เงินภาษีของเรากว่า 13000 ล้านบาท
ป่าไม้ต้นน้ำสมบูรณ์ กว่า 12000 ไร่
สัตว์ป่าดงดิบ หลายล้านชีวิตปริมาณมหาศาล
แต่... ลดน้ำท่วมได้เพียง "1%" มันจะคุ้มกันไหม
ตอบ 20 กันยายน พ.ศ. 2556 - 20:19
POPULAR
"กูจะสู้แม้รู้ว่าพวกกูน้อย สู้ไม่ถอยแม้รู้ว่าจะดับสลาย แผ่นดินนี้พ่อกูอยู่ปู่กูตาย กูสุดอายถ้าเสียทีไพรีครอง"
ตอบ 20 กันยายน พ.ศ. 2556 - 20:22
เพลงกอดแม่วงก์
เพลงศศิน- ไข่ มาลีฮวนนา - จิระนันท์ พิตรปรีชา และ โฮป แฟมิลี่ ดาวน์โหลดได้ที่
https://soundcloud.com/chirananp
"กูจะสู้แม้รู้ว่าพวกกูน้อย สู้ไม่ถอยแม้รู้ว่าจะดับสลาย แผ่นดินนี้พ่อกูอยู่ปู่กูตาย กูสุดอายถ้าเสียทีไพรีครอง"
ตอบ 20 กันยายน พ.ศ. 2556 - 20:24
"กูจะสู้แม้รู้ว่าพวกกูน้อย สู้ไม่ถอยแม้รู้ว่าจะดับสลาย แผ่นดินนี้พ่อกูอยู่ปู่กูตาย กูสุดอายถ้าเสียทีไพรีครอง"
ตอบ 20 กันยายน พ.ศ. 2556 - 20:25
"กูจะสู้แม้รู้ว่าพวกกูน้อย สู้ไม่ถอยแม้รู้ว่าจะดับสลาย แผ่นดินนี้พ่อกูอยู่ปู่กูตาย กูสุดอายถ้าเสียทีไพรีครอง"
ตอบ 20 กันยายน พ.ศ. 2556 - 20:28
ตอบ 20 กันยายน พ.ศ. 2556 - 20:32
"กูจะสู้แม้รู้ว่าพวกกูน้อย สู้ไม่ถอยแม้รู้ว่าจะดับสลาย แผ่นดินนี้พ่อกูอยู่ปู่กูตาย กูสุดอายถ้าเสียทีไพรีครอง"
ตอบ 20 กันยายน พ.ศ. 2556 - 20:32
สงสารเด็กสืบ เดินคัดค้านด้วยอุดมการณ์ดีๆ ดันมีพวกการเมืองเข้ามาชุบมือเปิด ทำให้เสื่อม จนกลายเป็นเรื่องการเมืองเหมือนม๊อบยาง
ตอบ 20 กันยายน พ.ศ. 2556 - 20:34
Tawee gibb, on 20 Sept 2013 - 13:32, said:
สงสารเด็กสืบ เดินคัดค้านด้วยอุดมการณ์ดีๆ ดันมีพวกการเมืองเข้ามาชุบมือเปิด ทำให้เสื่อม จนกลายเป็นเรื่องการเมืองเหมือนม๊อบยาง
สงสารตัวเองก่อนเถอะค่ะ
"กูจะสู้แม้รู้ว่าพวกกูน้อย สู้ไม่ถอยแม้รู้ว่าจะดับสลาย แผ่นดินนี้พ่อกูอยู่ปู่กูตาย กูสุดอายถ้าเสียทีไพรีครอง"
ตอบ 20 กันยายน พ.ศ. 2556 - 20:45
กรมชลประทานแจงอย่าเข้าใจผิด ‘เขื่อนแม่วงก์’ ไม่ได้แก้น้ำท่วมภาคกลาง-กรุงเทพฯ แค่ชะลอความแรงตอนน้ำมากและเก็บไว้ใช้หน้าตอนหน้าแล้งในพื้นที่เท่านั้น อ้างไม่เกี่ยวกับเขื่อนทับเสลา เขื่อนคลองโพธิ์ ที่อยู่ใกล้ๆ เพราะคนละลุ่มน้ำ เผยเตรียมการมายาวนาน 27 ปี ถูกตีกลับอีไอเอมาแล้วหลายรอบ ล่าสุดต้องทำเอชไอเอเพิ่มด้วย คาดเสร็จก.ค.นี้ ส่วนจุดก่อสร้างที่เลือกเขาสบกกเพราะไม่กระทบชาวบ้าน และเสียพื้นที่ป่าในอุทยานฯแค่เล็กน้อย พร้อมปลูกต้นไม้คืนให้ 2 เท่า
การอนุมัติสร้างเขื่อนแม่วงก์ ในเขตอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ จ.นครสวรรค์ เมื่อวันที่ 10 เม.ย.ที่ผ่านมา กลายเป็นข้อถกเถียงขึ้นมาอีกครั้งในสังคมไทย หลังจากโครงการดังกล่าวถูกพับเก็บไปเมื่อกว่า 10 ปีที่ผ่านมา ด้วยเหตุผลของความไม่คุ้มค่า แต่ล่าสุดกรมชลประทานยังเสนอเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง โดยอ้างว่าเพื่อป้องกันน้ำท่วม และขยายพื้นที่การเกษตร ทั้งที่รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) เคยถูกตีกลับมาแล้ว ทำให้องค์กรด้านการอนุรักษ์ต่างๆ ออกมาเคลื่อนไหวคัดค้านอีกครั้งว่าเหมาะสมหรือไม่ และป้องกันน้ำท่วมได้จริงตามคำกล่าวอ้างหรือไม่ และมองว่าน่าจะมีทางออกในการบริหารจัดการน้ำแบบอื่นที่นอกเหนือจากการสร้างเขื่อน
ศูนย์ข่าว TCIJ จึงติดตามนำเสนอเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้ข้อมูลรอบด้าน ทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย พร้อมทั้งหาสาเหตุที่กรมชลประทานหยิบโครงการเขื่อนแม่วงก์ กลับมาเสนอต่อคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง
กรมชลฯอ้างกันน้ำท่วม-มีน้ำใช้หน้าแล้ง
ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารโครงการ กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้สัมภาษณ์ ศูนย์ข่าว TCIJ เกี่ยวกับความคืบหน้าของโครงการเขื่อนแม่วงก์ ว่า ประเด็นที่หลายคนตั้งข้อสงสัยว่า การสร้างเขื่อนแม่วงก์ จะได้ประโยชน์อะไรบ้าง คงต้องบอกว่า ในการสร้างอ่างเก็บน้ำทุกอ่างของกรมชลประทาน จะต้องเป็นอ่างเก็บน้ำแบบอเนกประสงค์ คือจะต้องสามารถใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง สิ่งแรกคือ ประโยชน์ทางการเกษตร สำหรับการทำเกษตรกรรมในพื้นที่ ประโยชน์ข้อที่สองคือการบรรเทาอุทกภัยที่เกิดขึ้นเป็นประจำ ซึ่งจุดประสงค์ทั้งสองข้อนี้เป็นความชัดเจนอยู่แล้วในการสร้างอ่างเก็บน้ำ หรือที่เรียกว่าเขื่อน ในกรณีของอ่างเก็บน้ำแม่วงก์นี้ มีจุดประสงค์ชัดเจนทั้งสองข้อคือ แก้ปัญหาในช่วงฤดูแล้งที่มีพื้นที่ประมาณ 100,000 ไร่ เนื่องจากแม้ว่าจะมีฝายเก็บน้ำที่ชาวบ้านสร้างไว้เพื่อเก็บกักน้ำ แต่ก็ไม่มีระบบส่งน้ำทำให้น้ำส่งไปไม่ถึง ในขณะที่ในฤดูฝนมีฝนตกลงมาในปริมาณมาก แต่ไม่มีอ่างกักเก็บน้ำมีเพียงฝายเล็กๆ ทำให้น้ำหลากลงมาท่วมพื้นที่กว่า 300,000 ไร่ ประชาชนในพื้นที่ได้รับความเดือดร้อน อ่างเก็บน้ำหรือเขื่อนแม่วงก์ จะเข้ามาช่วยบรรเทาปัญหาเหล่านี้ และยังจะใช้เป็นน้ำสำหรับการอุปโภคบริโภคของชาวบ้านในพื้นที่อื่นๆ ใกล้เคียงอีกด้วย
“หากพิจารณาดูแล้วจะเห็นว่า ในฤดูฝนที่ฝนตกมาก น้ำจะขึ้นแบบพรวดพราดทำให้เกิดอุทกภัยในพื้นที่อย่างรวดเร็ว หากมีอ่างเก็บน้ำที่สามารถกักเก็บน้ำไว้ได้ พื้นที่บริเวณใต้อ่างจะลดปริมาณน้ำลงไป แต่อ่างเก็บน้ำแม่วงก์ไม่ใช่อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ เพราะมีความจุอ่างที่เก็บน้ำได้ถึงเพียง 50 เปอร์เซ็นต์ของน้ำทั้งหมด หมายถึงแม้จะมีอ่างเก็บน้ำก็จะไม่สามารถเก็บน้ำได้หมด เพราะมีน้ำจำนวนมากในฤดูฝน แต่ก็จะสามารถบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ได้ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ของทั้งหมด และจะมีระบบชลประทานสำหรับการทำการเกษตรอย่างแน่นอน และมีน้ำใช้ในการอุปโภค” นายสมเกียรติกล่าว
จุดเหมาะสม 2 จุด ในอุทยานฯ-พื้นที่ชาวบ้าน
สำหรับพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับเป็นจุดสร้างอ่างเก็บน้ำแม่วงก์ ซึ่งเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง นายสมเกียรติกล่าวว่า จากการศึกษาของกรมชลประทานพบว่า จุดที่เหมาะสมสำหรับการสร้างอ่างเก็บน้ำดังกล่าวพบว่า มีจุดที่เหมาะสมอยู่ 2 แห่ง จุดแรกเป็นพื้นที่บริเวณตอนล่างของอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ซึ่งมีบริเวณขอบแคบ สามารถบริหารจัดการน้ำได้ดี แต่มีปัญหาเรื่องการตั้งบ้านเรือนของชุมชนอยู่จำนวนมาก คือบริเวณเขาชนกัน
ส่วนอีกจุดคือเขาสบกก อยู่ในบริเวณอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ มีศักยภาพที่จะจัดการสร้างเขื่อนได้ แม้ว่าในทางวิศวกรรมจะดีไม่เท่ากับบริเวณเขาชนกัน แต่ก็เป็นทางเลือก เนื่องจากจะไม่กระทบต่อชุมชนชาวบ้านที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ด้านล่าง แต่หากสร้างอ่างเก็บน้ำบริเวณนี้จะกลายเป็นแนวกันชน ระหว่างชุมชนกับผืนป่าได้ บริเวณนี้ตั้งอยู่ใกล้ๆ กับจุดระบายน้ำออก แต่หากมีอ่างจะสามารถเก็บน้ำไว้ได้ แต่อาจจะต้องเสียผืนป่าจำนวนหนึ่งซึ่งไม่มากนัก หากเปรียบเทียบกับผืนป่าทั้งหมดในพื้นที่เขตอนุรักษ์ตะวันตกจะเสียไปประมาณ 0.12 เปอร์เซ็นต์ และหากมีน้ำแล้วก็จะเป็นจุดที่สร้างให้เกิดสิ่งมีชีวิตขึ้นมา เพราะไม่ได้สร้างอยู่ในบริเวณกลางป่า และชัดเจนว่าน้ำจะทำให้พื้นที่ชุ่มชื้นขึ้น
เลือกอุทยานฯเพราะกระทบชาวบ้านน้อย
ผู้สื่อข่าวถามว่าการคัดเลือกพื้นที่สำหรับการสร้างเขื่อน ใช้หลักการพิจารณาอย่างไร นายสมเกียรติกล่าวว่า กรมชลประทานได้สำรวจและคัดเลือกไว้ 2 พื้นที่ ได้แก่ บริเวณเขาสบกก กับเขาชนกัน จากผลสำรวจและข้อเท็จจริงตามที่ได้กล่าวไปแล้วว่า บริเวณเขาชนกันด้านล่าง เป็นพื้นที่ทางวิศวกรรมที่ดีมาก เหมาะกับการสร้างเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำได้อย่างดี แต่ปัจจุบันมีบ้านเรือนชุมชนไปตั้งอยู่มากแล้ว หากจะเข้าไปก่อสร้างก็จะทำให้เกิดผลกระทบด้านสังคมมากกว่า และเมื่อมาคำนวณในด้านต่างๆ แล้ว จะทำให้เกิดปัญหาตามมาอีกมาก ดังนั้นในทางเลือกที่สอง จึงต้องเลือกพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบน้อยกว่า แต่อาจจะต้องไปกระทบกับพื้นที่ป่า ในเขตอุทยานฯ ดังนั้นสองพื้นนี้มีศักยภาพและความเหมาะสมต่างกัน ด้านบนในเขตอุทยานฯ เป็นพื้นที่ที่กว้าง แบน กระทบต่อป่า ขณะที่ด้านล่างเหมาะสมด้านวิศวกรรม แต่มีปัญหาเรื่องสังคมจึงจำเป็นต้องเลือกด้านบนเพื่อไม่ให้กระทบกับประชาชน
ยันจะปลูกป่าคืนให้อุทยานฯ 2 เท่า
นายสมเกียรติกล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตามสำหรับโครงการสร้างอ่างเก็บน้ำหรือเขื่อนแม่วงก์ ที่แม้ว่าจะมีการดำเนินการมาเป็นเวลานานแล้ว แต่รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) กลับไม่ผ่านการพิจารณามาโดยตลอด เป็นสาเหตุมาจาก 3 เงื่อนไขด้วยกัน เงื่อนไขแรกคือ ประเด็นเรื่องของป่าไม้ ที่จะต้องสูญเสียไปจากการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ ประเด็นนี้ต้องไปศึกษาว่า หากจะมีการสร้างเขื่อน จะทำให้สูญเสียพื้นที่ป่าไปเท่าใด ที่ผ่านมากรมชลประทานยังไม่เคยได้รับอนุญาตจากกรมอุทยานฯ ให้เข้าไปสำรวจพื้นที่จริงๆ เลย จึงได้แต่คำนวณจากภาพถ่ายทางอากาศ และใช้วิธีการประมาณการเท่านั้น ซึ่งการประเมินเบื้องต้นอยู่ที่ประมาณ 8,000-10,000 ไร่ เมื่อยังไม่มีข้อมูลหลักฐานที่แน่ชัดเช่นนี้ จึงยังไม่เกิดความชัดเจน เพราะกรมอุทยานฯก็ต้องการที่จะทราบว่า ข้อเท็จจริงข้อมูลเกี่ยวกับการเยียวยาหรือแก้ไขปัญหาหลังการสร้างเขื่อน แต่ตอนนั้นไม่สามารถทำได้ เพราะเจ้าหน้าที่เข้าพื้นที่ไม่ได้ อย่างไรก็ตามขณะนี้กรมชลประทาน ได้รับอนุญาตจากกรมอุทยานฯ เพื่อให้เข้าสำรวจในพื้นที่จริงแล้ว จึงสามารถที่จะสำรวจจำนวนป่าจริงได้ ซึ่งหากพบว่า จะต้องสูญเสียป่า 10,000 ไร่ ก็จะมีการปลูกป่าเพิ่มเติมคืนพื้นที่ให้กับกรมอุทยานฯ สองเท่าขึ้นไปนั่นคือ 25,000 ไร่ เพราะป่าบริเวณนั้นเป็นป่าเสื่อมโทรมทั้งสิ้น และเป็นบริเวณรอยต่อจุดที่เป็นขอบอุทยาน ซึ่งโครงการนี้ก็เป็นโครงการหนึ่งที่กรมชลประทาน และกรมอุทยานฯ จะได้ร่วมมือกันให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรม
“เมื่อก่อนพอเราสร้างแล้ว ก็ไม่เคยจะคืนพื้นที่ป่าให้กรมอุทยานฯ แต่ตอนนี้เรามีแผนและโครงการที่จะต้องปลูกป่าและคืนป่าคืนให้ และยังให้เพิ่มมากกว่าที่สูญเสียไปด้วย ซึ่งจุดนี้จะยังเป็นบัพเฟอร์โซนระหว่างป่ากับชุมชน ป้องกันการเข้าไปทำลายป่าที่ก็ทราบกันอยู่ว่ามีอยู่จริง หลายคนถามว่า ทำไมไม่สร้างข้างล่าง มันทำไม่ได้ เพราะคนอยู่เต็มไปหมดแล้ว ถ้าไปทำมันก็กระเทือนทั้งหมด” นายสมเกียรติกล่าว พร้อมกับอธิบายต่อว่า นอกจากนี้หากพิจารณาการสร้างอ่างเก็บน้ำในจุดที่เหนือพื้นที่ขึ้นไป จะเป็นประโยชน์ในการเพิ่มศักยภาพในการกักเก็บน้ำให้กับฝายเล็กๆ จำนวนมากที่ชาวบ้านทำไว้แล้ว เพราะหากแม้จะมีฝายแต่เมื่อน้ำมามากๆ ก็จะไหลไปแบบตามมีตามเกิด เก็บได้บ้างไม่ได้บ้าง แต่ถ้ามีอ่างเก็บน้ำจะสามารถกักเก็บน้ำเข้าฝาย และเพิ่มพื้นที่ชลประทานให้กว้างขึ้น พื้นที่ที่จะได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้นอีกประมาณ 160,000 ไร่ รวมกับพื้นที่เดิมจะอยู่ที่ประมาณ 290,000 ไร่
ยันลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้อย่างดี
สำหรับกระบวนการต่อไป นายสมเกียรติกล่าวว่า การศึกษาอีเอชไอเอจะแล้วเสร็จในเดือนก.ค.นี้ จากนั้นจะนำเสนอข่าวสู่กระบวนการพิจารณาต่อไป ซึ่งตอนนี้จะต้องรอดูผลของการรับฟังความคิดเห็น ที่จะชี้แจงข้อเท็จจริงกับชาวบ้านว่า การสร้างเขื่อนจะกระทบอะไรบ้าง ไม่กระทบอะไรบ้าง ชาวบ้านจะเป็นผู้พิจารณาว่าจะเอาอย่างไร ซึ่งในส่วนของผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม มีแผนลดผลกระทบที่ใช้งบประมาณค่อนข้างสูงมาก ซึ่งเป็นการให้ความสำคัญที่ถูกวางไว้ เป็นการเพิ่มความเข้มข้นเพื่อแก้ปัญหานี้เข้าไปเต็มที่ เช่นที่ผ่านมา โครงการเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์มีการใช้งบประมาณเพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจำนวนมาก และยังมีที่เขื่อนห้วยสโมงมีการเพิ่มความเข้มข้นเข้าไปเต็มที่ ทั้งนี้ในกรณีของแม่วงษ์จะมีการดำเนินการไปตามขั้นตอน หากพบว่าหลายฝ่ายไม่เห็นด้วยก็ปิดไม่เสนอ แต่ถ้ามีการพิจารณาร่วมกันว่าทำได้ ก็จะเดินหน้าทำต่อว่าจะต้องเตรียมการอะไรต่อไป
กรมอุทยานฯอยากให้ทำเขื่อนเล็กแทน
เมื่อถามว่าจากการหารือกับกรมอุทยานฯ มีประเด็นปัญหาหรือเงื่อนไขอื่นอีกหรือไม่ นายสมเกียรติกล่าวว่า สิ่งที่อุทยานฯห่วงคือ เรื่องของป่าที่จะหายไป ซึ่งเรื่องนี้ได้มีการพิจารณาร่วมกันว่า มีตรงไหนได้ที่จะปลูกทดแทนขึ้นได้ นอกจากนี้กรมอุทยานฯอยากให้สร้างเป็นเขื่อนเล็กๆ เพื่อไม่เสียพื้นที่ป่า แต่หากมีการสร้างเขื่อนเล็กๆ จะมีอันตรายมากกว่าการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ เพราะหากน้ำมามากๆ เขื่อนจะรับไม่ไหว ดังนั้นจะต้องสร้างเขื่อนที่สามารถรองรับน้ำได้ ไม่ทำให้เกิดความเสี่ยงในการบริหารจัดการน้ำ ซึ่งที่ผ่านมามีหลายเขื่อนที่ถูกยกเลิกไป เพราะหากทำฝายหรือเขื่อนเล็กๆ ไปแล้ว หากไม่สามารถรับน้ำได้จะมีผลกระทบเยอะมาก และการจะทำให้ฝายขนาดเล็กกลายเป็นขนาดใหญ่ก็เป็นเรื่องที่ยากมากเช่นกัน
‘อีไอเอ’ไม่สมบูรณ์ถูกตีกลับหลายรอบ
นอกจากนี้นายสมเกียรติยังอธิบายถึงการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ที่มีการจัดทำตลอดหลายปีที่ผ่านมาว่า สำหรับการจัดทำอีไอเอที่ผ่านมา กรมชลประทานเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2527 โดยบรรจุเข้าไว้ ในโครงการพัฒนาแหล่งน้ำลุ่มน้ำสะแกกรัง เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อมาครม. มีมติให้กลับไปศึกษาเพิ่มเติม จึงว่าจ้างให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ศึกษาเพิ่มเติม ตั้งแต่ปี 2533 และจัดส่งรายงานให้กับ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เมื่อปี 2537 คณะกรรมการผู้ชำนาญการ (คชก.) ของสผ. มีการประชุมพิจารณาหลายครั้ง แต่ข้อมูลที่ส่งไปเป็นข้อมูลที่ยังไม่ครบถ้วน ทำให้มีมติออกมายาก เพราะการสำรวจไม่สามารถเข้าในพื้นที่อุทยานฯได้
อย่างไรก็ตามมีการดำเนินการไปตามขั้นตอน เมื่อถูกส่งไปที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (สวล.) ก็ได้รับคำตอบกลับมาว่า จะต้องศึกษาเพิ่มเติม หนึ่งในนั้นให้นำโครงการสร้างเขื่อนแม่วงก์บรรจุอยู่ในแผนบริหารจัดการทรัพยากรน้ำลุ่มน้ำสะแกกรังอย่างบูรณาการ ในปี 2545 ซึ่งผลการพิจารณาของ สวล.ออกมาว่า ไม่เห็นชอบกับรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ให้กลับไปศึกษาเพิ่มเติมอีก เนื่องจากยังมีปัญหาเขย่งกันอยู่ระหว่างจุดทางเลือกที่หนึ่งกับทางเลือกที่สอง เพื่อให้เกิดความชัดเจน รวมทั้งจะต้องศึกษาแผนบริหารจัดการน้ำทั้งระบบใหม่ นอกจากนี้ในปี 2547 กรมชลประทานยังต้องไปศึกษาทางกลยุทธ์การวิเคราะห์ผลกระทบทางด้านสังคม (SIA) อีก และทำรายงานกรรมสิทธิ์และสิทธิถือครองที่ดินด้วย ซึ่งกรมชลประทานได้ดำเนินการทั้งหมดแล้ว
คาดอีเอชไอเอเสร็จก.ค.แต่ต้องเดินหน้าก่อน
“ระยะหลังเมื่อประมาณ ปี 2553 ปรากฏว่า เราต้องทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) ด้วย เพราะเป็นโครงการที่มีมูลค่ามากกว่าร้อยล้านบาท เราก็ไปทำ ขณะที่สผ.ให้กรมชลประทาน เสนอข้อมูลเพิ่มเติมให้ชัดเจนอีกครั้งปีในเดียวกันว่า ลุ่มน้ำสะแกกรัง ต้องมีเขื่อนแม่วงก์หรือไม่ ต้องมีหรือเขื่อนหรือเปล่า บริหารจัดการน้ำอย่างไร ทำลายสิ่งแวดล้อมอย่างไรหรือไม่ เราก็ตอบชี้แจงไปแล้วจากผลการศึกษาของเรา ก็กลับมาให้เราทำรายงานเพิ่มเติมอีเอชไอเอเข้ามาใหม่ เราก็กำลังดำเนินการเกือบครบกระบวนการแล้ว ซึ่งจะเสร็จในเดือนก.ค.นี้” นายสมเกียรติระบุ
ผู้อำนวยการสำนักบริหารโครงการ กรมชลประทาน กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตามจากการลงพื้นที่ทำรายงานอีเอชไอเอที่ผ่านมาหลายครั้งพบว่า ชาวบ้านในพื้นที่ให้การสนับสนุนเป็นอย่างดี ดูได้จากการที่จัดประชุมในทุกครั้ง จะมีการจัดทัพขบวนเข้ามาร่วมจำนวนมาก เพราะชาวบ้านต้องการจะเห็นการบริหารจัดการน้ำจากเขื่อนแม่วงก์ ซึ่งแต่ละขั้นตอนในการประชุมรับฟังความคิดเห็นมีผู้เข้าร่วมมากมาย ตั้งแต่ครั้งแรกเชิญชาวบ้านประมาณ 100 กว่าคน แต่มาเข้าร่วมถึง 4,000-5,000 คน เวทีที่สองที่เชิญเวทีละ 50 คน ซึ่งเป็นเวทีย่อยก็มีคนเข้าร่วมจำนวนมาก และครั้งสุดท้ายที่จะเกิดขึ้นในเดือนก.ค.นี้ คาดว่าจะมีคนมาสนับสนุนมากเช่นกัน เนื่องจากการสร้างเขื่อนแม่วงก์จะสร้างประโยชน์ให้กับชาวบ้านในหลายพื้นที่ ได้แก่ อ.แม่วงก์ อ.ลาดยาว อ,สว่างอารมณ์ และ อ.ขาณุวรลักษณ์บุรี
“อย่าถามผมว่า ทำไมไม่รอให้อีเอชไอเอทำเสร็จก่อนค่อยดำเนินการ อันนี้ผมไม่ตอบ ซึ่งหากรายงานอีเอชไอเอเสร็จสิ้น ก็จะเข้าสู่กระบวนการของสผ.ตามปกติ” นายสมเกียรติกล่าว
เผยชื่อบริษัทจัดทำอีเอชไอเอ
ผู้สื่อข่าวถามว่าขณะมีรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (อีเอชไอเอ) ที่ทำเสร็จสิ้นแล้วหรือไม่ นายสมเกียรติกล่าวว่า เอชไอเอจะทำเสร็จในเดือนก.ค.นี้ ตอนนี้มีเพียงการศึกษาครั้งเดิม ซึ่งอีเอชไอเอที่ทำอยู่ในขณะนี้ อยู่ในขั้นตอนประเมินและวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ก่อนที่จะไปทำพับลิครีวิว (การรับฟังความคิดเห็นของประชาชนครั้งที่ 2) ซึ่งจะมีข้อเท็จจริงต่างๆ ไปแสดงให้เห็น โดยเฉพาะประเด็นเรื่องพื้นที่ป่า ที่ในอดีตยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน เพราะเข้าพื้นที่ไม่ได้ แต่ตอนนี้เข้าได้ก็จะได้ข้อมูลที่ชัดเจนว่า พื้นที่ป่าเท่าไหร่ที่ต้องใช้ ซึ่งการเข้าไปสำรวจในพื้นที่นี้มีการขออนุญาตจากกรมอุทยานฯ เรียบร้อย การสำรวจจะต้องมีเจ้าหน้าที่ของกรมอุทยานฯ ประกบเข้าไปด้วย สามารถเปิดเผยข้อเท็จจริงเพื่อนำมายืนยัน
ผู้สื่อข่าวถามว่า ในการดำเนินการจัดทำรายงานต่างๆ นั้นมีบริษัทใดเป็นผู้รับผิดชอบบ้าง นายสมเกียรติ กล่าวว่า สำหรับการจัดทำอีเอชไอเอ ล่าสุดนั้น บริษัทที่ดำเนินการได้แก่ บริษัท ครีเอทีฟ เทคโนโลยี จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษา ที่เข้ามาจัดทำรายงานของโครงการเขื่อนแม่วงก์ ซึ่งที่ผ่านมามีการเปลี่ยนผู้จัดทำรายงานฯ มาแล้ว 3 ครั้ง ตั้งแต่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ทำอีไอเอ ต่อมาเป็นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จนมาถึงบริษัทครีเอทีฟ เทคโนโลยี จำกัด ดังกล่าว ที่จะนำข้อมูลข้อเท็จจริงมาเปิดเผยต่อสาธารณชน โดยสิ่งที่กรมชลประทานต้องการที่สุดคือ ต้องการให้ข้อเท็จจริงอกมาอย่างชัดเจน เพราะก่อนหน้านี้มีแต่การเดากันว่า สัตว์ป่ามีเท่าไหร่ ป่ามีเท่าไหร่ ป่าเป็นอย่างไร เมื่อก่อนไม่รู้แต่ใช้เทคโนโลยีสืบค้นแทน เมื่อสามารถทำได้ชัดเจนตอนนี้ก็ต้องเอาข้อมูลออกมาให้ได้ ซึ่งได้มีการกำชับกับบริษัทที่จัดทำไปว่าไม่ต้องเกรงใจ ให้ดำเนินการไปตามข้อเท็จจริงทั้งหมด เพราะตอนนี้ทุกคนอยากจะรู้
“ถามว่าหนักใจหรือไม่ ผมคิดว่ามันขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริง ตอนนี้ยังมีอีก 3 โครงการที่ยังมีปัญหา คือ เขื่อนชีบน เขื่อนห้วยสโมง เขื่อนคลองหลวง เราบอกกับที่ปรึกษาว่า ให้ผลออกมาอย่างเป็นข้อเท็จจริง ไม่ต้องเกรงใจให้ทำอย่างถูกต้องให้เอาข้อเท็จจริงออกมา ซึ่งสิ่งที่เห็นปัจจุบันเราดีใจคือ คนในพื้นที่สนับสนุน ซึ่งเราก็ต้องเอาข้อเท็จจริงเหล่านั้นมาให้คนในพื้นที่ดู มีหลายที่ที่เขาไม่เห็นด้วยต้องม้วนเสื่อกลับมาก็มี มันก็ขึ้นอยู่กับเขา แต่เราดีใจว่าที่นี่เราได้รับการสนับสนุน เราก็เขียนรายงานเข้าไปว่า ผลมันออกมาอย่างนี้ เขาต้องยอมรับผลว่า สร้างแล้วเป็นแบบนี้ ไม่สร้างจะเป็นแบบนี้ก็ว่าไป ถ้าเขายอมรับอะไรก็ว่ากันไปตามผลข้อเท็จจริง” นายสมเกียรติกล่าว
เขื่อนก็ไม่ได้ช่วยน้ำท่วมได้ร้อยเปอร์เซนต์
ผู้สื่อข่าวถามว่า จากข้อมูลระบุว่า พื้นที่ในบริเวณใกล้เคียงกันมีอ่างเก็บน้ำหรือเขื่อนอื่นๆ อยู่แล้ว เช่นเขื่อนทับเสลา เหตุใดจะต้องสร้างเขื่อนแม่วงก์ขึ้นอีก นายสมเกียรติกล่าวว่า เขื่อนทับเสลาเป็นเขื่อนที่อยู่คนละลุ่มน้ำ โดยเขื่อนแห่งนี้ตั้งอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำคลองโพธิ์ ทั้งนี้ในพื้นที่บริเวณนั้น มีลุ่มน้ำอยู่ 3 ลุ่มน้ำย่อยด้วยกัน คือ คลองโพธิ์ ทับเสลา และลุ่มน้ำแม่วงก์ ซึ่งในส่วนของ ลุ่มน้ำคลองโพธิ์และทับเสลา ไม่เกี่ยวกับลุ่มน้ำแม่วงก์ โดยคลองโพธิ์จะวิ่งไปรวมกัน ในลักษณะคล้ายกับ แม่น้ำปิง วัง ยม น่านในภาคเหนือ หากจะเปรียบเทียบ ลุ่มน้ำแม่วงก์เป็นแม่น้ำปิง ทับเสลาก็จะเหมือนกับแม่น้ำวัง คลองโพธิ์ เป็นแม่น้ำยม แบบนี้เป็นต้น
ซึ่งถามว่าเขื่อนแม่วงก์จะมาช่วยได้ตรงไหน คำตอบก็คือในพื้นที่ของแม่วงก์เองจะได้รับประโยชน์เต็มๆ คือรับน้ำไว้เต็มๆ และจะยังเป็นส่วนการควบคุมหนึ่งของลุ่มน้ำคลองโพธิ์และทับเสลาด้วย เพราะจะทำให้มีเครื่องมือในการควบคุมโดยไม่ต้องรับแบบเต็มๆ เหมือนที่ผ่านมา จุดสำคัญคือต้องการเบรกน้ำไว้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า การสร้างเขื่อนแล้วจะสามารถช่วยได้แบบร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะถ้าหากน้ำมามากเหมือนปีที่แล้วก็จะช่วยบรรเทา ซึ่งน้ำมากๆ แบบนั้นก็ไม่ได้มีทุกปี
ยอมรับไม่ได้ช่วยแก้น้ำท่วมภาคกลาง-กรุงเทพฯ
เมื่อถามว่า หลายฝ่ายมองว่าการสร้างเขื่อนแม่วงก์เป็นการดำเนินการที่ไม่คุ้มค่า เพราะจะไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมภาคกลาง นายสมเกียรติกล่าวว่า การคิดโยงประโยชน์ของการสร้างเขื่อนแม่วงก์ ลงมาพื้นที่ภาคกลาง เป็นการมองเข้าใจแบบผิด ที่จะคิดว่าสร้างแล้วจะทำให้น้ำภาคกลางไม่ท่วม เป็นเรื่องที่ไม่ใช่ ซึ่งตนอยากให้มองภาพชัดๆ เช่น การสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น ประโยชน์มาไม่ถึงกรุงเทพฯแน่ แต่คนสุโขทัยจะได้รับประโยชน์เต็มๆ เขื่อนแม่วงก์ก็เหมือนกัน เพราะที่บริเวณนั้นเป็นพื้นที่น้ำท่วมเหมือนกัน เมื่อสร้างเขื่อนคนที่จะได้รับประโยชน์ก็คือคนในพื้นที่ ซึ่งไม่ได้หมายความว่ามีแม่วงก์แล้วจะช่วยได้ทั้งหมดพื้นที่ภาคกลาง แต่มันเป็นการช่วยบรรเทาในจุดน้ำท่วมในพื้นที่ใกล้เคียงด้านล่างๆ ลงมา เพราะน้ำที่ท่วมพื้นที่ภาคกลางที่ไหลไปสมทบที่เจ้าพระยา ส่วนหนึ่งมาแม่น้ำสะแกกรัง แม่วงก์ คลองโพธิ์ ทับเสลา
ดังนั้นถ้าเราจัดการแม่น้ำ 3 สายนี้ได้ดีก็จะบรรเทาไปได้ ทั้งนี้ ไม่อยากให้มองแค่มิติของน้ำท่วมอย่างเดียว แต่ต้องมองในมิติของช่วงน้ำแล้งด้วย เพราะหากเป็นเรื่องน้ำท่วม ตรงนี้ช่วยไม่ได้อยู่แล้วมันเล็กน้อยมาก ถ้าเทียบกับปริมาณน้ำที่มาเป็นพันล้านลูกบาศก์เมตร แต่เขื่อนจุดได้เพียง 235 ล้านลูกบาศก์เมตร เท่านั้น ถือว่าเทียบกันไม่ได้อยู่แล้ว ถึงอย่างไรก็ช่วยได้ไม่มากนักเป็นแค่น้ำจิ้ม แต่จุดประสงค์คือการต้องการลดผลกระทบ และบรรเทาเหตุน้ำท่วมในพื้นที่รอยต่อลุ่มน้ำสะแกกรังกับเจ้าพระยาเป็นสำคัญ
เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ 14 เปอร์เซนต์
นายสมเกียรติกล่าวต่อว่า สิ่งที่จะต้องพิจารณาอีกก็คือ การศึกษาเรื่องมูลค่าทางเศรษฐกิจในพื้นที่กับเรื่องของสิ่งแวดล้อม ว่าสูญเสียไปเท่าไหร่ ซึ่งมีพารามิเตอร์หลายตัว ที่จะมาคิดวิเคราะห์ระหว่างความสูญเสียกับประโยชน์ที่จะได้รับ กับความสูญเสียที่เราสามารถรองรับและแก้ไขได้ ที่ผ่านมากรณีน้ำท่วมอาจจะเห็นได้ชัดจากความสูญเสียในเชิงเศรษฐกิจ และความสูญเสียด้านสิ่งแวดล้อม มันเกิดแบบค่อยเป็นค่อยไป แต่หากมีอ่างเก็บน้ำถามว่า สูญเสียสิ่งแวดล้อมหรือไม่ คำตอบคือยอมรับว่ามี แต่จะมีวิธีการแก้ไข และลดผลกระทบอย่างไรบ้าง ต้องลดความสูญเสียด้วยการปลูกเพิ่มเติมให้มากว่าเดิม กรณีของสัตว์ป่าก็มีการอพยพไปสู่ด้านบน ทั้งนี้การวัดมีอยู่หลายปัจจัย ซึ่งตนมั่นใจว่า การสร้างเขื่อนมีทั้งได้และเสีย แต่ต้องดูว่าเราจะเทรดมันอย่างไร อย่ามองเพียงมุมใดมุมหนึ่ง เมื่อวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์ เรามองว่ามันได้อยู่ จากการศึกษาพบว่า มีถึง 14 เปอร์เซนต์ที่จะได้เพิ่มจากผลตอบแทนทางเศรษฐกิจในพื้นที่
“มีคำถามอีกว่า แล้วทำไมเมื่อก่อนทำไม่ได้ ก็ต้องบอกว่า เมื่อก่อนปัญหายังไม่รุนแรง คนยังมองไม่เห็นว่าความเดือดร้อนมันเป็นอย่างไร แต่เมื่อเวลาผ่านไป ปัญหาสุกงอม แม้ว่าที่ผ่านมาเคยมีความพยายามในการแก้ไขมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการทำฝายขนาดเล็ก ที่ทำแล้วแต่ทำแล้วก็ไม่มีน้ำ ทำวิธีการต่างๆ แต่ทำแล้วก็แก้ไขปัญหาไม่ได้ ตอนนี้ปัญหามันสุกงอม ได้เวลาของมันขณะที่หลายอย่างประกอบกันจึงมีความจำเป็นที่จะต้องสร้าง” นายสมเกียรติอธิบาย
งบ 13,000 ล้าน จัดการสวล.560 ล้าน
ผู้สื่อข่าวถามถึงงบประมาณของโครงการกว่า 13,000 ล้านบาท นายสมเกียรติกล่าวว่า ขณะนี้มีงบประมาณทั้งสิ้น 13,000 ล้านบาท แบ่งออกเป็นงบประมาณด้านการจัดสร้างตัวเขื่อน 4,000 ล้านบาท การดูแลสิ่งแวดล้อม 560 ล้านบาท ส่วนที่เหลือเป็นการจัดการเรื่องระบบและการบริหารจัดการ ซึ่งในส่วนของงบประมาณด้านการจัดการดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อม เป็นการเพิ่มสัดส่วนงบประมาณมากขึ้น แม้จะยังไม่ใช่การใช้งบประมาณมากที่สุด เพราะที่ใช้มากที่สุดคือโครงการเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ แต่การเพิ่มความเข้มข้นด้านการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมในโครงการนี้ เพื่อเพิ่มความมั่นใจและใช้ในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ที่เป็นไปตามความจำเป็นของหน่วยงานราชการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
ใช้ข้อเท็จจริงต่อสู้กลุ่มคัดค้าน
สำหรับปัญหาการคัดค้านต่อต้านที่กำลังเป็นกระแสเกิดขึ้นในขณะนี้ นายสมเกียรติกล่าวว่า กรมชลประทานจะนำข้อเท็จจริงเข้าไปต่อสู้ ที่จะต้องเอาออกมาให้ทุกฝ่ายเห็น และสิ่งที่จะต้องนำมาเปิดเผยอีกได้แก่ ขั้นตอนกระบวนการทั้งหมด ที่หลายอย่างจะยังไปไม่ถึง เช่น พับลิครีวิว (การรับฟังความคิดเห็นของประชาชนครั้งที่ 2 หลังจากมีการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นแล้ว เพื่อจะทราบว่ามีข้อมูลประเด็นใดบ้างที่ยังไม่มีการศึกษาหรือศึกษาไม่ครบถ้วน) การผ่านขั้นตอนพิจารณาต่างๆ ที่จะต้องไปพิสูจน์ให้เห็นว่า มีการดำเนินการอย่างไร ส่วนสิ่งที่คนเป็นห่วงกันเรื่องของระบบนิเวศ จะต้องนำข้อมูลมาเปิดเผยด้วยเช่นกัน โดยเป็นการนำงานวิจัยที่กรมชลประทานเคยทำไว้ที่เขื่อนขุนด่านปราการชล จ.นครนายก ซึ่งผลวิจัยระบุอย่างชัดเจนว่า หลังการเกิดเขื่อนพบว่า ระบบนิเวศในบริเวณนั้นดีขึ้นมาก มีการคืนกลับมาของสิ่งมีชีวิตหลายอย่าง และยังมีการค้นพบนกอ้ายงั่ว นกหายากออกมาหากินในผืนป่า ซึ่งพบถึง 6 ตัวด้วยกัน และยังพบร่องรอยสัตว์ป่าลงมาหากินอีกด้วย
“ตอนนี้เทคโนโลยีมันเปลี่ยน กระแสเปลี่ยน เมื่อก่อนเราอาจจะคิดว่าถ้าอะไรสร้างผลกระทบ มันจะกระทบวันยังค่ำ แต่ตอนนี้ไม่ใช่แล้ว เพราะมีการบริหารจัดการแก้ไขหลายอย่างที่ดีขึ้น และ สผ.จะเป็นหน่วยงานที่คอยติดตามการทำงานของเรา หากมีอะไรผิดนิดหน่อยก็จะถูกท้วงติงแล้ว” นายสมเกียรติกล่าว
มั่นใจ‘เขื่อนแม่วงก์’เกิดได้แน่
เมื่อถามว่า จากการประเมินคิดว่าเขื่อนแม่วงก์มีโอกาสที่จะเกิดได้มากน้อยแค่ไหน นายสมเกียรติกล่าวอย่างมั่นใจว่า มองว่าโอกาสที่จะเกิดเขื่อนแม่วงก์มีความเป็นไปได้ เพราะจากการทำงานลงในพื้นที่พบว่า ชาวบ้านในพื้นที่ให้การสนับสนุนเป็นอย่างมาก เพราะทุกคนล้วนแต่เดือดร้อนจริงๆ ทำให้มีความต้องการเขื่อนสูงมาก ทำให้โครงการนี้ถูกจัดเข้าสู่แผนพัฒนาลุ่มน้ำมาหลายปี แต่ที่มายังไม่สามารถเดินหน้าโครงการนี้ แต่เชื่อว่าเหตุผลสำคัญคือยังไม่ถึงเวลา และความเดือดร้อนก็ยังไม่ถึงขั้นเพียงพอ ที่จะทำให้คนรู้ว่าความสำคัญและประโยชน์คืออะไร แต่มาถึงวันนี้ต้องยอมรับแล้วว่า ถ้าไม่ทำมันจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง โดยเฉพาะความเสียหายที่เกิดขึ้น ทั้งจากการเสียโอกาสในการทำมาหากิน ส่งผลทางเศรษฐกิจ เพราะน้ำท่วมเสียหายทำอะไรไม่ได้ ซึ่งเป็นภาพที่เห็นชัด และน้ำที่ลงมามากก็สูญเสียไปโดยใช่เหตุ รวมไปถึงช่วงเวลาน้ำแล้งก็ทำอะไรไม่ได้เช่น ซึ่งถ้าเทียบกับโครงการแก่งเสือเต้น นับว่าโครงการนี้ง่ายกว่าและมีโอกาสเกิดได้มากกว่า ทั้งเรื่องขนาด ผลกระทบอื่นๆ และเชื่อว่าหากมีการพิจารณาข้อเท็จจริงที่ได้ เขื่อนแม่วงก์ก็น่าจะมีรูปร่างขึ้นมาได้ไม่ยากนัก
ตอบ 20 กันยายน พ.ศ. 2556 - 20:45
“Live as if you were to die tomorrow. Learn as if you were to live forever.” - Mahatma Gandhi
สนใจบ้านพักคนชราเสรีไทย (FB Secret Group) ติดต่อ (PM) เว็บบอร์ด
ตอบ 20 กันยายน พ.ศ. 2556 - 20:53
ตอบ 20 กันยายน พ.ศ. 2556 - 20:53
โลกยุคออนไลน์เข้าท่าดี หลังจากคณะรัฐมนตรีมีมติให้สร้างเขื่อนแม่วงก์มูลค่า 12,000 ล้านบาท กระแสคัดค้านก็ดังก้อง ตามสไตล์ของคนขวางโลก คนที่ลมหายใจมีอยู่อย่างเดียวคือ อนุรักษ์ธรรมชาติ โดยไม่มองชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่ได้แยกแยะว่าอะไรจำเป็นมาก อะไรจำเป็นน้อย
นี่ก็ยังดีนะที่เขื่อนแม่วงก์ ไม่ใช่เขื่อนสร้างโรงไฟฟ้า ก็ยังโดนขวางขนาดนี้ ถ้าเป็นเขื่อนไฟฟ้าจะมีคนค้านมากกว่านี้ ทั้งๆ ที่ บ้านใครก็ใช้ไฟ แม้แต่นักอนุรักษ์ธรรมชาติก็ตามทีเถอะ แต่ก็ตั้งหน้าตั้งตาราวีราวกับเป็นศัตรูกันตั้งแต่ชาติปางก่อน
ค้านแบบมีเหตุผล โน่น ไปศึกษาดูชาวนนทบุรีเขาโน่น ไปโวยโครงการรถไฟฟ้า ที่ทำทางตัดเส้นทางคมนาคมเขา แล้วทำให้ใหม่ แต่ไม่เท่าเดิม จากเคยวิ่งได้ 2 เลน เหลือแค่เลนเดียว อย่างนี้มีเหตุผล ฟังกันได้ ต้องไปแก้ไขกัน แต่เรื่องสร้างเขื่อนแม่วงก์อะไรไม่รู้ ออกมานับต้นไม้ ออกมานับชีวิตสัตว์ จะเป็นจะตายเสียให้ได้ ผมว่าเกินไปจริงๆ ทั้งๆ ที่ป่าเขาก็เสนอปลูกทดแทนให้มากถึง 2 เท่าเลยทีเดียว ที่สำคัญกินพื้นที่ป่าไม่มากนัก ซึ่งหากเปรียบเทียบกับผืนป่าทั้งหมดในพื้นที่เขตอนุรักษ์ตะวันตก จะเสียไปประมาณ 0.12% และหากมีน้ำแล้วก็จะเป็นจุดที่สร้างให้เกิดสิ่งมีชีวิตขึ้นมา เพราะไม่ได้สร้างอยู่ในบริเวณกลางป่า และชัดเจนว่าน้ำจะทำให้พื้นที่ชุ่มชื้นขึ้นด้วย
เขื่อนแม่วงก์อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์ ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารโครงการ กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์บอกว่า วัตถุประสงค์ของการสร้างเชื่อนชลประทานสิ่งแรก คือ ประโยชน์ทางการเกษตร สำหรับการทำเกษตรกรรมในพื้นที่ ประโยชน์ข้อที่สองคือการบรรเทาอุทกภัยที่เกิดขึ้นเป็นประจำ ซึ่งจุดประสงค์ทั้งสองข้อนี้เป็นความชัดเจนอยู่แล้วในการสร้างอ่างเก็บน้ำ หรือที่เรียกว่าเขื่อน
กรณีของอ่างเก็บน้ำแม่วงก์นี้ มีจุดประสงค์ชัดเจนทั้งสองข้อคือ แก้ปัญหาในช่วงฤดูแล้งที่มีพื้นที่ประมาณ 100,000 ไร่ เนื่องจากแม้ว่าจะมีฝายเก็บน้ำที่ชาวบ้านสร้างไว้เพื่อเก็บกักน้ำ แต่ก็ไม่มีระบบส่งน้ำทำให้น้ำส่งไปไม่ถึง ในขณะที่ในฤดูฝนมีฝนตกลงมาในปริมาณมาก แต่ไม่มีอ่างกักเก็บน้ำมีเพียงฝายเล็กๆ ทำให้น้ำหลากลงมาท่วมพื้นที่กว่า 300,000 ไร่ ประชาชนในพื้นที่ได้รับความเดือดร้อน อ่างเก็บน้ำหรือเขื่อนแม่วงก์ จะเข้ามาช่วยบรรเทาปัญหาเหล่านี้ และยังจะใช้เป็นน้ำสำหรับการอุปโภคบริโภคของชาวบ้านในพื้นที่อื่นๆ ใกล้เคียงอีกด้วย
เขื่อนแม่วงก์เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดไม่ใหญ่มาก ความสามารถกักเก็บน้ำมีเพียงประมาณ 50% ของปริมาณน้ำฝน แต่อ่างขนาดนี้ก็สามารถจะบรรเทาปัญหาน้ำท่วมได้ระดับหนึ่ง
ผมขอให้ฟังให้ชัดๆ นะครับ ที่ ดร.สมเกียรติพูด ไม่ใช่มาตอบคำถามว่า "มีเขื่อนแล้วน้ำไม่ท่วมจริงหรือ" ฉะนั้นอย่าหยิบเอาประเด็นทำเขื่อนแล้วน้ำก็ยังท่วม ถ้าหยิบขึ้นมาพูดอย่างนี้ ก็คุยกันไม่รู้เรื่อง
เราต้องฟังคนที่เดือดร้อนกันบ้าง เหมือนกับให้ฟังประชาชนชาวสุโขทัยที่ถูกน้ำท่วมบ่อยๆ เพราะไม่ย่อมให้สร้างเขื่อนขนาดใหญ่นั่นแหละ ท่วมทีนึงต้องเป็นหนี้เป็นสิน 3 ปี 5 ปี ถึงจะหมด หรือทำไมไม่ลองไปถามเกษตรกรที่ได้ประโยชน์จากการใช้น้ำในเขื่อนบ้างล่ะ ถามดูสิว่าเขาดีใจ พอใจ ภูมิใจขนาดไหน ที่มีน้ำให้เขาปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ได้ ไปฟังแต่เสียงชาวบ้านที่ไม่ได้ประโยชน์จากเขื่อน แล้วเอามาเล่าเรื่องเป็นตุเป็นตะ นั่นเป็นแค่การฟังความข้างเดียวเท่านั้น
ผมยอมทั้งนั้นล่ะครับ ยกเว้น เขื่อนน้ำโจนเท่านั้นที่ผมไม่เห็นด้วยที่จะสร้าง
--
ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,736 3-5 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
ตอบ 20 กันยายน พ.ศ. 2556 - 20:57
ตอบ 20 กันยายน พ.ศ. 2556 - 21:09
"กูจะสู้แม้รู้ว่าพวกกูน้อย สู้ไม่ถอยแม้รู้ว่าจะดับสลาย แผ่นดินนี้พ่อกูอยู่ปู่กูตาย กูสุดอายถ้าเสียทีไพรีครอง"
ตอบ 20 กันยายน พ.ศ. 2556 - 21:47
http://www.manager.c...00118879&Html=1
1) อย่างน้อยพื้นที่ป่าและระบบธรรมชาติที่ซับซ้อน สร้างยากโว้ย!
ตอบ 20 กันยายน พ.ศ. 2556 - 21:52
ถ้าสร้างแล้วน้ำยังท่วมอยู่
ปลอดรับผิดชอบมั๊ย
เอ่อ ลืมไป
เอาอยู่ทีไร อิ๋บอ๋ายทุกที
ยังจะเชื่อได้อีกเรอะ ปลอดประสาท
ตอบ 20 กันยายน พ.ศ. 2556 - 21:56
อ้างเรื่องฝ่ายอนุรักษ์ก็ต้องใช้ไฟฟ้าเหมือนกันเหรอ?ดังนั้นการสร้างโรงไฟฟ้าจึงเป็นสิ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้(พูดง่ายๆคือมรึงห้ามค้าน)
บ้านเรือนประชาชนทั่วไป ใช้ไม่ถึง 1 ในสิบของห้างใหญ่ๆใน กทม.
แต่ผมยังไม่โทษคนเดินห้างนะ เพราะรัฐยังไม่เคยออกมาตรการจำกัดการใช้ไฟ
ถ้าถึงตอนนั้น ออกมาตรการมาแล้ว มีเหตุผลชี้แจงและพิสูจน์ต่อสาธารณะได้ แล้วคนเดินห้างยังโวย > ค่อยโยนความผิดไปให้คนเดินห้าง/เจ้าของห้าง
ตอบ 20 กันยายน พ.ศ. 2556 - 22:15
juemmy, on 20 Sept 2013 - 13:26, said:
ในฐานะจขกท.ขอลงชื่อร่วมคัดค้านเป็นคนแรกค่ะ
ผมไปลงชื่อแล้วในเพจนี้
https://docs.google....UM2NiRUZKWUE6MQ
ตอบ 21 กันยายน พ.ศ. 2556 - 10:57
Edited by ชาวสวน, 21 กันยายน พ.ศ. 2556 - 11:00.
ตอบ 21 กันยายน พ.ศ. 2556 - 12:51
อ้างว่าผลิตไฟฟ้า เห็นเวลาปล่อยน้ำจะปั่นไฟก็ปล่อยน้ำมาตอนหน้าฝน พอหน้าแล้งก็ไม่ปล่อยน้ำปั่นไฟบอกว่าเดี๋ยวน้ำหมด แล้วสร้างเขื่อนไปทำหอกอะไร ก็เองเล่นตัดป่าตันน้ำไปหมด มันจะเหลือน้ำมาให้เองใช้หรือ
แล้วทำไมไม่เอาแบบไม่มีเขื่อนแม่วงก์ล่ะ อ.ศศินก็ได้เสนอไว้แล้ว การจัดการน้ำระดับตำบล การพัฒนาแหล่งน้ำในตำบล โดยการสนับสนุนจากภาครัฐ พัฒนาห้วย แม่น้ำ หนอง คลอง บึง ที่มีอยู่ สร้างฝายชะลอน้ำและโครงการสูบน้ำ หากสนับสนุนแหล่งน้ำระดับตำบลใช้เงิน 4,600 ล้านบาท หนุนรูปแบบพัฒนาจัดการน้ำระดับหมู่บ้าน 3,520 ล้านบาท ส่วนพัฒนาแหล่งน้ำในไร่นาของบุคคลอยู่ที่ 2,140 ล้าน
หรือเอาแบบง่ายๆ ขุดบึงแบบบึงบอระเพ็ดไปเลย จะขุดบึงระดับอำเภอ หรือ ตำบล ก็ลองสำรวจดู เอาแบบไม่เกิน 8,089 ล้านบาทแล้วกัน
Tam-mic-ra ฟันธง! คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ ..... คิดครับคิด จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96 ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3
ตอบ 21 กันยายน พ.ศ. 2556 - 20:16
"กูจะสู้แม้รู้ว่าพวกกูน้อย สู้ไม่ถอยแม้รู้ว่าจะดับสลาย แผ่นดินนี้พ่อกูอยู่ปู่กูตาย กูสุดอายถ้าเสียทีไพรีครอง"
ตอบ 21 กันยายน พ.ศ. 2556 - 20:19
"กูจะสู้แม้รู้ว่าพวกกูน้อย สู้ไม่ถอยแม้รู้ว่าจะดับสลาย แผ่นดินนี้พ่อกูอยู่ปู่กูตาย กูสุดอายถ้าเสียทีไพรีครอง"
ตอบ 21 กันยายน พ.ศ. 2556 - 20:31
พรุ่งนี้ออกไปร่วมด้วยช่วยกันนะชาว กทม.
เช้าไปร่วมกิจกรรมคาร์ฟรีเดย์กะ กทม.
สาย ๆ หรือตอนบ่ายก็ไปร่วมเดินกับคณะของ อ.ศศิน กัน
ใครใกล้ที่ไหน สะดวกที่ไหน ไปร่วมกันที่ตรงนั้นเลย
ข้าจักล้มล้าง ระบอบทักษิณ ให้หมดสิ้นไปจากแผ่นดินไทย
ตอบ 21 กันยายน พ.ศ. 2556 - 20:34
ปอดบอกป่าสร้างใหม่ได้
บอกสัตว์ป่าสร้างใหม่ได้
ต้องใช้เวลากี่สิบปี ถึงสร้างได้ครับ ไอ้เปด เอ๊ย ไอ้ปอด
ป่านะครับ ไม่ใช่อินายก ที่พวกมึ งสร้างกันแค่ 49 วัน ออกมาเฮรี้ยๆ แบบนั้นน่ะ
แต่สัตว์อย่างปอด อย่าสร้างกันมาอีกเลยนะ
รกโลก
ลงชื่อด้วยคนครับ
ข อ ใ ห้ โ ช ค ดี ต่ อ ค ว า ม เ ชื่ อ ค รั บ
เราอยู่ด้วยกัน ยืนข้างกัน เดินไปด้วยกัน ด้วยเพราะเรามีมุมมองและเป้าหมายไปในทิศทางเดียวกัน
จนกว่าจะถึงวันที่เราพบว่า เรามีจุดหมายปลายทางคนละตำแหน่งกัน
ตอบ 21 กันยายน พ.ศ. 2556 - 20:34
Quote
กลุ่มนครสวรรค์จี้นายกฯเร่งสร้างเขื่อนแม่วงก์
กลุ่มปกครองส่วนท้องถิ่นนครสวรรค์ ยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี และรองนายกฯ ปลอดประสพ ขอเร่งสร้างเขื่อนแม่วงก์ ป้องกันน้ำกลุ่มองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น อ.ลาดยาว อ.แม่วงก์ อ.ชุมตาบง อ.แม่เปิน จ.นครสวรรค์ ซึ่งประกอบด้วย นายกองค์การบริหารส่วนตำบล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ประมาณ 100 คน เดินทางมาที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อยื่นหนังสือถึง นายกรัฐมนตรี และ นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี เรื่องขอให้ทางรัฐบาล เร่งดำเนินการสร้างเขื่อนแม่วงก์ โดยมี นายปลอดประสพ เป็นผู้รับหนังสือ ซึ่ง นายปลอดประสพ กล่าวว่ารัฐบาลจะเดินหน้าโครงการสร้างเขื่อนแม่วงก์อย่างแน่นอนเพื่อป้องกันปัญหาเรื่องน้ำที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตอีกทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อประชาชนส่วนใหญ่อีกด้วย แต่ก็จะรับฟังความเห็นของกลุ่มผู้เห็นต่าง และพร้อมอธิบายให้เกิดความเข้าใจ ซึ่งขอให้คุยกันด้วยเหตุผล
ตอบ 21 กันยายน พ.ศ. 2556 - 20:37
เราต้องรวมใจกันสู้ช่วยกันคัดค้าน
ป่าแม่วงก์หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ป่าห้วยขาแข้ง
มีฝูงเสือโคร่งฝูงใหญ่ และสัตว์ป่าอีกนานาชนิด
เราจะไม่ยอมให้ สืบ นาคะเสถียร ตายฟรี
"กูจะสู้แม้รู้ว่าพวกกูน้อย สู้ไม่ถอยแม้รู้ว่าจะดับสลาย แผ่นดินนี้พ่อกูอยู่ปู่กูตาย กูสุดอายถ้าเสียทีไพรีครอง"
ตอบ 21 กันยายน พ.ศ. 2556 - 20:39
http://www.seub.or.t...58-20&Itemid=14
ผลโพล 7 สี ถามคนในจ.นครสวรรค์ว่าต้องการให้สร้างเขื่อนแม่วงก์หรือไม่ปรากฏว่ามี 22.7% ต้องการเขื่อน 32.5% ต้องการเขื่อนถ้าไม่มีผลกระทบโดยรวม และ 34.2% ไม่ต้องการเขื่อน ในขณะที่ 10% ไม่แน่ใจ แสดงให้เห็นว่า คนในพื้นที่เองส่วนใหญ่แล้วก็ยังไม่ต้องการเขื่อนเลยหรือไม่ต้องการถ้าส่งกระทบต่อส่วนรวม ทั้งนี้ป่าไม้ มิได้เป็นสมบัติของคนในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง แต่เป็นสมบัติของคนทั้งชาติ ที่มีการใช้ “บริการทางอ้อม” จากป่าไม้ร่วมกัน เช่นใช้เป็นแหล่งผลิตออกซิเจน แหล่งกักเก็บน้ำ แหล่งอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นต้น การจะทำลายป่าไม้จึงต้องคำนึงถึง “คนนอกพื้นที่” ด้วยว่าเห็นด้วยหรือไม่
“Live as if you were to die tomorrow. Learn as if you were to live forever.” - Mahatma Gandhi
สนใจบ้านพักคนชราเสรีไทย (FB Secret Group) ติดต่อ (PM) เว็บบอร์ด
ตอบ 21 กันยายน พ.ศ. 2556 - 20:45
tonythebest, on 21 Sept 2013 - 13:34, said:
ปอดบอกป่าสร้างใหม่ได้
บอกสัตว์ป่าสร้างใหม่ได้
ต้องใช้เวลากี่สิบปี ถึงสร้างได้ครับ ไอ้เปด เอ๊ย ไอ้ปอด
ป่านะครับ ไม่ใช่อินายก ที่พวกมึ งสร้างกันแค่ 49 วัน ออกมาเฮรี้ยๆ แบบนั้นน่ะ
แต่สัตว์อย่างปอด อย่าสร้างกันมาอีกเลยนะ
รกโลก
ลงชื่อด้วยคนครับ
เห็นด้วยสัตว์ป่าบางชนิด...
อย่าสร้างขึ้นมาใหม่....
ให้สูญพันธุ์ถาวร....
ทำลาย DNA ด้วย.....ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า
เคียงข้างลุงกำนัน ปฏิรูปการเมืองไทย กำจัดระบอบทักษิณ ขับไล่มวลหมู่ขี้ข้า วันที่ 26 พฤษภาคม 2557...
ตอบ 21 กันยายน พ.ศ. 2556 - 20:52
HiddenMan, on 21 Sept 2013 - 13:39, said:
http://www.seub.or.t...58-20&Itemid=14
ผลโพล 7 สี ถามคนในจ.นครสวรรค์ว่าต้องการให้สร้างเขื่อนแม่วงก์หรือไม่ปรากฏว่ามี 22.7% ต้องการเขื่อน 32.5% ต้องการเขื่อนถ้าไม่มีผลกระทบโดยรวม และ 34.2% ไม่ต้องการเขื่อน ในขณะที่ 10% ไม่แน่ใจ แสดงให้เห็นว่า คนในพื้นที่เองส่วนใหญ่แล้วก็ยังไม่ต้องการเขื่อนเลยหรือไม่ต้องการถ้าส่งกระทบต่อส่วนรวม ทั้งนี้ป่าไม้ มิได้เป็นสมบัติของคนในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง แต่เป็นสมบัติของคนทั้งชาติ ที่มีการใช้ “บริการทางอ้อม” จากป่าไม้ร่วมกัน เช่นใช้เป็นแหล่งผลิตออกซิเจน แหล่งกักเก็บน้ำ แหล่งอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นต้น การจะทำลายป่าไม้จึงต้องคำนึงถึง “คนนอกพื้นที่” ด้วยว่าเห็นด้วยหรือไม่
I hope you remember your trick.
ตอบ 21 กันยายน พ.ศ. 2556 - 20:56
CockRoachKiller, on 21 Sept 2013 - 13:52, said:
HiddenMan, on 21 Sept 2013 - 13:39, said:
http://www.seub.or.t...58-20&Itemid=14
ผลโพล 7 สี ถามคนในจ.นครสวรรค์ว่าต้องการให้สร้างเขื่อนแม่วงก์หรือไม่ปรากฏว่ามี 22.7% ต้องการเขื่อน 32.5% ต้องการเขื่อนถ้าไม่มีผลกระทบโดยรวม และ 34.2% ไม่ต้องการเขื่อน ในขณะที่ 10% ไม่แน่ใจ แสดงให้เห็นว่า คนในพื้นที่เองส่วนใหญ่แล้วก็ยังไม่ต้องการเขื่อนเลยหรือไม่ต้องการถ้าส่งกระทบต่อส่วนรวม ทั้งนี้ป่าไม้ มิได้เป็นสมบัติของคนในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง แต่เป็นสมบัติของคนทั้งชาติ ที่มีการใช้ “บริการทางอ้อม” จากป่าไม้ร่วมกัน เช่นใช้เป็นแหล่งผลิตออกซิเจน แหล่งกักเก็บน้ำ แหล่งอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นต้น การจะทำลายป่าไม้จึงต้องคำนึงถึง “คนนอกพื้นที่” ด้วยว่าเห็นด้วยหรือไม่
I hope you remember your trick.
ตามสบาย... ที่ผมไม่โควทเพราะรู้อยู่แล้ว... ต่างคนต่างนำเสนอ จะอ่านรายละเอียดการสอบถามข้อมูลด้วยก็ได้... ไม่ใช่แค่เอาหรือไม่เอา
กลุ่มนครสวรรค์จี้นายกฯเร่งสร้างเขื่อนแม่วงก์
--> ประกอบด้วย นายกองค์การบริหารส่วนตำบล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ประมาณ 100 คน
“Live as if you were to die tomorrow. Learn as if you were to live forever.” - Mahatma Gandhi
สนใจบ้านพักคนชราเสรีไทย (FB Secret Group) ติดต่อ (PM) เว็บบอร์ด
ตอบ 21 กันยายน พ.ศ. 2556 - 21:08
HiddenMan, on 21 Sept 2013 - 13:56, said:
CockRoachKiller, on 21 Sept 2013 - 13:52, said:
HiddenMan, on 21 Sept 2013 - 13:39, said:
http://www.seub.or.t...58-20&Itemid=14
ผลโพล 7 สี ถามคนในจ.นครสวรรค์ว่าต้องการให้สร้างเขื่อนแม่วงก์หรือไม่ปรากฏว่ามี 22.7% ต้องการเขื่อน 32.5% ต้องการเขื่อนถ้าไม่มีผลกระทบโดยรวม และ 34.2% ไม่ต้องการเขื่อน ในขณะที่ 10% ไม่แน่ใจ แสดงให้เห็นว่า คนในพื้นที่เองส่วนใหญ่แล้วก็ยังไม่ต้องการเขื่อนเลยหรือไม่ต้องการถ้าส่งกระทบต่อส่วนรวม ทั้งนี้ป่าไม้ มิได้เป็นสมบัติของคนในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง แต่เป็นสมบัติของคนทั้งชาติ ที่มีการใช้ “บริการทางอ้อม” จากป่าไม้ร่วมกัน เช่นใช้เป็นแหล่งผลิตออกซิเจน แหล่งกักเก็บน้ำ แหล่งอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นต้น การจะทำลายป่าไม้จึงต้องคำนึงถึง “คนนอกพื้นที่” ด้วยว่าเห็นด้วยหรือไม่
I hope you remember your trick.
ตามสบาย... ที่ผมไม่โควทเพราะรู้อยู่แล้ว... ต่างคนต่างนำเสนอ จะอ่านรายละเอียดการสอบถามข้อมูลด้วยก็ได้... ไม่ใช่แค่เอาหรือไม่เอา
กลุ่มนครสวรรค์จี้นายกฯเร่งสร้างเขื่อนแม่วงก์
--> ประกอบด้วย นายกองค์การบริหารส่วนตำบล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ประมาณ 100 คน
I am very disappointed in you. Good night.
ตอบ 21 กันยายน พ.ศ. 2556 - 21:20
POPULAR
CockRoachKiller, on 21 Sept 2013 - 14:08, said:
HiddenMan, on 21 Sept 2013 - 13:56, said:
CockRoachKiller, on 21 Sept 2013 - 13:52, said:
HiddenMan, on 21 Sept 2013 - 13:39, said:
http://www.seub.or.t...58-20&Itemid=14
ผลโพล 7 สี ถามคนในจ.นครสวรรค์ว่าต้องการให้สร้างเขื่อนแม่วงก์หรือไม่ปรากฏว่ามี 22.7% ต้องการเขื่อน 32.5% ต้องการเขื่อนถ้าไม่มีผลกระทบโดยรวม และ 34.2% ไม่ต้องการเขื่อน ในขณะที่ 10% ไม่แน่ใจ แสดงให้เห็นว่า คนในพื้นที่เองส่วนใหญ่แล้วก็ยังไม่ต้องการเขื่อนเลยหรือไม่ต้องการถ้าส่งกระทบต่อส่วนรวม ทั้งนี้ป่าไม้ มิได้เป็นสมบัติของคนในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง แต่เป็นสมบัติของคนทั้งชาติ ที่มีการใช้ “บริการทางอ้อม” จากป่าไม้ร่วมกัน เช่นใช้เป็นแหล่งผลิตออกซิเจน แหล่งกักเก็บน้ำ แหล่งอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นต้น การจะทำลายป่าไม้จึงต้องคำนึงถึง “คนนอกพื้นที่” ด้วยว่าเห็นด้วยหรือไม่
I hope you remember your trick.
ตามสบาย... ที่ผมไม่โควทเพราะรู้อยู่แล้ว... ต่างคนต่างนำเสนอ จะอ่านรายละเอียดการสอบถามข้อมูลด้วยก็ได้... ไม่ใช่แค่เอาหรือไม่เอา
กลุ่มนครสวรรค์จี้นายกฯเร่งสร้างเขื่อนแม่วงก์
--> ประกอบด้วย นายกองค์การบริหารส่วนตำบล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ประมาณ 100 คน
I am very disappointed in you. Good night.
ผมผิดหวังคุณตั้งแต่คิดว่าเรื่องการทำลายป่าไม้ สัตว์ป่า นี้เป็นเรื่องของชาวบ้านจังหวัดนั้นแล้วล่ะครับ... ไอ้พวกที่บอกว่าจะปลูกป่าแลกกับการสร้างเขื่อนเป็นหมื่นไร่ ตั้งกี่ปีมาแล้ว มันได้ปลูกบ้างสักไร่หรือยัง มีแต่รุกล้ำเพิ่มเติม... ไอ้เรื่องสร้างสัตว์ป่ามาทดแทน คงไม่ต้องพูดเลยมั้ง ตกลงชาวบ้านได้อะไรจากการสร้างเขื่อน? แลกกับสิ่งที่สูญเสียไปของคนทั้งประเทศ หรือ สัตว์สายพันธุ์ที่สำคัญของโลก คุ้มค่าหรือไม่
นอกจากสร้างเขื่อนแล้ว ไม่คิดจะศึกษาแนวทางอื่นๆ ที่มีประสิทธิภาพใกล้เคียง เทียบเท่า หรือดีกว่า บ้างหรือไง ไม่คิดจะรับฟังความเห็นคนอื่นๆ บ้างหรือไงในประเทศที่คลั่งประชาธิปไตยเช่นนี้... หรือกลัวตอบคำถามที่เกิดขึ้นไม่ได้
ผลการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม และประชาพิจารณ์ที่ผ่านมาเป็นอย่างไรบ้าง... ฉบับใหม่ของปลอดเป็นอย่างไร ศึกษาครอบคลุมเท่าของเดิมหรือไม่?
กล้ารับประกันหรือไม่ว่าแก้ปัญหาน้ำท่วมได้? สามารถเก็บกักน้ำไว้ในหน้าแล้งให้ชาวบ้านได้ทั่วถึง และตลอดระยะเวลา? สามารถสร้างป่าขึ้นมาทดแทนได้สมบูรณ์เหมือนเดิม? สามารถสร้างสัตว์ป่าสายพันธุ์ที่ต้องการขึ้นมาได้เหมือนเดิม... สร้างเสือมันไม่ง่ายเหมือนขายเสื่อหรอกนะ
“เขื่อนคือที่เก็บน้ำชั่วคราว แต่ป่าคือที่เก็บน้ำชั่วชีวิต”
Good bye!
EDIT: แก้ไขคำผิด
Edited by HiddenMan, 21 กันยายน พ.ศ. 2556 - 21:41.
“Live as if you were to die tomorrow. Learn as if you were to live forever.” - Mahatma Gandhi
สนใจบ้านพักคนชราเสรีไทย (FB Secret Group) ติดต่อ (PM) เว็บบอร์ด
ตอบ 21 กันยายน พ.ศ. 2556 - 21:53
วันนี้ไปร่วมเดินมาจากหน้าท่าอากาศยานดอนเมืองถึง ม เกษตร
พอถึงหน้าไทยพีบีเอส เห็นเด็กนิสิตรุ่นน้อง มเกษตรมายืนรอ มันน่าชื่นใจ น้องนิสิต มศว ก็มายืนรอที่จุดนี้ด้วย
ลงรูปจาก my picture ในเครื่องคอมพ์ ทำยังไงน้อ
แผ่นดินมันกำลังอ่อนแอ อ่อนแออย่างไม่เคยเป็นมาก่อน เหมือนเรือนใกล้จะพัง คานใกล้จะขาด เสาผุกร่อน เพราะปลวกมอดมันเจาะกินใน ถ้าพวกเราไม่ช่วยกัน วันนึง ถ้ามันต้องเผชิญกับพายุร้าย แม้นแรงเพียงนิด มันก็ไม่แคล้วต้องพังทลายลง
ความห่วงใยแผ่นดินปลุกให้กูลุกขึ้นมาทุกวัน ลุกขึ้นมาเพื่อบอกกับลูกหลานว่า เราต้องดูแลตัวเอง ดูแลบ้านเกิดของตัวเอง
แต่งานใหญ่เพียงนี้ไม่อาจจะทำให้สำเร็จได้ด้วยใครคนใดคนหนึ่ง กูพยายามส่งผ่านความคิดของกู ไปยังผู้ที่มีจิตใจรักแผ่นดิน กูมีความหวังว่าความคิดของกูคงไม่โดดเดี่ยว แล้วกูก็มีความหวังว่า ความห่วงใยบ้านเกิดจะปลุกให้ทุกคนตื่นขึ้นมาพร้อมกัน เราต้องพร้อมที่จะสู้เพื่อบ้าน..........ทำสิ่งที่ยากแสนยากให้สำเร็จ อาศัยคาถาเพียงสี่คำ…ร่วม แรง ร่วม ใจ และคาถาอีกสองคำ แลกชีวิต
** ด้วยใจคารวะต่อบรรพบุรุษผู้กล้า ผู้เสียสละทุกท่านที่ปกปักรักษาแผ่นดินไทยมานับแต่อดีต
ตอบ 21 กันยายน พ.ศ. 2556 - 22:00
บทความของ อ.นณณ์ ผาณิตวงศ์ จากบอร์ด siamensis
http://www.siamensis.org/article/38158
Quote
ปลาอพยพทำไม? (ในที่นี้จะกล่าวถึงแต่ปลาน้ำจืด เนื่องจากกระผมไม่ค่อยประสากับปลาทะเลเท่าไหร่) การอพยพของปลาน้ำจืดหลักเลย เกิดขึ้นเพื่อการขยายพันธุ์ การอพยพเพื่อผสมพันธุ์ของปลาน้ำจืด พอจะแบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ
1. อพยพขึ้นไปต้นน้ำเพื่อผสมพันธุ์ ปลาในกลุ่มนี้ว่ายทวนน้ำขึ้นไปตามลำน้ำเพื่อวางไข่ ส่วนใหญ่จะมีไข่กึ่งจมกึ่งลอย เช่น กลุ่มปลาแปบ ปลาสวาย ปลาสร้อย พ่อแม่ปลาจะใช้สัญชาติญาณตามธรรมชาติของมันในการอพยพและเลือกที่วางไข่ที่เหมาะสม ไข่กึ่งจมกึ่งลอยพวกนี้จะถูกน้ำพัดลงมา ระหว่างนี้ก็จะฟักและค่อยๆพัฒนา พอน้ำพามาถึงวังใหญ่ที่น้ำนิ่งพอที่จะเกิดแพลงตอนต่างๆเป็นอาหารของลูกปลาหรือถึงที่ราบน้ำท่วม ซึ่งเป็นแหล่งอนุบาลลูกปลาชั้นดี ลูกปลาวัยอ่อนก็จะอาศัยอยู่ตรงนั้นเติบโต พอถึงหน้าแล้งก็โตพอที่จะกลับมาหาเลี้ยงดูแลตัวเองในสายน้ำหลักได้
2. อพยพเข้าไปผสมพันธุ์ในทุ่งน้ำท่วม กลุ่มนี้ไม่ต้องออกแรงว่ายทวนน้ำไปไกล แต่รอให้น้ำหลากท่วมทุ่ง ท่วมป่าบุ่งป่าทามริมตลิ่งก็อพยพเข้าไปผสมพันธุ์วางไข่กัน ลูกปลาฟักออกมาก็อยู่ตรงนั้น พวกนี้ส่วนใหญ่เป็นไข่แบบติดกับวัสดุ หรือพ่อแม่อาจจะสร้างรังให้ลูกอยู่ หรือเป็นปลาขนาดเล็กที่อพยพไปได้ไม่ไกล หรือว่ายน้ำไม่เก่งนัก เช่น กลุ่มปลาหมอตะกรับ ปลาซิว ปลาเสือข้างลาย ปลาแรด เป็นต้น
3. กลุ่มที่ไม่ต้องอพยพไปไหน เช่น กลุ่มปลาที่ปกติอาศัยอยู่ในหนองน้ำอยู่แล้ว ถึงเวลาน้ำหลากมาก็ผสมกันตรงนั้น เช่น ปลากัด ปลาช่อน ปลากระดี่ เป็นต้น
จะเห็นว่าการผสมพันธุ์ของปลาต้องการ
1. เส้นทางอพยพที่ไม่ถูกกีดขวาง เพราะถ้าขึ้นไปวางไข่ในจุดที่เหมาะสมไม่ได้ ไข่ที่ฟักออกมาก็จะไม่ลอยไปยังจุดที่ต้องการ อาจจะลอยหลุดออกทะเล หลุดพื้นที่ราบลุ่มน้ำท่วมไปเลย ลูกปลาก็ไม่รอด ดังนั้นถ้ามีเขื่อนขวางการอพยพ ปลาขึ้นไปถึงจุดที่เหมาะสมไม่ได้ หรือ ถ้าข้ามบันไดปลาโจนไปได้ แต่ขากลับ ไข่หรือลูกปลาก็อาจจะตกจมอยู่ในอ่างท้ายเขื่อนไม่ไหลกลับลงไปอาศัยอยู่ในจุดที่เหมาะสมได้ ก็เป็นอันจบกัน หรืออีกทางหนึ่ง floodway อาจจะพาไข่ปลาและลูกปลาน้อย ลอยละล่องลงทะเลไปเลยก็เป็นได้
2. ทุ่งน้ำท่วม และ ปริมาณน้ำมากพอที่จะหลากไปท่วมทุ่ง ซึ่ง ทุ่งน้ำท่วมยังพอมีเหลือบ้างในที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา แต่เขื่อนได้ทำให้น้ำไม่หลากเข้าทุ่งตามธรรมชาติ ไม่ได้หลากอย่างสม่ำเสมอเพียงพอให้เรามีที่ให้ปลาสามารถขยายพันธุ์ได้เพียงพออีกแล้ว
ปัญหาที่ตามมาคือ เราไม่มีปลากิน ทำอย่างไร? เราก็ไปเลี้ยงปลา เลี้ยงปลาก็ต้องไปจับลูกปลาจากทะเลมาทำเป็นอาหาร ปัญหาเรื่อง เรืออวนรุน อวนลาก จับสัตว์น้ำวัยอ่อนก็ตามมา ทีนี้ แม่น้ำก็ปลาหมด ทะเลก็ปลาหมด แล้วเราก็ต้องไปนำเข้าปลามากิน ดั่งเช่นกรณีปลาดอลี่ ที่ถูกหลอกกันทั้งประเทศ
สมน้ำหน้าใครดี?
ตอบ 21 กันยายน พ.ศ. 2556 - 22:11
จาจา, on 21 Sept 2013 - 14:53, said:
วันนี้ไปร่วมเดินมาจากหน้าท่าอากาศยานดอนเมืองถึง ม เกษตร
พอถึงหน้าไทยพีบีเอส เห็นเด็กนิสิตรุ่นน้อง มเกษตรมายืนรอ มันน่าชื่นใจ น้องนิสิต มศว ก็มายืนรอที่จุดนี้ด้วย
ลงรูปจาก my picture ในเครื่องคอมพ์ ทำยังไงน้อ
ฝากรูปที่นี่ก่อนค่ะ http://upic.me/
แล้วก็อบลิงค์ลงมาแปะเลย
"กูจะสู้แม้รู้ว่าพวกกูน้อย สู้ไม่ถอยแม้รู้ว่าจะดับสลาย แผ่นดินนี้พ่อกูอยู่ปู่กูตาย กูสุดอายถ้าเสียทีไพรีครอง"
ตอบ 21 กันยายน พ.ศ. 2556 - 22:29
juemmy, on 20 Sept 2013 - 13:24, said:
อีเฮีย (EHIA-รายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ) ว่าเลวแล้ว
ไอ้***นี่ เลวกว่ามาก บอกเลย!!
-------------------------------------------------------
( 20 กันยายน) นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี ยืนยันในการสร้างเขื่อนแม่วงก์ เพื่อป้องกันน้ำท่วม โดยกล่าวว่า “ผมพยายามทำความเข้าใจว่าผู้คัดค้านจะค้านทำไม ทำไมถึงเชื่อแบบนั้น แต่ก็ขอบใจที่พวกเขาเป็นคนรักป่า รักสัตว์ป่า แต่ผมรักคนไทยมากกว่า ผมเลือกเอาชีวิตของคนไทยมากกว่า ผมต้องทำให้คนไทยปลอดภัยให้ได้ ป่าสร้างได้ สัตว์ป่าสร้างได้ แต่ถ้าน้ำท่วมไม่มีคนไทย ประเทศก็อยู่ไม่ได้ รัฐบาลตัดสินใจแล้ว คือสร้างเขื่อนแม่วงก์ ไม่มีเปลี่ยนใจ”
นอกจากนี้ นายปลอดประสพ ระบุว่า การสร้างเขื่อนแม่วงก์จะทำให้ป่าเกิดความเสียหาย แต่ก็มีคำสั่งให้ปลูกป่าทดแทนถึง 3 เท่า รวมถึงจะเชิญกลุ่มที่คัดค้านมาช่วยปลูกป่าด้วย โดยตนจะเป็นผู้ออกเงินและหาพื้นที่สำหรับปลูกป่าให้ ทั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรี ยืนยันว่า การปลูกป่าจะต้องดำเนินการเสร็จก่อนเขื่อนแม่วงก์ โดยถือว่า วันที่ตอกเสาเข็ม ถือเป็นวันเริ่มปลูกป่า และวันที่เปิดเขื่อนแม่วงก์ จะเป็นวันที่ป่าที่ดำเนินการปลูกทดแทนนั้นเสร็จสมบูรณ์แล้ว
- See more at: http://www.rsutv.tv/index.php/detail/index/922#sthash.9TbEbr03.dpuf
ตัดแขนปลอดออก 1 ข้าง
แล้วเอาแขนปลอมมาให้ 3 อัน
จะเอาหรือเปล่า
ตอบ 21 กันยายน พ.ศ. 2556 - 23:28
"ถึงเวลาแล้วที่ใครมีอาวุธชนิดไหนก็ต้องจับขึ้นมาใช้รบกับมัน”
ตอบ 21 กันยายน พ.ศ. 2556 - 23:36
ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณคุณ juemmy มากเลยครับ ที่มาตั้งกระทู้นี้
แหะๆ ยอมรับเลยว่า ก่อนนี่ก็ได้แต่เห็นข่าวแว๊บๆ เรื่องการสร้างเขื่อนแม่วงก์นี่ แต่ก็เรียกได้ว่า แทบจะไม่ได้ให้ความสนใจเลยด้วยซำ้
เพราะเห็นข่าวทางทีวี เห็นทางโซเชียลเน็ตเวิร์คบ้าง แค่เห็นหน้าไอ้ปลอด ก็เลยไม่อยากจะใส่ใจ
พาลทำให้ไม่รู้เลยว่า ตอนนี้ที่เค้าคัดค้าน เค้าคัดค้านอะไรกัน เรียกได้ว่าผมไม่ได้ตื่นตัวเรื่องนี่อะไรกับเค้าเลย
และเพราะความไม่รู้ วันนี้ว่างๆเลยขอลองนั่งอ่านกระทู้นี่ เอาความรู้ดูสักหน่อย ว่าเค้าคุยเรื่องอะไรกัน
ก็ไล่อ่านมาเรื่อยๆ มาเจอความเห็นของคุณ นายช่างใหญ่ ที่เอาบทสัมภาษณ์ของ ดร.สมเกียรติ มาให้อ่าน ก็อ่านจนจบนะ(ยาวมาก)
ก็มีความเห็นว่า ถ้าคนในพื้นที่เค้าเห็นด้วย เนื่องจากความเดือดร้อนของเค้า ก็ออกจะคล้อยตามอยู่บ้าง แต่ก็ยังอยากเห็นความเห็นของคนที่คัดค้านก่อน
ว่าเค้าคัดค้านเพราะอะไร ก็ว่าจะกระทู้ถามคุณ juemmy อยู่เหมือนกัน
แต่พอเลื่อนลงมาเรื่อยๆ เจอ คลิป วิดีโอ ของอาจารย์ ศศิน (เจาะข่าวตื้น) ที่ท่าน stargate-1 เอามาลง
ลองสะระตะดูแล้ว..
(ความคิดเฮียๆ)ของไอ้ปลอด + (ข้อมูล)ของ ดร.สมเกียรติ Vs. (ความคิด)ของ อ.ศศิน = ผมขอร่วมลงชื่อคัดค้านเขื่อนแม่วงก์ด้วยคน
ถูกใจเสื้อแดง ของแพงไม่ว่า โดนโกงไม่ด่า ขอแค่ตระกูลชินนรกเป็น นายก พอ..
ตอบ 21 กันยายน พ.ศ. 2556 - 23:43
Huligan, on 20 Sept 2013 - 15:15, said:
juemmy, on 20 Sept 2013 - 13:26, said:
ในฐานะจขกท.ขอลงชื่อร่วมคัดค้านเป็นคนแรกค่ะ
ผมไปลงชื่อแล้วในเพจนี้
https://docs.google....UM2NiRUZKWUE6MQ
ไปลงชื่อมาแล้วอีกคนครับ เดี๋ยวจะลองไปแชร์ และ เล่าให้เพื่อนๆฟัง ให้ไปร่วมลงชื่อด้วยอีกแรงครับ..
ถูกใจเสื้อแดง ของแพงไม่ว่า โดนโกงไม่ด่า ขอแค่ตระกูลชินนรกเป็น นายก พอ..
ตอบ 22 กันยายน พ.ศ. 2556 - 00:42
แนวคิดการสร้างเขื่อนกลับมาอีกครั้งหลังมหาอุทกภัยปี 2554 ตามแผนการบริหารจัดการน้ำของรัฐบาล เขื่อนหลายเขื่อนถูกหยิบขึ้นมาปัดฝุ่นใหม่อีกรอบ เช่นเดียวกับ “เขื่อนแก่งเสือเต้น” และ “เขื่อนแม่วงก์”
เครือข่ายองค์กรอนุรักษ์ด้านสิ่งแวดล้อม ออกหนังสือเรื่อง “ทำไม!!…ต้องค้านเขื่อนแม่วงก์” เมื่อเดือนกรกฎาคม 2555 เพื่อเผยแพร่ข้อมูลของป่าแม่วงก์ “หัวใจ” ของผืนป่าตะวันตก การมาของเขื่อน สู่ปัญหาและผลกระทบที่จะเกิดขึ้น พร้อมเสนอทางออกการแก้ไขปัญหาและการจัดการน้ำ ซึ่งจะทำให้เราเข้าใจว่าเขื่อนแม่วงก์คืออะไร และทำไมต้องคัดค้าน
ความเป็นมาของเขื่อนแม่วงก์
ปี 2525 กรมชลประทานริเริ่มโครงการเขื่อนแม่วงก์
ปี 2537 มติที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) มีความเห็นให้กรมชลประทานศึกษาเปรียบเทียบผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติมบริเวณเขาชนกัน เนื่องจากให้ผลตอบแทนสูงกว่าเขาสบกก
ปี 2540 กรมชลประทานศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติมตามมติ คชก.
ปี 2541 มติที่ประชุม คชก. วันที่ 23 มกราคม ครั้งที่ 1/2541 “ไม่เห็นชอบกับการดำเนินโครงการเขื่อนแม่วงก์”
ปี 2543 ทำประชาพิจารณ์โครงการเขื่อนแม่วงก์
ปี 2545 คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติมีมติครั้งที่ 3 ยังไม่เห็นชอบต่อรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ให้กรมชลประทานหาทางเลือกของที่ตั้งโครงการ และศึกษาเพิ่มเติมการบริหารจัดการลุ่มน้ำทั้งระบบในลักษณะบูรณาการ
ปี 2555 มีมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 10 เมษายน 2555 เห็นชอบในหลักการให้ดำเนินโครงการก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์ ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 13,280 ล้านบาท ใช้เวลาก่อสร้าง 8 ปี โดยผูกพันงบประมาณถึงปีงบประมาณ 2562
เหตุผลสำคัญที่ต้องคัดค้านการสร้างเขื่อนมีอยู่ 2 ด้าน คือ ด้านนิเวศ และด้านเศรษฐกิจและสังคม
ปัญหาที่จะเกิดขึ้นด้านนิเวศ คือ ระบบนิเวศทั้งหมดจะถูกคุกคาม เกิดการทำลายป่าต้นน้ำ และอาจเกิดการลักลอบตัดไม้ริมอ่างเก็บน้ำ ซึ่งเป็นเรื่องที่ควบคุมได้ยาก เร่งให้สัตว์ป่าสูญพันธ์ เช่น นกยูง เสือโคร่ง และลักลอบล่าสัตว์ป่าได้ง่าย นอกจากนี้ ยังทำให้สัตว์ป่าสูญเสียที่อยู่อาศัย ทำลายโอกาสการฟื้นฟูของอุทยาน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อป่ามรดกโลก “ห้วยขาแข้ง”
ด้านเศรษฐกิจและสังคม คือ เนื่องจากเขื่อนแม่วงก์มีขนาดเล็กจุน้ำได้สูงสุด 262 ล้านลูกบาศก์เมตร จึงไม่คุ้มค่ากับการลงทุน อีกทั้งยังไม่สามารถแก้ปัญหาน้ำแล้ง-น้ำท่วมได้ นอกจากนี้ยังทำลายแหล่งศึกษาธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และทำลายความเชื่อมั่นด้านสิ่งแวดล้อมของไทยด้วย รวมถึงเป็นช่องทางให้โครงการพัฒนาขนาดใหญ่เกิดขึ้นในพื้นที่อนุรักษ์อื่นๆ ได้อีกในอนาคต
ความสำคัญของป่าแม่วงก์
ป่าแม่วงก์บริเวณที่จะถูกน้ำท่วมเป็นป่าริมน้ำและป่าที่ราบต่ำ ซึ่งต่ำกว่าระดับน้ำทะเล 200 เมตร เป็นที่อาศัยของสัตว์ป่าขนาดใหญ่ เช่น ช้าง เสือ และเป็นแหล่งอาหารสำคัญของสัตว์ป่าด้วย แม้ว่าสูญเสียป่าแม่วงก์ไป 18 ตารางกิโลเมตร หรือร้อยละ 2 ของป่าทั้งหมด แต่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของป่าทั้งระบบมาก เพราะมันคือ “หัวใจ”
เหตุที่ป่าแม่วงก์เปรียบเหมือนหัวใจเพราะเป็นส่วนสำคัญของผืนป่าตะวันตก ที่เกิดจากป่าอนุรักษ์ 17 ผืนต่อกันเป็นป่าผืนใหญ่ขนาด 11.7 ล้านไร่ ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นบ้านของสัตว์ป่านานาชนิด เช่น เสือโคร่ง ช้าง กระทิง วัวแดง สมเสร็จ ควายป่า ฯลฯ
ป่าแม่วงก์ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติแม่วงก์มา 25 ปีแล้ว และเป็นพื้นที่แห่งโอกาสของสัตว์ป่า เนื่องจากเป็นป่าที่สมบูรณ์ จึงเป็นบ้านและแหล่งอาหารของสัตว์ป่าที่หากินนอกเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
นอกจากนี้ ยังมีผลกระทบที่ไม่สามารถป้องกันในช่วงเวลาก่อสร้างเขื่อนตลอด 8 ปี ได้แก่ การตัดไม้เกินพื้นที่ที่กำหนด การลักลอบล่าสัตว์ป่า เสียงที่ดังรบกวนสัตว์ป่า การยึดพื้นที่ริมอ่างและการเก็บหาของป่า
ปริมาณน้ำที่กักเก็บในเขื่อนแม่วงก์คิดเป็นร้อยละ 1 ของน้ำทั้งหมดที่ท่วมลุ่มน้ำภาคกลางในปี 2554 ดังนั้น เขื่อนนี้จึงไม่ตอบโจทย์การแก้ปัญหาน้ำท่วมภาคกลาง และไม่เกิดความคุ้มค่าแก่การลงทุนหากสร้างเพื่อป้องกันน้ำท่วม
หรือกรณีที่น้ำท่วม อ.ลาดยาว จ.นครสวรรค์ มีน้ำเพียงร้อยละ 10-20 เท่านั้นที่มาจากแม่วงก์ที่เขาสบกก ส่วนอีกร้อยละ 80 ที่เหลือคือน้ำที่มาจากลำน้ำสาขาอีก 16 สายใต้เขื่อนแม่วงก์ ซึ่งปัญหาที่น้ำท่วมก็เพราะถนนขวางทางระบายน้ำ รวมถึงการปลูกพืชเชิงเดี่ยวบนเขา ซึ่งทำให้น้ำหลากมาถึงบ้านที่อยู่ในที่ราบอย่างรวดเร็ว และถึงแม้จะสร้างเขื่อนได้แล้ว ปริมาณน้ำนองที่ อ.ลาดยาวก็ลดลงไม่ถึงร้อยละ 30
พื้นที่ชลประทานของเขื่อนแม่วงก์กินอาณาบริเวณรวม 5 อำเภอ 3 จังหวัด คือ นครสวรรค์ อุทัยธานี และกำแพงเพชร ได้แก่ อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ เป็นอำเภอที่ได้น้ำใช้มากที่สุด รวมกว่า 2 แสนไร่ คิดเป็นร้อยละ 70.5 ของพื้นที่ชลประทานทั้งหมด, อำเภอแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์ ประมาณ 4.3 หมื่นไร่, อำเภอเมืองนครสวรรค์ ประมาณ 2.6 หมื่นไร่ อำเภอสว่างอารมณ์ จังหวัดอุทัยธานี ประมาณ 1 หมื่นไร่ และอำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร กว่า 5 พันไร่
ข้อมูลการส่งน้ำชลประทานในฤดูแล้งจากร่าง EIA โดยบริษัทครีเอทีฟ เทคโนโลยี จำกัด เมื่อเดือนเมษายน 2555 ระบุว่า มีพื้นที่ชลประทานทั้งหมด 291,900 ไร่ ซึ่งจริงๆ แล้วมีพื้นที่ได้รับน้ำจากเขื่อนเพียง 70,000 ไร่ เท่านั้น
ตัวอย่างเช่น เขื่อนทับเสลา จังหวัดอุทัยธานี ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อบรรเทาการขาดแคลนน้ำ ขนาดความจุปกติ 160 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่ปัจจุบันมีน้ำเพียง 40 กว่าล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งใช้ได้จริงเพียง 25 ล้านลูกบาศก์เมตรเท่านั้น โดยปริมาณน้ำที่ใช้ได้จริงสามารถไปถึงพื้นที่ชลประทานได้เพียง 12,000 ไร่ จากทั้งหมดกว่า 140,000 ไร่
ปัญหาของเขื่อนแม่วงก์ที่หลายคนอาจไม่รู้คือ เรื่อง “เวนคืนที่ดิน” เพื่อทำคลองยาว 500 กิโลเมตร และคลองระบายน้ำ ซึ่งต้องเวนคืนที่ดินจากชาวบ้านกว่าพันราย รวมที่ดิน 10,892 ไร่
นอกจากนี้ต้องเวนคืนที่ดินอื่นๆ เพิ่มอีกในการสร้างเขื่อน คือ
- ที่ดิน 850 ไร่ ที่บ้านคลองไทร ต.แม่เล่ย์ อ.แม่วงก์ เพื่อใช้เป็นบ่อยืมดิน
- ที่ดิน 55 ไร่ ที่บ้านท่าตาอยู่ ต.ปางมะค่า เพื่อใช้ปรับปรุงฝายท่าตาอยู่
- ที่ดิน 173 ไร่ ติดเขาสบกก เพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่หัวงาน
นอกจากนี้อาจมีปัญหาว่า ชาวบ้านต้องสูบน้ำเข้าที่นาเอง เนื่องจากเขื่อนมีขนาดเล็ก และน้ำอาจไม่มากพอส่งมาท้ายเขื่อนของพื้นที่ชลประทาน และปัญหาความเหลื่อมล้ำของผู้มีอำนาจที่อาจได้รับประโยชน์การใช้น้ำชลประทานก่อน เพราะรัฐยังไม่ระบุว่าพื้นที่ระบบชลประทานหน้าแล้งตรงไหนที่ได้รับประโยชน์
ในขณะที่ชาวบ้านสามารถจัดการปัญหาเรื่องน้ำด้วยตนเองได้ เช่น “ชาวนาที่ศาลเจ้าไก่ต่อ” ทำนาโดยใช้ระบบสูบน้ำและส่งน้ำบาดาล โดยการขุดคลองรอบคันนาเพื่อส่งน้ำไปใช้ ด้านหนึ่งของคันนาจะขุดเป็นบ่อพักน้ำหมุนเวียนในนาซึ่งเลี้ยงปลาไว้เป็นรายได้เสริมด้วย หรือทางออกเรื่องน้ำระดับชุมชนของ “บ้านธารมะยม” ที่มีเขาแม่กระทู้เป็นต้นน้ำ และใช้ต้นน้ำนี้ทำประปาภูเขา นอกจากนี้ตามลำห้วยก็สร้างฝายกั้นน้ำ สร้างอ่างเก็บน้ำ เพื่อไปใช้ในที่นา รวมถึงขุดบ่อน้ำไว้เลี้ยงปลาด้วย เมื่อน้ำอุดมสมบูรณ์ ชุมชนก็ทำเกษตรได้ มีรายได้เลี้ยงครอบครัว และเงินค่าน้ำประปาภูเขาก็กลายมาเป็นกองทุนและสวัสดิการต่างๆ ของชุมชน
นอกจากนี้ ยังมีตัวอย่างการแก้ปัญหาเรื่องน้ำในระดับตำบลโดยภาครัฐที่ ต.หนองหลวง อ.สว่างอารมณ์ จ.อุทัยธานี ที่สนับสนุนการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กในตำบล เช่น สร้างฝาย อ่างเก็บน้ำ โครงการสูบน้ำ ซึ่งก็เพียงพอต่อการอุปโภค-บริโภคของคนในตำบล หรือทางออกการจัดการน้ำที่ยั่งยืนอย่าง “ปิดทองหลังพระ model” ของโครงการปิดทองหลังพระจังหวัดน่าน ที่สร้างถังเก็บน้ำไว้ในหมู่บ้าน สร้างฝายต้นน้ำ ฝายชะลอน้ำ และสร้างอ่างพวงเพื่อส่งน้ำไปใช้เพื่อการเกษตร รวมถึงปลูกพืชที่เหมาะสมกับพื้นที่ด้วย
หากไม่มีเขื่อน ชาวบ้านในพื้นที่ชลประทานก็ยังสามารถใช้ชีวิตอยู่ได้และอยู่ดี เพราะ
1. มีป่าเขาชนกันที่มีสายน้ำไหลตลอดปีกว่า 10 สาย ซึ่งสามารถจัดการได้ตามแบบบ้านธารมะยม และ ต.หนองหลวง
2. มีน้ำใต้ดินที่ลึกเพียง 3 เมตร หรือลึกกว่า ที่สามารถพัฒนาเป็นสระน้ำในไร่นาได้แบบที่ “ศาลเจ้าไก่ต่อ”
3. หลายพื้นที่อาจพัฒนาระบบอ่างเก็บน้ำหลักและอ่างพวงตามแบบ “ปิดทองหลังพระโมเดล”
4. ลำน้ำนอกเขตอุทยานก็สามารถพัฒนาเป็นแหล่งเก็บน้ำได้อีกมาก โดยปรับปรุงฝายเดิมหรือสร้างใหม่ให้เหมาะสม
5. ให้งบประมาณแก่คนทั้ง 23 ตำบล ตำบลละ 200 ล้านบาท รวมเป็น 4,600 ล้านบาท แล้วหาทางพัฒนาแหล่งน้ำโดยชาวบ้านแล้วให้ข้าราชการเป็นที่ปรึกษา ดีกว่าสร้างเขื่อนทับป่าสมบูรณ์ พร้อมคลองชลประทานดาดคอนกรีต 500 กิโลเมตร ด้วยงบ 13,000 ล้านบาท
6. ให้แม่วงก์เป็นต้นแบบโครงการที่ราษฎรและข้าราชการร่วมกันแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำโดยไม่ทำลายป่าเพื่อสร้างเขื่อน
7. ขยายพื้นที่มรดกโลกทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง โดยรวมอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ อุทยานแห่งชาติคลองลาน และทั้งผืนป่าตะวันตกเข้าด้วยกัน
“เขื่อนคือที่เก็บน้ำชั่วคราว แต่ป่าคือที่เก็บน้ำชั่วชีวิต”
อ่านเพิ่มเติม หนังสือ “ทำไม!!…ต้องค้านเขื่อนแม่วงก์” โดยเครือข่ายองค์กรอนุรักษ์ด้านสิ่งแวดล้อม กรกฎาคม 2555
ที่มา : http://thaipublica.o...1/mae-wong-dam/
ถูกใจเสื้อแดง ของแพงไม่ว่า โดนโกงไม่ด่า ขอแค่ตระกูลชินนรกเป็น นายก พอ..
สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 1 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน