Jump to content


Photo
- - - - -

บทวิเคราะห์ วิกฤตปัญหายาง ที่น่าสนใจ


  • Please log in to reply
14 replies to this topic

#1 raksthaban

raksthaban

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 640 posts

Posted 30 August 2013 - 14:00

ที่มา http://www.thaiagrin...-ยางพาราราคาตก/

 

 

หลายปีมานี้ เกษตรกรทุกภาคในประเทศไทยต่างหันมาปลูกยางพารากันแทนพืชเศรษฐกิจอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นพืชสวนหรือพืชไร่ รวมทั้งข้าว แต่ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาปรากฏว่าราคายางพาราตกลงจากที่เคยสูงสุด กิโลกรัมละ 180 บาท เหลือไม่ถึงกิโลกรัมละ 100 บาท ทำเอาเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราในหลายพื้นที่ออกมาประท้วง กระทั่งรัฐบาลตัดสินใจทุ่มงบประมาณ 15,000 ล้านบาท มาประกันราคาซื้อขาย แต่ก็ยังมีปัญหายืดเยื้อมาอีกว่า การประกันราคายางพาราดังกล่าวไม่ได้ตกถึงเกษตรกรรายย่อย
 
ประเด็นเหล่านี้หลายฝ่ายต่างวิเคราะห์ตรงกันว่า ในระยะเวลาอันใกล้นี้ราคายางคงไม่กลับไปสูงเหมือนสมัยก่อน เพราะปัจจุบันเศรษฐกิจยุโรปมีปัญหา ขณะเดียวกันจีนซึ่งเป็นประเทศที่ใช้ยางมากที่สุด ปรากฏว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนก็ไม่รุ่งโรจน์เหมือนปีที่ผ่านมา ฉะนั้น เกษตรกรหรือผู้ประกอบการเกี่ยวกับยางพาราคงจะต้องปรับตัว เพราะการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ย่อมส่งผลกระทบต่อราคายางพาราและผลผลิตอันเกี่ยวเนื่อง
 
คุณเยี่ยม ถาวโรฤทธิ์ ผู้จัดการ บริษัท ร่วมทุนยางพาราระหว่างประเทศ จำกัด (ประกอบไปด้วย ไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ในอนาคตจะรวมเวียดนามด้วย) จะมาแจกแจงให้ฟังว่า การเข้าสู่ AEC จะส่งผลอย่างไร ต่อสถานการณ์ยางพาราในประเทศไทย เกษตรกรและผู้ประกอบการต่างๆ จะใช้ประโยชน์จาก AEC ได้อย่างไร
 
ระบุเหตุต้นทุนไทยสูงที่สุด
 
การเปิด AEC นั้น เราต้องมองว่าเป็นประโยชน์กับประเทศไทยที่จะเปิดช่องทางให้สามารถขายสินค้าและบริการที่มีอยู่ได้มาก ไม่ต้องกลัว ผมมองว่าจะกลายเป็นข้อดีเสียอีก เพียงแต่ว่าเราต้องผลิตสินค้าและบริการให้มีคุณภาพมากที่สุด สามารถแข่งขันในเรื่องของต้นทุนให้ได้แค่นั้น
 
ประเทศไทยคงต้องปรับตัวเข้าสู่อุตสาหกรรมปลายน้ำมากขึ้น เพราะว่าถ้าเราจะผลิตยางแผ่นดิบและส่งออก มันมีหลายประเทศในประเทศประชาคมอาเซียน ไม่ว่าจะเป็นเวียดนาม ลาว ซึ่งล้วนมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า ฉะนั้น เมื่อเปิดเสรีในกลุ่มประชาคมอาเซียน คนจะไปซื้อยางที่ประเทศที่มีต้นทุนถูกกว่า เขาก็ขายในราคาที่ถูกกว่าได้ เพราะต้นทุนที่ถูกกว่าในขณะที่ต้นทุนการผลิตในประเทศไทยสูงที่สุดจากหลายปัจจัย
 
ยกตัวอย่าง เรื่องการคิดค่าแรงงานกรีดยางพารา ในมาเลเซียจะจ่ายค่าจ้างคนกรีดยางพาราเป็นรายวัน แต่ของเราจ่ายเป็นสัดส่วน คือ 40:50, 50:50 ตัวนี้จึงเป็นต้นทุนหลักที่ทำให้ต้นทุนการผลิตยางดิบสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ สูงกว่าทั้งอินโดนีเซียและมาเลเซีย จึงจำเป็นที่เราจะต้องปรับตัวเข้าสู่อุตสาหกรรมปลายน้ำ ต้องมีการส่งเสริมการลงทุนในเรื่องของผลิตภัณฑ์ยางมากขึ้น เพื่อจะสร้างมูลค่าเพิ่ม และจะทำให้ราคายางชาวสวนยางนั้นอยู่ได้ นี่เป็นประเด็นที่จะเข้า AEC
 
อย่างไรก็ตาม ถ้าเรายังดันทุรังที่จะปลูกยางพาราเพิ่มมากขึ้นในประเทศไทย ในขณะที่ต้นทุนสูงกว่า เกษตรกรก็จะประสบปัญหาเหมือนในตอนนี้ คือลูกค้าจะไปซื้อยางจากอินโดนีเซีย ซึ่งต้นทุนเขาถูกกว่า เราเองจะไปตำหนิเขาไม่ได้ เพราะผู้ซื้อต้องการซื้อยางที่ราคาถูกกว่า คุณภาพเหมือนกัน แต่ในเมื่อต้นทุนเราแพงกว่าจะไปขายถูก เราก็จะขาดทุน แต่อินโดนีเซียต้นทุนเขาถูกกว่า ขายถูกกว่าเขาก็อยู่ได้
 
แนะปรับสู่อุตสาหกรรมปลายน้ำ
 
ฉะนั้น ประเทศไทย ต้องปรับตัวไปสู่ในเรื่องของอุตสาหกรรมยางมากขึ้น หลังจาก ปี 2558 ซึ่งจะไปแก้ไขเรื่องของต้นทุนไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องของวัฒนธรรม เรื่องของธรรมเนียมของการปลูกยางพาราในประเทศไทย ถ้าคิดเป็นรายวันแรงงานก็จะไม่มากรีด เพราะเขาเคยปฏิบัติมาอย่างนั้น
 
อีกประเด็นหนึ่ง อาจจะมีปัญหาเรื่องแรงงาน เพราะค่าแรงเริ่มแพงขึ้น พูดได้ง่ายๆ ว่า ชาวสวนยางพาราไทยได้ผลตอบแทนสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน คือเกษตรกรเราขายยางดิบในราคาประมาณ 80-85% ในราคาส่งออกของ FOB คือ ยาง 100 บาท ชาวสวนยางจะได้ราคา 80-85 บาท ในขณะที่ราคาส่งออก 100 บาท แต่ประเทศอื่นเขาได้น้อยกว่านั้น เพราะต้นทุนเขาถูกกว่า เขาสามารถขายได้ราคาที่ต่ำกว่า 100 บาท ได้
 
ทางออกของประเทศไทย คือทำในรูปผลิตภัณฑ์ ซึ่งประเทศไทยเรามีจุดแข็งดีกว่าประเทศเพื่อนบ้านในเรื่องของนโยบายรัฐบาลก็ดี เรื่องของภาคเอกชนก็ดี มีความรู้ความสามารถ มีศักยภาพที่จะพัฒนาไปสู่อุตสาหกรรมต่างๆ ถือว่าไทยเรามีความพร้อมมากกว่าประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ ถ้าเราจะทำสินค้าสำเร็จรูปขาย รวมทั้งยางด้วย ที่เรามาทำเป็นผลิตภัณฑ์ นี่คือ จุดที่เรามีความพร้อม และควรจะหยิบขึ้นมาใช้ได้แล้ว แทนที่จะนำยางดิบไปขายต่างประเทศในต้นทุนที่สูงกว่า แต่ถ้าถามว่าขายได้ไหม ขายได้ แต่จะขายได้น้อยลง
 
พอสภาวะราคายางพาราลดลง คนที่เดือดร้อนมากที่สุดคือ ประเทศไทย ในปริมาณการใช้ยางพารานั้นมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามจำนวนประชากรโลก และโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ถุงมือยาง แม้ว่าเศรษฐกิจจะขึ้นหรือลง แต่ยอดการใช้ถุงมือยาง โดยเฉพาะทางการแพทย์เพิ่มขึ้นทุกปี และประเทศที่ผลิตตอนนี้รายใหญ่คือ ประเทศอินโดนีเซีย
 
ทั้งที่เขาไม่ได้ผลิตน้ำยางเลย เขานำเข้าน้ำยางจากไทยปีหนึ่งประมาณ 3 แสนตัน เอาไปทำอุตสาหกรรมถุงมือยางส่งออกทั่วโลก แต่ประเทศไทยเราไม่มีคอนเน็กชั่นกับเรื่องของการตลาด แต่การเรียนรู้เทคโนโลยีของผู้ประกอบการในเอกชน เขามีทุน เขามีความพร้อม แต่ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาล ขึ้นอยู่กับวิธีการที่จะทำอย่างไร ให้ผู้ประกอบการทำถุงมือยาง ถุงยางอนามัย ไปมีพันธมิตรกับประเทศที่เขามีการใช้ถุงมือยาง เรื่องการตลาด เพราะมาเลเซียเขาปลูกยางพาราก่อนเรา เพราะฉะนั้นเขามีคอนเน็กชั่นด้านการตลาดที่ดีกับผู้ใช้ยางในยุโรป
 
เรื่องของต้นน้ำไทยพร้อมมานานแล้ว เพราะต้นทุนเราสูงกว่าเขา ดังนั้น จะอยู่กับต้นน้ำเพียงอย่างเดียวจะตายได้ ทำให้เป็นปัญหาที่เป็นอยู่ ณ ตอนนี้ ต้องหาเงินมาประกันราคาให้อยู่ในระดับสูงกว่าตลาดโลก ในขณะที่ตลาดโลกต่ำกว่า และเมื่อจะให้ราคายางสูงในระดับที่ชาวสวนยางพาราพอใจมันฝืนกับธรรมชาติ เพราะเรามีปัญหาที่มีต้นทุนสูงกว่าเขา
 
ใช้มาตรการระยะสั้น-ยาว
 
บริษัท ร่วมทุนฯ ตอนนี้มีมาตรการในเรื่องของที่จะแนะนำ 3 ประเทศ ให้ควบคุมการขยายพื้นที่การปลูกยางพาราให้อยู่ในระดับไม่ให้มีผลผลิตล้นตลาด แม้รู้ว่ามีความต้องการเพิ่ม แต่อย่าไปเร่งมากขึ้น ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เหมือนกับกลุ่มโอเปกที่คุมเรื่องน้ำมัน นี่คือ มาตรการระยะยาว ที่จะต้องมีการพิจารณาในแต่ละปี มีความต้องการใช้ยางของโลกเพิ่มขึ้นเท่าไหร่ ใน 3 ประเทศ มีส่วนแบ่งตลาดและควรแบ่งโควต้ามาให้กับเรา อินโดฯ ควรปลูกแค่นี้ มาเลเซียปลูกแค่นี้ ไทยปลูกแค่นี้ เพื่อไม่ให้ยางพาราล้นตลาด นั่นคือ มาตรการระยะยาว
 
มาตรการระยะสั้นอีกอย่างหนึ่งคือ ชะลอการส่งออก เหมือนที่ประกาศ เมื่อ วันที่ 16 สิงหาคม ที่ผ่านมาว่า ยางไม่ได้ล้นตลาด เพียงแต่ว่ามันเกิดจากการซื้อขายการเก็งกำไรในตลาดล่วงหน้า ทำให้ราคายางพาราตก และถ้าไม่ต้องการให้ราคาตก เราก็จะดึงยางออกมาชั่วคราว 3 แสนตัน ตามที่ประกาศ ถ้าราคายางลงอีก เราก็จะดึง ปรากฏว่าหลังจากที่เราประกาศแล้ว ราคายางพาราหยุดลง มีแต่ราคาที่ยังทรงอยู่ เพราะตลาดรู้ว่ายางไม่ได้ล้นตลาด เพียงแต่ว่านักลงทุนเก็งกำไรในตลาดล่วงหน้า เขาเทขายสัญญาเพราะว่าพวกนี้เป็นนักเก็งกำไร พวกนี้เล่นกระดาษ พวกนี้ไม่ได้ซื้อขายยางพาราจริง เพราะเขาไม่มีความเชื่อมั่นก็ต้องเทขายสัญญา
 
นอกจากนี้ มีแผนว่า ก่อน ปี 2558 จะตั้งสภายางฯ ขึ้น เพื่อจะดึงประเทศผู้ปลูกยางพาราทั้งหมดเข้ามาอยู่ในสภา ที่เรียกกว่า อาเชี่ยนรับเบอร์เคาน์ซิล เพื่อว่าทุกคนจะได้มาร่วมมือกันในการทำงาน เพื่อจะให้ราคายางมีเสถียรภาพ เพราะในหลักการที่ว่า ทุกประเทศที่อยู่ภูมิภาคเดียวกันจะต้องร่วมมือกันทุกเรื่อง แต่เมื่อร่วมมือกันแล้วก็ต้องร่วมมือกันอย่างจริงจัง แทนที่จะมาแข่งตัดราคากันเอง เพราะมองว่าตลาดซื้อขายล่วงหน้า อย่างกรุงโตเกียว เป็นตลาดที่มีการเก็งกำไรมากเกินไป ไม่ได้ขึ้นลงตามว่าของมากของน้อย
 
ตลาดโตเกียวนั้น มีทั้งยางพารา น้ำมัน ทองคำ ถ้าอันไหนตกเขาก็ขาย อันไหนขึ้นเขาก็ซื้อ ทำให้ราคายางไม่ได้ขึ้นลงตามปัจจัยพื้นฐาน ทั้ง 3 ประเทศนี้ จึงต้องมองหารูปแบบการตลาดที่จะให้ราคายางสะท้อนราคาที่ควรจะเป็น เพราะวัตถุประสงค์หลักคือ ต้องการให้ผู้ปลูกยางพาราอยู่ได้ ผู้ต้องการใช้ยางโดยเฉพาะอุตสาหกรรมยางล้อ ถุงมือยาง เขาสามารถซื้อยางพาราได้ในราคาที่ควรจะเป็น เมื่อก่อนขึ้นถึงกิโลกรัมละ 180 บาท แต่ตอนนี้เหลือ 80 บาท ในฐานะเกษตรกรก็เดือดร้อน พอราคาสูงก็ดีใจ แต่พอลงรายได้น้อยลงก็จะมีปัญหา
 
แทนที่เราจะเอาเงิน 15,000 ล้านบาท มาซื้อยางพาราโดยตรง เราก็เอาเงิน 15,000 ล้านบาท มาเป็นกองทุนรักษาเสถียรภาพราคายางของประเทศไทย สมมุติเราตั้งราคาประกันยางไว้ 100 บาท ยางแผ่นดิบ ถ้ายางต่ำเหลือ 80 บาท ก็เอา 15,000 ล้านบาท ไปจ่ายชดเชย 20 บาท แทนที่ 100 บาท ซื้อได้ 1 กิโลกรัม แต่ถ้าประกันชดเชย 20 บาท คุณซื้อได้ตั้ง 5 กิโลกรัม แต่ถ้าราคายางสูงกว่า 100 บาท เกษตรกรต้องจ่ายเงินเข้ากองทุนเหมือนเราทำประกันชีวิต เกษตรกรต้องรับผิดชอบตัวเอง
 
อันนี้เหมือนกับการตั้งกองทุนรักษาเสถียรภาพราคายาง ซึ่งเป็นมติที่ประชุมของทั้ง 3 ประเทศ ที่บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2554 การตั้งกองทุนดังกล่าวจะมีความยั่งยืน จะได้ไม่ต้องไปรบกวนภาษีของแต่ละประเทศในอนาคต พร้อมกันนั้นจะต้องตั้งตลาดที่สะท้อนราคายางพาราที่ควรจะเป็นให้ได้ และในเดือนธันวาคมนี้ก็จะมีการประชุมคณะรัฐมนตรีทั้ง 3 ประเทศ ที่ไทย เพื่อติดตามความก้าวหน้าของมติที่ประชุมดังกล่าว ซึ่งใช้หลักการเดียวกับกองทุนน้ำมัน
 
หากใครจะเข้าโครงการ ก็จะต้องมาติดต่อจดทะเบียน มีพื้นที่ปลูกยางพาราเท่าไหร่ ปีหนึ่งคาดว่าน่าจะได้ผลผลิตยางพาราเท่าไหร่ ถ้าขายยางพาราได้ราคาเกินกว่าราคาขั้นต่ำในปีนั้น ก็หักเข้าเงินกองทุน พอราคายางพาราต่ำกว่าราคาประกัน กองทุนก็จ่ายชดเชย
 
ส่งเสริมให้ลงทุนในแหล่งปลูกยางพารา
 
ทั้งนี้ เมื่อตั้งกองทุนแล้วก็สามารถควบคุมพื้นที่ปลูกยางพาราได้ ถ้าเราตกลงแล้วว่า ประเทศไทยปีหน้าจะให้ขยายได้ 500,000 ไร่ เราก็นำมาจัดสรรให้กับคนที่จดทะเบียนเข้ากองทุน เป็นผลพวงที่เชื่อมโยงกันหมด ฉะนั้น เราต้องอิงกัน จะอยู่คนเดียวไม่ได้ เพราะต้นทุนของยางพาราเราสูงกว่าเพื่อน จึงต้องมีการผลักดันให้ไปสู่ปลายน้ำ ในขณะเดียวกันเราก็ซื้อวัตถุดิบจากประเทศเพื่อนบ้าน จากพม่า จากเขมร เราต้องพัฒนาอุตสาหกรรมยางไว้เพื่อประเทศเรา และก็หาพันธมิตรที่มีเทคโนโลยีมีโนว์ฮาว
 
ในขณะเดียวกัน เราไม่จำเป็นต้องตั้งนิคมอุตสาหกรรมในประเทศไทย จุดไหนที่เป็นแหล่งตลาด BOI ควรส่งเสริม เช่น ส่งเสริมการลงทุนในจีน ตั้งโรงงานผลิตยางล้อ เหมือนบริษัทใหญ่ๆ ต่างประเทศทั่วโลก เช่น บริดจสโตน ไปตั้งโรงงานผลิตยางล้ออย่างเดียวในจีน หรือญี่ปุ่นที่เขาตั้งโรงงานทั่วโลก
 
ฉะนั้น วิธีคิดของประเทศไทยก็คือ รัฐบาลก็ดี หรือ BOI ก็ดี อย่าคิดแค่ว่าจะส่งเสริมการลงทุนแค่ประเทศเดียวในเมืองไทยที่มีประชากรเพียง 70 ล้านคน ควรจะมีการส่งเสริมให้คนไทยไปลงทุนที่ ยุโรป จีน แอฟริกา ลงทุนที่ตะวันออกกลาง ไปทำถุงมือยางแล้วขายให้กับคนที่นั่น เป็นการส่งเสริมคนไทยไปลงทุนทั่วโลก และจะมีการใช้วัตถุดิบมากขึ้น เราเอายางจากประเทศเพื่อนบ้านไปผลิตที่แอฟริกา มันก็มีการสร้างมูลค่าเพิ่ม นำรายได้เข้าประเทศ
 
เรื่องของยางพาราตอนนี้ไทยมีผลผลิตมากอันดับ 1 แต่อินโดนีเซียมีพื้นที่ปลูกมากกว่า เรามีศักยภาพในการพัฒนามากกว่า มาเลเซียปลูกเป็น อันดับ 3 เขามีการใช้ยางมาก โดยนำผลผลิตไปผลิตต่อทำมูลค่าเพิ่ม โดยเฉพาะถุงมือยาง มีการนำเข้าน้ำยางจากไทย ปีละ 3 แสนตัน
 
