"ตปท.รื้อเขื่อน ไทยกลับสร้าง" . . . . นี่คือการโกหกพกลมครับ
#51
ตอบ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 00:56
#52
ตอบ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 01:25
ทำเถอะครับด๊อกเตอร์ ไม่เจ็บหรอก
สนับสนุนเป็นอย่างยิ่ง
ทำเถอะด็อก จะได้ไม่เป็นภาระสังคม
ช้าไปห้าสิบกว่าปีครับ
ไมหยั่งงั่นแผ่นดินกทมอาจสูงกว่าจนน้ำท่วมไม่ถึง
- G.Maniac likes this
ข อ ใ ห้ โ ช ค ดี ต่ อ ค ว า ม เ ชื่ อ ค รั บ
เราอยู่ด้วยกัน ยืนข้างกัน เดินไปด้วยกัน ด้วยเพราะเรามีมุมมองและเป้าหมายไปในทิศทางเดียวกัน
จนกว่าจะถึงวันที่เราพบว่า เรามีจุดหมายปลายทางคนละตำแหน่งกัน
#53
ตอบ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 07:00
เห็นด๊อกฯแปะการ์ตูนล้อตัวเองเลยขอแปะบ้าง
เขียนเรื่องการเมือง : ดราม่า ,เขียนเรื่องสังคม : ดราม่า เขียนเรื่องบันเทิง : ดราม่า
แต่พอโพสเรื่องหื่น : มีความเห็นเป็นไปทางเดียวกันเสมอ >3<
#54
ตอบ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 07:06
ผมก็ยังขอย้ำแบบเดิมว่าไม่ควรสร้างเขื่อน เพราะปัจจุบันมีวิธีการจัดการแบบใหม่โดยการเก็บน้ำใต้ดินซึ่งทำให้ไม่เสียพื้นที่ใช้สอยที่เป็นประโยชน์บนดิน รวมถึงทำให้ดินมีความอุมสมบูรณ์ ปลูกพืชได้ผลผลิตดีขึ้น จึงเป็นการแก้ปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งได้ และยังช่วยเพิ่มผลผลิตด้านการเกษตร ไม่ต้องมาเสียค่าปั้มน้ำให้เปลืองไฟ
(ไม่ใช่การสร้างอ่างเก็บน้ำใต้ดิน แต่เก็บไว้ในดินเลย ซึ่งเก็บได้ไม่จำกัด วิธีการนี้มีบางจังหวัดนำไปใช้ทำให้จากเดิมที่เคยท่วมทุกปี ปีนี้น้ำไม่ท่วมแล้ว เป็นวิธีการแก้ปัญหาที่ง่ายและลงทุนไม่แพง ท่านสส.จังหวัดหนึ่งเพิ่งทราบเมื่อต้นปี ทำปุ๊บช่วงหน้าฝนก็แก้ปัญหาได้ทันที โครงการหลวงก็นำไปแก้ปัญหาฝายพังในภาคเหนือ ส่วนรัฐบาลก็บอกไปแล้วแต่กลับไม่ดำเนินการ แถมยังจะไปสร้างเขื่อนอีก ส่วนใครแนะนำและมีวิธีทำอย่างไร ผมบอกไม่ได้ ไม่เชื่อก็ไม่เป็นไรเพราะผมไม่มีหลักฐาน แต่คิดว่าคงไม่ยากเกินไปที่จะศึกษาหาข้อมูล)
ถ้าจะอ้างเรื่องการผลิตกระแสไฟฟ้าก็ไม่ควร ปัจจุบันการผลิตกระแสไฟฟ้ามีเทคโนโลยีใหม่ที่สร้างได้มากกว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์และปลอดภัยกว่า แต่แน่นอนเป็นลิขสิทธิ์ทางปัญญาคงไม่มีการเผยแพร่ แต่ผมเชื่อว่าถ้าเราสนับสนุนให้คนไทยคิดค้นวิจัยเองก็ย่อมทำได้
(ถ้าบ้านเรามีเทคโนโลยีนี้แบบนี้ค่าไฟจะถูกมาก ยิ่งถ้าต่อไปมีรถยนต์ที่ใช้ไฟฟ้า ก็ไม่ต้องมาเติมน้ำมันราคาแพงๆอีก)
ขอให้ทุกคนช่วยกันคัดค้านการสร้างเขื่อนอย่างเต็มที่ครับ ผมเชื่อว่าโกงงบประมาณแน่นอน ซึ่งนั่นยังไม่เท่าไหร่เพราะเดี๋ยวกรรมก็ตามทัน แต่สิ่งที่เสียไปคือธรรมชาตินั่นแหละที่อันตรายที่สุดไม่สามารถเรียกกลับมาได้
Edited by ไร้สีไร้กลิ่น, 7 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 07:46.
#55
ตอบ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 07:12
ด็อก ๆ ถ่ามหน่อย
ด็อกนี่สมัยก่อน ใช่ไอ้คนที่มาตั้งกระมู้สลิปเงินเดือน 15,000 ใช่ป่ะ ที่เป็นประวัติศาสตร์ของที่นี่เรยอ่ะ
ใช่ป่ะล่ะ
- tonythebest likes this
ข้าจักล้มล้าง ระบอบทักษิณ ให้หมดสิ้นไปจากแผ่นดินไทย
#56
ตอบ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 07:20
ผมว่าพวกแดงนิสัยแบบนี้มีหลายคนนะครับ คงแค่นิสัยเดียวกันแต่ไม่ใช่คนเดียวกันหรอก
ปล. ฝากอีกเรื่อง แต่ก่อนประเทศไทยในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ปลูกอะไรก็ขึ้น น้ำสะอาดดื่มกินได้ แต่ปัจจุบันมีการใช้สารเคมี ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ทำให้สภาพน้ำ อากาศเปลี่ยนไป ผลผลิตตกต่ำก็ยิ่งใช้สารเคมีกันมากขึ้น คนก็เลยป่วยเป็นโรคกันมากจากสารเคมีที่ตกค้าง เมืองนอกที่เจริญแล้วเขาต้องตรวจสอบน้ำที่ใช้ทำการเกษตร/เลี้ยงสัตว์ไม่ให้มีสารพิษ ในขณะที่ประเทศไทยใช้น้ำสกปรก คิดแค่ว่ามีน้ำรดต้นไม้ก็พอ
ผมว่าถึงเวลาที่เราจะมาทบทวนความรู้กันใหม่ ทำยังไงที่จะมีน้ำและอากาศบริสุทธิ์แล้วผลผลิตทางการเกษตรก็จะดีขึ้น สุขภาพคนก็จะดีขึ้น นี่คือการแก้ปัญหาที่ยั่งยืนที่สุด
Edited by ไร้สีไร้กลิ่น, 7 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 07:31.
#57
ตอบ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 07:54
1128
#58
ตอบ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 07:56
พฤติกรรมคล้ายกันมว๊ากกก
ข้าจักล้มล้าง ระบอบทักษิณ ให้หมดสิ้นไปจากแผ่นดินไทย
#59
ตอบ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 08:08
ผมเริ่มมั่นใจมากขึ้นว่าน้ำท่วมครั้งนี้ไม่ได้เกิดจากภัยธรรมชาติอย่างเดียว แต่น่าจะเป็นการตั้งใจให้ท่วม จะตรวจสอบยังไงดี
ปลอดต้องการอะไรในป่าแม่วงก์ ทำไมถึงดิ้นได้ขนาดนี้
ปล. เป็นแดงคนละคน แต่ทีมงานเดียวกันครับ
#60
ตอบ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 09:52
ข่าวไหนที่ต้านเขื่อน โสภณจะบอกเชื่อถือไมได้เสมอ
#61
ตอบ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 09:58
ข่าวทุบทิ้งเขือนของต่างประเทศ เชื่อไม่ได้ครับ เป็นสื่้ออำมาตย์ ครับ
ข่าวสนับสนุนสร้างเขือน เชื่อถือได้ครับ เป็นสื่อประชาชนจริง ๆ
ปล.ด๊อก โสมมมมมมมมมม บอกมาครับ
ถึงตรูจะเลวยังไง ตรูก้อไม่ได้ขายชาติ เหมือนเสื้อแดงว่ะ เข้าใจนะ
#62
ตอบ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 12:06
ด่วน!! การรื้อเขื่อน = กุเรื่องสุดน่าละอายเพื่อหลอกคนไทยต้านการสร้างเขื่อน . . . อเมริกาจะรื้อไป 2 เขื่อนเพราะมีอายุนับร้อยปี รั่ว อันตราย ซ่อมไม่คุ้ม และเดี๋ยวนี้เขามีไฟฟ้าจากนิวเคลียร์และอื่นๆ กันแล้ว เขารื้อแค่ 2 จาก 76,000 เขื่อนทั่วประเทศ อย่าเอาข้อมูลเท็จมาหลอกคนไทยด้วยกันเลย เห็นแก่ชาติ เห็นแก่ชาวนา เห็นแก่คนจนจริง ๆ บ้างเถอะ www.greenworld.or.th/columnist/ecosaveworld/1842 และอ่านเรื่องเขื่อนนี้ที่ http://en.wikipedia....lectric_Project
http://www.area.co.t...uncement576.htm
ในบทความดังกล่าว ระบุว่าสหรัฐอเมริกา มีเขื่อนถึง 70,000 แห่ง แต่ได้ระบุชื่อเขื่อนที่จะรื้อ 2 แห่ง แต่ในความเป็นจริงอาจมีมากกว่านี้ แต่คงเป็นเขื่อนเล็ก ๆ หรือฝาย สำหรับกรณีการรื้อเขื่อนใหญ่
ดิ้นไปดิ้นมา... ตกลงมีมากว่า 2 ใช่มั๊ยด็อก... ด็อกโกหกหรอ
- จอมโจรคิด likes this
“Live as if you were to die tomorrow. Learn as if you were to live forever.” - Mahatma Gandhi
สนใจบ้านพักคนชราเสรีไทย (FB Secret Group) ติดต่อ (PM) เว็บบอร์ด
#63
ตอบ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 12:17
ผมว่าคนเป็นถึงด็อกเตอร์ แต่โกหกเรื่องการสำรวจความคิดเห็นประชาชน บิดเบือนข้อมูลเนี่ย โสมมกว่าเยอะเลยนะ
- คน หมา ขี้ข้า จานบิน... likes this
#64
ตอบ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 12:19
สร้างเขื่อนไม่คุ้มหรอก ถางป่าเอามาสร้างเมืองช๊อบปิ้งเซ็นเตอร์ดีกว่านิ
สุสงสุสานที่ไหนก็ขุดรื้อเอามาเผาให้หมดแล้วขึ้นคอนโดแทน
ไตเอ็งมีสองข้างตัดขายไปลงทุนสักข้างก็ไม่เลวนะ
#65
ตอบ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 12:24
เห็นด๊อกฯแปะการ์ตูนล้อตัวเองเลยขอแปะบ้าง
ต๊าย กัลยาณมิตรชองนายโสภณสนับสนุนประชาชนที่ด่ามันด้วยนะคะเนี่ย
#66
ตอบ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 12:29
เรื่องของเสือไม่มีป่า หมา( DOG )ไม่น่ามาเกี่ยว..
#67
ตอบ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 14:03
ด่วน!! การรื้อเขื่อน = กุเรื่องสุดน่าละอายเพื่อหลอกคนไทยต้านการสร้างเขื่อน . . . อเมริกาจะรื้อไป 2 เขื่อนเพราะมีอายุนับร้อยปี รั่ว อันตราย ซ่อมไม่คุ้ม และเดี๋ยวนี้เขามีไฟฟ้าจากนิวเคลียร์และอื่นๆ กันแล้ว เขารื้อแค่ 2 จาก 76,000 เขื่อนทั่วประเทศ อย่าเอาข้อมูลเท็จมาหลอกคนไทยด้วยกันเลย เห็นแก่ชาติ เห็นแก่ชาวนา เห็นแก่คนจนจริง ๆ บ้างเถอะ www.greenworld.or.th/columnist/ecosaveworld/1842 และอ่านเรื่องเขื่อนนี้ที่ http://en.wikipedia....lectric_Project
http://newswatch.nat...rivers-in-2012/
65 Dams Removed to Restore Rivers in 2012
From Amethyst Brook in Massachusetts to Wychus Creek in Oregon, communities in 19 states restored 400 miles of rivers and streams by removing 65 dams in 2012. American Rivers announced the annual dam removal list today, bring the total for U.S. dam removals up to nearly 1,100.
แถกไปเรื่อย ๆ นะ
#68
ตอบ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 14:46
http://newswatch.nat...rivers-in-2012/
65 Dams Removed to Restore Rivers in 2012
From Amethyst Brook in Massachusetts to Wychus Creek in Oregon, communities in 19 states restored 400 miles of rivers and streams by removing 65 dams in 2012. American Rivers announced the annual dam removal list today, bring the total for U.S. dam removals up to nearly 1,100.
แหมคุณ HiddenMan ล่ะก็...ผมอุตส่าห์แชร์แต่ลิงค์ให้ด๊อกไปเปิดหูเปิดตาสักหน่อย
คิดว่าระดับด๊อกฯเขาน่าจะเข้าใจ แบบว่าไม่อยากตอบโต้อะไรแกมาก คุยมากๆระวังตรรกะเพี้ยนนะฮะ
ด๊อก จะอ่านภาษาอังกฤษออกมั้ยแว้
ช่วงนี้ คนเป่านกหวีดเสียงดังกันเยอะ ปีนี้เลยกลายเป็น " ปี แสบ หู "
#69
ตอบ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 15:27
เองคือนักข่าวลีใช่ไหม
- tonythebest likes this
Tam-mic-ra ฟันธง! คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ ..... คิดครับคิด จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96 ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3
#70
ตอบ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 15:31
กระทู้ด้อยคุณภาพ
" ประกาศบอยคอต ช่อง 3 ไม่ว่าจะข่าว ละคร หรือการ์ตูนลูก กรูไม่ดู !!! "
#71
ตอบ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 15:32
กลับไปตอบคำถามเรื่อง ผลสำรวจด้วยครับ
#72
ตอบ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 04:25
โพนทะนาผิดๆ ว่าต่างประเทศทุบทิ้งเขื่อน
ผู้แถลง: ดร.โสภณ พรโชคชัย
www.facebook.com/dr.sopon4
พวกนักต่อต้านการสร้างเขื่อนแม่วงก์และเขื่อนใด ๆ ก็ตามในประเทศไทย อ้างอิงบทความ {1} มาสำทับว่าสหรัฐอเมริกา (ที่เจริญกว่าไทย) รื้อเขื่อน แต่ไทย (ที่รู้น้อย) กลับยังจะสร้างเขื่อน นี่เป็นการบิดเบือนความจริงอย่างสิ้นเชิง เพียงเพื่อต่อต้านการสร้างเขื่อนแบบผิดๆ
ในบทความดังกล่าว ระบุว่าสหรัฐอเมริกา มีเขื่อนถึง 70,000 แห่ง แต่ได้ระบุชื่อเขื่อนที่จะรื้อ 2 แห่ง แต่ในความเป็นจริงอาจมีมากกว่านี้ แต่คงเป็นเขื่อนเล็ก ๆ หรือฝาย สำหรับกรณีการรื้อเขื่อนใหญ่ เช่น เขื่อน Condit {2} ก็เป็นเพราะเขื่อนดังกล่าว ก่อสร้างมาราว 100 ปีแล้ว ใช้ผลิตไฟฟ้าจนแสนคุ้มแล้ว มีปัญหารั่วและอาจก่อให้เกิดอันตรายได้หากปล่อยทิ้งไว้ ยิ่งเมื่อพิจารณาถึงค่าดูแล อาจไม่คุ้มกับค่าผลิตไฟฟ้า ดังนั้นจึงมีการรื้อเขื่อนทิ้ง
สำหรับที่บอกว่ายังจะมีการรื้อเขื่อนอีกมากมายนั้น คงเป็นเขื่อนขนาดเล็ก ๆ หรือฝายทดน้ำ แต่ก็ยังมีเขื่อนใหญ่ที่ล้าสมัยแล้วอยู่เช่นกัน กรณีเช่นนี้ถือเป็นการยกเอาข้อยกเว้นที่นำมาถือเป็นสรณะไม่ได้ และการยกเอาตัวอย่งในประเทศหนึ่งมาเทียบกับอีกประเทศหนึ่งอย่างไม่จำแนกแยกแยะถึงที่มาที่ไป ก็เท่ากับการบิดเบือนความจริงอย่างขาดจริยธรรมเป็นอย่างยิ่ง
ภาพที่ 1: พวกฝายเล็ก ๆ ก็เอามาอ้างว่ามีการรื้อเขื่อน (ใหญ่ๆ) เพื่อสร้างกระแสว่าเดี๋ยวนี้เขาไม่เอาเขื่อนแล้ว: http://newswatch.nat...rivers-in-2012/
นอกจากนี้ในภูมิภาคนี้ ก็มีข่าว "เวียดนามล้มเขื่อนกว่า 300 แห่ง พบทำลายป่ากระทบสิ่งแวดล้อมสาหัส"{3} ซึ่งฟังดูประหนึ่งว่าการสร้างเขื่อนเป็นสิ่งเลวร้าย แต่ในความเป็นจริง นี่อาจเป็นหนึ่งในข่าวลวง เพราะเวียดนามมีเขื่อนอยู่ไม่กี่เขื่อน และยังกำลังวางแผนเปิดเขื่อนขนาดใหญ่เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าอีก 12 แห่ง {4} การสร้างข่าวเพื่อการเอาชนะกัน เพื่อการบิดเบือนห้ามสร้างเขื่อนนี้เป็นภัยอย่างยิ่ง
ในกรณีการเปรียบเทียบกับสหรัฐอเมริกานั้น เขายังใช้ถ่านหิน แก๊สและน้ำมันผลิตไฟฟ้า 76% ของไทย 89% เขาใช้เขื่อนน้ำผลิตไฟฟ้า 8% ไทยใช้ 11% และใช้พลังงานสายลม-แสงแดดอีก 5% แต่ของไทย 0.2% เท่านั้น ยิ่งกว่านั้นเขาใช้ไฟฟ้าจากนิวเคลียร์ถึง 10% ของไทยไม่มี
ภาพที่ 2: ที่ตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในสหรัฐอเมริกา
ที่มา: http://nuclearinfo.n...CurrentReactors
ต้องเปรียบเทียบให้ชัดว่า สหรัฐอเมริกามีขนาดใหญ่กว่าไทย 18 เท่า มีความหนาแน่นของประชากรเพียง 34 คนต่อตารางกิโลเมตร ในขณะที่ไทยสูงถึง 131 คน แล้วไทยจะผลิตไฟฟ้าจากสายลม-แสงแดดได้พอใช้ได้อย่างไร ยิ่งกว่านั้น สหรัฐอเมริกา ผลิตไฟฟ้าจากนิวเคลียร์ถึง 10% แต่ไทยไม่กล้าผลิต เวียดนามก็กำลังจะมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ แต่ของไทยทำไม่ได้
ภาพที่ 3: แผนการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศเวียดนาม
ที่มา: www.world-nuclear.org/info/Country-Profiles/Countries-T-Z/Vietnam/#.UlHnz6I5Oic
ประเทศไทยกำลังถดถอย เพราะประเทศอื่นกำลังพัฒนา เช่นเวียดนาม มีการวางแผนไว้ถึงระยะ พ.ศ.2573 ว่าจะมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 4 แห่ง แต่ของไทย ไม่กล้าแม้แต่จะคิด เพราะถูกกีดขวางไปหมด จะใช้น้ำมันก็ไม่ได้ ถ่านหินก็ไม่ได้ พลังน้ำก็ไม่ได้ ต้องใช้สายลม-แสงแดดเป็นหลัก ประเทศเช่นนอร์เวย์ ลาว นิวซีแลนด์ ผลิตไฟฟ้าจากธรรมชาติได้ แต่ประเทศที่มีประชากรมาก เช่น สวีเดน เขมร ไทย เวียดนาม คงผลิตได้ไม่เพียงพอ
อย่าใช้อวิชชา ทำลายชาติกันเลยครับ
ภาพที่ 4: แผนที่แสดงโครงการเวนคืนเพื่อก่อสร้างเขื่อนในสหรัฐอเมริกา
ที่มา: http://www.usbr.gov/.../DynamicMap.jsp
อ้างอิง
{1} สฤณี อาชวานันทกุล. เศรษฐศาสตร์การรื้อเขื่อน โดย สฤณี อาชวานันทกุล www.greenworld.or.th/columnist/ecosaveworld/1842 และดูที่ https://www.facebook...477562968975461
{2} เขื่อน Condit: http://en.wikipedia....lectric_Project
{3} เวียดนามล้มเขื่อนกว่า 300 แห่ง พบทำลายป่ากระทบสิ่งแวดล้อมสาหัส ASTVผู้จัดการออนไลน์ 2 ตุลาคม 2556 20:46 น. http://www.manager.c...D=9560000124147
{4} Dams in Vietnam. http://www.internati...in-vietnam-4079
#73
ตอบ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 04:31
โพนทะนาผิดๆ ว่าต่างประเทศทุบทิ้งเขื่อน
ผู้แถลง: ดร.โสภณ พรโชคชัย
www.facebook.com/dr.sopon4
พวกนักต่อต้านการสร้างเขื่อนแม่วงก์และเขื่อนใด ๆ ก็ตามในประเทศไทย อ้างอิงบทความ {1} มาสำทับว่าสหรัฐอเมริกา (ที่เจริญกว่าไทย) รื้อเขื่อน แต่ไทย (ที่รู้น้อย) กลับยังจะสร้างเขื่อน นี่เป็นการบิดเบือนความจริงอย่างสิ้นเชิง เพียงเพื่อต่อต้านการสร้างเขื่อนแบบผิดๆ
ในบทความดังกล่าว ระบุว่าสหรัฐอเมริกา มีเขื่อนถึง 70,000 แห่ง แต่ได้ระบุชื่อเขื่อนที่จะรื้อ 2 แห่ง แต่ในความเป็นจริงอาจมีมากกว่านี้ แต่คงเป็นเขื่อนเล็ก ๆ หรือฝาย สำหรับกรณีการรื้อเขื่อนใหญ่ เช่น เขื่อน Condit {2} ก็เป็นเพราะเขื่อนดังกล่าว ก่อสร้างมาราว 100 ปีแล้ว ใช้ผลิตไฟฟ้าจนแสนคุ้มแล้ว มีปัญหารั่วและอาจก่อให้เกิดอันตรายได้หากปล่อยทิ้งไว้ ยิ่งเมื่อพิจารณาถึงค่าดูแล อาจไม่คุ้มกับค่าผลิตไฟฟ้า ดังนั้นจึงมีการรื้อเขื่อนทิ้ง
สำหรับที่บอกว่ายังจะมีการรื้อเขื่อนอีกมากมายนั้น คงเป็นเขื่อนขนาดเล็ก ๆ หรือฝายทดน้ำ แต่ก็ยังมีเขื่อนใหญ่ที่ล้าสมัยแล้วอยู่เช่นกัน กรณีเช่นนี้ถือเป็นการยกเอาข้อยกเว้นที่นำมาถือเป็นสรณะไม่ได้ และการยกเอาตัวอย่งในประเทศหนึ่งมาเทียบกับอีกประเทศหนึ่งอย่างไม่จำแนกแยกแยะถึงที่มาที่ไป ก็เท่ากับการบิดเบือนความจริงอย่างขาดจริยธรรมเป็นอย่างยิ่ง
ภาพที่ 1: พวกฝายเล็ก ๆ ก็เอามาอ้างว่ามีการรื้อเขื่อน (ใหญ่ๆ) เพื่อสร้างกระแสว่าเดี๋ยวนี้เขาไม่เอาเขื่อนแล้ว: http://newswatch.nat...rivers-in-2012/
นอกจากนี้ในภูมิภาคนี้ ก็มีข่าว "เวียดนามล้มเขื่อนกว่า 300 แห่ง พบทำลายป่ากระทบสิ่งแวดล้อมสาหัส"{3} ซึ่งฟังดูประหนึ่งว่าการสร้างเขื่อนเป็นสิ่งเลวร้าย แต่ในความเป็นจริง นี่อาจเป็นหนึ่งในข่าวลวง เพราะเวียดนามมีเขื่อนอยู่ไม่กี่เขื่อน และยังกำลังวางแผนเปิดเขื่อนขนาดใหญ่เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าอีก 12 แห่ง {4} การสร้างข่าวเพื่อการเอาชนะกัน เพื่อการบิดเบือนห้ามสร้างเขื่อนนี้เป็นภัยอย่างยิ่ง
ในกรณีการเปรียบเทียบกับสหรัฐอเมริกานั้น เขายังใช้ถ่านหิน แก๊สและน้ำมันผลิตไฟฟ้า 76% ของไทย 89% เขาใช้เขื่อนน้ำผลิตไฟฟ้า 8% ไทยใช้ 11% และใช้พลังงานสายลม-แสงแดดอีก 5% แต่ของไทย 0.2% เท่านั้น ยิ่งกว่านั้นเขาใช้ไฟฟ้าจากนิวเคลียร์ถึง 10% ของไทยไม่มี
ภาพที่ 2: ที่ตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในสหรัฐอเมริกา
ที่มา: http://nuclearinfo.n...CurrentReactors
ต้องเปรียบเทียบให้ชัดว่า สหรัฐอเมริกามีขนาดใหญ่กว่าไทย 18 เท่า มีความหนาแน่นของประชากรเพียง 34 คนต่อตารางกิโลเมตร ในขณะที่ไทยสูงถึง 131 คน แล้วไทยจะผลิตไฟฟ้าจากสายลม-แสงแดดได้พอใช้ได้อย่างไร ยิ่งกว่านั้น สหรัฐอเมริกา ผลิตไฟฟ้าจากนิวเคลียร์ถึง 10% แต่ไทยไม่กล้าผลิต เวียดนามก็กำลังจะมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ แต่ของไทยทำไม่ได้
ภาพที่ 3: แผนการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศเวียดนาม
ที่มา: www.world-nuclear.org/info/Country-Profiles/Countries-T-Z/Vietnam/#.UlHnz6I5Oic
ประเทศไทยกำลังถดถอย เพราะประเทศอื่นกำลังพัฒนา เช่นเวียดนาม มีการวางแผนไว้ถึงระยะ พ.ศ.2573 ว่าจะมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 4 แห่ง แต่ของไทย ไม่กล้าแม้แต่จะคิด เพราะถูกกีดขวางไปหมด จะใช้น้ำมันก็ไม่ได้ ถ่านหินก็ไม่ได้ พลังน้ำก็ไม่ได้ ต้องใช้สายลม-แสงแดดเป็นหลัก ประเทศเช่นนอร์เวย์ ลาว นิวซีแลนด์ ผลิตไฟฟ้าจากธรรมชาติได้ แต่ประเทศที่มีประชากรมาก เช่น สวีเดน เขมร ไทย เวียดนาม คงผลิตได้ไม่เพียงพอ
อย่าใช้อวิชชา ทำลายชาติกันเลยครับ
ภาพที่ 4: แผนที่แสดงโครงการเวนคืนเพื่อก่อสร้างเขื่อนในสหรัฐอเมริกา
ที่มา: http://www.usbr.gov/.../DynamicMap.jsp
อ้างอิง
{1} สฤณี อาชวานันทกุล. เศรษฐศาสตร์การรื้อเขื่อน โดย สฤณี อาชวานันทกุล www.greenworld.or.th/columnist/ecosaveworld/1842 และดูที่ https://www.facebook...477562968975461
{2} เขื่อน Condit: http://en.wikipedia....lectric_Project
{3} เวียดนามล้มเขื่อนกว่า 300 แห่ง พบทำลายป่ากระทบสิ่งแวดล้อมสาหัส ASTVผู้จัดการออนไลน์ 2 ตุลาคม 2556 20:46 น. http://www.manager.c...D=9560000124147
{4} Dams in Vietnam. http://www.internati...in-vietnam-4079
#75
ตอบ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 05:55
มึงยังไม่ยอมหยุดใช่มั้ย ไอ้หน้าด้าน นักวิชาการลวงโลกอย่างมึงควรสำนึกตัวได้แล้ว
#79
ตอบ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 06:40
คือว่าเมิ-งจะตั้งหลายกระทู้เหมือนๆกันทำไมเนี่ย กระทู้เก่าก็แทบไม่เข้าไปตอบ แถมตอบก็แบบไม่ฟังคนอื่น
เรื่องทำลายเขื่อน มีหลายท่านโพสไว้แล้วแต่มันคงไม่สนใจจะอ่านเหตุผลก็คงวนลูปแต่ว่าเขื่อนเก่า ผลิตไฟคุ้มแล้ว
แต่เรื่องผลิตไฟฟ้านี่จะเห่ามาทำไม เขื่อนแม่วงก์หรือเขื่อนอื่นๆในโมดูล A1 นี่มีอันใหนผลิตไฟฟ้าบ้างถึงได้เอามาเทียบแบบนี้
Edited by Garfield, 8 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 06:40.
- Somebody likes this
#80
ตอบ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 06:42
ทำไมต้องมีวันหยุดเขื่อนโลก กำเนิดยุคสมัยแห่งการสร้างเขื่อน
http://www.seub.or.t...41-01&Itemid=75
ยุคสมัยของการสร้างเขื่อนสมัยใหม่ได้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2478 หรือเมื่อ 63 ปีที่ผ่านมา หลังจากที่วิศวกรของอเมริกาสามารถสร้างเขื่อนฮูเวอร์-เขื่อนขนาดยักษ์กั้น แม่น้ำโคโลราโดได้สำเร็จ บนความเชื่อที่ว่าการบังคับแม่น้ำเพื่อเกิดประโยชน์อย่างที่มนุษย์ต้องการ เป็นสิ่งถูกต้อง
ความสำเร็จในการสร้างเขื่อนขนาดยักษ์กั้นแม่น้ำ ได้ทำให้นักสร้างเขื่อนถือกันว่าถ้าหากสร้างเขื่อนสำเร็จก็จะเป็นชัยชนะอันยิ่งใหญ่ที่พวกเขาสามารถ ”เอาชนะธรรมชาติ” ได้ นักวิชาการที่รับใช้รัฐและทุนก็ได้สร้างความเชื่อขึ้นมาว่าเขื่อนคือ “สัญลักษณ์ของการพัฒนา” และเป็น ”มาตรวัดความเจริญรุ่งเรือง” ผลที่ตามมาก็คือ เขื่อนได้กลายเป็นสิ่งเชิดหน้าชูตาของประเทศ (ว่ามีอารยธรรมแล้ว) รัฐบาลและนักสร้างเขื่อนทั่วโลกจึงแข่งขันกันว่าใครจะสามารถสร้างเขื่อนที่ มีความ”ที่สุด”ได้มากกว่ากัน ซึ่งนักสร้างเขื่อนของไทยเคยสร้างผลงานสร้างเขื่อนภูมิพลให้ติดอันดับเขื่อน คอนกรีตที่ใหญ่เป็นอันดับ 7 ของโลก และใหญ่ที่สุดในเอเซียเมื่อคราวที่สร้างเขื่อนเสร็จใหม่ ๆ
ด้วยเหตุดังกล่าว เขื่อนจึงถูกสร้างมากขึ้น ๆ ราวกับการเกิดขึ้นของดอกเห็ดในฤดูฝน ทำให้ปัจจุบันทั่วโลกมีเขื่อนขนาดใหญ่ซึ่งหมายถึงเขื่อนที่มีความสูงมากกว่า 15 เมตรหรือประมาณตึก 4 ชั้น (นิยามโดยพวกอุตสาหรรมเขื่อน) ที่สร้างเสร็จไปแล้วมากกว่า 40,000 แห่ง โดยที่จีนมีเขื่อนขนาดใหญ่มากที่สุดในโลกประมาณ 19,000 แห่ง รองลงมาคืออเมริกาประมาณ 5,500 แห่ง ตามด้วยรัสเซีย ญี่ปุ่น และอินเดีย ขณะที่ทั่วโลกมีเขื่อนขนาดใหญ่ที่กำลังก่อสร้างในขณะนี้มากกว่า 1,000 แห่ง ส่วนใหญ่อยู่ในจีน ตุรกี เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น
นอกจากเขื่อนขนาดใหญ่แล้ว นักสร้างเขื่อนยังนิยามว่ามีเขื่อนขนาดยักษ์ (Mega-dam,SuperDam) อีกด้วย โดยจัดให้เขื่อนที่มีความสูงมากกว่า 150 เมตรเป็นเขื่อนขนาดยักษ์ ปัจจุบันทั่วโลกมีเขื่อนขนาดยักษ์อยู่ 300 แห่ง โดยที่อเมริกามีมากที่สุดในโลกคือ มีจำนวน 50 แห่ง ตามด้วยแคนาดา รัสเซีย และบราซิล
สำหรับประเทศไทย เขื่อนขนาดใหญ่ไม่ได้นิยามตามวงการอุตสาหกรรมเขื่อนแต่นิยามขึ้นตามกฎหมายสิ่งแวดล้อม โดยระบุว่าเขื่อนขนาดใหญ่ หมายถึงเขื่อนที่มีพื้นที่อ่างเก็บน้ำตั้งแต่ 15 ตารางกิโลเมตรขึ้นไป หรือมีปริมาตรความจุน้ำตั้งแต่ 100 ล้านลูกบาศก์เมตรขึ้นไป ซึ่งถ้าถือตามนี้ประเทศไทยก็มีเขื่อนขนาดใหญ่ที่สร้างเสร็จแล้ว 39 แห่ง กำลังก่อสร้าง 2 แห่ง นับว่าเป็นประเทศที่มีเขื่อนขนาดใหญ่มากที่สุดในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
สำหรับ เหตุผลในการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ไม่ว่าในประเทศไทยหรือทั่วโลกมักจะหนีไม่พ้น คาถา ที่ว่าต้องสร้างเขื่อนเพื่อการชลประทาน การผลิตไฟฟ้า การประมง การป้องกันอุทกภัย และการผลักดันน้ำเค็ม ซึ่งข้ออ้างเหล่านี้จะวนไปมาตามสถานการณ์ และในภาวะที่ปัจจุบันที่ข้ออ้างของนักสร้างเขื่อนมีน้ำหนักน้อยลงเพราะ เขื่อนได้พิสูจน์ด้วยตัวเอง แล้วว่าข้ออ้างเหล่านี้ไม่จริง นักสร้างเขื่อนก็พยายามคิดค้นเหตุผลข้ออ้างใหม่ ๆ ขึ้นมา ที่เห็นได้ชัดก็คือ การผลักดันให้มีการสร้างเขื่อนลำสะพุงในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ภูเขียวของ นักการเมืองและ กรมชลประทานโดยอ้างว่าเพื่อต้องการ ให้สัตว์ป่ามีน้ำกิน ซึ่งเหตุผลเช่นนี้ไม่เคยมีนักสร้างเขื่อนที่ไหนในโลกคิดขึ้นมาได้ก่อนนัก สร้างเขื่อนเมืองไทย
การต่อต้านเขื่อนของภาครัฐและนักสร้างเขื่อน
ท่ามกลางการผุดขึ้นของเขื่อนที่อ้างว่ามีประโยชน์เอนกอนันต์ ในอีกด้านหนึ่งเขื่อนก็ได้ก่อให้เกิดหายนะทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม การสร้างเขื่อนจึงถูกต่อต้านมากขึ้นทุกวันและเกือบทุกที่ทั่วโลกการต่อต้าน เขื่อนไม่ได้เกิดจาก ประชาชนผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเขื่อนเท่านั้น แต่ในทศวรรษนี้นักสร้างเขื่อนเองและภาครัฐเองก็หันกลับมาต่อต้านเขื่อนมาก ขึ้น ที่อเมริกาที่เป็นต้นตำหรับการสร้างเขื่อน เมื่อปี พ.ศ.2537 นายดาเนียล พี แบร์ด ผู้อำนวยการคณะกรรมการพัฒนาแหล่งน้ำซึ่งเป็นหน่วยงานสร้างเขื่อนที่ใหญ่ที่ สุดของอเมริกา ได้เรียกร้องให้นักสร้างเขื่อน ทั่วโลกยุติการสร้างเขื่อนด้วยเหตุผลเดียวกับที่ฝ่ายต่อต้านเขื่อนใช้ เขาได้กล่าวคำพูดที่ช็อคโลกด้วยการระบุว่า”ยุคสมัยแห่งการสร้างเขื่อนของ สหรัฐอเมริกาได้สิ้นสุดลงแล้ว” ไม่แต่เท่านั้น 3-4 ปีที่ผ่านมาอเมริกายังได้พยายามที่จะหาทางทุบเขื่อนที่กั้นแม่น้ำเอลวาทิ้ง อีกด้วย
ที่อียิปต์ ประธานาธิบดีฮอสนี มูบารัก ก็ได้ออกมาเรียกร้องว่า
“พี่ น้อง(ชาวอียิปต์)ที่รัก…พวกท่านทั้งหลายจะต้องร่วมกับเราในการไปสู่ชัยชนะ ที่ท้าท้ายครั้งยิ่งใหญ่ต่อปัญหาที่อียิปต์กำลัง เผชิญตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปจนถึงปี 2000 สิ่งที่เราต้องทำคือการศึกษาทางวิทยาศาสตร์อย่างจริงจังในทุกแง่มุมของปัญหา ทั้งในปัจจุบันและอนาคต และหนึ่งในนั้นก็คือการศึกษาผลกระทบที่ตามมาจากการสร้างเขื่อนอัสวาน ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องการความใส่ใจเป็นพิเศษจากพวกท่านทุกคน และการที่เราได้บรรลุจุดหมายนั้นจะเป็นผลงานอันยิ่งใหญ่ของอียิปต์”
สำหรับประเทศไทย การคัดค้านเขื่อนจากเจ้าหน้าที่รัฐเอง ได้เกิดขึ้นในหลายโครงการ ที่ปรากฏชัดก็คือ กรณีการคัดค้านเขื่อนลำสะพุงของเจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียวเมื่อปีที่แล้ว
การต่อต้านเขื่อนของพลเมืองโลก
สำหรับภาคพลเมือง การคัดค้านเขื่อนได้เกิดขึ้นแทบทั่วทุกมุมโลก ด้วยเหตุที่ว่าเขื่อนที่อ้างการพัฒนานั้น แท้ที่จริงแล้วคือหายนะสำหรับมนุษย์และธรรมชาติ เขื่อนคือรูปธรรมของการกดขี่ของเผด็จการที่กระทำต่อประชาชนราวกับไม่ใช่ ”พลเมือง”
ในอินเดียประชาชนต่อต้านการสร้างเขื่อนนาร์มาดาด้วยการยึดหัวงานเขื่อน พวกเขายอมที่จะให้น้ำจากเขื่อนท่วมตายแทนที่จะยอมรับการบีบบังคับให้อพยพจากถิ่น ฐานเดิมที่กัวเตมาลาชนพื้นเมืองยอมสละชีวิต 378 คนโดยไม่ยอมก้มหัวให้รัฐบาลเผด็จการที่ต้องการสร้างเขื่อนชิซอย ขณะที่ใน บราซิล ทุกวันที่ 14 มีนาคมของทุกปี ประชาชนได้กำหนดให้เป็นวันหยุดเขื่อนของประเทศขึ้น
การต่อต้านเขื่อนของพลเมืองไทย
สำหรับประเทศไทย การต่อต้านเขื่อนได้เกิดขึ้นพร้อม ๆ กับการสร้างเขื่อนภูมิพลเขื่อนขนาดใหญ่แห่งแรกที่ถูกสร้างขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ.2504 ชาวบ้านที่ถูกบังคับให้อพยพได้ต่อสู้อย่างเงียบ ๆ ด้วยการสร้างพระร่วงองค์ที่สองขึ้นมา
ในยุคเผด็จการชาวบ้านห้วยหลวงและมาบประชันได้ต่อสู้คัดค้านเขื่อนอย่างเข้มแข็งแม้ว่าชาวบ้านต้องถูกสังหาร ในยุคประชาธิปไตยครึ่งใบประชาชนและนักสิ่งแวดล้อมก็สามารถหยุดเขื่อนน้ำโจนได้สำเร็จ หลังจากต่อสู้มานานกว่า 10 ปี และเมื่อถึงยุคประชาธิปไตยประชาชนก็สามารถหยุดเขื่อนแก่งกรุงและเขื่อนเหวนรกได้ ขณะที่อีกหลายเขื่อนเช่น เขื่อนแก่งเสือเต้น เขื่อนคลองนางน้อย เขื่อนบาโหย เขื่อนรับร่อ เขื่อนแม่ละเมา เขื่อนน้ำปาย 1-3 เขื่อนแม่ลามาหลวง ฯลฯ ทางการไม่สามารถดำเนินการได้เนื่องจากถูกคัดค้านจากประชาชนในพื้นที่ที่ต่อต้านเขื่อนอย่างเข้มแข็ง
ในปี พ.ศ.2537 ประชาชนผู้ได้รับความเดือดร้อนจากเขื่อนได้เริ่มสร้างเครือข่ายของประชาชนที่ได้รับ ผลกระทบจากเขื่อนทั้งที่สร้างไปแล้ว และที่ยังไม่ได้สร้าง และได้พัฒนาเป็นส่วนหนึ่งของสมัชชาคนจนในปัจจุบัน
ผลของการเกิดสมัชชาคนจนได้ทำให้การต่อสู้ของประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากเขื่อน มีพลังมากขึ้น ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบและทุกข์ทรมานมาเกือบ 20 ปี อย่างเขื่อนสิรินธร ได้มีโอกาสเรียกร้องค่าชดเชยที่ทางการเบี้ยวเมื่อตอนสร้างเขื่อน เขื่อนอีกหลายแห่งได้รับค่าชดเชย เขื่อนสายบุรีได้ถูกยกเลิกตามข้อเรียกร้อง และได้มีการตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาแนวทางการประชาพิจารณ์โครงการเขื่อนที่ ยังไม่ได้สร้าง ซึ่งกว่าจะบรรลุข้อตกลงนี้ ชาวบ้านต้องชุมนุมหน้าทำเนียบเป็นเวลานานถึง 3 เดือน
กำเนิดวันหยุดเขื่อนโลก
ด้วยการตระหนักถึงความสำคัญของภาคพลเมืองที่จะต้องรวมตัวกันเป็นเครือข่ายระดับโลก ในการต่อต้านหายนะจากเขื่อน ในเดือนกันยายนปี พ.ศ.2538 การประชุมประจำปีของขบวนการคัดค้านเขื่อนแห่งบราซิล (MAB) จึงได้มีการเสนอให้มีการประชุมนานาชาติของประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากเขื่อนขึ้น หลังจากนั้นในแต่ละภูมิภาคก็ได้ประชุมประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากเขื่อนจากแต่ละประเทศในภิมภาคขึ้น สำหรับในเอเซียการประชุมได้จัดขึ้นที่เขื่อนนาร์มาดา ประเทศอินเดีย เมื่อ ปี พ.ศ.2539 โดยมีตัวแทนจากประเทศไทยเข้าร่วมด้วย
ในที่สุดในระหว่างวันที่ 11-14 มีนาคม พ.ศ.2540 องค์กรเครือข่ายขนาดใหญ่ในแต่ละภูมิภาคประกอบด้วยขบวนการคัดค้านเขื่อนแห่งบราซิล (Movimento de Atingidos por Barragens-MAB) เครือข่ายหยุดเขื่อนแห่งชิลี (Chile’s Biobio Action Group) เครือข่ายแม่น้ำนานาชาติ (International River Network-IRN) ขบวนการปกป้องนาร์มาดาแห่งอินเดีย (India’s Save the Narmada Movement) และเครือข่ายแม่น้ำแห่งยุโรป (European River Network-ERN) ได้ร่วมกันเป็นเจ้าภาพจัดให้มีการประชุมนานาชาติของประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากเขื่อนครั้งที่ 1 ขึ้น ณ เมืองคิวริทิบา ประเทศบราซิล โดยมีผู้แทนประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนและนักสิ่งแวดล้อมจาก 20 ประเทศรวมทั้งตัวแทนองค์กรสิ่งแวดล้อมและชาวบ้านจากประเทศไทยเข้าร่วมประชุมด้วย ขณะที่ผู้แทนประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากเขื่อนและนักสิ่งแวดล้อมอีกหลายประเทศเช่น จีน และมาเลเซีย เป็นต้น ไม่สามารถเดินทางเข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ได้ เนื่องจากเกิดปัญหาความขัดแย้งในการสร้างเขื่อนระหว่างรัฐบาลกับประชาชน (จีนกำลังมีปัญหาเขื่อนสามผา และมาเลเซียกำลังมีปัญหาเขื่อนบากุน)
การประชุมที่เกิดขึ้นทั้ง 4 วัน นอกจากได้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การต่อสู้เรื่องเขื่อนกันแล้ว ที่ประชุมยังได้ตกลงให้มีคำประกาศคิวริทิบาเพื่อ“ยืนหยัดการมีสิทธิความเป็นมนุษย์และวิถีชีวิตของ ประชาชนผู้ได้รับ ผลกระทบจากเขื่อน”และกำหนดให้วันที่ 14 มีนาคม ของทุกปีเป็นวันหยุดเขื่อนโลก โดยมีคำขวัญที่จะใช้ร่วมกันว่า
“น้ำเพื่อชีวิตไม่ใช่เพื่อความตาย”
- คนทุกที่ likes this
#81
ตอบ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 06:43
*คุณ*จะควายไปถึงไหนวะ ไอ้ด็อกหมาขี้ข้า
ข้าจักล้มล้าง ระบอบทักษิณ ให้หมดสิ้นไปจากแผ่นดินไทย
#82
ตอบ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 06:45
ควายเอ้ย ลงทุนหาเสียงเลือกตั้งไม่รู้กี่แสน ได้คะแนนเสียงมาพันกว่าคะแนน
ไม่อายหมามั่งหรือไง ควายย !!!!!
- Somebody likes this
มันผู้ได สนับสนุนการนิรโทษกรรม ไม่ลากคอไอ้ฆาตกรชั่วใจสัตว์ โหดอำมหิต ผู้บงการฆ่าพี่น้องเสื้อแดงของกู 91 ศพ และพี่น้อง กปปส.ของกูอีก 20 ศพ มาลงโทษลงทัณฑ์ตามกบิลเมือง กูขอสาปแช่งให้มันและทุกๆคนที่มันรัก จงประสพกับความวิบัติฉิบหายในชาตินี้ และต่อๆไปทุกภพทุกชาติ จนกว่าจะสิ้นกาล
#83
ตอบ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 06:46
ด๊อกฯครับ ด๊อกฯครับ ใจเย็นๆครับเอาแค่เรื่องเขื่อนก็พอ
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ปรมาณูเก็บไว้ก่อนตั้งกระใหม่เลยรับรองว่า Hot.
เขียนเรื่องการเมือง : ดราม่า ,เขียนเรื่องสังคม : ดราม่า เขียนเรื่องบันเทิง : ดราม่า
แต่พอโพสเรื่องหื่น : มีความเห็นเป็นไปทางเดียวกันเสมอ >3<
#84
ตอบ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 06:50
เรื่องเก่าตอบให้จบก่อน
#85
ตอบ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 06:56
อนาถว่ะ ที่สังคมไทยมีคนสิ่งมีชีวิตอย่างด๊อกกากๆ
"ความดี กับ ความเลว
ความจริง กับ คำโกหก
ความถูกต้อง กับ การทำผิดกฎหมาย"
ถ้าเกิดเป็น คน ไม่ได้เกิดเป็น ควาย มันไม่ต้องให้ทายหรอก ว่าจะเลือกอย่างไหน
#87
ตอบ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 07:06
มันผู้ได สนับสนุนการนิรโทษกรรม ไม่ลากคอไอ้ฆาตกรชั่วใจสัตว์ โหดอำมหิต ผู้บงการฆ่าพี่น้องเสื้อแดงของกู 91 ศพ และพี่น้อง กปปส.ของกูอีก 20 ศพ มาลงโทษลงทัณฑ์ตามกบิลเมือง กูขอสาปแช่งให้มันและทุกๆคนที่มันรัก จงประสพกับความวิบัติฉิบหายในชาตินี้ และต่อๆไปทุกภพทุกชาติ จนกว่าจะสิ้นกาล
#89
ตอบ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 07:20
พอแล้ว พอแล้ว ผมหยุดแล้ว
"ไม่ไหวจะเคลียร์เพลียจะพูด"
ขอให้โชคดีในการโปรโมทตัวครับ ด๊อกฯ
แต่ขอเตือน Bad Marketing มันไม่เจ๋งอย่างที่คิดนะครับ
เขียนเรื่องการเมือง : ดราม่า ,เขียนเรื่องสังคม : ดราม่า เขียนเรื่องบันเทิง : ดราม่า
แต่พอโพสเรื่องหื่น : มีความเห็นเป็นไปทางเดียวกันเสมอ >3<
#90
ตอบ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 07:32
Edited by 10APR10, 8 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 07:43.
#91
ตอบ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 07:32
การบริหารจัดการน้ำด้วยการสร้างเขื่อนในสหรัฐอเมริกาได้พิสูจน์ตัวเองแล้วว่า "ล้มเหลว"
http://www.yclsakhon...le&Id=539370030
น่าจะเป็นบทเรียนแก่รัฐบาลไทยที่กู้เงิน "สามแสนล้าน" มาทำโครงการ "จัดการน้ำ"
นางฮิลล่าลี่ คลินตัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวยืนยันต่อหน้าผู้นำชาติประชาคมอาเซี่ยนที่เมืองเสียมราช ประเทศกัมพูชา เมื่อวันที่ 13 กรกฏาคม 2555
นางฮิลลารี่ คลินตัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวปราศัยในงานเลี้ยงรับรองที่โรงแรมเมอริเดี้ยน อังกอร์ จังหวัดเสียมราช ประเทศกัมพูชา เมื่อ 13 กรกฏาคม 2555
นางฮิลลารี่ คลินตัน ได้เข้าประชุมร่วมกับรัฐมนตรีจากประเทศประชาคมอาเซี่ยน (ไทยเข้าร่วมด้วย ดูที่ธงชาติ) ว่าด้วยเรื่องของการพัฒนาลุ่มน้ำโขงตอนล่าง เมื่อวันที่ 13 กรกฏาคม 2555
นางฮิลลารี่ ได้กล่าวแก่ที่ประชุมอย่างตรงไปตรงมา "ข้าพเจ้าขอพูดแบบเปิดอกว่า เรา (หมายถึงอเมริกา) ได้ทำผิดพลาดอย่างมหันต์ต่อการจัดการน้ำในอเมริกา และยินดีจะให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศในลุ่มน้ำโขงโดยเอาประสบการณ์จากคณะกรรมาธิการแม่น้ำมิสซีสซิ***"
เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้ทราบเรื่องอย่างละเอียดผมจึงขอคัดลอกข่าวของสำนัก เอเอฟพี นิวส์ มาให้ดูพร้อมคำแปลชนิดหมัดต่อหมัด
AFP News – Sat, Jul 14, 2012
The US on Friday urged Mekong nations to learn from its mistakes in river infrastructure projects, as Laos confirmed it has postponed a controversial multi-billion dollar dam project.The $3.8 billion hydroelectric project at Xayaburi has sharply divided the four Mekong nations -- Laos, Vietnam, Cambodia and Thailand -- who rely on the river system for fish and irrigation.
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา สหรัฐอเมริกาได้กระตุ้นให้ประเทศในลุ่มน้ำโขงเรียนรู้ความผิดพลาดจากโครงการก่อสร้างต่างๆที่กระทำในแม่น้ำของประเทศอเมริกา โดยยกกรณี ประเทศลาวได้ยืนยันว่าชลอโครงการก่อสร้างเขื่อนไซยะบุรีซึ่งกำลังถูกวิพากวิจารณ์ เขื่อนนี้มีมูลค่า 3.8 พันล้านเหรียญ เกี่ยวข้องกับ 4 ประเทศลุ่มน้ำโขง ได้แก่ ลาว เวียดนาม กัมพูชา และไทย ซึ่งต้องพึ่งพาอาศัยแม่น้ำสายนี้เพื่อการประมง และการชลประทาน
US Secretary of State Hillary Clinton pressed for further environmental assessments before proceeding with the project during a meeting with Mekong countries in the Cambodian capital, echoing calls from Hanoi and Phnom Penh who worry the dam could decimate their fishing and farming industries.
ในการประชุมร่วมกับประเทศลุ่มน้ำโขงที่เมืองหลวงของกัมพูชา นางฮิลลารี่ คลินตัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ได้เน้นย้ำเรื่องการประเมินด้านสิ่งแวดล้อมก่อนที่จะดำเนินการก่อสร้างโครงการ โดยฟังเสียงสะท้อนด้วยความกังวลจากกรุงฮานอย และกรุงพนมเป็ญ ว่าการสร้างเขื่อนจะทำลายแหล่งประมงและอุตสาหกรรมการเกษตร
Clinton, who called the Mekong river basin "a miracle", said Washington would help fund studies on the impact of proposed dams on the river, on which some 60 million people depend for transportation, food and economy.
นางคลินตัน ได้กล่าวยกย่องลุ่มน้ำโขงว่า "มหัศจรรย์" และทางวอชิงตันจะให้ความช่วยเหลืองบประมาณสำหรับการศึกษาผลกระทบที่จะเกิดจากเขื่อน ซึ่งเป็นเส้นทางคมนาคม แหล่งอาหาร และเศรษฐกิจ ของประชากรราว 60 ล้่านคน
"I'll be very honest with you. We made a lot of mistakes," Clinton said in her opening remarks, offering the assistance of her country's Mississippi river commission to the Mekong nations.
ข้าพเจ้าขอพูดแบบเปิดอกว่า เรา (หมายถึงสหรัฐอเมริกา) ได้กระทำการผิดพลาดอย่างมหันต์มาแล้ว นางคลินตันกล่าวแสดงความเห็นในช่วงเปิดการประชุม โดยจะมอบให้คณะกรรมมาธิการแม่น้ำมิสซิสซิบปี้ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศในลุ่มน้ำโขง
"We've learned some hard lessons about what happens when you make certain infrastructure decisions and I think that we all can contribute to helping the nations of the Mekong region avoid the mistakes that we and others made," she said.
เราได้เรียนรู้บทเรียนอย่างหนักต่อผลที่เกิดขึ้นหลังจากตัดสินใจก่อสร้างโครงการ ดังนั้นข้าพเจ้าคิดว่าเราจะให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศในลุ่มน้ำโขง เพื่อที่จะได้ไม่ซ้ำรอยความผิดพลาดที่เราและคนอื่นๆก่อขึ้น
The Mississippi, one of the longest rivers in the US, has struggled with a number of river projects over the years that have led to floods, water flow issues and sediment problems.
แม่น้ำมิสซิสซิบปี้เป็นแม่น้ำสายหนึ่งที่ยาวที่สุดในสหรัฐอเมริกา แม่น้ำสายนี้ได้ถูกย่ำยีเป็นเวลาหลายปีจากโครงการสารพัดอย่าง ยังผลให้เกิดปัญหาน้ำท่วม การไหลที่ผิดธรรมชาติ และการตื้นเขิน
Laos Foreign Minister Thongloun Sisoulith said after the talks in Phnom Penh that he had assured his Mekong counterparts the Xayaburi dam was on hold until its neighbours' environmental concerns were answered."The Laos government decided to postpone, we have to study more," he told reporters.
ท่านทองล้วน สีเสาลิด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของลาว กล่าวต่อผู้สื่อข่าวว่าได้ยืนยันต่อเพื่อนบ้านในลุ่มน้ำโขงที่กรุงพนมเป็ญแล้ว โครงการก่อสร้างเขื่อนไซยะบุรีจะต้องชลอจนกว่าจะได้คำตอบที่ชัดเจนเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ดังนั้นรัฐบาลลาวจึงตัดสินใจชลอและจะทำการศึกษาเพิ่มเติม
Environmentalists fear the proposed 1,260 megawatt dam, the first of 11 on the key waterway, will have disastrous environmental effects and harm the livelihoods of millions of people.Communist Laos, one the world's most under-developed nations, hopes the dam will help it become "the battery of Southeast Asia" and plans to sell most of the electricity to Thailand.
นักสิ่งแวดล้อมกลัวว่าโครงการเขื่อนผลิตไฟฟ้าขนาด 1,260 เมกกะวัต ซึ่งเป็นหนึ่งใน 11 แห่งของแม่น้ำสายนี้ จะส่งผลกระทบในทางเสียหายต่อการดำรงชีวิตของประชากรนับล้านคน ประเทศคอมมิวนิสต์ลาวหวังว่าการมีเขื่อนจะทำให้ประเทศของเขาเป็น "แบตเตอรี่แห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้" และวางแผนที่จะขายไฟฟ้าส่วนใหญ่ให้แก่ประเทศไทย
But there is opposition to the project in Thailand too, and Thai Mekong river basin villagers said through a lawyer on Friday they would seek a court ruling to ban Thailand's state electricity giant from buying power from the dam.
อย่างไรก็ตามก็มีการคัดค้านโครงการนี้ในประเทศไทย และชุมชนลุ่มน้ำโขงของไทยกล่าวว่าพวกเขาได้ยืนข้อเรียกร้องผ่านนักกฏหมายเพื่อขอให้ศาลออกคำสั่งให้ยักษ์ใหญ่ไฟฟ้าของไทยยกเลิกการซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนแห่งนี้
แผนที่แสดงลุ่มน้ำมิสซิสซิบปี้ ในสหรัฐอเมริกา
แผนผังแสดงระบบการจัดการน้ำในลุ่มน้ำมิสซิสซิบปี้ ถูกออกแบบอย่างดีว่าจะควบคุมการผันน้ำให้ได้ตามตัวเลขที่ระบุ (หน่วย เอเค่อร์ฟุต ต่อวินาที) แต่พอเกิดวิกฤตเข้าจริงๆลูกพี่ใหญ่ด้านวิศวกรรมชลประทานก็เข้าตาจนเหมือนกัน
ภาพถ่ายเก่าเมื่อเริ่มก่อสร้างโครงการบริหารจัดการน้ำในปี พ.ศ. 2463
สภาพ "เอาไม่อยู่" ของระบบการบริหารจัดการน้ำ
ในที่สุดก็ต้องพังบางส่วนของพนังกั้นน้ำเพื่อระบายลงไปยังพื้นที่ฟลัดเวย
ภาพบรรยากาศการเยือนประเทศกัมพูชาของนางฮิลลารี่ คลินตัน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศสหรัฐอเมริกา และบทบาทของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทย ที่เป็นแขกรับเชิญในงานเดียวกัน
#92
ตอบ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 07:32
ก็ควรหมั่นตอบเสียบ้างนะครับ
คนเขาให้เกียีติท่านด้วยการเข้ามาอ่านเข้ามาถาม
ท่านก็ควรให้เกียรติตัวเองด้วยการเข้ามาตอบ
ท่านก็ควรให้เกียรติสังคมด้วยการตอบให้ตรงคำถาม
อย่าทำตัวไร้ค่า เป็นได้แค่ขยะบอร์ดเช่นแดงขยะสิ
หรือท่านทำได้แค่นี้
- คนทุกที่, Garfield, นายตัวเกร็ง and 3 others like this
ข อ ใ ห้ โ ช ค ดี ต่ อ ค ว า ม เ ชื่ อ ค รั บ
เราอยู่ด้วยกัน ยืนข้างกัน เดินไปด้วยกัน ด้วยเพราะเรามีมุมมองและเป้าหมายไปในทิศทางเดียวกัน
จนกว่าจะถึงวันที่เราพบว่า เรามีจุดหมายปลายทางคนละตำแหน่งกัน
#93
ตอบ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 07:33
#94
ตอบ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 07:37
#95
ตอบ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 07:55
รบกวน MOD ช่วยเช็คทีครับ
เหมือนว่าหน้าบอร์ด ของทั่นด๊อก
จะไม่มีปุ่ม ตอบกระทู้ ให้กด
เพราะไม่เห็นทั่น ตอบกระทู้ตัวเองเท่าไรเลย
ทีปุ่มโพสต์ ล่ะกดจัง!!
