Jump to content


Photo
- - - - -

กองทุนน้ำมัน ถูกกฎหมายหรือไม่


  • Please log in to reply
15 ความเห็นในกระทู้นี้

#1 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 9 กันยายน พ.ศ. 2556 - 10:00

spacer.gif eppo-tr.gif oilfund.gif clear.gif

 

1. กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง

พระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 ได้ให้อำนาจนายกรัฐมนตรี ในการออกคำสั่งนายกรัฐมนตรี ในการแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อจัดตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ปัจจุบันคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ใช้ในจัดการกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ได้แก่ คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 2/2546 ลงวันที่ 29 ธันวาคม 2546

1.1 พระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516

(1) ในช่วงวิกฤตการณ์น้ำมันของโลก ครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2516-2517) ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และหาซื้อได้ยากก่อให้เกิดภาวะขาดแคลนน้ำมันขึ้นในประเทศไทย รัฐบาลจึงได้พยายามแทรกแซงกลไกตลาดน้ำมัน โดยได้ออกพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 เพื่อใช้เป็นกลไกในการกำหนดมาตรการในการแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง โดยวัตถุประสงค์ของพระราชกำหนดประกาศไว้ว่า

“โดยที่ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกได้ทวีสูงขึ้นเป็นลำดับ และน้ำมันดิบที่จะซื้อได้มีปริมาณลดน้อยลง ซึ่งจะก่อให้เกิดภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงขึ้นในประเทศไทย ฉะนั้น เพื่อรักษาไว้ซึ่งความมั่นคงของประเทศ และความผาสุกของประชาชน จำเป็นต้องดำเนินการแก้ไขและป้องกันภาวะการณ์ดังกล่าวให้ทันต่อเหตุการณ์ ในการนี้นายกรัฐมนตรีจำเป็นต้องมีอำนาจในการกำหนดมาตรการต่างๆ ได้ โดยฉับพลัน ไม่จำเป็นต้องให้กระทรวง ทบวง กรมต่างๆ แยกปฏิบัติการตามกฎหมายที่มีอยู่”

(2) พระราชกำหนดนี้ มีอายุ 1 ปี แต่ต่อมาก็ได้มีการออกพระราชกำหนดต่ออายุ จนกระทั่งปี 2520 จึงได้ตราเป็นพระราชกำหนดให้มีผลบังคับใช้ต่อไปไม่มีกำหนด

(3) พระราชกำหนดนี้ กำหนดอำนาจแก่นายกรัฐมนตรีในการออกมาตรการต่างๆ เพื่อป้องกันและแก้ไขภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง

1.2 คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 2/2546

นายกรัฐมนตรี โดยอาศัยอำนาจตามข้อ 3 แห่งพระราชกำหนดแก้ไขป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 ได้ออกคำสั่งนายกรัฐมนตรี กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่มีผลบังคับใช้ในปัจจุบัน คือ คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 2/2546 โดยได้กำหนดกลไกที่สำคัญในการแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ได้แก่ การจัดตั้งคณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน และจัดตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง

2. ความเป็นมาของการจัดตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง

2.1 ในปี 2520 โอเปคขึ้นราคาน้ำมันดิบ แต่รัฐบาลได้ขึ้นราคาขายปลีกในสัดส่วนที่น้อยกว่าราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้น รัฐบาลสมัยนายกรัฐมนตรีธานินทร์ กรัยวิเชียร ได้ใช้มาตรการลดอัตราภาษีผลิตภัณฑ์น้ำมันลงตามส่วนของต้นทุนน้ำมันดิบ แต่ในกรณีน้ำมันเตาการลดอัตราภาษีไม่พอเพียงกับต้นทุนราคาน้ำมันดิบ รัฐบาลจึงได้ใช้วิธีลดภาษีที่เก็บจากน้ำมันเบนซินมากกว่าต้นทุนที่เพิ่ม และกันเงินส่วนนี้ไว้ในกองทุน โดยได้อาศัยอำนาจตามพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 ออกคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 178/2520 ลงวันที่ 19 กันยายน 2520 เรื่อง การกำหนดให้ผู้ค้าน้ำมันส่งเงินเข้ากองทุนรักษาระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและการจ่ายเงินชดเชยให้แก่ผู้ค้าน้ำมัน เพื่อจัดตั้งกองทุนรักษาระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิง โดยให้โรงกลั่นน้ำมัน และผู้นำเข้าส่งเงินเข้ากองทุน และเงินกองทุนนี้นำไปชดเชยให้ผู้ค้าน้ำมันเตา

2.2 ในปี 2521 รัฐบาลสมัยนายกรัฐมนตรีพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ได้ประกาศเพิ่มค่าเงินบาท ร้อยละ 1 ทำให้ผู้นำเข้าได้กำไรเนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยนดังกล่าว รัฐบาลเห็นว่ากำไรส่วนนี้มิได้เกิดจากการดำเนินการ จึงได้มีคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 206/2521 ลงวันที่ 29 ธันวาคม 2521 จัดตั้งกองทุนรักษาระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิง (เงินตราต่างประเทศ) และกำหนดให้ผู้นำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงส่งกำไรที่เกิดจากการเพิ่มค่าเงินบาทเข้ากองทุนดังกล่าว เพื่อเก็บไว้ใช้ทดแทนเมื่อราคาน้ำมันดิบสูงขึ้น

2.3 ในปี 2522 ประเทศผู้ส่งออกปิโตรเลียมได้ประกาศขึ้นราคาน้ำมันดิบถึง 4 ครั้ง รัฐบาลสมัยนั้นซึ่งมีพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ เป็นนายกรัฐมนตรี จึงเห็นควรให้หาวิธีการที่จะตรึงราคาขายปลีกของน้ำมันเชื้อเพลิงของประเทศ โดยไม่ต้องปรับตามราคาน้ำมันดิบที่เปลี่ยนไปทุกครั้ง และอีกประการหนึ่งต้องการจะรวมกองทุนต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นเข้าเป็นกองทุนเดียวกัน จึงได้อาศัยอำนาจตามมาตรา 3 แห่งพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 ออกคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ สร. 0201/9 ลงวันที่ 27 มีนาคม 2522 จัดตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งได้รวมกองทุนรักษาระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งตั้งตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 178/2520 ลงวันที่ 19 กันยายน 2520 กับกองทุนรักษาระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิง (เงินตราต่างประเทศ) ซึ่งจัดตั้งตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 206/2521 ลงวันที่ 29 ธันวาคม 2521 เข้าด้วยกัน กำหนดกฎเกณฑ์การกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนฯ และชดเชยจากกองทุนฯ รวมทั้งการปฏิบัติในการส่งเงินเข้ากองทุนฯ และขอรับเงินชดเชยจากกองทุนฯ และกำหนดหน่วยงานที่รับผิดชอบในส่วนต่างๆ

3. วัตถุประสงค์ของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง

กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ตั้งขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ตามเจตนารมย์ของพระราชกำหนดฯ คือ ใช้เป็นกลไกของรัฐในการป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง และใช้ในการรักษาระดับราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงของประเทศ จากกรณีที่ราคาในตลาดโลกสูงขึ้น เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจและความเดือดร้อนของประชาชนให้น้อยที่สุด

ในปี 2534 รัฐบาลได้ยกเลิกการควบคุมราคาน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันเบนซิน ก๊าด ดีเซลและเตา โดยเหลือเพียงก๊าซปิโตรเลียมเหลว (ก๊าซหุงต้ม หรือ LPG ) ที่ยังคงมีการควบคุมราคาอยู่ ปัจจุบันกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง จึงใช้ในการรักษาระดับราคาของก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นหลัก

4. การบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง

4.1 ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 2/2546 ได้กำหนดให้มีคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน ทำหน้าที่ในการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งมีหน้าที่ ดังนี้

  1. กำหนดหลักเกณฑ์สำหรับการคำนวณราคา และกำหนดราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ทำในราชอาณาจักร ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในราชอาณาจักร
  2. กำหนดค่าการตลาดสำหรับการซื้อขายน้ำมันเชื้อเพลิง
  3. กำหนดค่าขนส่งไปยังคลังก๊าซและค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาก๊าซ ณ คลังก๊าซ ตลอดจนกำหนดราคาขายก๊าซ ณ คลังก๊าซเป็นราคาเดียวกันทุกแห่งทั่วราชอาณาจักร
  4. กำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนหรืออัตราเงินชดเชยสำหรับก๊าซที่ซื้อหรือได้มาจากผู้รับสัมปทานตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม ซึ่งเป็นผู้ผลิตได้จากการแยกก๊าซธรรมชาติในราชอาณาจักร น้ำมันเชื้อเพลิงที่ทำในราชอาณาจักร น้ำมันเชื้อเพลิงที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในราชอาณาจักรน้ำมันเชื้อเพลิง ที่ส่งออก น้ำมันเชื้อเพลิงที่จำหน่ายให้แก่เรือเพื่อใช้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร และก๊าซหุงต้มที่จำหน่ายให้แก่ประชาชน
  5. กำหนดชนิดของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ไม่ต้องส่งเงินเข้ากองทุน หรือไม่ให้ได้รับเงินชดเชย
  6. กำหนดราคาขายส่งหน้าโรงกลั่นและคำนวณราคาขายปลีก
  7. พิจารณากำหนดอัตราภาษีให้อยู่ในระดับไม่ต่ำกว่าอัตราภาษีต่ำสุดและไม่สูงกว่าอัตราภาษีสูงสุด
  8. กำหนดให้โรงกลั่นแจ้งราคาขายส่งหน้าโรงกลั่นต่อคณะกรรมการ
  9. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามคำสั่งนี้
  10. ปฏิบัติหน้าที่ตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย

4.2 ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นผู้จัดการกองทุนฯ มีอำนาจหน้าที่จ่ายเงินกองทุนตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 2/2546 โดยได้มีการออกระเบียบกระทรวงพลังงาน ว่าด้วยการฝากและการเบิกจ่ายเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2546

5. หน่วยงานที่รับผิดชอบเงินกองทุนฯ

5.1 การออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน กำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนอัตราเงินชดเชย ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว ค่าเก็บรักษาก๊าซและค่าขนส่งก๊าซไปยังคลังก๊าซส่วนภูมิภาค เป็นหน้าที่ของสำนักงานนโยบายพลังงานและแผนพลังงาน ในฐานะฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการฯ

5.2 การส่งเงินเข้ากองทุนฯ จะอยู่ในความรับผิดชอบของกรมสรรพสามิต กรมศุลกากร และสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน) โดยกรมสรรพสามิตรับผิดชอบในกรณีน้ำมันเชื้อเพลิงที่ทำในราชอาณาจักร กรมศุลกากรรับผิดชอบในกรณีน้ำมันเชื้อเพลิงที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร การส่งเงินเข้ากองทุนจะกระทำพร้อมกับการชำระภาษีอากร โดยชำระตามอัตราที่คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน ประกาศกำหนดแล้วหน่วยงานทั้งสองจะส่งเงินเข้าบัญชีเลย โดยสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน) จะตรวจสอบเอกสารความถูกต้องอีกครั้งหนึ่ง

5.3 การขอรับเงินชดเชยจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ผู้มีสิทธิ์รับเงินชดเชยจากกองทุนน้ำมันจะยื่นเรื่องที่กรมสรรพสามิต หรือกรมศุลกากร หน่วยงานเหล่านี้จะทำการตรวจสอบและสั่งจ่ายเงินทดรองจ่ายของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งได้รับมาจากสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน)

5.4 สถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน) จะต้องทำรายงานการรับ / จ่ายและเงินคงเหลือ ของกองทุนน้ำมันเสนอต่อกระทรวงพลังงานทุกเดือน

ทั้งนี้ สถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน) อยู่ระหว่างการรับโอนงานจากกรมบัญชีกลาง โดยปัจจุบันกรมบัญชีกลางทำหน้าที่แทนสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน)

6. บัญชีเงินฝากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง

ธนาคารกรุงไทย มี 2 บัญชี ชื่อ บัญชี “กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กระทรวงการคลัง)” เป็นเงินฝากกระแสรายวัน

- สาขาถนนศรีอยุธยา : ในส่วนของกรมสรรพสามิต - สาขาคลองเตย : ในส่วนของกรมศุลกากร

ธนาคารออมสินและธนาคารกรุงไทย เป็นบัญชีออมทรัพย์ รวม 2 บัญชี จะโอนเงินจากกระแสรายวันเข้ามาเพื่อรับดอกผลจากดอกเบี้ย

7. รายรับ/รายจ่ายของกองทุนน้ำมันฯ

7.1 รายรับ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจะมีรายรับจากอัตราเงินส่งเข้ากองทุนของน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดต่างๆ ตามประกาศคณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน ดังนี้

อัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
หน่วย : บาท/ลิตร

  น้ำมันเชื้อเพลิง
ที่ผลิตในประเทศ
น้ำมันเชื้อเพลิง
นำเข้า
เบนซินออกเทน 95 0.50 0.50 เบนซินออกเทน 91 0.30 0.30 แก๊สโซฮอล์ 0.27 0.27 ก๊าด 0.10 0.10 ดีเซลหมุนเร็ว 0.50 0.50 ดีเซลหมุนช้า 0.50 0.50 เตา 0.06 0.06

7.2 รายจ่าย กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง อาจมีรายจ่ายตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 2/2546 ดังต่อไปนี้

  1. เป็นเงินจ่ายชดเชยตามอัตราที่คณะกรรมการฯ กำหนด
  2. ค่าใช้จ่ายในการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ตามหมวดรายจ่ายภายในวงเงินงบประมาณการจ่ายประจำปีที่คณะกรรมการอนุมัติ ดังนี้
    • ค่าจ้างชั่วคราว
    • ค่าตอบแทนใช้สอยและวัสดุ
    • ค่าครุภัณฑ์
    • ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ
  3. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการใดๆ เพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
  4. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการใดๆ เพื่อให้การเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง หรือการจ่ายเงินชดเชยจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นไปอย่างครบถ้วนและมีประสิทธิภาพ
  5. ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ

 

 

รายงานโดยส่วนปิโตรเลียม
สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน
2 มีนาคม 2547

 

 


Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#2 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 9 กันยายน พ.ศ. 2556 - 10:32

กองทุนน้ำมัน เพื่อนักการเมืองและปตท.

9 มีนาคม 2554 20:01 น.

 

หากมองย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้น กองทุนน้ำมันฯ จัดตั้งขึ้นเพื่อใช้กลไกของรัฐในการป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง และใช้ในการรักษาระดับราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงของประเทศในกรณีที่มีปัญหาราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในตลาดโลกสูงขึ้น เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจและความเดือดร้อนของประชาชนให้น้อยที่สุด
       
       แหล่งที่มาของเงินกองทุนน้ำมันฯ จัดเก็บมาจากผู้ใช้น้ำมันโดยเฉพาะกลุ่มน้ำมันเบนซินเป็นหลัก ดังนั้นกองทุนนี้จึงเป็นของผู้บริโภคน้ำมัน การที่รัฐบาลนำมาใช้เป็นกลไกของรัฐในการรักษาระดับราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน จึงเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
       
       ข้อถกเถียงเรื่องกองทุนน้ำมันว่าถูกใช้ไปในลักษณะใด เหมาะสมหรือไม่นั้น อีกประเด็นหนึ่งที่ต้องตามไปดูพร้อมๆ กันก็คือ ใครเป็นผู้บริหารกองทุนน้ำมัน บริหารเพื่อประโยชน์ของใคร ซึ่งคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 2/2546 กำหนดให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เป็นผู้บริหารกองทุนฯ
       
       คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธาน ปลัดกระทรวงพลังงาน  เป็นกรรมการและผู้จัดการกองทุนน้ำมันฯ (มีอำนาจหน้าที่จ่ายเงินกองทุนน้ำมันฯ) โดยมีผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน เป็นกรรมการและเลขานุการ
       
       กบง. มีอำนาจหน้าที่บริการกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง และกำหนดอัตราเงินนำเข้ากองทุนน้ำมัน จ่ายเงินกองทุน และหน้าที่อื่นๆ อีกหลายประการ เช่น กำหนดราคาน้ำมัน กำหนดค่าการตลาด ค่าขนส่ง กำหนดราคาขายก๊าซฯ กำหนดราคาขายส่งหน้าโรงกลั่นและคำนวณราคาขายปลีก น้ำมันเชื้อเพลิงที่ส่งออก ฯลฯ อาจกล่าวว่า กบง.มีอำนาจพิเศษ ให้คุณให้โทษแก่บริษัทธุรกิจน้ำมันและก๊าซฯ อย่างล้นเหลือก็คงไม่ผิด
       
       ดังนั้น การที่ กบง.บางคนนั่งควบอยู่ในหลายหน้าที่หลายตำแหน่ง ทั้งอยู่ใน กบง. อยู่ในคณะบริหารกองทุนน้ำมัน และกรรมการ บมจ.ปตท.และบริษัทในเครือ จึงทำให้เกิดข้อกังขาไม่สิ้น ไม่เว้นแม้แต่ รมว.กระทรวงพลังงาน ประธาน กบง. ที่มักมีมติออกมาในทางที่เอื้อประโยชน์ต่อ ปตท.
 

blank.gif   blank.gif

       ภาพสะท้อนล่าสุด จากการตรวจสอบสถานะของกองทุนน้ำมัน เพื่อนำมาพยุงดีเซล ไม่ให้เกิน 30 บาท/ลิตร นั้น เห็นได้ชัดถึงการนำเอากองทุนน้ำมันฯ ที่อยู่ภายใต้การบริหารของ กบง. มาเล่นแร่แปรธาตุ มีการนำเงินกองทุนฯ ไปชดใช้หนี้ค้างชำระเงินชดเชยต่างๆ และหนึ่งในผู้ได้รับการชดเชยมากสุดเกือบหมื่นล้านคือ ปตท. 
       
        กรณีการพิจารณาจ่ายเงินชดเชยราคาก๊าซแอลพีจีที่นำเข้าให้กับ ปตท. โดยใช้เงินกองทุนน้ำมันของ กบง. นั้น คณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา ที่มีนางสาวรสนา โตสิตระกูล เป็นประธาน ได้สรุปไว้ในรายงานพิจารณาศึกษาเรื่อง ธรรมาภิบาลในระบบพลังงานของประเทศ ภาคที่สอง (พ.ค. 2552 - ธ.ค. 2553) กบง. เลือกพิจารณาจ่ายเงินชดเชยให้แก่ ปตท. ในการนำเข้าแอลพีจี โดยนำเงินกองทุนน้ำมัน ไปชดเชยส่วนต่างราคานำเข้าก๊าซแอลพีจี ในปี 2552 จำนวน 5,818 ล้านบาท และในปี 2553 กว่า 20,000 ล้านบาท เมื่อรวมกับปี 2554 ที่ขออีกประมาณ 2,000 กว่าล้าน รวมๆ แล้วเกือบ 30,000 ล้านบาท
       
       การจ่ายชดเชยส่วนต่างก๊าซแอลพีจี ให้ปตท. กบง.ไม่สนใจข้อมูลที่แท้จริงว่า ปริมาณก๊าซแอลพีจีที่ผลิตได้ในประเทศเพียงพอต่อความต้องการใช้ของประชาชนทั้งภาคครัวเรือนและยานยนต์ แต่เหตุที่ต้องนำเข้าก๊าซแอลพีจีจำนวนมหาศาลเป็นเพราะความต้องการของของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีซึ่งเติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด และอุตสาหกรรมปิโตรเคมีส่วนใหญ่เป็นบริษัทในเครือ บมจ.ปตท. ซึ่งไม่ต้องรับผิดชอบกับภาระส่วนต่างของราคาที่เกิดขึ้นเลย จึงไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์เดิมของกองทุนฯ


Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#3 หงส์เฒ่าเสาร์ธรรม

หงส์เฒ่าเสาร์ธรรม

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,408 posts

ตอบ 9 กันยายน พ.ศ. 2556 - 11:53

ขอลองสรุปให้สั้นๆ

...

   เหมือนปล่อยให้ ปตท. ขึ้นราคาน้ำมัน ตามอำเภอใจ แล้ว รัฐบาล สมยอม นำภาษีของประชาชนมาจ่ายค่าส่วนต่างให้ ปตท. เพื่อคงราคาขายหน้าปั้มไว้เท่าเดิม

       ...

 

   ผิด-ถูกอย่างไร ช่วยแก้ไขให้ด้วยน่ะครับ / ขอบคุณครับ


จินตนาการสำคัญกว่าความรู้ ... ศีลธรรม เป็นกรอบรักษาจินตนาการให้ดำรงอยู่ด้วยความดีงาม... -_- 


#4 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 10 กันยายน พ.ศ. 2556 - 20:20

 ชู 3 ประเด็นค้านขึ้น LPG ผิดกม.-ไม่รับฟังความเห็น-โครงสร้างราคาไม่เป็นธรรม

     น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กรุงเทพ กล่าวว่า สถานะของกองทุนน้ำมันเป็นกองทุนที่ผิดกฎหมาย เนื่องจากสำนักนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่กำกับดูแลกองทุนน้ำมันอยู่ได้รับงบประมาณในแต่ละปีจำนวนไม่มาก แต่กลับต้องดูแลกองทุนที่มีการเก็บเงินที่เป็นเสมือนภาษีในวงเงินเป็นหมื่นเป็นแสนล้านเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง ซึ่งการดำเนินการของกองทุนน้ำมันส่งผลกระทบให้ราคาน้ำมันในท้องตลาดบิดเบือน

     "การดำเนินการในเรื่องนี้ชี้ให้เห็นว่า ปตท.เอาเปรียบคนอื่น ในขณะที่กิจการบริษัทปิโตรเคมีในเครือของตัวเองใช้ LPG ในราคาที่ถูกกว่า แต่คนอื่นๆ กลับต้องใช้ในราคาที่แพงกว่า และหากรัฐต้องการข้อมูลอะไรก็สอบถามแต่ ปตท.เพียงหน่วยงานเดียวโดยไม่มีหน่วยงานอื่นๆมาสอบทาน"

 

http://www.ryt9.com/s/iq03/1732344


Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#5 Kyubey

Kyubey

    รับสมัครสาวน้อยเวทมนตร์หลายอัตรา

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,482 posts

ตอบ 11 กันยายน พ.ศ. 2556 - 02:05

สรุปประโยคเดียวคือ ปตท. ขูดรีดประชาชนได้ตามใจชอบ  ผมเข้าใจถูกไหมครับ?

/人◕ ‿‿ ◕人\


╱/(っ◕ ‿‿◕)っ Hello, I'm a Kyubey /人◕ ‿‿ ◕人\

╱/(っ◕ ‿‿◕)っ Please Make a contract with me and become a Magical girl! /人◕ ‿‿ <人\

ข้าพเจ้าขอสนับสนุนท่านผู้นำที่น่ารักที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ!!! Heil Lertih Adolf!! Heil Lertih Adolf!! Heil Lertih Adolf!!


#6 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 11 กันยายน พ.ศ. 2556 - 09:59

เล็งกู้ 6 พันล.โปะกองทุนน้ำมันฯ ติดลบ แนะเลิกใช้บิดเบือนเชื้อเพลิงผิดประเภท

19 ธันวาคม 2554

http://www.manager.c...D=9540000160997

 

กองทุนน้ำมันฯ ควรจะทำหน้าที่ป้องกัน ไม่ให้เกิดปัญหาน้ำมันขาดแคลน หรือดูแลกรณีฉุกเฉินระยะสั้น 2-3 เดือนเท่านั้น ไม่ใช่นำเงินไปอุดหนุน ราคา เชื้อเพลิงเฉพาะประเภท เช่น แอลพีจี ซึ่งไม่ตรงกับวัตถุประสงค์เท่าไหร่นัก เชื่อว่า หลังการปรับโครงสร้างราคาพลังงานครั้งนี้จะทำให้บทบาทของ กองทุนน้ำมันฯ ถูกนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากขึ้น
 


Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#7 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 11 กันยายน พ.ศ. 2556 - 13:22

 

ในนาทีที่ 6:03 กองทุนน้ำมันฯ ผิดกฏหมาย  และ นาทีที่ 9:53 ให้ศาลพิจารณาเรื่องกองทุนน้ำมันฯ


Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#8 ริวมะคุง

ริวมะคุง

    ห้ามให้อาหารสัตว์

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 6,577 posts

ตอบ 11 กันยายน พ.ศ. 2556 - 13:24

ก็ว่างั้นแหละเลิกอุ้มดีเซลได้แล้ว


Posted Image

#9 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 25 กันยายน พ.ศ. 2556 - 21:29

กองทุนน้ำมันถูกกฏหมายหรือไม่.JPG

 

หม่อมกรฯถามว่า เอาเงินกองทุนน้ำมันฯไปปลูกปาล์มได้หรือไม่ แล้วได้กำไร หรือขาดทุน


Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#10 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 25 กันยายน พ.ศ. 2556 - 21:53

กองทุนน้ำมันใครดูแล.jpg

 

อ.ประสิทธิ์ ถามว่าการจัดตั้งกองทุนน้ำมันนี้ มีกฏหมายอะไรรองรับ ใครเป็นคนดูแลเงิน


Edited by Stargate-1, 25 กันยายน พ.ศ. 2556 - 22:00.

Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#11 kokkai

kokkai

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 7,237 posts

ตอบ 25 กันยายน พ.ศ. 2556 - 23:20

ไม่มีความรู้มาแชร์

 

แต่เลิกเติมน้ำมัน ปตท.มาสักประมาณเกินเดือนแล้ว

 

ทั้งที่เคยเติมมาแล้วเป็น 10 ปี



#12 จูกัดขงเบ้ง

จูกัดขงเบ้ง

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,226 posts

ตอบ 26 กันยายน พ.ศ. 2556 - 14:17

ขอให้คุณสตาร์เกท เจริญ เจริญนะครับ

ขอบคุณที่เสียสละเพื่อพวกเราให้ได้ตาสว่าง เห็นความอยุติธรรมที่กำลังเกิดขึ้นในบ้านเมืองนี้

กระทู้นี้จะไม่ค่อยวิ่งเท่าไหร่

เพราะมันเป็นเรื่องของข้อมูลและตัวเลขทั้งนั้นเลย

ขอให้กำลังใจท่านนะครับ


แผ่นดินนี้ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก ทั้งกษัตริย์ยังทรงคุณธรรมอันสูงส่ง

จำคำนี้ไว้ไปบอกยมบาลเวลาเจ้าลงนรกก็แล้วกัน


#13 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 13 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 15:13

http://www.manager.c...line - การเมือง

 

นายอิฐบูรณ์กล่าวถึงการแปรรูป ปตท.เชื่อมโยงกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ว่าวันนี้ที่เวทีเสวนาได้ปูภาพกันจนทำให้ อ.เจิมศักดิ์ได้เห็น เพราะบางคนบอก อ.เจิมศักดิ์เป็นพิธีกร มีการรับสปอนเซอร์จาก ปตท. แต่วันนี้เหมือน อ.เจิมศักดิ์ตาสว่าง หลังเห็นความเกี่ยวพันถึง พ.ต.ท.ทักษิณ เมื่อตุลาคม 2544 พ.ต.ท.ทักษิณเดินหน้าแปรรูป ปตท. ซึ่งมีโรงกลั่น ท่อส่งก๊าซ และอำนาจผูกขาดที่ได้มาจากตอนที่เป็นรัฐวิสาหกิจ คือ การเป็นพ่อค้าคนกลางในการจัดหาจำหน่ายน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ พอแปรรูปก็ได้ยึดอำนาจผูกขาดนี้ทั้งหมดไปด้วย
       
       เดิมทีที่ยังเป็นรัฐวิสาหกิจ ปตท.สผ.จะทำหน้าที่เรียนวิชาการสำรวจเจาะหาก๊าซ-น้ำมัน แต่เมื่อทักษิณเอามา แทนที่จะหาขุดเจาะในไทยกลับไปหาต่างประเทศ ส่วนท่อส่งก๊าซ 2 พันกว่ากิโลเมตรอันนี้ก็ได้ไป แต่ที่สำคัญคืออำนาจผูกขาดที่ได้รับข้อยกเว้นว่ารัฐวิสาหกิจไม่ต้องอยู่ภายใต้ พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า ทำให้หน่วยงานรัฐเวลาจะซื้อน้ำมันก็ต้องไปซื้อกับ ปตท.ทั้งหมด ฉะนั้นหลังแปรรูป ปตท.ก็ได้สิทธินี้ไปด้วย
       
       ปี 2545 มีการจัดตั้งกระทรวงพลังงาน ตั้งขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลกิจการปิโตรเลียมและการขายน้ำมัน-ก๊าซทั้งหมด กระชับอำนาจด้วยการให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในการกำหนดราคาเชื้อเพลิงผ่านทาง กบง. (คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน) แล้วดึงเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ที่แต่เดิมอยู่กับกระทรวงการคลังมาอยู่กับสถาบันบริหารกองทุนพลังงานที่ตั้งขึ้นให้ดูเหมือนเป็นหน่วยงานอิสระ แต่อยู่ภายใต้กระทรวงพลังงาน นอกจากนั้นยังได้ประกาศเพิ่มอำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานให้มีอำนาจ ดังนี้ 1. กำหนดเกณฑ์ราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่น 2. กำหนดราคาน้ำมันขายปลีก 3. จัดเก็บเงินชดเชยกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง 4. กำหนดค่าการตลาดของน้ำมันขายปลีก
       
       ดังนั้น เวลาถาม ปตท.ว่าทำไมน้ำมันแพง เขาจะตอบว่าเขาไม่ได้เป็นคนกำหนด แต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเป็นคนกำหนด แต่คนชงก็คือ ปตท.นั่นแหละ


Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#14 น้องจุบุจุบุ

น้องจุบุจุบุ

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,006 posts

ตอบ 13 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 16:16

กองทุนน้ำมันถูกแต่การที่มันทำอะผิด

ทุกประเทศเขามีหมดละกองทุนแบบเนี่ย

แต่เขาเอาไว้อุ้มตอนที่ราคามันโดนปั่นหรือผันผวนมากไป

ถ้าแบบหุ้นก็คืออุ้มช่วงเกิด  circuit braker เท่านั้น

ประเทศไทยมันเพี้ยน อุ้มทุกช่วงเวลาเพื่อให้คนใช้ถูก

พอหนี้เริ่มเยอะก็ปล่อยลอยตัวทีหละหลายๆบาท ผลกระทบมันก็เลยแรง



#15 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 13 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 16:36

กองทุนน้ำมันถูกแต่การที่มันทำอะผิด

ทุกประเทศเขามีหมดละกองทุนแบบเนี่ย

แต่เขาเอาไว้อุ้มตอนที่ราคามันโดนปั่นหรือผันผวนมากไป

ถ้าแบบหุ้นก็คืออุ้มช่วงเกิด  circuit braker เท่านั้น

ประเทศไทยมันเพี้ยน อุ้มทุกช่วงเวลาเพื่อให้คนใช้ถูก

พอหนี้เริ่มเยอะก็ปล่อยลอยตัวทีหละหลายๆบาท ผลกระทบมันก็เลยแรง

 

กองทุนน้ำมันไม่มีกฏหมายรองรับ มันมาจากคำสั่งนายกรัฐมนตรี และเงินกองทุนไม่เป็นเงินของแผ่นดินเสียด้วย เพราะการเบิกจ่ายเงิน ไม่อยู่ในกฏเกณฑ์ของพ.ร.บ.ใดๆที่เกี่ยวกับการเงินเลย


Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#16 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 23 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 09:33

“ประชาคมสงขลานครินทร์” เชิญ “ส.ว.รสนา” ร่วมเสวนาแนวทางปฏิรูปพลังงานไทย (ชมคลิป)




ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - “ม.อ.รักชาติ” ร่วม “ประชาคมสงขลานครินทร์” จัดเสวนาวิชาการหัวข้อ “วิเคราะห์พลังงานไทยและแนวทางการปฏิรูป” โดยมี ส.ว.รสนา เข้าร่วม เสนอแนวทางปฏิรูปพลังงาน ชี้การแปรรูป ปตท.เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ฯ คือ ต้นตอของปัญหา แนะเปลี่ยนระบบจากสัมปทานเป็นแบ่งปันผลผลิต ชี้ลดใช้พลังงานจากถ่านหินเพิ่มใช้พลังงานแสงอาทิตย์
       วันนี้ (9 มี.ค.) กลุ่ม ม.อ.รักชาติ ร่วมกับประชาคมมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดเสวนาหัวข้อ “วิเคราะห์พลังงานไทยและแนวทางการปฏิรูป” เพื่อให้ความรู้ถึงแนวทางการปฏิรูปพลังงาน ซึ่งมีผู้ร่วมเสวนาโดย คุณรสนา โตสิตระกูล สมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหานคร คุณอิฐบูรณ์ อันวงษา อนุกรรมธิการเสริมสร้างธรรมาภิบาล ด้านพลังงานวุฒิสภา และคุณประสาท มีแต้ม อนุกรรมธิการเสริมสร้างธรรมาภิบาล ด้านพลังงานวุฒิสภา โดยมี คุณปิยะโชติ อินทรนิวาส หัวหน้าศูนย์ข่าว “ASTVผู้จัดการภาคใต้” ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ เป็นผู้ร่วมดำเนินรายการ ที่ห้องประชุมใหญ่ คณะวิทยาการจัดการ ม.อ.หาดใหญ่
       ในช่วงต้นของการเสวนา ส.ว.รสนา กล่าวว่า “การปฏิรูประบบพลังงานในประเทศไทยเป็นสิ่งที่ทำได้ค่อนข้างยาก หากประเทศยังคงมีระบบการเมืองอย่างเช่นในปัจจุบัน เนื่องจากถึงแม้แต่ละพรรคการเมืองจะมีนโยบายที่แตกต่างกัน แต่กลับมีนโยบายด้านพลังงานที่เหมือนกัน ทั้งนี้คณะกรรมการตรวจการแผ่นดินได้ให้ความเห็นออกมาแล้วว้า กองทุนน้ำมันผิดกฎหมาย ฉะนั้นซึ่งหากยกเลิกกองทุนน้ำมันราคาน้ำมันในประเทศจะลดลงทันทีอย่างน้อย 10 บาท”
       “ในส่วนที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคฟ้องคดีต่อศาลปกครอง โดยขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนการแปรรูป ปตท.ถึงแม้ศาลจะไม่พิพากษาให้เพิกถอนการแปรรูป แต่คำพิพากษาของศาลมีนัยสำคัญ โดยศาลพิพากษาให้ ปตท.ส่งมอบระบบท่อส่งก๊าซทั้งหมดกลับคืนสู่รัฐ เนื่องจาก ปตท.ถูกแปรรูปเป็นบริษัทเอกชนไปแล้วไม่มีสิทธิใช้อำนาจทางมหาชน แต่ ปตท.คืนเฉพาะท่อบนบกเท่านั้น ท่อทางทะเลยังไม่ได้คือ ซึ่งท่อทางทะเลมีจำนวนมากมายมหาศาล”
       คุณอิฐบูรณ์ อันวงษา กล่าวว่า “ประเทศไทยมีปัญหาด้านพลังงานมาตั้งแต่มีการแปรรูปจากการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ซึ่งถือหุ้นโดยกระทรวงการคลัง 100% มาเป็นบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ในปี 2544 ในปีที่ คุณทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ดังนั้น จึงส่งผลให้การดำเนินธุรกิจของบริษัท ปตท.จะต้องมุ่งเน้นถึงผลประโยชน์ด้านกำไรเพื่อตอบสนองต่อผู้ถือหุ้นเป็นหลัก อีกทั้ง ปตท.เป็นผู้ประกอบธุรกิจพลังงานรายเดียวในประเทศ ไม่ต้องแข่งขันกับใคร จึงส่งผลให้ ปตท.สามารถควบคุมราคาน้ำมันในประเทศได้ตามใจชอบ”
“บริษัท ปตท.จำกัด มีความแตกต่างจากบริษัท ปิโตรนาส จำกัด บริษัทด้านพลังงานในประเทศมาเลเซีย ซึ่งรัฐบาลมาเลเซียเป็นเจ้าของทั้งหมด และอีกประการที่สำคัญในปัจจุบันประเทศไทยใช้ระบบสัมปทานในการขุดเจาะน้ำมัน ซึ่งมีปัญหาตรงรัฐได้รับค่าสัมปทานน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ฉะนั้นประเทศไทยจึงควรเปลี่ยนมาใช้ระบบแบ่งปันผลผลิตในระบบการขุดเจาะน้ำมันเช่นเดียวกับในประเทศมาเลเซีย และอินโดนิเซีย ซึ่งอุปมาอุปไมยเหมือนการแบ่งปันผลผลิตระหว่างเจ้าของสวนยางพารากับคนกรีดยาง” คุณอิฐบูรณ์ อันวงษา กล่าว
คุณประสาท มีแต้ม กล่าวว่า “ไม่มีธุรกิจใดที่ทำกำไรได้กว่า 97% ของเงินลงทุนนอกจากธุรกิจขุดเจาะพลังงาน ซึ่งในปัจจุบัน จากการสำรวจราคาน้ำมันในประเทศไทยแพงเป็นอันดับ 9 ของโลกจากการจัดอันดับโดยเทียบกับค่าครองชีพซึ่งไม่ควรจะเป็นเช่นนั้น เนื่องจากประเทศไทยส่งออกน้ำมันเป็นอันดับ 3 ของสินค้าทั้งหมด เราส่งออกน้ำมันในราคาที่ถูกกว่าที่ต่างประเทศขายให้แก่เราซึ่งเป็นเรื่องที่น่าตลกมาก”
       คุณประสาท มีแต้ม กล่าวอีกว่า “ซึ่งตนคิดว่าในการปฏิรูปพลังงานควรพิจารณาถึงสิ่งต่อไปนี้ 1 ความยั่งยืน 2 ความเท่าเทียม 3 สิ่งแวดล้อม 4 การมีส่วนร่วม 5 สิทธิมนุษยชน 6 ธรรมาภิบาล แต่ในปัจจุบัน ประเทศไทยประสิทธิภาพการใช้พลังงานในประเทศไทยต่ำกว่ามาตรฐานของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน เห็นได้จากการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะปัจจุบันมีคนตายไปแล้วกว่า 300 คน ทั้งนี้ อายุไขของชาวยุโรปสั่นลง 11 ปี เนื่องจากมลพิษของโรงไฟฟ้าถ่านหิน”
       “เราควรดูตัวอย่างจากประเทศเยอรมนี ซึ่งมีปริมาณผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ทั้งประเทศเท่ากับพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ และ 14 จังหวัดภาคใต้ ประเทศไทยจึงควรพิจารณานโยบายการใช้พลังงานทางเลือกแทน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพลังงานโซลาร์เซลล์ แต่ติดขัดที่นโยบายของรัฐเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ประเทศเยอรมนี ผลิตพลังงานจากแสงอาทิตย์มากสุดในโลกทั้งที่มีแสงแดดน้อยกว่าประเทศไทย ซึ่งในปัจจุบันต้นทุนพลังงานแสงอาทิตย์ลดลงปีละ 2% แต่ต้นทุนพลังงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้นปีละ 2%” คุณประสาท มีแต้ม กล่าว


Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3





ผู้ใช้ 1 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้

สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 1 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน