คำถาม
ไทยส่งออกเบนซิน-ดีเซลขายกัมพูชาและลาวลิตรละ 24-25 บาท แล้วทำไมคนไทยต้องจ่ายลิตรละ 40 บาท
ความจริง
ราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศของแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน ราคาส่งออกเป็นราคาที่ยังไม่รวมภาษี กองทุน และอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ซึ่งผู้นำเข้าแต่ละประเทศมีนโยบายด้านภาษีและกองทุนต่างกัน การคำนวณราคาขายปลีกจึงต่างกัน
ขณะที่ราคาที่จำหน่ายในประเทศที่นำมาเปรียบเทียบนั้นเป็นราคาขายปลีกซึ่งรวมภาษีและกองทุนต่าง ๆ แล้ว ( ปัจจุบันภาษีและกองทุนที่เรียกเก็บของไทยอยู่ที่ประมาณ 14.80 บาทต่อลิตรสำหรับเบนซิน 91 และ 12 บาทต่อลิตรสำหรับแก๊สโซฮอล์ 95 และ 2.95 บาทต่อลิตรสำหรับน้ำมันดัเซล ณ ราคาวันที่ 19 เม.ย. 2555 )
ฉะนั้น เมื่อรวมภาษีและกองทุนที่แต่ละประเทศเรียกเก็บแล้ว ราคาน้ำมันที่กัมพูชาและลาวไม่ได้ถูกกว่าไทย โดยราคาเบนซินของกัมพูชาและลาวอยู่ที่ 43 บาท ขณะที่พม่าอยู่ที่ 33 บาทต่อลิตรเพราะเก็บภาษีต่ำกว่า
ขณะที่ราคาน้ำมันดีเซลซึ่งเป็นน้ำมันที่ใช้ในการขนส่งและผลิต ประเทศไทยยังมีราคาต่ำกว่าเพื่อนบ้าน
ประเทศ ราคาดีเซล (บาท/ลิตร) ไทย 32 กัมพูชา 39.9 ลาว 38.7 พม่า 34.4
อย่างไรก็ตาม ราคาส่งออกก็เปลี่ยนแปลงขึ้นลงตามราคาน้ำมันในตลาดโลก ณ ปัจจุบันราคาส่งออกซึ่งไม่รวมภาษีและกองทุนจะอยู่ที่ประมาณ 28 บาทต่อลิตร ใกล้เคียงกับราคา ณ โรงกลั่นที่โรงกลั่นไทยจำหน่าย
ประเทศไทยไม่สามารถผลิตน้ำมันดิบได้เพียงพอต่อความต้องการใช้ ดังนั้น เราต้องนำเข้าน้ำมันดิบทั้งจากแหล่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตะวันออกกลาง ตะวันออกไกล และแหล่งอื่นๆ กว่า 85% ของการใช้ โดยอีก 15% เราใช้น้ำมันดิบที่ผลิตได้จากแหล่งในประเทศ เมื่อหักลบต้นทุนจากน้ำมันดิบที่เราต้องนำเข้าแล้ว รายได้ของประเทศไทยจะได้เพียงค่าการกลั่นซึ่งประมาณลิตรละบาทกว่าๆ เท่านั้น
และอีกสาเหตุที่ทำให้การส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปที่เหลือใช้จากโรงกลั่นในประเทศมีปริมาณมากขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคหันมาใช้ LPG ในภาคขนส่งแทนน้ำมันมากยิ่งขึ้น ประเทศต้องจ่ายเงินชดเชยการนำเข้า LPG เพิ่มขึ้นอีกด้วย
ในปี 2000 ไทยใช้ LPG ในภาคขนส่งเพียง 162,000 ตัน และเพิ่มเป็น 680,000 ตันในปี 2010 เท่ากับเพิ่มขึ้นถึงเฉลี่ยปีละ 15%
ไทยนำเข้าน้ำมันดิบมาอ้างว่า น้ำมันดิบในอ่าวไทยกลั่นได้ดีเซลน้อย ไม่พอใช้จึงต้องส่งออกน้ำมันดิบ การนำเข้าก็เกินกว่าความต้องการของการใช้ในประเทศ ซึ่งปัจจุบันยังมีข้อสงสัยว่าน้ำมันดิบที่นำเข้า มาจากอ่าวไทย หรือเป็นคอนเดนเสทที่ไม่แจ้งปริมาณที่ขุดได้ใช่ไหม และเป็นที่น่าแปลกที่เรามีโรงกลั่นมากๆ ไว้เพื่ออะไร เพื่อกลั่นน้ำมันเกรดสูงๆเพื่อส่งออกหรือไง พอจับได้ว่าส่งออกดีเซลด้วย ก็แถว่า ใช้ LPG กันเยอะ แต่ความจริงแล้ว ปริมาณการใช้ของภาคขนส่งน้อยกว่าภาคปิโตรเคมีหลายเท่านัก ถ้าให้ภาคปิโตรเคมีนำเข้า LPG หรือ แนฟทา (1) เข้ามาใช้เองโดยไม่ต้องชดเชยการนำเข้า ภาคอื่นๆก็จะได้ใช้ LPG ในราคาเดิม โดยไม่ต้องมีกองทุนน้ำมันอีกต่อไป ราคาน้ำมันและ LPG ก็จะลดลงอย่างมาก หากได้แก้ไขให้รัฐ สามารถแบ่งรายได้กำไรจากสัมปทานน้ำมัน แทนภาษีต่างๆ ราคาน้ำมันและLPG ก็จะมีราคาใกล้เคียงมาเลเซีย การอุดหนุนภาคปิโตรเคมีให้มีต้นทุนน้อยๆ ก็เป็นการทำให้ราคายางสังเคราะห์ถูกลง ซึ่งเป็นการซ้ำเติมราคายางธรรมชาติด้วย
(1) แนฟทาเป็นผลิตภัณฑ์น้ำมันส่วนเบาที่ได้จากการกลั่นน้ำมันดิบ มีช่วงการกลั่นเช่นเดียวกับน้ำมันเบนซิน ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมน้ำมันและอุตสาหกรรมตัวทำละลาย
Edited by Stargate-1, 31 August 2013 - 22:05.