Jump to content


Photo
- - - - -

น่าคิิดน่ะว่า.แต่ละประเทศที่ไปทัวร์ เธอได้ของขวัญอะไรมาบ้าง แล้วเข้าพก เข้าห่อใคร ?


  • Please log in to reply
6 ความเห็นในกระทู้นี้

#1 Suraphan07

Suraphan07

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,016 posts

ตอบ 13 กันยายน พ.ศ. 2556 - 11:01

ไปเจอบทความนี้เข้า ทำเอาสนใจ และเกิดข้อสงสัยขึ้นมา... ;) 

 

 

ของขวัญจากทัวร์เมืองนอก เข้าห่อเข้าพกใคร

 

วิภาคสื่อเทศ วิเทศสื่อไทย สุทิน วรรณบวร

สำนักข่าวเอพีรายงานข่าว เรื่องที่นางฮิลลารี่ คลินตัน รัฐมนตรีต่างประเทศของอเมริกาได้รับของขวัญจากมิตรประเทศต่างๆที่เธอไปเยือน มีมูลค่ามากกว่า ของขวัญที่ประธานาธิบดี บารัค โอบาม่า ได้รับจากมิตรประเทศที่ไปเยือนเช่นกัน คิดแล้วหลายเท่าตัว ข่าวชิ้นนี้รายงานออกมาไล่เลี่ยกับเวลาที่ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย แถลงข่าวเพื่อสร้างความชอบธรรมในการท่องโลก ของนางสาวยิ่งลักษณ์ โดยยกข้อมูลมาเปรียบเทียบกันว่า นาย บารัค โอบาม่า เดินทางเยือนมิตรประเทศมากกว่านางสาวยิ่งลักษณ์

 

                โฆษกฯแถลงว่าตั้งแต่ บารัค โอบาม่า เข้ารับตำแหน่งสมัยแรกเมื่อปี 2552 จนถึงวันแถลงข่าวนี้ นายโอบาม่าเดินทางเยือนประเทศต่างๆแล้วถึง 60 ครั้ง เฉพาะสี่ปีแรกในตำแหน่งประธานาธิบดี โอบาม่า เดินทางไปเยือนต่างประเทศถึง 35 ประเทศ ส่วนนางสาวยิ่งลักษณ์ นายกรัฐมนตรีของไทยตั้งแต่เข้าดำรงตำแหน่งเมื่อสองปีก่อน เพิ่งเดินทางไปเยือนต่างประเทศแค่ 52 ครั้ง ใน 42 ประเทศ ยังไม่นับรวมการเยือน อิตาลี่ สมาพันธรัฐสวิส และ มอนเตเนโกร  

                การพูดเพื่อสร้างความชอบธรรมให้เจ้านาย  โดยไม่ดูเงาหัวตัวเองว่าภารกิจหน้าที่ ตำแหน่งแห่งหนต่างกันอย่างไร หรือเคลิบเคลิ้มไปเหมือนกับนายธาริต เพ็งดิษฐ์แล้วว่า นางสาวยิ่งลักษณ์เป็นประมุขของประเทศ บารัค โอบาม่า เป็นประธานาธิบดี เป็นประมุขของประเทศที่มาจากการเลือกตั้ง หลายครั้งต้องเดินทางไปทำภารกิจในฐานะประมุขประเทศ หลายครั้งในฐานะผู้นำฝ่ายบริหารประเทศ ส่วนนางสาวยิ่งลักษณ์เป็นแค่หัวหน้ารัฐบาล ที่แถลงออกมา ไม่ทราบว่าโฆษกได้คิดหรือเปล่าว่า เพียงช่วงเวลาสองปีเจ้านายของตัวผลาญเงินชาติ โดยการท่องโลกอย่างไร้สาระไปไม่เป็นโล้เป็นพายแล้วถึง 52 ครั้งใน 42 ประเทศ

                ประสบการณ์ทำข่าวผู้นำเยือนประเทศต่างๆมาแล้วนับร้อยๆครั้ง ยังไม่เคยเห็นผู้นำประเทศคนไหน ที่เดินทางไปต่างประเทศโดยไม่มีเป้าหมายชัดเจน เหมือนนายกหญิงคนนี้ ไม่ว่าจะเรื่องเดินทางไปประจานประเทศตัวเองในมองโกเลีย ไปหาซื้อคิงคอง ในแอฟริกา ไปโรดทัวร์ มัลดีฟ ไปเยือนเหมืองทองในอูกันดา ไปดูเรื่องปรองดองในปากีสถาน และอีกหลายประเทศ ที่เดินทางไป มีแต่ข้อครหาว่า มีผลประโยชน์ทับซ้อน เดินทางไปช่วยเหลือพี่ชาย

ปกติสำนักข่าวต่างประเทศจะติดตามรายงานข่าวการเยือนประเทศต่างๆของผู้นำรัฐบาล รัฐมนตรีต่างประเทศ รัฐมนตรีกลาโหม และรัฐมนตรีกระทรวงการคลังอย่างใกล้ชิด เพราะการเยือนต่างประเทศ ของรัฐมนตรีเหล่านี้ มีผลกระทบต่อสันติภาพ ความมั่นคงเศรษฐกิจ ของประเทศ ของภูมิภาคและของโลก

                แต่เท่าที่ติดตามข่าวต่างประเทศอย่างใกล้ชิด ตั้งแต่รัฐบาลนี้เข้ามาบริหารประเทศ ยังไม่เคยเห็นสำนักข่าวต่างประเทศสำนักไหน เคยรายงานข่าวผลการเยือนต่างประเทศของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่า ได้ไปเจรจาตกลงเรื่องสำคัญๆอะไรบ้าง มีเพียงครั้งเดียวที่สำนักข่าวต่างประเทศเกือบทุกสำนักรายงานข่าวสีสันพร้อมกัน คือตอนที่นายกรัฐมนตรีของไทย ผู้คลั่งไคล้ กังนัม ไสตล์ ลุกขึ้นมาโยกย้ายถ่ายรูปนาย ซี ด้วยตัวเอง ในวาระที่นางสาวยิ่งลักษณ์เดินทางไปร่วมพิธีเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีหญิงคนแรก ในประวัติศาสตร์เกาหลีใต้

                การเดินทางเยือนต่างประเทศของนางสาวยิ่งลักษณ์ ได้รับความสนใจจากสำนักข่าวต่างประเทศน้อยมาก ถ้าเทียบกับผู้นำรัฐบาลในกลุ่มประเทศอาเซียนด้วยกัน ไม่ว่าสิงคโปร์ มาเลเชีย อินโดนีเซีย ลาว เขมร เวียดนาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งพม่า ซึ่งทุกครั้งที่ประธานาธิบดี เต็ง เส็ง ของพม่าเดินทางเยือนต่างประเทศ สำนักข่าวเกือบทุกสำนัก เกาะกระแสติดตามอย่างใกล้ชิด รายงานผลการเยือนอย่างละเอียดไม่ว่าจะเป็นเรื่องข้อตกลงทางด้านการเมือง ความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ ความมั่นคงในภูมิภาค

                การเดินทางเยือนต่างประเทศของผู้นำทั่วโลก ได้เตรียมการไว้ล่วงหน้าไว้เป็นเดือนเป็นปี โดยมีเป้าหมายชัดเจน และเมื่อมีเหตุการณ์ไม่ปกติเกิดขึ้นในประเทศ ผู้นำเหล่านั้นจะยกเลิกการเดินทางหรือไม่ก็ร่นการเยือนให้สั้นลง แล้วเดินทางกลับมาแก้ปัญหาในประเทศทันที ซึ่งต่างกับนายกรัฐมนตรีไทยโดยสิ้นเชิง ที่เธอเลือกจะเดินทางไปต่างประเทศ ในขณะที่ปัญหาร้ายแรงกำลังรุมเร้าประเทศ นายกฯเดินทางไปหาซื้อคิงคอง ในขณะที่กำลังตึงเครียดทั้งในสภาและนอกสภา นายกฯเดินทางไปต่างประเทศขณะที่ชาวสวนยางชุมนุมประท้วงและเจ้าหน้าที่ของรัฐจับกุมทำร้ายประชาชน จนมีทีท่าว่าจะบานปลายไปเป็นสงครามกลางเมือง นายกฯอยู่ต่างประเทศขณะทีสภากำลังตึงเครียดชุลมุน วุ่นวายเรื่องกฎหมายนิรโทษกรรม สภากำลังตึงเครียดเรื่องแก้รัฐธรรมนูญ 

 

                ในเมื่อโฆษกประจำสำนักนายกฯนำเรื่องการเดินทางเยือนต่างประเทศของผู้นำอเมริกา มาสร้างความชอบธรรมให้กับเจ้านาย ก็อยากให้โฆษกฯได้แถลงเหมือนกับที่อเมริกาทำ โดยการชี้แจงว่านอกจากการเจรจาทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมแล้ว การเยือนต่างประเทศของนายกรัฐมนตรี ได้ของฝากของขวัญติดมือมามากน้อยเท่าไหร่ และ ของขวัญเหล่านั้นเอาไปไว้ที่ไหน

                สำนักข่าวเอพี รายงานข่าวว่า ปีที่แล้วนางฮิลลารี่ คลินตัน ได้รับของขวัญจากมิตรประเทศที่เธอไปเยือน มีมูลค่ามากว่าประธานาธิบดี บารัค โอบาม่า ได้รับหลายเท่าตัว ฮิลลารี่ได้รับเครื่องประดับเป็น เพชรนิลจินดา มีมูลค่ากว่าครึ่งล้านดอลลาร์จากกษัตริย์ อับดุลเลาะห์ แห่งซาอุดิ อาราเบีย ของขวัญที่ได้รับรวมทั้งสร้อยคอ กำไลมือ แหวน และ ทองหู แหวนทองคำขาวฝังทับทิมหยดน้ำตา และ แหวนเพชร นอกจากนั้นยังได้รับเครื่องประดับทับทิมสีน้ำเงิน และ เครื่องประดับเพชรมูลค่า $58,000 จากพระชายาของกษัตริย์บรูไน

                ของขวัญราคาแพงที่สุดที่เธอได้รับจากมงกุฎราชกุมาร ซาลมาน บิน อับดุลลาซิซ ฮาล-ซาอุด รัฐมนตรีกลาโหมซาอุดี อาราเบียคือนาฬิกาตั้งโต๊ะมูลค่า $165,000

                ส่วนโอบาม่า ได้รับเพียงลูกบาสเก็ตบอล พร้อมลายเซ็นจากประธานาธิบดี ซี จินปิง จากจีน เดวิด คาเมรอน กับมาดาม ซาแมนต้า ให้โต๊ะปิงปองย่อส่วนทีมีมูลค่าในอังกฤษ ไม่เกิน$1,100  นี่คือสิ่งที่โอบามา ได้รับในปี 2012

                นายกรัฐมนตรี เอนดา เคนนี่ ของประเทศไอริช ให้ของขวัญโอบามาหนึ่งกล่องมูลค่า $7,246.19เป็นต้นไม้ประจำชาติของไอริส ทำด้วยเงิน ผ้าพันคอขนแกะ ผ้าห่ม และ กำไลมือซึ่งเชื่อกันว่าเป็นเครื่องรางของขลัง

                ประธานาธิบดีเต่ง เซ่ง ของพม่าได้มอบเครื่องเพชรประดับแก่มิชเชล ภริยาของโอบาม่า และมาเลียกับซารา มิชเชล ลูกสาวของโอบามา เป็นมูลค่า $4,200  พร้อมแหวนเพชร ลูกสาวสาวโอบามาได้รับเข็มกลัดเป็นดอกไม้เป็นไข่มุก เพชรและทองมูลค่า $4,440

                นายกรัฐมนตรีเดวิด และ ซามานตา คาเมรอนให้ของขวัญแก่สตรีหมายเลขหนึ่ง เป็นผ้าพันคอแคชเมียร์ ถักโดย J.Saunders ราคา$480

                ของขวัญที่มาแสดงในห้องนิทัศนาการเช่น คลินตัน ได้รับ Congnac จากประธานาธิบดี วลาดีเมีย ปูติน ราคา$560 โอบามาได้รับดาบโค้งคมยาว 34 นิ้ว และด้ามกุมดาบประดับลายเส้นงามวิจิตรจากประธานาธิบดี Tsakiangiin Elbegdorj แห่งมองโกเลีย

                แต่อย่าได้คิดว่าทั้งคลินตันและโอบามา จะฮุบเอาของขวัญเหล่านั้น ไว้เป็นสมบัติส่วนตัว  เพราะตามกฎหมายของขวัญที่ได้รับทั้งหมด ต้องเก็บไว้ในคลังเอกสารแห่งชาติ หรือในคลังงานบริหารทั่วไป นอกเสียจากว่าผู้ที่ได้รับไปไถ่ถอน (ซื้อออกมาจากกระทรวงการคลังของรัฐ)

 

                อเมริกา เขาแถลงออกมาละเอียดทุกๆปีว่า ผู้นำของเขาได้รับของขวัญอะไรมาจากมิตรประเทศที่ไปเยือนบ้าง ตั้งแต่เครื่องเพชรมูลค่านับพันล้าน จนถึงผ้าพันคอผืนเล็กๆ เพราะการไปเยือนต่างประเทศหลายครั้ง จะต้องแลกเปลี่ยนของขวัญของฝากกัน ประเทศที่เดินทางไปเยือนต้องใช้งบประมาณของชาติในการจัดหาหรือซื้อของขวัญ ซึ่งรวมในงบประมาณค่าใช้จ่ายของผู้นำประเทศในการเดินทางเยือนมิตรประเทศ ดังนั้นประเทศอเมริกาถึงมีกฎหมายตราไว้ชัดเจนว่า  ของขวัญที่ได้จากมิตรประเทศที่ไปเยือน ต้องเก็บไว้ในคลังของรัฐ และกฎหมายได้กำหนดไว้ชัดเจนว่าทุกปีต้องแจกแจงของขวัญที่ได้รับมาทุกชิ้น

 

                เมื่อเรายกอเมริกามาเป็นมาตรฐาน ในการเยือนมิตรประเทศแล้ว อยากให้โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้เอาแบบอย่างของอเมริกามาแถลงด้วย ว่า 42 ประเทศที่นายกรัฐมนตรีไปเยือนมาแล้ว ได้รับของขวัญมากี่ชิ้นมูลค่าเท่าไหร่ และ ของขวัญเหล่านั้นอยู่ที่ไหน อยู่ในคลังเอกสารของรัฐหรือเข้าพกเข้าห่อใคร ส่วนเรื่องผลงานไม่จำเป็นต้องแถลงก็ได้เพราะประชาชนชนรู้อยู่แล้วว่ามีแต่ความว่างเปล่า

 

ท้ายที่สุดอยากให้รัฐบาลได้รับรู้ไว้ว่า การเยือนประเทศต่างๆของผู้นำสหรัฐฯนั้น เขาทำเท่าที่จำเป็น ในบางประเทศผู้นำอเมริกา เขาแวะเยือนทำภารกิจแค่สองสามชั่วโมง เสร็จแล้วก็ผ่านไปเยือนประเทศใกล้เคียงต่อไป เขาไม่มีเวลาไปช็อบปิ้ง ว.ห้า ชมเหมืองทอง หรือไปเดินทอดน่อง เพียงแค่ให้พอได้เห็น คิงคอง เห็นแรด  เห็นหมี

http://www.naewna.co.../columnist/8582

 

ครือว่า ผมก็อปมาแป่ะเต็มๆทั้งหมดน่ะครับ

มิได้ตัดแต่ง เพิ่มเติมแต่อย่างใด หวังว่า ทั่น WM  

จะไม่ให้ใบเตือน เหมือนครั้งก่อน ที่เอาเรื่อง

"หันตูด ให้แดด" ของป๋าเปลวมาแป่ะตอนนู้น... ;)  

 

ไม่งั้น ผมจาโวยว่า WM ไม่เป็นประชาทิปตาย และ

สองมาดถาน จริงๆด้วย... :mellow: 


Edited by Suraphan07, 13 กันยายน พ.ศ. 2556 - 11:03.


#2 Bourne

Bourne

    สายลับ ๆ ล่อ ๆ หัดเกรียน

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,471 posts

ตอบ 13 กันยายน พ.ศ. 2556 - 11:15

ของที่ได้มา she คงเก็บไว้เอง เพราะ she เป็นคนชอบ อม


ภาระกิจหลักของผมบนบอร์ดเสรีไทย คือ ด่าควายครับ เรื่องคิดต่างผมรับได้ แต่เรื่องคิดชั่วผมรับไม่ไหวครัช

#3 pooyong

pooyong

    สมาชิกขั้นไม่สูง แต่สูงอายุ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 6,292 posts

ตอบ 13 กันยายน พ.ศ. 2556 - 12:08

ของที่ได้มา she คงเก็บไว้เอง เพราะ she เป็นคนชอบ อม

เธอไม่ใช่ ตำรวจ จะได้ ชอบอม  เธอแค่ ขาย...


การรับใช้แผ่นดิน คือความเบิกบาน

#4 พ่อไอ้ร้อยล็อคอิน

พ่อไอ้ร้อยล็อคอิน

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 6,450 posts

ตอบ 13 กันยายน พ.ศ. 2556 - 12:09

ไปชวนญี่ปุ่น ให้ลงทุนพม่า ก็ทีนึงละ <_<


อยากรู้ว่าประชาธิปไตยไทยเป็นแบบไหน ให้ดูการใช้รถใช้ถนนรู้จักกันแต่สิทธิ แต่ไม่เคยรู้จักหน้าที่ ในการปฏิบัติตามกฎระเบียบที่วางไว้

#5 แอบดูที่รูเดิม

แอบดูที่รูเดิม

    ขาประจำอำเช็ด!!!

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,025 posts

ตอบ 13 กันยายน พ.ศ. 2556 - 12:20

เก็บเข้าตู้โชว์......ที่ไหนไม่รู้ <_<


ทำอาชีพยาม เงินเดือนน้อย ไม่ค่อยมีปัญหากะใคร

#6 หนูอ้อย

หนูอ้อย

    นักเขียนหน่อมแน้ม

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,215 posts

ตอบ 13 กันยายน พ.ศ. 2556 - 12:37

บางทีของขวัญ-ของที่ระลึกก็เป็นภาระได้เหมือนกันนะถ้าไม่มีระเบียบชัดเจน

 

 

แต่อย่าได้คิดว่าทั้งคลินตันและโอบามา จะฮุบเอาของขวัญเหล่านั้น ไว้เป็นสมบัติส่วนตัว  เพราะตามกฎหมายของขวัญที่ได้รับทั้งหมด ต้องเก็บไว้ในคลังเอกสารแห่งชาติ หรือในคลังงานบริหารทั่วไป นอกเสียจากว่าผู้ที่ได้รับไปไถ่ถอน (ซื้อออกมาจากกระทรวงการคลังของรัฐ)

 

                อเมริกา เขาแถลงออกมาละเอียดทุกๆปีว่า ผู้นำของเขาได้รับของขวัญอะไรมาจากมิตรประเทศที่ไปเยือนบ้าง ตั้งแต่เครื่องเพชรมูลค่านับพันล้าน จนถึงผ้าพันคอผืนเล็กๆ เพราะการไปเยือนต่างประเทศหลายครั้ง จะต้องแลกเปลี่ยนของขวัญของฝากกัน ประเทศที่เดินทางไปเยือนต้องใช้งบประมาณของชาติในการจัดหาหรือซื้อของขวัญ ซึ่งรวมในงบประมาณค่าใช้จ่ายของผู้นำประเทศในการเดินทางเยือนมิตรประเทศ ดังนั้นประเทศอเมริกาถึงมีกฎหมายตราไว้ชัดเจนว่า  ของขวัญที่ได้จากมิตรประเทศที่ไปเยือน ต้องเก็บไว้ในคลังของรัฐ และกฎหมายได้กำหนดไว้ชัดเจนว่าทุกปีต้องแจกแจงของขวัญที่ได้รับมาทุกชิ้น

 

 

http://www.meechaith...&type=9&mcid=23

 

ของขวัญกับประธานรัฐสภา จากคอลัมน์ "ความคิดเสรีของมีชัย"

ข่าวเรื่องคุณวันนอร์นำของขวัญที่ได้รับจากแขกผู้มาเยือน หรือจากการไปเยือนต่างประเทศ ไปไว้ที่บ้านศรียะลา แม้จะไม่ใช่ข่าวใหญ่ แต่ก็เป็นเรื่องใหญ่และน่ารำคาญใจ สำหรับคนที่เกี่ยวข้องอยู่ไม่น้อย เพราะถึงขนาดมีคนนำไปร้องเรียนกับ ปปช. กล่าวหาคุณวันนอร์ว่า ท่านมิได้ปฏิบัติตามระเบียบของ ปปช. ในเรื่องการรับของขวัญที่มีราคาเกิน 3,000 บาท

 

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรท่านหนึ่ง ซึ่งอยู่พรรคเดียวกับท่านวันนอร์ คงจะรู้สึกว่าการกล่าวหาเช่นนั้น เป็นการไม่ยุติธรรมกับคุณวันนอร์ เลยออกมาให้สัมภาษณ์ว่า ถ้าจะตรวจสอบกัน ก็ขอให้ตรวจสอบประธานรัฐสภาที่ผ่านมาทุกคน รวมทั้งผมด้วย แม้ผมจะไม่ได้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอะไรกับเขาแล้ว แต่ก็อุตส่าห์มีคนมาท้าวความถึงจนได้ จึงต้องพลอยอึดอัดและรำคาญใจไม่น้อย

 

จะไม่เขียนถึงก็จะทำให้เกิดการเข้าใจผิด ในเมื่อคนที่เกี่ยวข้องอื่น เช่น คุณชวน หลีกภัย ท่านได้ออกมาปฏิเสธว่าท่านไม่ได้เอาเข้าพกเข้าห่อ หากแต่นำไปไว้ที่พิพิธภัณฑ์ที่จังหวัดตรัง นอกจากนั้นพรรคประชาธิปัตย์ได้ออกมาชี้แจงว่า คนของพรรคที่เคยดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภา ล้วนแต่ไม่เคยนำของขวัญเหล่านั้นกลับไปบ้าน

 

เหลือผมอยู่คนเดียว ไม่มีใครช่วยปฏิเสธให้

 

ครั้นจะออกไปตอบโต้กับลูกน้องของท่านวันนอร์ ก็เห็นใจท่าน เพราะเท่าที่รู้จักกันมา ท่านเป็นคนดี มีความตั้งใจทำงาน ที่ผ่านมาก็ยังไม่มีอะไรด่างพร้อย จึงได้แต่นำเรื่องเก่ามาเล่าสู่กันฟัง

 

ผมเป็นประธานรัฐสภาอยู่ช่วงสั้น ๆ ในสมัยที่ประธานวุฒิสภา ยังเป็นประธานรัฐสภาในปี 2535 และเป็นประธานวุฒิสภาเรื่อยมา จนพ้นวาระเมื่อเดือนมีนาคม 2542 เป็นเวลานานโขอยู่

 

ในระหว่างนั้นได้เป็นหัวหน้าคณะ ไปประชุมสหภาพรัฐสภา ทั้งระดับนานาชาติและระดับภูมิภาค เป็นประจำทุกปี ได้พบปะกับประธานสภาของประเทศต่าง ๆ หลายครั้งเข้า ก็เกิดความสนิทชิดชอบ จนมีการเชิญให้ไปเยือนกัน โดยเราไปเยือนเขาบ้าง เขามาเยือนเราบ้าง

เวลาเราไปเยือนเขา ก็ย่อมต้องมีของติดไม้ติดมือไปให้ผู้นำของเขา ในขณะเดียวกันเขาก็ให้ของขวัญติดมือกลับมา หรือเมื่อเขามาเยือนเรา เขาก็มีของติดไม้ติดมือมาฝาก และเราก็ต้องให้ของตอบแทนเขาไปเช่นเดียวกัน

 

ของขวัญที่เราให้เขานั้น ส่วนใหญ่เป็นของไทย ๆ ที่ไม่ได้มีราคาสูงอะไรนัก ดูเหมือนจะไม่มีชิ้นไหนราคาถึง 3,000 บาท ส่วนของขวัญที่เขาให้เรามา ส่วนใหญ่เป็นสัญลักษณ์ของสภาบ้าง ของประเทศของเขาบ้าง ส่วนจะมีราคาค่างวดเท่าไร คงไม่มีใครใจกล้าหน้าด้านถึงกลับจะไปถามราคากับเขา เลยไม่มีใครสามารถเดาได้ว่ามีราคาถึง 3,000 บาทหรือไม่

 

แต่เท่าที่สังเกตดู ถ้าเป็นประเทศใหญ่หรือเจริญแล้ว ของที่ให้มา มักจะเป็นชิ้นเล็ก ๆ ไม่น่าจะมีราคาค่างวดอะไรนัก แต่ถ้าเป็นประเทศเล็กหรือประเทศที่กำลังพัฒนา มักจะให้ของสวย ๆ งาม ๆ เพื่ออวดฝีมือกัน แต่ถึงกระนั้นราคาก็คงไม่ได้แพงนัก

 

ของที่เขาให้มา ถ้าเป็นของกินได้ เช่น ผลไม้ ใบชา หรือสมุนไพร คนที่รับมาทุกคน ซึ่งรวมทั้งผมด้วย มักจะกินหรือแจกจ่ายกันไปจนหมด ไม่มีใครส่งมอบให้ทางราชการเก็บรักษาไว้ เพราะไม่รู้ว่าจะเก็บไว้ทำไม หรือเก็บกันอย่างไร

 

นอกจากของที่ผู้นำประเทศต่าง ๆ ให้มาแล้ว บรรดาเอกอัครราชทูตต่าง ๆ ที่ประจำอยู่ในประเทศไทย เวลามาเข้าพบ หรือในเวลาขึ้นปีใหม่ ต่างก็ส่งของมาให้กันอยู่ประจำ อะไรที่กินได้ผมก็เอาไปกินหรือแจกจ่ายกันไปอย่างที่ว่ามาจนหมด เพราะผมนึกเดาเอาเองว่า การที่เขานำของกินได้มาให้ คงต้องการให้ผมกิน เหมือนอย่างที่เวลาผมส่งผลไม้ไปให้เขา (ซึ่งผมควักกระเป๋าเอง) ผมก็หวังว่าเขาจะนำไปกินในครอบครัวของเขา ผมไม่ได้หวังที่จะให้เขาส่งผลไม้เหล่านั้น กลับไปรายงานใครที่ประเทศของเขา

 

ในเวลาที่เรานำของกินได้ไปฝากผู้นำประเทศต่าง ๆ ผมไม่ได้ให้เขาในฐานะเป็นของที่ระลึก หากแต่ให้เขาเพื่อให้เขาได้ชิมของกินของไทย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผลไม้ โดยหวังว่าถ้าเขาติดใจในรสชาติ ผลไม้ของไทยจะได้แพร่หลายและมีตลาดมากขึ้น ซึ่งยังไม่เคยได้ยินว่า ท่านผู้นำของประเทศต่าง ๆ เหล่านั้นท่านใดอุตส่าห์เก็บทุเรียน ข้าวสาร ลิ้นจี่ หรือมังคุด ที่เราเอาไปให้ เข้าพิพิธภัณฑ์หรือส่งมอบให้ทางราชการเก็บรักษาไว้

ในช่วง 8 ปี ที่ผมเป็นประธานวุฒิสภา ได้ไปเยือนต่างประเทศหลายครั้ง มีผู้นำของประเทศต่าง ๆ มาเยือนก็มากมาย จึงมีของขวัญที่กินไม่ได้หลายสิบชิ้นอยู่

 

ในปีแรก เมื่อผมได้ของขวัญเหล่านั้นมา ผมไม่รู้จะทำอย่างไร จึงนำกลับไปเก็บไว้ที่บ้าน แต่เมื่อเอาไปแล้วก็ไม่รู้จะเอาไปทำอะไร เพราะนับวันจะมีมากขึ้น ที่จะตั้งโชว์ก็ไม่มี จะทิ้งหรือให้ใครก็ไม่ได้ เป็นที่เดือดร้อนใจนัก

 

วันหนึ่งผมเดินไปห้องประธานสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งตอนนั้นคุณมารุต บุนนาค ท่านดำรงตำแหน่งอยู่ ไปเห็นของขวัญที่ท่านได้มาจากต่างประเทศ ตั้งโชว์อยู่หน้าห้องท่าน ดูเหมือนจะสองชิ้น ผมจึงได้ความคิดว่า ถ้าทางราชการไม่ขัดข้อง และไม่เสียเงินทองในการสร้างที่เก็บมากนัก ผมก็อยากจะขนของขวัญเหล่านั้น มาให้เป็นภาระของวุฒิสภาเพื่อเก็บรักษาต่อไป อย่างน้อย ๆ สมาชิกคนอื่น ๆ หรือใครผ่านไปผ่านมา จะได้พลอยชื่นชมของสวย ๆ งาม ๆ เหล่านั้นด้วย

 

เมื่อหารือกับเจ้าหน้าที่แล้ว เขายินดีที่จะรับดูแลและหาที่เก็บไห้ ผมจึงโล่งอก หมดความเดือดร้อนนับแต่นั้นมา

 

แล้วผมก็ขนของที่อยู่ที่บ้าน ซึ่งตอนนั้นมีอยู่สักราว ๆ 10 ชิ้น มาให้วุฒิสภาจัดทำทะเบียน และเก็บรักษาไว้เป็นของหลวงต่อไป

 

หลังจากนั้นเป็นต้นมาจนผมพ้นวาระ เมื่อได้ของขวัญอะไรมาที่กินไม่ได้ ผมจึงส่งให้เจ้าหน้าที่ เมื่อเขาลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว เขาได้นำไปตั้งแสดงไว้ในห้อง ๆ หนึ่ง ที่อยู่ตรงข้ามห้องทำงานประธานวุฒิสภา ใครอยากจะตรวจสอบหรือไปดู ก็น่าจะไปตรวจหรือดูได้ที่ห้องนั้น แต่ผมพ้นวาระมาหลายปีแล้ว ไม่ทราบว่าปัจจุบันเขายังเก็บไว้ที่เดิมหรือไม่ หรือจะยังอยู่ครบหรือไม่ ไม่ทราบได้ เพราะตั้งแต่พ้นมาก็ไม่เคยย่างไปที่นั่นอีกเลย แต่ได้สอบถามเจ้าหน้าที่แล้ว ได้ความว่าเขายังเก็บรักษาทะเบียนไว้เป็นเล่ม จึงน่าจะยังมีหลักฐานให้ตรวจสอบได้

 

แม้ว่าจะกำหนดเป็นหลักเกณฑ์ส่วนตัวว่า ถ้าของอะไรที่กินได้ ผมถือว่าเขาให้เป็นการส่วนตัว แต่ของที่กินไม่ได้บางอย่างก็อาจเป็นปัญหาได้เหมือนกัน เช่น ของใช้บางอย่าง ประเภท เสื้อยืด หมวก หรือปากกาลูกลื่น ที่เขาแจกเป็นที่ระลึก ของเหล่านี้ ถ้าไม่ได้แจกให้คนอื่นไป ผมก็ได้ใช้ไปในงานราชการบ้าง ในงานส่วนตัวบ้าง แยกแยะไม่ค่อยออก แต่ยืนยันได้ว่าของเหล่านั้นได้ใช้สิ้นเปลืองไปจนหมดแล้ว ไม่เหลือไว้ให้ใครตรวจสอบ หรือเรียกคืนได้

 

การที่ผมส่งของขวัญที่ไม่ใช่ประเภทกินใช้สิ้นเปลือง ไปให้วุฒิสภาเก็บรักษาไว้ ขอได้โปรดเข้าใจว่า ผมทำไปตามความสมัครใจของผมเอง ไม่ใช่เพราะมีระเบียบอะไรของ ปปช.ทั้งสิ้น เพราะระเบียบของ ปปช. เพิ่งจะออกมาในปี 2542 อันเป็นช่วงเวลาที่ผมใกล้จะหมดวาระแล้ว

ผมสมัครใจทำเช่นนั้น เพราะการเก็บรักษาของเหล่านั้นไว้เอง เป็นภาระเกินกว่าที่ผมจะรับได้ ทั้งยังต้องคอยเป็นทุกข์ ด้วยเกรงว่ามันจะเสียหายหรือสึกหรอ และยิ่งคิดไปถึงอนาคต เมื่อเวลาที่ผมตายไปแล้ว ของเหล่านั้นยิ่งจะเป็นภาระให้แก่ลูกหลานยิ่งขึ้น จะทิ้งก็ไม่ได้ จะเก็บไว้ก็ไม่มีราคาค่างวดอะไร ผมเลยสมัครใจโยนภาระไปให้ทางราชการรับไป

 

ว่าไม่ได้ ถ้าผมมีบ้านช่องที่เปิดให้คนทั่วไปเข้าชมได้เป็นประจำอย่างคุณวันนอร์ ผมอาจขนเอาไปไว้ที่นั่นอย่างเดียวกับที่ท่านทำก็ได้ อย่างน้อยเวลาไม่มีอะไรจะทำ จะได้เดินดูให้ครึ้มอกครึ้มใจเล่น

 

อันที่จริง จะว่าผมยกของที่ได้รับมาจากผู้นำต่างประเทศ ไปให้วุฒิสภาเก็บเสียทั้งหมด ก็จะเป็นบาป เพราะยังมีของอยู่ 2-3 ชิ้นที่ผมเก็บรักษาไว้ที่บ้าน ของที่ว่านั้น เป็นลายมือภาษาจีน ที่เขาเขียนไว้บนผ้าบ้างกระดาษบ้าง

 

ข้อความที่เขาเขียนนั้น ผมอ่านไม่ออก แต่คนให้เขาบอกว่า เป็นการสดุดีที่ผม มีส่วนช่วยทำให้สัมพันธภาพระหว่างไทย-จีน ดีขึ้น ส่วนรายละเอียดจะมีว่าอย่างไรบ้าง ผมก็จำไม่ได้เสียแล้ว

 

ที่ผมไม่ได้มอบให้วุฒิสภา เนื่องจากมีเหตุผลส่วนตัวโดยแท้

 

เพราะผมเกรงว่า เวลาเขาเอาไปแขวนติดไว้ที่วุฒิสภา ผมคงอดเขินต่อคำสดุดีนั้นไม่ได้ ผมเลยเก็บไว้เสียเอง แต่ตอนนี้อยู่ที่ไหนก็จำไม่ได้แล้ว

 

อ้อ มีของที่กินได้อีกอย่างหนึ่ง ที่เมื่อผมได้รับมาแล้ว ก็ยังไม่ได้กิน ยังเหลืออยู่จนทุกวันนี้

 

ดูเหมือนในช่วงปี 2536 เอกอัครราชทูตเกาหลี ท่านนำโสมแห้งๆ มาให้ ท่านบอกว่าเป็นโสมที่ดีมาก บำรุงกำลังดีนัก แต่ผมไม่เคยกินโสมและกินไม่เป็น จึงวางทิ้งไว้ระยะหนึ่ง พอดีมีคนเอาเหล้าหงส์ทองขวดใหญ่มาให้ ผมเลยยัดโสมนั้นใส่ลงไปในขวด ดองอยู่จนทุกวันนี้ใกล้ๆ จะครบ 10 ปีแล้ว

 

เมื่อมีการหยิบยกเรื่องของขวัญขึ้นมาพูดกัน ผมเลยเปิดขวดออก ลองชิมไปจิบหนึ่ง รสชาดกำลังดี กลมกล่อมอย่างไม่น่าเชื่อ

 

ถ้าใครเห็นว่าผมควรจะนำโสมไปส่งมอบให้ทางราชการเก็บไว้ที่ไหน ก็บอกมา ผมก็พร้อมที่จะเสียสละเหล้าหงส์ทองแถมให้ด้วย

แต่ต้องสัญญาว่าทางราชการจะเก็บรักษาไว้ไม่ให้พร่องไปได้ เพราะผมเก็บมา 10 ปี เพิ่งจะพร่องไปจิบเดียวจริง ๆ

spacer.gif มีชัย ฤชุพันธุ์ news-bottom-left.gif
 

 

 


 AMAZING  coup d'etat  , THAILAND ONLY ..  :ph34r:  


#7 Alone

Alone

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,726 posts

ตอบ 13 กันยายน พ.ศ. 2556 - 14:36

ถ้าเป็นของที่ได้จากเสี่ยแสนตอน 4ss ตอนออกมาแถลงผมเกรงว่าจะติดเรท x นะสิครับ  :ph34r:






ผู้ใช้ 0 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้

สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 0 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน