แทนที่จะเป็นการมาปาฐกถาเพื่อปฏิรูปประเทศ
ระวังจะกลายเป็นการชักศึกเข้าบ้านนะไอ้น้อง
สงครามอิรัก
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สงครามอิรัก เป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในประเทศอิรักตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2546 ด้วยการรุกรานอิรักโดยสหรัฐอเมริกาซึ่งมีประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุชเป็นผู้นำ และสหราชอาณาจักรซึ่งมีนายกรัฐมนตรีโทนี แบลร์เป็นผู้นำ สงครามคราวนี้อาจเรียกชื่ออื่นว่า การยึดครองอิรัก, สงครามอ่าวครั้งที่สองหรือ ปฏิบัติการเสรีภาพอิรัก โดยทหารสหรัฐ สงครามครั้งนี้สหรัฐอเมริกาได้ประกาศให้สิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2554 แม้ความรุนแรงประปรายยังมีต่อไปทั่วประเทศ......
http://th.wikipedia.org/wiki/สงครามอิรัก#cite_note-11
บุช และ โทนี่ แบลร์ ถูกศาลอาชญากรสงครามในมาเลเซีย ตั้งข้อหาแล้ว
สำนักข่าวเพรสทีวีของอิหร่าน รายงานว่า ศาลอาชญากรสงครามระหว่างประเทศในประเทศมาเลเซีย ได้เริ่มเปิดประชุมเพื่อพิจารณาข้อกล่าวหาต่างๆ ที่มีต่อจอร์จ ดับเบิลยู บุช อดีตประธานาธิบอีสหรัฐอเมริกา และโทนี่ แบลร์ อดีตนายกรัฐมนตรีของสหราชอาณาจักร ในกรณีบุกโจมตีประเทศอิรัก และอัฟกานิสถาน
ศาลอาชญากรรมสงครามนี้ ได้เริ่มต้นขึ้นเพื่อพิจารณาคดีอาชญากรสงคราม และพิจารณาคดีผู้ละเมิดกฏหมายระหว่างประเทศ เมื่อครั้งการรุกรานประเทศอัฟกานิสถาน ประเทศอิรัก ของอดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา จอร์จ ดับเบิลยู บุช และโทนี่ แบลร์ อดีตนายกรัฐมนตรีสหราชอาณจักร
ศาลอาชญากรสงครามกัวลาลัมเปอร์ประเทศมาเลเซีย ถูกจัดตั้งขึ้นโดยอดีตนายกรัฐมนตรีประเทศมาเลเซีย มหาเธร์ มุฮัมมัด ซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่ต่อต้านการรุกรานตามพื้นที่ต่างๆ ทั่วโลก ของกองกำลังต่างชาติโดยการนำของสหรัฐอเมริกาเมื่อประมาณสองปีก่อน หลังจากได้มีการศึกษาวิจัยอย่างมากมายของคณะกรรมการอาชญากรรมสงคราม ในกรณีต่างๆ อาธิเช่น การให้ปากคำของพยานคนหนึ่ง จากครอบครัวทีเป็นเหยื่อการรุกรานประเทศอิรัก ของกองกำลังต่างชาติโดยการนำของสหรัฐอเมริกา และกรณีอื่นๆ อีกมากมาย
เหตุผลการจัดตั้ง ศาลอาชญากรสงครามกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย อดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย มหาเธร์ มุฮัมมัด อ้างว่า เพราะศาลอาญาระหว่างประเทศที่กรุงเฮก มีการดำเนินการอย่างไม่เป็นธรรม โดยจะเลือกพิจารณาบางคดีเท่านั้น แม้ว่าศาลดังกล่าวยังไม่มีรัฐบาลใดสนับสนุน และขาดแคลนเงินทุน อีกทั้งยังยากที่จะนำเอาตัวผู้นำประเทศที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิด มาพิจารณาคดีในศาลแห่งนี้ อย่างไรก็ตาม ศาลนี้สามารถตราหน้าพวกผู้นำที่ละเมิดประชาชนได้ว่า เป็นอาชญากรสงคราม ซึ่งจะเป็นชนักติดหลังผู้นำเหล่านั้นไปจนวันตาย
ตามคำประกาศของคณะกรรมการอาชญากรสงครามกรุงกัวลาลัมเปอร์ จอร์จ ดัลเบิลยู บุช และโทนี่ แบลร์ ทั้งสองคือผู้ที่มีอำนาจในการสั่งการทั้งหมดต่อการรุกรานอัฟกานิสถาน และอิรัก
หนึ่งจากบรรดาโจทย์ที่ได้ร้องทุกข์ในปี 2009 ยังคณะกรรมการอาชญากรสงครามกรุงกัวลาลัมเปอร์ กล่าวว่า เขาคือผู้หนึ่งที่ถูกจับผิดตัวเป็นแพะรับบาป และถูกคุมขังอยู่ในคุกกวนตานาโม และมีการใช้ชีวิตที่แสนทรมานนานถึง6 ปี
หมายเรียกดำเนินคดีของศาลอาชญากรรมสงครามกรุงกัวลาลัมเปอร์สองฉบับ ได้ถูกส่งไปยังสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริการ และคณะกรรมการกำกับสูงสุดของอังกฤษ เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2011 ที่ผ่านมาเพื่อแจ้งดำเนินคดีกับ จอร์จ ดับเบิลยู บุช และโทนี่ แบลร์
ในขณะที่ศาลอาชญากรรมสงครามกรุงกัวลาลัมเปอร์ กำลังเริ่มพิจารณาคดีดังกล่าว ในเวลาเดียวกันทาง มูลนิธิสันติภาพโลกเพอร์ดานาในมาเลเซีย ก็ได้มีการจัดนิทรรศการขึ้นในกรุงกัวลาลัมเปอร์ เมืองหลวงของประเทศมาเลเซีย ซึ่งในนิทรรศการดังกล่าวได้มีการ นำรูปภาพต่างๆ มากมายเกี่ยวกับอาชญากรรมสงครามมาให้ประชาชนทั่วไปได้ชม
เป้าหมายของการจัดนิทรรศการของมูลนิธิสันติภาพโลกเพอร์ดานาในครั้งนี้ คือ การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบจากการทารุณกรรมของสงครามแก่ประชาชนทั่วไป อาธิเช่น ภาพน่าหวาดเสียวภาพหนึ่งที่ได้นำมาเผยแพร่ในนิทรรศการดังกล่าว คือภาพของบุคคลหนึ่งที่มีแต่ร่างกายโดยที่ศรีษะของเขาหายไป ซึ่งเป็นเหยื่อของสงคราม
ในนิทรรศการดังกล่าวยังได้นำรูปภาพของ อะบูฆอรีบ ชาวอิรัก เป็นรูปที่ถูกบันทึกพร้อมกับที่พักอาศัยที่เป็นแค่เพิงเล็กๆ เพื่อต้องการสื่อให้เห็นว่าการทารุณกรรมต่างๆ ของกองกำลังสหรัฐอเมริกามีอย่างไรบ้าง
หลายปีที่ผ่านมานับตั้งแต่การรุกรานของกองกำลังต่างชาติ โดยการนำของสหรัฐอเมริกาในประเทศอัฟกานิสถาน และอิรัก ที่ต้องทำให้ประชาชนผู้บริสุทธิ์ต้องล้มลายนับล้านๆ คน
http://www.fatonionl...news/detail/238