หากมีผู้ประกอบการ มีความสนใจ นำยางมาแปรรูปให้มากขึ้นนั้นตลาดมีอยู่แล้ว แต่รัฐบาลต้องมีนโยบายต้องสนับสนุนอย่างจริงจังในเรื่องของความเชื่อมั่นของนักลงทุนว่ารัฐบาลจะให้อะไรบ้างกับนักลงทุน แต่การลงทุนอย่างที่บอกไม่จำเป็นต้องตั้งโรงงานทั้งหมดในประเทศไทย แต่ต้องให้คนไทยไปลงทุนต่างประเทศแล้วส่งขายทั่วโลก นี่คือ วิธีคิด
 
จี้รัฐช่วยเกษตรกร พัฒนาพันธุ์ยางพารา
 
เวลานี้ประเทศที่มีการใช้ยางพารามากที่สุดในโลก คือ ประเทศจีน มีการใช้ยางปีละ 2 ล้านตัน ประเทศไทยก็ยังปลูกยางพาราได้อยู่ ไม่มีปัญหา แต่ถ้าเกษตรกรปลูกยางพาราแล้วทางกระทรวงเกษตรฯ จะต้องมีแนวทางที่จะเพิ่มผลผลิตของยางพาราเพื่อให้ต้นทุนต่อหน่วยลดลง นั่นคือ การพัฒนาพันธุ์ยางพาราที่จะให้ผลผลิตสูงขึ้น ซึ่งมันเป็นไปได้ที่จะลดต้นทุนการผลิต แต่ต้องทำการวิจัย ต้องให้เกษตรกรมีการใช้ปัจจัยการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การใส่ปุ๋ย การดูแลสวนให้มีประสิทธิภาพเพื่อลดต้นทุน เพราะบางครั้งใส่ปุ๋ยโดยที่ไม่จำเป็น ก็เสียเงินโดยเปล่าประโยชน์ หรือปัญหาปุ๋ยปลอม นี่คือ ภาระที่เกษตรกรต้องไปแบก
 
ถ้าเกษตรกรใช้ปัจจัยอย่างมีประสิทธิภาพ จะทำให้ต้นทุนลดลง ทำให้ปลูกยางขายได้มีกำไร ฉะนั้น หน่วยงานของรัฐควรจะบอกให้เกษตรกรบริหารจัดการสวนยางพาราเพื่อลดต้นทุนการผลิต ให้แข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านที่เขามีการผลิตต่ำให้ได้ คือเกษตรกรไทยไม่จำเป็นต้องเลิกปลูกยางพารา แต่ควรใส่ใจมากขึ้นว่า จะใส่ปุ๋ยครั้งหนึ่ง ต้องวิเคราะห์ว่าจำได้ไหม ใส่ปุ๋ยอะไร สูตรอะไร ใส่ในปริมาณเท่าไหร่ เพื่อให้คุ้มค่า เพราะไม่อย่างนั้นจะกลายเป็นต้นทุนเพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็น


#2 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

Posted 30 August 2013 - 14:47

ยางสังเคราะห์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
 
14px-Pictogram_voting_wait_orange.svg.pn

ยางสังเคราะห์ได้มีการผลิตมานานแล้ว ตั้งแต่ ค.ศ. 1940 ซึ่งสาเหตุที่ทำให้มีการผลิตยางสังเคราะห์ขึ้นในอดีต เนื่องจากการขาดแคลนยางธรรมชาติที่ใช้ในการผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์และปัญหาในการขนส่งจากแหล่งผลิตในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงปัจจุบันได้มีการพัฒนาการผลิตยางสังเคราะห์เพื่อให้ได้ยางที่มีคุณสมบัติตามต้องการในการใช้งานที่สภาวะต่าง ๆ เช่น ที่สภาวะทนต่อน้ำมัน ทนความร้อน ทนความเย็น เป็นต้น การใช้งานยางสังเคราะห์จะแบ่งตามการใช้งานออกเป็น 2 ประเภทคือ[1][2]

  • ยางสำหรับงานทั่วไป (Commodity rubbers) เช่น IR (Isoprene Rubber) BR (Butadiene Rubber)
  • ยางสำหรับงานสภาวะพิเศษ (Specialty rubbers) เช่น การใช้งานในสภาวะอากาศร้อนจัด หนาวจัด หรือ สภาวะที่มีการสัมผัสกับน้ำมัน ได้แก่ Silicone, Acrylate rubber เป็นต้น

การผลิตยางสังเคราะห์เป็นจะผลิตโดยการทำปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชัน (polymerization) ซึ่งการพอลิเมอไรเซชันคือ ปฏิกิริยาการเตรียมพอลิเมอร์ (polymer) จากมอนอเมอร์ (monomer) โดยพอลิเมอร์ ในที่นี้คือ ยางสังเคราะห์ที่ต้องการผลิต ในส่วนของมอนอเมอร์คือสารตั้งต้นในการทำปฏิกิริยานั่นเอง [3]

ชนิดของยางสังเคราะห์[แก้]
  1. ยางบิวไทล์[4] (Butyl Rubber, IIR) : ยางบิวไทล์เป็นโคพอลิเมอร์ระหว่างมอนอเมอร์ของไอโซพรีน และไอโซบิวทาลีน เพื่อที่จะรักษาสมบัติเด่นของไอโซบิวทาลีนไว้ ยางบิวไทล์จะมีปริมาณไอโซพรีนเพียงเล็กน้อย (ประมาณ 0.5-3 โมลเปอร์เซนต์) เพียงเพื่อให้สามารถวัลคาไนซ์ด้วยกำมะถันได้เท่านั้น เนื่องจากพอลิไอโซบิวทาลีนไม่มีพันธะคู่ที่ว่องไวต่อการทำปฏิกิริยา อย่างไรก็ตามการที่มีปริมาณไอโซพรีนเพียงเล็กน้อยนี้ทำให้การวัลคาไนซ์ยางบิวไทล์เป็นไปอย่างช้ามาก ทำให้เกิดปัญหาในการสุกร่วมกับยางไม่อิ่มตัวอื่น ๆ ยางบิวไทล์มีน้ำหนักโมเลกุลเฉลี่ยอยู่ในช่วง 300,000 ถึง 500,000 มีค่าความหนืดมูนี่ (ML1+4 100°C) อยู่ในช่วง 40 ถึง 70 การกระจายขนาดโมเลกุลค่อนข้างจะกว้าง ทำให้การแปรรูปยางบิวไทล์ทำได้ง่าย ยางบิวไทล์มีสมบัติที่ดีหลายประการ คือ ทนต่อการออกซิเดชัน ทนต่อโอโซน ทนต่อความดันไอน้ำได้สูง และมีความเป็นฉนวนไฟฟ้าที่ดี อย่างไรก็ตาม เนื่องจากยางบิวไทล์ปล่อยให้ก๊าซซึมผ่านได้ต่ำมาก ทำให้ตลาดส่วนใหญ่ของยางบิวไทล์ คือ ยางในรถยนต์ทุกขนาด
  2. ยางบิวตาไดอีน[1] (Butadiene Rubber, BR) หรือ ยางบิวนา (Buna Rubber) ผลิตจากปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันแบบสารละลาย (solution polymerization) ซึ่งมีการจัดเรียงตัวได้ทั้งแบบ cis-1,4 แบบ tran-1,4 และแบบ vinyl-1,2 โดยยางชนิดนี้จะมีน้ำหนักโมเลกุลเฉลี่ยประมาณ 250,000-300,000 มีสมบัติเด่นด้านความยืดหยุ่น ความต้านทานต่อการขัดถู ความสามารถในการหักงอที่อุณหภูมิต่ำ ความร้อนสะสมในยางต่ำ และเป็นยางที่ไม่มีขั้วจึงทนต่อน้ำมันหรือตัวทำละลายที่ไม่มีขั้ว ยางบิวตาไดอีนส่วนใหญ่ใช้ในอุตสาหกรรมยางล้อ เพราะเป็นยางที่มีความต้านทานต่อการขัดถูสูง และมักถูกนำไปทำใส้ในลูกกอล์ฟและลูกฟุตบอลเนื่องจากมีสมบัติด้านการกระเด้งตัวที่ดี
  3. ยางสไตรีนบิวตาไดอีน[1] (Styrene-Butadiene Rubber, SBR) : ยางสไตรีนบิวตาไดอีน หรือยาง SBR เป็นยางสังเคราะห์ที่เตรียมขึ้นโดยการนำสไตรีนมาโคพอลิเมอไรซ์กับบิวตาไดอีน โดยวิธีพอลิเมอไรเซชันแบบอิมัลชั่น (emulsion polymerization) โดยเรียกยางที่ได้ว่า E-SBR และอาจใช้วิธีพอลิเมอไรเซชันแบบสารละลาย (solution polymerization) เรียกว่า L-SBR โดยทั่วไปสัดส่วนของสไตรีนต่อบิวตาไดอีนอยู่ในช่วง 23-40%
  4. ยางซิลิโคน[5] (Silicone Rubber) : เป็นยางสังเคราะห์ที่ใช้งานเฉพาะอย่างและราคาสูง เป็นได้ทั้งสารอินทรีย์และอนินทรีย์พร้อม ๆ กัน เนื่องจากโมเลกุลมีโครงสร้างของสายโซ่หลักประกอบด้วย ซิลิกอน (Si) กับออกซิเจน (O) และมีหมู่ข้างเคียงเป็นสารพวกไฮโดรคาร์บอน ซึ่งต่างจากพอลิเมอร์ชนิดอื่น ๆ ทำให้ยางซิลิโคน ทนทานต่อความร้อนได้สูง และยังสามารถออกสูตรยางให้ทนทานความร้อนได้สูงประมาณ 300°C ยางซิลิโคนมีช่องว่างระหว่างโมเลกุลที่สูงและมีความทนทานต่อแรงดึงต่ำ เนื่องจากมีแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลต่ำมาก
  5. ยางคลอโรพรีน[1] (Chloroprene Rubber, CR) : มีชื่อทางการค้าว่า ยางนีโอพรีน (Neoprene Rubber) เป็นยางที่สังเคราะห์จากมอนอเมอร์ของคลอโรพรีน ภายใต้สภาวะที่เหมาะสม โมเลกุลของยาง CR สามารถจัดเรียงตัวได้อย่างเป็นระเบียบสามารถตกผลึกได้เมื่อดึง มีสมบัติคล้ายยางธรรมชาติ ยาง CR เป็นยางที่มีขั้วเนื่องจากประกอบด้วยอะตอมของคลอรีน ทำให้ยางชนิดนี้มีสมบัติด้านการทนไฟ, ความทนต่อสารเคมีและน้ำมัน ซึ่งผลิตภัณฑ์ยางที่ใช้งานในลักษณะดังกล่าวได้แก่ ยางซีล, ยางสายพานลำเลียงในเหมืองแร่ เป็นต้นแต่ยังมีอีกหลายประเภท

Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#3 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

Posted 30 August 2013 - 14:51

hyang.gif linedog.gif

 

 

ยางเป็นน้ำยางเหนียว ซึ่งซึมออกจากต้นยาง ต้นยางมีต้นกำเนิดที่ประเทศบราซิลปละบริเวณเขตร้อนแต่เป็นสินค้าทางเศรษฐกิจที่สำคัญ ในกลุ่มประเทศอินเดียตะวันออกและแอฟริกา ในน้ำยางจะประกอบด้วยยางไม้ 35% และ 65% เป็นน้ำน้ำยางจะถูกทำให้เป็นก้อนแข็งหรือการ จับเป็นก้อนด้วยการใส่กรดน้ำส้ม หลังจากนั้นน้ำจะถูกขจัดออกไปจากเนื้อยางโดยการบีบคั้น  จะได้เป็นยางดิบยางดิบจะเป็นกาวได้ดีเยี่ยม     และ ใช้เป็น ตัว ประสานได้มากมายหลายชนิด โดยการละลายยางดิบในสารละลายที่เหมาะสม
 ยางธรรมชาติ การใช้ยางธรรมชาติสมัยใหม่เริ่มจากปี พ.ศ. 2382 เมื่อนายชาร์ลส์ กู๊ดเยียร์ ค้นพบกรรมวิธีเพิ่มคุณภาพของยางธรรมชาติเรียกว่า กรรมวิธีวัลคาไนซ์ โดยการเติมกำมะถัน 30% ลงไปในเนื้อยาง และให้ความร้อนแก่ยางธรรมชาติในอุณหภูมิที่เหมาะสมกำมะถันจะทำให้ยาง มีความแข็งแรง ต่อมาได้ถูกค้นพบว่ากรรมวิธีวัลคาไนซ์ที่จะทำให้ยางมีคุณสมบัติที่ดีขึ้นอย่างมากได้แก่การเติมสีเข้าไปในยางจึงมีการเติมคาร์บอน เข้าไปในยาง คาร์บอนทำให้ยางเป็นสีดำ ซึ่งจะทำให้ยางแข็งตึง ทำให้เหนียวและต้านทานการออกซิเดชันยางสมัยใหม่ในปัจจุบันจะใส่กำมะถัน ในปริมาณน้อยกว่า 3% ทำให้ความยืดหยุ่นของยางดีขึ้น ถ้าอบยางด้วยความร้อนสูงด้วยไอน้ำ และทำให้เป็นกลางกับแมกนีเซียมคาร์บอเนต ยางจะสามารถรีดจนเป็นยางแผ่นบาง ๆ ได้ดี ยางสามารถเป็นส่วนผสมที่มีการใช้งานอย่างกว้างขวาง มีความอ่อนและเหนียวจนถึงแข็งมาก ใช้กับงานที่ต้องการความแข็งแรงสูงได้ เส้นใยผ้าหรือเนื้อผ้าจะถูกเคลือบตัวยาง เมื่อใช้งานที่มีโหลด ทำยางรถยนต์ รถบรรทุกยางธรรมชาติ จะมีความยืดหยุ่นสูง เป็นฉนวนไฟฟ้าที่ดี มีความฝืดต่ำ และต้านทานสารอนินทรีย์ เช่น กรด เกลือ และด่าง  แต่ไม่คงทนต่อผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ยางธรรมชาติใช้ทำท่อยางน้ำ สายพานเครื่องจักร ยางตัน บูช ปุ่มยาง และถุงมือ

 ยางเทียมหรือยางสังเคราะห์

ยางเทียมหรือยางสังเคราะห์เป็นวัสดุที่มีคุณภาพคล้ายกับยางธรรมชาติ มีความต้านทานต่อน้ำมัน สารเคมี และความร้อนได้สูงและมีอายุ การใช้งานยาวนานยางสังเคราะห์ไม่มีความยืดหยุ่นเหมือนยางธรรมชาติดังนั้นในการใช้งานจึงมีการผสมระหว่างยางแท้กับยางเทียมซึ่งจะทำให้ ผลิตภัณฑ์มีคุณสมบัติของยางแท้และยางเทียมในตัวเดียวกัน ยางสังเคราะห์มีหลายชนิดได้แก่
1.  ยางสไตรีน-บิวทาไดน์ (styrene-butadiene rubber; SBR) เป็นยางสังเคราะห์ที่ใช้งานกันมากในสหรัฐอเมริกา ยางมีส่วนผสมของบิวทาไดน์ 78% กับสไตรีน 22% มันอาจจะถูกผสมกันที่อุณหภูมิ 40 องศาฟาเรนไฮต์ เมื่อนำมาผสมกันที่ 40 องศาฟาเรนไฮต์ยางจะมีคุณสมบัติพิเศษกว่า ยางธรรมชาติ ใช้ทำยางรถยนต์ ยางสังเคราะห์มีความต้านทานต่อการขูดถลอก สภาวะของลมฟ้าอากาศที่แปรเปลี่ยนไป ต้านทานไฟฟ้าได้ดี เมื่อทิ้งไว้ให้ตากแดดตากลม โอโซน แก๊สโซลีน และน้ำมัน ยางจะชำรุดเสียหายได้ ยางนี้ยังใช้ทำท่อยาง พื้นฉนวน สายพานลำเลียง วัสดุหีบห่อ พื้นรองเท้า

2.  ยางบิวติล (butyl rubber) เป็นยางสังเคราะห์ที่ผสมกันระหว่างไอโซพรีน มีโครงสร้างที่ทนต่ออากาศ เพราะว่ายางนี้ให้ก๊าซซึมซาบได้ต่ำมาก ดังนั้นจึงใช้ทำยางรถยนต์แบบไม่มียางใน และสารผสมกันรั่ว ยางนี้มีความแข็งแรงต่อแรงดึงมากกว่ายางธรรมชาติมีความต้านทานต่อการ ฉีกขาดได้ดี ต้านทานการขูดถลอกต้านทานผลิตภัณฑ์แก๊สโซลีนได้ดี ต้านทานกรดได้ดี ต้านทานสารละลายได้ดีและต้านทานการแข็งตัว ในอากาศเย็นได้ พอใช้ แต่ไม่ต้านทานต่อเปลวไฟ ต้านทานไฟฟ้าได้ดี จึงเป็นฉนวนไฟฟ้าในอุปกรณ์ไฟฟ้า

3.  ยางเอทิลีน-โพรพิลีน (ethylene-propylene rubber; EPR) เป็นสารผสมจากเอทิลีนและไอโซโพรพิลีน เป็นยางที่มีน้ำหนักเบา ต้านทานแสงแดด ยางสังเคราะห์นี้ต้านทานการขูดถลอกได้ดี ทนต่อการตากแดดตากฝน และการออกซิเดชัน ใช้ทำท่อยาง รองเท้าบูต สายพานตัววี ยางรถยนต์ และเป็นฉนวนสายเคเบิลไฟฟ้า

4.  ยางฟลูออโร (fluoro rubber) ผลิตจากกรดบิวไตริกที่เปลี่ยนเป็นบิวไตริกแอลกอฮอล์และสารละลายกรดอะคริลิกจนได้ยางออกมา มีคุณสมบัติต้านทานแสงแดด น้ำมันการออกซิเดชัน และสารละลาย เมื่อผสมกับโบรไมน์ ยางนี้จะให้ก๊าซซึมซาบผ่านได้ต่ำ ทนต่ออุณหภูมิสูงและต่ำ
5.  ยางไนไตรล์ (nitrile rubber) เป็นการผสมกันของอคริโลไนไตรล์และบิวทาไดน์ ถ้ามีไนไตรล์มาก ยางจะมีคุณสมบัติต้านทานน้ำมันเพิ่มมากขึ้น การเพิ่มไนไตรล์ จะลดคุณสมบัติการอ่อนตัวได้ดี เช่น จะบิดงอได้ง่าย ความสามารถกลับคืนสภาพเดิม กลุ่มไนไตรล์อาจจะเสริมแรงด้วยคาร์บอน ยางจะทนต่อจาระบี สารละลาย และน้ำมันได้ดี เป็นวัสดุกันรั่วในงานที่มีความร้อน ยางนี้ถูกทำให้เป็นตัวประสาน และเคลือบผลิตภัณฑ์กระดาษใช้เคลือบภายในท่อที่ใช้ในการขนส่งผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เคลือบภายในของถังเชื้อเพลิงทำยางโอริง และสันรองเท้า

6.  ยางโพลีคลอโรเพรน (polychloroprene rubber) หรือที่เรยกว่า ยางนีโอเพรน (neoprene rubber) เป็นยางที่ใช้งานกันอย่างกว้างขาง ทำจากสารคลอโรเพรนและคลอโรบิวทาไดน์ ยางนี้มีคุณสมบัติทางกลและโครงสร้างคล้าย ๆ กับยางธรรมชาติ ต้านทานต่อผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม โอโซน แสงแดด และการขูดถลอก ยางนี้จะไม่เกิดการไหม้แม้ว่าจะถูกเผาจึงใช้ทำปะเก็น ถุงมือ ผ้าป้องกันไฟ ตัวประสาน ท่อและเคลือบท่อ สายพานลำเลียงและฉนวนไฟฟ้า

7.  ยางโพลีซัลไฟต์ (polysulfide rubber) หรือที่เรียกว่า ไทโอโคลหรือโคโรซีล (thiokol or Koroseal) ยางนี้มีการซึมซาบของก๊าซต่ำ และต้านทานสารละลายได้ดี  ใช้ทำตัวประสานสำหรับโลหะ ต้านทานต่อการฉีกขาดและการขูดถลอกพอใช้ ต้านทานแสงแดดและออกซิเดชันได้ดี ต้านทานการบวมจากน้ำร้อน ต้านทานกรดได้ดี และต้านทานความร้อนจากเปลวไฟได้ต่ำ ใช้ทำวัสดุอุดรูรั่ว เคลือบภายในถังเชื้อเพลิงและถังกรด ปะเก็น วัสดุกันรั่ว ท่อน้ำมันแก๊สโซลีน และหุ้มสายเคเบิลไฟฟ้า

8.  ยางโพลียูรีเทน (polyurethane rubber) ถูกใช้ทำตัวประสานหรือยางรถยนต์ทำส้นรองเท้า กันน้ำมันรั่ว แผ่นไดอะแฟรม เฟือง  อุปกรณ์กันสั่นสะเทือน ปะเก็น ฯลฯ วัสดุจะถูกผสมเข้าด้วยกันในแม่พิมพ์หรืออบยางด้วยความร้อนสูง ต้านทานต่อการขูดถลอกฉีกขาดและสึกหรอ มีเปอร์เซ็นต์การยึดตัวสูง และมีความแข็งแรงต่อแรงดึงถึง 8,000 ปอนด์ ต่อตารางนิ้ว ใช้ทำยางรถยนต์ ของยานยนต์ที่เคลื่อนตัวช้า เช่น รถยก เพราะว่าที่ความเร็วสูงจะเกิดความร้อนสูงที่จุดสัมผัสระหว่างผิวถนนและยาง จึงไม่เหมาะสำหรับใช้กับยางรถยนต์ทั่ว ๆ ไป แต่อย่างไรก็ดี ยางชนิดนี้ก็มีสัมประสิทธิ์ของความเสียดทานต่ำ ดังนั้นภายใต้สภาพพิเศษยางนี้จะใช้ทำบูช จะต้านทานต่ออุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงจาก - 100 ถึง +200 องศาฟาเรนไฮต์

ตัวอย่าง พื้นยางสังเคราะห์โพลี่ยูรีเทน  เช่น พื้นสนามกีฬา แบดมินตัน พื้นสนามยิมเนเซียม พื้นสนามฟุตซอล พื้นสนามวอลเลย์บอล ตระกร้อ

http://www.nichofloor.com/gymnesium

 

9.  ยางซิลิโคน (silicone rubber) เป็นผลลัพธ์จากการรวมกันของไนไตรล์ฟีนีล (phenyl) หรือกลุ่มฟลูออไรน์ (fluorine) ยางนี้มีความเสถียรมาก ไม่ได้รับผลกระทบจากแสงแดด ต้านทานต่อน้ำมันร้อน และมีความสามารถต่อการบิดงอภายใต้อุณหภูมิ -100 ถึง+500 องศาฟาเรนไฮต์ มีความแข็งแรงต่อแรงดึงเฉลี่ยที่อุณหภูมิห้อง 300 ถึง 600 ปอนด์ ต่อตารางนิ้ว มีความสามารถยืดขยายให้ยาวได้ถึง 120%

บุญธรรม ภัทราจารุกุล
เรียบเรียงจาก : หนังสือวัสดุช่าง หน้าที่297


Edited by Stargate-1, 30 August 2013 - 15:08.

Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#4 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

Posted 30 August 2013 - 15:20

post-14906-0-12174500-1356149561.jpg


Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#5 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

Posted 30 August 2013 - 15:23

บทวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด (มหาชน) : ราคายางเริ่มเห็น Downside ที่จำกัด 8 กรกฎาคม 2556

 

201307081138111.jpg

 

ราคายางเริ่มเห็น Downside ที่จำกัด : ฝ่ายวิจัยประเมินว่าราคาซื้อขายยางแผ่นรมควันล่วงหน้า (อ้างอิงตลาด TOCOM) น่าจะปรับลดลงมาถึงระดับต่ำสุดไปแล้ว หลังจากนี้ คาดว่าราคาจะเคลื่อนไหวในกรอบ 236-257 เยน/กิโลกรัม ขณะที่ราคายางไทย คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 79-86 บาท/กก. โดยมีปัจจัยบวกจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น 6.1% ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา เป็นผลจากความกังวลเกี่ยวกับปัญหา Supply ในกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง ส่งผลให้ราคายางสังเคราะห์ (เป็นสินค้าทดแทนยางธรรมชาติ ซึ่งมีวัตถุดิบหลักเป็นผลพลอยได้จากกระบวนการผลิตน้ำมันดิบ หรือก๊าซธรรมชาติ) มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นตาม และบวกต่อราคายางโลกในระยะสั้นเช่นกัน ทั้งนี้ จากการศึกษาเชิงปริมาณของฝ่ายวิจัย ASP พบว่า ค่าความสัมพันธ์ (Correlation) ระหว่างราคายางสังเคราะห์ และยางธรรมชาติ อยู่ที่ระดับสูงถึง 0.6 เท่า อย่างไรก็ตาม ราคายางพาราในช่วงเดือน ก.ค.56 ยังได้รับปัจจัยกดดันจากสต็อกยางพาราในประเทศจีนที่ทรงตัวระดับสูงต่อเนื่อง เห็นได้จาก รายงานปริมาณสินค้าคงเหลือล่าสุด ปรับลดลงเพียงเล็กน้อยสู่ระดับ 1.14 แสนตัน (จากช่วงก่อนหน้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นทำระดับ peak ที่เท่ากับ 1.22 แสนตัน) จึงมีแนวโน้มว่าผู้ประกอบการในประเทศจีน (ผู้ใช้ยางธรรมชาติรายใหญ่ที่สุดของโลก) จะชะลอนำเข้ายางพาราต่อไป นอกจากนี้ ความกังวลต่อมาตรการการเงินผ่อนคลายของสหรัฐฯ ที่กำลังจะสิ้นสุดลงภายในช่วงกลางปี 2557 หลังจากที่ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เห็นการฟื้นตัวต่อเนื่อง จึงทำให้สถานการณ์ดังกล่าวจะหักล้างกับปัจจัยบวกข้างต้น และกดดันให้ราคายางไม่สามารถปรับเพิ่มขึ้นได้มากนัก

ราคายางจะค่อยๆ ฟื้นตัวจนไปทดสอบ 86 บาท : ในช่วงต้นเดือน มิ.ย. ราคายางมีการปรับลดลงพอสมควรจนมาถึงเป้าหมายแรกที่วางไว้ที่ 76 บาทได้ตามคาด หลังจากนั้นราคาก็สามารถยืนเหนือระดับ 76 บาท และแกว่งตัวออกข้าง ก่อนจะค่อยๆ ฟื้นตัวขึ้นในช่วงปลายเดือน มิ.ย. คาดว่ารูปแบบการฟื้นตัวที่เริ่มเกิดขึ้น น่าจะมีต่อเนื่องในเดือน ก.ค. ซึ่งราคายางน่าจะแกว่งตัวเชิงบวกในกรอบ 79 – 86 บาท

กลยุทธ์การลงทุน AFET Rubber : เปิด Long โดยมีเป้าหมายทำกำไรระยะสั้นที่ 86 บาท

- RSS3 Jan14 ราคาเริ่มฟื้นตัวคาดว่าจะแกว่งเชิงบวกในกรอบ 79 – 86 บาท กลยุทธ์ให้ Long เพื่อลุ้นทำกำไรในระยะสั้น ที่ 86 บาท กรณีราคายางเคลื่อนไหวในทิศทางตรงกันข้าม กำหนดจุด Cut loss ที่ราคา 78 บาท

- STR20 Dec13 แนะนำ Trading ในกรอบ 70.4-77.0 บาท โดยรอ Long เมื่อราคาย่อตัวลงมาที่ 70.4 บาท โดยมีเป้าหมายการทำกำไรที่ 77 บาท และต้อง Cut loss หากราคาย่อตัวต่ำกว่า 68.9 บาท ทั้งนี้ แนะนำเปิด Short หากราคาอยู่ที่กรอบบน 77 บาท โดยมีจุดทำกำไรที่กรอบล่าง 70.4 บาท แต่ต้อง Cut loss หากราคาขึ้นสูงกว่า 78.5 บาท

นักวิเคราะห์
อุษณีย์ ลิ่วรัตน์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: R000018
 

Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#6 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

Posted 30 August 2013 - 15:24

 

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี (TMB Analytics) แนะเกษตรกร กระจายความเสี่ยงเสริมรายได้ ถ้าประเทศผู้ส่งออกยางไม่สามารถกำหนดทิศทางราคายางโลกได้ หลังพบว่า ในปีนี้ราคาน้ำมันจะเป็นปัจจัยหลักกดดันราคายาง และหากราคายางยังไม่กระเตื้องขึ้น คงต้องมีการต่ออายุมาตรการลดการส่งออกยางพาราหลังครบกำหนด 31 มี.ค.นี้ ต่อไปอีก

 ยางพาราไม่ใช่แค่สินค้าเศรษฐกิจเฉพาะของภาคใต้อีกต่อไป เพราะได้มีการเพาะปลูกกันมากขึ้นในภูมิภาคอื่น โดยสัดส่วนพื้นที่การเพาะปลูกยางพาราอยู่ในนอกภาคใต้รวมถึงร้อยละ 35 แบ่งโดยประมาณเป็นภาคตะวันออกเฉียงหนือร้อยละ 20 ภาคกลางและภาคตะวันออกร้อยละ 10 และภาคเหนือร้อยละ 5 ซึ่งจากรายงานล่าสุดปริมาณการส่งออกยางพาราเกือบครึ่งของโลกมาจากไทย โดยมีจีนเป็นตลาดส่งออกหลักของประเทศ มีสัดส่วนการส่งออกไปจีนถึงร้อยละ 38.8 ของการส่งออกยางพาราทั้งหมด

นอกจากนั้น ยางพาราเป็นหนึ่งในสินค้าเกษตรไม่กี่ชนิดที่ซื้อขายในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (AFET) และมีปริมาณซื้อขายมากสุดเมื่อเทียบกับสินค้าเกษตรอื่นในตลาดฯ แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของยางพาราในเศรษฐกิจไทยได้อย่างชัดเจน

