Jump to content


Photo
- - - - -

เรื่องที่ “สุภาพบุรุษโทนี่ แบลร์” ไม่ได้พูดบนเวที


  • Please log in to reply
ยังไม่มีผู้แสดงความเห็นในกระทู้นี้

#1 Nong

Nong

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,124 posts

ตอบ 5 กันยายน พ.ศ. 2556 - 12:22

เรื่องที่ “สุภาพบุรุษโทนี่ แบลร์” ไม่ได้พูดบนเวที แต่พูดกับนักข่าวเครือเนชั่น ที่“นักการเมือง”ควรสนใจ

 

าณุมาศ ทักษณา

วานนี้ ผมใช้เวลาช่วงบ่ายนั่งอ่านคำปาฐกถาของ นายโทนี่ แบลร์ อดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษ

ที่หนังสือพิมพ์มติชนนำมาตีพิมพ์อย่างละเอียด เปรียบเทียบกับ เนื้อหาสาระที่คุณวีณารัตน์ เลาหภคกุล ผู้สื่อข่าวและพิธีกรเครือเนชั่นสัมภาษณ์พิเศษตีพิมพ์ในกรุงเทพธุรกิจดูแล้ว

มีหลายประเด็นที่นายโทนี แบลร์ ไม่ได้พูดบนเวที

และเป็นเรื่องที่ผมเห็นว่า นักการเมืองของไทยไม่ว่าจะเป็นพรรครัฐบาล และโดยเฉพาะอย่างพรรคฝ่ายค้านควรให้ความสนใจอย่างยิ่ง

ประเด็นแรกเกิดจากคำถามของคุณวีณารัตน์ที่ว่า อะไรคือบทเรียนที่ไทยควรเรียนรู้จากการแก้ไขความขัดแย้งในไอร์แลนด์เหนือ

โทนี่ แบลร์ ตอบว่า เป็นสถานการณ์ที่แตกต่างกัน แต่มีอยู่ 3 บทเรียน หนึ่ง ถ้าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือสถาบันทางการเมือง ต้องทำบนพื้นฐานที่ว่าประชาชนเห็นว่ายุติธรรม

บทเรียนที่สองคือ ต้องมีแผนการอนาคตในการพัฒนาประเทศที่จะผนึกประเทศให้เป็นหนึ่งเดียวได้ สิ่งที่ทำในด้านเศรษฐกิจและสังคม ต้องทำให้ชีวิตผู้คนดีขึ้นและทำให้ประเทศเป็นหนึ่งเดียว

บทเรียนที่สามคือ อย่ายอมแพ้ ต้องพยายาม เพราะเป็นเรื่องสำคัญ”..

คุณวีณารัตน์ ถามว่า ตัวคุณเองมีความตั้งใจและการนำที่ชัดเจนมาก ในการแก้ไขปัญหาไอร์แลนด์เหนือ อะไรทำให้คุณมีความมุ่งมั่นขนาดนั้น

โทนี แบลร์ ตอบคำถามนี้ได้ดีมาก ว่า “ผมรู้สึกว่าความขัดแย้งประเภทนี้ในศตวรรษที่ 21 เป็นเรื่องที่บ้าบอมาก ปัญหานี้ทำให้ประเทศไม่ไปไหน ทำให้ประเทศเสียเงินเยอะ และทำให้ชีวิตผู้คนในไอร์แลนด์ทั้งเหนือและใต้ย่ำแย่

ที่ผมพยายามมากเพราะรู้สึกว่าเราทำได้ดีกว่านี้ ไม่สำคัญว่าจะเป็นคาทอลิก หรือโปแตสแตนท์ แต่เรามีผลประโยชน์ร่วมกัน เช่นการมีโอกาสในการทำงาน มีการศึกษา มีระบบสาธารณสุข และการสร้างประเทศร่วมกัน”

ประเด็นนี้ เหมือนโทนี แบลร์จะบอกว่า ความสามัคคีคือพลังในการสร้างชาตินั่นเอง

ส่วนคำถามที่ว่า “การนิรโทษกรรมและการค้นหาความจริง สองเรื่องนี้ควรรวมเข้าไปในกระบวนการปรองดอง อย่างไร” นั้น ดูเหมือนโทนี แบลร์จะตอบไม่ต่างจากที่พูดบทเวที – จึงขอผ่าน

แต่มีบางประเด็นที่บนเวทีไม่มีคือการพูดถึงสหราชอาณาจักร บางแง่บางมุมที่น่าสนใจ โทนี แบลร์ พูดถึงประเทศของเขาว่า

“สหราชอาณาจักรมักถูกอ้างอิงว่าเป็นต้นแบบประชาธิปไตย แต่อย่างไรก็มีความเห็นทางการเมืองในสังคมที่ต่างกันแน่นอน ทำอย่างไรไม่ให้ความเห็นต่างตรงนั้นกลายเป็นบรรยากาศแห่งความเกลียดชังในประเทศ

บางครั้งเราก็มีอะไรที่โต้เถียงกันอย่างกว้างขวาง ในสหราชอาณาจักรมีการประท้วงใหญ่ อดีตนายกฯ มากาเร็ต แท็ตเชอร์ ก็เจอประท้วงใหญ่

แต่เราไม่เคยทำลายหัวใจของความเป็นประชาธิปไตย หนึ่งคือหลักนิติธรรมที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นกลาง เรื่องนี้สำคัญมาก

คนรู้ว่าหากไปขึ้นศาล อาจจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษา แต่คนรู้ว่าเป็นการตัดสินที่ยุติธรรม

อย่างที่สองคือ ขึ้นอยู่กับพรรคการเมืองในการตอบสนองความต้องการของประชาชน พรรคการเมืองแข่งขันกันไม่ใช่เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจเท่านั้น แต่แข่งกันเพื่อดูว่าใครสามารถทำงานให้ประชาชนได้ดีกว่ากัน

นี่คือสิ่งสำคัญสำหรับประชาธิปไตย ประชาธิปไตยไม่ใช่แค่การเลือกตั้ง แต่เป็นเรื่องของวิธีคิด

ประเทศประชาธิปไตยใหม่ๆ ในตะวันออกกลางยังไม่ค่อยเข้าใจประเด็นนี้สักเท่าไร พวกเขาคิดว่าถ้าเสียงส่วนใหญ่ชนะการเลือกตั้งก็คือจบแล้ว

แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ เสียงส่วนใหญ่ปฏิบัติต่อเสียงส่วนน้อยอย่างไรเป็นส่วนสำคัญของประชาธิปไตย

พรรคการเมืองต้องแข่งขันกันไม่ใช่เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจเท่านั้น แต่ต้องแข่งกันว่าใครมีข้อเสนอที่ดีที่สุดสำหรับประชาชน

คุณวีณารัตน์ถามว่า ในสหราชอาณาจักร เสียงข้างมากเคารพเสียงข้างน้อยอย่างไรบ้าง

เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม ไม่ได้หมายความว่าไม่มีการถกเถียงกันอย่างดุเดือด เราเถียงกันอย่างดุเดือดในหลากหลายประเด็น แต่ท้ายที่สุดแล้ว คนยอมรับว่ามีระบบที่ยุติธรรมอยู่

หลังจากที่พรรคแรงงานแพ้การเลือกตั้ง 4 ครั้ง คนในพรรคบอกผมว่าเราคงไม่ชนะอีกแล้ว เราแพ้มา 20 ปีแล้ว เราคงไม่ชนะอีกแล้ว

ผมบอกว่าไม่จริง เราชนะได้ เราแค่ต้องหานโยบายที่ดีกว่า เราต้องหาวิธีที่ทำให้คนชอบ คนก็ยอมฟัง

ถ้าอยู่ในสถานการณ์ที่คิดว่าไม่มีทางชนะ คงเป็นปัญหาน่าดู บางอย่างดำเนินการได้โดยกฎเกณฑ์ แต่บางอย่างก็ต้องใช้ความรู้สึกหรือเรียกว่าวัฒนธรรมก็ได้

และวัฒนธรรมที่ใช้ได้ในสังคมประชาธิปไตย คือการเป็นทั้งผู้ให้และเป็นผู้รับ ถ้าล้มเหลวตรงจุดนี้ เห็นได้อย่างที่สหรัฐอเมริกาตอนนี้ สภาคองเกรสแตกแยกมาก เป็นปัญหา ผ่านกฎหมายไม่ได้ แก้ไขเรื่องงบประมาณไม่ได้

เมืองไทยไม่ได้เป็นประเทศเดียวที่มีปัญหานี้ ปัญหาแบบนี้เกิดขึ้นได้ในประเทศประชาธิปไตย แต่ก็ต้องพยายามแก้ไขให้ได้ในที่สุด”

นั่นคือความรู้สึกนึกคิดของ โทนี แบลร์ อดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษที่มีต่อสังคมไทยในด้านเปิด และพูดแบบกลางๆ ถนอมน้ำใจคนไทยอย่างที่สุดแล้ว

ทั้ง ๆ ที่ โทนี แบลร์ ก็รู้ดีกว่าต้นเหตุแห่งปัญหาทั้งหลายทั้งปวงของไทยมาจากอะไร และคงจะแก้ไขได้ยากหากพรรคเพื่อไทยไม่มีความเป็นตัวของตัวเอง

แต่เขาก็ไม่เอ่ยถึงแม้แต่คำเดียว ด้วยเหตุนี้ ผมจึงเต็มใจที่จะเรียกว่าเขาว่า “สุภาพบุรุษโทนี แบลร์” ในโอกาสนี้.

ขอบคุณข้อมูลจาก

http://chaoprayanews...-“สุภาพบุรุษโท/

บล็อกใต้ร่มธงไทย

สำนักข่าวเจ้าพระยา

Attached Images

  • b1.jpg





ผู้ใช้ 1 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้

สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 1 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน