พลเอก วิมล วงศ์วานิช
ผู้บัญชาการทหารบก ลำดับที่ ๒๘
( ระหว่าง ๑ สิงหาคม ๒๕๓๕ - ๓๐ กันยายน ๒๕๓๘ )
เป็นบุตร นายศิริ และ นางเอื้อน วงศ์วานิช ภริยาชื่อ พันตรีหญิง คุณหญิง มาลี วงศ์วานิช
การศึกษา
- พ.ศ.๒๔๙๔ มัธยม ๖ โรงเรียนพุทธนิคม อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
- พ.ศ.๒๔๙๖ โรงเรียนเตรียมนายร้อย
- พ.ศ.๒๕๐๑ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
- พ.ศ.๒๕๐๕ หลักสูตร ทหารร่ม และการรบพิเศษ
- พ.ศ.๒๕๐๕ หลักสูตร ผู้บังคับกองร้อย รุ่นที่ ๒๓
- พ.ศ.๒๕๐๗ หลักสูตร ผู้บังคับกองพัน รุ่นที่ ๑๓
- พ.ศ.๒๕๐๙ หลักสูตร เสนาธิการทหารบก
- พ.ศ.๒๕๑๔ หลักสูตร ปฏิบัติการจิตวิทยา และกิจการพลเรือนสหรัฐฯ
- พ.ศ.๒๕๒๑ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก ประเทศอังกฤษ
- พ.ศ.๒๕๓๐ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ประวัติรับราชการ
- พ.ศ.๒๕๐๑ ประจำกองบัญชาการศูนย์การทหารราบ ผู้บังคับหมวดอาวุธ กองพันที่ ๒ กรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็ก
รักษาพระองค์ และรับพระราชทานยศร้อยตรี
- พ.ศ.๒๕๐๓ ผู้บังคับตอนปืนไร้แสงสะท้อนถอยหลัง กองร้อยกองบังคับการ กองพันที่ ๒ กรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์
- พ.ศ.๒๕๐๔ ผู้บังคับหมวดปืนเล็ก กองร้อยอาวุธเบา กองพันที่ ๒
กรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์ และรับพระราชทานยศร้อยโท
- พ.ศ.๒๕๐๕ ผู้บังคับหมวดปืนเล็ก กองร้อยอาวุธเบา กองพันที่ ๒ กรมทหารราบที่ ๒๑ รักษาพระองค์
ผู้บังคับชุดปฏิบัติการ กองร้อยทหารพลร่ม กองพันทหาร พลร่ม
- พ.ศ.๒๕๐๖ ผู้บังคับชุดปฏิบัติการ กองร้อยรบพิเศษ กองรบพิเศษ (พลร่ม)
- พ.ศ.๒๕๐๗ ผู้ช่วยนายทหารยุทธการ และการฝึก กองรบพิเศษ (พลร่ม) และรับพระราชทานยศร้อยเอก
- พ.ศ.๒๕๐๙ ประจำศูนย์รักษาความปลอดภัย สำนักผู้บัญชาการทหารสูงสุด
ประจำกองบัญชาการโรงเรียนเสนาธิการทหารบก
- พ.ศ.๒๕๑๐ รักษาราชการ นายทหารยุทธการ และการฝึก กรมผสมที่ ๖
- พ.ศ.๒๕๑๑ รับพระราชทานยศพันตรี
- พ.ศ.๒๕๑๒ รักษาราชการ เสนาธิการ กรมผสมที่ ๖ หัวหน้าแผนกกำลังพล กองพลที่ ๓
- พ.ศ.๒๕๑๓ หัวหน้ากองค้นคว้าและพัฒนาการรบ ศูนย์สงครามพิเศษ
- พ.ศ.๒๕๑๕ รับพระราชทานยศพันโท
- พ.ศ.๒๕๑๖ หัวหน้าฝ่ายยุทธการ และการฝึก ศูนย์สงครามพิเศษ
- พ.ศ.๒๕๑๘ รองเสนาธิการ มณฑลทหารบกที่ ๖
- พ.ศ.๒๕๑๙ รับพระราชทานยศพันเอก
- พ.ศ.๒๕๒๐ ประจำกรมยุทธศึกษาทหารบก
- พ.ศ.๒๕๒๑ อาจารย์หัวหน้ากองส่วนวิชาการยุทธวิธี โรงเรียนเสนาธิการทหารบก สถาบันวิชาการทหารบกชั้นสูง
- พ.ศ.๒๕๒๒ ผู้บังคับการกรมผสมที่ ๖
- พ.ศ.๒๕๒๓ รองผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ ๖
- พ.ศ.๒๕๒๕ ผู้บัญชาการกองพลรบพิเศษที่ ๑ และรับพระราชทานยศพลตรี
- พ.ศ.๒๕๒๘ ผู้บัญชาการกองพลที่ ๑ รักษาพระองค์
- พ.ศ.๒๕๒๙ ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ และรับพระราชทานยศพลโท
- พ.ศ.๒๕๓๒ แม่ทัพภาคที่ ๒
- พ.ศ.๒๕๓๓ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก และรับพระราชทานยศพลเอก
- พ.ศ.๒๕๓๔ รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด
- พ.ศ.๒๕๓๕ ผู้บัญชาการทหารบก
ราชการพิเศษหรือตำแหน่งพิเศษ
- พ.ศ.๒๕๑๕ ปฏิบัติราชการปราบปราม ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ เป็น ผู้บังคับพันพิเศษ ค่ายสฤษดิ์เสนา
- พ.ศ.๒๕๒๒ - ๒๕๒๔ เป็น ผู้บังคับกองกำลังรบร่วม กรมทหารราบที่ ๖ และผู้บังคับการหน่วยผสม พลเรือน
ตำรวจ ทหาร ที่ ๒๑๒๒
- พ.ศ.๒๕๒๔ - ๒๕๒๕ เป็น รองผู้บัญชาการกองกำลังสุรนารี
- พ.ศ.๒๕๒๔ ราชองครักษ์
- พ.ศ.๒๕๒๖ นายทหารพิเศษประจำกรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์
- พ.ศ.๒๕๓๔ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญที่ได้รับพระราชทาน
- พ.ศ.๒๕๐๖ เบญจมาภรณ์ช้างเผือก
- พ.ศ.๒๕๐๗ เหรียญรัตนาภรณ์ ชั้นที่ ๕
- พ.ศ.๒๕๐๘ จตุรถาภรณ์มงกุฎไทย
- พ.ศ.๒๕๑๓ จตุรถาภรณ์ช้างเผือก
- พ.ศ.๒๕๑๕ เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ ๒
- พ.ศ.๒๕๑๗ ตริตาภรณ์มงกุฎไทย และเหรียญราชการชายแดน
- พ.ศ.๒๕๒๐ ตริตาภรณ์ช้างเผือก
- พ.ศ.๒๕๒๓ ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย
- พ.ศ.๒๕๒๔ ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก
- พ.ศ.๒๕๒๕ เหรียญสนองเสรีชน
- พ.ศ.๒๕๒๖ ประถมาภรณ์มงกุฎไทย
- พ.ศ.๒๕๒๘ ประถมาภรณ์ช้างเผือก
- พ.ศ.๒๕๓๐ มหาวชิรมงกุฎ
- พ.ศ.๒๕๓๒ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก
- พ.ศ.๒๕๓๓ เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ ๑
- พ.ศ.๒๕๓๔ ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ และเหรียญรัตนาภรณ์ ชั้นที่ ๓
- พ.ศ.๒๕๓๕ ทุติยจุลจอมเกล้า
- พ.ศ.๒๕๓๗ ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ
ผลงานที่สำคัญ
- ริเริ่มการปรับปรุงกองทัพให้มีขนาดเล็ก ตั้งเป้าหมายในการพัฒนาไปสู่ความ ทันสมัย ๔ ประการ คือ ทันสมัยในการบังคับบัญชา การอำนวยการและสั่งการ ทันสมัยในการพัฒนาบุคลากรและหน่วยงาน ทันสมัยในการพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์ การส่งกำลังบำรุง และทันสมัยในการพัฒนาสวัสดิการความเป็นอยู่ ของกำลังพล
- การพัฒนากีฬากองทัพบก โดยกำหนดแนวทางพัฒนาว่า "กีฬาสร้างคน คนสร้างกองทัพ กองทัพสร้างชาติ"
- เมื่อครั้งเป็น ผู้บังคับหน่วยผสม พลเรือน ตำรวจ ทหาร ที่ ๒๑๒๒ ได้ทำการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ มีผู้มามอบตัวพร้อมด้วยอาวุธ ๘๗๗ คน และผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ต้องปิดเขตงานที่ ๑๑