ในปัจจุบันได้มีการรวมตัวกันของกลุ่มประเทศผู้ผลิตหลัก ได้แก่ ไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย เพื่อทำให้ราคายางมีเสถียรภาพมากขึ้น โดยการเข้าควบคุมปัจจัยทางด้านอุปทาน เช่น ปริมาณผลผลิต สต๊อกยางพารา เป็นต้น
ทั้งนี้ มาตรการลดการส่งออกผลิตภัณฑ์ยางพาราของ 3 ประเทศ โดยมีเป้าหมายที่จะลดการส่งออกยางของทั้ง 3 ประเทศลงให้ได้ 3 แสนตันต่อปี จะสิ้นสุดอายุลงในวันที่ 31 มีนาคม 2556 และหากราคายางพารายังไม่กระเตื้องขึ้นจะขยายเวลาไปอีก 6 เดือน  ถึงกันยายน 2556 ซึ่งหลายฝ่ายมองว่ามาตรการนี้คงต้องขยายออกไปอีก เพราะเห็นว่าแนวโน้มราคายางพาราน่าจะยังอยู่ระดับต่ำ
 
เป็นเรื่องยากที่กลุ่มประเทศผู้ผลิตหลักจะเป็นผู้ชี้นำราคายางในตลาดโลก โดยเฉพาะในช่วงที่เศรษฐกิจโลกยังซบเซา เพราะมีปัจจัยหลายด้านที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของราคายางพาราทางด้านอุปสงค์ อาทิ การขยายตัวของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์และผลิตภัณฑ์ยางของโลก รวมไปถึงราคายางสังเคราะห์ในฐานะสินค้าทดแทน  ตลอดจนปัจจัยด้านความเชื่อมั่นของนักลงทุนจากความเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์ในตลาดซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งปัจจัยต่างๆเหล่านี้ ล้วนอยู่นอกเหนือการควบคุมของประเทศผู้ผลิตทั้งสิ้น
 
จากการศึกษาของศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี  พบว่า 3 ปัจจัยที่กล่าวถึงสามารถใช้เป็นตัวสังเกตทิศทางราคายางได้ในระดับที่แตกต่างกัน และสรุปได้ว่า ราคาน้ำมันในตลาดโลก ที่สะท้อนด้านสินค้าทดแทน เนื่องจากความสามารถในการทดแทนกันของยางพาราและยางสังเคราะห์ สามารถอธิบายทิศทางของราคายางได้ดีที่สุดที่ร้อยละ 40 ใขณะที่ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตของจีน (PMI) อธิบายได้ร้อยละ 7 และความกังวลต่อความเสี่ยงของนักลงทุนที่สะท้อนผ่านดัชนีความผันผวน VIX ในตลาดชิคาโก อีกร้อยละ 3 ส่วนที่เหลือในอีกร้อยละ 50 ถูกกำหนดด้วยปัจจัยอื่นๆ ทำให้เห็นได้ว่า การที่ประเทศผู้ผลิตหลักจะเปลี่ยนแนวโน้มราคายางด้วยปัจจัยด้านอุปทานนั้น คงเป็นไปได้ยาก เพราะกว่าครึ่งหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงในราคายางพารา มีสาเหตุมาจากปัจจัยนอกเหนือการควบคุมของประเทศผู้ผลิตอย่างเราทั้งนั้น
 
ดังนั้น ในภาวะปัจจุบัน ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจจีนจะกลับมามีแรงขับเคลื่อนมากขึ้น ดังการปรับตัวดีขึ้นของ PMI และมุมมองต่อตลาดของนักลงทุนดีขึ้นจากปีที่แล้ว สะท้อนได้จากดัชนี VIX ที่ทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ ก็ไม่อาจช่วยผลักดันให้ราคายางมีแนวโน้มสูงขึ้นได้ เพราะแรงผลักดันดังกล่าว ยังไม่มากพอที่จะทำให้แนวโน้มราคาน้ำมันในตลาดโลกเปลี่ยนทิศทาง

 

โดยปีนี้ ราคาน้ำมันยังมีแนวโน้มแค่ทรงตัว และกว่าจะเริ่มเห็นสัญญาณบวกจากราคาน้ำมันในตลาดโลก อาจต้องรออย่างน้อยถึงไตรมาส 4 ล้อไปกับคำกล่าวที่ว่า “น้ำมันตลาดโลกแพง ราคายางโลกแพง” ดังนั้น  น้ำมันตลาดโลกไม่แพง ราคายางโลกจึงไม่แพงไปด้วย 

 
เกษตรกรผู้ปลูกยางพาราจึงจำเป็นต้องเสริมรายได้ด้วยการกระจายธุรกิจ อาทิ อาจโค่นต้นยางอายุมากเพื่อขายตัวไม้ให้ทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ในช่วงยางราคาตก และปลูกต้นไม้ยางใหม่ พร้อมทั้งปลูกพืชแซมยางและพืชร่วมยางตามอายุของยางพาราไว้บริโภคในครัวเรือน และเสริมรายได้ในช่วงราคายางตกต่ำ

 

อีกทั้ง ต่อยอดธุรกิจด้วยการพัฒนาและยกระดับขีดความสามารถในการร่วมกลุ่มและเชื่อมโยงอุตสาหกรรม (Value chain) เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้า และเสริมความเข้มแข็งในกลุ่มผู้ประกอบการตลอดสายการผลิต เพื่อรับมือแรงกดดันจากปัจจัยแวดล้อมในสถานการณ์ปัจจุบัน และเตรียมตัวให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงก่อนการก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 เพราะไม่ว่าอย่างไร ยางพาราก็คงยังครองแชมป์สินค้าเกษตรอันดับหนึ่งของไทยไปอีกหลายปี


Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#7 พ่อไอ้ร้อยล็อคอิน

พ่อไอ้ร้อยล็อคอิน

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 6,450 posts

Posted 30 August 2013 - 15:30

เกิน 3 บรรทัด แดงแท้อย่างผมไม่อ่านครับ

 

ไปฟังโกตี๋ ท่านปู ท่านเต้น ... ง่ายกว่าเยอะ  -_-


  • -3- likes this
อยากรู้ว่าประชาธิปไตยไทยเป็นแบบไหน ให้ดูการใช้รถใช้ถนนรู้จักกันแต่สิทธิ แต่ไม่เคยรู้จักหน้าที่ ในการปฏิบัติตามกฎระเบียบที่วางไว้

#8 CockRoachKiller

CockRoachKiller

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 442 posts

Posted 30 August 2013 - 15:50

436886821_1369730279.jpg


Please know your place by do not comment my post that you can not comprehend.

#9 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

Posted 30 August 2013 - 15:59

'สุเทพ'แนะแก้ราคายางตกเจรจาอินโดนีเซีย

'สุเทพ'แนะแก้ราคายางตกเจรจาอินโดนีเซีย.jpg

 

สภาถกปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ "สุเทพ"แนะนายกฯจับมืออินโดนีเซีย กุมราคาตลาดโลก

ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ได้พิจารณาญัตติที่ ส.ส.ฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล เสนอให้รัฐบาลพิจารณาปัญหาความเดือดร้อนประชาชนในเรื่องราคาพืชผลการเกษตรตกต่ำและค่าครองชีพที่มีราคาแพง โดยนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน หรือวิปฝ่ายค้าน กล่าวว่า ขณะนี้ราคาพืชผลการเกษตรตกต่ำทุกตัว ไม่ว่าข้าวโพด ลำใย มันสำปะหลัง อ้อย โดยเฉพาะยางพารา สมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์อยู่ที่กิโลกรัมละ 120 บาท ขณะนี้เหลือเพียง 66.76 บาท ทำให้เกษตรกรชาวสวนยางเตรียมชุมนุมพร้อมกันทั่วประเทศ วันที่ 3 ก.ย. สิ่งที่เห็นได้ชัดช่วง 2 ปีที่รัฐบาลบริหารราชการแผ่นดินไร้ประสิทธิภาพ ทั้งราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่ขยับสูงต่อเนื่อง ไข่ไก่แพงสุดฟองละ 7 บาท ราคาก๊าชหุงตุ้มที่จะปรับขึ้นวันที่ 1 ก.ย. ค่าเอฟทีไฟฟ้า ค่าทางด่วน เมื่อค่าครองชีพถีบตัวสูงขึ้นรายได้ประชาชนไม่พอกับรายจ่าย ผลตามมาคือภาวะหนี้สินเพิ่มขึ้น ตัวเลขภาวะสินเชื่อครัวเรือนเมื่อเทียบกับจีดีพี พุ่งขึ้นสูงถึงร้อยละ 77.51 ทั้งหมดนี้เกิดจากรัฐบาลบริหารงานผิดพลาดล้มเหลว ไม่โปร่งใส ไร้ประสิทธิภาพ ดังนั้น ส.ส.ทั้ง 73 คน จึงขอเรียกร้องนายกฯให้ความสนใจเข้าร่วมรับฟังและเร่งลงมาแก้ปัญหา

น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ที่นั่งรับฟังอยู่ได้ชี้แจงว่า วันนี้เป็นโอกาสดีที่เราจะได้พูดคุยกันถึงปัญหาราคาสินค้าและสินค้าเกษตรตกต่ำ รัฐบาลยินดีรับฟังและพยายามแก้ปัญหา เราไม่เคยเลือกปฏิบัติ และรับไปแก้ปัญหาไม่ว่าจะเป็นยางพารา หรือข้าว แต่มาตรการอาจแตกต่างกัน ข้าวก็มาตรการหนึ่ง ยางพาราก็มีอีกหลายวิธีที่จะแก้ เราจะเร่งรับฟังและพูดคุยกับชาวสวนยาง เพื่อแก้ปัญหาร่วมกัน รวมไปถึงข้อแนะนำของสมาชิก แต่วันนี้ต้องขออภัย ณ ตรงนี้เนื่องจากติดภารกิจ พ.ท.หญิง ลัดดา แทมมี่ ดักเวิร์ธ ส.ส.เขต 8 รัฐอีรีนอยส์ สหรัฐอเมริกา มารอพบที่ทำเนียบรัฐบาล ก็จะขอให้รัฐมนตรี ที่เกี่ยวข้องชี้แจงก่อน ส่วนที่มีส.ส.ตั้งคำถามถึงการเดินทางไปต่างประเทศ หลายคนอาจมองและนำมาผูกกับเรื่องการส่งออก แต่การเดินทางไปต่างประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความสัมพันธ์ หลายประเทศที่ไปแทบไม่เคยสร้างความสัมพันธ์กันเลย เราก็ต้องเริ่มสร้าง เพื่อเปิดประตูการค้าขาย แล้วการส่งออกจึงค่อยๆ ตามมา แต่ไม่ใช่ว่าตามมาทันที บางอย่างก็มีอุปสรรคด้านการค้า เราก็ต้องลดปัญหา บางประเทศต้องไปเปิดความสัมพันธ์ให้ภาคเอกชน ในหลายประเทศที่ท่านตั้งข้อสังเกต ก็ไปเพื่อร่วมประชุมความร่วมมือระดับผู้นำโลก อาทิ เวทีผู้นำอาเซียน ผู้นำเอเปก

หลังจากน.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวจบ และทำท่าจะลุกออกจากห้องประชุม นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฎร์ธานี พรรคประชาธิปัตย์ ได้ท้วงขอให้นายกฯ อยู่รับฟังข้อคิดเห็นของสมาชิกสัก 2 นาที ซึ่งน.ส.ยิ่งลักษณ์ ก็ยอมนั่งฟัง นายสุเทพจึงอภิปรายเชิงแนะนำว่า ถือเป็นโอกาสดีที่นายกฯจะได้รับฟังปัญหาราคายางพารา และอยากให้นายกฯมาแก้ปัญหาด้วยตัวเอง ก่อนหน้านี้มอบหมายให้นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.เกษตรฯ ขณะนั้นลงมาแก้ก็ไม่ได้ผล จนเป็นปัญหาหมักหมมมา 2 ปีแล้ว รัฐบาลต้องพูดให้ชัดว่าจะใช้เวลาอีกเท่าไหร่ จะให้รอไปอีก 2 ปี ก็หมดวาระพอดี การบอกว่าเป็นเรื่องกลไกตลาดโลก เป็นการทำลายน้ำใจและความหวังชาวสวนยาง รัฐบาลต้องทำให้กลไกตลาดในประเทศดำเนินไปภายใต้การกำกับของรัฐบาล นายกฯต้องลงมาประชุมร่วมกับบรรดาพ่อค้าผู้ส่งออกทั้งหลาย เพื่อให้เขามั่นใจว่าสิ่งที่จะทำไม่ได้คิดไปหาเศษหาเลย หรือเอาประโยชน์ ถ้านายกฯพูดเองเขาคงเชื่อ แต่ถ้านายณัฐวุฒิไปพูดเขาคงไม่เชื่อ

นายสุเทพ กล่าวว่า นายกฯต้องตั้งราคาเป้าหมายว่าจะให้ขายได้ราคาเท่าไหร่ ขายไม่ได้ 120 บาท แต่จะตั้งไว้ 105-110 บาทก็ว่ามา ต้องบอกเกษตรกรได้ว่าจะใช้เวลากี่เดือน โดยที่รัฐบาลต้องจ่ายค่าชดเชยราคายางในระหว่างนี้ด้วย จากนั้นนายกฯต้องไปเจรจากับประธานาธิบดีอินโดนีเซีย ให้นายณัฐวุฒิไปคงไม่ได้พบหรอก เพราะกระจอกเกินไป ขณะนี้มีแต่ไทยและอินโดนีเซียเท่านั้นที่ผลิตยางมากที่สุด หากจับมือตกลงกันได้ว่าจะไม่ขายตัดราคากัน เราจะสามารถกุมราคายางในตลาดโลกได้

"ผมเคยทำมาแล้ว เคยไปพบประธานาธิบดีอินโดนีเซียมาแล้ว และถ้าจะให้เกียรติเขาเป็นหัวเรือใหญ่ในเรื่องนี้ ผมเชื่อว่านายกฯมีศิลปะในเรื่องนี้อยู่แล้ว จากนั้นไปพบประเทศผู้ซื้อรายใหญ่ทั้งจีนและญี่ปุ่น ไปบอกเขาว่าเราจำเป็นต้องปรับราคาขึ้น นี่เป็นโอกาสที่ทำให้เราปรับราคาขึ้นได้ และไม่เสียไมตรี ทำให้ปัญหานี้คลี่คลาย แต่อย่าไปเชื่อพวกลิ่วล้อว่าผมอยู่เบื้องหลังการชุมนุม หากผมจะร่วมมือกับผู้ชุมนุมจะประกาศให้นายกฯรู้ แล้วเดินหน้า ไม่ทำตัวเป็นอีแอบ ยืนยันว่าวันนี้เขาชุมนุม เพราะเดือดร้อนจริงๆไม่ใช่เรื่องการเมือง" นายสุเทพ กล่าว

หลังจากนายสุเทพ กล่าวจบ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้ขอตัวไปรับ พ.ท.หญิงลัดดา แทมมี่ ดักเวิร์ธ โดยมอบให้นายณัฐวุฒิ ชี้แจงข้อซักถามต่อ โดยนายณัฐวุฒิ กล่าวว่า เชื่อว่าพี่น้องเกษตรกรเข้าใจสถานการณ์ดี หลังได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้เข้ามาแก้ปัญหา ตนพยายามหาทางทำให้ราคายางขยับขึ้น โดยของบประมาณจากครม.เพื่อมารักษาเสถียรภาพยางพารา หากได้ย้อนกลับไปดูจะเห็นว่าตนเป็นคนแรก ที่เสนอให้ทำถนนสายยางพารา รวมไปถึงเปลี่ยนถุงมือแพทย์จากพลาสติก เป็นถุงมือยาง ที่ทำจากยางพารา และอีกหลายมาตรการ

 


Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#10 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

Posted 30 August 2013 - 16:29

นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธานคณะทำงานเศรษฐกิจมหภาค

การเงินการคลัง สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ในฐานะประธานสภาการยางแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า

จากกรณี นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.เกษตรและสหกรณ์

ทำข้อตกลงร่วมกับประเทศมาเลเซีย และอินโดนีเซีย

ที่จะลดปริมาณการส่งออกยางทันที 3 แสนตัน

ซึ่งในส่วนของประเทศไทยต้องลดปริมาณการส่งออกยางทันที 10%

เพื่อเป็นแก้ไขปัญหาราคายางพาราในตลาดโลกที่ตกต่ำนั้น

เป็นการแก้ไขปัญหาที่ไม่ถูกต้อง และสร้างความเสียหายให้กับเกษตรกรไทย

เนื่องจากช่วงเดือนตุลาคม - มกราคม ของทุกปี เป็นช่วงที่ผลผลิตยาง

ของไทยออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก ขณะที่ประเทศอินโดนีเซีย

ตรงกับช่วงผลผลิตไม่มากเพราะเป็นช่วงผลัดใบ และประเทศมาเลเซียไม่ได้รับผลกระทบ

เนื่องจากนำเข้ายางพาราจากประเทศไทยเพื่อไปแปรรูปและส่งออก

ดังนั้น การทำข้อตกลงลดการส่งออกยางทันที จึงส่งผลกระทบโดยตรงกับเกษตรกรไทย

นอกจากนี้ การทำข้อตกลงดังกล่าวของ นายณัฐวุฒิ ยังขัดต่อ

พ.ร.บ.ควบคุมยาง พ.ศ.2542 เพราะไม่ได้มีการประกาศราชกิจจานุเบกษา

และไม่มีการหารือกับคณะกรรมการควบคุมยาง ซึ่งมีการกำหนดไว้

ในมาตรการ 6(8) เพื่อประโยชน์ในการผลิตยาง การค้ายาง การนำเข้ายางและส่งออก

ว่าด้วยเรื่องปริมาณควบคุมเนื้อยาง ปริมาณจัดสรรเนื้อยางตามความเหมาะสม

แก่สถานการณ์ยางของประเทศ รัฐมนตรีที่กำกับสามารถใช้อำนาจได้

ภายหลังจากที่ประกาศราชกิจจานุเบกษา อีกทั้งมาตรการ 15(1), (6)

ยังระบุให้คณะกรรมการควบคุมยางมีหน้าที่ให้คำแนะนำหรือความเห็นแก่รัฐมนตรี

ว่าด้วยเรื่องการปฏิบัติตามสนธิสัญญา ข้อผูกพันและโครงการระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับยาง

ในเบื้องต้นได้มีทำหนังสือทักท้วงไป และได้คำตอบว่า

จะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการควบคุมยางชุดใหม่เพื่อพิจารณาเรื่องดังกล่าวย้อนหลัง

ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง

สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาราคายางนั้น รัฐบาลควรเร่งออกมาตรการจูงใจ

และกระตุ้นการใช้ยางธรรมชาติในประเทศ เช่น การกำหนดให้นำยางธรรมชาติ

ไปผสมยางมะตอยเพื่อใช้ทำถนนทั่วประเทศ ซึ่งหากมีการกำหนดให้ใช้เพียง 5%

ก็จะทำให้เกิดความต้องการใช้ยางธรรมชาติภายในประเทศเพิ่มขึ้น

ส่งผลให้ราคายางปรับตัวเพิ่มขึ้นตามกลไกตลาด นอกจากนี้

รัฐบาลควรเรียกเก็บภาษียางสังเคราะห์เพิ่มขึ้น เพื่อให้ราคาปรับมาใกล้เคียงกัน

โดยล่าสุดราคายางสังเคราะห์เฉลี่ย กก.ละ 41.7 บาท ขณะที่ราคาน้ำยางข้นเฉลี่ย กก.ละ 53 บาท

แต่หากราคายางทั้ง 2 ชนิดใกล้เคียงกัน คาดว่าจะช่วยกระตุ้นความต้องการใช้ยางธรรมชาติ

