Jump to content


Photo
- - - - -

ปตท.ทำให้เกิดม็อบสวนยาง จริงไหม?


  • Please log in to reply
13 ความเห็นในกระทู้นี้

#1 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 1 กันยายน พ.ศ. 2556 - 07:10

อสย.แนะให้แปรรูปแก้ยางราคาต่ำ(19/08/2556)

 

นครศรี ธรรมราช - นายชนะชัย เปล่งศิริวัธน์ ผู้อำนวยการองค์การสวนยาง (อ.ส.ย.) เผยว่า ราคายางพาราในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา มีปริมาณยางเกินความต้องการกว่า 3.2 แสนตัน ที่เป็นผลมาจากเศรษฐกิจโลก และอีกหลายปัจจัย ส่งผลต่อราคายางพารา เช่น ยางของไทยมีราคาค่อนข้างสูงมาก ทำให้ผู้ประกอบการใช้ยางสังเคราะห์ที่มี และราคาต่ำเพราะมีการผลิตมากขึ้นกว่าแทน ประมาณราคา ก.ก.ละ 50-60 บาท กดดันให้ราคายางพารายิ่งตกต่ำลงมา
 

แลงเซส เดินเครื่องก่อสร้างโรงงานผลิตยางสังเคราะห์นีโอดิเมียม

แลงเซส เดินเครื่องก่อสร้างโรงงานผลิตยางสังเคราะห์นีโอดิเมียม โพลิบิวทาไดอีน (Nd-PBR) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก   ในสิงคโปร์ เงินลงทุน 200 ล้านยูโร โรงงานแห่งใหม่มีกำลังการผลิต 140,000 ตันต่อปี โดยแลงเซส เป็นซัพพลายเออร์ชั้นนำระดับโลก ของยางสังเคราะห์นีโอดิเมียม โพลิบิวทาไดอีน (Nd-PBR)  ข้อกำหนดการติดฉลากยางรถยนต์ ก่อให้เกิดความต้องการที่สูงมากในตลาด สำหรับยางรถยนต์ “กรีนไทร์” (Green Tires) หรือยางรถยนต์สีเขียวเพื่อสิ่งแวดล้อม การก่อสร้างโรงงานผลิตยางบิวทิล ในพื้นที่ใกล้เคียงกำลังคืบหน้าไปด้วยดี
 

ทั้งนี้ Petrochemical Corporation of Singapore (Private) Limited (PCS) จะเป็นบริษัทผู้จัดหาบิวทาไดอีน ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักส่วนใหญ่ ที่จำเป็นต้องใช้ในการผลิตยางสังเคราะห์นีโอดิเมียม โพลิบิวทาไดอีน ขณะที่ TP Utilities Pte Ltd ของสิงคโปร์ (บริษัทลูกของ Tuas Power Ltd) จะผลิตไอน้ำป้อนโรงงานแห่งใหม่นี้ ส่วน Foster Wheeler Asia Pacific Pte Ltd เป็นบริษัทที่ได้รับคัดเลือกให้รับผิดชอบงานด้านวิศวกรรมและการก่อสร้างโรงงาน

โรงงานแห่งใหม่สามารถตอบสนองความต้องการที่สูงขึ้นของอุตสาหกรรม “ยางกรีนไทร์” (Green Tires) แลงเซสเป็นผู้นำตลาดยางสังเคราะห์นีโอดิเมียม โพลิบิวทาไดอีน (Nd-PBR) ที่ใช้ใน “ยางกรีนไทร์” (Green Tires) ซึ่งเป็นแขนงที่เติบโตเร็วที่สุดในอุตสาหกรรมยางรถยนต์ ด้วยอัตราเติบโตทั่วโลกถึงร้อยละ 10 ต่อปี และเติบโตอย่างชัดเจนมากในเอเชียที่อัตรา ร้อยละ 13 ต่อปี 

 

http://www.thailandi...ew.php?id=17381

 

ไออาร์พีซี" ร่วมทุน "อูเบะ"กว่า 5,000 ลบ.

 

กลุ่มอูเบะยังอยู่ระหว่างการเจรจากับ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ  PTTGC เพื่อลงทุนก่อสร้างโรงงานผลิตยางสังเคราะห์ โรงที่ 2 จากปัจจุบันบริษัทมีโรงงานผลิตยางสังเคราะห์อยู่แล้ว 1 โรง ภายใต้บริษัท ไทย ซินเธติกส์ รับเบอร์ส จำกัด โดยอยู่ระหว่างการศึกษาโครงการ ซึ่งยังไม่ทราบว่า PTTGC จะเข้ามาลงทุนในลักษณะไหน ซึ่งอาจจะเข้าถือหุ้นใน บริษัท ไทยซินเธติกส์ เหมือนที่ ไออาร์พีซี เข้าซื้อหุ้นในบริษัท อูเบะเคมิคอลส์ หรืออาจจะตั้งบริษัทใหม่ก็ได้ขึ้นอยู่กับความเหมาะ  

 

http://www.localpost...507866&Ntype=13

 

การส่งเสริมให้ปิโตรเคมีใช้ LPG ราคาถูกๆ ยอมเป็นการซ้ำเติมยางธรรมชาติอย่างคาดไม่ถึง


Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#2 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 1 กันยายน พ.ศ. 2556 - 07:48

Rubber and rice in Thailand: The synthetic difference

Posted on 30 August 2013

e2864__ThailandRubberFarmerProtest1.jpg

 

BP

: As you can see that Indonesia, Malaysia, and Thailand were roughly equal in 1990, but rubber production in Malaysia has remained fairly static whereas in Thailand it has increased exponentially.

 

Now, what about the price of natural and synthetic rubber?

cb9b1__9614564329_a337932b37_o.jpg

Source: Spend Matters

BP: As you can see, it is mostly in sync aside from a little crazy period at the end of 2010 and 2011 principally due to a drought in Thailand and other countries caused by El Nino and then floods caused by La Nina where we saw a divergence between natural and synthetic rubber, the prices have basically mirrored each other.

So why is not more synthetic rubber used and why hasn’t it increased its market share since the 1960s?

From a Highbeam business report

According to the IRSG, tires utilize the largest share of rubber, nearly 60 percent of the rubber industry, with other automotive parts accounting for the remaining 10 to 15 percent. The Rubber Manufacturers Association reported that 41 percent of a tire’s composition is rubber, and natural rubber accounts for 40 percent of that share. This dependency on natural rubber leaves tire companies vulnerable to rising prices of raw materials. In 2008, prices for natural rubber reached $ 1.47-$ 1.48 per pound, representing an all-time high. Some manufacturers sought methods of increasing the share of synthetic rubber in tires in order to be able to withstand such increases without raising prices to customers. Goodyear Tire & Rubber Company, for example, announced that it developed a method to substitute 15 percent of its natural rubber usage with synthetic rubber without impacting tire performance.

Bridgestone:

Couldn’t we substitute synthetic rubber?

There are a couple of paradoxes there. First of all, a good deal of synthetic rubber comes from oil, and as we’ve seen, crude oil is the second-fastest-rising commodity of the ones we chose to review.

And, according to experts, as the price of oil goes up, the price of synthetic rubber goes up, and that actually drives the demand for synthetic rubber down.

That causes demand for natural rubber to go up, and we know what that does to its price!

BP:  Yes, oil. Below is a chart looking at rubber prices with the price of oil:

85557__9617802032_e1dca8c9cb_z.jpg

Source: AlphaVN

Then between natural rubber and oil:

85557__9614564571_7b63382682_z.jpg

Source: Continental AG

BP: So is it rubber leading oil or oil leading rubber? BP would be very skeptical that it is the former… The markets don’t exactly match up and there are certainly some prospects for cartel-like behavior by governments to reduce the supply of rubber, but this is not easy because synthetic rubber can be used in some instances instead of natural rubber. BP should note that synthetic rubber is not a perfect substitute for natural rubber in all circumstances and natural rubber is not going away anytime soon, but because synthetic rubber can act as a substitute and that price of rubber is mainly dictated by the price oil, it is not so easy  to influence the rubber market. Actually, the first rubber cartel collapsed in 1999, but Thailand, Malaysia, and Indonesia set up a new one. The Economist in 2003:

But there is no need for panic-buying just yet. The members of the nascent rubber cartel, like their counterparts in OPEC, are already having trouble sticking to their quotas. In August, they agreed to cut output by 4%. But faced with burgeoning sales of tyres in China, officials in both Thailand and Indonesia changed their tune. Production, they said, should grow, not shrink.

Furthermore, demand for natural rubber is, appropriately enough, quite elastic: it depends on the relative price of synthetic rubber. As it is, in 2002, consumption of synthetic rubber increased faster than that of the natural kind. If the price of oil, the main ingredient of synthetic rubber, continues to fall, that trend will only get sharper.

Supply is fairly flexible too. Although rubber trees must grow for several years before they yield much sap, enterprising farmers in other countries would doubtless start planting if the price rose sufficiently high, just as big oil firms embark on exploration and development of new fields when the oil price goes up.

BP: An abstract looking at the rubber cartel states “[t]his proves that instead of becoming an oligopoly market, the market turned out to be competitive” which suggests it has not been as successful as hoped. Nevertheless, this does not mean that the cartel can’t have some influence on price. From a Macquarie Commodities Report in 2012:

The third and most important supply-side risk is the intention of the three largest Asian producers to support falling prices by withholding supply and keeping supply tight by burning older rubber trees. Up to 450,000t of rubber could be cut back between Q4 2012 and Q1 2013, if the cartel is successful. In our analysis, such a scenario would lead to a global stock/use ratio staying tight at 13-14%, which in turn would support prices higher.

BP: To sum everything up, as BP understands the situation, synthetic rubber can act as a substitute for natural rubber in some circumstances. This makes it difficult to control the supply of natural rubber. The price of synthetic rubber is largely determined by the oil price. The end result being that the oil price strongly influences the price of natural rubber. Now, it is possible for the rubber cartel of Thailand, Malaysia, and Indonesia to try to influence the price of natural rubber, but so far this has only proved successful in the short-term with the price adjusting itself over the medium-term.