#96
ตอบ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 08:05
ไอรางวงรางวัลที่ได้ มันไม่ได้เป็นเครื่องยืนยันนะครับ ว่าเขามองเห็นหรือให้ความสำคัญ
เหมือนให้ลูกอมเด็กน้อยล่อใจนั่นแหละ
หรือหวังเพียงแค่เขาปรายตา ตอบแทนเล็กๆน้อยๆ อืม.. มันก็ไม่ใช่น้อยหรอกนะ
โสภณคงลืมตัวตนไปแล้วจริงๆ
อย่ารกโลกครับ
#97
ตอบ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 09:03
แค่อยากรู้ว่าด๊อกฯแกเคยอ่านความเห็นท้ายบทความของแกบ้างไหมทั้งใน FB และในประชาไท
จะที่ไหนก็ไม่เห็นจะต่างจากที่เสรีไทยเท่าไหร่เลยแม้แต่ในดงแดงก็ยังยังด่า
เขียนเรื่องการเมือง : ดราม่า ,เขียนเรื่องสังคม : ดราม่า เขียนเรื่องบันเทิง : ดราม่า
แต่พอโพสเรื่องหื่น : มีความเห็นเป็นไปทางเดียวกันเสมอ >3<
#98
ตอบ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 09:03
คลิป นับถอยหลัง ระเบิดเขื่อน ทำลายเขื่อน น้ำกระจาย
Spectacular Time Lapse Dam "Removal" Video
NationalGeographic
The White Salmon River in Washington state is flowing again as the nearly 100-year-old Condit Dam was disabled with explosives Wednesday. The reservoir draining took about 2 hours. Further demolition is scheduled in 2012. The event is a significant milestone for river restoration and dam removal nationwide.
คลิประเบิดเขื่อน ทำลายเขื่อน เขื่อนในรัฐวอชิงตัน อเมริกา ที่มีอายุนับ 100 ปี ถูกทำลายด้วยระเบิด เพื่อหวังว่า น้ำที่กักเก็บอยู่นี้ จะเป็นก้าวสำคัญสำหรับการฟื้นฟูแม่น้ำ ในประเทศ ให้กลับมาใสสะอาด เพราะน้ำที่อยู่ในเขื่อนจะไหลไปลงสู่แม่น้ำและชะล้างสิ่งสกปรกออกไปนั่นเอง
#99
ตอบ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 09:38
ทำไมต้องมีวันหยุดเขื่อนโลก กำเนิดยุคสมัยแห่งการสร้างเขื่อน
http://www.seub.or.t...41-01&Itemid=75
ยุคสมัยของการสร้างเขื่อนสมัยใหม่ได้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2478 หรือเมื่อ 63 ปีที่ผ่านมา หลังจากที่วิศวกรของอเมริกาสามารถสร้างเขื่อนฮูเวอร์-เขื่อนขนาดยักษ์กั้น แม่น้ำโคโลราโดได้สำเร็จ บนความเชื่อที่ว่าการบังคับแม่น้ำเพื่อเกิดประโยชน์อย่างที่มนุษย์ต้องการ เป็นสิ่งถูกต้อง
ความสำเร็จในการสร้างเขื่อนขนาดยักษ์กั้นแม่น้ำ ได้ทำให้นักสร้างเขื่อนถือกันว่าถ้าหากสร้างเขื่อนสำเร็จก็จะเป็นชัยชนะอันยิ่งใหญ่ที่พวกเขาสามารถ ”เอาชนะธรรมชาติ” ได้ นักวิชาการที่รับใช้รัฐและทุนก็ได้สร้างความเชื่อขึ้นมาว่าเขื่อนคือ “สัญลักษณ์ของการพัฒนา” และเป็น ”มาตรวัดความเจริญรุ่งเรือง” ผลที่ตามมาก็คือ เขื่อนได้กลายเป็นสิ่งเชิดหน้าชูตาของประเทศ (ว่ามีอารยธรรมแล้ว) รัฐบาลและนักสร้างเขื่อนทั่วโลกจึงแข่งขันกันว่าใครจะสามารถสร้างเขื่อนที่ มีความ”ที่สุด”ได้มากกว่ากัน ซึ่งนักสร้างเขื่อนของไทยเคยสร้างผลงานสร้างเขื่อนภูมิพลให้ติดอันดับเขื่อน คอนกรีตที่ใหญ่เป็นอันดับ 7 ของโลก และใหญ่ที่สุดในเอเซียเมื่อคราวที่สร้างเขื่อนเสร็จใหม่ ๆ
ด้วยเหตุดังกล่าว เขื่อนจึงถูกสร้างมากขึ้น ๆ ราวกับการเกิดขึ้นของดอกเห็ดในฤดูฝน ทำให้ปัจจุบันทั่วโลกมีเขื่อนขนาดใหญ่ซึ่งหมายถึงเขื่อนที่มีความสูงมากกว่า 15 เมตรหรือประมาณตึก 4 ชั้น (นิยามโดยพวกอุตสาหรรมเขื่อน) ที่สร้างเสร็จไปแล้วมากกว่า 40,000 แห่ง โดยที่จีนมีเขื่อนขนาดใหญ่มากที่สุดในโลกประมาณ 19,000 แห่ง รองลงมาคืออเมริกาประมาณ 5,500 แห่ง ตามด้วยรัสเซีย ญี่ปุ่น และอินเดีย ขณะที่ทั่วโลกมีเขื่อนขนาดใหญ่ที่กำลังก่อสร้างในขณะนี้มากกว่า 1,000 แห่ง ส่วนใหญ่อยู่ในจีน ตุรกี เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น
นอกจากเขื่อนขนาดใหญ่แล้ว นักสร้างเขื่อนยังนิยามว่ามีเขื่อนขนาดยักษ์ (Mega-dam,SuperDam) อีกด้วย โดยจัดให้เขื่อนที่มีความสูงมากกว่า 150 เมตรเป็นเขื่อนขนาดยักษ์ ปัจจุบันทั่วโลกมีเขื่อนขนาดยักษ์อยู่ 300 แห่ง โดยที่อเมริกามีมากที่สุดในโลกคือ มีจำนวน 50 แห่ง ตามด้วยแคนาดา รัสเซีย และบราซิล
สำหรับประเทศไทย เขื่อนขนาดใหญ่ไม่ได้นิยามตามวงการอุตสาหกรรมเขื่อนแต่นิยามขึ้นตามกฎหมายสิ่งแวดล้อม โดยระบุว่าเขื่อนขนาดใหญ่ หมายถึงเขื่อนที่มีพื้นที่อ่างเก็บน้ำตั้งแต่ 15 ตารางกิโลเมตรขึ้นไป หรือมีปริมาตรความจุน้ำตั้งแต่ 100 ล้านลูกบาศก์เมตรขึ้นไป ซึ่งถ้าถือตามนี้ประเทศไทยก็มีเขื่อนขนาดใหญ่ที่สร้างเสร็จแล้ว 39 แห่ง กำลังก่อสร้าง 2 แห่ง นับว่าเป็นประเทศที่มีเขื่อนขนาดใหญ่มากที่สุดในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
สำหรับ เหตุผลในการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ไม่ว่าในประเทศไทยหรือทั่วโลกมักจะหนีไม่พ้น คาถา ที่ว่าต้องสร้างเขื่อนเพื่อการชลประทาน การผลิตไฟฟ้า การประมง การป้องกันอุทกภัย และการผลักดันน้ำเค็ม ซึ่งข้ออ้างเหล่านี้จะวนไปมาตามสถานการณ์ และในภาวะที่ปัจจุบันที่ข้ออ้างของนักสร้างเขื่อนมีน้ำหนักน้อยลงเพราะ เขื่อนได้พิสูจน์ด้วยตัวเอง แล้วว่าข้ออ้างเหล่านี้ไม่จริง นักสร้างเขื่อนก็พยายามคิดค้นเหตุผลข้ออ้างใหม่ ๆ ขึ้นมา ที่เห็นได้ชัดก็คือ การผลักดันให้มีการสร้างเขื่อนลำสะพุงในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ภูเขียวของ นักการเมืองและ กรมชลประทานโดยอ้างว่าเพื่อต้องการ ให้สัตว์ป่ามีน้ำกิน ซึ่งเหตุผลเช่นนี้ไม่เคยมีนักสร้างเขื่อนที่ไหนในโลกคิดขึ้นมาได้ก่อนนัก สร้างเขื่อนเมืองไทย
การต่อต้านเขื่อนของภาครัฐและนักสร้างเขื่อน
ท่ามกลางการผุดขึ้นของเขื่อนที่อ้างว่ามีประโยชน์เอนกอนันต์ ในอีกด้านหนึ่งเขื่อนก็ได้ก่อให้เกิดหายนะทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม การสร้างเขื่อนจึงถูกต่อต้านมากขึ้นทุกวันและเกือบทุกที่ทั่วโลกการต่อต้าน เขื่อนไม่ได้เกิดจาก ประชาชนผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเขื่อนเท่านั้น แต่ในทศวรรษนี้นักสร้างเขื่อนเองและภาครัฐเองก็หันกลับมาต่อต้านเขื่อนมาก ขึ้น ที่อเมริกาที่เป็นต้นตำหรับการสร้างเขื่อน เมื่อปี พ.ศ.2537 นายดาเนียล พี แบร์ด ผู้อำนวยการคณะกรรมการพัฒนาแหล่งน้ำซึ่งเป็นหน่วยงานสร้างเขื่อนที่ใหญ่ที่ สุดของอเมริกา ได้เรียกร้องให้นักสร้างเขื่อน ทั่วโลกยุติการสร้างเขื่อนด้วยเหตุผลเดียวกับที่ฝ่ายต่อต้านเขื่อนใช้ เขาได้กล่าวคำพูดที่ช็อคโลกด้วยการระบุว่า”ยุคสมัยแห่งการสร้างเขื่อนของ สหรัฐอเมริกาได้สิ้นสุดลงแล้ว” ไม่แต่เท่านั้น 3-4 ปีที่ผ่านมาอเมริกายังได้พยายามที่จะหาทางทุบเขื่อนที่กั้นแม่น้ำเอลวาทิ้ง อีกด้วย
ที่อียิปต์ ประธานาธิบดีฮอสนี มูบารัก ก็ได้ออกมาเรียกร้องว่า
“พี่ น้อง(ชาวอียิปต์)ที่รัก…พวกท่านทั้งหลายจะต้องร่วมกับเราในการไปสู่ชัยชนะ ที่ท้าท้ายครั้งยิ่งใหญ่ต่อปัญหาที่อียิปต์กำลัง เผชิญตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปจนถึงปี 2000 สิ่งที่เราต้องทำคือการศึกษาทางวิทยาศาสตร์อย่างจริงจังในทุกแง่มุมของปัญหา ทั้งในปัจจุบันและอนาคต และหนึ่งในนั้นก็คือการศึกษาผลกระทบที่ตามมาจากการสร้างเขื่อนอัสวาน ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องการความใส่ใจเป็นพิเศษจากพวกท่านทุกคน และการที่เราได้บรรลุจุดหมายนั้นจะเป็นผลงานอันยิ่งใหญ่ของอียิปต์”
สำหรับประเทศไทย การคัดค้านเขื่อนจากเจ้าหน้าที่รัฐเอง ได้เกิดขึ้นในหลายโครงการ ที่ปรากฏชัดก็คือ กรณีการคัดค้านเขื่อนลำสะพุงของเจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียวเมื่อปีที่แล้ว
การต่อต้านเขื่อนของพลเมืองโลก
สำหรับภาคพลเมือง การคัดค้านเขื่อนได้เกิดขึ้นแทบทั่วทุกมุมโลก ด้วยเหตุที่ว่าเขื่อนที่อ้างการพัฒนานั้น แท้ที่จริงแล้วคือหายนะสำหรับมนุษย์และธรรมชาติ เขื่อนคือรูปธรรมของการกดขี่ของเผด็จการที่กระทำต่อประชาชนราวกับไม่ใช่ ”พลเมือง”
ในอินเดียประชาชนต่อต้านการสร้างเขื่อนนาร์มาดาด้วยการยึดหัวงานเขื่อน พวกเขายอมที่จะให้น้ำจากเขื่อนท่วมตายแทนที่จะยอมรับการบีบบังคับให้อพยพจากถิ่น ฐานเดิมที่กัวเตมาลาชนพื้นเมืองยอมสละชีวิต 378 คนโดยไม่ยอมก้มหัวให้รัฐบาลเผด็จการที่ต้องการสร้างเขื่อนชิซอย ขณะที่ใน บราซิล ทุกวันที่ 14 มีนาคมของทุกปี ประชาชนได้กำหนดให้เป็นวันหยุดเขื่อนของประเทศขึ้น
การต่อต้านเขื่อนของพลเมืองไทย
สำหรับประเทศไทย การต่อต้านเขื่อนได้เกิดขึ้นพร้อม ๆ กับการสร้างเขื่อนภูมิพลเขื่อนขนาดใหญ่แห่งแรกที่ถูกสร้างขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ.2504 ชาวบ้านที่ถูกบังคับให้อพยพได้ต่อสู้อย่างเงียบ ๆ ด้วยการสร้างพระร่วงองค์ที่สองขึ้นมา
ในยุคเผด็จการชาวบ้านห้วยหลวงและมาบประชันได้ต่อสู้คัดค้านเขื่อนอย่างเข้มแข็งแม้ว่าชาวบ้านต้องถูกสังหาร ในยุคประชาธิปไตยครึ่งใบประชาชนและนักสิ่งแวดล้อมก็สามารถหยุดเขื่อนน้ำโจนได้สำเร็จ หลังจากต่อสู้มานานกว่า 10 ปี และเมื่อถึงยุคประชาธิปไตยประชาชนก็สามารถหยุดเขื่อนแก่งกรุงและเขื่อนเหวนรกได้ ขณะที่อีกหลายเขื่อนเช่น เขื่อนแก่งเสือเต้น เขื่อนคลองนางน้อย เขื่อนบาโหย เขื่อนรับร่อ เขื่อนแม่ละเมา เขื่อนน้ำปาย 1-3 เขื่อนแม่ลามาหลวง ฯลฯ ทางการไม่สามารถดำเนินการได้เนื่องจากถูกคัดค้านจากประชาชนในพื้นที่ที่ต่อต้านเขื่อนอย่างเข้มแข็ง
ในปี พ.ศ.2537 ประชาชนผู้ได้รับความเดือดร้อนจากเขื่อนได้เริ่มสร้างเครือข่ายของประชาชนที่ได้รับ ผลกระทบจากเขื่อนทั้งที่สร้างไปแล้ว และที่ยังไม่ได้สร้าง และได้พัฒนาเป็นส่วนหนึ่งของสมัชชาคนจนในปัจจุบัน
ผลของการเกิดสมัชชาคนจนได้ทำให้การต่อสู้ของประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากเขื่อน มีพลังมากขึ้น ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบและทุกข์ทรมานมาเกือบ 20 ปี อย่างเขื่อนสิรินธร ได้มีโอกาสเรียกร้องค่าชดเชยที่ทางการเบี้ยวเมื่อตอนสร้างเขื่อน เขื่อนอีกหลายแห่งได้รับค่าชดเชย เขื่อนสายบุรีได้ถูกยกเลิกตามข้อเรียกร้อง และได้มีการตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาแนวทางการประชาพิจารณ์โครงการเขื่อนที่ ยังไม่ได้สร้าง ซึ่งกว่าจะบรรลุข้อตกลงนี้ ชาวบ้านต้องชุมนุมหน้าทำเนียบเป็นเวลานานถึง 3 เดือน
กำเนิดวันหยุดเขื่อนโลก
ด้วยการตระหนักถึงความสำคัญของภาคพลเมืองที่จะต้องรวมตัวกันเป็นเครือข่ายระดับโลก ในการต่อต้านหายนะจากเขื่อน ในเดือนกันยายนปี พ.ศ.2538 การประชุมประจำปีของขบวนการคัดค้านเขื่อนแห่งบราซิล (MAB) จึงได้มีการเสนอให้มีการประชุมนานาชาติของประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากเขื่อนขึ้น หลังจากนั้นในแต่ละภูมิภาคก็ได้ประชุมประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากเขื่อนจากแต่ละประเทศในภิมภาคขึ้น สำหรับในเอเซียการประชุมได้จัดขึ้นที่เขื่อนนาร์มาดา ประเทศอินเดีย เมื่อ ปี พ.ศ.2539 โดยมีตัวแทนจากประเทศไทยเข้าร่วมด้วย
ในที่สุดในระหว่างวันที่ 11-14 มีนาคม พ.ศ.2540 องค์กรเครือข่ายขนาดใหญ่ในแต่ละภูมิภาคประกอบด้วยขบวนการคัดค้านเขื่อนแห่งบราซิล (Movimento de Atingidos por Barragens-MAB) เครือข่ายหยุดเขื่อนแห่งชิลี (Chile’s Biobio Action Group) เครือข่ายแม่น้ำนานาชาติ (International River Network-IRN) ขบวนการปกป้องนาร์มาดาแห่งอินเดีย (India’s Save the Narmada Movement) และเครือข่ายแม่น้ำแห่งยุโรป (European River Network-ERN) ได้ร่วมกันเป็นเจ้าภาพจัดให้มีการประชุมนานาชาติของประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากเขื่อนครั้งที่ 1 ขึ้น ณ เมืองคิวริทิบา ประเทศบราซิล โดยมีผู้แทนประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนและนักสิ่งแวดล้อมจาก 20 ประเทศรวมทั้งตัวแทนองค์กรสิ่งแวดล้อมและชาวบ้านจากประเทศไทยเข้าร่วมประชุมด้วย ขณะที่ผู้แทนประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากเขื่อนและนักสิ่งแวดล้อมอีกหลายประเทศเช่น จีน และมาเลเซีย เป็นต้น ไม่สามารถเดินทางเข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ได้ เนื่องจากเกิดปัญหาความขัดแย้งในการสร้างเขื่อนระหว่างรัฐบาลกับประชาชน (จีนกำลังมีปัญหาเขื่อนสามผา และมาเลเซียกำลังมีปัญหาเขื่อนบากุน)
การประชุมที่เกิดขึ้นทั้ง 4 วัน นอกจากได้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การต่อสู้เรื่องเขื่อนกันแล้ว ที่ประชุมยังได้ตกลงให้มีคำประกาศคิวริทิบาเพื่อ“ยืนหยัดการมีสิทธิความเป็นมนุษย์และวิถีชีวิตของ ประชาชนผู้ได้รับ ผลกระทบจากเขื่อน”และกำหนดให้วันที่ 14 มีนาคม ของทุกปีเป็นวันหยุดเขื่อนโลก โดยมีคำขวัญที่จะใช้ร่วมกันว่า
“น้ำเพื่อชีวิตไม่ใช่เพื่อความตาย”
ไอ้ที่เขาว่ามันเป็นเขื่อนขนาดใหญ่ครับ มันมีปัญหาในวงกว้าง
แต่แม่วงก์มันเล็กกะจิดริด คนละเรื่องกันครับ
เล็กกะจิริดแล้วจะสร้างทำไมให้เสียป่า
- redfrog53 likes this
ผู้ใช้ 0 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้
สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 0 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน