Jump to content


Photo
- - - - -

มาตรา 190.....เมื่อกุญแจขุมทรัพย์กำลังถูกโจรสะเดาะ


  • Please log in to reply
4 replies to this topic

#1 ParaDon

ParaDon

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,946 posts

Posted 18 October 2013 - 23:45

มาตรา 190 ในรัฐธรรมนูญ 2550


   พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการทำหนังสือสัญญาสันติภาพ สัญญาสงบศึก และสัญญาอื่นกับนานาประเทศหรือกับองค์การระหว่างประเทศ

   หนังสือ สัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย หรือเขตพื้นที่นอกอาณาเขต ซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยหรือมีเขตอำนาจตามหนังสือสัญญาหรือตามกฎหมาย ระหว่างประเทศ หรือจะต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา หรือมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง หรือมีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุน หรืองบประมาณของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา ในการนี้ รัฐสภาจะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่องดัง กล่าว

   ก่อน การดำเนินการเพื่อทำหนังสือสัญญากับนานาประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศตาม วรรคสองคณะรัฐมนตรีต้องให้ข้อมูลและจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และต้องชี้แจงต่อรัฐสภาเกี่ยวกับหนังสือสัญญานั้น ในการนี้ ให้คณะรัฐมนตรีเสนอกรอบการเจรจาต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบด้วย

   เมื่อ ลงนามในหนังสือสัญญาตามวรรคสองแล้ว ก่อนจะแสดงเจตนาให้มีผลผูกพัน คณะรัฐมนตรีต้องให้ประชาชนสามารถเข้าถึงรายละเอียดของหนังสือสัญญานั้น และในการที่การปฏิบัติตามหนังสือสัญญาดังกล่าวก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน หรือ ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม คณะรัฐมนตรีต้องดำเนินการแก้ไขหรือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบนั้นอย่างรวดเร็ว เหมาะสม และเป็นธรรม

   ให้ มีกฎหมายว่าด้วยการกำหนดขั้นตอนและวิธีการจัดทำหนังสือสัญญาที่มีผลกระทบต่อ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง หรือมีผลผูกพันด้านการค้า หรือการลงทุน อย่างมีนัยสำคัญ รวมทั้งการแก้ไขหรือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติตามหนังสือสัญญา ดังกล่าวโดยคำนึงถึงความเป็นธรรมระหว่างผู้ที่ได้ประโยชน์กับผู้ที่ได้รับผล กระทบจากการปฏิวัติตามหนังสือสัญญานั้นและประชาชนทั่วไป

   ในกรณีที่มีปัญหาตาม วรรคสอง ให้เป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญที่จะวินิจฉัยชี้ขาด โดยให้นำบทบัญญัติตามมาตรา 154(1) มาใช้บังคับกับการเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยอนุโลม

 

 

การประชุมร่วมกันของรัฐสภา วันนี้(15 ต.ค.) ซึ่งจะเริ่มเวลา 09.30 น. โดยมีวาระพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พ.ศ.... แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 190 ซึ่งคณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว โดย มาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญ เป็นมาตราที่บัญญัติในการทำหนังสือสัญญาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทาง เศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง หรือมีผลผูกพันด้านการค้าการลงทุน หรืองบประมาณของประเทศอย่างมีนัยสำคัญต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภาก่อน สำหรับสาระสำคัญของการปรับแก้อยู่ที่ มาตรา 3 คือให้ยกเลิกความในมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พุทธศักราช 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน คือ

 

มาตรา 190

 

พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการทำหนังสือสัญญาสันติภาพ สัญญาสงบศึก และสัญญาอื่นกับนานาประเทศ หรือกับองค์การระหว่างประเทศ หนังสือสัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทยหรือเขตพื้นที่นอกอาณาเขตซึ่ง ประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยหรือมีเขตอำนาจตามหนังสือสัญญาหรือตามกฎหมายระหว่าง ประเทศโดยชัดแจ้ง หรือจะต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา หรือมีบทให้เปิดเสรีด้านการค้าหรือการลงทุน ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา ให้มีกฎหมายว่าด้วยการให้ประชาชนสามารถเข้าถึงรายละเอียดและการรับฟังความ คิดเห็นของประชาชน เกี่ยวกับหนังสือสัญญาตามวรรคสอง และในกรณีที่เป็นหนังสือสัญญา ที่มีบทให้เปิดเสรีด้านการค้าหรือการลงทุน กฎหมายดังกล่าวต้องมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการเสนอกรอบการเจรจาต่อรัฐสภา การศึกษาถึงประโยชน์ของหนังสือสัญญาและผลกระทบต่อประชาชน หรือผู้ประกอบการ และการดำเนินการแก้ไขหรือเยียวยาผู้ได้รับผล กระทบจากหนังสือสัญญาดังกล่าวด้วยในกรณีที่มีปัญหาว่าหนังสือสัญญาใด เป็นหนังสือสัญญาที่จะต้องเสนอรัฐสภาให้ความเห็นชอบตามวรรคสอง ให้เป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ

 

http://thainews.prd.go.th/centerweb/News/NewsDetail?NT01_NewsID=WNPOL5610150020013

 

 

 

ในอนาคตประเทศไทยจะเหลืออะไร เมื่อมันสามรถทำอะไรก็ได้ตามอำเภอใจ จะขายอะไรให้ใคร

 

จะยกตรงใหนให้ใคร ทำได้อย่างถูกกฏหมาย

 

เมื่อโจรเขียนกฏหมายให้ตัวเอง เราจะไม่เหลือแม้แต่ หม้อ ชาม กาละมัง ยันช้อน

 

มันจะเอาจะทำไมเมื่อกฏหมายไม่ได้บอกว่ามันทำไม่ได้ :(


Edited by ParaDon, 18 October 2013 - 23:58.

" รัฐธรรมนูญไม่มีมาตราใด อนุญาติให้รัฐบาลที่มาจากประชาธิปไตย โกงบ้านกินเมืองได้โดยไม่ผิดกกหมาย "


#2 อาวุโสโอเค

อาวุโสโอเค

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,790 posts

Posted 18 October 2013 - 23:59

ไอ้แม้วคงคิดว่าแก้ตัวหนังสือให้มันกลายเป็นทำถูกตามกฏหมาย

 

แต่บอกได้เลยว่างานนี้เป็นหนังยาวแน่ ไม่ใช่แก้ ประกาศแล้วจบง่าย ๆ  -_-


การเมืองไม่ใช่เพื่อกลุ่มใด แต่เพื่อทุกคนในประเทศ

#3 ParaDon

ParaDon

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,946 posts

Posted 18 October 2013 - 23:59

กลุ่มเอฟทีเอ วอทช์ ออกแถลงการณ์ เรื่องแก้รัฐธรรมนูญมาตรา190 ระบุเป็นความล้มเหลวของระบบรัฐสภาไทย

 

หลัง จากรัฐสภาได้พิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 190 วาระ 2 เสร็จสิ้นไปเมื่อคืนที่ผ่านมา กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (เอฟทีเอ วอทช์) ได้ออกแถลงการณ์ต่อกรณีดังกล่าว ดังนี้

มาตรา 190 ตายแล้ว...ความล้มเหลวของระบบรัฐสภาไทย

ตามที่การประชุมของรัฐสภาได้ลงมติเมื่อ วันที่ 16 ตุลาคม โดยเสียงข้างมากแก้ไขเนื้อหาบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ม.190 โดยมีสาระการแก้ไขที่สำคัญ คือ

 

