าให้ 20 ล้าน กินแล้วตาย ได้น้อยกว่าสมัยโรค ไข้หวัดนกของซีพี อีก ของซีพีให้ตั้ง 100 ล้าน แค่ติดเชื้อน่ะยังไม่ถึงตาย
#9
ตอบ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 15:00
Edited by Satan for Vendetta, 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 15:01.
"คนที่เลวกว่าน.ช.ทักษิณ ก็คือ คนที่ช่วยให้น.ช.ทักษิณ ยังมีชีวิต พูดพล่าม และ ทำเลวต่อไป"
#10
ตอบ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 15:09
กินแล้วไม่ตายหรอกครับ ขนาดคนพ่นยาฆ่าแมลงยังไม่ตายเลย
แต่มันสะสมในร่างกาย
อาหารใส่สารกันบูดเขายังไม่กินกันเลย
#11
ตอบ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 16:07
เขาก็พูดไม่ผิดนะครับ คนกินไม่ได้ตายเพราะพิษจากเมทิลโบรไมด์ แต่...เขาคงลืมพูดว่าตายเพราะมะเร็งตางหาก
http://www.fao.org/d...2e/x5042e00.htm
ข้อความ2ย่อหน้าที่ยกมานี้แปลจากเอกสารขององค์การอนามัยโลก ชื่อ Manual of fumigation for insect control จัดทำโดย Agriculture and Consumer Protection ความว่า
" หลักฐานทางพิษวิทยา ที่FAD/WHO ได้ประมาณการว่าปริมาณสารโบรไมด์อนินทรีย์ (Inorganic bromide) ที่มนุษย์จะรับเข้าสู่ร่างกายในแต่ละวันจากทุกแหล่ง ในปริมาณที่ยอมรับได้ต้องไม่เกิน 1มิลลิกรัมต่อ1กิโลกรัมน้ำหนักร่างกาย
แม้ว่าจะไม่มีรายงานการพบสารเมทิลโบรไมด์ในสินค้าที่วางขาย แต่ภาวะอันตรายของสารเมทิลโบรไมด์เป็นสารที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลหรือยีน ที่ก่อการกลายพันธุ์และกระตุ้นการเกิดมะเร็ง ( alkylating and mutagenic agent ) ดังนั้นปริมาณที่ตรวจพบในสินค้าบริโภคที่วางจำหน่ายควรมีปริมาณตรวจพบต่ำที่สุดเพียง 0.01มก/1ก.ก "
- คนทุกที่ likes this
พ.ต.ท.ทักษิณ ยังได้พูดตัดพ้อกับคนที่เดินทางไปพบว่า “พรรคเพื่อไทยมีคนเก่งๆ เยอะ ทั้งนักวิชาการ ด็อกเตอร์ ทูต แต่ไม่กล้าออกมาสู้ คนหน้าตาดีไม่ออกมา พวกที่ออกมาหน้าตาไม่ค่อยดี ไม่เหมือนกับพรรคประชาธิปัตย์ ฝ่ายตรงข้าม คนมีความรู้ นักวิชาการออกมาเยอะแยะเลย คนจริงใจกับผมมันน้อย วางยาผม เพราะตัวเองอยากอยู่นานๆ เห็นว่านายกฯ ไม่แข็ง แต่ท่านนายกฯ ก็ดี แต่คนรอบข้างไม่เป็นการเมือง ผมส่งคนเป็นการเมืองไปนายกฯ ก็ไม่เอา ผมก็สงสารนายกฯ จึงไม่อยากจู้จี้ แต่คนที่เมืองไทยมันไม่ได้ดั่งใจ”
แปลสั้นๆ เขาด่าไอ้เสร่อแกนนำแดงว่า"โง่แต่ขยัน"
#12
ตอบ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 16:40
#13
ตอบ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 16:52
ที่มา http://www.thailandmb.com/index.php
โครงการลดและเลิกใช้สารเมทิลโบรไมด์ในประเทศไทย
Thailand National Methyl Bromide Phaseout Project
ประเทศไทยต้องเลิกใช้เมทิลโบรไมด์ภายในปี พ.ศ.2558 แต่คาดว่าจะสามารถเลิกการใช้ได้ก่อนกำหนด คือภายในปี พ.ศ.2556
FAQ
Q : การจะนำสารเมทิลโบรไมด์เข้าในประเทศไทยมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง
A : สารเมทิลโบรไมด์จัดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 การนำเข้าจะต้องขออนุญาตและดำเนินตาม ขั้นตอนการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายทางการเกษตร (เพื่อการนำเข้า) ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 สามารถติดต่อได้ที่ฝ่ายวัตถุมีพิษ ส่วนใบอนุญาตและขึ้นทะเบียน สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร จตุจักร กรุงเทพฯ ในวันและเวลาราชการ
Q : เหตุใดต้องจำกัดปริมาณการนำเข้าสารเมทิลโบรไมด์
A : สารเมทิลโบรไมด์เป็นสารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซนซึ่งถูกควบคุมตาม Annex E ของพิธีสารมอนทรีออล เนื่องจากพบว่าเป็นสารที่มีค่าศักยภาพในการทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน (Ozone Depleting Substance Potential : ODP) เท่ากับ 0.6 เท่าของสาร CFC-11 เป็นสารที่มีความเป็นพิษสูง ซึ่งประเทศไทยในฐานะประเทศภาคีสมาชิกพิธีสารฯ จึงมีหน้าที่ร่วมกันลดและเลิกใช้สารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซนเพื่อสิ่งแวดล้อมอันเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของนานาประเทศ
จินตนาการสำคัญกว่าความรู้ ... ศีลธรรม เป็นกรอบรักษาจินตนาการให้ดำรงอยู่ด้วยความดีงาม...
#14
ตอบ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 16:54
วันนี้มีเกษตรกรเอาข้าวที่ปลูกเองสีเองมาขาย
โฆษณาว่า...........
ไม่ได้รมยาค่ะ
ฟ้าสีทองผ่องอำไพ ประชาชนจะเป็นใหญ่ในแผ่นดิน
#15
ตอบ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 17:48
ถ้าตามคุณสมบัติของ Bromomethane ตัวนี้นะครับ กรมวิทยาศาสตร์ออกมาบอกว่าไม่มีอันตรายน่ะ(ในปริมาณน้อย)ผมเห็นว่าถูก แต่ข้อมูลหรือวิธีการพูดมันไม่ควรจะพูดแบบนั้น
ต้องบอกไว้ก่อนเลยนะครับ ไอ้เจ้าสารตัวนี้น่ะมันพบได้ตามธรรมชาติอยู่แล้ว แล้วมันเกิดขึ้นได้เองโดยเฉพาะจากทะเล นอกจากนั้นตัวมันเองเกิดปฏิกริยาและสลายได้เร็วในบรรยากาศปกติ ที่พบในข้าวคิดว่าเกิดจากรมแล้วบรรจุเลย หรือว่าไม่ได้ถ่ายเทอากาศให้ดีในไซโลภายหลังการรมยา เคสที่ Codex กำหนดเขาคิดจากพวก acute ครับ โดยศึกษาเน้นเฉพาะพวกคนที่เป็นคนรมยา ไม่ใช่การได้รับจากอาหารโดยตรง เพราะกรณีที่ได้รับจากอาหารนั้นน้อยมาก (อันนี้ต้องระบุก่อนว่าเนื่องจากอเมริกาส่วนใหญ่ใช้รมกับดินครับ ไม่ได้เอามารมข้าวตรงๆเหมือนเรา อาจจะมีใช้รมในข้าวสาลีบ้าง)
ตัวมันเองเป็นสารก่อมะเร็งจริงครับ แต่ว่าอย่างที่บอกตัวมันเกิดปฏิกริยาเร็วมาก จนบางทีพอเข้าร่างกายปั้บ ถ้าไม่ได้เจาะเลือดตรวจทันที บางทีมันขับออกหมดแล้ว เคสที่เจอในพลาสมาหรือเนื้อเยื่อส่วนใหญ่จึงมาจากพวกคนที่รมยาหรืออยู่บริเวณที่มีการรมยา คนปกติตรวจเจอน้อยมากหรือไม่เจอเลย
ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าปกติสารพิษอะไรก็ตามร่างกายมันขับออกได้อยู่แล้วถ้าได้รับปริมาณไม่มาก แล้วที่กระทรวงวิทย์ออกมาบอกเป็นยาน่ะ ไม่พูดให้ครบคนอื่นก็ไม่เข้าใจ เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายคนต้องได้รับการกระตุ้นครับถึงจะสร้างภูมิคุ้มกัน เหมือนเวลาเราไปฉีดวัคซีนนั่นแหละ คือการรับเชื้อโรคอ่อนๆเข้าร่างกายเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันจากเชื้อตัวนั้น กรณีสารเคมีก็เหมือนกัน ร่างกายมีระบบกำจัดพวกสิ่งแปลกปลอมอยู่แล้ว แต่ตัวมันต้องได้รับการกระตุ้นให้ทำงานบ้าง มีเคสกรณีศึกษานึงให้คนที่กินผักคะน้าจากตลาดปกติกับผักคะน้าปลอดสาร ปรากฎว่าคนที่กินผักคะน้าจากตลาดธรรมดามีระบบภูมิคุ้มกันขับสารพิษดีกว่ากว่าคนที่ปลอดสารครับ ตั้งแต่อดีตเราโดนสารก่อมะเร็งประจำอยู่แล้วแต่ทำไม่คนเราถึงรอดมาได้เพราะมีภูมิคุ้มกัน แต่บอกแล้วว่าถ้าได้รับน้อยๆมันจะเป็นการกระตุ้น ไม่ใช่ได้รับเยอะๆ อย่างยารักษามะเร็งบางตัวที่เป็นอนาลอคของสารจากพวกพืชตระกูลกะหล่ำน่ะ ตัวมันเองถ้าโดสต่ำๆเป็นโคเอนไซม์ของแอนตี้ออกซิแดนซ์ กำจัดมะเร็งได้ แต่ถ้าได้รับมากเกินตัวมันเองก็เป็นสารก่อมะเร็งเช่นกัน ผมยกอีกเคสนึงคือคนที่กินเบต้าแคโรทีนเป็นอาหารเสริม โอกาสเกิดมะเร็งปอดและอัตราการตายเพิ่มสูงกว่าคนที่ไม่ได้รับ(ในรูปอาหารเสริม)อีกนะครับ
สรุปคือที่ออกมาบอกได้รับน้อยๆเป็นการกระตุ้นน่ะจริงครับ ร่างกายคนเราเป็นอย่างนั้นจริงๆ แล้วถามว่ามันสะสมมั้ย มันกำจัดออกครับถ้าได้รับน้อยๆมันกำจัดทัน เคสที่เด็กตายในอินเดียนั่นสันนิษฐานว่าเป็นพวกออกาโนฟอสเฟตครับ (DDT) ส่วนที่จะยกเลิกการใช้เพราะเนื่องมาจากตัว Bromomethane มันทำลายชั้นบรรยากาศหนักกว่า CFC อีกครับ ไม่ได้มาจากความเป็นพิษของมัน ส่วนที่เจอในข้าวนั่นต้องไปดูแล้วว่าผลิตยังไงเพราะปกติมันไม่ควรจะเจอเลยด้วยซ้ำ เพราะมีงานวิจัยรมยาทิ้งไว้อาทิตย์เดียวก็ ND (งานที่ทำ sensitive สูงมาก) หรือมีแค่ Trace (ต่ำว่า 0.001ppm)
#16
ตอบ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 19:38
อ่อ แบบนี้ สงสัย คนไทยตอนนี้ มีภูมิ จนเกินพอแล้วครับ เพราะผมก็เข้าใจว่า มันก็คงจะตกค้างมานานแล้วแหละ
ผู้ใช้ 1 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้
สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 1 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน