Jump to content


Photo
- - - - -

ทางออก 2,000,000,000,000


  • Please log in to reply
7 ความเห็นในกระทู้นี้

#1 tabbar

tabbar

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 399 posts

ตอบ 19 กันยายน พ.ศ. 2556 - 11:47

คุณธีระชัย เขียนไว้ น่าสนใจ

Quote

Thirachai Phuvanatnaranubalaตัวเลือกสำหรับเรื่องราวนี้  
ผู้สื่อข่าวสอบถามผมกรณี 2,000,000,000,000 ว่า 

(ก) ผมมีข้อเสนอทางออกที่ดีหรือไม่ และ 
(ข) หากกฎหมายนี้ไม่ผ่าน ผมกังวลผลกระทบที่จะเกิดขึ้นแก่เศรษฐกิจหรือไม่

คำตอบสำหรับข้อ (ก)

- กฎหมายนี้ยังไงยังไงก็ผ่านสภาแน่นอนครับ เพราะจำนวนมือของฝั่งรัฐบาลนั้น มากกว่าฝั่งฝ่ายค้านอยู่แล้ว แต่ที่ผมไม่แน่ใจ ก็คือกฎหมายนี้จะผ่านศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่
- ผมอธิบายไว้ในรายการ คม ชัด ลึก ว่าการอ่านกฎหมายรัฐธรรมนูญนั้น ไม่สามารถอ่านแบบแปลความเฉพาะตัวอักษรภาษาไทยได้ แต่จำเป็นจะต้องอ้างอิงหลักการเงินการคลังประกอบด้วย
- ทุกประเทศในโลกที่ใช้ระบอบประชาธิปไตย จะไม่มีประเทศใด ที่ยินยอมให้รัฐบาลใช้เงินส่วนรวม แบบตามสบาย ตามอำเภอใจ อยากใช้เงินเมื่อไหร่ ก็เขียนเช็คเอาๆ แบบนี้ไม่มีครับ
- แต่ทุกประเทศ รัฐธรรมนูญจะกำหนด ให้มีการกำกับดูแลการใช้เงินส่วนรวมโดยรัฐบาลไว้ทั้งสิ้น ผ่านกระบวนการงบประมาณ
- ซึ่งรัฐธรรมนูญจะมีข้อบังคับ ให้การเสนองบประมาณต่อรัฐสภาต้องโปร่งใสและมีข้อมูลครบถ้วน มีขบวนการเบิกจ่ายที่รัดกุม และมีขบวนการตรวจสอบติดตามการใช้เงินโดยรัฐสภา
- ดังนั้น การที่รัฐบาลไปออกกฎหมายเฉพาะ ที่เปิดให้มีการใช้เงิน โดยหลีกเลี่ยงกระบวนการงบประมาณ จึงผิดเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจน

- ถ้ายึดหลักนี้ ผมยังคิดว่า กรณีที่รัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ออกพระราชกำหนดไทยเข้มแข็ง และกรณีที่รัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ออกพระราชกำหนดเรื่องป้องกันน้ำท่วม ทั้งสองกรณี ถึงแม้ได้ผ่านศาลรัฐธรรมนูญ แต่ก็อาจจะยังมีประเด็นที่ผิดบทบัญญัติรัฐธรรมนูญด้วย
- ทั้งสองกรณีดังกล่าว ผู้ที่ร้องต่อศาล ได้ร้องเฉพาะในประเด็นของความเร่งด่วน และประเด็นที่ศาลตัดสิน ก็เฉพาะในประเด็นว่า ทั้งสองกรณีดังกล่าว เข้าองค์ประกอบที่จะออกเป็นพระราชกำหนดหรือไม่ เฉพาะประเด็นนี้เป็นสำคัญ
- แต่ในอนาคต ถ้ามีผู้ใดร้องต่อศาล ว่าทั้งสองกรณีที่ผ่านไปแล้ว ผิดหลักการด้านการเงินการคลังในรัฐธรรมนูญหรือไม่ ผมคิดว่าทั้งสองกรณี ก็น่าจะผิดเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ไม่ต่างกันกับพระราชบัญญัติสองล้านล้าน

- กลับมาถึงข้อเสนอทางออก
- ขณะนี้รัฐบาลเรียกร้องฝ่ายค้าน ให้ยอมผ่านกฎหมายสองล้านล้านไปเถอะ แต่หากต้องการให้มีขบวนการตรวจสอบที่รัดกุม ก็ให้ฝ่ายค้านเสนอแนวทางต่างๆ และข้อเสนอนี้ สื่อมวลชนบางราย ก็ได้พยายามขายไอเดียกันแล้ว
- ผมขอแจ้งว่า ขบวนการตรวจสอบที่ดีและรัดกุมนั้น ไม่ต้องไปเสียเวลาเขียนกันใหม่ดอกครับ ไม่ต้องไปตั้งคณะกรรมการอะไร ที่ผิวเผินดูดี แต่ไม่ได้ผล ไม่ต้องไปจัดงานมหกรรมอะไร ที่กดปุ่ม ถ่ายรูปลงหนังสือพิมพ์ ไม่ต้องไปเสียเงินอะไร เพื่อขึ้นคัดเอาท์โฆษณาตามถนน
- แต่ขบวนการตรวจสอบที่ดีที่สุด ที่มีอยู่แล้ว ก็คือกระบวนการงบประมาณ
- กระบวนการงบประมาณของไทย ได้มีการจัดตั้งและขัดเกลา ให้มีความรัดกุมดีอยู่แล้ว โดยฝีมือของขุนคลังระดับอ๋องในอดีต เช่น คุณบุญมา วงษ์สวรรค์ ดร. เสริม วินิฉัยกุลท ดร. สุธี สิงห์เสน่ห์ คุณสมหมาย ฮุนตระกูล ฯลฯ
- ดังนั้น การเสนอลงทุนแบบนี้ จึงควรจะใช้กรอบงบประมาณ

- แต่ทั้งนี้ เหตุผลหลักที่สำคัญ ที่รัฐบาลชี้แจงว่า จำเป็นจะต้องออกเป็นกฎหมายเฉพาะ ก็เพราะโครงการลงทุนใช้เวลานาน หากทำเป็นงบประมาณรายปี และต่อไปเกิดเปลี่ยนรัฐบาล หากมีการยกเลิกหรือไม่ทำต่อ ก็จะเสียหาย
 
 
ผมขอค้านครับ
- ถ้ารัฐบาลเห็นว่ากฎหมายและวิธีการงบประมาณที่ใช้อยู่นั้น ยังไม่สามารถเอื้ออำนวยต่อการลงทุนโครงการที่ต้องทำต่อเนื่องหลายๆ ปีได้ รัฐบาลก็เร่งแก้กฎหมายงบประมาณซิครับ เพื่อให้สามารถมีการเกี่ยวเชื่อมโยงบางรายการ จากปีที่หนึ่ง ไปปีที่สอง ไปปีที่สาม กี่ปีก็ได้ จนกว่าโครงการจะเสร็จ

- พูดง่ายๆ หากรัฐบาลมีความจริงใจที่จะให้มีการตรวจสอบ แทนที่จะเสนอกฎหมายสองล้านล้าน ที่มีเอกสารประกอบเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายเพียงสองแผ่น (ย้ำ - สองแผ่น) รัฐบาลก็ควรจะแก้ไขกฎระเบียบ ให้กรอบงบประมาณ สามารถรองรับการลงทุนแบบต่อเนื่องข้ามหลายๆ ปีได้ซิครับ
- กฎหมายงบประมาณ ไม่ใช่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ จึงแก้ไขได้ไม่ยาก และรัฐบาลก็มีเสียงข้างมากอยู่แล้ว ผ่านได้แน่นอน

- ผมมั่นใจ ว่าหากรัฐบาลเสนอการลงทุนสองล้านล้าน ให้อยู่ภายใต้กรอบงบประมาณ โดยมีการแก้ไขกฎหมายงบประมาณก่อน ฝ่ายค้านและวุฒิสมาชิก ก็คงเห็นด้วย


คำตอบสำหรับข้อ (ข)

- ขณะนี้มีนักธุรกิจหลายราย ที่กังวลต่อสภาวะเศรษฐกิจ เพราะเริ่มซบเซาอย่างรวดเร็ว
- หลายคนบอกผมว่า ขณะนี้ เขาสามารถซื้อรถยนต์ได้ โดยมีการลดแลกแจกแถมจากผู้ขาย มากกว่าช่วงรถคันแรกอย่างมาก เพราะยอดขายแผ่ว
- หลายคนบอกผมว่า ขณะนี้ การขายส่งออกสินค้าหลายตัว ลดลงไปมาก จะดีก็เฉพาะสินค้าจำเป็น
- หลายคนบอกผมว่า ขณะนี้ ยอดขายคอนโดแต่ละเดือน ลดลงไปมาก ต่ำกว่าครึ่งหนึ่งของยอดเดิม และมีแนวโน้มจะลงไป เหลือเพียงหนึ่งในสามของยอดเดิมด้วยซ้ำ
- ด้วยเหตุนี้ นักธุรกิจบางราย จึงได้ออกมาเปิดตัว สนับสนุนกฎหมายสองล้านล้าน โดยหวังว่าการใช้จ่ายดังกล่าว จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจระดับหนึ่ง
- เหตุที่ภาวะธุรกิจแผ่วเร็ว ก็เพราะในช่วงที่สหรัฐดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายสุดๆ ช่วงที่สหรัฐมีการพิมพ์ดอลลาร์ออกมาอย่างหนักหน่วงนั้น เงินได้ไหลเข้าประเทศกำลังพัฒนาจำนวนมหาศาล
- เงินดังกล่าว ผลักดันให้ตลาดหุ้น ตลาดพันธบัตร และตลาดอสังหาริมทรัพย์ในประเทศกำลังพัฒนา เกิดสภาวะบูมขึ้นอย่างแรง ทุกคนดีใจกันทั่วหน้า

- ผมเองได้ออกมาเตือนกระทรวงการคลังหลายครั้ง ผ่าน FACEBOOK นี้ แนะนำให้ใช้อำนาจกระทรวงการคลัง ชะลอเงินทุนไหลเข้าลงบ้าง ไม่ว่าด้วยวิธีเก็บภาษีดอกเบี้ยที่นักลงทุนต่างชาติได้ไปจากไทย หรือวิธีอื่น
- แต่รัฐมนตรีคลัง (นายกิตติรัตน์) แทนที่จะสนใจหาวิธีใช้อำนาจของกระทรวงการคลัง กลับไปจ้ำจี้จ้ำใช ให้แบงค์ชาติลดดอกเบี้ย

- มาบัดนี้ เงินได้ไหลกลับออกไปมากแล้ว เหลืออยู่แต่ฟองสบู่ในอสังหาริมทรัพย์
- ธุรกิจการค้าที่ซบเซามากขณะนี้ มีต้นเหตุหลักสองประการ
- ประการแรก โครงการประชานิยมแบบกระตุ้นการอุปโภคบริโภค ที่ควบคู่ไปกับดอกเบี้ยที่ต่ำเกินไป ชักนำให้หนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้นอย่างมาก ต่อไปนี้ ประชาชนต้องประหยัดมากขึ้นกว่าเดิม
- ประการที่สอง ฟองสบู่ที่แตกในตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตร ทำให้ความต้องการซื้อคอนโดและที่ดิน ประเภทที่ซื้อเพื่อเก็งกำไร หรือเพื่อลงทุน ความต้องการได้ลดลงอย่างมาก

- หากกฎหมายสองล้านล้านไม่ผ่าน ก็ต้องยอมรับว่า เศรษฐกิจคงจะไม่เร่งตัวหวือหวามากนัก

- แต่รัฐบาลก็จะยังสามารถแยกส่วนโครงการสองล้านล้าน แยกร่างออกไป เอาโครงการที่ไม่ค่อยมีใครคัดค้าน เช่น รถไฟรางคู่ การขนส่งทางแม่น้ำ ฯลฯ ไปดำเนินการตามกระบวนการงบประมาณปกติได้นี่ครับ

- ที่จริง ถ้าทำเช่นนี้แต่้แรก ก็คงจะเดินหน้าเรื่องง่ายๆ ไปได้มากแล้ว จะเหลือเถียงกันเฉพาะแค่บางโครงการที่ลงทุนสูง เช่น รถไฟความเร็วสูง
 
 

 

 

เห็นว่าจะไม่ถ่ายทอดให้ ปชช.ดู  ไม่รู้กลัวอะไร

 


 '' Nobody Perfect ''


#2 JSN

JSN

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,004 posts

ตอบ 19 กันยายน พ.ศ. 2556 - 11:52

อยากรู้ก็ไปถามสิครับ ไร้สาระอีกแล้ว

#3 human

human

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 684 posts

ตอบ 19 กันยายน พ.ศ. 2556 - 12:07

โซดาปั่น, on 19 Sept 2013 - 04:49, said:

ส.ธนาคารไทย เขาว่าอย่างไร โดยเฉพาะ ตระกูลโสภณพานิช นายทุนใหญ่ ปชป 009.gif009.gif009.gif009.gif

 

ทำได้แค่นี้เหรอ ไอ้ตัวร้อยชื่อ :lol:


ผีหลอกก็ยังพอทนแต่คนหลอกคนกูทนไม่ได้

#4 CockRoachKiller

CockRoachKiller

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 442 posts

ตอบ 19 กันยายน พ.ศ. 2556 - 12:14

"ปู" แจง "นายแบงก์-สมาคมธนาคารไทย" ย้ำกู้ 2 ล้านล้าน เป็นการวางรากฐาน-สร้างโอกาสใหม่ๆให้ ศก.ไทย

 

นางกรรณิกา ชลิตอาภรณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวสนับสนุนโครงการลงทุนครั้งนี้ของรัฐบาล ว่า จะเป็นการยกระดับและพัฒนาศักยภาพของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาเชื่อมต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งนางกรรณิกาเห็นว่าไทยไม่ควรเสียโอกาสที่จะเป็นจุดเชื่อมโยงอาเซียนให้ กับประเทศอื่น ขณะเดียวกันเรียกร้องให้ภาครัฐสนับสนุนอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการให้มาก ขึ้น เพราะสามารถทำรายได้ให้กับประเทศสูงมาก
    

นายวรภัค ธันยาวงษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงไทย กล่าวสนับสนุนการลงทุนครั้งนี้ ว่า เชื่อมั่นว่าจะยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยให้ดีขึ้น ขณะเดียวกันได้ตั้งคำถามไปยังรองนายกรัฐมนตรีถึงเม็ดเงินที่จะเริ่มลงทุนว่า เริ่มเข้าสู่ระบบได้เมื่อไหร่ นายกิตติรัตน์คาดว่าถ้ากฎหมายผ่านความเห็นชอบของวุฒิสภาแล้ว เม็ดเงินอย่างน้อย 350,000 ล้านบาทจะเข้าสู่ระบบได้ภายในปี 2557 ซึ่งคิดเป็น 2% ของจีดีพีไทย


Edited by CockRoachKiller, 19 กันยายน พ.ศ. 2556 - 12:14.

Please know your place by do not comment my post that you can not comprehend.

#5 Bookmarks

Bookmarks

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 33,617 posts

ตอบ 19 กันยายน พ.ศ. 2556 - 12:19

human, on 19 Sept 2013 - 05:07, said:

 

โซดาปั่น, on 19 Sept 2013 - 04:49, said:

ส.ธนาคารไทย เขาว่าอย่างไร โดยเฉพาะ ตระกูลโสภณพานิช นายทุนใหญ่ ปชป 009.gif009.gif009.gif009.gif

 

ทำได้แค่นี้เหรอ ไอ้ตัวร้อยชื่อ :lol:

 

กากลี มันถนัดแต่เอา hee บังหน้าครับ  :D



#6 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 19 กันยายน พ.ศ. 2556 - 12:19

“เงินกู้ไม่ใช่เงินแผ่นดิน...”
       
        ประโยคนี้คนของรัฐบาลพูดกันเป็นนกแก้วนกขุนทองตลอดสัปดาห์ที่แล้ว เพื่อยืนยันว่าร่างพ.ร.บ.ให้กระทรวงการคลังกู้เงิน 2 ล้านล้านบาทที่กำลังพิจารณาอยู่ในชั้นกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎรขณะนี้คาดว่าจะเข้าสู่วาระการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรในวาระ 2 และ 3 ในช่วงเดือนสิงหาคม 2556 เมื่อเปิดสมัยประชุมรัฐสภาสมัยสามัญทั่วไป เพื่อยืนยันว่าร่างกฎหมายฉบับนี้ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ
       
        เป็นการพูดเพื่อตอบโต้ความเห็นของคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) ชุดอาจารย์คณิต ณ นคร ที่เสนอมายังสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาว่าร่างกฎหมายกู้เงินมหาศาลนี้ขัดรัฐธรรมนูญหลายมาตรา โดยมาตราสำคัญที่พูดกันมาโดยตลอดคือมาตรา 169 ผมเองก็พูดเรื่องนี้มาตั้งแต่เดือนมีนาคม 2556 แล้ว
       
        ขอยกมาตรา 169 วรรคหนึ่งมาให้อ่านกัน
       
        “การจ่ายเงินแผ่นดินจะกระทำได้ก็เฉพาะที่ได้อนุญาตไว้ในกฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่าย กฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ กฎหมายเกี่ยวด้วยการโอนงบประมาณ หรือกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง เว้นแต่ในกรณีจำเป็นเร่งด่วนรัฐบาลจะจ่ายไปก่อนก็ได้ แต่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ ในกรณีเช่นว่านี้ต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลังในพระราชบัญญัติโอนเงินงบประมาณรายจ่าย พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม หรือพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณถัดไป ทั้งนี้ ให้กำหนดแหล่งที่มาของรายได้เพื่อชดใช้รายจ่ายที่ได้ใช้เงินคงคลังจ่ายไปก่อนแล้วด้วย”
       
       ระบอบประชาธิปไตยคือการควบคุมตรวจสอบอำนาจรัฐ
       
       สำคัญสุดคือการใช้เงิน
       
       การจ่ายเงินแผ่นดินจึงจะกระทำได้แต่เฉพาะตามกฎหมาย 4 ฉบับเท่านั้น คือ กฎหมายงบประมาณรายจ่ายประจำปี, กฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ, กฎหมายเกี่ยวกับการโอนงบประมาณ และกฎหมายเงินคงคลัง เพราะกฎหมายทั้งสี่มีกฎเกณฑ์ควบคุมการใช้จ่ายเงินที่เข้มงวดมีการตรวจสอบทั้งโดยระบบราชการประจำและระบบการเมือง
       
       ไม่ใช่การออกกฎหมายพิเศษกู้เงินมาทำโครงการเฉพาะที่เริ่มมาจากโครงการไทยเข้มแข็งยุครัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ปี 2552
       
       มาตรา 169 มี keyword สำคัญคือคำว่า...
       
        “เงินแผ่นดิน”
       
       วิธีการแบบศรีธนญชัยง่าย ๆ ที่จะบอกว่าการออกกฎหมายพิเศษกู้เงินมาใช้มาทำเฉพาะโครงการสามารถทำได้โดยไม่ขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 169 ก็คือการพูดประโยคที่ผมนำมาเป็นหัวเรื่องวันนี้แหละ
       
        “เงินกู้ไม่ใช่เงินแผ่นดิน”
       
       เป็นการนำความเห็นจากคณะกฤษฎีกาคณะ 12 มาพูดต่อ โดยเมื่อปี 2552 หลังจากรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์อกพระราชกำหนดไทยเข้มแข็งแล้วเกิดเกรงขึ้นมาว่าการใช้เงินจะขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ ก็เลยถามไปที่คณะกรรม การกฤษฎีกา คณะกรรมการกฤษฎีกาตอบมาในเอกสารเรื่องเสร็จที่ 888/2552 ธันวาคม 2552 ว่าไม่ขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 169 เพราะเงินกู้ไม่ใช่เงินแผ่นดิน เพราะไม่มีกฎหมายใดเขียนไว้
       
       เป็นการตอบแบบอวยรัฐบาลในขณะนั้นอย่างไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิและครูบาอาจารย์ด้านการเงินการคลังของประเทศที่อยู่ในคณะกรรมการกฤษฎีกาคณะ 12
       
       แต่เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาในขณะนั้นก็คงอายอยู่ จึงมีความในย่อหน้าสุดท้ายทำนองว่านี่เป็นเพียงการตอบข้อหารือที่ทำให้รัฐบาลทำงานได้ ซึ่งก็คือสามารถใช้เงินกู้ในโครงการไทยเข้มแข็งได้ แต่ไม่ใช่การวินิจฉัยชี้ขาด เพราะไม่ใช่อำนาจหน้าที่
       
       การวินิจฉัยชี้ขาดเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญโดยตรง
       
       เงินกู้จะถือเป็นเงินแผ่นดินตามความในรัฐธรรมนูญมาตรา 169 หรือไม่มีมุมมองทางกฎหมายต่างกันได้ครับ เรื่องนี้ยังไม่เคยผ่านการชี้ขาดจากศาลรัฐธรรมนูญที่ถือเป็นที่สุด ผูกพันทุกองค์กร แม้แต่เงินกู้ตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็งยุครัฐบาลประชาธิปัตย์ที่เป็นต้นแบบให้รัฐบาลนี้ลอกมาใช้ในโครงการ 3.5 แสนล้านบาทและ 2 ล้านล้านบาท ศาลรัฐธรรมนูญก็ไม่เคยชี้ในประเด็นนี้ ที่เคยชี้ว่าพระราชกำหนดถูกต้องตามรัฐธรรมนูญก็เป็นเพียงประเด็นทั่วไปตามมาตรา 184 เท่านั้น ที่รัฐบาลเอามาพูด ๆ กันวันนี้ว่าเงินกู้ไม่ใช่เงินแผ่นดินดังนั้นจึงออกกฎหมายพิเศษได้ไม่ต้องทำตามรัฐธรรมนูญมาตรา 169 ก็เป็นเพียงการจำขี้ปากคณะกรรมการกฤษฎีกาคณะ 12 มาพูดซ้ำเท่านั้น ทั้ง ๆ ที่ในขี้ปากหน่วยงานที่มีหน้าที่รับใช้รัฐบาลหน่วยงานนี้ครั้งนั้นเขาก็มีหมายเหตุไว้ในย่อหน้าสุดท้ายว่าไม่ใช่การชี้ขาด เพราะนั่นเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ
       
       เสียดายที่รัฐบาลประชาธิปัตย์ยุคนั้นพอกฤษฎีกาคณะ 12 ให้ความเห็นเข้าทางตนก็ใช้เงินเลย ไม่พยายามนำเรื่องไปสู่ศาลรัฐธรรมนูญก่อน
       
       เรื่องนี้ผมพูดมาหลายเดือนทั้งต่อสาธารณะและต่อเพื่อนส.ว.ขอจองกฐินแล้วว่าจะยกร่างสำนวนและขอความร่วมมือพี่น้องส.ว.ร่วมลงชื่อให้ครบ 65 คนเพื่อยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยแน่ แต่ต้องเป็นขั้นตอนหลังรัฐสภาผ่านร่างกฎหมายนี้หมดแล้ว
       
       ซึ่งก็ไม่เร็วไปกว่าเดือนตุลาคม 2556 แน่นอน
       
       ทำงานอยู่ตลอด ยื่นแน่ เปิดสภาสิงหาคม 2556 นี้ก็จะเริ่มขอแรงพี่น้องส.ว.ร่วมทยอยลงชื่อให้ครบ 65 คนตามเงื่อนไข แต่ตัวคำร้องคงต้องรอปรับแก้หลังร่างกฎหมายผ่านวาระ 3 วุฒิสภาก่อน
       
       ตอนนี้ก็กำลังนำคำวินิจฉัยศาลปกครองกลาง 27 มิถุนายน 2556 กรณีโครงการเงินกู้ 3.5 แสนล้านบาทมาเทียบเคียงว่าควรจะเพิ่มประเด็นมาตรา 57 กับ 67 เข้าไปด้วยเลยดีไหม ซึ่งก็ต้องรอเห็นตัวร่างกฎหมายสุดท้ายก่อนอยู่ดี
       
       แต่วันนี้จะลองคิดดัง ๆ ง่าย ๆ ให้อ่านกันทิ้งท้ายนะ...
       
       ตามหลักพื้นฐานการทำงบดุล หรืองบแสดงฐานะการเงินของกิจการ หรือภาษาอังกฤษว่า 'Balance Sheet ที่มีอยู่ 2 หน้าหรือ 2 ฝั่งคือทรัพย์สินกับหนี้สินนั้น ชื่อก็บอกนะว่ามันต้อง balance คือต้องลงรายละเอียดทั้ง 2 ฝั่ง สมมติว่าประเทศหรือแผ่นดินเป็นกิจการ ในกรณีเงินกู้ เวลากู้ได้มาหรือเบิกมาใช้ก็ต้องลงงบดุลทั้งฝั่งทรัพย์สิน และฝั่งหนี้สิน เพราะเวลาใช้คืนเงินต้นหรือดอกเบี้ยก็เอาจากเงินของประเทศหรือของแผ่นดิน แล้วก็นับรวมในเพดานตามกฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะ
       
       วันนี้รัฐบาลจะมาแกล้งโง่ตามคณะกรรมการกฤษฎีกาคณะ 12 ทำไมว่าไม่ใช่เงินแผ่นดิน เพราะเท่ากับบอกว่าไม่ต้องลงบัญชีในฝั่งทรัพย์สินงั้นซิ มันจะเป็นไปได้ยังไง
       
       การลงบัญชีแต่ฝั่งหนี้สินไม่ลงฝั่งทรัพย์สิน ภาษาบัญชีเขาว่าอะไรรู้มั้ย
       
        “ไซฟ่อนเงิน”
       
       เรื่องนี้ผมเคยบอกคนสำคัญในรัฐบาลประชาธิปัตย์ช่วงปี 2552 แล้วว่าท่านกำลังสร้างมาตรฐานใหม่ในการใช้เงินที่ไม่ถูกต้องไว้เป็นตัวอย่างให้รัฐบาลต่อไป แล้วก็จริง รัฐบาลนี้แทบจะลอกพระราชกำหนดไทยเข้มแข็งมาเป็นพระราชกำหนด 3.5 แสนล้านและร่างพระราชบัญญัติ 2 ล้านล้าน
       
       เรื่องนี้ไปจบที่ศาลรัฐธรรมนูญแน่นอน ! 


ที่มา : เงินกู้ ไม่ใช่เงินแผ่นดิน
 


Edited by Stargate-1, 19 กันยายน พ.ศ. 2556 - 12:24.

Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#7 tabbar

tabbar

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 399 posts

ตอบ 19 กันยายน พ.ศ. 2556 - 12:41

โซดาปั่น, on 19 Sept 2013 - 04:49, said:

ส.ธนาคารไทย เขาว่าอย่างไร โดยเฉพาะ ตระกูลโสภณพานิช นายทุนใหญ่ ปชป 009.gif009.gif009.gif009.gif

ถามใคร?


 '' Nobody Perfect ''


#8 winwin191

winwin191

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,520 posts

ตอบ 19 กันยายน พ.ศ. 2556 - 17:49

กระทู้นี้ทำให้ผมกระจ่าง
คนเก่งเป็นง่าย คนดีเป็นยาก




ผู้ใช้ 1 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้

สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 1 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน