Jump to content


Photo
- - - - -

ว่าด้วยร่าง พรบ ปรองดอง ผนวก นิรโทษกรรม


  • Please log in to reply
4 ความเห็นในกระทู้นี้

#1 bird

bird

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,191 posts

ตอบ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 16:13

ถ้อยแถลงของท่านผู้นำเมื่อวันที่ 2 สค. ที่ผ่านมา เกิดขึ้นภายหลังกระแสข่าวการเคลื่อนไหว

ของกลุ่มต่อต้านและไม่เห็นด้วยกับการบริหารราชการรัฐบาลภายใต้การนำของพรรคเพื่อไทย

ที่ได้ประกาศชุมนุมใหญ่ขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 4 สค. อันเป็นผลมาจาก จะมีการพิจารณาร่าง พรบ

นิรโทษกรรม ฉบับวรชัย วาระแรกในวันที่ 7 สค. ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากพรรคเพื่อไทยและ

พรรคร่วมอย่างเป็นเอกฉันท์

 

ในขณะเดียวกัน ที่ประชุม ครม เมื่อวันที่ 31 กค. ที่ผ่านมา มีมติให้ประกาศใช้ พรบ มั่นคงฯ 2551 

ใน 3 เขต รวม 12 เส้นทาง โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1-10 สิงหาคม  2556 และมอบหมาย

ให้ ผบ.ตร เป็นผู้ดูแลการชุมนุม

 

ด้าน สตช ได้มีการวางกำลังเจ้าหน้าที่และเครื่องกีดขวางปิดเส้นทางการจราจรตามประกาศคำสั่ง

ปฏิบัติการ ศอ.รส. 3 ฉับบ

 

ฉบับที่ 1/2556  สรุปใจความพอสังเขป ความว่า

 

ห้ามบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใด เข้าหรือต้องออกจากบริเวณพื้นที่อาคารทำเนียบรัฐบาลและรัฐสภา

รวมถึงห้ามใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ 12 เส้นทางโดยรอบ (ตามแผนที่แนบ)

 

 

Ncbrpb.jpg

 

 

ฉบับที่ 2/2556  สรุปใจความได้ว่า ห้ามใช้ 12 เส้นทางตามประกาศ และ ห้ามพกเครื่องกระสุนปืน

สิ่งเทียมอาวุธ วัตถุระเบิด รถบรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าไปในเส้นทางตามที่ประกาศห้าม

 

ฉบับที่ 3/2556  สรุปใจความได้ว่า ห้ามนำอาวุธออกนอกเคหสถาน

 

หากลองพิจารณาด้วยหัวใจของนักประชาธิปไตย ตามที่ท่านผู้นำได้เคยกล่าวปาฐกถาที่มองโกเลีย

ในการประชุมประชาคมประชาธิปไตย ว่า ตนเองและพี่ชาย (ซึ่งปัจจุบันเป็นนักโทษหนีคดี) นั้นเป็น

นักประชาธิปไตย

 

การกระทำ พฤติกรรม ช่างขัดแย้ง กับถ้อยแถลง เมื่อวันที่ 2 สค. อย่างสิ้นเชิง

 

ถ้อยแถลง เรียกร้องอยากเห็นความปรองดอง แต่พฤติกรรมกลับปิดกั้นการแสดงความเห็นต่างของ

ผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการบริหารราชการแผ่นดินภายใต้การนำของยิ่งลักษณ์และพรรคเพื่อไทย

 

หรือกาลเวลา และอำนาจ ทำให้ท่านผู้นำลืมไปแล้วว่า...ครั้งหนึ่งตัวเองก็เป็นหนึ่งในผู้ร่วมชุมนุม

ของพลพรรคเสื่อแดงเช่นเดียวกัน...เป็นการชุมนุมที่สร้างความเสียหายให้กับประเทศอย่างมหาศาล

เพียงเพราะ..คำกล่าวอ้างที่ว่า...ต้องการเรียกร้องประชาธิปไตย...

 

แล้ววันนี้...เหตุใด ท่านผู้นำ.จึงกระทำให้สิ่งที่ตรงข้าม...ปิดกั้นประชาธิปไตยของประชาชน...

 

มาวันนี้..ท่านเรียกร้องหาความปรองดอง นิรโทษกรรม ให้กับผู้ที่กระทำการต่อชาติบ้างเมืองอย่าง

ไม่รู้สึกสำนึกผิดชอบชั่วดี กระทำไปเพียงเพราะความสะใจ สาใจ มัวเมาในอารมณ์ ด้วยแรงยั่วยุ

ปลุกระดม ของเหล่าแกนนำ ที่ในวันนี้ ได้รับการปูนบำเหน็ดความดีความชอบ อย่างไร้สำนึก

 

นั้นคือ...สิ่งที่ถูกต้องแล้วหรือ

 

หากลองย้อนกลับไปดูร่าง พรบ นิรโทษกรรม และร่าง พรบ ปรองดอง ทั้งที่ได้รับการเสนอเข้า

รัฐสภาและที่ไม่ได้รับการเสนอ ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ตั้งแต่เดือน พฤษภาคม 2555 - ปัจจุบัน

รวมทั้งสิ้น  9 ร่าง แบ่งเป็น ร่าง พรบ.นิรโทษกรรม 4 ร่าง และ ร่าง พรบ ปรองดอง 5 ร่าง

 

1)  ร่าง พรบ ว่าด้วยความปรองดองฯ ฉบับนายนิยมและคณะรวม 21 คน ลว. 23 พค. 55

2)  ร่าง พรบ ว่าด้วยความปรองดองฯ ฉบับพลเอกสนธิและคณะรวม 35 คน ลว. 24 พค. 55

3)  ร่าง พรบ ว่าด้วยความปรองดองฯ ฉบับนายสามารถและคณะรวม 50 คน ลว. 28 พค. 55

4)  ร่าง พรบ ว่าด้วยความปรองดองฯ ฉบับนายณัฐวุฒิและคณะรวม 74 คน ลว. 28 พค. 55

5)  ร่าง พรบ ว่าด้วยความปรองดองฯ ฉบับนายเฉลิม - ยังไม่ได้บรรจุเข้าในวาระการประชุม

 

6)  ร่าง พรบ นิรโทษกรรมฯ ฉบับนายวรชัยและคณะรวม 40 คน ลว. 7 มีค. 56

7)  ร่าง พรบ นิรโทษกรรมฯ ฉบับนายนิยมและคณะรวม 23 คน ลว. 13 มีค. 56

8)  ร่าง พรบ นิรโทษกรรมฯ ฉบับคณะนิติราษฎร์ - ไม่ได้เสนอเข้ารัฐสภา

9)  ร่าง พรบ นิรโทษกรรมฯ ฉบับแม่น้องเกดและญาติวีรชน - ยังไม่ได้บรรจุเข้าในวาระประชุม

 

ซึ่งเนื้อหารายละเอียดของแต่ละร่างแตกต่างกันไปตามทัศนคติของกลุ่มผู้เสนอร่าง แต่มีสิ่ง

หนึ่งที่ใกล้เคียงกัน คือ การนิรโทษกรรมให้กับผู้ที่กระทำความผิดในช่วงเวลาที่มีการชุมนุม

ส่วนจะตีกรอบการนิรโทษไว้อย่างใด ก็ขึ้นอยู่กับแนวทางของกลุ่มผู้เสนอ

 

ขออนุญาตตั้งคำถามเพียงคำถามเดียวเท่านั้น...

 

แล้วผู้ที่ได้รับกระทบโดยตรง โดยที่มิได้มีส่วนได้เสียทางการเมืองเล่า...

พวกท่านจะไม่ถามความคิดเห็นบ้างหรือว่า....

 

ยินดีจะนิรโทษกรรมให้กับบุคคลที่กระทำความผิด โดยไม่สนใจต่อกฎหมายบ้านเมือง

เพราะบุคคลเหล่านั้นไม่ใช้ผู้ที่ถูกกระทำ แต่เป็นผู้กระทำ...หรือไม่

 

 

 

 

 



#2 bird

bird

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,191 posts

ตอบ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 19:05

หากลองพิจารณาเนื้อหาโดยละเอียด ของร่าง พรบ นิรโทษกรรม และ ร่าง พรบ ปรองดอง

ของแต่ละกลุ่ม แต่ละฉบับ มาพิจารณาโดยละเอียด โดยยึดหลักตามประมวลกฎหมายแพ่ง

กฎหมายอาญา วิธีพิจารณาคดีความอาญา และ กฎหมายอื่น ๆ ที่เกียวข้อง ว่า ร่าง พรบ

ทั้ง 9 ฉบับนั้น โดยเนื้อหาที่แท้จริงแล้ว มีนัยยะอะไรซ่อนเร้นไว้หรือไม่ หรือเป็นเพียงร่าง

พรบ นิรโทษกรรม ธรรมดาที่คล้ายคลึงกับ พรบ นิรโทษกรรมที่เคยประกาศใช้ในอดีต

 

ณ โอกาสนี้ ขออนุญาต เรียนเชิญท่านสมาชิกผู้มีความรู้ ความสามารถ ด้านกฎหมาย  

แสดงความคิดเห็น เพื่อแบ่งปันความรู้เป็นวิทยาทานแด่สมาชิกและผู้ที่มีโอกาสแวะเวียน

มาเพื่อเสาะหาความรู้ และข้อเท็จจริง ภายใต้หลักของกฎหมายที่บังคับใช้ในปัจจุบันค่ะ

ขอบพระคุณทุกท่านน่ะค่ะ

 

ขออนุญาติเริ่มจาก ร่าง พรบ ที่กำลังเป็นประเด็นอยู่ในปัจจุบัน

 

ร่าง พรบ นิรโทษกรรม ฉบับนายวรชัยและคณะรวม 40 คน ที่ได้รับการบรรจุเป็นญัตติ

ในการประชุมสภา เลขที่รับ 13/2556  ลงวันที่  7  มีนาคม  2556 โดยเป็นการพิจารณา

วาระแรก ในวันที  7  สิงหาคม  2556 

 

 

3066Yu.jpg xeKTUn.jpg oejaWh.jpg ZHA1zV.jpg Gh9m0f.jpg 75RMdb.jpg AEn0PM.jpg

ZZr4jk.jpg

 

 

 



#3 bird

bird

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,191 posts

ตอบ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 23:53

ลองพิจารณาข้อความตามร่าง พรบ นิรโทษ ฉบับนายวรชัยและคณะรวม 40 คนข้างต้น

โดยใช้ประมวลกฎหมายอาญาประกอบการพิจารณา ด้วยความรู้ ความสามารถจะอำนวย 

 

- เริ่มจากรายชื่อผู้ร่วมเสนอร่าง พรบ นิรโทษกรรมฉบับดังกล่าว จะเห็นว่า ในรายชือผู้ร่วม

เสนอร่าง พรบ ฉบับนี้ ที่แม้ว่าจะเสนอในฐานะที่เป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ก็ตาม

แต่อย่าลืมว่า หลาย ๆ รายชื่อนั้น ปรากฎรายชื่ออยู่ในผู้ต้องหาคดีก่อการร้าย ตามที่ DSI

ส่งฟ้องต่ออัยการเมื่อวันที่ 29 กค. 2553

 

หากจะถามว่า การร่วมลงชื่อเป็น 1 ในผู้เสนอร่าง พรบ นิรโทษ ซึ่งมีผลโดยตรงกับหลายๆ

รายชื่อนั้น เหมาะสมหรือไม่

 

กฎหมายก็มิได้บัญญัติไว้เป็นข้อห้ามแต่อย่างใด แต่โดยมารยาท จริยธรรมและคุณธรรม

ถือเป็นเรื่องที่ไม่สมควรอย่างยิ่งด้วยประการทั้งปวง ที่ผู้กระทำผิด มีส่วนร่วมในการเสนอ

ร่าง พรบ นิรโทษกรรม ซึ่งตัวผู้เสนอเองเป็นผู้ที่ได้รับประโยชน์โดยตรง ไม่ว่าจะเสนอ

ในฐานะที่เป็น สมาชิกสภาผู้แทน หรือ ในนามส่วนตัว...

 

นั้นเพราะ..ผู้ร่วมเสนอร่าง พรบ นิรโทษ คือ 1 ในผู้กระทำ มิใช่ ผู้ถูกกระทำ

 

คุณในฐานะ ผู้กระทำความผิด เสนอร่างนิรโทษกรรมให้กับการกระทำของตัวเอง

อย่างนั้นหรือ...ความละอาย ความสำนึกผิดชอบชั่วดี อยู่ตรงไหนกัน

 

หากจะตีความว่า..เป็นความพยายาม กระทำเพื่อประโยชน์ส่วนตัว ได้หรือไม่

 

หากเป็นเช่นนี้ หมายความ เหล่าบรรดาผู้ต้องหาที่ต้องคำพิพากษาถึงที่สุด ก็สามารถร่วม

ลงชื่อ เสนอร่าง พรบ นิรโทษกรรม ให้กับความผิดของตัวเองได้ทุก ๆ กรณี

 

เพราะพวกคุณกำลังสร้างบรรทัดฐานใหม่ให้กับสังคม...หรือมิใช่

 

 

nKjKbk.jpg

 

 

- เนือหาในส่วนของ " เหตุผล "  บรรยายไว้ ความว่า

 

ด้วยสืบเนื่องจากสถานการณ์บ้านเมืองตกอยู่ในความคิดที่ไม่เคารพในระบอบประชาธิปไตย

มีการชุมนุมประท้วงรัฐบาล จนนำไปสู่การยึดอำนาจการปกครองเมื่อวันที่ 19 กย. 2549

เหตุการณ์นี้สร้างความขัดแย้งทางการเมืองและทางสังคมที่รุนแรงอย่างที่ไม่เคยปรากฎมา

ก่อน ทำให้เกิดการใช้บังคับกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม สร้างความรู้สึกสับสนและไม่เท่าเทียม

การเลือกปฏิบัติเกิดขึ้นในทางความคิดทางการเมืองของประชาชนเป็นวงกว้าง

 

จึงมีการชุมนุมประท้วงทางการเมืองของประชาชน จนเกิดการกระทำผิดกฎหมายบ้านเมือง

อันนำไปสู่การกล่าวหา และมีการดำนินคดีกับผู้ที่เข้าร่วมการชุมนุมจำนวนมาก ทำให้ถูก

จำกัดเสรีภาพและอิสรภาพในระหว่างการถูกกล่าวหาทางอาญา อันเป็นผลมาจากภาครัฐ

ได้ประกาศและบังคับใช้กฎหมายที่เคร่งครัดและขาดความยืดหยุ่นจนเกินความจำเป็น

 

ซึ่งสภาพปัญหาดังกล่าวได้เกิดเป็นปัญหาร้าวลึกลงไปสู่สังคมไทยในทุกระดับ และนำมา

ซึ่งความหวั่นไหวขาดความเชื่อมั่นในการดำเนินชีวิตให้เป็นปกติสุขของประชาชนทั่วไป

ปรากฎการณ์ดังกล่าว สร้างความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อประเทศชาติ ทั้งทางด้านความ

มั่นคง การเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมอันดีงามของสังคมไทย

 

ทั้งนี้ เมื่อได้คำนึงว่าบรรดาการกระทำต่าง ๆ ของประชาชนที่ได้กระทำไปเพื่อแสดงออก

ซึ่งความคิดเห็นทางการเมืองของประชาชน ซึ่งมีมูลเหตุจูงใจทางการเมืองที่มีความสัมพันธ์

โดยตรงกับความขัดแย้งในทางการเมือง อันเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพขั้นพืนฐานของ

ประชาชนตามรัฐธรรมนูญ จึงสมควรให้มีการนิรโทษกรรมแก่ประชาชนในกรณีดังกล่าว

 

เพื่อเป็นการให้โอกาสแก่ประชาชนซึ่งเป็นพลเมืองของประเทศ และเป็นการรักษาคุ้มครอง

ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ทั้งเพื่อส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและสิทธิพลเมืองตามระบอบประชา

ธิปไตย โดยใช้หลักนิติธรรม อันเป็นรากฐานที่ดีต่อการลดความขัดแย้งและสร้างความ

ปรองดองของคนในชาติ โดยต้องคำนึงถึงมูลเหตุจูงใจของการกระทำที่ประชาชนได้

แสดงออกทางการเมือง

 

สรุปสั้น ๆ ได้ใจความว่า ต้นสายปลายเหตุทั้งหมด คือ การยึดอำนาจการปกครอง 19 กย.

ทำให้ประชาชนไม่พอใจ ลุกขึ้นมาชุมนุมประท้วง

 

บุกทุบรถ หมายล่าเอาชีวิตผู้นำรัฐบาลในปี 2552

ใช้จรวด ยิง วัดพระแก้ว ซึ่งเป็นสถานที่คู่บ้านคู่เมือง ซึ่งมิได้เป็นคู่กรณีทางการเมือง 

บุกล้มการประชุมระดับชาติ ในปี 2553 อย่างคนที่เสียสติ

บุกเทเลือดหน้าทำเนียบและสถานที่ของฝ่ายตรงข้าม 

ตั้งด่านเถือนตรวจค้น ละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของบุคคลอื่นโดยไม่ได้มีอำนาจหน้าที่

นำไปสู่การยึดพื่นที่สาธารณะตั้งค่ายกลางศูนย์กลางธุรกิจ

บุกเข้าสถานพยาบาล อย่างไร้สำนึกใน คุณธรรม

ลุกลามจนนำไปสู่เหตุการณ์ 10 เมย.53

 

ลุกขึ้นมาเผา สถานที่เอกชน ซึ่งไม่ได้มีส่วนได้เสียทางการเมือง และมิได้เป็นผู้ที่มี

ความขัดแย้งโดยตรงกับผู้ชุมนุม

 

จบลงด้วยเหตุการณ์ ความสูญเสีย 19 พค. 53

 

ทั้งหมดนั้น มีสาเหตุมาจาก การยึดอำนาจการปกครอง 19 กย. 49 อย่างนั้นหรือ

 

ลืมไปหรือไม่ว่า...

 

ในปี 2551 ได้มีการจัดการเลือกตั้งทั่วไป ภายใต้รัฐธรรมนูญ 2550 ที่ผ่านการลง

ประชามติโดยประชาชนอย่างสมบูรณ์ และ พรรคที่ได้รับชัยชนะ คือ พลังประชาชน

แม้นว่าต่อมา คุณสมัคร มีเหตุให้ต้องออกจากตำแหน่ง แต่ก็มิได้ห้ามว่า คุณสมัคร

จะไม่สามารถกลับมาเป็นนายกได้อีกครั้ง

 

แต่เกิดอุบัติเหตุทางการเมือง ทำให้คุณสมัครไม่ได้รับโหวตให้เป็นกลับมาดำรง

ตำแหน่งอีกครั้ง ผู้ที่ได้รับการโหวตให้สภาให้ดำรงตำแหน่งแทน คือ คุณสมชาย

พลังประชาชน ผู้ที่มีฐานะเป็น น้องเขย ของใครบางคน ในการเข้ารับตำแหน่ง

มิได้ราบรื่น เกิดเหตุสลดใจ

 

7 ตค. 51 เจ้าหน้าที่ตำรวจยิงแก๊สน้ำตาเพื่อสลายกลุ่มผู้ชุมนุม ต่อต้านมิให้คุณ

สมชายเข้าแถลงนโยบาย จนเกิดการสูญเสีย โดยมิได้เป็นการกระทำจากเบา

ไปหาหนักตามหลักสากล สุดท้ายคุณสมชายก็เกิดอุบัติเหตุทางการเมือง

จนเป็นเหตุให้ต้องออกจากตำแหน่ง พร้อมกับการยุบพรรคเพราะผู้บริหารพรรค

ทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง

 

สถาณการณ์ นับตั้งแต่ 19 กย. 49 จนกระทั้ง 1 ธค. 51 ก็ดำเนินไปอย่างปกติ

ไม่ได้มีเหตุว่าจะมีความรุนแรงทางการเมือง หรือ มีการชุมนุมของประชาชน

 

ภายหลังการประชุมสภาในวันที่ 2 ธค. 2551 มีมติเลือกคุณอภิสิทธิ์เข้าดำรง

ตำแหน่งนายก โดยชนะคู่แข่ง คุณประชา ที่ได้รับแรงสนับสนุนจาก เพื่อไทย

 

สถานการณ์ที่เคยสงบ กลับเริ่มร้อนแรง ด้วยการปลุกระดมของเหล่าแกนนำ

หัวรุนแรง ทั้งยั่วยุ ทั้งปลุกระดม ด้วยข้อมูลอันเป้นเท็จ แล้วแต่จะสรรหามา

กล่าว มาปราศัย มาปลุกระดม จนสถานการณ์บานปลาย เกินกว่าจะควบคุม

ในปี 2552  แต่ทุกอย่างก็จบลงด้วยความเสียหายที่ทุกคนพอจะยอมรับได้

 

แล้วทุกอย่างก็เริ่มหนักขึ้น เมื่อมีการประกาศชุมนุมเพื่อล้มรัฐบาลในปี 2553

โดยอ้างว่า เป็นรัฐบาลที่มาอย่างไม่ถูกต้อง มาจากค่ายทหาร แล้วแต่จะ

สรรหามากล่าวอ้าง

 

ทั้ง ๆ ที่ความเป็นจริงแล้ว ก็เป็นรัฐบาลที่มาจากการการโหวตในที่ประชุม

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งทั่วไป ชุดเดียวกับที่เลือก

คุณสมัคร และ คุณสมชาย เป็นการเลือกตั้งภายใต้ รัฐธรรมนูญ 2550

ภายใต้กฎหมายเลือกตั้งเดียวกัน...แล้วจะไม่ถูกต้องอย่างไร...

 

หากจะตีความว่า  เหตุผลที่ใช้กล่าวอ้าง ในการร่าง พรบ นิรโทษฉบับนี้

ขัดต่อข้อเท็จจริง และไม่ได้อยู่บนพื้นฐานหลักนิติธรรม อย่างที่กล่าวอ้าง

ได้หรือไม่...

 

 

 

 

 

 

 



#4 bird

bird

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,191 posts

ตอบ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 00:05

- เนื่อหาในส่วนของ ร่าง พรบ มาตรา 3  กำหนดช่วงเวลาสถานการณ์ที่เข้าข่าย 

ได้รับนิรโทษกรรม ตั้งแต่  19  กันยายน 2549 ถึง 10 พฤษภาคม  2554

 

แปลความได้ว่า...สถานการณ์ก่อนหน้าวันที่ 19 กันยายน 2549 จะไม่ได้รับการ

นิรโทษกรรม การชุมนุมของกลุ่ม พธม และกลุ่มอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นก่อน 19 กย. 49

ผู้กระทำความผิด ต้องรับโทษตามความผิดที่ได้กระทำ เมื่อคำพิพากษาถึงที่สุด

 

แบบนี้ จะไม่ยิ่งเป็นชนวนเหตุ แห่งความแตกแยก หรือ

 

ในส่วนของเหตุผล...อ้างว่า เพื่อให้เกิดความปรองดอง ความสามัคคีมิใช่หรือ

แล้วเหตุใด จึงเสนอร่าง พรบ นิรโทษกรรม แบบเลือกที่รักมักที่ชังเช่นนี้เล่า..

 

ในส่วนเนื้อหา ร่าง พรบ นิรโทษกรรม ในมาตรา 3 - มาตรา 6 มีรายละเอียด

ที่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ ละเอียดถี่ถ้วนภายใต้กรอบของกฎหมาย

ขออนุญาต สืบค้นข้อมูลอ้างอิงก่อน นำเสนอ

 



#5 bird

bird

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,191 posts

ตอบ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 01:16

ไหน ๆ ก็ ไหน ๆ แล้ว ต่อให้จบเลยดีกว่า

 

- เนื้อหาในส่วนร่าง พรบ นิรโทษ ฉบับวรชัยและคณะ

 

มาตรา 3  ให้บรรดาการกระทำใด ๆ ของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมือง

หรือการแสดงออกทางการเมือง หรือบุคคลซึ่งไม่ได้เข้าร่วมการชุมนุมทางการเมือง

แต่กระทำการนั้นมีมูลเหตุเกี่ยวข้องหรือเกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้งทางการเมือง

โดยการกล่าวด้วยวาจาหรือโฆษณาด้วยวิธีการใด เพื่อเรียกร้องหรือให้มีการต่อต้านรัฐ

การป้องกันตน การต่อสู้ขัดขืนการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือการชุมนุม การ

ประท้วง หรือการแสดงออกด้วยวิธีการใด ๆ อันอาจะป็นการกระทบต่อชีวิต ร่างกาย

อนามัย ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดของบุคคลอื่น ซึ่งเป็นเหตุสืบเนื่องจาก

การชุมนุมทางการเมือง หรือการแสดงออกทางการเมือง ตั้งแต่วันที่ 19 กย. 2549 ถึง

วันที่ 10 พค. 2554 ไม่เป็นความผิดต่อไป และให้ผู้กระทำการนั้นพ้นจากการเป็นผู้

กระทำความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง

 

การกระทำในวรรคหนึ่ง ไม่รวมถึงการกระทำใด ๆ ของบรรดาผู้ซึ่งมีอำนาจในการ

ตัดสินใจหรือสั่งการให้มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองในห้วงระยะเวลาดังกล่าว

 

แปลความได้ว่า

 

ทุก ๆ การกระทำ ไม่ว่าจะเป็นการบุกสถานพยาบาล การละเมิดสิทธิบุคคลอื่นที่ไม่มี

ส่วนเกี่ยวข้องทางการเมือง การเผาสถานประกอบการของเอกชน สถานที่ราชการ

วัดพระแก้ว และ อื่น ๆ ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ 19 กย.2549 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพฤติกรรม

ของผู้ชุมนุมพลพรรคเสือแดง และ สมาชิกพรรคเพื่อไทบางคน ซึ่งในปัจจุบันต่าง

ก็ได้รับการปูนบำเหน็จไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็น 7 ล้าน หรือ ตำแหน่งทางการเมือง

 

รวมไปถึง การโฟนอินจากคนเร่ร่อน ในช่วงการชุมนุมดังกล่าว ที่มีทั้งปลุกระดม

ทั้งยั่วยุ หลายต่อหลายครั้ง การปราศัยของเหล่าบรรดากลุ่มบุคคลที่อ้างว่าเป็น

แกนนำ ทุกอย่างเป็นโมฆะ เสมือนหนึ่งว่า ไม่ได้กระทำความผิด

 

ตามมาด้วยวรรคที่สอง อย่างสวยหรู ที่ว่า ยกเว้นการกระทำของผู้มีอำนาจตัดสินใจ

หรือสั่งการให้มีการเคลื่อนไหว...จะมีใครกล้ายืดอกรับหรือไม่ว่าเป็นผู้มีอำนาจ

เพราะที่จำได้ คนแดนไกล เคยให้สัมภาษณ์ไว้แล้วว่า มิได้เป็นหัวหน้าผู้ชุมนุม

และทุกครั้งที่มีการแถลงการณ์ของกลุ่มแกนนำ มักจะอ้างว่า เป็นการกระทำตาม

มติของผู้ชุมนุม...สิ่งเหล่านั้นสามารถนำมากล่าวอ้างได้ว่า เป็นมูลเหตุจูงใจที่มา

จากความขัดแย้งทางการเมืองโดยตรง....แล้วจะหาผู้สั่งการได้หรือ..

 

อีกประเด็น ประมวลกฎหมายอาญา หมวด 6 ตัวการและผู้สนับสนุน

 

มาตรา 84  ผู้ใดก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิดไม่ว่าด้วยการใช้ บังคับ ขู่เข็ญ จ้างวาน

หรือยุยงส่งเสริม หรือด้วยวิธีอื่นใด ผู้นั้นเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิด

 

ถ้าผู้ถูกใช้ได้กระทำความผิดนั้น ผู้ใช้ต้องรับโทษเสมือนเป็นตัวการ ถ้าความผิด

มิได้กระทำลง ไม่ว่าจะเป็นเพราะผู้ถูกใช้ไม่ยอมกระทำ ยังไม่ได้กระทำหรือเหตุอื่นใด

ผู้ใช้ต้องระวางโทษเพียงหนึ่งในสามของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น

 

มาตรา 89  ถ้ามีเหตุส่วนตัวอันควรยกเว้นโทษ ลดโทษหรือเพิ่มโทษแก่ผู้กระทำ

ความผิดคนใด จะนำเหตุนั้นไปใช้แก่ผู้กระทำความผิดคนอื่นในการกระทำความผิด

นั้นด้วยไม่ได้ แต่ถ้าเหตุอันควรยกเว้นโทษ ลดโทษ หรือ เพิ่มโทษเป็นเหตุใน

ลักษณะคดี จึงให้ใช้แก่ผู้กระทำความผิดในการกำระทำความผิดนั้นด้วยกันทุกคน

 

หมายความว่า...

 

เมื่อผู้กระทำความผิด หรือผู้ที่กระทำการตามมาตรา 3 ได้รับการนิรโทษตามร่าง พรบ

ข้างต้น บรรดาแกนนำ ในฐานะที่เป็นผู้สั่งการ หรือผู้ใช้ในกระทำ ต้องระวางโทษ

เพียง 1 ใน 3 ของโทษตามความผิดนั้น ๆ...

 

ตีความได้หรือไม่ว่า...เป็นการซ่อนการบทลดโทษ ไว้อย่างเนียน ๆ

 

หรือตามมาตรา 86 ที่ว่า ถ้าเหตุอันควรยกเว้นโทษ ที่ไม่ได้เป็นเหตุส่วนตัว แต่เป็นเหตุ

อื่นที่มีลักษณะคดี ก็ให้ใช้กับผู้กระทำผิดความผิดนั้นทุกคน

 

แปลความสั้น ๆ ได้ใจความว่า....ทุกคนได้รับการยกเว้นโทษทั้งหมด นับจากสถานการณ์

วันที่  19  กย. 2549 ถึง วันที่  10 พฤษภาคม  2554 รวมไปถึงผู้ต้องโทษคดีที่ดินรัชดา

ที่สามารถกล่าวอ้างได้ว่า เป็นมูลเหตุมาจากความขัดแย้งทางการเมือง หรือแม้แต่คดี

ยึดทรัพย์ครั้งประวัติศาสตร์  46,000 ล้านบาท

 

ร่าง พรบ มาตรา 4

 

เมื่อพระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับแล้ว ถ้าผู้กระทำการตามมาตรา 3 วรรคหนึ่ง ยังมิได้ถูก

ฟ้องต่อศาล หรืออยู่ในระหว่างการสอบสวน ให้พนักงานสอบสวนผู้ซึ่งมีอำนาจสอบสวน

หรือพนักงานอัยการระงับการสอบสวนหรือการฟ้องร้อง หากถูกฟ้องต่อศาลแล้วให้พนักงาน

อัยการหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องระงับการฟ้องหรือให้ถอนฟ้อง ถ้าผู้นั้นอยู่ในระหว่างการ

พิจารณาคดีไม่ว่าจำเลยร้องขอหรือศาลเห็นเอง ให้ศาลพิพากษายกฟ้องหรือมีคำสั่ง

จำหน่ายคดี ในกรณีที่ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษบุคคลใดก่อนวันที่ พรบ นี้มีผล

ใช้บังคับ ให้ถือว่าบุคคลนั้นไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิด ถ้าผู้นั้นอยู่

ระหว่างการรับโทษให้การลงโทษนั้นสิ้นสุดลงและปล่อยตัวผู้นั้น

 

แปลความว่า...ตามตัวอักษรไม่สลับซับซ้อน

 

ในเมื่อถือว่าไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิด...การยึดทรัพย์จึงเป็นโมฆะ

ความผิดตามกฎหมาย ปปช ก็เป็นโมฆะ เพราะมีมูลเหตุมาจากความขัดแย้งทางการเมือง

ผู้ต้องหาคดีก่อการร้ายทั้ง 26 คน พ้นมลทินในทุกกรณี..

 

ร่าง พรบ มาตรา 5  การนิรโทษกรรมตาม พรบ นี้ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้ได้รับนิรโทษ

กรรมในอันที่จะเรียกร้องสิทธิ หรือประโยชน์ใด ๆ ทั้งสิ้น

 

ประเด็นนี้ถามว่า...

 

ในเมื่อทุกอย่างเป็นโมฆะแล้ว เงินเยียวยาที่ได้รับไป สามารถเรียกคืนจากผุ้ที่ได้รับได้

หรือไม่...ก็ในเมื่อไม่ได้ถือว่าเป็นผู้กระทำผิด และมาตรา 5 ระบุว่าไม่ก่อให้เกิดสิทธิใน

การเรียกร้องประโยชน์ใด ๆ...ก็น่าจะเป็นเหตุให้เรียกคืนเงินเยียวยาที่ได้รับไปแล้ว..

คืนทั้งจำนวน...

 

ร่าง พรบ มาตรา 6 

 

การดำเนินการใด ๆ ตาม พรบ นี้ไม่เป็นการตัดสิทธิของบุคคลซึ่งไม่ใช่องค์กรหรือ

หน่วยงานของรัฐในการเรียกร้องค่าเสียหายในทางแพ่ง จากการกระทำของบุคคลใด

ซึ่งพ้นจากความรับผิดตามพระราชบัญญัตินี้ และทำให้ตนต้องได้รับความเสียหาย

 

ประเด็นนี้...

 

ผู้ที่ได้รับผลกระทบ ได้รับความเสียหายโดยตรง คงไม่อาจฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย

จากบุคคลใดได้ เพราะไม่ปรากฎหลักฐานชัดเจนว่าบุคคลเป็นผู้กระทำ...การฟ้องร้อง

จึงเป็นเรื่องยากที่จะดำเนินการ...

 

คงทำได้เพียง ยอมรับผลกระทบอย่างกลืนไม่เข้าคายไม่ออก

 

อย่างนี้แล้ว...ร่าง พรบ นิรโทษฉบับนี้ เป็นไปตามหลักนิติธรรมตามที่อ้างไว้ หรือ

เป็นร่าง พรบ ที่แฝงไว้ด้วยนัยยะ...สุดแล้วแต่ว่า ท่านจะวิเคราะห์ไปตามแนวทางใด






ผู้ใช้ 0 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้

สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 0 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน