Jump to content


Photo
- - - - -

ข้อคิด และแนวทาง การปฏิรูปการเมือง


  • Please log in to reply
ยังไม่มีผู้แสดงความเห็นในกระทู้นี้

#1 sriariya

sriariya

    น้องใหม่

  • Members
  • Pip
  • 29 posts

ตอบ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 11:02

“ข้อคิดและแนวทาง การปฏิรูป การเมือง”

            บทความนี้ เป็นข้อคิดเห็นและเสนอแนะ อันสมควร(ปฏิรูป)ที่จะนำไปประพฤติปฏิบัติเพื่อให้เกิดการปฏิรูปที่ดี ซึ่งก็ย่อมขึ้นอยู่กับความคิด ความรู้ ความเข้าใจของแต่ละบุคคลหรือของแต่ละกลุ่มบุคคล เพราะการปฏิรูปนั้น หมายถึง การกระทำทั้งทางกาย วาจา และใจที่เหมาะสม สมควร ตามระบอบการปกครองของประเทศนั้นๆ

            ก่อนที่บุคคลกลุ่มต่างๆ จะทำการปฏิรูปการเมือง ให้เหมาะสม สมควร ตามระบอบการปกครองของประเทศ กลุ่มบุคคลดังกล่าว ก็ควรได้ปฏิรูปสภาพ ความรู้ ความคิด และจิตใจ ในตัวเองให้ดีและเป็นกลางเสียก่อน เพราะถ้าหาก กลุ่มบุคคลผู้ที่จะทำการปฏิรูป มีความรู้ มีความเข้าใจ มีความคิด และจิตใจ เพียงเพื่อหวังที่จะให้เกิดเป็นผลประโยชน์ต่อฝ่ายตนและพวกพ้อง  การปฏิรูปย่อมล้มเหลว

            บุคคลกลุ่มต่างๆ ที่จะทำการปฏิรูปการเมือง ต้องมีความรู้ ความเข้าใจ ก่อนว่า ระบอบการปกครองของประเทศ มีการปกครองในระบอบใด เพราะระบอบการปกครองประเทศ ย่อมเป็นตัวกำหนดทิศทาง วิธีการในการบริหารและปกครองประเทศในด้านต่างๆ  ถ้าหากการปกครองของประเทศ มีการปกครองในระบอบ “ประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข” ก็ย่อมมีหลักการ กฎเกณฑ์ ในการบริหารและปกครองประเทศ ที่แตกต่างจากการบริหารและปกครองตาม ระบอบประชาธิปไตย แบบอื่นๆอยู่บ้างบางประการ แต่โดยรวมแล้ว การบริหารและปกครองประเทศตามระบอบประชาธิปไตย ย่อมมีหลักการบริหารและปกครองภายใต้กฎเกณฑ์ของอำนาจมหาชนที่เรียกว่า “หลักนิติรัฐ” อันหมายถึง “การกำหนดอำนาจหน้าที่ รวมถึงการควบคุมและตรวจสอบ การใช้อำนาจของคณะผู้ปกครองประเทศ เพื่อป้องกันการใช้อำนาจเกินขอบเขต หรือใช้อำนาจเพื่อผลประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้อง ” ซึ่ง หลักนิติรัฐ นั้น ได้แบ่งอำนาจการบริหารและปกครองประเทศเพื่อถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน ออกเป็น ๓ ประเภท คือ

๑.อำนาจบริหาร

๒.อำนาจนิติบัญญัติ

๓.อำนาจตุลาการ

            โดยหลักการ “นิติรัฐ”นี้ ย่อมเป็นรากฐาน เป็นพื้นฐาน แห่งการคิดพิจารณาในอันที่จะปฏิรูปการเมืองในด้านต่างๆ ได้เป็นอย่างดียิ่ง หากกลุ่มบุคคลที่จะทำการปฏิรูป ล้วนมีความรู้ ความเข้าใจ ในหลักการบริหารและปกครองประเทศอย่างถ่องแท้แล้ว ย่อมนำเอา อำนาจการปกครองประเทศ ทั้ง ๓ ประเภท มาเป็นแม่แบบต้นแบบ หรือเป็นแนวทาง ในการปฏิรูปการเมืองเพื่อประชาชนได้อย่างดียิ่ง มีความยุติธรรม เหมาะสม และสมควร เป็นอย่างยิ่ง 

            แต่ถ้าหากกลุ่มบุคคลที่จะทำการปฏิรูป  ขาดความรู้ ความเข้าใจ ในอำนาจการบริหารและปกครองทั้ง ๓ ประเภท หรืออาจมีความรู้ความเข้าใจ แต่มีความคิด จิตใจ ในอันที่จะกระทำเพื่อผลประโยชน์ของฝ่ายตนและพวกพ้อง การปฏิรูป ก็จะโอนเอียงไปในทางที่เป็นช่องทางเพื่อแสวงหาผลประโยชน์  หรือความสะดวกในอันที่จะก่อให้เป็นผลประโยชน์ ต่อฝ่ายตนและพวกพ้อง

            การปฏิรูปองค์กรทุกองค์กร อันเกี่ยวข้องกับการเมือง หรือเกี่ยวข้องกับการบริหารหรือปกครองประเทศ ควรได้ปฏิรูป ความรู้ ความคิด จิตใจของบุคคลหรือบุคคลากรที่เกี่ยวข้องก่อนเป็นอันดับแรก ถ้าหาก ความรู้ ความคิด จิตใจของบุคคลหรือบุคคลากรที่เกี่ยวข้องทางการเมือง คือ เกี่ยวข้องกับการบริหารหรือปกครองประเทศ หวังกระทำเพียงเพื่อ ประโยชน์ฝ่ายตนและพวกพ้อง ความไม่ถูกต้องไม่ยุติธรรม ความขัดแย้ง ความวุ่นวายในสังคม ก็ย่อมเกิดขึ้น   แต่ถ้าหาก ความรู้ ความคิด จิตใจ ของบุคคลหรือบุคคลากรที่เกี่ยวข้องทางการเมืองการปกครอง หวังกระทำ เพื่อประเทศชาติ และประชาชนอย่างแท้จริง ความยุติธรรมก็ย่อมเกิดมี และย่อมไม่มีความขัดแย้ง  อีกทั้งไม่เกิดความวุ่นวายอย่างเด็ดขาดแน่นอน หรือจะเรียกว่า เกิดมี ความปรองดอง ในสังคม ก็ได้เช่นกัน

            การเมือง คือ การบริหารและปกครองประเทศ ตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ย่อมเป็นไปตาม “หลักนิติรัฐ” ซึ่งประกอบด้วย อำนาจในการบริหารและปกครองประเทศ ๓ ประการ ล้วนเป็นการกำหนดอำนาจหน้าที่ สามารถควบคุมและตรวจสอบได้ เพื่อป้องกันมิให้ คณะผู้ปกครองประเทศ ใช้อำนาจเกินขอบเขต ที่กำหนดไว้ เพื่อถ่วงดุลอำนาจ ป้องกันมิให้ก้าวก่าย หรือละเมิดอำนาจ  โดยใช้กลวิธีต่างๆนานา หากบุคคลหรือบุคคลากรที่เกี่ยวข้องกับการเมือง มีความรู้ มีความเข้าใจ ใน “หลักนิติรัฐ” มีความรู้ มีความเข้าใจ ในอำนาจทั้ง ๓ ประการสำหรับใช้ในการ บริหารและปกครองประเทศ อีกทั้งยังมีความรู้ความเข้าใจในการที่จะนำเอา อำนาจในการบริหารและปกครองประเทศมาเป็นแม่แบบ ต้นแบบหรือแนวทางในการที่จะปฏิรูปการเมือง  การปฏิรูปย่อมเป็นไปโดยความสุจริต ยุติธรรม ไม่เป็นช่องทางให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหาผลประโยชน์ หรือไม่ใช้เป็นช่องทางเพื่อการแสวงหาผลประโยชน์ให้ฝ่ายตนและพวกพ้อง  ดังนั้นขอให้ท่านทั้งหลายที่เป็นกลุ่มบุคคลหรือบุคคลากรทางการเมือง ได้คิดได้พิจารณา และได้นำเอา “หลักนิติรัฐ”ไปใช้เป็นแม่แบบต้นแบบหรือแนวทางในการปฏิรูปการเมืองในทุกด้าน เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ เพื่อให้เกิดความผาสุกของประชาชนทุกชนชั้นเถิด.

            จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์ (รป.บ.)

               ผู้เขียน  ๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๖






ผู้ใช้ 1 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้

สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 1 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน