หลังจากความพยายามอันติ๊งต๊องของผม วันนี้ผมขอยืนข้าง ไอ้กากลี และ นั่งแต๋ม ด้วยการ เอาคำว่า subsidy มาให้ท่่าน ๆ ดูเป็นขวัญ แล้วจะหาว่า ไม่บอกกันนะ ชิส์
การอุดหนุน (Subsidies)
การอุดหนุน (Subsidy) หมายถึง การได้รับประโยชน์ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งจากรัฐบาลของประเทศผู้ส่งออก ซึ่งอาจอยู่ในรูปการอุดหนุนโดยตรง เช่น การให้เงินทุน การลดหนี้สิน การลดหย่อนภาษีอากร การจัดสรรเงินทุนหรือสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าอัตราในตลาด หรือการให้การอุดหนุนทางอ้อม เช่น การให้การสนับสนุนด้านรายได้ด้านราคา หรือจัดทำสิ่งอำนวยความสะดวกสาธารณูปโภค รวมทั้งให้การอุดหนุนเพื่อการวิจัยแก่วิสาหกิจเพื่อสนับสนุนการส่งออก หรือลดการนำเข้านโยบายการอุดหนุนอุตสาหกรรม เป็นนโยบายสำคัญทั้งในประเทศกำลังพัฒนาและประเทศพัฒนาแล้ว
ในมุมมองของประเทศกำลังพัฒนา พบว่าส่วนใหญ่เริ่มใช้นโยบายอุดหนุนทดแทนการนำเข้าในระยะแรก แต่ต่อมาไม่สามารถขยายตลาดได้ รัฐบาลจึงหันไปเน้นนโยบายส่งเสริมการส่งออกในอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยเชื่อว่าการส่งออกจะเป็นแรงขับเคลื่อนที่จะทำให้เศรษฐกิจสามารถเติบโตอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ดี อุตสาหกรรมในระยะแรกไม่สามารถแข่งขันได้ รัฐบาลจึงต้องให้การปกป้องอุตสาหกรรมภายในเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ ด้วยเหตุนี้ การใช้มาตรการทางด้านภาษีเพื่อปกป้องอุตสาหกรรม โดยจัดเก็บภาษีนำเข้าสินค้าสำเร็จรูปจึงเป็นสิ่งจำเป็น นอกจากนี้ รัฐบาลยังใช้มาตรการทางด้านภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนเพื่อผลิตสินค้าส่งออก และสนับสนุนการใช้วัตถุดิบภายในเพื่อทดแทนการนำเข้า เป็นเครื่องมือสำคัญเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมภายใน
นอกจากนี้ การให้การอุดหนุนก็มีความจำเป็นต่ออุตสาหกรรมในประเทศกำลังพัฒนา ที่ยังประสบปัญหาความล้มเหลวในระบบตลาด (Market Failure) เช่น ปัญหาการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการ ปัญหาการเคลื่อนย้ายทุนหรือแรงงานไปยังอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ
เป็นต้น ส่งผลให้ประเทศกำลังพัฒนามีขีดความสามารถในการแข่งขันกับประเทศพัฒนาที่จำกัด ดังนั้น รัฐบาลจึงยังมีความจำเป็นต้องช่วยเหลืออุตสาหกรรมเหล่านี้ ให้สามารถแข่งขันได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ในขณะเดียวกัน การอุดหนุนก็มีวัตถุประสงค์ทางด้านสังคม
เป็นสำคัญด้วย
ส่วนในมุมมองของประเทศพัฒนาแล้ว นโยบายการอุดหนุนมีความสำคัญต่อนโยบายพัฒนาอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง (High-Technology Industry) ซึ่งต้องมีการพัฒนาองค์ความรู้และวิจัยพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีพื้นฐาน (Basic Research) อันก่อให้เกิดผลเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมอื่นๆ และยกระดับประสิทธิภาพการผลิตของอุตสาหกรรมโดยรวม ดังนั้น อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องจึงได้รับอานิสงค์จากการค้นคว้าวิจัยพัฒนาดังกล่าว เหตุผลสำคัญเนื่องจากอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี จำเป็นต้องมี
รากฐานมาจากการพัฒนาความรู้ (Knowledge) ที่ได้จากการวิจัยเป็นหลัก ดังนั้น การลงทุนในลักษณะดังกล่าวจึงมีความเสี่ยงสูง และไม่อาจคาดคะเนได้อย่างแน่ชัดว่าจะสำเร็จมากน้อยเพียงใดในแง่ผลตอบแทน ปัญหาที่มักเกิดขึ้นก็คือ การลงทุนด้านวิจัยพัฒนามักประสบปัญหาความล้มเหลวของกลไกตลาด (Market Failure) ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลในประเทศพัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จึงให้การอุดหนุนแก่บริษัทที่ได้ลงทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยเล็งเห็นว่าการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในอนาคต และก่อให้เกิดผลกระทบในด้านบวกต่อพัฒนาการของอุตสาหกรรมอื่นๆ โดยรวม กรณีที่เห็นได้ชัดเจนเช่นในกรณีประเทศสหรัฐอเมริกา ที่อนุญาตให้เอกชนสามารถนำค่าใช้จ่ายเพื่อการพัฒนาวิจัยหักลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ในขณะที่การลงทุนก่อสร้างอาคารและนำเข้าเครื่องจักรไม่สามารถกระทำได้ แต่สามารถนำมาหักเป็นค่าเสื่อมได้เท่านั้นเป็นต้น ในขณะเดียวกัน ประเทศกำลังพัฒนาได้นำแนวคิดนี้มาประยุกต์ใช้ด้วยเช่นกัน
แม้ว่าผลจากการอุดหนุนตามทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จะชี้ให้เห็นว่า การอุดหนุนให้เกิดผลดีในแง่นโยบายทางการค้า (Trade Policy) เพราะผู้นำเข้าวัตถุดิบและผู้บริโภคในประเทศผู้นำเข้าได้ประโยชน์จากการนำเข้าสินค้าในราคาถูก อีกทั้งยังก่อให้เกิดผลเสียต่อประเทศที่ให้ความ
ช่วยเหลือด้านการอุดหนุน เมื่อพิจารณาจากอัตราการค้าของประเทศผู้ส่งออกสินค้าที่ได้รับการช่วยเหลืออุดหนุน (Term of Trade) แต่เมื่อคำนึงถึงผลกระทบต่อการกระจายรายได้ต่อประเทศผู้นำเข้าสินค้าอุดหนุน (Income Distribution) การนำเข้าสินค้าราคาถูกก่อให้เกิดผลเสียต่อ
ผู้ผลิตสินค้าภายในประเทศทั้งที่ผลิตสินค้าชนิดเดียวกัน อุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆ (Linkage Industries) ตลอดจนกลุ่มแรงงานในภาคอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบ เพราะฉะนั้น
การอุดหนุนจึงถูกพิจารณาว่า เป็นนโยบายอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดการบิดเบือนการใช้ทรัพยากร ซึ่งไม่เพียงแต่ขัดแย้งต่อแนวทางการค้าเสรีตามหลักประสิทธิภาพสูงสุดแล้ว (Efficiency) การอุดหนุนยังสร้างความเสียหายแก่ผู้ประกอบการในประเทศผู้นำเข้า ที่อาจต้องล้มหายตายจากเนื่องจากการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมอีกด้วย ดังนั้น การใช้มาตรการตอบโต้การอุดหนุนที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อประเทศอื่นๆ จึงมีความจำเป็นในแง่นี้
ปล. ผมเจอแต่ การอุดหนุน (Subsidies) แบบนี้ อ่ะ ใช้ได้ไหมหว่า
ห้าาาาาาาาาาาาาาาา
ปล2. เท่าที่อ่าน ไม่เห็นมีตรงไหนเลย ที่บ่งบอกว่า โครงการจำนำข้าว เป็น การอุดหนุน (Subsidies) เลยสักนิด
ห้าาาาาาาาาาาาาาาา