Hence, from a brief review so far, government money directed at the rubber industry – see here in case don’t get time to blog on rubber support* – is more towards in the production and planting stage and less at price support. This differs greatly from that of rice. There is also no large synthetic rice market…

*Wrote almost all of this post before most farmers accepted a deal so the issue may die down now.

btw, has the government learnt a lesson from the failure of the rice pledging scheme to have an large impact on prices in the market for rice?

Full News here – Asian Correspondent » Bangkok Pundit


Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#3 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 1 กันยายน พ.ศ. 2556 - 08:41

บทวิเคราะห์ วิกฤตปัญหายาง ที่น่าสนใจ
โดย raksthaban

 

 

hyang.gif linedog.gif

 

 

ยางเป็นน้ำยางเหนียว ซึ่งซึมออกจากต้นยาง ต้นยางมีต้นกำเนิดที่ประเทศบราซิลปละบริเวณเขตร้อนแต่เป็นสินค้าทางเศรษฐกิจที่สำคัญ ในกลุ่มประเทศอินเดียตะวันออกและแอฟริกา ในน้ำยางจะประกอบด้วยยางไม้ 35% และ 65% เป็นน้ำน้ำยางจะถูกทำให้เป็นก้อนแข็งหรือการ จับเป็นก้อนด้วยการใส่กรดน้ำส้ม หลังจากนั้นน้ำจะถูกขจัดออกไปจากเนื้อยางโดยการบีบคั้น  จะได้เป็นยางดิบยางดิบจะเป็นกาวได้ดีเยี่ยม     และ ใช้เป็น ตัว ประสานได้มากมายหลายชนิด โดยการละลายยางดิบในสารละลายที่เหมาะสม
 ยางธรรมชาติ การใช้ยางธรรมชาติสมัยใหม่เริ่มจากปี พ.ศ. 2382 เมื่อนายชาร์ลส์ กู๊ดเยียร์ ค้นพบกรรมวิธีเพิ่มคุณภาพของยางธรรมชาติเรียกว่า กรรมวิธีวัลคาไนซ์ โดยการเติมกำมะถัน 30% ลงไปในเนื้อยาง และให้ความร้อนแก่ยางธรรมชาติในอุณหภูมิที่เหมาะสมกำมะถันจะทำให้ยาง มีความแข็งแรง ต่อมาได้ถูกค้นพบว่ากรรมวิธีวัลคาไนซ์ที่จะทำให้ยางมีคุณสมบัติที่ดีขึ้นอย่างมากได้แก่การเติมสีเข้าไปในยางจึงมีการเติมคาร์บอน เข้าไปในยาง คาร์บอนทำให้ยางเป็นสีดำ ซึ่งจะทำให้ยางแข็งตึง ทำให้เหนียวและต้านทานการออกซิเดชันยางสมัยใหม่ในปัจจุบันจะใส่กำมะถัน ในปริมาณน้อยกว่า 3% ทำให้ความยืดหยุ่นของยางดีขึ้น ถ้าอบยางด้วยความร้อนสูงด้วยไอน้ำ และทำให้เป็นกลางกับแมกนีเซียมคาร์บอเนต ยางจะสามารถรีดจนเป็นยางแผ่นบาง ๆ ได้ดี ยางสามารถเป็นส่วนผสมที่มีการใช้งานอย่างกว้างขวาง มีความอ่อนและเหนียวจนถึงแข็งมาก ใช้กับงานที่ต้องการความแข็งแรงสูงได้ เส้นใยผ้าหรือเนื้อผ้าจะถูกเคลือบตัวยาง เมื่อใช้งานที่มีโหลด ทำยางรถยนต์ รถบรรทุกยางธรรมชาติ จะมีความยืดหยุ่นสูง เป็นฉนวนไฟฟ้าที่ดี มีความฝืดต่ำ และต้านทานสารอนินทรีย์ เช่น กรด เกลือ และด่าง  แต่ไม่คงทนต่อผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ยางธรรมชาติใช้ทำท่อยางน้ำ สายพานเครื่องจักร ยางตัน บูช ปุ่มยาง และถุงมือ

 ยางเทียมหรือยางสังเคราะห์

ยางเทียมหรือยางสังเคราะห์เป็นวัสดุที่มีคุณภาพคล้ายกับยางธรรมชาติ มีความต้านทานต่อน้ำมัน สารเคมี และความร้อนได้สูงและมีอายุ การใช้งานยาวนานยางสังเคราะห์ไม่มีความยืดหยุ่นเหมือนยางธรรมชาติดังนั้นในการใช้งานจึงมีการผสมระหว่างยางแท้กับยางเทียมซึ่งจะทำให้ ผลิตภัณฑ์มีคุณสมบัติของยางแท้และยางเทียมในตัวเดียวกัน ยางสังเคราะห์มีหลายชนิดได้แก่
1.  ยางสไตรีน-บิวทาไดน์ (styrene-butadiene rubber; SBR) เป็นยางสังเคราะห์ที่ใช้งานกันมากในสหรัฐอเมริกา ยางมีส่วนผสมของบิวทาไดน์ 78% กับสไตรีน 22% มันอาจจะถูกผสมกันที่อุณหภูมิ 40 องศาฟาเรนไฮต์ เมื่อนำมาผสมกันที่ 40 องศาฟาเรนไฮต์ยางจะมีคุณสมบัติพิเศษกว่า ยางธรรมชาติ ใช้ทำยางรถยนต์ ยางสังเคราะห์มีความต้านทานต่อการขูดถลอก สภาวะของลมฟ้าอากาศที่แปรเปลี่ยนไป ต้านทานไฟฟ้าได้ดี เมื่อทิ้งไว้ให้ตากแดดตากลม โอโซน แก๊สโซลีน และน้ำมัน ยางจะชำรุดเสียหายได้ ยางนี้ยังใช้ทำท่อยาง พื้นฉนวน สายพานลำเลียง วัสดุหีบห่อ พื้นรองเท้า

2.  ยางบิวติล (butyl rubber) เป็นยางสังเคราะห์ที่ผสมกันระหว่างไอโซพรีน มีโครงสร้างที่ทนต่ออากาศ เพราะว่ายางนี้ให้ก๊าซซึมซาบได้ต่ำมาก ดังนั้นจึงใช้ทำยางรถยนต์แบบไม่มียางใน และสารผสมกันรั่ว ยางนี้มีความแข็งแรงต่อแรงดึงมากกว่ายางธรรมชาติมีความต้านทานต่อการ ฉีกขาดได้ดี ต้านทานการขูดถลอกต้านทานผลิตภัณฑ์แก๊สโซลีนได้ดี ต้านทานกรดได้ดี ต้านทานสารละลายได้ดีและต้านทานการแข็งตัว ในอากาศเย็นได้ พอใช้ แต่ไม่ต้านทานต่อเปลวไฟ ต้านทานไฟฟ้าได้ดี จึงเป็นฉนวนไฟฟ้าในอุปกรณ์ไฟฟ้า

3.  ยางเอทิลีน-โพรพิลีน (ethylene-propylene rubber; EPR) เป็นสารผสมจากเอทิลีนและไอโซโพรพิลีน เป็นยางที่มีน้ำหนักเบา ต้านทานแสงแดด ยางสังเคราะห์นี้ต้านทานการขูดถลอกได้ดี ทนต่อการตากแดดตากฝน และการออกซิเดชัน ใช้ทำท่อยาง รองเท้าบูต สายพานตัววี ยางรถยนต์ และเป็นฉนวนสายเคเบิลไฟฟ้า

4.  ยางฟลูออโร (fluoro rubber) ผลิตจากกรดบิวไตริกที่เปลี่ยนเป็นบิวไตริกแอลกอฮอล์และสารละลายกรดอะคริลิกจนได้ยางออกมา มีคุณสมบัติต้านทานแสงแดด น้ำมันการออกซิเดชัน และสารละลาย เมื่อผสมกับโบรไมน์ ยางนี้จะให้ก๊าซซึมซาบผ่านได้ต่ำ ทนต่ออุณหภูมิสูงและต่ำ
5.  ยางไนไตรล์ (nitrile rubber) เป็นการผสมกันของอคริโลไนไตรล์และบิวทาไดน์ ถ้ามีไนไตรล์มาก ยางจะมีคุณสมบัติต้านทานน้ำมันเพิ่มมากขึ้น การเพิ่มไนไตรล์ จะลดคุณสมบัติการอ่อนตัวได้ดี เช่น จะบิดงอได้ง่าย ความสามารถกลับคืนสภาพเดิม กลุ่มไนไตรล์อาจจะเสริมแรงด้วยคาร์บอน ยางจะทนต่อจาระบี สารละลาย และน้ำมันได้ดี เป็นวัสดุกันรั่วในงานที่มีความร้อน ยางนี้ถูกทำให้เป็นตัวประสาน และเคลือบผลิตภัณฑ์กระดาษใช้เคลือบภายในท่อที่ใช้ในการขนส่งผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เคลือบภายในของถังเชื้อเพลิงทำยางโอริง และสันรองเท้า

6.  ยางโพลีคลอโรเพรน (polychloroprene rubber) หรือที่เรยกว่า ยางนีโอเพรน (neoprene rubber) เป็นยางที่ใช้งานกันอย่างกว้างขาง ทำจากสารคลอโรเพรนและคลอโรบิวทาไดน์ ยางนี้มีคุณสมบัติทางกลและโครงสร้างคล้าย ๆ กับยางธรรมชาติ ต้านทานต่อผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม โอโซน แสงแดด และการขูดถลอก ยางนี้จะไม่เกิดการไหม้แม้ว่าจะถูกเผาจึงใช้ทำปะเก็น ถุงมือ ผ้าป้องกันไฟ ตัวประสาน ท่อและเคลือบท่อ สายพานลำเลียงและฉนวนไฟฟ้า

7.  ยางโพลีซัลไฟต์ (polysulfide rubber) หรือที่เรียกว่า ไทโอโคลหรือโคโรซีล (thiokol or Koroseal) ยางนี้มีการซึมซาบของก๊าซต่ำ และต้านทานสารละลายได้ดี  ใช้ทำตัวประสานสำหรับโลหะ ต้านทานต่อการฉีกขาดและการขูดถลอกพอใช้ ต้านทานแสงแดดและออกซิเดชันได้ดี ต้านทานการบวมจากน้ำร้อน ต้านทานกรดได้ดี และต้านทานความร้อนจากเปลวไฟได้ต่ำ ใช้ทำวัสดุอุดรูรั่ว เคลือบภายในถังเชื้อเพลิงและถังกรด ปะเก็น วัสดุกันรั่ว ท่อน้ำมันแก๊สโซลีน และหุ้มสายเคเบิลไฟฟ้า

8.  ยางโพลียูรีเทน (polyurethane rubber) ถูกใช้ทำตัวประสานหรือยางรถยนต์ทำส้นรองเท้า กันน้ำมันรั่ว แผ่นไดอะแฟรม เฟือง  อุปกรณ์กันสั่นสะเทือน ปะเก็น ฯลฯ วัสดุจะถูกผสมเข้าด้วยกันในแม่พิมพ์หรืออบยางด้วยความร้อนสูง ต้านทานต่อการขูดถลอกฉีกขาดและสึกหรอ มีเปอร์เซ็นต์การยึดตัวสูง และมีความแข็งแรงต่อแรงดึงถึง 8,000 ปอนด์ ต่อตารางนิ้ว ใช้ทำยางรถยนต์ ของยานยนต์ที่เคลื่อนตัวช้า เช่น รถยก เพราะว่าที่ความเร็วสูงจะเกิดความร้อนสูงที่จุดสัมผัสระหว่างผิวถนนและยาง จึงไม่เหมาะสำหรับใช้กับยางรถยนต์ทั่ว ๆ ไป แต่อย่างไรก็ดี ยางชนิดนี้ก็มีสัมประสิทธิ์ของความเสียดทานต่ำ ดังนั้นภายใต้สภาพพิเศษยางนี้จะใช้ทำบูช จะต้านทานต่ออุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงจาก - 100 ถึง +200 องศาฟาเรนไฮต์

ตัวอย่าง พื้นยางสังเคราะห์โพลี่ยูรีเทน  เช่น พื้นสนามกีฬา แบดมินตัน พื้นสนามยิมเนเซียม พื้นสนามฟุตซอล พื้นสนามวอลเลย์บอล ตระกร้อ

http://www.nichofloor.com/gymnesium

 

9.  ยางซิลิโคน (silicone rubber) เป็นผลลัพธ์จากการรวมกันของไนไตรล์ฟีนีล (phenyl) หรือกลุ่มฟลูออไรน์ (fluorine) ยางนี้มีความเสถียรมาก ไม่ได้รับผลกระทบจากแสงแดด ต้านทานต่อน้ำมันร้อน และมีความสามารถต่อการบิดงอภายใต้อุณหภูมิ -100 ถึง+500 องศาฟาเรนไฮต์ มีความแข็งแรงต่อแรงดึงเฉลี่ยที่อุณหภูมิห้อง 300 ถึง 600 ปอนด์ ต่อตารางนิ้ว มีความสามารถยืดขยายให้ยาวได้ถึง 120%

บุญธรรม ภัทราจารุกุล
เรียบเรียงจาก : หนังสือวัสดุช่าง หน้าที่297


Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#4 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 1 กันยายน พ.ศ. 2556 - 09:23

ราคาเปรียบเทียบ.JPG

 

ราคาแก๊ส LPG.jpg

 "ในปัจจุบันปิโตรเคมีของปตท. จ่ายเงินกองทุนที่ 1 บาทต่อกิโลกรัม เป็นการเลือกปฏิบัติ    ควรให้ธุรกิจภาคปิโตรเคมี จ่ายเงินกองทุนน้ำมัน เท่าภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ  คือ 11.220 - 12.12 บาท ต่อ กิโลกรัม และให้ปิโตรเคมี ซื้อก๊าซ LPG ในราคาตลาดโลก เพราะนำเข้า LPG เพื่อการประกอบธุรกิจส่วนตน   หรือให้ซื้อใน ราคาเท่าอุตสาหกรรมเอกชนรายอื่นๆ  และ  ห้ามเอาเงินกองทุนน้ำมันของประชาชนใปลดต้นทุนของธุรกิจภาคปิโตรเคมีเอกชน และสร้างความร่ำรวย ให้โรงกลั่นต่างๆ  และบริษัทในเครือบริษัทปตท.จำกัด (มหาชน)"  

 

ยิ่งลดต้นทุนให้ปิโตรเคมีลงเท่าไหร่   ยางสังเคราะห์จะมีราคาต่ำลง  ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงกับราคายางธรรมชาติ ราคายางแผ่นรมควันก็จะมีราคาลดลง


Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#5 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 1 กันยายน พ.ศ. 2556 - 11:18

