ข้อมูลเสริมเกี่ยวกับรายละเอียด สินเชื่อที่อยู่อาศัย ที่ ปรส.
นำมาประมูลรวมเป็นก้อนเดียว 2 หมื่นกว่าล้านบาทครับ
มีจุดที่น่าสังเกตก็คือ ข้อมูล ณ ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2541
ลูกหนี้ 41% ไม่มียอดค้างชำระ ขณะที่ 13% ค้างชำระ 31-60 วัน,
7% ค้างชำระ 61-90 วัน, 6% ค้างชำระ 91-120 วัน, 7% ค้าง
ชำระ 121-180 วัน และ 25% ค้างชำระเกิน 180 วัน
*ซึ่งกว่าจะถึงวันประมูล 13 สิงหาคม 2541 ก็ปาเข้าไปเกือบครึ่งปี
ไม่รู้ได้เลยว่าลูกหนี้ดีๆ 41% ที่ไม่เคยค้างชำระจะเหลือจริงๆเท่าไหร่*
ผมว่าไม่น่าแปลกใจที่ผลการประมูลได้เงิน 46.80% ของมูลค่า
หนี้ตามบัญชี แต่น่าดีใจมากกว่าที่ได้ราคานี้นะครับ
...
สินเชื่อที่อยู่อาศัย 24,000 ล้านบาท ปรส.ประมูลขายกลุ่มเดียว วันเดียว
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2541
http://info.gotomana...ls.aspx?id=2256
วันที่ 30 กรกฎาคม 2541 ปรส. จะปิดรับซองประมูลสินเชื่อที่อยู่อาศัย
ซึ่งประกอบไปด้วยสัญญาสินเชื่อที่อยู่อาศัยจากสถาบันการเงิน 53 แห่ง
จำนวน 17,620 สัญญาโดย จัดจำหน่ายเพียงกลุ่มเดียว มียอดลูกหนี้คงค้าง
ประมาณ 24,400 ล้าน บาท ซึ่งเป็นยอดที่ได้รับการบันทึกสิ้นสุดเมื่อวันที่
28 กุมภาพันธ์ 2541
ปรส.คาดว่า ผู้ชนะการประ-มูลสามารถลงนามในสัญญาซื้อขายได้ภายใน 7 วัน
นับตั้งแต่วันปิดประมูล และกลุ่มสินเชื่อที่อยู่อาศัยทั้งหมดนี้จะถูกนำมาประมูล
ภายในวันเดียวเท่านั้น โดยทาง ปรส.ได้แต่งตั้งบริษัท เลห์แมน บราเดอร์ส
รับหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงินในการจำหน่ายสินทรัพย์หลักครั้งนี้
จำนวน 65% ของพอร์ตสินเชื่อที่อยู่อาศัยทั้งหมดที่นำออกขายนั้นเป็นของ
7 บริษัทเงินทุนหลักๆ คือบริษัทนิธิภัทร 5,250.5 ล้านบาท (21.54%),
บริษัทเอกธนกิจ 3,200 ล้านบาท (13.13%), บริษัทพรีเมียร์ 1,905.5 ล้านบาท,
บริษัทเอ็มซีซี 1,851.5 ล้านบาท, บริษัทนครหลวงเครดิต 1,207.0 ล้านบาท
และ บริษัทซิทก้า 971.8 ล้านบาท นอกจากนี้เป็นของบริษัทอื่นๆ อีก 8,479.9 ล้านบาท
กลุ่มสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่ ปรส.จัดจำหน่ายครั้งนี้มียอดหนี้คงค้างโดยเฉลี่ยประมาณ
1.38 ล้านบาท ทั้งนี้ประมาณ 83% ของสินเชื่อทั้งหมดมียอดลูกหนี้คงค้างเป็นจ
ำนวนเงินตั้งแต่ 0-2 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยโดยเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก ของสินเชื่อ
คิดเป็นร้อยละ 16.5 โดยร้อยละ 84 ของสินเชื่อทั้งหมด คิดดอกเบี้ยเป็นอัตรา
ดอกเบี้ยลอยตัว สินเชื่อที่อยู่อาศัยที่นำออกจำหน่ายนี้ มีอายุสัญญาเฉลี่ยประมาณ
166 เดือน
สินเชื่อที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อที่อยู่อาศัยในกรุงเทพมหานคร และเขตปริมณฑล
ถึงร้อยละ 81 ส่วนในเขตภาคกลางทั้งหมดจะมีร้อยละ 6 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ
3 ภาคใต้ร้อยละ 3 ภาคตะวันออกร้อยละ 2 ที่เหลือไม่อาจระบุได้
หากพิจารณายอดลูกหนี้คงค้างแบ่งตามประเภทอสังหาริมทรัพย์จะพบว่า
สัญญาสินเชื่อบ้านเดี่ยวมีจำนวนร้อยละ 33 ทาวน์เฮาส์ร้อยละ 22 ที่ดินเปล่า
ร้อยละ 19 คอนโดมีเนียมร้อยละ 18 สำนักงานขนาดเล็ก และบ้านกึ่งสำนักงาน
ร้อยละ 7 และอสังหาริมทรัพย์ประเภทอื่นๆ อีกร้อยละ 1
สินเชื่อที่อยู่อาศัยทั้งหมดประกอบด้วย หนี้ที่ก่อให้เกิดรายได้ หนี้คุณภาพต่ำกว่ามาตรฐาน
และหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ จากตัวเลขยอดหนี้คงค้าง ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2541 นั้น
ลูกหนี้ร้อยละ 41 ไม่มียอดค้างชำระ, ร้อยละ 13 ค้างชำระ 31-60 วัน, ร้อยละ 7 ค้างชำระ
61-90 วัน, ร้อยละ 6 ค้างชำระ 91-120 วัน, ร้อยละ 7 ค้างชำระ 121-180 วัน, ร้อยละ 25
ค้างชำระเกินกว่า 180 วัน
อมเรศ ศิลาอ่อน ประธานกรรมการ ปรส.ให้ความเห็นว่าเป็นเรื่องที่ดีที่ส่วนใหญ่
เป็นสินเชื่อของบ้านและทาวน์เฮาส์ ที่อยู่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งยังมี
กำลังซื้อและความต้องการสูง ในขณะเดียวกันลูกหนี้ที่ค้างชำระต่ำกว่า 90 วัน
มีทั้งหมด 61% ซึ่งนับว่าเป็นหนี้ที่ยังใช้ได้ทีเดียว
ส่วนกลยุทธ์ในการจัดกลุ่มสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพียงกลุ่มเดียวนั้น อมเรศ ศิลาอ่อน ประธาน ปรส.
ให้เหตุผลว่าเป็นสิ่งที่นักลงทุนกลุ่มใหญ่ต้องการ และจะสามารถดึงดูดความสนใจได้มากที่สุด
จากผู้ลงทุนที่มีหลากหลายประเภท ถ้าหากแยกออกเป็นหลายกลุ่มจะทำให้เกิดความเสียง
มากขึ้น รวมทั้งอาจจะเกิดการขายไม่หมด หรือเกิดการตัดราคา
ส่วนในเรื่องมูลค่าที่เป็นเงินค่อนข้างสูงนั้น อมเรศกล่าวว่า 24 พันล้านบาทนั้นเทียบเท่ากับ 3%
ของตลาดที่อยู่อาศัยในประเทศเท่านั้น ซึ่งทั้งหมดมีสูงถึงประมาณ 794,000 ล้านบาท และ
คาดว่าจำนวนเงินดังกล่าวไม่น่าจะมีผลอะไร เพราะเป็นการเข้ามาร่วมลงทุนกันของนักลงทุน
หลายกลุ่ม โดยทาง ปรส.คาดว่ากลุ่มนักลงทุนที่สนใจนั้น จะเป็นนักลงทุนต่างประเทศที่เข้ามา
จับมือร่วมกันกับนักลงทุนในเมืองไทยที่ยังมีกำลังซื้อ และต้องเป็นกลุ่มที่มีแหล่งเงินระยะยาว
พอสมควร
ปรส.ย้ำว่าการขายสินเชื่อที่อยู่อาศัยในครั้งนี้ จะไม่มีผลกระทบต่อลูกหนี้ หรือเจ้าของบ้านที่ยังมี
สัญญากับไฟแนนซ์เดิม เพียงแต่ลูกหนี้จะเปลี่ยนเจ้าหนี้เท่านั้น ส่วนสัญญา เงื่อนไข และข้อตกลง
จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ทั้งสิ้น นอกเสียจากว่าจะมีตกลงเปลี่ยนแปลงแก้ไขกันตอนหลัง
แต่ที่สำคัญลูกหนี้จะต้องชำระเงินและปฏิบัติตามข้อตกลงในสัญญาฉบับเดิมอย่างต่อเนื่องด้วย
วันนี้ลูกบ้านทั้งหลาย ที่เฝ้าติดตามดูอย่างใจจดจ่อ คงใกล้ที่จะรู้แล้วว่าใครจะมาเป็นเจ้าหนี้รายใหม่
ส่วน ปรส.เองก็จะรู้แล้วเช่นกันว่าจะมีการประมูลได้ในราคาที่ดีหรือไม่ และจะได้รู้กันจริงๆ เสียที
เหมือนกันว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์เมืองไทยยังน่าพิสมัย ควรเสี่ยงต่อการลงทุนอีกหรือไม่ในสายตา
นักลงทุนต่างชาติ
Edited by jerasak, 25 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 00:36.