รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กำหนดให้รัฐสภาประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎร มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 500 คน
ละวุฒิสภา มีสมาชิกวุฒิสภา จำนวน 150 คน สำหรับบทบาทของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้นประกอบด้วยบทบาทภายในสภา ซึ่งได้แก่
อำนาจในการตรากฎหมาย อำนาจในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน และอำนาจในการให้ความเห็นชอบ เป็นต้น นอกจากนั้น
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยังต้องสร้างบทบาทภายนอกสภาผู้แทนราษฎรในการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของประชาชน และในด้านเวทีต่างประเทศ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีบทบาทสำคัญยิ่งในการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศอีกด้วย
พฤติกรรม หมายถึงการกระทำหรือการแสดงออกใดๆ ของบุคคลที่กระทำ หรือที่มีต่อสิ่งที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิตอื่นๆ ทั้งที่สังคมสังเกตุเห็นได้หรือไม่ได้
จริยธรรม หมายถึง หลัการ กฎเกณฑ์ที่ใช้เป็นแนว ประพฤติปฎิบัติตนอย่างเหมาะสม ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม ตามหลักศาสนา และหรือตามบรรทัดฐานของสังคม
ในด้านความเชื่อ ประเพณี ค่านิยม วัฒนธรรมและเจตคติของคนในสังคมนั้นนั้น
ดังนั้น พฤติกรรมเชิงจริยธรรมของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอยู่บนพื้นฐานทาง จริยธรรม คุณธรรม และกฎหมาย
ทุกคนที่อาสาเข้ามาทำหน้าที่ผู้แทนปวงชน รับใช้ประเทศชาติและประชาชน ต้องปฎิบัติตามมาตรฐาน ทางจริยธรรมและคุณธรรมด้วยจิตวิญญาณ
หากผู้แทนปวงชนในสภาอันทรงเกีรติแห่งนี้ด้อยจริยธรรมและคุณธรรม จะนำพาสังคมไปสู่ความเสื่อม เหมือนที่ถูกกล่าวหากันอยู่ในทุกวันนี้
หาก สส ประสิทธิ์ ไม่มีอะไรน่าตำหนิ ก็อย่าได้มาตำหนิ สส เชนกันเลย