“ถ้าเพื่อนๆคิดจะลงไปเป็นอาสาสมัคร ช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ในการเก็บกู้น้ำมันดิบขึ้นจากทะเลและชายฝั่ง หรืออยากมีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องการรับมือกับกรณีน้ำมันดิบรั่วไหล จำเป็นอย่างยิ่งต้องอ่านเอาความรู้ในบทความข้างล่างนี้ก่อนครับ บทความนี้เขียนโดยผู้ที่มีความรู้ความชำนาญในด้านการกำจัดและบำบัดการปนเปื้อนของน้ำมันและสารประกอบอื่นที่มีน้ำมัน ซึ่งเขียนบทความนี้มาด้วยความเป็นห่วงในสวัสดิภาพของทุกๆคนโดยเฉพาะคนที่กำลังจะอาสาไปช่วย เจ้าหน้าที่ทหารเรือ ทุกท่านที่กำลังปฎิบัติงานอยู่ในพื้นที่ครับ” Noppakun Dibakomuda
ด้วยความเคารพในจิตอาสาของทุกคน ครั้งนี้ไม่เหมือนกับภัยต่างๆ ที่เคยเกิดขึ้นมา เช่น สึนามิ น้ำท่วม ที่เราแค่ มีใจ มีแรง มีรองเท้าบูท มีเรือ พร้อมของบริจาค ช่วยเหลือก็เข้าไปช่วยเหลือได้แล้ว แต่ครั้งนี้สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นน้ำมันดิบที่รั่วไหล และยังคงไม่สามารถจัดการกับน้ำมันที่รั่วไหลในทะเลได้ ลองมาสำรวจตัวเราเองก่อนไหมว่าเรามีสิ่งพื้นเหล่านี้แล้วหรือยัง
1. รู้ถึงอันตรายของสิ่งที่เราจะไปเจอหรือยัง น้ำมัน ดิบ หากเราการสัมผัสตรง โดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ ซึ่ง องค์ประกอบทางเคมี โลหะหนัก ที่อยู่ในน้ำมันดิบ มีความสามารถซึมผ่านชั้นผิวหนังได้ ต้องบอกไว้ก่อนนะครับว่าความไวของการรับรู้และการต้านทานสารพิษของแต่ละคน อาจจะไม่เท่ากัน บางคน อาจเริ่มต้น มีอาการคัน แสบผิว หรือไม่แสดงอาการอะไร แต่ถ้าสัมผัสโดยตรงสารเคมีซึมเข้าไปสะสมครับ ปริมาณน้อยก็อาจจะไม่แสดงอาการ หรือแสดงอาการไม่ร้ายแรง แต่ปริมาณมากหน่อย คำถามว่ามากแค่ไหน ก็บอกได้ว่าแล้วแต่บุคคลเลยครับ แต่โดยส่วนตัว แค่ใช้มือเปล่าหรือใส่ถุงมือแล้วไปตักน้ำมันดิบที่มันมาเกยฝั่ง อยู่ซัก 2-3 ชั่วโมง แล้วมันกระเด็น โดนแขน โดนหน้าบ้าง ผมก็ว่ามันเยอะมากแล้วหล่ะครับจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคต !!! ก็เสี่ยงที่จะทำให้เกิดมะเร็งกับเราได้ ที่ไหนในร่างกายหรอครับ ก็แล้วแต่ว่า อวัยวะ เครื่องใน ของแต่ละคนอันไหน มีความแข็งแรง อันไหน อ่อนแอ การสูดดมเอาไอระเหยเข้าไปในร่างกาย เชื่อว่า ไม่มีใครอยากดมกลิ่นน้ำมันหรอกครับ แต่ไปอยู่ในที่แบบนั้นอาจเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งสิ่งที่เราจะรับรู้ได้ง่ายมากถึงแม้ว่าจะเป็นช่วงเวลาที่สั้น โดยที่เราไม่มีเครื่องป้องกัน อาการมึน กลิ่นติดจมูก บางคนอาจจะแสบตา แสบจมูก หากสูดดมเป็นเวลานานไม่ได้มีการป้องกัน ก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะมีผลต่อระบบทางเดินหายใจ ปอด รวมถึงอาจจะมีความสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดโรคมะเร็งตามมาในอนาคต อย่างที่กล่าวไปว่าระดับความไวต่อการรับรู้และการต้านทานของสารพิษแต่ละคน ไม่เหมือนกันนะครับ
2. คุณผ่านการอบรมการจัดการของเสียแบบนี้มาหรือเปล่า...? ซึ่งสรุปแบบง่ายว่า การผ่านการอบรมจะทำให้เราตระหนักถึงสิ่งที่ควรและไม่ควรทำในการกำจัด วิธีการใช้งานสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล การอ่าน Material Safety Data Sheet (MSDS)ของสารรั่วไหล หรือปนเปื้อน เช่น ตรวจสอบว่าอะไรรั่วไหล หรือปนเปื้อน มีองค์ประกอบทางเคมี ผสมอะไรบ้าง ต้องเจ้าของผลิตภัณฑ์โดยตรงหรือเปล่า ควรมีประเมินความเสี่ยงในวิธีการกำจัด ควรจัดทำแผนการ การเลือกใช้กำจัดที่ถูกวิธี การใช้สารเคมีที่ระงับ หรือบำบัด ให้ตรงกับสิ่งที่ปนเปื้อน รวมถึงแผนและวิธีการกำจัดอุปกรณ์ และดินหรือน้ำที่ปนเปื้อน แผนฉุกเฉินสถานการณ์ที่ไม่ปลอดภัยอื่นที่อาจเกิดขึ้น เช่น ไฟไหม้ การปนเปื้อนที่อื่นโดยไม่ได้ตั้งใจ เป็นต้น
3.อุปกรณ์ ป้องกันภัยส่วนบุคคล ที่เหมาะสมกับระดับความเข้มข้น และสารเคมีที่ต้องปฎิบัติงานด้วยเรามีพร้อมแล้วหรือหรือไม่ อย่างไร...?
ในกรณีที่มีความรุนแรงประมาณที่หาดอ่าวพร้าว เกาะเสม็ด สิ่งที่ต้องมี คือ
a. หน้ากากกรองไอน้ำมันได้ หน้ากาก รวมชุดกรอง (Haft face resperator)ราคาประมาณ 900-1000 บาท
b. ชุดหมีป้องกันน้ำมัน สารเคมีแบบใช้แล้วทิ้ง ที่บ้านเราเรียกกันว่า Tyvek suitราคาประมาณ 200-300 บาท การใช้แล้วทิ้ง ไม่นำมาใช้ใหม่ เพราะอาจจะทำให้เราสัมผัสน้ำมัน หรือเคมีโดยตรงได้
c. ถุงมือไนไตรแบบหนา ที่เคยใช้เป็นสีเขียว หนาประมาณ 18 mil คู่ละประมาณ40 บาท ใช้แล้วทิ้งแล้วเปลี่ยนคู่ใหม่นะครับ ถ้าหากว่าน้ำมันเปื้อนถุงมือมาก การสวมใส่ที่ถูกต้องคือต้องใส่หลังจากใส่ชุดหมีแล้วต้องมีผู้ช่วยใช้เทปกาวพันรอบถุงมือเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำมันสามารถเข้าไปในภายในถุงมือได้
d. รองเท้าบูทยางสูงเลยหน้าแข้ง ที่ ป้องกันสารเคมี น้ำมันตามมาตรฐานEN345ได้ ราคาประมาณคู่ละ 600-700 บาท การสวมใส่ที่ถูกต้องคล้ายกับถุงมือ คือสวมรองเท้าหลังจากใส่ชุดหมีแล้ว และต้องมีเทปกาวพันรอบของรองเท้าบูทด้านบนเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำมันสามารถเข้าไปในรองเท้าได้
e. แว่นตานริภัย ป้องกันไอระเหยเข้าตา ป้องกันน้ำมันดิบกระเด็นเข้าตาแบบไม่ได้ตั้งใจ ราคาประมาณ 80 – 300 บาท
f. อุปกรณ์ทำความสะอาดอื่นๆ กระดาษทิชชู่ ถุงขยะหนาเพื่อใส่ ชุด หรืออุปกรณ์ที่ถูกเปลี่ยนเพราะปนเปื้อนอย่างมาก เพื่อที่จะนำขยะอันตรายนี้ไปกำจัดอยากถูกวิธี
ประมาณราคาโดยประมาณ ต่อคนก็ก็ประมาณ 1700-2500 บาท จำได้ใช่ไหมครับ บางอย่างใช้แล้วต้องทิ้ง
สรุปนะครับ เมื่อเราตั้งใจดีไปช่วยแบบไม่มีความรู้ ไม่มีความเข้าใจ ก็จะเป็นเพียงแค่การย้ายของเสีย จากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง โดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งเราก็คงไม่อยากให้มันเกิดขึ้นใช่ไหมครับ คิดต่ออีกนะครับ เราจะเอาตัวเราไปเสี่ยงเพราะไม่รู้อะไรในการจัดเรื่องนี้ที่ต้องอาศัยเจ้าที่ที่ชำนาญการ เราเองก็จะเป็นภาระให้กับเจ้าหน้าที่ปฎิบัติหน้าที่ กลับต้องดูแลเรา หรือมาเสียเวลา ต้องมาทำให้เราเข้าใจ ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาอธิบายกันพอสมควร ว่าตรงนี้ปลอดภัย ไม่ปลอดภัย อยู่ได้ อยู่ไม่ได้ ช่วยได้ไหม หรือช่วยไม่ได้ เพราะเราไปแบบไม่พื้นฐาน ไม่มีความชำนาญ ไม่มีความรู้ ที่จะแย่ไปกว่านั้นอีก ถ้าหากมีคนเข้าไปเยอะแยะแต่ช่วยอะไรได้ไม่มาก หรือที่แย่คือช่วยอะไรไม่ได้เลย เพราะด้วยการประเมินขั้นต้นทั้ง 3 ข้อ ได้ แค่ไปนั่งดูเจ้าหน้าที่ทำงาน เราก็จะไปเพิ่มมลพิษ ขยะขึ้นจากเดิมที่มีเฉพาะเจ้าหน้าที่ที่ทำได้จริงๆ คิดดูนะครับ กล่องโฟมหรือถุงพลาสติกที่ใส่อาหารมาให้เรากิน ขวดน้ำดื่มพลาสติกที่เพิ่มขึ้น เปลืองเงินที่ต้องซื้ออาหาร น้ำดื่มเพิ่มขึ้น ทำให้ไปเบียดเรื่องเงินสำหรับอุปกรณ์เก็บกู้ อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ต้องใช้แล้วทิ้งและต้องเปลี่ยนใหม่เสมอ ซึ่งส่งผลทำให้เจ้าหน้าที่ต้องดำเนินการให้เร็ว ต้องรีบทำ สุดท้ายก็ทำแบบขอไปที อันนี้ต้องเผื่องบประมาณสำหรับสารเคมี หรือแบคทีเรีย ที่ต้องซื้อมากินสารเคมี กรดอีกกว่า 700 ชนิดจากน้ำมันดิบที่สามารถละลายอยู่ในน้ำทะเล ผมนึกภาพไม่ออกเลยว่าต้องซื้อมาเยอะแค่ไหน และต้องบำบัดและติดตามวัดผล เก็บตัวอย่างน้ำไปอีกนานเท่าไร แต่ต้องไม่น่าต่ำกว่า 2 ปี สุดท้ายจริง ระบบนิเวศน์ก็จะไม่ได้รับการช่วยบำบัดอย่างถูกต้องและตลอดลอดฝั่ง เพราะความตั้งใจดีและจิตอาสาของเราหรือเปล่า ผมว่า “เก็บพลังและความตั้งใจไว้ช่วยฟื้นฟูขั้นต่อไป ซึ่งอาสาสมัครอย่างพวกเราน่าจะช่วยได้และดีกว่าแน่นอนครับ” บทความโดย Mr. A.V. อดีตเจ้าหน้าที่ชำนาญด้านการกำจัดและบำบัดการปนเปื้อนของน้ำมันและสารประกอบอื่นที่มีน้ำมัน (ไม่ประสงค์ออกนาม)
“ผมเห็นภาพข่าวในโทรทัศน์ เห็นอาสาสมัครในชุดที่อาจจะเรียกได้ว่า เปลือย สำหรับสารพัดสารพิษ รองเท้าเอาถุงพพลาสติกห่อไว้ ถุงมือซื้อจากตลาดนัด บางคนใส่เสื้อกันฝน หน้ากากกรองสารพิษที่กันอะไรไม่ได้เลย แว่นตาแทบไม่มีใส่ กำลังเอาถังพลาสติกจ้วงตักน้ำมันดิบจากชายฝั่ง...ภาพนี้หลายคนคงเคยเห็น ผมรู้อย่างหนึ่งว่า อาสาสมัครเหล่านั้น ไม่มีความรู้ในสาระข้างบนนี่เลย...เป็นห่วงครับ แชร์และส่งต่อกันให้มากที่สุด มากกว่า ที่คุณแชร์เรื่องดารากับยาไอซ์นะครับ ขอขอบคุณ Mr. A.V. ที่เอื้อเฟื้อบทความข้างบนด้วยเจตนาดีบนความรู้ที่ถูกต้องแก่สังคมครับ” Noppakun Dibakomuda
https://www.facebook...kun-dibakomuda/กรณีน้ำมันดิบรั่ว-งานเก็บกู้-อาสาสมัคร-งานนี้ไม่ใช่ที่ของคุณ/605205106166294
--------------------------
ความรับผิดชอบที่พึงมีของ ปตท อันดับแรกคือการรับผิดชอบต่อพื้นที่
ต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น และการเก็บกู้ให้กลับคืนมาในสภาพปกติให้เร็วที่สุด
เพราะผลกระทบในวงกว้างที่เกิดขึ้น มันพ้นจากคำว่าธุรกิจไปแล้ว
แต่ไม่ใช่การออกมาร้องเรียกประชาชนจิตอาสาให้เข้าไปร่วม
เวินมีเยอะแยะ คุณก็ไปจัดจ้างมืออาชีพมาทำสิครับ
อุปรณ์ใดๆ ก็ควรจัดหาให้ถูกต้อง ปลอดภัย ไม่ใช่เรียกจิตอาสามาทำ
โยนพลั่วให้อันนึงกะหน้ากากปิดปากปิดจมูก แถมข้าวเที่ยง และที่พักฟรี
แม้ว่าคุณจะจัดทำกันเองในองค์กรณ์ก็เถุอะ
บริษัทใหญ่โตระดับชาติ
แต่การแก้ปัญหา กลับเพียงใช้จิตอาสา มันสมควรแล้วหรือ
คนไทยไม่มีความรู้เรื่องนี้เท่าที่คุณรู้กันนะครับ
จ้างฝรั่งก็ได้ บริศัทไหนที่ทำเป้น มีปัญญาทำ
เอาคนอื่นเค้ามาลำบากกับคุณได้อย่างไร