จากข้อความนี้ในกระทู้คุณโทนี่...
ก็บอกว่าผมตั้งตัวเองเป็นฝ่ายค้านใน สรท จะให้เข้ามาอวย ปชป เหรอครับ?
ถามว่าหากผมเข้ามาอวย ปชป เพิ่มขึ้นอีก 1 คน มันจะได้ประโยชน์อะไรขึ้นมาเหรอครับ (นอกจากทำให้คุณนอนหลับฝันดี?)
คนที่สะกดจิตตัวเองทุกวันว่าเป็นศูนย์กลาง ถูกทุกอย่าง ไม่เคยยอมรับผิดใดๆ และตั้งตัวว่าเป็น ฝ่ายค้านใน สรท...
หรือแท้จริงแล้วเป็นแค่ คนไร้สมอง ที่คอยบิดเบือนข้อมูล กล่าวหา คนอื่นๆไปทั้ว
เมื่อโดนจับได้ก็เฝ้าภาวนาให้ MOD ได้โปรดแบนล็อกอินปัจจุบันเพราะปล่อยไก่ อายจนไม่กล้าใช้ล็อกอินเดิม
เมื่อสมัครมาใหม่ก็จะเปิดประเด็นกล่าวหา บิดเบือน ไปเรื่อย โดยไม่สนใจกระทู้ปล่อยไก่ที่เคยทำไว้....
และจากการบิดเบือนล่าสุด...
ความจริงคือ...
http://www.komchadlu...ml#.UjBhvsZkOSp
ส่วนข้อกล่าวหาที่ 8. ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญและกฎหมาย โดยละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัว และปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือทุจริตต่อหน้าที่ และกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 103 กรณีขอให้บริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ จำนวน 3 ราย ส่ง SMS ไปให้ประชาชนผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ และเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทมือถือดังกล่าว จากการส่งข้อความไปยังมือถือของประชาชนและให้ประชาชนส่งข้อความกลับคิดค่าบริการ 3 บาท ทำให้บริษัทดังกล่าวมีรายได้จำนวนมาก ซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. เห็นว่า ยังมีประเด็นตามคำร้องขอให้ถอดถอนที่จะต้องดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงเพิ่มเติม คือ การที่ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้มีการส่งSMS ดังกล่าว โดยมีผู้ใช้บริการโทรศัพท์จำนวนหนึ่งส่งข้อความกลับไปยังหมายเลขที่ให้ไว้ทำให้บริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์มีรายได้ครั้งละ 3 บาท ได้มีการดำเนินการช่วยเหลือหรือเอื้อประโยชน์ให้กับผู้ให้บริการโทรศัพท์เพื่อมิให้มีการเรียกเก็บภาษีเงินได้จากการให้บริการดังกล่าวหรือไม่ และการส่งข้อความ SMS ดังกล่าว นั้น เป็นการกระทำอันเป็นการละเมิดกระทบต่อสิทธิความเป็นส่วนตัวของบุคคลอื่น ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 35 หรือไม่ นั้น
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ก่อนที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนายกรณ์ จาติกวณิช จะได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ตามลำดับ ได้เห็นชอบให้มีการสื่อสารกับประชาชนโดยวิธีการส่งSMS และมอบหมายให้นายกรณ์ จาติกวณิช เป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งได้มีการนัดหมายผู้บริหารของผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ประกอบด้วย บริษัท เอ ไอ เอส บริษัท ดีแทค บริษัท ทรู มูฟ และบริษัท ฮัชท์ ให้มาประชุมที่โรงแรมโฟร์ซีซัน ในวันที่ 16 ธันวาคม 2551 ในวันดังกล่าว นายกรณ์ จาติกวณิช ได้เข้าร่วมประชุมกับตัวแทนบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3 เครือข่าย ได้แก่ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS บริษัท โทเทิ่ลบริษัท โทเทิ่ล แอคเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC และบริษัท ทรู มูฟ จำกัด สาระสำคัญของการประชุม คือ ขอให้ส่งข้อความถึงประชาชน ซึ่งนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนายกรณ์ จาติกวณิช ได้เป็นผู้พิจารณาตรวจร่างข้อความการส่ง SMS ถึงประชาชน
จากการไต่สวนผู้แทนบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3 เครือข่าย ได้ให้ถ้อยคำว่า การส่ง SMS ดังกล่าว ได้ระบุให้ใช้ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ส่ง และเนื่องจากเห็นว่าเป็นการให้ความช่วยเหลือกับทางราชการ จึงได้กำหนดชื่อผู้ส่งว่า UR_PM ย่อมาจาก YOUR PRIME MINISTER โดยให้ดำเนินการพร้อมกันภายหลังจากที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้ว อันเป็นการดำเนินการในลักษณะขอความร่วมมือจากภาครัฐ และไม่มีการกำหนดในเรื่องค่าใช้จ่ายหรือค่าตอบแทนในการดำเนินการ เพราะไม่ใช่เป็นการให้บริการในลักษณะหาประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ซึ่งการส่ง SMS ให้กับหน่วยงานของรัฐ นั้น บริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้ง 3 เครือข่าย ได้ให้ความร่วมมือกับทางราชการมาโดยตลอด เช่น การประชาสัมพันธ์การจัดประชุมเอเปค เมื่อปี 2546 การแจ้งข่าวภัยพิบัติทางธรรมชาติ หรือวิกฤตการณ์แพร่กระจายของโรคระบาด การแจ้งข่าวรัฐประหารในเดือนกันยายน 2549 การประชาสัมพันธ์การจัดงานพระราชพิธีฯ จากกรมประชาสัมพันธ์ การประชาสัมพันธ์การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นต้น
จากการไต่สวนข้อเท็จจริงเพิ่มเติม กรณีที่ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ส่ง SMS ดังกล่าว โดยมีผู้ใช้โทรศัพท์จำนวนหนึ่งส่งข้อความกลับไปยังหมายเลขที่ให้ไว้ทำให้บริษัท ผู้ให้บริการโทรศัพท์มีรายได้ครั้งละ 3 บาท ได้มีการดำเนินการช่วยเหลือหรือเอื้อประโยชน์ให้กับผู้ให้บริการโทรศัพท์เพื่อมิให้มีการเรียกเก็บภาษีเงินได้จากการให้บริการดังกล่าวหรือไม่นั้น ข้อเท็จจริงปรากฏว่า บริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้ง 3 ราย จะได้รับเฉพาะค่าบริการ จำนวน 3 บาท กรณีที่ประชาชนตอบกลับมาเท่านั้น ซึ่งเป็นความสมัครใจของประชาชนที่ต้องการรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม โดยถือเป็นรายได้ของผู้ให้บริการแต่ละราย มิได้มีการแบ่งปันกันระหว่างบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้ง 3 ราย หรือผู้หนึ่งผู้ใดทั้งสิ้น
เมื่อค่าบริการดังกล่าวถือเป็นรายได้ของบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แล้ว การเสียภาษีจากเงินได้ดังกล่าว จึงเป็นหน้าที่ ของบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ เช่นเดียวกับการเสียภาษีในการให้บริการส่งข้อความสั้น (SMS) ในกรณีอื่นๆ โดยทั่วไป ซึ่งเงินค่าบริการในครั้งนี้บริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้ง 3 ราย ได้รวมเป็นรายได้ของบริษัท โดยไม่ได้มีการแยกไว้เฉพาะส่วนของค่าบริการส่งข้อความ SMS ดังกล่าว อีกทั้ง ได้ยื่นเสียภาษีเงินได้ประจำปีแล้ว ซึ่งจากการขอทราบข้อเท็จจริงจากกรมสรรพากรในเรื่องนี้ กรมสรรพากรกรมสรรพากรได้แจ้งให้ทราบว่า บริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้ง 3 ราย ได้นำรายได้จากการที่ประชาชนใช้บริการส่งข้อความสั้น (SMS) ทั้งหมดบันทึกเป็นรายได้ เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลไว้แล้ว แต่ไม่สามารถให้รายละเอียดว่าเป็นบุคคลใดบ้างเนื่องจากระบบคอมพิวเตอร์ไม่ได้เก็บข้อมูลรายตัวไว้ และจากการไต่สวนปากคำตัวแทนบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้ง 3 ราย รับฟังได้ว่า การดำเนินการขอให้ส่ง SMS ดังกล่าว เป็นการดำเนินการในลักษณะการขอความร่วมมือจากภาครัฐ ไม่มีข้อตกลงในเรื่องผลประโยชน์ตอบแทน หรือการยกเว้นภาษีให้แก่บริษัทที่ดำเนินการจัดส่งข้อความสั้น (SMS) ดังกล่าวแต่อย่างใด
สำหรับการกระทำของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนายกรณ์ จาติกวณิช ดังกล่าวจะถือเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 103 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 หรือไม่นั้น พิจารณาแล้วเห็นว่า ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 103 วรรคหนึ่ง กำหนดห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดจากบุคคล นอกเหนือจากทรัพย์สินหรือประโยชน์อันควรได้ตามกฎหมาย หรือกฎข้อบังคับที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เว้นแต่การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด โดยธรรมจ4รรยา ตามหลักเกณฑ์และจำนวนที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.กำหนด
ซึ่งตามประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยาของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ.2543 กำหนดว่า การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด โดยธรรมจรรยา หมายถึง การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากญาติหรือจากบุคคลที่ให้กันในโอกาสต่างๆ โดยปกติตามขนบธรรมเนียม ประเพณีหรือวัฒนธรรม หรือให้กันตามมารยาทที่ปฏิบัติกันในสังคม และประโยชน์อื่นใด ให้หมายความรวมถึงการรับบริการด้วย ซึ่งแม้การขอรับบริการในการส่งข้อความสั้น (SMS) ตามเรื่องนี้ จะถือเป็นประโยชน์อื่นใด ตามที่กำหนดไว้ในบทนิยามของประกาศฉบับดังกล่าวก็ตาม แต่จากการไต่สวนข้อเท็จจริงปรากฏว่า การที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนายกรณ์ จาติกวณิช ได้ขอให้ส่ง SMS ในลักษณะเป็นการขอความร่วมมือจากภาครัฐ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการข้อมูลจากประชาชนและนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ในการกำหนดนโยบายในการบริหารประเทศของรัฐบาลต่อไป โดยผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้ง 3 เครือข่าย ก็เคยให้บริการในการส่งข้อความสั้น (SMS) ให้กับหน่วยงานของรัฐในลักษณะเช่นเดียวกันนี้ และไม่มีการคิดค่าใช้จ่าย เนื่องจากมิใช่เป็นการหาประโยชน์ในเชิง ..ในเชิงพาณิชย์
อีกทั้ง บริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่จะเป็นผู้พิจารณาตามความเหมาะสมว่าสมควรจะให้การสนับสนุนมากน้อยเพียงใด โดยบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้ง 3 เครือข่ายได้พิจารณาส่งให้ตามความเหมาะสม มิได้ส่งให้กับลูกค้าของบริษัททั้งหมด ซึ่งตามหลักการของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 103 เป็นการห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดสำหรับตนเองเป็นการส่วนตัว แต่เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า การส่งข้อความสั้น (SMS) ในเรื่องนี้เป็นการดำเนินการในลักษณะขอความร่วมมือจากภาครัฐ อันเป็นไปเพื่อประโยชน์ของสาธารณชน มิใช่เพื่อประโยชน์ของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนายกรณ์ จาติกวณิช โดยส่วนตัว การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาทั้งสอง จึงไม่เข้าองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 103 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542
ส่วนในประเด็นที่กล่าวหาว่า การส่งข้อความสั้น (SMS) ดังกล่าว เป็นการกระทำอันเป็นการละเมิดกระทบต่อสิทธิความเป็นส่วนตัวของบุคคลอื่น ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 35 นั้น จากการไต่สวนข้อเท็จจริงเพิ่มเติม โดยประธานกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีหนังสือลงวันที่ 6 สิงหาคม 2553 ขอทราบข้อเท็จจริงจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดยแจ้งว่าคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริง กรณีร้องขอให้ถอดถอน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ออกจากตำแหน่ง กรณีขอให้บริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ จำนวน 3 ราย ส่ง SMS ไปให้ประชาชนผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือ ข้อความว่า “ผมนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ขอเชิญท่านร่วมนำประเทศไทยออกจากวิกฤติ/สนใจ ได้รับการติดต่อจากผมกรุณาส่งรหัสไปรษณีย์ 5 หลักของท่านมาที่เบอร์ 9191 (3บ.)” เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2551 โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ และเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทมือถือดังกล่าว และเป็นการรุกล้ำสิทธิในลักษณะของการถูกบังคับใช้บริการ ซึ่งสิทธิความเป็นส่วนตัวได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงขอทราบว่า การส่ง SMS กรณีดังกล่าว เป็นการละเมิดหรือกระทบถึงสิทธิของบุคคลหรือความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลอื่นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 35 หรือไม่ ประการใด
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดย ศาสตราจารย์อมรา พงศาพิชญ์ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้มีหนังสือลงวันที่ 20 สิงหาคม 2553 แจ้งว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้พิจารณาเรื่องดังกล่าวแล้วเห็นว่า ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ไม่อาจไม่อาจดำเนินการตามคำขอของประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติดังกล่าวได้ เนื่องจากการที่จะวินิจฉัยว่าการกระทำใดเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่ นั้น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หมวด 3 ว่าด้วยการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน มาตรา 22 - 33 และระเบียบคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน พ.ศ.2545
หากยังคงประสงค์ขอทราบความเห็นในเรื่องดังกล่าว ขอให้ส่งเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เพื่อพิจารณาตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มาตรา 25 และระเบียบคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน พ.ศ.2545 ข้อ 13 (4) ต่อไปว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติสมควรหยิบยกเรื่อง ดังกล่าวขึ้นพิจารณาตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่
คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้พิจารณาหนังสือตอบชี้แจงข้อเท็จจริงของประธาน กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติแล้วเห็นว่า คำร้องขอให้ถอดถอนในประเด็นนี้ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติ ตามที่ได้มีหนังสือแจ้งให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทราบแล้ว ไม่มีข้อเท็จจริงหรือพยานหลักฐานอื่นใด นอกเหนือจากที่ได้แจ้งให้ทราบแล้ว จึงไม่อาจส่งเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติพิจารณาเพิ่มเติมได้ ดังนั้น เมื่อการดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริง
ได้ข้อยุติเป็นเช่นนี้ การกระทำตามข้อกล่าวหาจะเป็นการละเมิดกระทบต่อสิทธิความเป็นส่วนตัวของบุคคลอื่น ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 35 หรือไม่ จึงไม่อยู่ในอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่จะพิจารณาวินิจฉัยได้
อย่างไรก็ดี จากข้อเท็จจริงที่ดำเนินการไต่สวนมาแล้ว รับฟังได้ว่าการส่งข้อความสั้น (SMS) ดังกล่าว เป็นการดำเนินการในลักษณะขอความร่วมมือจากภาครัฐ เพื่อนำข้อมูลจากประชาชนมาใช้ประโยชน์ในการกำหนดนโยบายในการบริหารประเทศของรัฐบาลซึ่งเป็นไปด้วยความสมัครใจ และเป็นไปเพื่อประโยชน์ต่อสาธารณชน รวมทั้งไม่ปรากฏว่า การกระทำดังกล่าวเป็นการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ คณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงมีมติว่าข้อกล่าวหาไม่มีมูลให้ข้อกล่าวหาตกไป ให้ส่งรายงานไปยังประธานวุฒิสภาตามมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ต่อไป
การส่ง SMS ครั้งนั้นไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ และไม่เป็นการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของบุคคลอื่น ซึ่งยืนยันโดย
1. ป.ป.ช.
2. ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้ง 3 ราย
3. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
การเป็นขี้ข้าทักษิณนี่มันทำให้คนเราเปลี่ยนแปลงไปได้ขนาดนี้เลยหรอ....ตั้งแต่อกหักเลือกตั้งผู้ว่าฯ ที่ไม่สามารถใส่ร้ายคุณชายได้สำเร็จจนถึงวันนี้... คนผู้นี้ได้กลายเป็นคนที่ชอบบิดเบือน ใส่ร้ายผู้อื่นอยู่ประจำ