nonono
Edited by oohHo, 12 August 2013 - 22:22.
Posted 6 August 2013 - 21:02
แก้ผิดให้เป็นถูกได้ ก็แก้ถูกให้เป็นผิดได้เหมือนกัน
อยู่ที่ จังหวะ เวลา และโอกาส
Edited by oohHo, 10 August 2013 - 16:06.
Posted 6 August 2013 - 22:10
Edited by oohHo, 11 August 2013 - 01:23.
Posted 7 August 2013 - 09:19
“ก้อนอิฐ” ที่ปาไล่รัฐบาล
จาก พ.ร.บ.นิรโทษกรรมหนักขนาดไหน
หลักการสำคัญของการออกกฎหมายในประเทศที่มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้นมีอยู่หลายอย่าง
แต่ที่สำคัญคือกฎหมายที่ออกมานั้น “จะต้องบังคับใช้กับคนทุกกลุ่ม”
และกฎหมายดังกล่าว “จะไม่สร้างความแตกแยกขึ้นมาในสังคม” อีก
แต่ปัจจุบันหลักการการสำคัญ ๒
ประการนี้ได้ถูกละเลยจากพรรคการเมืองที่เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลอย่างเต็มที่
เมื่อพรรคเพื่อไทยสนับสนุนร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับนายวรชัย เหมะ กับคณะ
เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาใน ๗-๘ ส.ค. ๕๖ นี้
สาระสำคัญของปัญหาเฉพาะหน้าในปัจจุบันที่ตกเป็นเป้าหมายการวิพากษ์วิจารณ์ของสังคมเกี่ยวกับการพิจารณาร่าง
พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับนี้ ซึ่งเขียนไว้อย่างสลับซับซ้อน
แต่เมื่อพิจารณาอย่างรอบคอบ ตามเนื้อความในมาตรา ๓
มาตรา ๓ ให้บรรดาการกระทำใด ๆ
ของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมืองหรือการแสดงออกทางการเมือง
หรือบุคคลซึ่งไม่ได้เข้าร่วมการชุมนุมทางการเมือง
แต่กระทำการนั้นมีมูลเหตุเกี่ยวข้องหรือเกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้งทางการเมือง
โดยการกล่าวด้วยวาจาหรือโฆษณาด้วยวิธีการใด
เพื่อเรียกร้องหรือให้มีการต่อต้านรัฐ การป้องกันตน
การต่อสู้ขัดขืนการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือการชุมนุม
การประท้วงหรือการแสดงออกด้วยวิธีการใด ๆ อันอาจเป็นการกระทบต่อชีวิต ร่างกาย
อนามัย ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดของบุคคลอื่น
ซึ่งเป็นเหตุการณ์สืบเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง
หรือการแสดงออกทางการเมือง ตั้งแต่วันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ ถึงวันที่ ๑๐
พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
ไม่เป็นความผิดต่อไปและให้ผู้กระทำการนั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง
การกระทำในวรรคหนึ่ง ไม่รวมถึงการกระทำใด ๆ
ของบรรดาผู้ซึ่งมีอำนาจในการตัดสินใจ
หรือสั่งการให้มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองในห้วงระยะเวลาดังกล่าว
จะพบว่าเป็นกฎหมายที่นิรโทษกรรมให้กับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
ทั้งทหาร, พันธมิตรฯ, เสื้อแดงและนักโทษคดี ๑๑๒ รวมถึง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ด้วย ตามปรากฏในเนื้อความมาตรา ๓ วรรคสุดท้ายที่ระบุว่า “การกระทำ
(ที่จะได้รับการนิรโทษกรรม) ในวรรคหนึ่ง ไม่รวมถึงการกระทำใด ๆ
ของบรรดาผู้ซึ่งมีอำนาจในการตัดสินใจ
หรือสั่งการให้มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองในห้วงระยะเวลาดังกล่าว” นั้น
เมื่อดูผ่านๆ ไปจะเห็นได้ว่าเนื้อความดีพอใช้ได้ แต่เมื่ออ่านกลับมา ๒-๓
เที่ยวจะเห็นได้ว่ากฎหมายฉบับนี้ได้มุ่งที่จะให้เฉพาะนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อยู่ในข้อยกเว้นไม่ได้รับการนิรโทษกรรม เพราะทั้ง ๒
คนได้มีคำสั่งการให้ทหารปฏิบัติงานเป็นลายลักษณ์อักษร
แต่ทางฝ่ายแกนนำกลุ่มเสื้อแดงรวมถึง พ.ต.ท.ทักษิณฯ จะได้รับการนิรโทษกรรม
ไม่อยู่ในข่ายยกเว้นของมาตรานี้ เพราะอ้างได้ว่าไม่ได้
“เป็นแกนนำที่มีอำนาจตัดสินใจหรือสั่งการให้เคลื่อนไหว” แต่อย่างไร
เนื้อความในมาตรา ๔
ทั้งหมดยังมีข้อความก้าวล่วงต่ออำนาจศาลอย่างไม่เคยมีมาก่อนในร่าง
พ.ร.บ.ฉบับใดที่เคยเสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภาฯ
เนื้อความส่วนนี้จะทำให้มีผู้นำไปเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาว่า
“ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่” ทันทีที่ผ่านวาระการพิจารณาของสภาฯ
มาตรา ๔ เมื่อพระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับแล้ว
ถ้าผู้กระทำการตามมาตรา ๓
วรรคหนึ่งยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาลหรืออยู่ในระหว่างการสอบสวน
ให้พนักงานสอบสวนผู้ซึ่งมีอำนาจสอบสวน
หรือพนักงานอัยการระงับการสอบสวนหรือการฟ้องร้อง
หากถูกฟ้องต่อศาลแล้วให้พนักงานอัยการ
หรือองค์กรที่เกี่ยวข้องระงับการฟ้องหรือให้ถอนฟ้อง
ถ้าผู้นั้นอยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีไม่ว่าจำเลยร้องขอหรือศาลเห็นเอง
ให้ศาลพิพากษายกฟ้องหรือมีคำสั่งจำหน่ายคดี
ในกรณีที่ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษบุคคลใดก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ
ให้ถือว่าบุคคลนั้นไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิด
ถ้าผู้นั้นอยู่ระหว่างการรับโทษให้การลงโทษนั้นสิ้นสุดลงและปล่อยตัวผู้นั้น
การเสนอร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวเข้าสู่สภาฯ นั้น
จะเห็นได้ว่ามีบุคคลหลายกลุ่มไม่ได้เห็นด้วยที่จะให้มีการนิรโทษกรรม
เพราะต้องการให้กระบวนการยุติธรรมเป็นผู้พิสูจน์ว่าใครถูกใครผิดโดยการแสดงเจตนาออกมาอย่างชัดเจน
คือ กลุ่มพันธมิตรฯ และพรรคประชาธิปัตย์
ส่วนทหารซึ่งมีกฎหมายคุ้มครองว่าไม่ต้องรับผิดเนื่องจากการปฏิบัติงานตามคำสั่งที่ถูกต้องตามกฎหมายอยู่แล้ว
ดังนั้นการมีนิรโทษกรรมหรือไม่จึงไม่ใช่เรื่องสำคัญของฝ่ายทหาร
คงเหลือแกนนำเสื้อแดงและ พ.ต.ท.ทักษิณฯ เท่านั้นที่ต้องการนิรโทษกรรม
เพราะถ้าทิ้งคดีเหล่านี้ไปสู่การตัดสินของศาล อาจจะต้องแพ้คดีได้ง่ายๆ
โทษของคดีนี้ก็ค่อนข้างหนักเสียด้วย
การอ้างคน ๔ กลุ่ม คือ (๑) กลุ่มพันธมิตรฯ, (๒) แกนนำ ปชป., (๓)
ทหาร ซึ่งทั้ง ๓ กลุ่มนี้ไม่ต้องการนิรโทษกรรม คงเหลือกลุ่มคนเสื้อแดง
ซึ่งแบ่งเป็น ๕ ส่วน คือ กลุ่มเสื้อแดงทั่วๆ
ไปซึ่งถูกนำมาอ้างไว้เพื่อความปรองดอง ได้แก่
กลุ่มผู้เข้าร่วมชุมนุมทั่วไปที่มีความผิดลหุโทษนั้น
ในข้อเท็จจริงแล้วเกือบไม่มีเหลืออยู่ให้นิรโทษกรรมแล้ว
เพราะรับโทษแค่ลหุโทษเท่านั้น
กรณีนี้จึงเหลือเสื้อแดงอีก ๔ ส่วน คือ กลุ่มแกนนำเสื้อแดง,
ชายชุดดำ, ผู้ต้องหาตามมาตรา ๑๑๒ และ พ.ต.ท.ทักษิณฯ เท่านั้น คนไม่เกิน ๑๐๐
คนนี้จึงถือว่าเป็นการเสนอร่างกฎหมายเพื่อคนกลุ่มเดียวจริงๆ
การเสนอร่าง พ.ร.บ.ในลักษณะนี้ทางฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทยทราบดีว่า
ต่อให้ผ่านวาระ ๓ ไปในที่สุดก็ต้องเข้าไปสู่การพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ
ทั้งในข้อเท็จจริงของเหตุการณ์รุนแรงในปี ๒๕๕๓ และข้อเท็จจริงทางกฎหมาย
ซึ่งไม่ผ่านการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญแน่นอน แต่ที่ผลักดันเข้าสู่สภาฯ
ในระยะนี้มีเหตุผลเดียว
“แค่เป็นการเอาใจกลุ่มคนเสื้อแดงในกลุ่มก่อความรุนแรง”
เพราะบุคคลเหล่านี้อาจกลับใจมาเป็นพยานการก่อเหตุร้ายในปี ๒๕๕๓ ได้
ถ้าไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างชัดเจน ซึ่งระยะนี้
เริ่มปรากฏคนเสื้อแดงกลับใจเพิ่มมากขึ้นมาตามลำดับ
สิ่งสำคัญที่สุดอีกกรณีหนึ่ง คือ ร่าง
พ.ร.บ.ฉบับนี้เป็นฉบับที่เรียก “ก้อนหิน” มาสู่รัฐบาลได้มากกว่า “ดอกไม้”
ครับ จำไว้ว่าเมื่อไร ปชป.และพันธมิตรฯ ออกมาสู้พร้อมๆ กัน
โดยมีกลุ่มประชาชนมากกว่า ๑๐ กลุ่มที่ยืนรออยู่แล้ว เมื่อนั้น
“รัฐบาลก็หาทางไปไม่เป็น” เหมือนกันครับ
"ทุกข์มีเพราะยึด ทุกข์ยืดเพราะอยาก
ทุกข์มากเพราะพลอย ทุกข์น้อยเพราะหยุด
ทุกข์หลุดเพราะปล่อย”
(หลวงปู่ชาสุภัทโท)
อ้างอิงจาก พลโท นันทเดช เมฆสวัสดิ์
Permalink : http://www.oknation.net/blog/nunrimfar
Edited by oohHo, 7 August 2013 - 09:36.
Posted 27 September 2013 - 13:52
รูปสุดท้าย นี่ ต้องเรียนเชิญ คุณ RaRa มาทัศนาค่ะ
เพราะมีสัญลักษณ์ที่คุณ RaRa นับถือ ค่ะ
ครับ .... ก็เป็นภาพของ มหาเทพ ของฮินดู หน่ะครับ ส่วนสัญลักษณ์ ที่คุณขวัญข้าว ว่ามานี้คือ คำว่า "โอม" ครับ
เป็นสัญลักษณ์แห่ง ตรีมูรติ หรือ สัญลักษณ์ของ ศาสนาฮินดู เลยครับ ส่วนในภาพต่างๆ ที่เราได้เห็นกันนั้น
มหาเทพของฮินดู ก็มีมากมายเลยนะครับ แต่ที่นิยมกันมากๆ ก็คือ พระตรีมูรติ ประกอบด้วย พรหม ศิวะ นารายณ์ ครับ
และ ก็จะแบ่งแยกกัน อีกนิดหน่อยเกี่ยวกับ นิกาย เช่น ไศวนิกาย ก็จะนับถือ พระศิวะ(พระอิศวร) เป็นใหญ่ และ
ไวศณพนิกาย ก็นับถือพระวิษณุ(พระนารายณ์) เป็นใหญ่ แล้วก็จะมี ลัทธิย่อยไปอีก คือ ศักตินิกาย จะเป็นนิกายที่มีการนับถือ
เหล่าเทวี และ พระชายา ของ มหาเทพทั้งหลาย ด้วย เช่น เจ้าแม่อุมาฯ ในอวตารต่างๆ ซึ่งเป็น พระชายาของพระศิวะ
เจ้าแม่กาลี เจ้าแม่ลักษมี ฯลฯ และ พร้อมกันนี้ก็จะมีการนับถือ พระพิฆเนศ ซึ่งจะเป็นลัทธิ นิกายย่อยออกมาอีกทีครับ ชื่อว่า คณพัทยะนิกาย
ซึ่งจะนับถือ พระพิฆเนศ เป็นเทพสูงสุด ครับ.....
ป.ล. เรื่องความเชื่อแต่ละ นิกาย ที่นับถือเทพสูงสุดของแต่ละนิกายนั้น เป็นคำสอนของนิกายนั้นๆ แต่ ก็ยังคงนับถือ มหาเทพและเทพ องค์อื่นๆด้วยนะครับ
เพียงแต่ จะเน้นไปที่ มหาเทพของแต่ละนิกาย ให้เป็นศูนย์กลางของเทพเจ้าทั้งหมดในศาสนา
แต่....มีความเชื่ออีกอย่างว่าเมื่อได้บูชาพระพิฆเนศอย่างเคร่งครัด ก็เท่ากับได้บูชาเทพอื่นๆ ครบทุกพระองค์ไปด้วย ( เพราะถือว่าเป็นกลางๆ แต่จริงๆ แล้วเป็นบุตรของพระศิวะ )
จึงเป็นที่มาของความศรัทธา ที่เป็นที่แพร่หลาย ต่อองค์พิฆเนศ เป็นอย่างมากในทุกๆ สถานที่ไงหล่ะครับ....
ขอเทิดทูนศักดิ์ศรียิ่งสิ่งใด
...แม้แต่ลมหายใจก็ยอมพลี
โลกยังไม่สิ้นหวัง ถ้ายังมั่นในความดี
...ศรัทธาไม่เคยหน่ายหนี คนดีไม่มีวันตาย
Posted 27 September 2013 - 18:02
ขอบพระคุณมากค่ะ คุณ RaRa
โห ศึกษามาเยอะจริง ๆ เลยนะค่ะ
ก็อยากจะรู้หน่ะครับ ว่าที่มาที่ไปเป็นไงมั่ง เทพและศาสดา แต่ละองค์ เป็นยังไง มายังไง
เพราะถ้าเรา ศรัทธา และ นับถือไป แล้ว มันจะกลับตัวยากครับ ( เหมือนสิ่งมีชีวิต ที่สวมเสื้อสีแดง ไงครับ - โยงซะหน่อยนึง )
ป.ล. ผมนับถือศาสนาพุทธ นะครับ แต่ ก็ศรัทธา ในองค์พระพิฆเนศ เป็นอย่างยิ่งด้วยครับผม
ขอเทิดทูนศักดิ์ศรียิ่งสิ่งใด
...แม้แต่ลมหายใจก็ยอมพลี
โลกยังไม่สิ้นหวัง ถ้ายังมั่นในความดี
...ศรัทธาไม่เคยหน่ายหนี คนดีไม่มีวันตาย
Posted 28 September 2013 - 10:00
ขอบพระคุณมากค่ะ คุณ RaRa
โห ศึกษามาเยอะจริง ๆ เลยนะค่ะ
ก็อยากจะรู้หน่ะครับ ว่าที่มาที่ไปเป็นไงมั่ง เทพและศาสดา แต่ละองค์ เป็นยังไง มายังไง
เพราะถ้าเรา ศรัทธา และ นับถือไป แล้ว มันจะกลับตัวยากครับ ( เหมือนสิ่งมีชีวิต ที่สวมเสื้อสีแดง ไงครับ - โยงซะหน่อยนึง )
ป.ล. ผมนับถือศาสนาพุทธ นะครับ แต่ ก็ศรัทธา ในองค์พระพิฆเนศ เป็นอย่างยิ่งด้วยครับผม
ขอบคุณในน้ำใจ รวมทั้งสมาชิกท่านอื่นๆด้วยณ๊ จริงๆในความคิดผม
ผมคิดว่าทุกศาสนาสอนให้คนเป็นคนดีหละครับ แต่วิธีแนวทางในการปฎิบัตแตกต่างกันครับ
คลิ๊ก
Edited by oohHo, 3 October 2013 - 19:31.
0 members, 0 guests, 0 anonymous users