ไทยนำเข้าน้ำมันดิบมาอ้างว่า น้ำมันดิบในอ่าวไทยกลั่นได้ดีเซลน้อย  ไม่พอใช้จึงต้องส่งออกน้ำมันดิบ  การนำเข้าก็เกินกว่าความต้องการของการใช้ในประเทศ ซึ่งปัจจุบันยังมีข้อสงสัยว่าน้ำมันดิบที่นำเข้า มาจากอ่าวไทย หรือเป็นคอนเดนเสทที่ไม่แจ้งปริมาณที่ขุดได้ใช่ไหม   และเป็นที่น่าแปลกที่เรามีโรงกลั่นมากๆ ไว้เพื่ออะไร เพื่อกลั่นน้ำมันเกรดสูงๆเพื่อส่งออกหรือไง      พอจับได้ว่าส่งออกดีเซลด้วย ก็แถว่า ใช้ LPG กันเยอะ แต่ความจริงแล้ว ปริมาณการใช้ของภาคขนส่งน้อยกว่าภาคปิโตรเคมีหลายเท่านัก  ถ้าให้ภาคปิโตรเคมีนำเข้า LPG หรือ แนฟทา (1) เข้ามาใช้เองโดยไม่ต้องชดเชยการนำเข้า ภาคอื่นๆก็จะได้ใช้ LPG ในราคาเดิม โดยไม่ต้องมีกองทุนน้ำมันอีกต่อไป    ราคาน้ำมันและ LPG ก็จะลดลงอย่างมาก    หากได้แก้ไขให้รัฐ สามารถแบ่งรายได้กำไรจากสัมปทานน้ำมัน แทนภาษีต่างๆ ราคาน้ำมันและLPG ก็จะมีราคาใกล้เคียงมาเลเซีย การอุดหนุนภาคปิโตรเคมีให้มีต้นทุนน้อยๆ ก็เป็นการทำให้ราคายางสังเคราะห์ถูกลง   ซึ่งเป็นการซ้ำเติมราคายางธรรมชาติด้วย

 


Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#6 พระฤๅษี

พระฤๅษี

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 10,127 posts

ตอบ 1 กันยายน พ.ศ. 2556 - 11:30

>>>>> เกี่ยวกันไม๊ วะ  เพื่อน..งง..งง..งง..<<<<<

 

941344_170167409825473_1938544365_n.jpg



#7 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 1 กันยายน พ.ศ. 2556 - 11:45

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ปตท. ปัด ขาย LPG ให้ภาคปิโตรเคมี ถูกกว่าภาคครัวเรือน ยัน ภาครัฐ ควบคุมราคา
         นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า จากกระแสข่าวที่ออกมาว่า กระทรวงพลังงาน ขายก๊าซธุรกิจปิโตรเคมี ราคา 16.20 บาท แต่ขายราคา 18 บาท ให้ภาคครัวเรือน และ 21 บาท ในภาคขนส่ง ทั้งนี้ขอยืนยันว่า ราคาดังกล่าวไม่เป็นความจริง โดยข้อเท็จจริง ราคาขายก๊าซ LPG มีราคาเฉลี่ยการขายหน้าโรงแยก จะมีราคา 10.20 บาท เมื่อบวกภาษีโครงสร้างราคาค่าก๊าซและค่ากองทุนน้ำมันแล้ว ราคาภาคครัวเรือน จะอยู่ที่ราคา 18.10 บาท และภาคขนส่ง 21.40 บาท ซึ่งเป็นราคาที่ภาครัฐได้ควบคุมไว้ ส่วนราคาที่ ปตท.ขายให้กับ ปิโตรเลียมเคมี จะอยู่ที่ ราคา 17.30 บาท หากบวกค่าภาษีโครงสร้างราคา ค่ากองทุนน้ำมันและการขนส่ง ราคาจะอยู่ที่ 19.50 บาท เป็นราคาจากโรงแยก และราคา 28.30 บาท เป็นราคาจากโรงกลั่น ซึ่งเป็นราคาที่อิงตามตลาดโลก อย่างไรก็ตาม หากเปรียบเทียบราคาการจำหน่าย LPG แล้ว จะพบว่า ราคาจำหน่ายที่ใช้เป็นวัตถุดิบให้อุตสาหกรรมปิโตรเคมี จะอยู่ในระดับที่สูงกว่า    นอกจากนี้ การนำตัวเลขการขายในภาคครัวเรือนไปเปรียบเทียบกับภาคปิโตรเคมีนั้น เป็นการนำตัวเลขที่บิดเบือนความเป็นจริง ซึ่งจะเป็นการสร้างความสับสนให้กับผู้บริโภค

"ต้นทุนนำเข้า  อยู่ที่ประมาณราคา 934 $/Ton หรือประมาณ  29.28 บาท/กก. (คำนวณจากราคา CP + ค่าดำเนินการ)  ซึ่งรัฐจ่ายชดเชยประมาณ 601 $/Ton หรือประมาณ  19.22 บาท/กก.

 

"http://www.chiangmai...h/page/?p=75402
 

        สรุปแล้วปตท.ซื้อมาในราคาเท่ากับ 10.06 บาท/กก. ใช่ไหม มันก็ราคาเดียวกันที่หน้าโรงแยก ที่ขายให้ภาคครัวเรือน ใช่ไหม  แล้วเอาไปขายให้ปิโตรเคมี ในราคา 17.30 งั้นหรือ กำไรก็ของปตท.อยู่ดี ใช่ไหม  ทำไมไม่ใช้ราคาเดียวกับภาคอุตสาหกรรมทั่วไปที่ราคา 30.13.บาท/กก.

