ราคายางตกต่ำในรอบนี้ เกิดจากการทำงานผิดพลาดของ รัฐบาลนะครับ อยู่ไปเซ็นต์สัญญาจะซื้อจะขายโดยไม่ระบุราคายางจำนวนหลายแสนตัน เมื่อต้นปี 55 แม้จะกระตุ้นราคาได้ในระยะแรก แต่การที่อยู่ๆ มีคำสั่งซื้อดักคอในราคาที่จำกัด (เซ็นต์ขายราคาไม่เกิด 100 บาทต่อกิโลกรัม ) ก็เลยส่งผลให้พ่อค้าคนกลางบีบราคาซื้อจากเกษตรกร 55 56 ราคาสวิงตัว ไม่มีอะไรมาเปลี่ยนแปลงกระทบ แต่สิ่งที่กระทบไปแล้วคืองบหลายหมื่นล้าน ที่ รมต. รัฐบาลนี้เอามาละเลง หัดฟังม็อบเกษตรกรเค้าปราศรัยบ้างว่าเค้าพูดอะไร ไม่ใช่คิดไปเองด้วยปัญญาอคติ
บันทึกความเคลื่อนไหว
ปี 2540
วิกฤตเศรษฐกิจ ราคายางผันผวนปรับตัวลดลง
วิกฤตต้มยำกุ้ง เศรษฐกิจถดถอย อุตสาหกรรมยางซบเซา
ก.ค. ลอยตัวค่าเงินบาท ราคายางต่ำสุดรอบปี กก.ละ22.59 บาท
จีนลดนำเข้า ยางค้างสต๊อคกว่า 150,000 ตัน
รัฐแทรกแซงราคายางแผ่นดิบคุณภาพ 3
4 ก.พ.-3 มี.ค. กก.ละ 25.00 บาท
4 มี.ค.-12 พ.ค. กก.ละ 27.50 บาท
15 พ.ค.-31 ก.ค. กก.ละ 29.00 บาท
1 ส.ค.- 31 ต.ค. กก.ละ 27.50 บาท
ส.ค. น้ำท่วมภาคใต้
ก.ย. ไฟไหม้ป่าสุมาตราและกาลิมันตัน(อินโดนีเซีย)
ราคายางผันผวน
ก.ค. ต่ำสุด กก.ละ 22.59 บาท
ต.ค. สูงสุด กก.ละ 27.77 บาท
ปี 2541
เศรษฐกิจซบเซา ราคายางถดถอย รัฐยังคงแทรกแซง
ม.ค. เกิดวิกฤตค่าเงินบาท อ่อนค่ามากที่สุด 56.06 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ
เศรษฐกิจจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ซบเซา จีนชะลอการนำเข้า ผู้ใช้ชะลอซื้อ อินโดนีเซียเทขายยาง
ส.ค. และ พ.ย. องค์การยางธรรมชาติระหว่างประเทศ (INRO) ซื้อยาง 80,000 ต้น
รัฐแทรกแซงราคายางแผ่นดิบคุณภาพ 3
20 ม.ค.-6 เม.ย. กก.ละ 25.00 บาท
7 เม.ย.-29 พ.ย. กก.ละ 27.00 บาท
30 พ.ย.-31 ธ.ค. กก.ละ 25.00 บาท
ธ.ค. เพิ่มวงเงินแทรกแซง อีก 4,000 ล้านบาท
ครึ่งปีหลัง ราคายางลดลง
ก.พ. สูงสุด กก.ละ 30.83 บาท
ธ.ค. ต่ำสุด กก.ละ 19.04 บาท
ปี 2542
เศรษฐกิจยังแย่ ตลาดยางยังซบเซา
ก.พ. ไทยลาออกจากอินโร (INRO)
ต.ค. อินโร ปิดองค์กรหลังดำเนินการมา 19 ปี
รัฐแทรกแซงราคายางแผ่นดิบคุณภาพ 3
11 ม.ค. - 31 มี.ค. กก. ละ 21.00 บาท
16 มิ.ย. - 15 ส.ค. กก. ละ 20.50 บาท
16 ส.ค.- 10 ต.ค. กก. ละ 20.00 บาท
11 ต.ค.- 31 ธ.ค. กก. ละ 21.00 บาท
ราคายางลดลง ไทยขายยางแทรกแซงให้จีนและญี่ปุ่น และการปิดตัวของอินโร
ราคายางลดต้นปี เพิ่มปลายปี
ส.ค. ต่ำสุด กก.ละ 16.81 บาท
พ.ย. สูงสุด กก.ละ 24.48 บาท
ปี 2543
อินโรขายยาง สต๊อกผู้ใช้มีมาก
อินโรกำหนดมาตรการขายยาง 138,000 ตัน
สต๊อคยางญี่ปุ่น 26 ธค. 54 สูงสุดในรอบ 16 ปี (73,388 ตัน)
รัฐแทรกแซงราคายางแผ่นดิบคุณภาพ 3
1 ม.ค. - 6 ก.พ. กิโลกรัมละ 21.00 บาท
7 ก.พ. - 14 ส.ค. กิโลกรัมละ 21.50 บาท
15 ส.ค. - 17 ก.ย. กิโลกรัมละ 22.00 บาท
18 ก.ย. - 7 พ.ย. กิโลกรัมละ 22.50 บาท
8 พ.ย. - 31 ธ.ค. กิโลกรัมละ 24.00 บาท
พ.ย. เกิดน้ำท่วมใหญ่จังหวัดสงขลาและพื้นที่ใกล้เคียง
ม.ค. ราคายาง ต่ำสุด กิโลกรัมละ 21.20 บาท
ต.ค. ราคายาง สูงสุด กิโลกรัมละ 25.05 บาท
ปี 2544
สถานการณ์ราคายางยังไม่ดีขึ้น
ม.ค. และ มี.ค. อินโรระบายยางคลังสินค้าในเอเชีย ยุโรป และสหรัฐ
สต๊อคยางญี่ปุ่น 18 ม.ค. สูงสุดรอบปี (79,594 ตัน) และ 30 พ.ย. ต่ำสุดรอบปี (21,127 ตัน)
พ.ค. จีนซื้อยางแทรกแซง 50,000 ตัน
11 ก.ย. วินาศกรรมตึก World Trade Center สหรัฐโจมตีอัฟกานิสถาน สงครามยืดเยื้อ
ธ.ค. จีนเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก
ตลาดซบเซา ผู้ใช้ชะลอซื้อ ใช้ยางในสต๊อก รูเปียห์อ่อนค่า อินโดนีเซียเทขายยาง
มิ.ย. ราคายาง สูงสุด กก.ละ 25.58 บาท
ธ.ค. ราคายางต่ำสุด กก.ละ 17.74 บาท
ปี 2545
เศรษฐกิจโลกฟื้น ปัจจัยบวกเพิ่ม
นักลงทุนต่างชาติ แห่ลงทุนและย้ายฐานการผลิตที่จีน อุตสาหกรรมขยายตัวใช้ยางมากขึ้น
จัดตั้งองค์กรระหว่างประเทศ (ITRCo) ลดประปริมาณการผลิต 4% และส่งออก 10%
สต๊อคยางญี่ปุ่นลดลงอยู่ในระดับ 15,000 - 17,000 ตัน
รัฐแทรกแซง ม.ค. - มี.ค. กก.ละ 22.75 บาท, และก.ค. ขายยางแทรกแซง 130,000 ตัน
ราคายางปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตามสภาวะเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัว
ม.ค. ราคายาง ต่ำสุด กก.ละ 21.79 บาท
ก.ย. ราคายาง สูงสุด กก.ละ 34.08 บาท
ปี 2546
ราคายางปรับตัวสูงขึ้น
จีนผู้ใช้รายใหญ่ของโลกอุตสาหกรรมยานยนต์ขยายตัว ใช้ยางเพิ่ม สต๊อคเพิ่ม จาก 1,745 ตัน เมื่อ 25 ม.ค. เป็น 141,960 ตัน เมื่อ 28 พ.ย.
มี.ค. สงครามสหรัฐ - อิรัก น้ำมันดิบ (NYMEX) สูงขึ้นต้นปีบาร์เรลละ 30-40 ดอลล่าร์สหรัฐ
ส.ค. ยางสังเคราะห์ (SBR) กก.ละ 1.29 ดอลล่าร์สหรัฐ (53.75 บาท) สูงสุดรอบปี
ม.ค. ราคายางต่ำสุด กก.ละ 34.55 บาท
ต.ค. ราคายางสูงสุด กก.ละ 46.46 บาท
ปี 2547
ราคายางพาราทะยาน กิโลกรัมละ 52 บาท
4 ม.ค. ความไม่สงบ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กระทบผลผลิตยาง
เศรษฐกิจโลกขยายตัว จีน 10% สหรัฐ 6% และญี่ปุ่น 4.7% จีนใช้รถยนต์ เพิ่ม 5 ล้านคัน
ส.ค. ยางสังเคราะห์ (SBR) กก.ละ 1.60 ดอลล่าร์สหรัฐ (66.82 บาท) สูงสุดรอบปี
ต.ค. น้ำมันดิบ (NYMEX) สูงสุดเฉลี่ยบาร์เรลละ 53.09 ดอลล่าร์สหรัฐ
ราคามีเสถียรภาพ ม.ค. ต่ำสุด กก.ละ 43.00 บาท
มิ.ย. ราคายางสูงสุด กก.ละ 52.10 บาท
ปี 2548
ราคายางพุ่งไม่หยุดสูงสุดกก.ละ 69 บาท
จีน เศรษฐกิจและอุตสาหกรรมยานยนต์ขยายตัว แม้รัฐมีนโยบายชะลออัตราการเติบโต
สต๊อคจีน 28 ม.ค. สูงสุดในรอบปี(73,485 ตัน)
สต๊อคจีน 9 ก.ย. ต่ำสุดในรอบปี(12,835 ตัน)
ส.ค. และ ก.ย. เฮอริเคนแคททรีน่าและริต้าถล่มฐานเจาะน้ำมัน อ่าวเม็กซิกัน
พ.ย. และ ธ.ค. น้ำท่วมแหล่งป
ลูกยางภาคใต้
ก.ย. น้ำมันดิบ (NYMEX) สูงสุดเฉลี่ยบาร์เรลละ 65.55 ดอลล่าร์สหรัฐ
ม.ค. ราคายางต่ำสุด กก.ละ 40.32 บาท
ก.ค. ราคายางสูงสุด กก.ละ 64.85 บาท
ปี 2549
ราคายางสูงครึ่งปีแรก ลดลงครึ่งปีหลัง
น้ำท่วมภาคใต้ปลายปี 2548 เกิดโรคใบร่วงไฟทอปทอร่า ต้นปี ผลผลิตลด ขาดแคลนวัตถุดิบยาง
ผู้ส่งออกขายยางล่วงหน้า คาดราคาลดลง เมื่อราคาสูงแข่งกันซื้อ ผู้ใช้คาดราคายางลด ระบายยางในสต๊อค ราคาสูงถามซื้อเพิ่ม
ก.ค. น้ำมันดิบ (NYMEX) สูงสุดเฉลี่ยบาร์เรลละ 74.46 ดอลล่าร์สหรัฐ
ราคายางสูง ต้นทุนเพิ่ม อุตสาหกรรมขนาดย่อมทยอยปิดกิจการ
ราคายางลดครึ่งปีหลัง จีนชะลอซื้อ ไม่เปิดแอลซี ( L/C)
19 ก.ย. ไทยปฏิรูปการปกครอง ราคายางลดลง กก.ละ 9 บาท
ราคายาง มิ.ย. สูงสุด กก.ละ 97.58 บาท
ราคายาง พ.ย. ต่ำสุด กก.ละ 50.91 บาท
ปี 2550
ราคายางค่อนข้างมีเสถียรภาพ
เศรษฐกิจโลกขยายตัว อุตสาหกรรมยายยนต์สดใส โดยเฉพาะจีน และอินเดีย
สต๊อคยางจีนอยู่ในระดับ 70,000 - 100,000 ตัน
พ.ย. น้ำมันดิบ (NYMEX) สูงสุดเฉลี่ยบาร์เรลละ 94.63 ดอลล่าร์สหรัฐ
น้ำมันดิบราคาสูง ต้นทุนเพิ่ม สินค้าแพง ส่งผลต่อการบริโภคและการลงทุน
ก.ค. เกิดวิกฤตปัญหาอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐ
ธ.ค. เงินบาทแข็งตัวค่าสูงสุด 33.70 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ
ราคายาง ก.ค. ต่ำสุด กก.ละ 63.67 บาท
ราคายาง พ.ย. สูงสุด กก.ละ 78.46 บาท
ปี 2551
แฮมเบอร์เกอร์ฉุดราคายางดิ่ง 30 บาท
จีนผลิตยางล้อเพิ่ม 13% ครึ่งปีแรกนำยางเข้าเพิ่ม 17%
ภาวะโลกร้อน ฝนตกช่วงยางให้ผลผลิต (หลังผลัดใบ) ในแหล่งปลูกยางภาคใต้
สถานการณ์สหรัฐ - อิหร่าน โครงการนิวเคลียร์ กบฏไนจีเรีย กลุ่มโอเปกไม่เพิ่มการผลิต
ก.ค. น้ำมันดิบ (NYMEX) สูงสุดบาร์เรลละ 145.29 ดอลล่าร์สหรัฐ ธ.ค. ต่ำสุดบาร์เรลละ 33.84 ดอลล่าร์สหรัฐ
วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์กระทบครึ่งปีหลัง จ้างงานลด อำนาจการซื้อกระทบรถยนต์
จีนชะลอซื้อและรับมอบยางจากไทย
ราคายาง สูงสุด ก.ค.กก.ละ 100.98 บาท
ราคายาง ต่ำสุด ธ.ค. กก.ละ 39.98 บาท
ปี 2552
กระตุ้นเศรษฐกิจ พลิกฟื้นราคายาง
มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐ ยุโรป และเอเชีย
จีนจำหน่ายรถยนต์เพิ่ม 13.64 ล้านคัน เป็นผู้ผลิตและส่งออกรายใหญ่ของโลก
มาตรการภาครัฐ
ข้อตกลงสภาความร่วมมือด้านยางระหว่างประเทศ (ITRCo) สต๊อคยาง 700,000 ตัน
ขอความร่วมมือผู้ส่งออกขายยางไม่ต่ำกว่า กิโลกรัมละ 135 ดอลล่าร์สหรัฐ
สนับสนุนสถาบันเกษตรกรแปรรูปยางเพื่อเพิ่มมูลค่า และเก็บยาง 200,000 ตัน
สต๊อคจีน 27 มิ.ย. 41,393 ตัน ต่ำสุดรอบปี และ 31 ธ.ค. 114,548 ตัน สูงสุดรอบปี
ธ.ค. ราคาน้ำมันดิบสูงขึ้นเป็นบาร์เรลละ 74.60 ดอลล่าร์สหรัฐ
ราคายาง ต่ำสุด ม.ค. กก.ละ 64.32 บาท
ราคายาง สูงสุด ธ.ค. กก.ละ 83.65 บาท
ปี 2553
ชาวสวนเฮ ราคายางแตะ 100 บาท
จีนลดภาษีรถยนต์ขนาดเล็ก จาก 10% เหลือ 7.5% เพิ่มเงินอุดหนุนแรกรถยนต์ใหม่ เงิน 5,000 - 18,000 หยวนต่อยอดจำหน่ายรถยนต์ 18 ล้านคัน เพิ่ม 30% จากปี 2552
ม.ค. - ก.พ. เอลนิญโญ่ แล้งเร็ว ยาวนาน ผลผลิตลด ยี่ปั๊วกักตุน คาดราคายางสูง
จีนชะลอซื้อเพราะราคายางสูง ใช้ยางในสต๊อค 151,832 ตัน เมื่อ 21 ม.ค. เหลือ 14,774 คัน เมื่อ 28 มิ.ย. แล้วซื้อเพิ่มครึ่งปีหลัง สต๊อคสิ้นปี 66,545 ตัน
ราคาน้ำมันดิบ (NYMEX) ธ.ค. สูงสุดเฉลี่ยบาร์เรลละ 89.23 ดอลล่าร์สหรัฐ
พ.ย. น้ำท่วมใหญ่แหล่งปลูกยางภาคใต้ ต้นยางโค่นล้มจากพายุดีเปรสชั่น
ราคายางสูงเตะ กก.ละ 100 บาท ตั้งแต่ ก.พ.
ราคายางสูงสุด ธ.ค. กก.ละ 130.96 บาท
ปี 2554
ขึ้นช้า ลงเร็ว ราคาสุดยอด
น้ำท่วมภาคใต้ปลายปี 2553 ฝนตกหนักต้นปีทั้งไทยและมาเลเซีย ผลผลิตยางขาดแคลน
จีนชะลอซื้อยาง เนื่องจากราคาสูง ใช้ยางในสต๊อค
2 มกราคม จำนวน 68,850 ตัน
27 มีนาคม จำนาน 27,611 ตัน
สถานการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ ตั้งแต่มกราคมถึงปัจจุบัน ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบสูงขึ้นจากบาร์เรลละ 89.58 ดอลล่าร์สหรัฐ ในเดือนมกราคม เป็นบาร์เรลละ 102.98 ดอลล่าร์สหรัฐในเดือนมีนาคม
11 มีนาคม รองนายกรัฐมนตรีไทย ประชุมผู้ส่งออกยางขอความร่วมมือชะลอส่งออก และรับซื้อยางจากชาวสวนในราคาไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 120 บาท
25 มีนาคม - 6 เมษายน น้ำท่วมใหญ่พื้นที่ 10 จังหวัดภาคใต้ไทย ต้นยางพาราเสียหาย 50,000 ไร่
สถานการณ์ราคายางแผ่นดิบ ชาวสวนถูกกดราคารับซื้อช่วงขาลง
4 มกราคม กิโลกรัมละ 140.87 บาท
21 กุมภาพันธ์ กิโลกรัมละ 183.64 บาท เพิ่มขึ้นกิโลกรัมละ 42.77 บาท
14 มีนาคม กิโลกรัมละ 95.00 บาท
เอาข้อมูลมาจาก http://www.live-rubber.com/index.php/para-rubber-articles/40-para-rubber-statistic/257-factors-that-influence-the-price-of-rubber
ราคายางตกต่ำในรอบนี้ เกิดจากการทำงานผิดพลาดของ รัฐบาลนะครับ
#1
ตอบ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 13:49
POPULAR
#2
ตอบ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 13:51
POPULAR
ราคายางพาราของไทย เป็นไปตามแนวโน้มตลาดโลก สาเหตุที่ราคายางของโลกตก เพราะ
จีนมี Stock 300,000 ตัน และเศรษฐกิจจีนชะลอตัว (ปัยหารุนแรงถึงขนาดที่จีนสั่งให้ ชาวสวนยางมณฑล ไห่หนานที่ผลิตยางมากที่สุด หยุดการกรีดยาง เพื่อให้สถานการณื ดีขึ้น)
ปัญหา Stock เป็นเหตุต่อเนื่องจาก ตลาดรถยนต์มีปัญหา โรงงานผลิตต้องหยุดจากเหตุ สึนามิที่ญี่ปุ่น และน้ำท่วมที่ไทยจำนวน Stock จึงเยอะ แม้ความต้องการยางจะกลับมาแล้ว ราคาก็ยังโดน Stock เก่าดึงอยู่ เป็นภาวะ over supply
https://www.thairath...tent/eco/156253 (พินิจเตือน อย่าตระหนก งดซื้อยาง เพราะซึนามิ16 มี.ค. 54) http://www.ryt9.com/s/iq33/1698839 (จีนระงับการกรีดยางใน ไห่หนาน)
ส่วนปัญหาในไทย หนักกว่า คนอื่นเพราะเรามี 2 เรื่อง
1. มติ ครม. 24 ม.ค. 55 เรื่องการแทรกแซงยางจากตลาด รัฐบาลให้ 2 หน่วยงาน หลัก คือ องค์การสวนยาง และองค์กรเกษตรกร รับซื้อยางจากเกษตรกรจำนวน 2 แสนตันเก็บเข้าสต๊อก โดยใช้เงิน อสย. 10,000 ล้านบาท และ องค์กรเกษตรกร 5,000 ล้านบาท โดยเริ่มทยอยซื้อ ตั้งแต่ปลายเดือน ก.พ. 2555
แน่นอนครับ ปัญหานี้ไม่เหมือน จำนำข้าว แต่ผลกระทบใกล้กัน ทุกคนรู้ว่าไทยมี Stock 200,000 ตันที่ราคา ตลาด (ไม่เกิน 70 บาท) ดังนั้นผู้นำเข้าจึงไม่กล้าซื้อที่ราคาเกินแทรกแซง เพราะกลัว รัฐบาลขายตัดราคา (จำนำข้าง ผู้นำเข้ารู้ว่า ไทยมีข้าวใน Stock มหาศาล เลยบีบไม่ซื้อข้าว )
วันนี้ Stock ยางก็ยังไม่ได้รับการแก้ไข ยาง 200,000 ตันยังอยู่ แม้ผ่านมา 1 ปีแล้ว และเป็นประเด็นที่ชาวสวน ขอให้จัดการโดยด่วน
2. ร่างพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ ที่กำลังผ่านสภา ในร่างแรกของ พรบ.นี้ บอกว่า ผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์ยาง จะต้องเสัยค่าสงเคราะห์การยางหรือ CESS เพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้ เกิดการย้ายฐานการผลิต ของผู้ผลิตยางรถยนต์ และสินค้าที่ใช้ยางพาราอื่น
สองเรื่องนี้ยังไม่มีการแก้ไข หรือพูดคุยกันอย่างชัดเจน เป้นปัญหาเรื่อรัง จนส่งผลกดดันราคายาง ณ ปัจจุบัน
จากปัญหาราคายางที่เกิดชาวสวนยางพารา ได้รวมตัวเป็นเครือข่ายในชื่อ เครือข่ายชาวสวนยางแห่งประเทศไทย ไม่ได้แยกเป็นภาคอีกต่อไป โดยยางพารามีการปลูกกัน ใน 57 จังหวัดทั่วประเทศ เครือข่ายนี้จึงกระจายอยู่ใน 57 จังหวัด
จากปัญหาราคาตกต่ำ มาตั้งแต่ 2555 เครือข่ายได้เรียกร้องการแก้ไขอย่างต่อเนื่อง ซึ่งขอประมวลการต่อสู้ของเกษตรกร ดังนี้
10 มิ.ย. 56 ยื่นหนังสือถึงนายก ในการไป ครม.สัญจรที่กำแพงเพชร รอถึง ค่ำ รมต.เกษตรจึงออกมารับเรื่อง ข้อเรียกร้องขอให้ใช้ต้นทุนการผลิตที่สถาบันวิจัยยางกำหนดไว้ที่ 82 บาท ซึ่งหากรัฐบาลแทรกแซงราคายางพาราก็ขอเพิ่มขึ้นอีก 25%
17 มิ.ย. 56 รมช. ออกมาตราการให้เอกชน ฮั้วกันรับซื้อยางพารา แต่ไม่เป็นผล
14 ก.ค. 56 รมต.เกษตร ออกมาตรการช่วย โดยยึดต้นทุนที่ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร หรือ สศก.ประกาศเมื่อ 2555 คือ กิโลกรัมละ 64.19 บาท และบวกเพิ่มให้ 30 %
http://www.manager.c...D=9560000063335
24 ก.ค. 56 ชาวสวนยางไม่พอใจวิธีการคิดต้นทุนของรัฐบาลที่ไม่สะท้อนความจริง จึงไปยื่นหนังสือเรียกร้องที่ศาลากลางที่เครือข่ายอยู่แต่ละจังหวัดเพื่อเรียกร้อง ให้กำหนดราคายางแผ่นรมควัน ชั้น 3 ราคา 101 บาท/กก. ราคายางแผ่นดิบคุณภาพ 3 ราคา 92 บาท/กก. ราคาน้ำยางสด 81 บาท/กก. และยางก้อนถ้วย ราคา 82 บาท/กก.
http://www.komchadlu...ml#.UhjhOxt7IYs
29 ก.ค. 56 รมต.ส่งต่อ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์(อดีต รมต.เกษตร ไทยรักไทย) ดูแลปัญหา ชาวสวนมองว่า นายยุคล หนี ไม่ยอมเจรจา
18 สิงหาคม เครือข่ายชาวสวนยาง ขู่ยกระดับการชุมนุม ทั่วประเทศ
จากเรื่องราวทั้งหมดเห็นว่า ชาวสวนยางได้เรียกร้องมาเป็นลำดับ แต่รัฐบาลไม่เคยสนใจแก้ไข ง่ายๆ รมต.เกษตร นายยุคล ไม่เคยนั่งโต๊ะเจรจากับชาวสวนยาง เรื่องการชดเชยราคายางที่ขาดทุน ปัญหาคือ ต้นทุนที่ถือกันคนละตัว คนที่กล่าวหา ชาวสวนยางอยู่ในเนตตอนนี้ ไม่เคยโงหัวขึ้นดูว่า ชาวสวนยางเรียกร้องอะไร กลับก่นด่า และนำมาเป็นประเด็นทางการเมือง ชาวสวนยางเรียกร้องความยุติธรรม ทำไมสินค้าเกษตรอื่น แทรกแซงราคาได้ แต่ยางเกิดอะไรขึ้น และการใช้งบ 15,000 ล้านบาท ก็เป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ตรงจุด ชาวสวนยาง แก้ปัญหาตัวเอง หลายอย่าง ทั้งลดการกรีดยางลงเพราะไม่คุ้มทุน แต่เพราะต้องกินต้องใช้ รู้ว่าขาดทุนก็ยังต้องทำ ปัญหาวันนี้คือ ต้นทุนที่สูง ไม่มีการเหลียวแลแก้ปัญหาให้ตรงจุด กลับใช้กลใกการฮั้วราคาที่ไม่ได้ผล เพราวันนี้ อินโด และ มาเลย์ ไม่มี Stock 200,000 ตันเหมือนเรา แค่นี้คงทราบดีแล้วว่า ปัญหาเกิดจากใครกันแน่ ผมขอร้องทุกท่านที่กำลังกล่าวหาเกษตรกร แม้เค้าจะไม่ยากจนเท่าชาวนา แต่คำว่ายุติธรรม ในฐานะที่เค้าก็เป็นเกษตรกรคนหนึ่งรัฐควรจัดการอย่างไร
#4
ตอบ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 13:54
สงสัยเค้าคงคิดได้แค่ เกษตรกรที่น่าสงสารคิอ ชาวนา
ชาวนาที่ 20 ไร่ 50 ไร่ 100 ไร่ ก้อรวยพอๆกับชาวสวนยางขนาดใหญ่ แต่ที่จริงประเทศนี้มีชาวนา ชาวสวน 10 ไร่ หรือต่ำกว่ามากมาย
คนแบบนี้ คืออคติชน ตัวจริง ที่รับเงินรายเดือน จากแม้ว
ุุพอเกษตรกร ที่ไม่เลือกเพื่อไทย เดือดร้อน มันออกมาด่า
เซเลบเสื่้อแดง นี่ อยากพูดอะไร ก็พูดนะครับ หลักฐานซักนิดก้อไม่มี
ผมไม่ถามคนใต้นะครับ ว่าอ่านแล้วคิดว่าไง แต่อยากถามคนภาคอื่น ว่าอ่าน คนแบบนี้เขียน แล้วรู้สึกอย่างไร
จิบน้ำชา แดกเหล้า ซื้อรถป้ายแดง ราคาลดนิดหน่อยไม่มีเงินผ่อนมาปิดถนน คนใต้ที่ไม่มีสวนยางเขายังด่า
ทำ ๆ ไปเถอะมึง เอาให้ถึงช่วง ไฮซีซั่นเลยนะ แค่นี้อาหารทะเลประมง ก็ยุ่งแล้ว เอาให้มัยชิบหายทั้งภาค ดูซิ ว่า ส.ส. แมงสาบมันจะดูแลป่าว เออๆๆๆ — รู้สึกได้รับพร <<<<<
- เช never die, pookem, เงาไม้ and 1 other like this
#5
ตอบ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 14:01
เท่าที่อ่านดู ปัจจัยความสำเร็จของรอบที่แล้วคือ เราไม่มีสต็อคยางและความซื่อสัตย์ผู้ค้าส่งออกยางและรัฐบาลร่วมด้วยช่วยกันดัน แต่รอบนี้มียางตุนแล้วแถมความซื่อสัตย์ต่อกันก็ยังไม่มี เอวัง ต้องหาทางใหม่ใช้แบบเดิมไม่ได้แล้ว
มันจะทำให้เราคิดก่อนพูดได้ดีขึ้น เมื่อเชื่อว่าคำพูดที่ออกไปเหล่านั้นคือคำที่เราจะได้ยินเองในอนาคต
และถ้าเราจะทำดีได้มากขึ้น เมื่อเชื่อว่าเราจะได้เจอสิ่งดีๆในอนาคต
แม้ว่าวันนี้เราจะยังไม่เห็นว่ามันดีอย่างไรแต่อย่างน้อยทำให้เราผ่านวันนี้ไปได้อย่างราบรื่น
#6
ตอบ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 14:09
ทำได้จริงก็ทำสิคับ เป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง 2 ปีผ่านไป ทำเอียอะไรเรื่องนี้ไปเเล้วบ้างคับ คุณใบตองเเห้ง1150134_626753034012185_1116280458_n.jpg
- Bookmarks likes this
#7
ตอบ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 15:00
สิ้นยุคทองราคายาง ? : สาเหตุ ผลกระทบ และทางออก ถนัด ตันสกุล มิถุนายน 2556
http://www.bot.or.th...dhipricerub.pdf
จงกล้าที่จะใช้ปัญญาญาณของตนเอง โดยปราศจากการชี้นำจากผู้อื่น(คานท์)
#8
ตอบ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 16:32
สิ้นยุคทองราคายาง ? : สาเหตุ ผลกระทบ และทางออก ถนัด ตันสกุล มิถุนายน 2556
พอยางตกมีหลักการขึ้นมาเชียว ตอน 49 บอกเพราะทักษิน
- เพื่อนร่วมชาติ, -3-, Bookmarks and 3 others like this
#9
ตอบ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 16:42
สิ้นยุคทองราคายาง ? : สาเหตุ ผลกระทบ และทางออก ถนัด ตันสกุล มิถุนายน 2556
http://www.bot.or.th...dhipricerub.pdf
แล้วสองปีที่ผ่าานมารัฐบาลทำอะไร หรือว่าถ้าไม่ใช่รัฐบาลนี้ป่านนี้ราคาตกไปสามสิบบาทแล้ว
- Bookmarks and แอบดูที่รูเดิม like this
#10
ตอบ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 17:20
จริง จริง ไม่ควรมีนโยบายแบบนี้ออกมาตั้งแต่แรกแล้วครับ ทั้งข้าว ยาง และผลผลิตทางการเกษตรอื่นๆด้วย
หลักการแก้ไขของทุกๆรัฐบาล ก็คือการแทรกแซงราคา ซึ่งจะทำให้กลไกเมื่อเทียบกับราคาตลาดโลกแล้วจะผิดจากความเป็นจริง
ข้าวกับยาง ที่เป็นปัญหาตอนนี้ก็คือ
ข้าว แทรกแซงโดยการเอาเงินภาษียัดใส่กระเป๋าให้ชาวนาโดยตรง
ตามที่ได้ให้สัญญาไว้ก่อนเลือกตั้ง และชาวนาเป็น ฐานเสียงส่วนใหญ่ที่เลือกรัฐบาล
ปัญหาก็คือ การรับจำนำ รัฐจะเป็นผู้ซื้อขายเองทั้งหมด ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายอื่นๆที่เพิ่มตามมาคือ " สต็อกข้าว " ทำให้ต้องเร่งขายแบบขาดทุน ซื้อก็ขาดทุน ขายก็ขาดทุน และต้องเร่งหาเงินมาในรอบต่อๆไป ( กระเป๋าฉีกแร่ะ)
สำหรับราคายางนั้น ก็ถูกบิดเบือนจากราคาจริงไปมาก เพราะ ไม่ได้ดูกลไกตลาด ความเป็นไปได้ของราคาที่ควรเป็น แต่กลับให้สัญญาต่างๆนานา และก็คงเป็นไปได้ยากกับราคาปัจจุบันที่ชาวยางเรียกร้องตอนนี้
การแทรกแซงใช่ว่าจะต้องจับเงินส่วนต่างยัดใส่กระเป๋า ชาวไร่ ชาวนาอย่างเดียวครับ มีอีกหลายวิธีการ
เมื่อรัฐบาลเลือกใช้วิธีแบบนี้ ผลที่ตามมาก็เป็นแบบที่เห็นครับ คือไม่มีเงินให้อีกแล้ว ไม่รู้จะหาตรงไหนมาโป๊ะ
ต้องรอเงินกู้ก่อนครับ ถ้าเงินมาไม่ทันก็จะมี ม็อบอื่นๆออกมาอีกแน่นอนครับ
ถ้าจะถามว่าทำไมชาวนาได้ แต่ชาวยางไม่ได้ ตอบได้เรยครับ เพราะชาวยางไม่ใช่ฐานเสียงของรัฐบาล
จะเอาเงินจากชาวนาโยกไปให้ก็จะยุ่งมากขึ้นครับ แก้ปัญหาราคายางได้ ก็เสมอตัว ไม่เคยได้เสียงอะไรจากตรงนี้มากอยู่แล้ว จึงต้องดูแลชาวนาก่อนไงครับ
คอยดูม็อบต่อๆไปที่จะออกมาอีกละกันครับ
เป็นความคิดเห็นส่วนตัวครับ
- Bookmarks, ต่อมเดือดแตก, pookem and 2 others like this
#11
ตอบ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 17:35
- ต่อมเดือดแตก and mr.patton like this
เคียงข้างลุงกำนัน ปฏิรูปการเมืองไทย กำจัดระบอบทักษิณ ขับไล่มวลหมู่ขี้ข้า วันที่ 26 พฤษภาคม 2557...
#12
ตอบ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 22:41
คิดกันไปเองว่า มีแต่ชาวสวนภาคใต้ ออกมาประท้วง ทั่งที่เครือข่ายชาวสวนยาง 57 จังหวัดประท้วงร่วมกันมาเป็นปี
ชนินท์ ประกาศมานาน ว่าชอบให้ความรู้กับ แดงบ้านๆ
นี่ไงครับ ความรู้ที่มันให้
มันให้ความรู้ที่มันสร้างขึ้น เพื่อหลอกเสื้อแดงให้เกลียดคนที่มันเกลียด
ไม่ให้ผมโกรธ จะให้ผมจ่ายเงินเลี้ยงมันทุกเดือนแบบทักษิณ เหรอ ไม่ไหวครับ
https://www.facebook...&type=1
#13
ตอบ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 22:42
ผลพ่วงจากบัตรเครดิตของเกษตรกร ที่จังหวัดอื่นๆๆ หวานอม ขมกลืน ใช่ปะ กลุ่มเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตกรภาคใต้ ชุมนุมประท้วงหน้า ธอส.นครศรีธรรมราช ประณามยับยึดทรัพย์สินเกษตรกรมาจำหน่าย-แฉทำตามข้อตกลงและยังฟ้องดำเนินคดีกับเกษตรกรลูกหนี้ http://www.dailynews...thailand/229093
#14
ตอบ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 22:55
สุดยอดมะ กับนโยบายประชานิยม
แต่ไม่ยอมให้ความรู้ เลี้ยงโดยปิดหูปิดตา
#15
ตอบ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 00:39
มีพีคนหนึ่ง เเกให้ข้อคิดเห็นมาเเบบนี้คับ ผมว่ารัฐบาลก็รู้เเต่ไม่ทำ
ทำไมไม่เจรจา "ขอร้องทั้งม็อบ และรัฐบาล"
ข้อเสนอ รูปแบบการเจรจา จะได้ไม่ต้องมาเถียงกันว่า ข้อมูลใครถูกใครผิด
ม็อบสวนยาง จะเจรจาก็เจรจาได้ ต้นทุนของกรมเศรษฐกิจการเกษตรบอกว่า 64.19 บาทต่อกิโลกรัม บวกกำไร 30% ให้ราคาประกันที่ 83 - 85 บาท
จะดื้อแพ่งกันทำไมเจรจา กันอีกหน่อย น่าจะอยู่ที่ 90 บาท แปลว่าชดเชยอยู่ที่กิโลกรัมละ 20 - 25 บาท
การที่ออกข่าวว่า เกษตรกรรับที่ราคากิโลกรัมละ 80 บาท เป็นตัวเลขที่ต่ำกว่าที่ รมต.เกษตร เคยเสนอ ข้อเสนอของ รมต.คือ 64.19 + 30% หรือ 83.4 บาท / ข้อเสนอเกษตรกรคือ 82 + 25% หรือ 102 บาท ข้อเสนอเหล่านี้เคยพูดคุยกันเมื่อ เดือน มิถุนายน จะเห็นว่า 90 - 95 น่าจะเป็นราคาชดเชยที่สรุปลงตัว
คราวนี้เงื่อนไขการชดเชย เพื่อแก้ปัญหาระยะยาว ให้ลดกำลังการผลิตเพราะยางพาราล้นตลาดโลก โดยควรเสนอชดเชยให้ เดือนละ 1 แสนตัน เป็นเงิน 2- 2.5 พันล้านบาทต่อเดือน มาตรการอยู่ครั้งละ 6 เดือน ครบแล้วคุย ครบแล้วคุย
ไทยมีผลผลิตยาง ปีละ 3.5 ล้านตัน แต่จะชดเชยแค่ปีละ 6 แสน ถึง 1.2 ล้านตัน และครอบครัวละไม่เกิน 10 ไร่ ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นอีกปีละ 6,000 บาท เป็นการผ่อนคลาย ภาระ ชาวสวนและเป็นการยุติธรรมต่อชาวสวนขนาดเล้ก
แต่ต้องเจรจาเลยว่า 6 เดือนต่อไป จะลดเงินชดเชย หรือปริมาณชดเชย ลงเรื่อยๆ เพื่อมีเวลาให้เกษตรกร ปรับตัวรองรับภาวะยางล้นตลาด
ใช้เงินปีละประมาณ 30,000 ล้านบาท เทียบกับอุตสาหกรรม ยาง และธุรกิจต่อเนื่อง ปีละ 7 แสนล้านบาท มีคนเกี่ยวข้อง ประมาณ 6 ล้านคน
และเทียบกับมาตรการสมัย รมช.ณัฐวุฒิ ที่ใช้เงิน 15,000 ล้านบาท รับซื้อยางได้ 2 แสนตัน แต่ครั้งนี้ จะช่วยชาวสวนถึง 6 แสนถึง 1.2 ล้านตัน
วันนี้เป็นเกมส์การเมือง ที่น่ารังเกียจแล้วหล่ะ
รัฐบาลก็ ยื้อเวลาให้เกิดภาพไม่ดีกับ ม็อบ
ฝ่ายค้าน ก้โหน ม้อบ เข้าตีรัฐบาล
แต่ที่น่ารำคาญคือเสื้อแดงในเนต มึงจะด่าคนใต้ทำไมครับ แค่เพราะ ปชป.มีฐานเสียงอยู่ภาคใต้แค่นั้นเหรอ ไม่ยุติธรรมต่อเค้าเลย
แต่... ณ วันนี้พืชเศรษฐกิจอีกสามรายการคือ มันสำปะหลัง อ้อย ข้าวโพด กำลังจ่อคิวมา ทั้งหมดนี้เพราะ เหตุผลเดียวเลยคือ ต้นทุนสูงขึ้น ตลาดชะลอตัว
สิ่งที่รัฐบาลไม่ได้เตรียมไว้เลย คือการกันงบประมาณเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ
ดังนั้น วันนี้ผมมองว่าเหตุผลเดียวที่รัฐบาลไม่อยากชดเชยราคาพืชผลการเกษตรให้ใครอีกแล้วคือ รัฐบาลใช้เงินทั้งหมดจมลงไปกับโครงการรับจำนำข้าว ซึ่งนั่นคือคำเตือนของคนที่ไม่เห็นด้วยกับโครงการจำนำข้าวทุกคน ว่าจะสูญเสียโอกาสในการใช้เงินเพื่อโครงการอื่น ค่าใช้จ่ายโครงการเพิ่มขึ้นทุกเดือนโดยที่ไม่ได้ก่อประโยชน์อะไรให้กับเกษตรกรเลย
*** นี่คือข้อเสนอ ไม่มีถูกผิด มองความเป็นไปได้ของทุกฝ่าย รัฐบาลใช้เงินพอสมควร 30,000 ล้าน เพื่อความยุติธรรมกับเกษตรกรทุกคน
#16
ตอบ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 01:04
พิชัย นริทพันธ์ หายหัวไปไหนแล้วล่ะ ปากบอกว่า ไอ้แม้วเคยทำราคาได้มากที่สุด ทำไมตอนนี้หายหัวไปเลยล่ะ ไอ้เต้นบอกว่า จะทำให้ราคายาง 120 บาท แล้วทำไมไม่ให้ พรรคนี้ดีแต่โม้ ดีแต่ตอแหล กันทั้งพรรค
#18
ตอบ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 07:38
โดยปรกติราคายางจะแปรตามราคาน้ำมันดิบ แต่ถ้ามีฝีมือ ก็ทำให้ราคายางสูงได้ ดูที่กร๊าฟ ก็รู้ว่าราคายางพุ่งเกินระดับราคาน้ำมันเปรียบเทียบ
- mr.patton likes this
Tam-mic-ra ฟันธง! คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ ..... คิดครับคิด จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96 ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3
#19
ตอบ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 08:43
แต่สำหรับผม การนำข้อมูล ราคา ต่อเวลา แล้วอธิบายว่า ช่วงเวลาไหน ราคาดี ไม่ดี เป็นผลงานใคร มันไม่ครบถ้วน
ราคายางมีปัจจัยมากมาย ดังที่ข้อมูลในเพจนั้นกล่าวไว้ แต่สิ่งหนึ่ง และเป็นสิ่งสำคัญที่เพจนั้นไม่ได้นำมาแสดง คือ สหสัมพันธ์ ที่แท้จริงของราคายางพารา
โดยทั่วไปเรามักจะเชื่อว่าราคาน้ำมัน ส่งผลต่อราคายางพารา เพราะน้ำมัน เป็นวัตถุดิบของยางสังเคราะห์ สินค้าทดแทนของยางพารา แต่มีคนพยายาม สร้างสหสัมพันธื ราคาน้ำมัน กับราคายาง กลับพบว่า บางช่วงเวลาค่าความสัมพันธืของราคาทั้งสองไม่ได้เป็นไปในแนวเดียวกัน
อย่างการศึกษา เรื่อง "ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ในตลาดซื้อขายล่วงหน้า." ของ สุชาดา แก้วดวง (มศว.) สรุปได้ว่า
ณ ระดับความเชื่อมั่น 99% ที่เหลือเกิดจากปัจจัยอื่น ๆ ที่ไม่ได้ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ โดยปัจจัยที่มีส่งผลกระทบต่อตัวแปรตามหรือราคายางแผ่นดิบชั้น 3 ในตลาดซื้อขายล่วงหน้า สามารถอธิบายได้ดังนี้
1. สัมประสิทธิ์ของราคายางแผ่น ณ ตลาด F.O.B กรุงเทพ เท่ากับ 0.9365 หมายความว่า
เมื่อราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ณ ตลาด F.O.B กรุงเทพ เปลี่ยนแปลงไป 1 บาทต่อกิโลกรัม ส่งผลให้
ราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ในตลาดซื้อขายล่วงหน้าเปลี่ยนแปลงไป 93.65 เปอร์เซ็นต์ โดยเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกัน ที่ระดับความเชื่อมั่น 99%
2. ค่าสัมประสิทธิ์ของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศบาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 0.3255
หมายความว่าเมื่ออัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เปลี่ยนแปลงไป 1 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ในตลาดซื้อขายล่วงหน้าเปลี่ยนแปลงไป 32.55 เปอร์เซ็นต์ โดยเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางตรงกันข้าม ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ส่วนปัจจัยที่เหลืออีกสองตัวได้แก่ ราคาน้ามันและมูลค่าการส่งออก ค่าของ Prob. มากกว่า 0.05ซึ่งหมายถึงปัจจัยทั้งสอง ไม่มีความสัมพันธ์เชิงเส้นกับราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ในตลาดซื้อขายล่วงหน้า
นี่คือปัญหาใหญ่ที่สุดของการนำเสนอข้อมูล ตัวแปรเดียว และอธิบายแนวโน้ม อะไรก็ได้เข้ามา
สิ่งที่ดีที่สุดคือการใส่ตัวแปร อะไรก็ตามที่สามารถอธิบาย แนวโน้มของราคายางพารา ได้ดีกว่านี้ เช่นใน Cycle ขึ้น มีอะไรเป็นแนวโน้มขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันบ้าง หรือใน Cycle ลง มีอะไรเป็นแนวโน้ม าลงบ้าง
การที่อยู่ๆ บอกว่า เพราะ ยุคสมัยของนายกไทยบ ทำให้ราคา ขึ้น ลง มันดู ดูถูกสติปัญยา คนไทยด้วยกันไปหน่อย
เพจต้นเรื่อง https://www.facebook...&type=1
— กับ สหายแจ็คผู้ฆ่ายักษ์ ชายกลาง สหายสีแดง
#20
ตอบ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 08:44
รูปแสดง สหสัมพันธ์ ราคาน้ำมัน กับราคายาง
แสดงว่า ความสัมพันธ์ ระหว่าง 2 ตัวแปร นี้มี แต่จะเห็นได้ว่า มีการกระจายมากกว่า จะยอมรับว่า ส่งผลต่อกัน ในระดับสูง
1239650_10201640594834985_2119965461_n.jpg
#22
ตอบ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 08:46
นายสวัสดิ์ ลาดปาละ ประธานเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยาง จ.ลำปาง ออกมายืนยันว่า เครือข่ายผู้ปลูกยางพารา จ.ลำปาง และจังหวัดภาคเหนือ พร้อมร่วมชุมนุมตามมติของชาวเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยาง เพื่อให้รัฐบาลเร่งแก้ปัญหาราคายางตกต่ำ
#23
ตอบ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 09:04
"นโยบายเเก้ไขราคายางของรัฐบาล" สรุปจะให้เกษตรกรเป็นหนี้เพิ่มว่างั่น เเล้วค่าใช้จ่าย โค่นต้นยางพารา ค่าปลูกปาล์มน้ำมัน รัฐบาลจะออกให้หรีอคับ อิ อิ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอแนวทางช่วยเหลือผู้ปลูกยางพารา ด้วยการซื้อปุ๋ยโดยตรงให้กับเกษตรกรที่มีพื้นที่เพาะปลูกไม่เกิน 10 ไร่ โดยขณะนี้ มีเกษตรกรรายย่อยผู้ปลูกยางพาราทั้งหมดอยู่ที่ประมาณ 790,000 ราย นอกจากนี้ยังมีแผนส่งเสริมให้เกษตรกรโค่นต้นยางพาราที่มีอายุเกิน 25 ปี เพื่อปลูกปาล์มน้ำมันทดแทน
#24
ตอบ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 09:12
ผมว่า นี่เป็นหัวข้อการตั้งประเด็น ที่มีสาระมากที่สุดหัวข้อหนึ่งเลยครับ สำหรับคุณ ดอนยอ ถ้ามีแนววิธีจริงๆ รบกวนให้บอกรัฐบาล รีบจัดการ และเริ่ม เจรจาเลยครับ เอามาเถียงแทนเฉยๆ มันไม่ได้ประโยชน์หรอกครับ ผมมีเพื่อนรุ่นน้องทำสวนยาง ที่สุรินทร์ ก็คุยกะเขา เขาก็บอกแบบคล้ายๆกันนี่แหละครับว่า เขาไม่ได้ต้องการจะให้เข้ามาแทรกแซงอะไรมากนักหรอก แต่ต้องมีช่วง ให้เขาปรับตัว คนเรา คุยกันได้ เขาก็ไม่ได้จะดื้อแพ่ง ไม่ดูราคาสินค้าในตลาดหรอก แต่มันต้องมีอะไรช่วยเขาบ้าง เขาลงทุนมาแล้ว ต้นยางกว่าจะปลูก จนกรีดได้ เขาว่า 7-8 ปี แล้วเงินที่ลงไปแล้ว พอต้นยางโตเริ่มจะกรีดได้ กลับเจอภาวะ ราคาตกต่ำขนาดนี้ แต่ราคาปุ๋ย ราคายา ต่างๆ มันไม่ได้ลดลงเลย เขาก็แย่เหมือนกัน แล้วน้องเขาก็พูดถึงชาวสวนยางภาคใต้ แบบเดียวกับ mr. patton เป้ะ เลยครับ
- mr.patton likes this
#25
ตอบ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 13:59
ตอนนี้เหล่าบรรดา ลูกสมุนขี้ข้านักการเมือง ในเนตต่างพยายามสร้างข่าวว่า มีชาวสวนยางพอใจราคารับประกันที่ 80 บาทต่อกิโลกรัม
ผมขอบอกว่าเป็นการสร้างข่าว เพื่อทำลายเครือข่ายชาวสวนยางครับ มาดูเหตุผลครับ
1. วันที่ 10 มิ.ย.56 เครือข่ายชาวสวนยาง 57 จังหวัด ยื่นหนังสือถึงนายก ในการไป ครม.สัญจรที่กำแพงเพชร ขอให้รัฐบาลใช้ต้นทุนการผลิตที่สถาบันวิจัยยางกำหนดไว้ที่ 82 บาทเป้นเกณฑ์ ซึ่งหากรัฐบาลแทรกแซงราคายางพาราก็ขอเพิ่มขึ้นอีก 25% จากต้นทุนนี้
2. 14 ก.ค. 56 รมต.เกษตร ออกมาตรการช่วย โดยยึดต้นทุนที่ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร หรือ สศก.ประกาศเมื่อ 2555 คือ กิโลกรัมละ 64.19 บาท และบวกเพิ่มให้ 30 % เป็นราคารับประกันที่ 84 บาท
ย้ำนะครับ รัฐบาลเสนอราคาเมื่อเดือน ก.ค. ที่ 84 บาทแล้ว
ชาวสวน รุกหนักขึ้นทำไมเสนอราคา ต่ำลง
3. 24 ก.ค. 56 ชาวสวนยางไม่พอใจวิธีการคิดต้นทุนของรัฐบาลที่ไม่สะท้อนความจริง จึงไปยื่นหนังสือเรียกร้องที่ศาลากลางที่เครือข่ายอยู่แต่ละจังหวัดเพื่อเรียกร้อง ให้กำหนดราคายางแผ่นรมควัน ชั้น 3 ราคา 101 บาท/กก. ราคายางแผ่นดิบคุณภาพ 3 ราคา 92 บาท/กก. ราคาน้ำยางสด 81 บาท/กก. และยางก้อนถ้วย ราคา 82 บาท/กก.
จาก 24 ก.ค. จนถึงวันนี้ ไม่มีการเจรจา ไม่มีการแก้ปัญหา การซื้อเวลาของรัฐบาลเป็นชนวนให้เกิดความรุนแรงหรือไม่
คำอธิบายว่าทำไมรัฐบาลปล่อยข่าวว่าชาวสวนรับราคา 80 บาทได้ อธิบายได้ตามทฤษฏีเกมส์
ในเกมส์การต่อรองราคา ผู้ขายจะชนะ ถ้าสามารถจับกลุ่ม คนขายให้ยืนยันไม่ขายในราคาที่ถูกเสนอซื้อได้นานที่สุด
แต่ถ้าเมื่อไหร่ เครือข่ายแตก มีคนขายยอมขายในราคาที่ต่ำกว่า หรือมีการปล่อยข่าวว่ามีการยอมขายในราคาที่ต่ำกว่าที่เรียกร้องไป ก็จะเกิดความไม่มั่นใจและเกิดการแตกแถว เกมส์จะเป็นของผู้ซื้อ สามารถกดราคาได้
การปล่อยข่าว ว่ามีคนพอใจ 80 บาท เป็นยุทธวิธี ที่ง่ายและนิยมทำมากที่สุดของเกมส์ และทั้งหมดเป็นเรื่องของการต่อรอง ซึ่งจะจบที่การหันหน้าเจรจา
แต่รัฐบาลใช้วิธีสารเลว ทั้งไม่เจรจา ปล่อยข่าว ใช้กำลังสลายการชุมนุม และสุดท้าย ม็อบชนม็อบ
ซึ่งการอ้าง ชาวชะอวดไม่เอาความรุนแรง คือวิธีการสลายม็อบด้วยการสร้างม็อบอีกอันมาชน ไม่ใช่ รัฐบาลนี้เหรอ สร้าง นปก. มาชน พันธมิตร กลยุทธ์ เดิมๆ
การเจรจากับชาวสวนดีที่สุด ทำไมปล่อยข่าวมาเลยว่า ชาวสวนไม่เจรจา ทั้งที่ความจริง ชาวสวนรอเจรจามาตั้งแต่ปลายเดือน ก.ค. รัฐซื้อเวลาทั้งสิ้น
จึงไม่แปลกใจ ทำไมสุนัขรับใช้ รัฐบาลในเนต จึงออกมาตีข่าว คนชะอวดไม่เอาความรุนแรง และมีคนรับราคา 80 บาท
ต้องรู้เท่าทันในวิธีการสกปรก ครับ
- เงาไม้, whiskypeak and IFai like this
#27
ตอบ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 14:50
ตรรกะความคิดรัฐบาลของเรา ตอน: ยาง vs. ข้าว
รมว.เกษตร คุณยุคล ลิ้มแหลมทอง ให้สัมภาษณ์อธิบายว่าทำไมจึงช่วยชาวสวนยางกำหนดราคายางที่ ๑๒๐ บาทไม่ได้ ทั้งๆที่รัฐบาลเคยให้คำมั่นไว้ที่ราคานั้น
๑. "ประเทศไทย ไม่ได้เป็นผู้กำหนดราคายาง" (อ้าว แล้วทีข้าว เราเป็นคนกำหนดราคาหรือครับ)
๒. "เราใช้เงินไปแล้ว ๒๐,๐๐๐ ล้านบาท ซื้อยางราคาสูงกว่าตลาดที่ ๑๒๐ บาท แต่ไม่สามารถดึงราคาตลาดโลกขึ้นมาได้" (แล้ว ๗๐๐,๐๐๐ กว่าล้านบาท ที่ซื้อข้าวที่ ๑๕, ๐๐๐ บาทนั้นดึงราคาตลาดโลกได้หรือครับ)
๓. ท่านรัฐมนตรีถามว่า ถ้าชาวสวนยางยัง (ดื้อ) ที่จะเอาราคา ๑๒๐ บาท เทียบกับราคาตลาด ๗๔ บาท "ใครต้องจ่าย และจ่ายอีกนานเท่าไร" (มีคนถามคำถามเดียวกันกับการซื้อข้าวราคาแพงมาเป็นปีแล้ว แต่ท่านรัฐมนตรีไม่เคยตอบ)
๔. "ยางที่ซื้อมาเก็บในสต็อกขายไม่ได้เพราะต่างชาติรู้ว่าเราจะขายเมื่อไร เขาจะทุบราคาทันที" (เมื่อรู้เช่นนี้แล้ว รัฐบาลเข้าใจหรือยังว่าทำไมจึงขายข้าวในโกดังรัฐบาลไม่ได้)
ทั้งหมดเป็นการพิสูจน์ว่าจริงๆแล้ว 'คิดได้'
และเป็นการพิสูจน์ว่ารัฐบาลเจตนา 'เลือกปฏิบัติ'
และพิสูจน์ว่าเรื่องข้าวนั้นเป็นการ 'แกล้งโง่' นั่นเอง
- Bookmarks, pookem, whiskypeak and 2 others like this
#28
ตอบ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 23:29
#29
ตอบ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 23:34
ที่ชาวสวนยางเค้ารับไม่ได้กับราคาปัจจุบัน มันมีปัจจัยมาจาก ค่าแรง 300 บาทด้วย เพราะชาวสวนยางมีต้นทุนสูงขึ้น ราคาตกต่ำแบบนี้ ชาวสวนยางเค้าก็ขาดทุน มันเป็นผลกระทบลูกโซ่ ที่มาจากนโยบายผิดพลาดของรัฐบาลนี้เอง
Edited by Bookmarks, 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 23:35.
- ฟังทั้งสองฝ่าย and mr.patton like this
#30
ตอบ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 23:36
ประชาชนชาวชะอวดครับ ไม่ใช่เจ้าหน้าที่รัฐ ครับ
แบบนี้ ม็อบ ชน ม็อบ หรือเปล่าครับ
ยุทธวิธีล้าหลังไป 40 ปีแล้วนะครับ
ประชาธิปไตย บ้านพ่อใครครับ ไหนบอกตาสว่าง รู้เท่าทันเรื่องพวกนี้แล้วนี่ครับ ทำเองทำไมครับ
http://www.naewna.com/politic/66233
#31
ตอบ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 23:38
#32
ตอบ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 23:41
เริ่มมี""ข้อมูลเท็จ"" เรื่องราคายาง ของมาเลเซียออกมาเเล้วนะครับ จากพวกขี้ข้าทรราชสัมพเวสีหนีคดี
ขอให้อ้างอิงจากอันนี้ครับ
http://www3.lgm.gov.my/mre/ มาจาก คณะกรรมการยางมาเลเซีย เลย
ขอให้ไล่ตารางราคาลงไป ตารางแรกคือราคาซื้อขายล่วงหน้า ส่วนราคาแนะนำจะอยู่ท้ายๆ ของหน้า
SMR ย่อมาจาก Standard Malaysia Rubber
มาตรฐานยางมาเลเชีย ซึ่งน่าจะเทียบเท่า ยางแผ่นรมควันชั้นต่างๆ 1ของไทย ครับ
อันนี้ ผมยอมรับว่า ไม่มีความรู้ ขอผู้รู้ดีกว่าครับ ว่าเทียบเท่ากันอย่างไร
100 sen = 1 ringgit
เวบแปลงค่าเงิน ตรงนี้ครับยhttp://th.coinmill.c...HB.html#MYR=8.9
#34
ตอบ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 23:52
กระทรวงอยู่กับคนเดิมๆแต่หัวหน้าทีมเปลี่ยนไปแล้วราคาตกลงเอาๆ
มันผิดพลาดที่ตรงใหนละเนี่ย
Edited by ฮิตเด้อ, 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 00:19.
#35
ตอบ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 01:19
อนาคตของเศรษฐกิจไทย
โดย ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล
%%%%%%%%%%
Aug 25, 2013 10:15 am
(sad)อนาคตของเศรษฐกิจไทย
$€£¥₩ เนื่องจากในสัปดาห์ที่ผ่านมา ถึงแม้ได้มีผู้สื่อข่าวสอบถามมาต่อเนื่อง เดิมผมไม่ได้คิดจะวิจารณ์ภาวะเศรษฐกิจไทย แต่วันนี้ผมเปลี่ยนใจ เพราะคิดว่าผู้อ่าน ควรจะได้ข้อมูลที่รอบด้าน เพื่อวางแผนสำหรับตัวของท่านเองได้ดีขึ้น
★ คำถามแรก เศรษฐกิจไทยชะลอหรือ ถดถอย
▶ตามคำนิยามเศรษฐศาสตร์ หากตัวเลข GDP รายไตรมาสลดลงต่อเนื่อง 2 ไตรมาส เขาเรียกว่าเข้าลักษณะถดถอยทางเทคนิก (technical recession)
- ดังนั้น เนื่องจากตัวเลขไตรมาสสี่ 2555 ไตรมาสหนึ่ง และไตรมาสสอง 2556 ขยายตัวร้อยละ 18.9 ร้อยละ 5.3 และร้อยละ 2.8 จึงเข้าลักษณะถดถอยทาง เทคนิก
▶ คำถามที่สอง เราควรจะเดือดร้อนกังวล กับสภาวะการถดถอยทางเทคนิกหรือไม่
★ ยังไม่ถึงขั้นกินไม่ได้ นอนไม่หลับครับ เพราะ GDP ปีต่อปียังขยายตัว ไม่ใช่หดตัว อีกประการหนึ่ง ตัวเลขไตรมาสสี่ 2555 นั้นสูงผิดปกติ
▶ อย่างไรก็ดี การที่ตัวเลขถดถอยทางเทคนิก เป็นการส่งสัญญาณ เตือนว่าอนาคตมันไม่สดใส เหมือนเดิม เตือนว่ามีปัญหาที่ต้องเอา ใจใส่
$€£¥- การเตือนทางเศรษฐศาสตร์ เขาจะอาศัยข้อมูลไตรมาส ซึ่งเป็นข้อมูลเร็ว เพราะหากดูแต่เฉพาะข้อมูล ปีต่อปี กว่าจะเห็นปัญหา ก็จะกลับตัวกันไม่ทันเสียแล้ว
▶คำถามที่สาม มีปัจจัยอะไร ที่ทำให้ตัวเลขส่งสัญญาณ เช่นนี้
▶ในช่วงสองปีที่ผ่านมา มีสถานการณ์ธรรมชาติอะไร ที่กระทบตัวเลขได้บ้าง
▶ถ้าไม่คำนึงถึงนโยบายของรัฐบาลไทย ก็ไม่น่าจะมีอะไรที่ทำให้เกิด สภาวะแบบนี้ เพราะถึงแม้ในช่วงน้ำท่วม ใหญ่ เศรษฐกิจได้ชะลอตัว แต่หลังจากนั้น การทำงานก็ได้กลับเข้าสู่ ภาวะปกติ ภาคเอกชนเดินหน้าได้ปกติ
▶ในช่วงสองปีที่ผ่านมา มีภาวะเศรษฐกิจโลก ที่กระทบการส่งออกหรือไม่
▶ภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐ ค่อยๆ ดีขึ้นมาตลอด ▶ยุโรปยังแย่ แต่ก็เป็นเหมือนเดิม ไม่ได้ทรุดลงหนักกว่าเดิม ▶ญี่ปุ่นดีขึ้นภายหลังการ เปลี่ยนรัฐบาล ▶ถึงแม้ประเทศกำลังพัฒนา ชะลอตัวลงบ้าง ▶แต่เศรษฐกิจก็ยังขยายตัว
★ดังนั้น พิจารณาโดยรวม ถึงแม้ภาวะต่างประเทศไม่ได้ เอื้ออำนวยต่อการส่งออก มากนัก ▶แต่สถานการณ์ไม่ได้ทรุด ลงมากเป็นพิเศษในช่วง สองปีนี้
▶แสดงว่าปัจจัยที่สำคัญ น่าจะมาจากภายในประเทศ โดยเฉพาะจากนโยบายและ การดำเนินการของรัฐบาล ไทย
▶ ในช่วงสองปีที่ผ่านมา มีปัจจัยภายในประเทศหลายปัจจัย
★ปัจจัยที่หนึ่ง การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ
- ▶ย่อมกระทบต้นทุนและราคาขายของผู้ส่งออก ▶ปัจจัยนี้จะมีผลต่อไปอีก ระยะหนึ่ง ▶เพราะกว่าผู้ส่งออกจะปรับ ตัวกว่าจะสามารถเพิ่ม ประสิทธิภาพการผลิต หรือเพิ่มมูลค่าสินค้า ก็ต้องใช้เวลา
★ปัจจัยที่สอง ▶โครงการจำนำข้าว
▶รัฐบาลไม่ได้เร่งขายข้าว ออกไป ▶การกักเก็บเอาไว้ในสต๊อก ไม่ได้ช่วยเพิ่มตัวเลขส่งออก ▶ปัจจัยนี้จะมีผลต่อไปอีกระยะหนึ่งเช่นกัน ▶เพราะเท่าที่ดูแนวโน้มการ ประมูลขาย จะใช้เวลาอีกนาน
★ปัจจัยที่สาม โครงการรถคันแรก
▶ ทำให้ผู้ที่ผ่อนซื้อ มีภาระต้องจ่ายค่าน้ำมัน ค่าซ่อมบำรุง ค่าประกันภัย และค่าดอกเบี้ยรวมทั้งต้นเงิน▶ปัจจัยนี้จะมีผลต่อไปอีก หลายปี ▶ภาระเหล่านี้จะกดดันกำลังซื้อสินค้าด้านอื่นๆ
★ปัจจัยที่สี่ หนี้ครัวเรือน
- ▶เมื่อรัฐบาลดำเนินนโยบาย การคลังแบบกระตุ้น ▶ก็ควรจะปล่อยให้แบงค์ชาติเขาดำเนินนโยบายการเงิน แบบระมัดระวัง เพื่อถ่วงดุล
▶แต่รัฐมนตรีคลังกลับพยา ยามกดดันแบงค์ชาติให้ลด ดอกเบี้ย ทำให้ดอกเบี้ยต่ำ
▶ ดอกเบี้ยต่ำนี้เอง ทำให้ประชาชนกู้หนี้ครัว เรือนเพิ่มขึ้นมาก ▶ปัจจัยนี้จะมีผลต่อไปอีก หลายปี กระทบกำลังซื้อ
★ปัจจัยที่ห้า การลงทุนภาคเอกชนไม่ ขยายตัวมากอย่างที่หวัง
▶นักธุรกิจส่งออก ที่มีภาระค่าแรงสูงขึ้น แต่สภาวะตลาดไม่สดใส คงยังไม่คิดขยายการลงทุน
▶โรงงานที่ผลิตเพื่อขายใน ประเทศที่มีภาระค่าแรงสูงขึ้น▶ก็พบว่าพ่อค้าสามารถนำ เข้าสินค้าจากจีนและ ประเทศเพื่อนบ้าน เข้ามาแข่งขันตีตลาดได้มากขึ้น ก็คงยังไม่คิดขยายการ ลงทุน
★ปัจจัยที่หก ฟองสบู่ที่เกิดจากเงินทุนไหลเข้า
- ▶ปัจจัยนี้ผมเห็นว่าเป็นปัจจัยที่มีผลมากที่สุด ▶ก็คือการที่กระทรวงการ คลังปล่อยให้มีเงินทุนไหล เข้ามา มากจนเกินไป ▶โดยไม่มีมาตรการควบคุม และกว่าจะยอมเตรียมการ ที่จะควบคุมเรื่องนี้ ▶เงินก็กลับเป็นภาวะไหล กลับออกไปเสียแล้ว
▶เงินทุนไหลเข้า ทำให้ตลาดหุ้นบูม ▶กดดอกเบี้ยระยะยาวใน ตลาดพันธบัตรให้ต่ำ ▶ทำให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์บูมซ้ำซ้อน คนที่กำไรหุ้น ▶เก็งกำไรคอนโดกันซ้ำซ้อน
▶ช่วงที่เงินทุนไหลเข้า อะไรๆ ก็ดูดีไปหมด ทำให้ภาพลักษณ์ของกระ ทรวงการคลังดูดีไปด้วย จนกระทั่งเริ่มก่อปัญหา ▶ทำให้ค่าเงินบาทแข็งขึ้นๆ ยิ่งกระทบส่งออก
▶แทนที่กระทรวงการคลัง จะใช้อำนาจออกมาตรการ เพื่อชะลอเงินไหลเข้า ▶กลับคิดในทาง “คุณ น่ะ ทำ” (ไม่ใช่คุณธรรมนะครับ) คือพยายามพูดให้แบงค์ชาติ ลดดอกเบี้ย ▶โดยเข้าใจว่าดอกเบี้ย ระยะสั้นเป็นตัวการที่ดึงดูด เงินทุนไหลเข้า
▶หลังจากถกเถียงกัน ในที่สุดกระทรวงการคลัง ก็ยอมตามที่แบงค์ชาติเสนอ ▶มีการออกกฎระเบียบ ให้อำนาจในการชะลอเงิน ไหลเข้า เตรียมการเอาไว้
▶แต่ก็สายไปเสียแล้ว เงินทุนได้กลับเข้าสู่โหมด ไหลออกเสียแล้ว
▶ทิ้งเหลือไว้แต่สภาพตลาดหุ้นที่แฟบลง ▶ตลาดพันธบัตรที่ดอกเบี้ย ระยะยาวกลับสูงขึ้น ▶และตลาดอสังหาริมทรัพย์ ที่เข้าสภาวะฟองสบู่
▶ เพื่อนๆ ของผม เล่ากันว่า ขณะนี้ทุกๆ สัปดาห์ จะมีเซลล์โครงการอสังหา ริมทรัพย์ โทรศัพท์พยายามขายคอน โดให้แก่เขา สามหรือสี่ราย
▶ มาบัดนี้ แบงค์ก็เริ่มไหวตัว และระมัดระวังการปล่อยสิน เชื่อ
★ปัจจัยที่เจ็ด ▶คือพันธนาการต่อโครงการ พื้นฐาน
▶ในประเทศที่พัฒนาแล้ว การใช้เงินของรัฐบาลนั้น นอกเหนือจากสวัสดิการรัฐ ซึ่งจะเป็นจำนวนเท่าๆ กันแต่ละปีแล้ว ▶หากจะมีการใช้เงินพิเศษเป็นก้อนๆ มักจะเน้นสองอย่าง ▶คือการพัฒนาความเก่ง ของประชากร ▶และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ
■(ส่วนเรื่องประชานิยม แบบไฟใหม้ฟาง ▶ที่เน้นการอุปโภคบริโภค ▶ชนิดที่กินใช้กันปีเดียว แล้วก็หายหมดไปนั้น ◆จะเป็นเรื่องยอดนิยมเฉพาะในประเทศยังไม่พัฒนา)
★ดังนั้น นักเศรษฐศาสตร์จึงไม่ค่อย จะขัดข้อง ▶ต่อโครงการลงทุนพื้นฐาน ของรัฐบาล(แต่ยังมีข้อท้วง ติงว่าต้องเป็นโครงการที่คุ้ม ค่านะครับ) ▶ซึ่งการลงทุนแบบนี้ จะสามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ทางหนึ่ง
◆อย่างไรก็ดี ▶รัฐมนตรีคลังได้สร้างกับดัก ให้แก่ตัวเองเอาไว้ครับ
★กรณีโครงการเรื่องน้ำ 350,000 ล้าน ถึงแม้ศาลรัฐธรรนูญจะได้ ช่วยตีความ ให้ออกเป็น พระราชกำหนดได้แต่แทนที่ ▶จะทำให้ขบวนการจัดซื้อ จัดจ้างแทนที่จะดำเนินการ อย่างโปร่งใสตามขั้นตอน ปกติ◇กลับไปใช้วิธีพิสดาร จนเรื่องต้องช้าออกไป
★กรณีโครงการ 2 ล้านล้าน แทนที่จะใช้ช่องทางงบ ประมาณปกติ ▶ที่จะเริ่มทะยอยทำได้เลย กลับไปใช้วิธีออกกฎหมาย เฉพาะ ผิดรัฐธรรมนูญ ▶ทำให้เรื่องจะต้องล่าช้าออก ไปอีกด้วย
★คำถามที่สี่ แบงค์ชาติจะช่วยลดดอกเบี้ยได้หรือไม่
◆ถึงวันนี้ ▶หากแบงค์ชาติมีการลด ดอกเบี้ย ▶เศรษฐกิจก็คงจะกระเตื้อง ขึ้น
▶แต่เนื่องจากเดิมถูกกกดดันให้ดอกเบี้ยมีระดับที่ต่ำ ช่องทางที่จะลดจึงจะ ไม่มากนัก
▶แต่ปัญหาที่สำคัญ คือเงินทุนไหลออก ได้ทำให้เงินบาทอ่อนตัว
▶เงินบาทที่อ่อนตัวนี่แหละ ครับ จะทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้น ดังนั้น ▶ถ้าแบงค์ชาติจะคิดลดดอก เบี้ยก็จะมีปัญหานี้ให้ต้อง ระมัดระวัง
★นอกจากนี้ ▶แบงค์ชาติย่อมตระหนักดีถึงความเสี่ยงฟองสบู่ ▶หากลดดอกเบี้ย ◆หนี้ครัวเรือนอาจจะสูงขึ้น ไปอีก ▶โครงการอสังหาริมทรัพย์ อาจจะยิ่งบูมขึ้นไปอีก
★และต่อไป ▶หากเมื่อใดที่สหรัฐเริ่มขึ้น ดอกเบี้ย ก็หนีไม่พ้น ▶ที่ดอกเบี้ยของไทยจะต้อง กลับเป็นแนวโน้มขาขึ้น ไม่มากก็น้อย
★เมื่อใดที่เกิดภาวะดังกล่าว ▶ภาระการผ่อนดอกเบี้ยราย เดือนของครัวเรือน ▶และของธุรกิจอสังหาริม ทรัพย์ ก็จะยิ่งหนักขึ้น
▶ความเสี่ยงทั้งด้านครัวเรือนและด้านอสังหาริมทรัพย์ ดังกล่าว ▶จะทำให้แบงค์ชาติยิ่งเตือน ให้แบงค์พาณิชย์ ▶ต้องระมัดระวังในการพิจาร ณาสินเชื่อรายใหม่อีกด้วย
▶ยิ่งระมัดระวังสินเชื่อ เศรษฐกิจก็ยิ่งอืด
★คำถามสุดท้าย ▶อนาคตเศรษฐกิจไทยจะ เป็นอย่างไร
◆ถ้าท่านผู้อ่านฟังแต่รัฐมน ตรีคลังก็อาจจะคิดเหมือน ท่านว่าไม่มีอะไรต้องเป็นห่วง▶ เพราะน้ำเสียงของท่าน ทุกอย่างยังสดใส ▶ท่านยังอยากให้แบงค์ชาติ ลดดอกเบี้ยลงไปอีกเสียด้วย
▶ถ้าท่านผู้อ่านฟังแต่รัฐมนตรีคลัง ผมเกรงว่าท่านอาจจะวาง ▶แผนเตรียมตัว เพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นอย่างไม่รอบคอบ รัดกุม
▶แต่ท่านจะสามารถตอบคำ ถามนี้ได้เองครับ โดยกลับไปดูแต่ละปัจจัย ข้างต้นว่ามีแนวโน้มจะคลี่ คลายได้อย่างเร็วหรือไม่
Source: https://www.facebook.com/thirachai.phuvanatnaranubala/posts/631658633534612
- ppneer likes this
#36
ตอบ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 01:24
อิ อิ ส.ส.รัฐบาลเขาเเก้ปัญหาให้เกษตรกรประชาชนคนชาติไทยกันด้วย วิธี นี้หรือคับ?????????
