แบ่งกันอ่านนะคะ
ขอบคุณข้อมูลจากเพจสายตรงภาคสนาม
มัลลิกา เปิด จดหมายลาออกรักษาการผู้จัดการ-กรรมการไอแบ๊งก์ แฉแหลก การเมืองทำแบ๊งก์เจ๊ง
จวก กิตติรัตน์ ครอบงำองค์กร อุบาทว์ สั่งให้บริหารผิดหลักศาสนาได้
ปกป้อง “ธานินทร์” คนทำแบ๊งก์เจ๊ง
สั่งยุติการสอบสวน หลังรวบอำนาจ ละเว้นปฏิบัติหน้าที่ ทำธุรกรรมแบ๊งก์ช๊อต
แถมจ้างบริษัทข้างนอกเรียกค่าหัวคิวลูกค้าปรับโครงสร้างหนี้
บริหาร 8 เดือน ทำหนี้เน่าพุ่ง 1.8 หมื่นล้าน
สุดคับแค้น ถูกบีบให้ออก ทั้ง ๆ ที่ฟื้นฟูจนสถานะการเงินดีขึ้น ห่วงองค์กรถูกการเมืองทำลาย
นางสาวมัลลิกา บุญมีตระกูล รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์
เปิดเผยหนังสือลาออกจากกรรมการธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบ๊งก์)
และ รักษาการผู้จัดการธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
ของนายธงรบ ด่านอำไพ ลงวัน 1 ตุลาคม 2556
ซึ่งมีเนื้อหาแฉถึงความล้มเหลวการบริหารของธนาคารฯอย่างละเอียด
ตั้งแต่เดือนก.ค.-ก.ย.56
โดยระบุว่าในปลายปี 2555 ธนาคารได้ประสบปัญหาหนี้เน่าจำนวน 2.4 หมื่นล้านบาท
และเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งในปี 2556 เดือน ม.ค.-มิ.ย. หนี้เน่าเพิ่มถึง 1.8 หมื่นล้าน
ภายในเวลาเพียงแค่ 8 เดือน ทำให้ยอดหนี้เพิ่มเป็น 42,000 ล้่านบาท
แต่ธนาคารได้แก้ปัญหาด้วยกาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ได้มากกว่า 2.3 หมื่นล้านบาท
แต่ก็ประสบปัญหาประชาชนถอนเงินออกจากธนาคารอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปีื 2555
จนถึงจุดต่ำสุดในเดือนมิถุนายน เหลือเงินฝากในธนาคารไม่ถึง 5 พันล้านบาท
มีเงินหมุนเวียนในแต่ละวันไม่ถึง 6 พันล้านบาท
แต่ในเดือนก.ค.-ก.ย.56 ผลประกอบการกลับฟื้นขึ้นมาทำให้มีเงินสดมากกว่า 3 หมื่นล้านบาท
ถือว่าอยู่ในภาวะที่ดีขึ้น
อย่างไรก็ตามนายธงรบ ยังได้แจกแจงถึงสาเหตุที่ทำให้ธนาคารประสบปัญหา
สืบเนื่องจาก ผู้จัดการฯ คือ นายธานินทร์ อังสุวรังษี ได้ระงับการปล่อยสินเชื่อ
แต่กลับต่ออายุวงเงินสินเชื่อลูกค้าทุกราย แต่ปล่อยสินเชื่อให้เฉพาะบางรายเท่านั้น
รวมทั้งรวบอำนาจการอนุมัตสินเชื่อ
อำนาจการอนุมัตการเบิกจ่ายเงินการจัดซื้อจัดจ้างไว้กับตนเอง
เป็นเหตุให้การทำธุรกรรมขาดสภาพคล่องได้รับความเสียหาย
จนทำให้เกิดลูกหนี้ที่มีปัญหาเพิ่มมากขึ้น
รวมถึงบริษัทที่ธนาคารดำเนินธุรกรรมด้วยก็ค้างชำระการจ่ายเงินมากกว่า 300 รายการ
โดยนายธานินทร์ ไม่มีคำสั่งหรือลงนามใด ๆ ตามอำนาจหน้าที่ของตน ในเอกสารกว่า 900 แฟ้ม
กองรวมกันมากถึง 5 ลัง
ทำให้กระบวนการบริหารงานหยุดชะงักเกิดทั้งระบบ
ความเชื่อถือธนาคารติดลบ
จนนำไปสู่ข่าวลือว่าธนาคารกำลังถูกปิดดำเนินการเพราะไม่มีเงินจ่ายให้คู่ค้าและลูกค้าสินเชื่อ
ทำให้เงินฝากไหลออกเกือบสามหมื่นล้าน
ดังนั้นสถานการณ์ของแบ๊งก์ในช่วเดือนมิ.ย.จึงเป็นจุดต่ำสุด
เป็นเหตุให้พนักงานกว่า 1,400 คน เข้าชื่อขับไล่นายธานินทร์ออกจากตำแหน่งกรรมการผู้จัดการในขณะนั้น
นอกจากนี้ธนาคารยังไม่ได้ดำเนินการบริหารตามวัตถุประสงค์ของการตั้งธนาคารอิสลาม
ที่เน้นร่วมลงทุนและแบ่งกำไรอย่างยุติธรรม
แต่กลับดำเนินการในรูปแบบเดียวกับธนาคารพาณิชย์
ทำให้ชาวมุสลิมขาดความเชื่อถือ
ส่งผลให้มีการใช้ชาวมุสลิมใช้บริการเพียง 10 % ของลูกค้าทั้งหมด
ซึ่งเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ขาดทุนจนต้องเพิ่มทุนทุก 3 ปี และ 5 ปี
เพราะไม่มีศักยภาพมากพอที่จะไปแข่งขันกับธนาคารพาณิชย์ได้
อีกทั้งการกำกับดูแลของนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯและรมว.คลัง
ยังมีทัศนคติที่ผิดพลาด แทรกแซงการดำเนินธุรกรรมโดยไม่ใช้เหตุผลข้อเท็จจริงในการกำกับดูแล
อาศัยความเชืิ่อและคำบอกเล่าในการตัดสินใจ
เช่น เชื่อว่าผู้บริหารและพนักงานโกงและแทรกแซงการบริหารจัดการ
มีการสั่งการที่ผิดกฎหมาย ไม่ถูกต้องตามหลักการธุรกิจธนาคารจนเกิดความแตกแยกในธนาคาร
ทั้ง ๆ ที่ผลประกอบการของธนาคารพลิกฟื้นอย่างรวดเร็วภายในสามเดือน
เพราะความร่วมมือของพนักงานที่มีคุณภาพแต่กลับไม่สนใจ
ทำให้ต้องกลับมามีปัญหาเหมือนในอดีตอีกครั้ง
นายธงรบ กล่าวด้วยว่า นายธานินทร์ ยังได้ว่าจ้างนายวิญญาต ศุกระศร
ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมาเป็นที่ปรึกษาดูแลด้านการวิเคราะห์และอนุมัติสินเชืิ่อ
และสั่งด้วยวาจามายังตนและกรรมการบริหารประกอบด้วย
นายบัณฑรณ์โฉม แก้วสอาด รอง ผอ.สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
และ นางอรสิริ รังรักษ์ศิริวร เศรษฐกรชำนาญการ หน้าห้องของนายกิตติรัตน์
ที่ถูกส่งมาเป็นกรรมการแบ๊งก์ โดยกำชับว่าสินเชื่อทุกรายจะต้องผ่านนายวิญญาต
ไม่เช่นนั้นจะไม่ได้รับการอนุมัติ ส่งผลให้การบริหารไม่เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล
พนักงานมีความโปร่งใสของการกำกับดูแลธนาคาร
โดยเห็นว่ารมว.คลังและที่ปรึกษาเข้าครอบงำเพื่อผลประโยชน์อย่างไม่เป็นธรรม