 

        การอุดหนุนภาคปิโตรเคมีให้มีต้นทุนต่ำ ก็เป็นการทำให้ราคายางสังเคราะห์ถูกลง   ซึ่งเป็นการซ้ำเติมราคายางธรรมชาติด้วย แม้จะส่งผลไม่ทันที แต่ก็น่าตกใจ เมื่อหันมาดูปัจจัยนี้กันอย่างจริงจัง ถ้าราคายางธรรมชาติยังตกลงอย่างต่อเนื่อง
 

ถ้าราคายางธรรมชาตื ไม่ตกต่ำแบบนี้ ก็คงไม่มีการประท้วงของม็อบยางหรอกครับ


Edited by Stargate-1, 1 กันยายน พ.ศ. 2556 - 12:46.

Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#8 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 1 กันยายน พ.ศ. 2556 - 13:20

ราคาน้ำมันขาลง ช่วยลดต้นทุนค่าขนส่ง ดีต่อ สินค้าอุปโภค/บริโภค สายการบิน
      ท่ามกลางราคาน้ำมันดิบที่อ่อนตัวลงต่อเนื่องเกือบ 40% จากระดับสูงสุดที่ 124.7 เหรียญฯต่อบาร์เรล (16 มี.ค.2555)  แม้จะส่งผลกระทบด้านลบต่อผู้ประกอบการขั้นต้น ในธุรกิจโดยเฉพาะ ปิโตรเลี่ยม และ โรงกลั่นขั้นต้น (PTTEP, TOP, PTTGC, BCP)  พลังงานทดแทน (KSL ใช้กากน้ำตาลเป็นวัตถุดิบ)   ยางพารา (STA  เพราะราคายางสังเคราะห์จะลดลงตามราคาน้ำมัน จะกระทบต่อราคายางธรรมชาติ)

http://www.hooninsid...il.php?id=95659


Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#9 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 1 กันยายน พ.ศ. 2556 - 21:00

รายงานภาวะ​การซื้อขายยาง​แผ่นรมควันชั้น 3(RSS3) หลังปิด​การซื้อขายวันนี้

มีมูลค่ารวม​ทั้งสิ้นประมาณ 68.37 ล้านบาท มีปริมาณซื้อขายรวม 166 สัญญา ​เพิ่มขึ้นจากวันศุกร์ 2 สัญญา

นายณัฐวุฒิ มีนชัยนันท์ ​ผู้จัด​การฝ่าย​การตลาด บริษัท ดี​เอส ฟิว​เจอร์ส จำกัด กล่าวว่า วันนี้ราคายาง RSS3 ​เคลื่อน

​ไหว​ใน​แดนบวกตลอด​การซื้อขาย​แต่ช่วงท้ายตลาดมี​แรงขาย​ทำกำ​ไรกดดันลงมา​เล็กน้อย จากปัจจัยสนับสนุน​เรื่อง​ความต้อง​การยางจาก

จีนที่​เพิ่มขึ้นหลังจากล่าสุดสต็อกยางจีนที่ประกาศออกมา​เมื่อสัปดาห์ ที่ผ่านมา ปรับ​เพิ่มขึ้น 3.8% ​หรือประมาณ 4.5 พันตัน สร้าง​ความ

คาดหวังต่อนักลงทุนว่าจีนจะ​เริ่มกลับมาบริ​โภคยาง​ใน​เร็วๆนี้

ประกอบกับราคาน้ำมันดิบ​ในตลาด​โลกที่ยังคง​เคลื่อน​ไหว​ในระดับสูง หลังจากตลาดยังกังวลกับ​ความ​ไม่สงบทาง​การ​เมือง

​ในอียิปต์ ยังคง​เป็นปัจจัยสนับสนุนราคายางอีกทางหนึ่ง

อย่าง​ไร​ก็ตาม ปริมาณสินค้าที่ยังคงทะลัก​เข้าสู่ท้องตลาดตามฤดูกาล ​และ สภาพัฒน์ปรับลดผลิตภัณฑ์มวลรวม​ในประ​เทศปี

2556 ลง​เหลือ 3.8-4.3% จาก​เดิมที่คาด​โต 4.2-5.2% อาจจะกดดันภาพรวม
สำหรับวันพรุ่งนี้คาดว่าราคายางจะ​เคลื่อน​ไหว​ในกรอบจำกัด
ประ​เมิน​แนวรับ 81.70 บาท/กก. ​แนวต้าน 83.80 บาท/กก.

ส่วนปริมาณสัญญาซื้อขายคงค้าง(Open Interest) อยู่ที่ 2,692 สัญญา ​เพิ่มขึ้น 18 สัญญา


Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#10 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 2 กันยายน พ.ศ. 2556 - 08:25

ปัจจัยที่ส่งผลต่อราคายาง
• ปริมาณยางในประเทศผู้ผลิตยาง (ประเทศผู้ส่งออกยางเอง)

ยังไงรึ คือ... ง่ายๆเลยคือ ถ้ามีการผลิตยางออกมามากเกินความต้องการของผู้ใช้แล้วจะทำให้ราคายางปรับตัวลดลง ในทางกลับกัน ถ้ามีการผลิตยางออกมาน้อยเกินความต้องการของผู้ใช้แล้วจะทำให้ราคายางปรับตัวเพิ่มขึ้น เป็นไปตามกลไกราคาในทางเศรษฐศาสตร์

*ราคายางมีทิศทางตรงกันความกับปริมาณยางที่ผลิตออกมาเลย*

•ความต้องการของยาง ถ้าเกิดมีความต้องการยางสูงขึ้นก็จะทำให้ราคาปรับตัวขึ้น ในทางกลับกัน ถ้าเกิดมีความต้องการยางลดลงก็จะทำให้ราคายางปรับตัวลดลงไปด้วย

*ราคายางมีทิศทางเดียวกับความต้องการเลยล่ะ*

•ราคาน้ำมันดิบ เนื่องจากว่าในโรงงานอุตสาหกรรมจะใช้ยางสังเคราะห์จากยางพาราหรือจากพอลิเมอร์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันดิบ ถ้าเมื่อใดราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นซึ่งพอลิเมอร์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันเองก็จะมีราคาแพงด้วย โรงงานอุตสาหกรรมจึงหันมาซื้อยางพารามาใช้ในการผลิตแทน ทำให้ความต้องการยางพาราสูงขึ้น ราคายางพาราก็ปรับตัวสูงขึ้น ในทางกลับกัน ถ้าเมื่อใดราคาน้ำมันปรับตัวลดลงซึ่งพอลิเมอร์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันเองก็จะมีราคาลดลงด้วย โรงงานอุตสาหกรรมจึงหันมาซื้อพอลิเมอร์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันมาใช้ในการผลิตแทน ทำให้ความต้องการยางพาราลดลง ราคายางพาราก็ปรับตัวลงลด

*ราคายางมีทิศทางเดียวกับราคาน้ำมันเลยล่ะ*



https://th-th.facebo...otal_comments=3


Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#11 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 17 กันยายน พ.ศ. 2556 - 18:29

กลุ่มยางสังเคราะห์ (Synthetic Rubbers, Elastomers)

เป็นวัสดุที่สังเคราะห์ขึ้นเพื่อให้มีคุณสมบัติใกล้เคียงหรือดีกว่ายางธรรมชาติ โดยให้มีความ

ยืดหยุ่นคล้ายยางธรรมชาติ แต่มีความคงทนต่อการใช้งานมากกว่า ยางสังเคราะห์มีบทบาทสำคัญต่อ

ธุรกิจยานยนต์ โดยใช้เป็นวัสดุทดแทนยางธรรมชาติได้เป็นอย่างดี ยางสังเคราะห์มีหลายประเภท

เช่น ยางบิวทาไดอีน (BR) ยางสไตรีนบิวทาไดอีน (SBR) ยางบิวทิล (Butyl Rubber)

 

 

การนำเข้าบิวเทนมาโดยไม่เสียภาษี ทำให้ต้นทุนการผลิตยางเทียมถูกเข้าไปอีก แล้วอย่างนี้ราคายางจะไม่ตกได้อย่างไร แบบนี้มันน่าประท้วงไหม


Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#12 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 17 กันยายน พ.ศ. 2556 - 18:41

นายลีไม่อ่านให้ดี การนำเข้าแก๊ส LPG มาในรูป โพเพน และบิวเทน แต่แยกนำเข้าเพื่อหนีภาษี แล้วไม่ต้องมาแยก บิวเทนออกมาจากโพเพนอีก ถ้าไปสนับสนุนการนำเข้าบิวเทน แทนที่มันจะนำไปทำ LPG มันก็เอาไปทำยางเทียมอีก อันนี้ไม่ใช่การสร้างปัญหาให้เกิดม็อบอีกหรือหนูลี เป็นถึงนักข่าวยังไม่รู้อีก แย่จริงๆ คุณภาพนักข่าวเมืองไทย :lol:  :lol:  :lol:  :lol:  :lol:  


Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#13 gears

gears

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,450 posts

ตอบ 17 กันยายน พ.ศ. 2556 - 19:27

นายสำลี เป็นนักข่าวสโนว์แมนครับ :lol:
ปั่นน้ำเป็นตัวได้สบายๆ

#14 kaidum

kaidum

    ขาดขา

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,125 posts

ตอบ 17 กันยายน พ.ศ. 2556 - 20:13

เท่าที่ตามอ่านข้อมูล และตามในสื่อ ผมว่ายางสังเคราะห์เป็นประเด็นร่วมขนาดใหญ่เชียวครับ
แต่มองตามความต้องการของตลาดยาง ก็น่าจะยังมีความจำเป็นที่มากอยู่ ยังไม่เชื่อว่าตลาดยางจะตาย
นอกจากจะฝากให้เป็นความสามารถของรัฐบาลว่าจะ เก๋า หรือ เจ้ง
ประชาธิปไตยของผม ไม่ได้เกิดจากอารมณ์และการอุปถัมป์ โดยใคร




ผู้ใช้ 1 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้

สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 1 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน