ผู้ก่อตั้ง Prima Gold คือ ปรีดา เตียสุวรรณ์ แห่งแพรนด้า จิวเวลรี่ผู้มีสายสัมพันธ์แนบแน่นกับนักเคลื่อนไหวภาคประชาชนหลายกลุ่ม
เข้าร่วมกับการเคลื่อนไหวขับไล่ทักษิณภาค 1 แต่ไม่เห็นด้วยกับการยึดทำเนียบ ยึดสนามบิน
พนักงานในพรีมาโกลด์มีแนวโน้มไปทางเสรีนิยมแบบเจ้านาย
จึงไม่แปลกที่มีผู้บริหารสาวพรีมาโกลด์ออกมาชูป้ายด่านายกหญิง
แต่พรีมาโกลด์ก็ได้ใช้วิชั่นสะกัด "พิธีกรรมล่าแม่มด" ต่อผู้บริหารหญิงท่านนี้ไปแล้วด้วยความเข้าอกเข้าใจในสถานการณ์แบบที่ตั๊กเคยโดน ..
สำหรับธุรกิจส่งออก ...แพรนด้า จิวเวลรี่ ถือเป็นบริษัทที่ประสบความสำเร็จสูงสุดบริษัทหนึ่งของประเทศในฐานะบริษัทผลิตและจำหน่ายเครื่องประดับอัญมณีส่งออกอันดับ ๑ ของไทย ด้วยยอดขายปีละกว่า ๔,๐๐๐ ล้านบาท และเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่มีอัตราการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง
แม้ในยามที่ประสบภาวะวิกฤตเศรษฐกิจฟองสบู่แตกในปี พ.ศ. 2540 แต่ยอดสั่งสินค้าของบริษัทแพรนด้าฯ จากต่างประเทศก็ไม่เคยลดลง
ปรีดา เตียสุวรรณ์ อดีตนักเรียนนอกจากอังกฤษ เป็นผู้ก่อตั้งบริษัท แพรนด้า จิวเวลรี่ เมื่อ 34 ปีก่อน ทั้งที่ไม่เคยมีประสบการณ์ในงานทำเครื่องประดับเพชรพลอยมาก่อน จนกลายมาเป็นนักธุรกิจส่งออกที่ประสบความสำเร็จคนหนึ่ง
เคล็ดลับในการทำธุรกิจของปรีดานั้น นอกจากอาศัยช่องว่างทางการตลาดในสมัยที่ยังไม่มีใครทำเครื่องประดับอัญมณีส่งออกอย่างจริงจังแล้ว สิ่งที่เขาให้ความสำคัญมากคือ จะต้องรักษาผลประโยชน์ของทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นผู้บริโภค พนักงาน ผู้ถือหุ้น ซัพพลายเออร์ ลูกค้า รัฐ และจะต้องดูแลรับผิดชอบสังคมไปพร้อม ๆ กันด้วย
เขาเชื่อว่าการทำธุรกิจสามารถแสวงจุดร่วม สงวนจุดต่าง ที่จะนำไปสู่สมดุลระหว่างกำไรกับประโยชน์ต่อสังคมได้อย่างไม่ขัดแย้ง
ปรีดาเป็นนักธุรกิจที่สนใจปัญหาบ้านเมือง และยังร่วมก่อตั้งเครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ภาคพื้นเอเชียในประเทศไทย (Social Venture Network Asia [Thailand]) ซึ่งมีสมาชิกเป็นกลุ่มบริษัทที่มีนโยบายการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างชัดเจนไม่ต่ำกว่า ๑๐ บริษัท
อาจกล่าวได้ว่าปรีดาเป็นคนรุ่นแรก ๆ ที่สนใจเรื่อง CSR (Corporate Social Responsibility) ซึ่งเป็นกระแสความคิดที่ให้บริษัทใหญ่ๆ หันมาแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างแท้จริง จนทุกวันนี้บริษัทขนาดใหญ่หลายแห่งต่างเริ่มปรับตัวให้มีฝ่าย CSR ในบริษัทของตนเอง
เขาเห็นด้วยกับ Robert Rubinstein นักกิจกรรมธุรกิจเพื่อสังคม ที่เคยกล่าวไว้ว่า “นักธุรกิจถ้าไม่สามารถทำงานเพื่อสังคมได้ สังคมก็ไม่ควรเอาไว้”
เมื่อเกิดปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง เขาก็ออกไปมีบทบาทเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยในฐานะประชาชนคนหนึ่ง โดยไม่สนใจว่าธุรกิจของเขาจะถูกผู้มีอำนาจทางการเมืองกลั่นแกล้งหรือไม่
“เราทำธุรกิจอย่างโปร่งใส บริษัทของผมเสียภาษีถูกต้องตามกฎหมายทุกประการ จึงไม่ต้องมาพะวงอะไร” เขากล่าวอย่างตรงไปตรงมา
ผมแค่กลัวว่าธุรกิจจะพังเหมือนปี ๒๕๔๐ จึงต้องตามมาตรวจสอบนักการเมืองถึงทุกวันนี้
วิกฤตเศรษฐกิจในปี ๒๕๔๐ พิสูจน์ให้เห็นว่า เป็นเพราะคนไทยปล่อยให้มีนักการเมืองไม่ดี
เข้าไปบริหารประเทศ แล้วคนที่ต้องรับกรรมคือใคร...ชาวบ้านใช่ไหม ..นักธุรกิจใช่ไหม
ถึงคุณจะไม่ยุ่งกับการเมือง การเมืองก็มายุ่งกับคุณอยู่ดี
http://blog.eduzones.com/nunthida/983