ภายในประเทศให้สูงขึ้นโดยเฉพาะจากกลุ่มอุตสาหกรรมแปรรูปถุงมือยาง

“แนวทางการแก้ไขปัญหาราคายางตกต่ำโดยการลดปริมาณการส่งออกยางทันที

ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง

ทั้งด้านข้อกฎหมายและวิธีการ เพราะขณะนี้เป็นช่วงที่ผลผลิตยางของไทยออกสู่ตลาดมาก

อีกทั้งขณะนี้เป็นช่วงที่ประเทศยุโรปต้องการใช้ยางเป็นจำนวนมาก

การลดปริมาณการส่งออกจึงทำให้เกษตรกรไทยเสียโอกาส

รัฐบาลจึงควรออกมาตรการสร้างแรงจูงใจการใช้ยางธรรมชาติ ในประเทศมากกว่า”

นายอุทัยกล่าว

นายอุทัย กล่าวเพิ่มเติมว่า เพื่อเป็นการสร้างเสถียรภาพด้านราคา

และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับอุตสาหกรรมยางไทย

รัฐบาลควรพิจารณาปรับลดอัตราการจัดเก็บเงินเซส (CESS) เหลือกก.ละ 10 สตางค์

แทนอัตราการจัดเก็บในปัจจุบัน ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการไทยเสียเปรียบผู้ประกอบจากประเทศอื่น

ที่ไม่มีการจัดเก็บเงินเซส นอกจากนี้ ฝากถึงรัฐมนตรีช่วยว่ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์เร่งพิจารณา

เอกสารคืนเงินเซสให้กับผู้ประกอบการ ในส่วนที่เคยจัดเก็บในอัตราร้อยละ 5 บาท

ไปตั้งแต่ปี 2553 ซึ่งเบื้องต้นทราบว่าสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง(สกย.)

ได้ตรวจสอบเอกสารเสร็จเรียบร้อย และส่งเรื่องให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรฯ

ไปพิจารณาสักระยะหนึ่งแล้ว รวมทั้งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรฯ

ควรเสนอให้คณะรัฐมนตรีเร่งอนุมัติงบประมาณจำนวน 15,000 ล้านบาท

สำหรับใช้แทรกแซงราคายาง เพื่อนำไปจ่ายให้กับเกษตรกรทั่วประเทศ

ที่ได้นำยางพาราไปขายให้องค์การสวนยาง ตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม ที่ผ่านมา

แต่จนถึงปัจจุบันยังไม่ได้รับเงินดังกล่าวเลย


Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#11 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

Posted 30 August 2013 - 17:04

“การพัฒนากระบวนการผลิตโฟมยางธรรมชาติ

       ผลิตภัณฑ์โฟมยางหรือยางฟองน้ำที่ทำจากยางธรรมชาติมีลักษณะเป็นรูพรุนใช้ทำผลิตภัณฑ์จำพวก เบาะนั่ง ที่นอน หมอน สื่อการสอน ตุ๊กตาและของชำร่วยต่างๆ หลักการสำคัญของการผลิตยางฟองน้ำคือการทำให้น้ำยางเกิดฟองของอากาศหรือของแก็สต่างๆแล้วทำให้ฟองยางคงรูป (หรือวัลคาไนซ์) ด้วยสารเคมีและความร้อน     
      

การผลิตโฟมยาง.JPG

 

www.mof.or.th/economic_plant/pararubber/abstract_rubber_foam.txt.doc

 


Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#12 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

Posted 30 August 2013 - 17:35

นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฎร์ธานี ปชป. ลุกขึ้นขอให้นายกฯรับฟังการอภิปรายก่อนออกเดินทางไปทำเนียบ โดยนายสุเทพอภิปรายว่า เรื่องราคายางพารา ปาล์มน้ำมัน อยากให้นายกฯลงมาแก้ปัญหาด้วยตัวเอง ได้ยินคำแถลงของรัฐบาลที่ราคายางพาราตกต่ำเพราะราคาตลาดโลก เศรษฐกิจโลก รัฐบาลคงเข้าไปแทรกแซงไม่ได้ อย่างนี้ทำลายน้ำใจเกษตรกรชาวสวนยางพารา จึงเสนอให้นายกฯแก้ปัญหา ดังนี้

 

1.รัฐบาลต้องให้กลไกตลาดในประเทศนี้ดำเนินไปตามกำกับรัฐบาล 2.เมื่อพ่อค้าเชื่อถือ นายกฯมาลงมาดูแลตัวเอง นายกฯต้องตั้งราคาเป้าหมายว่าจะให้นายกฯขายยางได้เท่าไร 3.เมื่อประกาศแล้วนายกฯต้องทำสิ่งที่ถนัดคือ ไปต่างประเทศ แต่ไปพบประธานาธิบดีอินโดนีเซีย ที่ผลิตยางพาราเท่ากับไทยส่งออก 3 ล้านกว่าตัน ถ้านายกฯจับมือประธานาธิบดีอินโดนีเซียได้ ตกลง 2 ประเทศจะไม่ขายยางพาราตัดกันในราคาโลก เราจะสามารถคุมราคาในตลาดโลกได้ หรือให้ประธานาธิบดีอินโดนีเซียเป็นหัวเรือใหญ่ก็ทำได้

 

"เมื่อสองประเทศร่วมมือกันจะกำหนดราคายางพาราในตลาดโลกได้ ประเทศต่อไปคือประเทศผู้ซื้อต้องบอกให้รู้ล่วงหน้า รัฐบาลจำเป็นต้องปรับราคายางพาราขึ้น การซื้อราคาในขณะนี้ถูกเกินไป โดยผู้ซื้อรายใหญ่คือ จีนและญี่ปุ่น ต้องไปบอกว่าตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557 จะปรับราคาขายยางพาราให้โอกาสและไม่เสียไมตรี ถ้านายกฯประกาศวันนี้จะแก้ปัญหานี้ด้วยตัวเอง ปัญหาเรื่องเกษตรกรชุมนุมประท้วงจะคลี่คลาย อย่าเชื่อพวกลิ่วล้อว่าผมอยู่เบื้องหลังผู้ประท้วงยางพารา ถ้าผมร่วมมือผู้ชุมนุม ผมจะประกาศให้นายกฯรู้จะไม่ทำตัวอีแอบ ให้นายกฯได้สบายใจ เขาชุมนุมเพราะเดือดร้อนไม่มีการเมืองไปเกี่ยวข้อง แต่เป็นเรื่องประชาชนรอมา 2 ปีแล้ว ทนรอไม่ได้ ขอร้องนายกฯอย่าตอบว่าต้องใช้เวลา เขาให้เวลานายกฯมา 2 ปี ไม่มีเวลาให้นายกฯอีกต่อไป เราต้องการคำตอบวันนี้"


Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#13 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

Posted 30 August 2013 - 21:47

 อสย.แนะให้แปรรูปแก้ยางราคาต่ำ(19/08/2556)
       นครศรี ธรรมราช - นายชนะชัย เปล่งศิริวัธน์ ผู้อำนวยการองค์การสวนยาง (อ.ส.ย.) เผยว่า ราคายางพาราในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา มีปริมาณยางเกินความต้องการกว่า 3.2 แสนตัน ที่เป็นผลมาจากเศรษฐกิจโลก และอีกหลายปัจจัย ส่งผลต่อราคายางพารา เช่น ยางของไทยมีราคาค่อนข้างสูงมาก ทำให้ผู้ประกอบการใช้ยางสังเคราะห์ที่มี และราคาต่ำเพราะมีการผลิตมากขึ้นกว่าแทน ประมาณราคา ก.ก.ละ 50-60 บาท กดดันให้ราคายางพารายิ่งตกต่ำลงมา
       นายชนะชัยกล่าวว่า คุณภาพยางพาราของไทยจะดีกว่าคู่แข่งทั้งอินโดนีเซียและเวียดนาม เพราะมีวิธีการผลิตที่ดีกว่า และประเทศไทยมีความได้เปรียบเรื่องยางแผ่นรมควันที่ใช้ในอุตสาหกรรมทำยางล้อ ซึ่งประเทศอื่นไม่ได้ทำ แต่มีปัญหาเรื่องมาตรฐานความสม่ำเสมอเมื่อเปรียบเทียบกับยางแท่ง ได้ส่งข้อมูลนี้ให้ สกย.นำไปปรับปรุงในส่วนนี้
      "ยุทธศาสตร์ที่ องค์การสวนยางจะทำคือ ส่งเสริมเรื่องการแปรรูป องค์การสวนยางมีโรงงานแปรรูปในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ จะเชื่อมต่อกับสถาบันเกษตรกรเพื่อให้เกิดการแปรรูป และรัฐบาลให้งบประมาณสนับสนุนส่งเสริมให้เกษตรกรเก็บสต๊อกยางเอาไว้ได้ จะได้เกิดธุรกิจส่งขายยางไปต่างประเทศได้ด้วยตัวเอง" นายชนะชัยกล่าว
     

       

ราคายางธรรมชาติ - ยางสังเคราะห์.JPG
 

ราคายางธรรมชาติขึ้นอยู่กับราคายางสังเคราะห์ด้วย ดังนั้นเมื่อพยายามลดต้นทุนให้ปิโตรเคมีมากเท่าไหร่ ราคายางสังเคราะห์ก็จะถูกลง ราคายางธรรมชาติก็ดันไม่ขึ้น ต้องอาศัยระบบผูกขาดเช่นเดียวกับน้ำมันเท่านั้น จึงจะพอสู้กันได้


Edited by Stargate-1, 31 August 2013 - 00:40.

Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#14 kokkai

kokkai

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 7,237 posts

Posted 31 August 2013 - 00:39

ขอบคุณ คุณ Stargate-1 ที่อุตส่าห์ค้นข้อมูลมาให้สมาชิกได้อ่าน นะครับ

 

ขอคารวะจากใจ

 

like4หัวใจเต้น.gif



#15 คนสับปรับ

คนสับปรับ

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,410 posts

Posted 23 April 2014 - 09:52

ช่วยวิเคราห์ราคายาง กลางปีและปลายปี ปี57ด้วยครับ  ขอบคุณครับ






1 user(s) are reading this topic

0 members, 1 guests, 0 anonymous users