Jump to content


Photo
- - - - -

“ณัฏฐา” ปัดขอ กทค.ถอนฟ้อง ผอ.ไทยพีบีเอสยันสู้คดีถึงที่สุด...


  • Please log in to reply
12 ความเห็นในกระทู้นี้

#1 ปุถุชน

ปุถุชน

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 27,531 posts

ตอบ 19 กันยายน พ.ศ. 2556 - 19:49

“ณัฏฐา” ปัดขอ กทค.ถอนฟ้อง ผอ.ไทยพีบีเอสยันสู้คดีถึงที่สุด

เขียนวันที่
วันพฤหัสบดี ที่ 19 กันยายน 2556 เวลา 16:11 น.
เขียนโดย
isranews
หมวดหมู่
Decrease Increase Font size
 
1

“ณัฏฐา” ปัดขอ กทค.ถอนฟ้อง ตามที่ “สุทธิพล” พูดในที่ประชุม กสทช. ผอ.ไทยพีบีเอสยันสู้คดีถึงที่สุด มั่นใจทำหน้าที่สื่อถูกต้อง

nattha01.jpg

 (ณัฏฐา โกมลวาทิน - ภาพจากเฟซบุ๊กส่วนตัว)

จาก กรณีที่มีรายงานข่าวว่า นายสุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ระบุในที่ประชุม กสทช.เมื่อวันที่ 18 ก.ย.2556 ถึงกรณีที่ กทค.ทั้ง 4 คน ประกอบด้วยนายสุทธิพล พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ นายประเสริฐ ศีลพิพัฒน์ และ พล.อ.สุกิจ ขมะสุนทร ยื่นฟ้อง ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ นักวิชาการสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) และ น.ส.ณัฏฐา โกมลวาทิน ผู้ดำเนินการรายการ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ในข้อหาหมิ่นประมาท จากกรณีที่ ดร.เดือนเด่นแสดงความเห็นวิจารณ์มาตรการขยายเวลาคืนคลื่นความถี่ 1800 MHz ว่าอาจทำให้เกิดความเสียหายเป็นหลักแสนล้านบาท ในรายการที่นี่ไทยพีบีเอสที่ น.ส.ณัฏฐาเป็นผู้ดำเนินรายการ ออกอากาศกลางเดือน ส.ค.2556 ที่ผ่านมา

โดย นายสุทธิพล กล่าวว่า ในวันนี้ (19 ก.ย.2556) จะมีผู้ถูกฟ้อง 1 รายเดินทางมาขอไกล่เกลี่ยคดีความกับกทค.โดยแหล่งข่าวระบุว่า ผู้ที่จะเดินทางมาไกล่เกลี่ยคือนางสาวณัฏฐาผู้ดำเนินรายงานจากไทยพีบีเอส และหากการหารือออกมาในแนวทางที่ดีกทค.อาจพิจารณาถอนฟ้องหรือยอมความ ส่วนนางสาวเดือนเด่นนั้นกทค.ไม่ยอมเจรจาด้วย และจะดำเนินคดีให้ถึงที่สุด

 

(อ่าน กทค.จ่อถอนฟ้องยอมไกล่เกลี่ยไทยพีบีเอส)

 

ในช่วงบ่ายวันที่ 19 ก.ย.2556 น.ส.ณัฏฐา ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว Nattha Komolvadhin ถึงกรณีดังกล่าวว่า “อาจจะยังเกิดความสับสน จากข่าวที่ออกมาระบุว่า ไทยพีบีเอสติดต่อเจรจากับ กทค.เพื่อให้ขอถอนฟ้อง ดิฉัน ณัฏฐา โกมลวาทิน ยืนยันว่าไม่เคยติดต่อ กทค. เพื่อขอเจรจาและจุดยืนตรงกับ อ.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ในฐานะผู้ถูกฟ้องจะต่อสู้ในชั้นศาลจนถึงที่สุด”

 

ขณะที่นายสมชัย สุวรรณบรรณ ผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว Somchai Suwanban ถึงกรณีดังกล่าวเช่นกัน มีข้อความว่า “ผม ขอยืนยันว่า ไทยพีบีเอสไม่เคยติดต่อกับ กสทช เพื่อขอเจรจาให้ถอนฟ้องคดีหมิ่นประมาท ตามที่มีข่าวแพร่หลายในสื่อมวลชนหลายฉบับ ในทางตรงข้ามเราได้เตรียมการสู้คดีอย่างถึงที่สุด เพราะมีความมั่นใจว่าเราได้ทำหน้าที่สื่อมวลชนอย่างสุจริตตามมาตรฐานวิชาชีพ”

 

 

 

nattha02.jpg

 

http://www.isranews....pBu9D4.facebook

 

 

 

สนับสนุนคุณณัฏฐา โกมลวาทิน ผู้ดำเนินการรายการ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส และนายสมชัย สุวรรณบรรณ ผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส สู้ถึงที่สุด ไม่ให้พวกนี้ใช้การฟ้องร้องศาลเป็นเครื่องมือกดดัน ข่มขู่.......!


Edited by ปุถุชน, 19 กันยายน พ.ศ. 2556 - 19:53.

เคียงข้างลุงกำนัน ปฏิรูปการเมืองไทย กำจัดระบอบทักษิณ ขับไล่มวลหมู่ขี้ข้า วันที่ 26 พฤษภาคม 2557...


#2 Bookmarks

Bookmarks

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 33,617 posts

ตอบ 19 กันยายน พ.ศ. 2556 - 21:12

ยุคของประชาธิปไตยในดงโจร ใช้วิธีการข่มขู่สื่อ โดยการฟ้อง เพื่อปิดปากไม่ให้สื่อนำความจริงให้สังคมรับรู้ ยุคของไอ้แม้ว ก็ฟ้องนักข่าวสาวเนชั่น 100 ล้าน นักข่าวสาวจะสู้ในชั้นศาล ก็ป๊อดถอนฟ้อง สำนักสื่อไหนไม่ยอมเป็นพวก ไม่ยอมปกปิดความผิดให้ ก็ใช้ ปปง ไปตรวจสอบเงินของเค้า เพื่อหาช่องทางเอาผิด สันดาลพี่กับน้องไม่ต่างกันเลย ยุคทรราชย์ครองเมืองเป็นแบบนี้ทุกที 



#3 เพื่อไทยทำได้ทุกอย่าง

เพื่อไทยทำได้ทุกอย่าง

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,247 posts

ตอบ 19 กันยายน พ.ศ. 2556 - 21:15

ยุคของประชาธิปไตยในดงโจร ใช้วิธีการข่มขู่สื่อ โดยการฟ้อง เพื่อปิดปากไม่ให้สื่อนำความจริงให้สังคมรับรู้ ยุคของไอ้แม้ว ก็ฟ้องนักข่าวสาวเนชั่น 100 ล้าน นักข่าวสาวจะสู้ในชั้นศาล ก็ป๊อดถอนฟ้อง สำนักสื่อไหนไม่ยอมเป็นพวก ไม่ยอมปกปิดความผิดให้ ก็ใช้ ปปง ไปตรวจสอบเงินของเค้า เพื่อหาช่องทางเอาผิด สันดาลพี่กับน้องไม่ต่างกันเลย ยุคทรราชย์ครองเมืองเป็นแบบนี้ทุกที 

 

จะด้วยเหตุเพราะคนไทยลืมง่าย หรืออะไรก็ไม่ทราบนะคะ ยุคไอ้แม้วถูกกระทำย่ำยีมามาก ลองย้อนไปหาข่าวเก่าๆอ่านดูเกี่ยวกับสื่อก็ยังเจอ พอมาสมัยนี้เอาอีกแล้ว แต่สื่อก็ยังยอมตัวเป็นทาสของมันอีกจนได้


ทักษิณเป็นเทพเจ้าจริงๆนะ ไม่เชื่อถาม เสื้อแดง ดูสิ

#4 ปุถุชน

ปุถุชน

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 27,531 posts

ตอบ 19 กันยายน พ.ศ. 2556 - 21:17

ใน ช่วงบ่ายวันที่ 19 ก.ย.2556 น.ส.ณัฏฐา ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว Nattha Komolvadhin ถึงกรณีดังกล่าวว่า “อาจจะยังเกิดความสับสน จากข่าวที่ออกมาระบุว่า ไทยพีบีเอสติดต่อเจรจากับ กทค.เพื่อให้ขอถอนฟ้อง ดิฉัน ณัฏฐา โกมลวาทิน ยืนยันว่าไม่เคยติดต่อ กทค. เพื่อขอเจรจาและจุดยืนตรงกับ อ.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ในฐานะผู้ถูกฟ้องจะต่อสู้ในชั้นศาลจนถึงที่สุด”

 

 

 

คิดถึง"สมจิตต์ นวเครือสุนทร".... 

คิดถึง"ณัฏฐา โกมลวาทิน".....

 

"คิดถึง"กนก รัตน์วงศสกุล"....

ไม่คิดถึง"สรยุทธ สุทัศนะจินดา"


เคียงข้างลุงกำนัน ปฏิรูปการเมืองไทย กำจัดระบอบทักษิณ ขับไล่มวลหมู่ขี้ข้า วันที่ 26 พฤษภาคม 2557...


#5 Bookmarks

Bookmarks

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 33,617 posts

ตอบ 19 กันยายน พ.ศ. 2556 - 21:17

 

ยุคของประชาธิปไตยในดงโจร ใช้วิธีการข่มขู่สื่อ โดยการฟ้อง เพื่อปิดปากไม่ให้สื่อนำความจริงให้สังคมรับรู้ ยุคของไอ้แม้ว ก็ฟ้องนักข่าวสาวเนชั่น 100 ล้าน นักข่าวสาวจะสู้ในชั้นศาล ก็ป๊อดถอนฟ้อง สำนักสื่อไหนไม่ยอมเป็นพวก ไม่ยอมปกปิดความผิดให้ ก็ใช้ ปปง ไปตรวจสอบเงินของเค้า เพื่อหาช่องทางเอาผิด สันดาลพี่กับน้องไม่ต่างกันเลย ยุคทรราชย์ครองเมืองเป็นแบบนี้ทุกที 

 

จะด้วยเหตุเพราะคนไทยลืมง่าย หรืออะไรก็ไม่ทราบนะคะ ยุคไอ้แม้วถูกกระทำย่ำยีมามาก ลองย้อนไปหาข่าวเก่าๆอ่านดูเกี่ยวกับสื่อก็ยังเจอ พอมาสมัยนี้เอาอีกแล้ว แต่สื่อก็ยังยอมตัวเป็นทาสของมันอีกจนได้

 

มันใช้วิธีซื้อสำนักสื่อเลยครับ อย่างมติชั่ว ข่าวสัด กับซื้อนักข่าวขายตัวบางตัวบางตัว 



#6 Uncle-K

Uncle-K

    น้องใหม่

  • Members
  • Pip
  • 49 posts

ตอบ 19 กันยายน พ.ศ. 2556 - 21:24

 

ยุคของประชาธิปไตยในดงโจร ใช้วิธีการข่มขู่สื่อ โดยการฟ้อง เพื่อปิดปากไม่ให้สื่อนำความจริงให้สังคมรับรู้ ยุคของไอ้แม้ว ก็ฟ้องนักข่าวสาวเนชั่น 100 ล้าน นักข่าวสาวจะสู้ในชั้นศาล ก็ป๊อดถอนฟ้อง สำนักสื่อไหนไม่ยอมเป็นพวก ไม่ยอมปกปิดความผิดให้ ก็ใช้ ปปง ไปตรวจสอบเงินของเค้า เพื่อหาช่องทางเอาผิด สันดาลพี่กับน้องไม่ต่างกันเลย ยุคทรราชย์ครองเมืองเป็นแบบนี้ทุกที 

 

จะด้วยเหตุเพราะคนไทยลืมง่าย หรืออะไรก็ไม่ทราบนะคะ ยุคไอ้แม้วถูกกระทำย่ำยีมามาก ลองย้อนไปหาข่าวเก่าๆอ่านดูเกี่ยวกับสื่อก็ยังเจอ พอมาสมัยนี้เอาอีกแล้ว แต่สื่อก็ยังยอมตัวเป็นทาสของมันอีกจนได้

 

สำหรับผมนะ ไม่ใช่ลืมง่ายลืมยากหรอกครับ แต่พวกนี้มันมีเรื่องแปลกๆชั่วๆเยอะจนจำไม่ไหว 



#7 so what?

so what?

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,807 posts

ตอบ 19 กันยายน พ.ศ. 2556 - 22:08

ให้กำลังใจทั้งสามท่านครับ

 

ผมไม่รู้จักคุณสมชัยกับคุณณัฏฐาเท่าไหร่ แต่เห็นบทบาทของดร.เดือนเด่น มานานพอสมควร ขอแสดงความชื่นชมในความเป็นนักวิชาการมืออาชีพของท่าน ที่ไม่เคยยอมลดตัวลงไปเป็นขี้ข้านักการเมืองและพ่อค้าคนไหน



#8 ปุถุชน

ปุถุชน

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 27,531 posts

ตอบ 20 กันยายน พ.ศ. 2556 - 09:12

10 คำถามที่ กทค. ควรตอบต่อสาธารณะ ก่อนฟ้องร้องนักวิชาการและสื่อมวลชน ตีพิมพ์ 2013-09-05


สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์

 

คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.)  มีมติขยายเวลาการใช้คลื่น 1800 MHz ของ True Move และ DPC ออกไป 1 ปี โดยไม่นำคลื่นมาประมูล และได้ฟ้องหมิ่นประมาทนักวิชาการและสื่อมวลชน ที่ตรวจสอบ ทักท้วง หรือรายงานการดำเนินการดังกล่าว   แม้ว่า การฟ้องร้องจะเป็นสิทธิที่ กทค. สามารถทำได้ตามกฎหมาย  ผมเห็นว่า ก่อนจะดำเนินการดังกล่าว กทค. ควรตอบคำถาม 10 ข้อต่อไปนี้ต่อสาธารณะ ซึ่งรวมถึงประชาชนผู้ใช้บริการที่อาจได้รับผลกระทบและประชาชนผู้เสียภาษี เสียก่อน

  1. ตั้งแต่รับตำแหน่งเมื่อเดือนตุลาคม 2554  ท่านไม่ทราบหรือว่า สัมปทานของ True Move และ DPC จะหมดอายุภายในเดือนกันยายน 2556?
  2. ท่านไม่ทราบหรือว่า แผนแม่บทบริหารคลื่นความถี่ของ กสทช. ที่ท่านมีส่วนร่วมจัดทำออกมาเมื่อเดือนเมษายน 2555 กำหนดให้คืนคลื่นเมื่อสัมปทานหมดอายุ?
  3. ท่านไม่ทราบหรือว่า  กฎหมาย กสทช. ห้ามต่ออายุสัมปทาน และให้จัดสรรคลื่นโทรคมนาคมด้วยการประมูลเท่านั้น?
  4. ท่านไม่ทราบหรือว่า อนุกรรมการที่ปรึกษากฎหมายของ กสทช. เคยให้ความเห็นในกรณีที่คล้ายกัน (กรณีคลื่น 800 MHz) ว่า ไม่สามารถขยายเวลาการใช้คลื่นได้ และนักวิชาการด้านกฎหมายจำนวนมากก็แสดงความเห็นในลักษณะเดียวกัน?
  5. ท่านเคยขอความเห็นจากหน่วยงานด้านกฎหมายภายนอก เช่น คณะกรรมการกฤษฎีกา หรือแม้กระทั่งอนุกรรมการที่ปรึกษากฎหมายของ กสทช. เอง  ก่อนมีมติต่อเวลาการใช้คลื่นหรือไม่ หรือท่านเข้าใจไปเองว่าสามารถทำได้?
  6. ท่านได้แจ้งให้ผู้ใช้ของ True Move และ DPC ทราบล่วงหน้าแต่เนิ่นๆ ตั้งแต่ปี 2555 หรือไม่ว่า สัมปทานดังกล่าวจะหมดอายุลง?
  7. ท่านได้ห้าม True Move และ DPC ขายบริการเกินอายุสัมปทาน ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาตามมาหรือไม่?
  8. ท่านได้เร่งดำเนินการให้ผู้ใช้บริการจำนวนมากสามารถโอนย้ายข้ามเครือ ข่าย (mass number portability) เพื่อลดปัญหาผู้ใช้บริการติดค้างอยู่ในโครงข่ายสัมปทานที่จะหมดอายุหรือไม่?
  9. ท่านได้เร่งจ้างที่ปรึกษาเพื่อตีราคาคลื่นและออกแบบการประมูลคลื่น 1800 MHz หรือไม่ ก่อนที่จะอ้างว่าประมูลคลื่นไม่ทัน?
  10. เวลากว่า 420 วัน นับตั้งแต่ประกาศแผนแม่บทฯ จนถึงวันที่ท่านมีมติขยายเวลาการใช้คลื่น ยังไม่เพียงพออีกหรือในการแก้ปัญหา หากท่านปฏิบัติงานตามหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ?

ในฐานะที่ กทค. เป็นหน่วยงานอิสระของรัฐที่ต้องรับผิดชอบต่อประชาชน ผมหวังว่าท่านจะตอบคำถามดังกล่าวอย่างตรงไปตรงมา และจะดีอย่างยิ่งหากท่านเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถซักถามข้อเท็จจริง และให้ข้อคิดเห็นต่อท่านได้โดยไม่ต้องเกรงกลัวว่าจะถูกฟ้องร้อง หากความเห็นดังกล่าวไม่เป็นที่ถูกใจท่าน

 

http://tdri.or.th/td...estions-to-ntc/

 

 

 

ความเชื่อถือ ความไว้วางใจของสังคมต่อคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) และ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ)นั้นต่างกันมาก......ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า


เคียงข้างลุงกำนัน ปฏิรูปการเมืองไทย กำจัดระบอบทักษิณ ขับไล่มวลหมู่ขี้ข้า วันที่ 26 พฤษภาคม 2557...


#9 ปุถุชน

ปุถุชน

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 27,531 posts

ตอบ 20 กันยายน พ.ศ. 2556 - 09:20

ให้กำลังใจทั้งสามท่านครับ

 

ผมไม่รู้จักคุณสมชัยกับคุณณัฏฐาเท่าไหร่ แต่เห็นบทบาทของดร.เดือนเด่น มานานพอสมควร ขอแสดงความชื่นชมในความเป็นนักวิชาการมืออาชีพของท่าน ที่ไม่เคยยอมลดตัวลงไปเป็นขี้ข้านักการเมืองและพ่อค้าคนไหน

 

 

สถาบันทีดีอาร์ไอสร้างสม สะสม ชื่อเสียง ความน่าเชื่อถือมานมนานตั้งแต่ ดร.อัมมาร สยามวาลา ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวาณิชย์ ฯลฯ


เคียงข้างลุงกำนัน ปฏิรูปการเมืองไทย กำจัดระบอบทักษิณ ขับไล่มวลหมู่ขี้ข้า วันที่ 26 พฤษภาคม 2557...


#10 ปุถุชน

ปุถุชน

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 27,531 posts

ตอบ 20 กันยายน พ.ศ. 2556 - 09:21

กระทู้: โดย...ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)

 

คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) มีมติขยายเวลาการใช้คลื่น 1800 MHz ของ True Move และ DPC ออกไป 1 ปี โดยไม่นำคลื่นมาประมูล และได้ฟ้องหมิ่นประมาทนักวิชาการที่ตรวจสอบและให้ความเห็นทางวิชาการทักท้วง ตลอดจนสื่อมวลชนที่รายงานความเห็นดังกล่าว แม้ว่าการฟ้องร้องจะเป็นสิทธิที่ กทค. สามารถทำได้ตามกฎหมาย ผมเห็นว่าก่อนจะดำเนินการดังกล่าว กทค. ควรจะต้องตอบคำถาม 10 ข้อต่อสาธารณะเสียก่อน

หลังจากที่ผมตั้งคำถามไป ก็ปรากฏว่าเว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้ลงคำชี้แจงที่มีสาระซ้ำๆ กับที่ กทค. เคยชี้แจงก่อนหน้านั้นแล้ว

โดยไม่ได้ตอบคำถามที่สำคัญหลายข้ออีกเช่นเดิม โดยชี้แจงเพิ่มเติมว่า “ได้อธิบายข้อสงสัยต่างๆ อย่างชัดเจนแล้ว” “คำถาม 10 ข้อที่ตั้งมาเป็นประเด็นเดิมๆ ที่นำเสนอข้อเท็จจริงเพียงส่วนเดียว” และ “หาก กทค. ไปตอบคำถาม 10 ข้อดังกล่าว ก็จะทำให้สังคมเกิดความสับสนหนักขึ้นไปอีก” และยังกล่าวหาผมว่า “พยายามเบี่ยงเบนประเด็น”

ผมประหลาดใจมากต่อท่าทีล่าสุดของสำนักงาน กสทช. เพราะท่าทีดังกล่าวกำลังจะพัฒนาไปถึงขั้นที่ว่า ลำพังการตั้งคำถามโดยไม่ได้วิจารณ์อะไร ก็กลายเป็นสิ่งที่ไม่สามารถทำได้อีกต่อไปแล้ว ซึ่งนับว่าไปไกลกว่าท่าทีก่อนหน้านั้นของ กทค. และสำนักงาน กสทช. ซึ่งก็ไม่เป็นมิตรต่อการวิพากษ์วิจารณ์ และความเห็นที่แตกต่างเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว

ในประเด็นสาธารณะเรื่องการต่ออายุการใช้งานคลื่น 1800 MHz คงปฏิเสธไม่ได้ว่ามีผู้เห็นแตกต่างจากท่านจำนวนไม่น้อย

ไม่เฉพาะผมและนักวิชาการจากทีดีอาร์ไอเท่านั้น แต่ยังมีนักกฎหมาย นักวิชาการ สื่อมวลชน ภาคประชาสังคม และประชาชนจำนวนมากที่แสดงออกในเครือข่ายสังคม (Social Media) และตั้งข้อสังเกตถึงความชอบด้วยกฎหมายของการดำเนินการของ กทค.

ต่อประเด็นสาธารณะเช่นนี้ ผมมีความเห็นว่า กทค. และสำนักงาน กสทช. ในฐานะเจ้าหน้าที่และองค์กรของรัฐที่อาศัยงบประมาณและได้ค่าตอบแทนจาก ทรัพยากรสาธารณะ ไม่ควรจะพยายามเบี่ยงเบนประเด็นและกล่าวโทษผู้อื่นอีกต่อไป

แต่ควรตอบคำถาม 10 ข้อต่อไปนี้ต่อสาธารณะอย่างตรงไปตรงมา

ตั้งแต่รับตำแหน่งเมื่อเดือนตุลาคม 2554 ท่านไม่ทราบหรือว่าสัมปทานของ True Move และ DPC จะหมดอายุภายในเดือนกันยายน 2556?

ท่านไม่ทราบหรือว่า แผนแม่บทบริหารคลื่นความถี่ของ กสทช. ที่ท่านมีส่วนร่วมจัดทำออกมาเมื่อเดือนเมษายน 2555 กำหนดให้คืนคลื่นเมื่อสัมปทานหมดอายุ?

ท่านไม่ทราบหรือว่ากฎหมาย กสทช. ห้ามต่ออายุสัมปทาน และให้จัดสรรคลื่นโทรคมนาคมด้วยการประมูลเท่านั้น?

ท่านไม่ทราบหรือว่าอนุกรรมการที่ปรึกษากฎหมายของ กสทช. เคยให้ความเห็นในกรณีที่คล้ายกัน (กรณีคลื่น 800 MHz) ว่าไม่สามารถขยายเวลาการใช้คลื่นได้ และนักวิชาการด้านกฎหมายจำนวนมาก ก็แสดงความเห็นในลักษณะเดียวกัน?

ท่านเคยขอความเห็นจากหน่วยงานด้านกฎหมายภายนอก เช่น คณะกรรมการกฤษฎีกา หรือแม้กระทั่งอนุกรรมการที่ปรึกษากฎหมายของ กสทช. เอง ก่อนมีมติต่อเวลาการใช้คลื่นหรือไม่ หรือท่านเข้าใจไปเองว่าสามารถทำได้?

ท่านได้แจ้งให้ผู้ใช้ของ True Move และ DPC ทราบล่วงหน้าแต่เนิ่นๆ ตั้งแต่ปี 2555 หรือไม่ว่า สัมปทานดังกล่าวจะหมดอายุลง?

ท่านได้ห้าม True Move และ DPC ขายบริการเกินอายุสัมปทาน ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาตามมาหรือไม่?

ท่านได้เร่งดำเนินการให้ผู้ใช้บริการจำนวนมากสามารถโอนย้ายข้ามเครือข่าย (Mass Number Portability) เพื่อลดปัญหาผู้ใช้บริการติดค้างอยู่ในโครงข่ายสัมปทานที่จะหมดอายุหรือไม่?

ท่านได้เร่งจ้างที่ปรึกษาเพื่อตีราคาคลื่นและออกแบบการประมูลคลื่น 1800 MHz หรือไม่ ก่อนที่จะอ้างว่าประมูลคลื่นไม่ทัน?

เวลากว่า 420 วัน นับตั้งแต่ประกาศแผนแม่บทฯ จนถึงวันที่ท่านมีมติขยายเวลาการใช้คลื่น ยังไม่เพียงพออีกหรือในการแก้ปัญหา หากท่านปฏิบัติงานตามหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ?

ผมหวังอย่างยิ่งว่าท่านจะตอบคำถามดังกล่าวเป็นข้อๆ อย่างตรงไปตรงมา เพราะไม่น่าจะมีคำถามใดๆ ที่เกี่ยวข้องประเด็นสาธารณะที่เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานรัฐ ซึ่งอ้างว่าได้ดำเนินการไปอย่างซื่อสัตย์สุจริต และปฏิบัติตามกฎหมาย ไม่สะดวกใจที่จะตอบ

ที่มา POSTTODAY

 

http://www.stock2mor...?t=49898&page=1


เคียงข้างลุงกำนัน ปฏิรูปการเมืองไทย กำจัดระบอบทักษิณ ขับไล่มวลหมู่ขี้ข้า วันที่ 26 พฤษภาคม 2557...


#11 baboon

baboon

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,801 posts

ตอบ 20 กันยายน พ.ศ. 2556 - 10:46

http://www.naewna.com/business/69200

 

  • text-size1.png text-size2.png text-size3.png facebook-icon.png twitter-icon.png photos.png
กระบวนการแทรกแซงองค์กรรัฐในคราบ“นักวิชาการ”
วันพฤหัสบดี ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556, 06.00 น.
1
 

เห็นกระบวนการเคลื่อนไหวของกลุ่มเครือข่ายที่ถูก กทค. และสำนักงาน กสทช. ฟ้องร้องแล้วก็ยิ่งมั่นใจว่าองค์กรของรัฐไม่มีที่พึ่งที่ไหนแล้ว นอกจากศาลยุติธรรม เพราะความจริงที่คนกลุ่มนี้นำเสนอและพยายามบิดเบือน

โดยพยายามไปเอาผู้รู้ต่างๆ ให้เข้ามาตำหนิสิ่งที่ กสทช. ทำ คือ ความจริง
เพียงครึ่งเดียว

ข่าวที่มีการนำเสนอ และการเคลื่อนไหวในขณะนี้ไปพูดเพียงว่า กทค.ฟ้องสื่อ ฟ้องนักวิชาการ ส่วนTDRI ทำเพื่อชาติ แล้วไปขยายความว่า กทค. ลิดรอนสิทธิ ข่มขู่สื่อ ไม่ยอมให้ตรวจสอบ แต่ถ้าพิจารณาดีๆแล้ว นี่คือความจริงเสี้ยวเดียวบวกความไม่จริงอีกกว่าครึ่ง..!

แต่สิ่งที่หายไป คือเหตุที่แท้จริงแห่งการฟ้องร้องคดีในครั้งนี้ เป็น
มุมมองที่กลุ่มเครือข่ายนี้เลือกที่จะไม่ทำให้ปรากฏออกมา

ข้อมูลที่ว่านักวิชาการใช้ข้อมูลมั่ว ใช้เรื่องผิดจากข้อเท็จจริง สื่อลงข่าวโดยไม่ได้ตรวจสอบให้ดี โดยลงข่าวเฉพาะด้านลบทำให้องค์กรและพนักงานของรัฐที่ถูกโจมตีได้รับความเสียหายและถูกเข้าใจผิด โดยไม่เสนออีกมุมมอง ทั้งๆ ที่มีข้อมูลที่มีการชี้แจงแล้ว ทั้งนี้เพื่อมาโจมตีให้ร้ายองค์กรของรัฐ
ซึ่งกำลังปฏิบัติภารกิจช่วยเหลือผู้บริโภคกว่า 17 ล้านคน ข้อเท็จจริง
ส่วนนี้กลับไม่มีใครกล่าวถึง

ในบางครั้ง ทุกคนย่อมมีข้อผิดพลาดถ้าสื่อทำผิด นักวิชาการ TDRI 
ทำผิด เกิดความเสียหายหรือละเมิดสิทธิผู้อื่น ถ้าออกมาน้อมรับแล้วแก้ไข นั่นก็เป็นสิ่งที่อาจให้อภัยได้ แต่ถ้าทำผิดพลาดแล้ว แต่กลับไม่ยอมรับผิด
แล้วยิ่งไปโจมตีไปตำหนิผู้ที่เขาได้รับผลกระทบ โดยไปบิดเบือนข้อมูลมากขึ้น กล่าวคือคนเหล่านี้เห็นว่าตัวเองคือเทวดาไม่เคยผิดพลาด คนอื่นผิดและด่าเขาได้ แต่พอตัวเองผิดพลาด คนที่เสียหายเขาใช้สิทธิปกป้องศักดิ์ศรีของ
เขาเอง กลับออกมาร้องแรกแหกกระเชอบอกว่าคนที่ฟ้องร้องเพื่อขอความยุติธรรมต่อศาล คือ คนเลว นี่มันอะไรกัน...! สำหรับบ้านนี้ เมืองนี้

ถ้านักวิชาการ TDRI ไปวิพากษ์วิจารณ์ผู้อื่น ไปทำหน้าที่ชำแหละตรวจสอบองค์กรต่างๆ ของรัฐได้ ก็ต้องกล้าที่จะยอมรับการตรวจสอบในกระบวนการของศาล และต้องมีสปิริตที่จะแสดงความรับผิดชอบถ้าการดำเนินงานของตนมีข้อผิดพลาดสร้างความเสียหายกับผู้อื่น

ก็เพราะคนกลุ่มนี้เป็นอย่างนี้ ดังนั้นแนวทางในการวิพากษ์วิจารณ์
จึงไม่ได้มุ่งไปที่วิชาการ แต่มุ่งไปมองคนอื่นว่าเลวไปหมด ส่วนใครจะมา
แตะต้องกลุ่มเครือข่ายของข้าไม่ได้ ข้าเป็นกลุ่มเครือข่าย “ฐานันดรศักดิ์พิเศษ” ใครแตะต้องพวกข้าเจอดีแน่ ที่ผ่านมาจึงไม่มีใครกล้าหือ ทำให้คนกลุ่มนี้มีอำนาจที่จะแทรกแซงกดดันให้องค์กรต่างๆ ต้องเชื่อฟัง ถ้าสิ่งที่
เรียกร้องเป็นสิ่งที่ถูกต้องก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าสิ่งที่เรียกร้องเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง
นี่เป็นอันตรายใหญ่หลวงต่อประเทศชาติเพราะจะทำให้ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลการครอบงำในทางความคิดแบบผิดๆ ของกลุ่มคนเพียงไม่กี่คน

จึงไม่ต่างอะไรกับเผด็จการฮิตเลอร์ในอดีต เพียงแต่ใช้รูปแบบที่แตกต่างด้วยการประดิษฐ์วาทกรรมที่สวยหรูและอ้างความเป็นวิชาการและเครือข่ายสังคมบังหน้า แต่จากข้อเท็จจริง ถ้าวิเคราะห์ให้ดี คนพวกนี้อันตรายกว่า
ฮิตเลอร์เสียอีก

เพราะไม่มีใครตรวจสอบได้ แม้แต่ ปปช. ก็ไม่มีอำนาจตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินไม่ต้องเปิดเผย ด่าคนได้ฟรีโดยใช้ข้อมูลมั่ว แต่ถ้าเขาไปใช้สิทธิ
ทางศาลเพื่อปกป้องสิทธิของเขา ก็จัดเวทีถล่มหาว่าข่มขู่ ลิดรอนสิทธิ
นักวิชาการ ถ้าเป็นเช่นนี้ ความยุติธรรมจะอยู่ที่ไหน..!

ถึงเวลาแล้วที่ความจริง ความถูกต้อง จะต้องปรากฏ และที่พึ่งสุดท้ายเพื่อสร้างบรรทัดฐานในสังคมให้ไปสู่ความถูกต้องคงหนีไม่พ้น “ศาลยุติธรรม”



#12 baboon

baboon

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,801 posts

ตอบ 20 กันยายน พ.ศ. 2556 - 10:47

งานนี้รอดูกันยาวๆ



#13 ปุถุชน

ปุถุชน

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 27,531 posts

ตอบ 23 กันยายน พ.ศ. 2556 - 22:21

ชี้ “เดือนเด่น-ณัฏฐา” ติชมสุจริตไม่หมิ่นประมาท-จี้ กทค.ถอนฟ้อง
เขียนวันที่
วันพุธ ที่ 18 กันยายน 2556 เวลา 10:00 น.
เขียนโดย
isranews
หมวดหมู่
Decrease Increase Font size
 

เครือ ข่ายนัก กม.อาเซียนจี้ กทค.ถอนฟ้อง “เดือนเด่น-ณัฏฐา” ชี้ยับยั้งเสรีภาพการแสดงออก อ.นิติฯ มธ.ระบุติชมสุจริตเป็นข้อยกเว้นไม่ต้องรับผิดคดีหมิ่นประมาท “ซีป้า” แปลกใจองค์กรสาธารณะฟ้องผู้ตรวจสอบ

duen_nat2.jpg

 (เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ - ณัฏฐา โกมลวาทิน)

เมื่อวันที่ 17 ก.ย.2556 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) มีการจัดงานเสวนา ในหัวข้อ “เสรีภาพการตรวจสอบกับราคาที่ต้องจ่าย” กรณีที่กรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ฟ้องนักวิชาการและสื่อ

จาก เสวนาครั้งนี้เกิดขึ้นเนื่องจาก กทค.ทั้ง 4 คน ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) โดยนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. ฟ้องร้อง ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ นักวิชาการสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) และ น.ส.ณัฏฐา โกมลวาทิน ผู้ดำเนินรายการ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ในคดีหมิ่นประมาท จากกรณีวิพากษ์วิจารณ์มาตรการขยายเวลาคืนคลื่น 1800 MHz ที่จะสิ้นสุดอายุสัมปทานในวันที่ 15 ก.ย.2556 ว่าอาจทำให้เกิดความเสียหายหลักแสนล้านบาท

 

แนะ กทค.ถอนฟ้อง “เดือนเด่น-ณัฏฐา”

ช่วงต้น นายยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ตัวแทนประเทศไทยของเครือข่ายนักกฎหมายสื่อมวลชนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้อ่านแถลงการณ์ของเครือข่ายฯ ต่อถึงกรณีดังกล่าว มีใจความว่า เครือข่ายฯ รู้สึกผิดหวังต่อกรณีดังกล่าว ด้วยเหตุผล 1.ดร.เดือนเด่นและ น.ส.ณัฏฐาเพียงแต่ใช้สิทธิในการแสดงออกเท่านั้น ซึ่งเรื่องดังกล่าวถือเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะและผู้บริโภค 2.การฟ้องหมิ่นประมาท ดร.เดือนเด่นและ น.ส.ณัฏฐาจะเป็นการยับยั้งเสรีภาพของนักวิชาการและสื่อ และเป็นไปได้ว่าจะเป็นการปิดปากการเสวนาสาธารณะเกี่ยวกับเรื่องนี้ และ 3.เสรีภาพในการแสดงออกเป็นปัจจัยสำคัญ ในการตระหนักถึงหลักความโปร่งใสและตรวจสอบได้ แทนที่จะฟ้องหมิ่นประมาท กทค.ทั้ง 4 คนควรจะแลกเปลี่ยนความเห็นต่อกรณีดังกล่าว กับประชาชนชาวไทยที่เป็นผู้มีส่วนได้เสียกับประเด็นนี้

“เรา ขอเรียกร้องให้ กทค.ถอนฟ้องคดีหมิ่นประมาทต่อกรณี และสนับสนุนให้ กทค.ทั้ง 4 คนนำข้อถกเถียงนี้ไปสู่การอภิปรายกับประชาชนไทยแทน” นายยิ่งชีพกล่าว

 

อ.นิติฯ มธ.ชี้คดีหมิ่นประมาท ถ้าติชมสุจริตไม่ต้องรับผิด

จากนั้นเป็นการเสวนาในหัวข้อ “เสรีภาพการตรวจสอบกับราคาที่ต้องจ่าย”

น.ส.สาวตรี สุขศรี อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มธ. กล่าวว่า ที่ กทค.ฟ้อง ดร.เดือนเด่น ไม่ใช่เฉพาะที่ให้สัมภาษณ์ในรายการทีนี่ไทยพีบีเอสเท่านั้น แต่ฟ้องที่ ดร.เดือนเด่นไปพูดหลายๆ ที่ จริงๆ ไม่อยากโจมตีองค์กรใดองค์กรหนึ่ง อยากจะพูดในแง่หลักการทางกฎหมาย ใน 2 ประเด็น 1.หลักการทางกฎหมายทำได้หรือไม่ และ 2.ถ้าทำได้ควรทำหรือไม่

 

น.ส.สาว ตรีกล่าวว่า เรื่องแรก ถ้าดูแถลงการณ์ที่ กทค.ออกมาว่าเป็นการใช้สิทธิทางศาล ทั้งนี้ หลักการคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ในหลายๆ ประเทศรวมถึงประเทศไทยจะมีความย้อนแย้ง เพราะแม้เรามีรัฐธรรมนูญ มาตรา 45 รับรองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นไว้ก็ตาม แต่ก็มีข้อยกเว้น เช่นการออกกฎหมาย ซึ่งกฎหมายหมิ่นประมาทก็เป็นการยกเว้นตามมาตรา 45 ซึ่งที่ กทค.ใช้ฟ้องคือประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 และมาตรา 328 แต่ก็มีมาตรา 329 ระบุว่า แม้จะหมิ่นประมาทแต่ถ้าเป็นการติชมโดยสุจริตไม่ต้องรับผิด

“คำ ถามว่าโดยสุจริตคืออะไร โดยสุจริตก็คือเชื่อโดยสุจริตใจ แม้จะเป็นความเข้าใจผิด แต่คุณเชื่อว่าจริง กฎหมายเขียนไว้ว่าคุณพูดได้ ถ้าดูที่ ดร.เดือนเด่นถูกฟ้อง มีการนำงานวิจัยเรื่องความเสียหาย 1.6 แสนล้านบาทมาอ้างอิง ซึ่งลักษณะการพูดเช่นนี้ไม่ใช่การบิดเบือน ดังนั้นที่ กทค.บอกว่าถูกบิดเบือนทำให้เสียหาย โดยหลักกฎหมาย กทค.มีสิทธิแน่นอน แต่ฟ้องแล้วจะมีการยกเว้นความผิดอะไรหรือไม่” น.ส.สาวตรีกล่าว

 

ติงองค์กรสาธารณะ ควร “อดกลั้น” มากกว่านี้

น.ส.สาว ตรี กล่าวว่า เรื่องที่สอง แม้กฎหมายจะให้ใช้ใช้สิทธิฟ้องร้องหมิ่นประมาทก็ตาม แต่ด้วยสถานะขององค์กรอย่าง กสทช. แม้จะใช้สิทธิได้ แต่จะมีคำถามว่า ควรจะใช้สิทธิหรือไม่ เพราะประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329 โดยเจตนาคือจะให้วิพากษ์วิจารณ์บุคคลสาธารณะ หรือองค์กรที่ทำงานเกี่ยวกับประโยชน์สาธารณะได้ เพราะแม้ กสทช.จะเป็นองค์กรอิสระ แต่ไม่ได้หมายความว่าอิสระจากการตรวจสอบ แค่อิสระจากรัฐบาล ถ้า กสทช.ดำเนินนโยบายต่างๆ จะต้องถูกตรวจสอบได้กสทช.ในฐานะที่เป็นองค์กรสาธารณะ ควรจะเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนตรวจสอบคุณเอง

น.ส.สาว ตรี กล่าวว่า ที่สำคัญกฎหมายหมิ่นจะใช้มากใช้น้อย จะมีโทษมากโทษน้อย ขึ้นอยู่กับความอดทนอดกลั้นของคนในสังคม ถ้าบุคคลธรรมดาทั่วๆ ไป เราคงไปคาดหมายให้เขาอดทนอดกลั้นไม่ได้ ลุงคนหนึ่งเขาถูกด่า เขาก็มีสิทธิที่จะไปฟ้องหมิ่นประมาท แต่องค์กรหรือบุคคลสาธารณะ ประชาชนจะคาดหมายว่า คุณจะมีความอดทนอดกลั้นมากกว่าปกติ เพราะคุณทำนโยบายเกี่ยวกับประชาชนจำนวนมาก การถูกวิพากษ์วิจารณ์จึงเป็นเรื่องปกติ

“ดัง นั้นการใช้กฎหมายฉบับนี้ ไปข่มขู่ ว่าอย่าวิจารณ์ฉันนะ จะฟ้องนะ สำหรับองค์กรสาธารณะ ก็รับไม่ได้เหมือนกัน ถ้า กทค.ทั้ง 4 คน จะอ้างว่า ฉันก็เป็นคนธรรมดา ความอดทนมีจำกัด ส่วนตัวมองว่า ถ้าทนการวิพากษ์วิจารณ์ไม่ได้ กลับไปนอนเลี้ยงหลานจะดีกว่า เพราะคุณเป็นบุคคลสาธารณะ ควรจะมีความอดทนอดกลั้นมากกว่า การใช้กฎหมายลักษณะนี้ ส่วนตัวจึงมองว่าเป็นการข่มขู่คุกคาม” น.ส.สาวตรีกล่าว

ท้า กสทช.เดิมพันเก้าอี้ หากศาลตัดสินว่าไม่ผิด

ด้าน น.ส.สุวรรณา สมบัติรักษาสุข ผู้จัดการสถานีวิทยุจุฬาลงกรณ์ กล่าวว่า ที่มาของ กสทช.เกิดจาก พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 เพื่อมาจัดสรรคลื่นความถี่ ให้เกิดต่อประโยชน์สาธารณะ และลดช่องว่างในสังคม จึงเป็นที่มาทำให้ กสทช.เป็นองค์กรอิสระ แต่ไม่ใช่อิสระจากการวิพากษ์วิจารณ์ ในอีกด้านการถูกวิพากษ์วิจารณ์ ยังทำให้ กสทช.ทรงความชอบธรรมในการทำภารกิจเหล่านั้นได้

 

น.ส.สุว รรณา กล่าวว่า ถ้าไปดูใน พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 และ พ.ร.บ.ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2544 ก็ระบุว่า อีกหน้าที่หนึ่งของ กสทช. คือการส่งเสริมให้สื่อกำกับดูแลกันเอง ดังนั้นการฟ้องหมิ่นประมาทนี้จึงเป็นการทำลายการกำกับดูแลกันเองของสื่อนอก จากนี้ ไทยพีบีเอสมีกฎหมายของตัวเอง มีช่องทางร้องเรียน ทำไม กสทช.ไม่ใช่ช่องทางนั้น กลับไปฟ้องหมิ่นประมาทเลย

“คดี นี้ กสทช.ฟ้องตรงต่อศาล ยังไม่มีการไต่สวนมูลฟ้องเลย บุคคลทั้ง 2 จึงยังไม่ได้เป็นจำเลย แต่ผลกระทบคือสังคมมองว่าบุคคลทั้ง 2 เป็นผู้กระทำผิดไปแล้ว” น.ส.สุวรรณากล่าว

น.ส.สุวรรณา กล่าวว่า ส่วนตัวก็เป็นนักวิชาการและสื่อที่ตรวจสอบ กสทช.อยู่เสมอ เมื่อรู้ข่าวการฟ้องครั้งนี้ ก็รู้สึกหวาดหวั่นและหวาดกลัว หากนักวิชาการและสื่ออื่นๆ รู้สึกหวาดหวั่นและหวาดกลัว ก็จะทำให้ กสทช.ปราศจากการตรวจสอบอย่างแท้จริง

"อยาก ถามว่าท้ายสุดหากศาลตัดสินว่า ดร.เดือนเด่นและ น.ส.ณัฎฐาไม่มีความผิด ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ กสทช.จะกล้าเดิมพันความเสียหายนี้ด้วยตำแหน่งและเกียรติยศหรือไม่" น.ส.สุววรรณกล่าว

 

“ซีป้า” ชี้การฟ้องปิดปากผู้ตรวจสอบมีมากขึ้น

น.ส.กายาทรีย์ เวนกิตสวารัน ผอ.บริหารเครือข่ายสมาคมผู้สื่อข่าวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ซีป้า) กล่าวผ่านล่ามว่า การที่องค์กรกำกับดูแลสื่อมาฟ้องสุนัขเฝ้าบ้านก็เป็นเรื่องที่แปลก เร็วๆ นี้มีประชาชนถูกฟ้องหมิ่นประมาทถูกฟ้องโดยองค์กรสาธารณะ เช่นในประเทศสิงคโปร์ ที่คณะหนึ่งในมหาวิทยาลัยรับแห่งหนึ่งฟ้องบล็อกเกอร์ จึงเห็นได้ชัดเจนว่าในภูมิภาคนี้ องค์กรที่ทำหน้าที่ให้บริการสาธารณะกลับฟ้องเพื่อปิดปากผู้อื่น ทั้งๆ ที่นโยบายสาธารณะส่งผลกระทบต่อประชาชน แต่องค์กรผู้ให้บริการกลับฟ้องประชาชนเสียเอง รวมถึงมีการฟ้องร้องสื่อ ทั้งๆ ที่ ถ้าสื่อไม่ได้ตรวจสอบองค์กรเหล่านี้ ก็น่าสงสัยเหมือนกันว่า แล้วสาธารณชนจะเป็นอย่างไร

“เป็น แนวโน้มในภูมิภาคนี้ที่องค์กรสาธารณะจะฟ้องผู้ตรวจสอบ เพื่อให้เสียงวิพากษ์วิจารณ์ลดน้อยลงไป เพราะแม้กฎหมายจะมีให้ความคุ้มครองระดับหนึ่ง แต่กฎหมายยังปกป้องประชาชนไม่ได้จากการกระทำลักษณะนี้ ดังนั้นจะมีการแสวงประโยชน์จากการใช้กฎหมายหมื่นประมาท สร้างบรรยากาศแห่งความหวาดกลัว ทำให้สื่อไม่กล้าตรวจสอบองค์กรเหล่านั้น แม้การวิพากษ์วิจารณ์จะทำไปเพื่อประโยชน์สาธารณะ” น.ส.กายารีย์กล่าว

 

นักวิชาการติง กสทช.มีปัญหา “ธรรมาภิบาล”

นายวรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง นักวิจัยกลุ่มติดตามนโยบายสื่อและโทรคมนาคม NBTC Policy Watch กล่าวว่า กสทช.มีอำนาจมากในการจัดการกับสื่อในหลายๆ มิติ ทั้งกำกับดูแล ผ่านการจัดสรรคลื่น การซื้อสื่อ ผ่านทางการลงโฆษณาต่างๆ และล่าสุด การฟ้องร้องดำเนินคดี ที่ตนมองว่าเป็นการคุกคาม

 

นาย วรพจน์ กล่าวว่า อยากจะพูดถึงธรรมาภิบาล ที่ผ่านมา กสทช.ยังทำตรงนี้ได้ไม่ดีเท่าที่ควร ทั้งๆ ที่ กฎหมายระบุว่าให้เปิดเผยมติของบอร์ดทุกชุดภายใน 30 วัน แต่ทั้ง กสทช. กทค. หรือกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กลับไม่ปฎิบัติตาม นอกจากนี้ อีกเรื่องแม้กฎหมายไม่ได้บังคับ แต่ส่วนตัวเห็นว่าควรเปิดเผยข้อมูล เช่นควรจะเปิดเผยข้อมูลการประชุมของคณะอนุกรรมการหรือไม่ เพราะการทำงานคณะอนุกรรมการจะมีผลต่อการคิดนโยบายของ กสทช. กทค. หรือ กสท. เห็นได้จากการที่ กทค.ชี้แจงคำฟ้องว่า ดร.เดือนเด่นอ้างสิ่งที่คณะอนุกรรมการไม่เคยเสนอ เรื่องให้เตรียมการประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz ก่อนจะสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน ทั้งๆ ที่ตนไปดูเอกสารพบว่ามีเคยมีการเสนอเรื่องดังกล่าวในคณะอนุกรรมการ ถ้ามีการเปิดเผยข้อมูล สาธารณชนจะได้ตัดสินเองว่าใครพูดจริงหรือไม่จริง ไม่ใช่กล่าวอ้างกันลอยๆ

“นอก จากนี้ การขยายเวลาคืนคลื่น 1800 MHz เท่าที่ผมได้อ่านข้อเสนอของคณะอนุกรรมการชุดต่างๆ พบว่า แทบจะไม่มีการเสนอขยายเวลาคืนคลื่น เสนออยู่เพียงติ่งหนึ่งเท่านั้น ข้อเสนอส่วนใหญ่ระบุว่า ทำไม่ได้ด้วยซ้ำ เพราะอาจมีปัญหาทางข้อกฎหมาย” นายวรพจน์กล่าว

 

มอง กทค.ฟ้องเพื่อ “รักษาหน้า”

นายนคร ชมพูชาติ ทนายความ กล่าวว่า การฟ้องร้องครั้งนี้ ความขัดแย้งจริงๆ ส่วนตัวมองว่า ประเด็นหลักคือการรักษาหน้าของคนที่ทำงานไม่ครบถ้วน โดยพยายามหลีกไปอีกทาง อ้างว่าได้ปกป้องสิทธิประชาชนแล้ว ด้วยการออกประกาศมาอ้างว่ารักษาสิทธิผู้บริโภค ผลก็คือสัมปทานหมดแล้วคุณไม่เอามาประมูลใหม่ สิ่งนี้เกิดขึ้นแล้วก็มีคนเอาไปตอกย้ำคุณว่าบกพร่องต่อหน้าที่ รวมถึงมีข้อสงสัยว่าประกาศที่ออกมาผิดกฎหมายหรือไม่ เป็นการให้สัมปทานเทียมกับรายเดิมหรือไม่ ที่สำคัญพอนักวิชาการนำตัวเลขความเสียหายมาแสดง ก็ไปฟ้องร้องเขา ทั้งที่จริงๆ การฟ้องร้องคดี ต้องออกมาเป็นมติ กสทช.หรือไม่ เพราะจะมีผลต่อ กสทช.โดยรวม ไม่ใช่แค่ กทค.ทั้ง 4 คนนี้เท่านั้น

“การฟ้องคดีอาญาจะต้องพิจารณาให้ดี แล้วถ้าฟ้องเท็จจะเป็นอย่างไร” นายนครกล่าว

นายรุจน์ โกมลบุตร อาจารย์ประจำวารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มธ. กล่าวว่า ราคาที่ต้องจ่ายการการแทรกแซงสื่อ มี 3 เสีย 1.เสียประโยชน์สาธารณะในระยะยาว เพราะทำให้สื่อมีความสามารถในการตรวจสอบกิจการสาธารณะน้อยลง 2.เสียชีวิต เช่นเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ปี 2535 ที่โทรทัศน์ไม่รายงานการสลายการชุมนุม ทำให้มีผู้เสียชีวิต และ 3.เสียชื่อ เห็นได้จาการจัดอันดับขององค์การผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน ที่เดิมไทยเคยอยู่อันดับที่ 65 ในปี 2545 แต่ปัจจุบันตกมาอยู่ที่อันดับร้อยกว่าๆ ทุกปี

 

นาย รุจน์ ยังกล่าวว่า จากการติดตามพบว่ามีการแทรกแซงสื่อที่เกิดขึ้นสมัยรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 10 วิธี 1.การซื้อสื่อ2.การสร้างบรรยากาศของความหวาดกลัว 3.การฟ้องหรือตั้งข้อหา 4.การสปินข่าว 5.หลีกเลี่ยงการอธิบาย 6.โกหก 7.การเลี้ยงดูปูเสื่อสื่อ 8.การทำให้แหล่งข่าวกลัว 9.ความไม่สามารถของรัฐในการยุติความรุนแรงกับนักข่าว และ 10.ประกาศ กสทช.เรื่องหลักเกณฑ์การกำกับดูแลเนื้อหารายการวิทยุและโทรทัศน์

 

“ที่ พูดเรื่องนี้เพราะอยากให้พวกเราช่วยกันดู เพราะเรื่องแบบนี้จะเป็นการยุติการทำหน้าที่ของสื่อ ถ้าจับพิรุธแบบนี้ได้ก็ช่วยกันพูดต่อ จะได้มีพลังกันมากขึ้นในการพูดความจริง” นายรุจน์กล่าว

ผู้ สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับงานเสวนาครั้งนี้ จัดขึ้นโดยคณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน ร่วมกับนักศึกษาปริญญาโทสาขาสื่อสารมวลชน รุ่น 31 คณะวารสารศาสตร์ฯ มธ. และศูนย์กฎหมายและคดีเสรีภาพ โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw).

 

http://isranews.org/...nbtc_23869.html


เคียงข้างลุงกำนัน ปฏิรูปการเมืองไทย กำจัดระบอบทักษิณ ขับไล่มวลหมู่ขี้ข้า วันที่ 26 พฤษภาคม 2557...





ผู้ใช้ 1 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้

สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 1 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน