เป็นบทวิเคราะของคุณ jelly_fish เว็บพันทิป ในกระทู้นี้ http://pantip.com/topic/30861582
................................................................................
Stagnation = ภาวะเศรษฐกิจถดถอย
Inflation = ภาวะเงินเฟ้อ
และเมื่อทั้งสองเกิดพร้อมๆกัน...เกิดเป็น Stagflation หรือภาวะถดถอยในขณะที่เงินเฟ้อก็สูงมากๆ ที่พวกเราจะได้เห็นกันในไม่นานนี้...
นโบายประชานิยม โดยเฉพาะค่าแรง 300 กะป.ตรี 15,000 นั้นเริ่มทำหน้าที่ของมันอย่างดีในช่วงแรกๆที่บังคับใช้ (เมษา 2555) เพราะทำให้เกิด "ชนชั้นกลางใหม่" (หรือชนชั้นกลางเทียม) ขึ้นมามากจากฐานรากของสังคม ทำให้การบริโภคพื้นฐานถูกยกระดับขึ้นมา เพราะคนเริ่มเป็นผู้เลือกซื้อสินค้า ไม่จำเป็นต้องใช้ของเกรดล่างๆอีกต่อไป กินอาหารแพงๆเพื่อยกสถานะทางสังคมขึ้นได้เป็นบางมื้อ ทั้งนี้การบริโภคที่ "ปรนเปรอ" ตัวเองของรากหญ้านั้นมีส่วนกระตุ้นให้ "Modern Trade" ขยายตัวเร็วมากใน 1-2 ปีนี้ รวมถึงรากหญ้าต่างจังหวัดก็มีโอกาสได้เดินโรบินสัน เซ็นทรัล กะเค้าบ้างเหมือนกัน
ชนชั้นกลางเดิม... ได้ขยับรายได้ขึ้นมา เพราะฐานล่างโดนยกขึ้นมาเป็น "ขั้นบันได" จนเพียงพอที่จะใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ทั้งไปเที่ยวต่างประเทศกันเยอะมากขึ้นบ่อยขึ้น, ซื้อรถใหม่, ซื้อคอนโดกลางเมือง ซึ่งผลดีของ 300 น่ะมีจริง เศรษฐกิจหมุนเวียนได้ค่อนข้างสะพัด
แต่การที่รัฐต้องการให้แคมเปญ "แรง" เพื่อให้ผู้เลือกตั้ง "จำ" ตัวเองได้แม่นๆ เลยไปกำหนดระยะเวลาในการใช้สิทธิ์ให้เกิดการ "กระจุกตัว" ในภาคธุรกิจบางอย่าง โดยเฉพาะการก่อหนี้ระยะยาวอย่าง "รถคันแรก" 1.3 ล้านคัน .....นั่นทำให้เงินประมาณ 10,000 ล้านบาท (รถล้านคัน เฉลี่ยผ่อน 10,000) ในแต่ละเดือนไม่ได้ถูกนำไปหมุนเศรษฐกิจภาคอื่นๆบ้าง แต่ถูกโยนไปผ่อนรถอย่างเดียวทั้งก้อน
...หมดกัน คนอุส่าห์มีเงินเพิ่ม ยอมแลกกับเงินเฟ้อนิดหน่อย แต่เศรษฐกิจหมุนดี คึกคักขึ้น เดี๋ยวก็หมุนมาเป็น VAT ที่มากขึ้นไปด้วย
..........แต่กลับเอา "รถคันแรก" มาดูดเงินกลับไปหมด
GDP = G + I + C + (X-M)
G = ค่าใช่จ่ายรัฐ
I = เอกชนลงทุน
C = บริโภคหมุนเวียนภายใน
X-M = ดุลการค้า (ส่งออก - นำเข้า)
G : เอาไปคืนภาษีรถคันแรก 90,000 เอาไปจำนำข้าวหลักแสนล้าน... สรุปรัฐใช้เยอะ แต่ไม่เกิดผลผลิดเป็นลูกโซ่กับเศรษฐกิจ
I : SMEs เจอศึกหลายด้าน ไหนจะค่าแรงพนักงานเพิ่มเป็นขึ้นบันได ไหนจะจ่ายภาษีเพิ่มกัน (แต่รายใหญ่ ลดให้เค้า 10%) ปิดไปก็เยอะ ส่วนใหญ่ทรงๆ ไม่ตาย ไม่ขยาย
C : ผู้บริโภคก่อหนี้มาก ทั้งผ่อนรถคันแรก ผ่อนSmart Phone Tablet ทั้งหลาย ค่าพลังงาน ค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้น เป็นส่วนหนึ่งที่คนต้องลดบริโภคที่เค้าคิดว่าจำเป็นน้อยลงไปก่อน
X : ส่งออกพวก OEM (รับจ้างผลิต) ทะยอยเลิกกิจการ พวกส่งออกข้าวก็ไปซื้อข้าวเขมรส่งออกแทน (สูญเสียความสามารถในการแข่งขัน)
M : นำเข้าสินค้าฟุ่ยเฟือยมามาก เพราะค่าเงินบาทเทียบต่างประเทศแล้วแข็งกว่า รวมทั้งไปเที่ยวเมืองนอกกันมาก
Stagflation...
...คำถามที่หลายคนมาตั้งกระทู้ในห้องนี้ ว่าทำไมเงียบขนาดนี้
คำตอบเพราะ "คนไม่มีเงินครับ" เงินเฟ้อสูงขึ้นมาก เข้าสู่ภาวะข้าวยากหมากแพงเต็มๆ แต่ไม่ได้เกิดจากคนแย่งกันซื้อดันระดับราคา (Demand Size) หากแต่เกิดจากคนไม่มีเงิน --> ค่าครองชีพสูงเกินค่าแรงที่ได้รับเพิ่มครับ (Supply Size) เช่น ราคาข้าวที่เพิ่มไข่ดาว เดี๋ยวนี้บวก 10-15 บาท, ราคาปูนซิเมนต์ ปี 55 เฉลี่ย 85 บาท ตอนนี้ 130 บาท, LPG & NGV ฯลฯ
ทางออก คือ กระชากค่าแรงขึ้นอีกรอบ โดยคุมราคาสินค้าให้นิ่งก่อน(ไม่งั้นสินค้าขยับราคาตาม มาตราการก็ล้มเหลว)
แต่...การกระชากค่าแรงขึ้นรอบนี้ จะเป็นการทำลาย SME ทั้งระบบโดยสิ้นเชิงครับ กำไรก็น้อยอยู่แล้ว ภาษี...รัฐไม่ช่วย (เนื่องจากกำไรน้อย...แต่ช่วยลด 10% ให้รายใหญ่ที่กำไรมากอยู่แล้ว ตลกเนอะ) เจอค่าแรงช่วยชาติเที่ยวนี้... จะเหลือแต่รายใหญ่สุดในอุตสาหกรรมนั้นๆครับ
จากนั้นรายใหญ่จะค่อยๆผสมพันธุ์กันครับ กลายเป็น "แชโบล" (Chaebol) เหมือนเกาหลี่ใต้ ไม่มี SME ในอุตสาหกรรมหลักครับ กลายเป็นลูกจ้างแชโบลทั้งหมด จากนั้นแผนพัฒนาประเทศจะถูกกำหนดโดยกลุ่มทุนพวกนี้ เป็นผู้กำหนดตัวผู้นำประเทศ มองผู้บริโภค (ซึ่งกลายมาเป็นลูกจ้างแล้ว) เป็นเพียงแรงงานที่ไม่มีปากเสียง โอกาสขยับทางชนชั้นกลายเป็น 0 ครับ
"แชโบล" ในเกาหลีใต้นั้น ประมาณ 10 กลุ่มบริษัท กินแชร์ถึง 90% ของ GDP ของประเทศนะครับ คิดดูแล้วกันว่าเจ้าของบริษัทแต่ละกลุ่มเค้าจะรวย มีอิทธิพลขนาดไหน (เจ้าของซัมซุง โดนคดีหนีภาษี ...ศาลตัดสินว่าผิดจริง แต่ มีคุณกับประเทศมากมาย เราไม่สามารถ "ขัง" เค้าได้ สุดท้ายไม่มีอะไรเกิดขึ้น)
...เจ็บนะครับ พยายามล้มอำมาตย์กัน เพื่อไปเป็นทาสนายทุนอย่างภาคภูมิ
...................................................................จบ.