ตั้งโต๊ะแถลง หยามยางพาราไม่ใช่สินค้าพรีเมียมนำไปเทียบแก้ปัญหาข้าวไม่ได้ งัดมุกคนสื่ออักษรย่อ ส. หอบ20ล.ให้นักการเมืองส.หนุนม็อบขวางนิรโทษ
ที่รัฐสภา นายก่อแก้ว พิกุลทอง นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไทย และนายวรชัย เหมะ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย ร่วมกันแถลงเรียกร้องพรรคประชาธิปัตย์อย่านำการเมืองเข้าไปสู่การชุมนุมเรียกร้องของกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางพาราที่ปักหลักปิดถนน และทางรถไฟ ที่บ้านควนหนองหงส์ อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช โดยนายก่อแก้วกล่าวว่า ขณะนี้มีชาวสวนยางพาราบางส่วนยอมรับข้อเสนอที่รัฐบาลจะประกันราคายางพาราอยู่ที่ 80 บาทต่อกิโลกรัม แต่ยังมีบางส่วนที่ไม่ยอมรับและจะปิดถนนเพิ่ม ทั้งที่รัฐบาลได้พยายามแก้ปัญหามาโดยตลอด และจะมาเทียบกับการแก้ปัญหาราคาข้าวไม่ได้ เนื่องจากยางพาราไม่ใช่สินค้าพรีเมียมกำหนดราคาตลาดโลกเองไม่ได้ และตนก็เป็นลูกชาวสวนยางคนหนึ่งคิดว่าราคา 80 บาทต่อกิโลกรัมอยู่ได้สบายๆ
ขณะที่นายวิภูแถลงกล่าวว่า จากการลงตรวจสอบในพื้นที่ อ.ชะอวด พบว่าพรรคประชาธิปัตย์ ต้องการใช้ม็อบสวนยางในการโค่นล้มรัฐบาล โดยการขึ้นเวทีปราศรัยของกลุ่มผู้ชุมนุมของ 3 ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ คือ นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง, นายวิทยา แก้วภราดัย ส.ส.นครศรีธรรมราช และนายอภิชาต การิกาญจน์ ส.ส.นครศรีธรรมราช ที่ประกาศว่าไม่ใช่ผู้อยู่เบื้องหลังแต่เป็นผู้อยู่เบื้องหน้าการชุมนุมครั้งนี้ ทำให้รัฐบาลได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดูแลสถานการณ์ อย่าให้มีมือที่ 3 เพราะถ้าวันนี้เกิดเลือดตกยางออกมีคนเสียชีวิตก็จะเข้าทางพรรคประชาธิปัตย์ ขอเรียกร้องให้พรรคประชาธิปัตย์หยุดพฤติกรรมดังกล่าวอย่าให้การเมืองเข้าไปแทรกการชุมนุมไม่เช่นนั้นจะจบลำบาก เพราะทราบว่ามีการขนคนจากจังหวัดอื่นมาร่วมชุมนุม
ด้านนายวรชัยกล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์จะเดินแผนล้มรัฐบาลก็เดินไป แต่อย่าขวางรัฐบาลในการช่วยเหลือประชาชน ที่ผ่านมาพรรคประชาธิปัตย์มีแผนทั้งในและนอกสภา มีคนสื่อดาวเทียมอักษรย่อ ส. หอบเงิน 20 ล้านไปร่วมกับนักการเมือง ส. ในการชุมนุมของทางภาคใต้ และยังขัดขวางไม่ให้สภาผ่านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เนื่องจากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฎร์ธานี จะไม่ได้รับการนิรโทษกรรมด้วย พรรคประชาธิปัตย์จึงมาต่อต้านเต็มที่ วันนี้เขาเสียมวลชน เสียมิตร กลุ่มพันธมิตรฯ ไม่เอาด้วยจึงต้องเดินหน้าล้มรัฐบาลด้วยตัวเอง จึงอยากให้พรรคประชาธิปัตย์เข้าร่วมในสภาปฏิรูปการเมือง ใช้สภาแก้ปัญหาดีกว่าออกมาสู้นอกสภา
#37
ตอบ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 01:30
นี้คือความฝันในการเเก้ปัญหาให้ประชาชนผู้เดือดร้อน ไม่รู้มันจะเกิดขึ้นไหม? "ถ้า ฉันเป็นนายก
ถ้าฉันเป็นนายก ฉันจะบินตรงไปนครศรีธรรมราช โดยไม่บอกใครมาก ฉันจะเดินไปหาประชาชนของฉัน ตั้งแต่เช้า แล้วฉันจะตั้งโต๊ะเจรจา ฉันจะให้ จนท. ฉันต่อสายแกนนำ ที่อยู่ เหนือ อีสาน ตะวันออก ฉันจะพูดความจริงว่าฉันมีเงินพร้อมช่วยอีกเท่าไหร่ ฉันจะขอร้องให้เค้ารับเงื่อนไข ที่ฉันและคณะคิดกันมาอย่างดี และทุกฝ่ายต้องเป็นผู้ชนะ
แม้แกนนำจะบอกว่าขอเวลา ฉันก็จะกราบทุกท่านงามๆ ในฐานะประชาชน แล้วนัดว่าวันที่ 3 ส่งตัวแทนมาหาฉัน พร้อมขอร้องให้สลายการชุมนุม
ตอนจะกลับ ฉันจะให้พี่ น้องประชาชน กอดและถ่ายรูปด้วย พร้อมพูดว่า ฉันจะพยายามทำเพืีอพี่น้องนะ" ..........
ุ้ถ้าฉัน เป็นนายก ของประชาชนอิ อิ ส.ส.รัฐบาลเขาเเก้ปัญหาให้เกษตรกรประชาชนคนชาติไทยกันด้วย วิธี นี้หรือคับ?????????
ตั้งโต๊ะแถลง หยามยางพาราไม่ใช่สินค้าพรีเมียมนำไปเทียบแก้ปัญหาข้าวไม่ได้ งัดมุกคนสื่ออักษรย่อ ส. หอบ20ล.ให้นักการเมืองส.หนุนม็อบขวางนิรโทษ
ที่รัฐสภา นายก่อแก้ว พิกุลทอง นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไทย และนายวรชัย เหมะ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย ร่วมกันแถลงเรียกร้องพรรคประชาธิปัตย์อย่านำการเมืองเข้าไปสู่การชุมนุมเรียกร้องของกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางพาราที่ปักหลักปิดถนน และทางรถไฟ ที่บ้านควนหนองหงส์ อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช โดยนายก่อแก้วกล่าวว่า ขณะนี้มีชาวสวนยางพาราบางส่วนยอมรับข้อเสนอที่รัฐบาลจะประกันราคายางพาราอยู่ที่ 80 บาทต่อกิโลกรัม แต่ยังมีบางส่วนที่ไม่ยอมรับและจะปิดถนนเพิ่ม ทั้งที่รัฐบาลได้พยายามแก้ปัญหามาโดยตลอด และจะมาเทียบกับการแก้ปัญหาราคาข้าวไม่ได้ เนื่องจากยางพาราไม่ใช่สินค้าพรีเมียมกำหนดราคาตลาดโลกเองไม่ได้ และตนก็เป็นลูกชาวสวนยางคนหนึ่งคิดว่าราคา 80 บาทต่อกิโลกรัมอยู่ได้สบายๆ
ขณะที่นายวิภูแถลงกล่าวว่า จากการลงตรวจสอบในพื้นที่ อ.ชะอวด พบว่าพรรคประชาธิปัตย์ ต้องการใช้ม็อบสวนยางในการโค่นล้มรัฐบาล โดยการขึ้นเวทีปราศรัยของกลุ่มผู้ชุมนุมของ 3 ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ คือ นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง, นายวิทยา แก้วภราดัย ส.ส.นครศรีธรรมราช และนายอภิชาต การิกาญจน์ ส.ส.นครศรีธรรมราช ที่ประกาศว่าไม่ใช่ผู้อยู่เบื้องหลังแต่เป็นผู้อยู่เบื้องหน้าการชุมนุมครั้งนี้ ทำให้รัฐบาลได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดูแลสถานการณ์ อย่าให้มีมือที่ 3 เพราะถ้าวันนี้เกิดเลือดตกยางออกมีคนเสียชีวิตก็จะเข้าทางพรรคประชาธิปัตย์ ขอเรียกร้องให้พรรคประชาธิปัตย์หยุดพฤติกรรมดังกล่าวอย่าให้การเมืองเข้าไปแทรกการชุมนุมไม่เช่นนั้นจะจบลำบาก เพราะทราบว่ามีการขนคนจากจังหวัดอื่นมาร่วมชุมนุม
ด้านนายวรชัยกล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์จะเดินแผนล้มรัฐบาลก็เดินไป แต่อย่าขวางรัฐบาลในการช่วยเหลือประชาชน ที่ผ่านมาพรรคประชาธิปัตย์มีแผนทั้งในและนอกสภา มีคนสื่อดาวเทียมอักษรย่อ ส. หอบเงิน 20 ล้านไปร่วมกับนักการเมือง ส. ในการชุมนุมของทางภาคใต้ และยังขัดขวางไม่ให้สภาผ่านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เนื่องจากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฎร์ธานี จะไม่ได้รับการนิรโทษกรรมด้วย พรรคประชาธิปัตย์จึงมาต่อต้านเต็มที่ วันนี้เขาเสียมวลชน เสียมิตร กลุ่มพันธมิตรฯ ไม่เอาด้วยจึงต้องเดินหน้าล้มรัฐบาลด้วยตัวเอง จึงอยากให้พรรคประชาธิปัตย์เข้าร่วมในสภาปฏิรูปการเมือง ใช้สภาแก้ปัญหาดีกว่าออกมาสู้นอกสภา
#38
ตอบ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 01:33
เฮ้ย ที่ใส่ชุดกากี มีบั้ง เค้าแต่งคอสเพลย์เล่นเฉยๆ เหมือนพี่ขวัญชัย ใส่ชุดตำรวจ
.............. ถุยส์ ประชาชนเดือดร้าน ตรงไหนฟะ ก็ จนท. รัฐแหละ
หยุดสร้างสถานการณ์ เข้าสู่กระบวนการเจรจา อย่ายืดเยื้อซื้อเวลา อารมณ์ชาวบ้านคุกรุ่นได้ง่าย
ปล. ยกเลิกแม่งซะดีมั้ย กำนัน ผญบ. มีแต่ อบต ก็พอมั้ง28/08/56 14.30 น.กำนัน - ผู้ใหญ่บ้าน จ.นครศรีธรรมราช ที่ไม่เห้นด้วยกับการชุมนุมของชาวสวนยาง เริ่มจัดทำไวนิล และแจกจ่ายให้ไปติดตามตลาดห้างร้านใน อ.ชะอวด
ทั้งนี้ในช่วงเช้าที่ผ่านมา ได้มีการประชุมร่วมกันระหว่าง ข้าราชการอำเภอ และกำนัน ผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่
ภาพ @ ช่างภาพนิรนาม
1229857_672887212738838_2056016513_n.jpg
#39
ตอบ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 04:53
คิดกันเอาเองเน่อ อธิบายไปก็ไม่มีคนเชื่อ
"คนพาลไร้สติ มักสร้างเรื่องและหลักฐานเท็จโกหก เพื่อคอยใส่ร้ายอีกฝ่ายหนึ่งเสมอ"
นาย ''Starเก๋ง'' ฟันธง! รถเก๋งขับมายิงเสื้อแดง http://webboard.seri...แค/#entry842224 ; http://webboard.seri...-25#entry408954
#41
ตอบ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 06:05
ตรรกะความคิดรัฐบาลของเรา ตอน: ยาง vs. ข้าว
รมว.เกษตร คุณยุคล ลิ้มแหลมทอง ให้สัมภาษณ์อธิบายว่าทำไมจึงช่วยชาวสวนยางกำหนดราคายางที่ ๑๒๐ บาทไม่ได้ ทั้งๆที่รัฐบาลเคยให้คำมั่นไว้ที่ราคานั้น
๑. "ประเทศไทย ไม่ได้เป็นผู้กำหนดราคายาง" (อ้าว แล้วทีข้าว เราเป็นคนกำหนดราคาหรือครับ)
๒. "เราใช้เงินไปแล้ว ๒๐,๐๐๐ ล้านบาท ซื้อยางราคาสูงกว่าตลาดที่ ๑๒๐ บาท แต่ไม่สามารถดึงราคาตลาดโลกขึ้นมาได้" (แล้ว ๗๐๐,๐๐๐ กว่าล้านบาท ที่ซื้อข้าวที่ ๑๕, ๐๐๐ บาทนั้นดึงราคาตลาดโลกได้หรือครับ)
๓. ท่านรัฐมนตรีถามว่า ถ้าชาวสวนยางยัง (ดื้อ) ที่จะเอาราคา ๑๒๐ บาท เทียบกับราคาตลาด ๗๔ บาท "ใครต้องจ่าย และจ่ายอีกนานเท่าไร" (มีคนถามคำถามเดียวกันกับการซื้อข้าวราคาแพงมาเป็นปีแล้ว แต่ท่านรัฐมนตรีไม่เคยตอบ)
๔. "ยางที่ซื้อมาเก็บในสต็อกขายไม่ได้เพราะต่างชาติรู้ว่าเราจะขายเมื่อไร เขาจะทุบราคาทันที" (เมื่อรู้เช่นนี้แล้ว รัฐบาลเข้าใจหรือยังว่าทำไมจึงขายข้าวในโกดังรัฐบาลไม่ได้)
ทั้งหมดเป็นการพิสูจน์ว่าจริงๆแล้ว 'คิดได้'
และเป็นการพิสูจน์ว่ารัฐบาลเจตนา 'เลือกปฏิบัติ'
และพิสูจน์ว่าเรื่องข้าวนั้นเป็นการ 'แกล้งโง่' นั่นเอง
นีละครับ ที่อยากให้ คนไทยได้เห็น
พวกปากว่า ตาขยิบ
รู้ แต่ ทำเป็นไม่รู้ เห็นแต่ทำเป็นไม่เข้าใจ
เรื่องจำนำข้าว ผลก็คงไม่ต่างจากยาง เท่าไหร่นัก ผลดีผลเสีย เค้าก็รู้
แต่ กรูก็ยังจะทำ เพราะ ประชานิยม เพราะ คะแนนเสียง พรรค และ ตัวเอง ชนะได้เป็นพอ
ประเทศชาติ จะเป็นอย่างไร ช่างมัน พอเริ่มมีปัญหา ก็จมไม่ลงซะแล้ว
คนได้ผลประโยชน์ ไม่ยอม(ชาวนา คงเป็นแค่ข้ออ้าง คนได้จริงๆ มีอีกเยอะ)
จึงได้ละลายงบไปไม่รู้เท่าไหร่ต่อเท่าไหร่ เพื่อเพียงแค่คะแนนเสียง
สุดท้าย ก็ว่างเปล่า
ไม่นับนโยบายขายฝัน ทำจริงไม่ได้ ที่หลอกชาวบ้านไว้หลายสิ่งอัน
เพราะเป็นเทคนิคหาเสียง
เช่น ยุบกองทุน ค่ารถไฟฟ้า เงินกู้ และ ค่าครองชีพ
เลือกมาแล้ว แต่ทำไม่ได้ ไม่เป็นไร
ถือเป็นการสร้างบรรทัดฐานใหม่ทางการเมือง โฆษณาเกินจริง
ถึงเวลาเวรกรรมคงจะตามทันแล้วมั๊ยเนี่ย
คราวหน้าก็คงจะมีให้เห็นอีก เจ็บไม่จำกันนิ คนไทย
- mr.patton likes this
#42
ตอบ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 08:49
เมื่อประชาชนเดือดร้อน รัฐบาลไม่สนใจเเก้ปัญหา จะเล่นเเต่เกมการเมืองคิดเเต่รักษาผลประโยชน์ให้กับตัวเเละพวก เราจะให้รัฐบาลเเบบนี้บริหารประเทศต่อไปหรือคับ ผมไม่ใช้คนภาคใต้ ราคายางจะเท่าไรผมไม่เดือดร้อน เเต่เมือเพื่อนร่วมชาติของเราได้รับความเดือดร้อนโดยที่รัฐบาลไม่สนใจจะเเก้ปัญหา ทั้งๆ ที่จะเเก้ก็เเก้ได้ ตามที่ผมได้กล่าวมาเเล้ว เเบบนี้เป็นหน้าที่ ที่ประชาชนในชาติจะออกมาช่วยเพื่อนร่วมชาติทวงถาม กับผู้มีอำนาจบริหารประเทศ
คนสนับสนุนพรรคอีโง่เเห่งสยามอย่าตอเเหลนักเลยคับ ขอร้อง
" ขอระบายหน่อย ...สุดอัดอั้น! เกษตรกรชาวสวนยางชะอวด "
https://www.facebook...&type=2
- เงาไม้ likes this
#43
ตอบ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 08:56
เห็นใจพี่น้องสวนยางทั่วประเทศเช่นกัน ครม.แก้ปัญหาไม่ตรงจุด นายกลอยตัวหนีปัญหา
ขี้ข้าสารพัดจะสรรหาเรื่องโกหกหลอกลวงเพื่อให้ดูดีแต่ลืมไปอย่าง คนเรามันหนีความจริงไม่พ้นหรอก
วันนี้แค่เพิ่งเริ่ม ไม่ใช่เพิ่งจบ อย่าลำพองใจ
- เช never die likes this
#44
ตอบ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 09:13
ปัญหาราคายางอย่าเอามาเทียบกับจำนำข้าวเพื่อสร้างความแตกแยก
สมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์
2551 ราคายางพารา กิโลกรรมละ 75 บาท
2552 ราคายางพารา กิโลกรรมละ 59 บาท
สมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์
2553 ราคายาง กิโลกรรมละ 106 บาท
2554 ราคายางกิโลกรรมละ 132 บาท
2555 ราคายางกิโลกรรมละ 94 บาท
จะเห็นว่าช่วงสมัยรัฐบาลอภิสิทธ์ราคายางตกต่ำมาก แต่ก็ไม่เห็นมีการประท้วงเลย แต่พอถึงรัฐบาลยิ่งลักษณ์ดันมาประท้วงซึ่งเป็นการประท้วงแบบเอาเป็นเอาตายไปข้างนึงเลยทีเดียว ลักษณะการประท้วงก็ไม่เหมือนการประท้วงเพื่อปากท้อง แต่เป็นการประท้วงเพื่อล้มรัฐบาลมากกว่า ถึงต้องไปเกณฑ์เด็กวัยรุ่นมาเตรียมก่อเหตุแบบนี้
จะเอามาเปรียบเทียบว่า ทำไมข้าวประกันราคาได้ ยางพราราทำไมประกันราคาไม่ได้ คงไม่ถูกต้องนัก
หากเปรียบเทียบยางพารากับข้าวแล้ว
1. ข้าวคือสินค้าอุปกโภคบริโภท ด้านอาหาร ส่วนยางพาราเป็นสินค้าแบบใช้สอย
2. ข้าวรัฐบาลช่วยให้ได้ตันละ 15,000 บาท (15 บาท/กิโลกรัม) ยางพารา 71-72 บาท/กิโลกรัม
3. ข้าวปลูกแล้วต้องรอ 3-4 เดือน ถึงจะเก็บเกี่ยวได้ ยางพาราเก็บเกี่ยวได้ทุกวัน ๆ ละหลายกิโลกรัม
4. เกษตรกรชาวนา ยากจนรายได้น้อยและเสียเปรียบพ่อค้านายทุนมาตลอด แต่เกษตรกรชาวสวนยางร่ำรวย มีรายได้ทุกวัน
หากไม่มีใครยุแหย่ คงไม่มีการออกมาประท้วงแบบนี้หรอก เพราะราคาต่ำแค่ 71-72 บาท/กิโลกรัม ก็ทำให่ชาวสวนยางรวยแล้ว
หากจะบอกว่ามีสวนยางอยู่ 2 ไร่ กรีดทุกวันรายได้เฉลี่ย วันละ 300 แล้วมันไม่พอกิน ต้องขึ้นราคายางเพื่อให้พอกินคงไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ถูกต้อง ไม่งั้นผมก็จะกลับไปปลูกข้าว ไร่เดียวก็พอ แล้วขอตันละ แสน เพื่อให้อยู่ได้
หากจะถามแบบหาเรื่องว่าทำไมประกันราคาข้าวได้ แต่ประกันราคายางไม่ได้ ก็คงต้องโดนถามกลับไปว่า เช็คช่วยชาติ ทำไมแจกคนมีงานทำได้ ทำไมแจกคนตกงานหรือคนทำงานนอกระบบไม่ได้
คำเกิ่ง แห่งทุ่งหมาหลง
- Tam-mic-ra. likes this
#46
ตอบ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 09:20
เอ็งอยากรู้ราคาจริง มาถามผมก็ได้นะ บ้านผมสวนยางพันๆ ไร่
คิดกันเอาเองเน่อ อธิบายไปก็ไม่มีคนเชื่อ </p>
ไม่ต้องบิดเบือนหรอก โง่จริงๆ
#47
ตอบ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 10:17
ล่าสุดแกนนำได้ประชาสัมพันธ์ให้รถ นักเรียน รถพยาบาล ฉุกเฉินผ่านได้ตามปกติ ไม่ได้เป็นตามที่สื่อเสนอไป ข่าวเเบบนี้ช่อง3เสนอไหมคับ
#48
ตอบ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 10:23
ราคายางตกต่ำในรอบนี้ เกิดจากการทำงานผิดพลาดของ รัฐบาลนะครับStarted by mr.patton, Today, 13:49ถ้าถามหมวดเจ็บ....รองโฆษพรรคเพื่อแม้ว....ราคายางตกตกต่ำเป็นผลพวงจาก"รัฐประหารปี 19 กันยายน 2549.......ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า
ความจริงแค่หมวดร่านกับปูกี้สองคน ราคายางควรจะกระเตื้องนะครับ
ต้องใช้ condom เยอะ
- เช never die likes this
#49
ตอบ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 10:44
สิ้นยุคทองราคายาง ? : สาเหตุ ผลกระทบ และทางออก ถนัด ตันสกุล มิถุนายน 2556
พอยางตกมีหลักการขึ้นมาเชียว ตอน 49 บอกเพราะทักษิน
เห็นได้ชัด ว่าคุณ ไม่ได้โง่ พยามศึกษาหาความรู้ แต่ทุกครั้ง จะชอบความรู้ที่ ลัทธิแดงจัดหามาให้...และพยามหาความรู้ผ่านอคติที่ตนมี ปัญหามันมีว่า ปริมาณยางมีมากเกินความต้องการหรือเพราะ
รัฐไปจำกัดการส่งออกยาง ทำให้ผู้ส่งออกลดปริมาณการซื้อ
http://www.thanonlin...3-26&Itemid=423
รัฐไปส่งเสริมน้ำยางสด ทำให้ตลาดแรงงานมีปัญหา เพราะนายทุนหันไปซื้อน้ำยางสด เพื่อมาทำยางแผ่นแทน ชาวบ้านก็ขาย เพราะหนี้เยอะ รอบเร็วดี
การโค่นยางเก่าทิ้ง ไม่มีทางทำได้ เพราะยางรุ่นใหม่ส่งส่งเสริมก่อนหน้า กำลังเริ่มตัด..
ประเทศไทยปล่อยให้เอกชนนำยางไปแปรรูปเองโดยขาดการส่งเสริมจากรัฐ
http://km.rubber.co....&layout=default
แค่นี้ก่อนนะดอน ....เด๋ยวดอนปรับตัวไม่ทัน
- mr.patton likes this
#50
ตอบ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 11:17
สดจากพื้นที่เมื่อ4นาทีที่เเล้ว สื่อบางสื่อไม่ให้ความจริงแก่ประชาชน ที่ถูกทำร้ายไปออกข่าวบิดเบือน เข้าข้างรัฐบาลมันเพิ่มความเลวร้าย ให้ประชาชนที่ลำบากอยู่แล้ว ประชาชนออกมาเรียกร้อง เรื่องปากท้องเรื่องราคายางตกต่ำ สื่อเลว ๆ ทำให้สื่อดีดีเสียไปด้วย นี่คือเหตุการล่าสุดที่ตำกวด ขับรถไล่ชนเด็กที่จะกลับไปอาบน้ำที่บ้าน อ . ชะอวด
1148871_156652887866462_1630991692_n.jpg
ผู้ใช้ 2 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้
สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 2 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน