ถ้าเอาฐาน 300 บาทต่อวัน เท่ากับ 9,000 บาทต่อเดือนเป็นค่าเริ่มต้น สำหรับรับเข้ามาทำงาน
แล้วเอามาเทียบกับวุฒิการศึกษาแต่ละระดับ
ป.6 หรือต่ำกว่า รายได้ 9,000 บาทต่อเดือน
ม.3 รายได้มากกว่า ป.6 อยู่ 5% เท่ากับว่ารายได้ต่อเดือน 9,000 x 5% = 9,450 ผมปัดให้เป็น 9,500 บาท
ม.6 รายได้มากกว่า ม.3 อยู่ 5% เท่ากับว่ารายได้ต่อเดือน 9,500 x 5% = 9,975 ผมปัดให้เป็น 10,000 บาท
ปวช. รายได้มากกว่า ม.6 อยู่ 10% เท่ากับว่ารายได้ต่อเดือน 10,000 x 10% = 11,000 บาท
ปวส. รายได้มากกว่า ปวช. อยู่ 10% เท่ากับว่ารายได้ต่อเดือน 11,000 x 10% = 12,100 ผมปัดให้เป็น 12,500 บาท
ป.ตรี รายได้มากกว่า ปวส. อยู่ 5% เท่ากับว่ารายได้ต่อเดือน 12,500 x 5% = 13,125 ผมปัดให้เป็น 13,500 บาท
ป.ตรี รายได้มากกว่า ปวส. อยู่ 10% เท่ากับว่ารายได้ต่อเดือน 12,500 x 10% = 13,750 ผมปัดให้เป็น 14,000 บาท
ป.ตรี รายได้มากกว่า ปวส. อยู่ 15% เท่ากับว่ารายได้ต่อเดือน 12,500 x 15% = 14,375 ผมปัดให้เป็น 14,500 บาท
ป.ตรี รายได้มากกว่า ปวส. อยู่ 20% เท่ากับว่ารายได้ต่อเดือน 12,500 x 20% = 15,000 บาท
ของ ป.ตรี ผมทำเป็น 4 รายการ
เพราะป.ตรี แต่ละสาขา เนื้อหาบางสาขาอาจจะไม่ต่างกับ ปวส. นัก
แต่บางสาขามีความเฉพาะทางมากกว่า รายได้ก็จะกระโดดมากกว่า
นอกจากนี้ยังรวมถึงปริมาณนักศึกษาที่จบกับความต้องการของตลาด
ที่จะมีผลต่อระดับรายได้ของ ป.ตรี แต่ละสาขาด้วย
ป.ล.1 ที่ผลคำนวณมาจะเป็นการปัดรายได้เพิ่มเสมอ ซึ่งถ้าตามหลักความเป็นจริง
บริษัทอาจจะกดเงินเดือนต่อเดือนมากกว่านี้
ป.ล.2 นอกจากเงินเดือนแล้ว ยังต้องคำนึงถึงสวัสดิการ หรือโบนัสที่ได้อาจจะต่างกันไปแต่ละสาขาด้วย