1. ตัดลดประเภทหนังสือสัญญาที่จะต้องผ่านกระบวนการพิจารณาของรัฐสภาอย่างมีนัย สำคัญออกไปให้เหลือเพียง (หนึ่ง) หนังสือสัญญาที่มีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตดินแดน (สอง) หนังสือสัญญาที่เปลี่ยนแปลงพื้นที่นอกอาณาเขตซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตย หรือมีเขตอำนาจตามหนังสือสัญญาหรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ (สาม) จะต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา และ (สี่) หนังสือสัญญาที่มีบทให้เปิดเสรีด้านการค้าและการลงทุน

 

2. เพิ่มอำนาจรัฐบาล ให้ก่อนการดำเนินการเพื่อทำหนังสือสัญญา ไม่ต้องเสนอ “กรอบการเจรจา” ต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบ

ผลสรุปจากการแก้ไขมาตรการ 190 ดังกล่าว สะท้อนถึงความล้มเหลวของระบบรัฐสภาไทยที่มุ่งเป้าหมายการเอาชนะทางการเมือง เป็นที่ตั้งโดยอ้างเสียงข้างมากในรัฐสภาเป็นเครื่องมือสร้างความชอบธรรม ไม่ได้ยึดถือข้อมูล เหตุผล และไม่ได้สำเหนียกถึงสถานการณ์ปัญหา ความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นจากการเร่งทำหนังสือสัญญาความตกลงระหว่างประเทศ ซ้ำยังเป็นการทำลายระบบประชาธิปไตยที่เห็นหัวประชาชนอย่างไร้สำนึก

บทบัญญัติในมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 มีเจตนารมณ์เพื่อสร้างธรรมาภิบาลในกระบวนการเจรจา สร้างความโปร่งใส การมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม และเป็นกลไกสร้างระบบการถ่วงดุลและตรวจสอบระหว่างฝ่ายบริหารและฝ่าย นิติบัญญัติเพื่อให้ผลจากการทำหนังสือสัญญาเกิดประโยชน์โดยรวมมากที่สุดต่อ ประเทศชาติ นอกจากนี้คณะเจรจายังสามารถใช้ “กรอบเจรจา”ที่ผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองในการเจรจาได้ อีกด้วย บทบัญญัติเหล่านี้เป็นสิ่งที่อารยประเทศต่างๆ ได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ

อนึ่ง ปัญหาความยุ่งยาก ล่าช้า การมีหนังสือสัญญาจำนวนมากต้องเสนอไปสู่รัฐสภาโดยอ้างว่าต้องปฏิบัติตาม มาตรา 190 นั้น มีรากฐานสาเหตุสำคัญ 2 ประการ คือ (หนึ่ง) การไม่จัดทำกฎหมายลูกรองรับมาตรา 190 ออกมาใช้บังคับ ซึ่งในรัฐธรรมนูญได้กำหนดไว้อย่างชัดแจ้งแล้วว่าให้ดำเนินการโดยเร็วภายใน เวลา 1 ปีนับจากที่รัฐบาลแถลงนโยบายต่อรัฐสภา ซึ่งต้องดำเนินการให้เสร็จตั้งแต่ปี 2552 (สอง) การใช้มาตรา 190 เป็นเครื่องมือต่อสู้กันทางการเมืองมากเกินไป ซึ่งทั้งสองสาเหตุสามารถแก้ไขได้โดยไม่จำเป็นต้องเบียดขับประชาชนออก จากกระบวนการหรือลดทอนความโปร่งใสแต่อย่างใด

ผลจากการแก้ไขมาตรา 190 จะทำให้หนังสือจะมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ อย่างกว้างขวาง หรือมีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุนหรืองบประมาณของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ ตัวอย่างเช่น การเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรี (FTA) ความตกลงเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ความตกลงด้านสิ่งแวดล้อม ความตกลงด้านสิทธิมนุษยชน ฯลฯ ไม่ต้องผ่านกระบวนการเสนอ “กรอบการเจรจา” เป็นการทำลายกระบวนการตรวจสอบถ่วงดุล การมีส่วนร่วม ระหว่างฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และภาคประชาสังคม ซึ่งเป็นหลักการสำคัญข้อหนึ่งในระบอบการเมืองประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมที่ ทุกฝ่ายกำลังเรียกร้อง เป็นการจำกัดพื้นที่การมีส่วนร่วมทางการเมืองของภาคส่วนต่างๆ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ผลักดันให้ประชาชน ผู้เดือดร้อนต้องใช้ท้องถนนหรือพื้นที่สาธารณะต่างๆ เป็นพื้นที่แสดงออกทางการเมืองแทน

การแก้ไขมาตรา 190 ครั้งนี้ เป็นเพียงผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างนัก(การเมือง)ประชาธิปไตยแต่ปาก กลุ่มทุนครอบชาติ และฝ่ายข้าราชการประจำล้าหลัง ที่ต้องการปลดเปลื้องภาระในการปฏิบัติตามกฎกติกาเพื่อการสร้างธรรมาภิบาลใน กระบวนการเจรจาจัดทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ


" รัฐธรรมนูญไม่มีมาตราใด อนุญาติให้รัฐบาลที่มาจากประชาธิปไตย โกงบ้านกินเมืองได้โดยไม่ผิดกกหมาย "


#4 ParaDon

ParaDon

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,946 posts

Posted 19 October 2013 - 00:02

ตอนนี้ประเทศไทยเป็นของมันโดยพฤตินัย

 

และมันกำลังทำให้ประเทศไทยสยบมันโดยนิตินัย

 

ประชาชนอย่างผมต้องย้ายออกจากประเทศของมันหรือป่าวครับ

 

หรือมันจะให้เราอาศัยอยู่ชั่วคราว :(


" รัฐธรรมนูญไม่มีมาตราใด อนุญาติให้รัฐบาลที่มาจากประชาธิปไตย โกงบ้านกินเมืองได้โดยไม่ผิดกกหมาย "


#5 IFai

IFai

    รักในหลวง

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,782 posts

Posted 19 October 2013 - 06:49

   สมัยเป็นลูกจ้างบ.ญี่ปุ่น 

   เคยถูกให้ทำหนังสือชี้แจง เรื่องไม่ให้ความร่วมมือกับเซลล์ เรื่องไม่สนับสนุนการออกสินค้า ...ทำลายบ.เลย ว่างั้น

   เรื่องคือเซลล์ ขอออกสินค้าในวันหยุด ซึ่งผมต้องถ่อร่างกายดันกะปลกกะเปลี้ย มาเปิดออฟฟิซ ให้มัน

   ครั้ง สองครั้งยังพอทำเนา ...ไอ้หมอนี่มันจะทำประจำ ...ผมจึงไม่ยอม  ...มันก็ทำเรื่องเข้าบ.

 

   ผมชี้แจงไปว่า การขายสินค้าแต่ละชิ้น ไม่ใช่ติดต่อกันครั้งเดียวแล้วปิดการขายได้

   ณ.วันก่อนวันหยุด ตัวเซลล์ ก็อยู่ออฟฟิซ จนเย็น ..พอวันรุ่งขึ้นก่อนเที่ยงจะขอเบิกสินค้า ผมจึงปฏิเสธ

 

   เหมือนกับรบ. ก่อนจะถึงขั้นเจรจาลงนาม ย่อมต้องเจรจาหลักการปากเปล่ากันมาก่อนแล้วหลายครั้ง ..จนถึงขั้นจะลงนามย่อมีกรอบ ลำดับการต่อรองเรียบร้อยแล้ว การเอามาให้รัฐสภาให้ความเห็น ก็ไม่ใช่ทำให้ล่าช้าอะไร โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับความโปร่งใส ในข้อตกลงกับคู่เจรจา

 

   นอกจากมุงจะทำอะไรที่เปิดเผยไม่ได้


ประโยชน์สูงสุดของประชาชน คือกฏหมายสูงสุดของประเทศ ...วิชา มหาคุณ





0 user(s) are reading this topic

0 members, 0 guests, 0 anonymous users