คำพูดที่ว่า"ก็เห็นเขาก็โหวตกันในสภา" มันเป็นคำพูดแก้เก้อครับ ไม่มีใครเถียงหรอกว่าไม่จริง
แต่ที่เขาเขาพูดกันว่า ไอ่มาร์คตั้ง รบ. ในค่ายทหาร หมายถึงเบื้องหลัง ที่มีการคุย ลอ็บบี้
การตั้ง รบ. ในค่ายทหารกัน จริงๆเรื่องนี้หาอ่านได้ไม่ยากหรอกครับ ผมยกตัวอย่างให้ซัก 1 บทความ
ส่วนคุณจะเชื่อหรือไม่ก็เป็นสิทธ์ของคุณ แต่ผมเชื่อ
http://www.matichon....pid=01&catid=02
ย้อนอดีตกลับไปวันที่ 6 ธันวาคม 2551
พรรคประชาธิปัตย์นัดแถลงข่าวจัดตั้งรัฐบาลที่โรงแรมสุโขทัย เวลา 18.00 น.
ก่อนจะเลื่อนมาเป็น 18.45 น.
เพราะการเจรจากับพรรคร่วมรัฐบาลยังไม่สิ้นสุด
นายเทพไท เสนพงศ์ ให้สัมภาษณ์กับสถานีวิทยุไอเอ็นเอ็น ตอนประมาณ 16.00 น.ว่ากำลังประชุมร่วมกับแกนนำพรรคร่วมรัฐบาลอยู่ แต่บอกสถานที่ไม่ได้
เหตุที่บอก”สถานที่”ไม่ได้ เพราะสถานที่นั้นคือบ้านหลังหนึ่งในกองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์
ตามข่าวในหนังสือพิมพ์หลายฉบับระบุว่าเวลา 16.00 น. แกนนำพรรคร่วมรัฐบาลได้เข้าไปประชุมร่วมกับพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น
คนที่ร่วมประชุมประกอบด้วยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ นายนิพนธ์ พร้อมพันธุ์ นายชำนิ ศักดิ์เศรษฐ์ นายเทพไท เสนพงศ์ นายเนวิน ชิดชอบ นายสุชาติ ตันเจริญ นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล
มีรายงานข่าวว่านักการเมืองหลายคนไป”ห้องประชุม”ไม่ถูก ทุกคนจึงต้องจอดรถส่วนตัวที่ปั๊มปตท. หน้าค่ายทหาร แล้วขึ้นรถตู้ของทหารเข้าไปด้วยกัน
อย่าแปลกใจที่”ชุมพล ศิลปอาชา”หัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนาปราศรัยที่สุพรรณบุรีเมื่อวันก่อนว่า”พรรคชาติไทยถูกกลั่นแกล้งให้ถูกยุบพรรค เพราะมีความต้องการให้ไปร่วมรัฐบาลกับอีกพรรคหนึ่ง แบบนี้ไม่มีความชอบธรรม”
คำว่ามี”ความต้องการให้ไปร่วมรัฐบาลกับอีกพรรคหนึ่ง”อธิบายเบื้องหลังการจัดตั้งรัฐบาลชุดนี้ได้เป็นอย่างดี
หรือล่าสุดที่”ราเชล ฮาร์วีย์” ผู้สื่อข่าวบีบีซีประจำประเทศไทยเพิ่งเขียนรายงานเรื่อง "Thai military′s political past looms over elections" (บทบาททางการเมืองในอดีตของกองทัพไทย ปรากฏอยู่อย่างลางๆ เหนือการเลือกตั้ง)
เขาระบุชัดเจนเลยว่า”2 ปีภายหลังการรัฐประหาร กองทัพได้เข้ามามีบทบาททางการเมืองอีกครั้ง โดยมีหลักฐานระบุว่ากองทัพเป็นผู้อยู่เบื้องหลังในการประสานงานจัดตั้งรัฐบาลชุดที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี”
หรือการสัมภาษณ์ครั้งสุดท้ายก่อนเสียชีวิตของ”ไพโรจน์ สุวรรณฉวี”ก็พุดถึงการจัดตั้งรัฐบาลในค่ายทหาร
การยอมให้”กองทัพ”เข้ามามีบทบาทในการจัดตั้งรัฐบาลด้วย”ข้อเสนอที่ปฏิเสธไม่ได้”ของพรรคประชาธิปัตย์ คือ “รอยตำหนิ”ในระบอบประชาธิปไตย
นักการเมืองคนไหนที่ยอมรับการรัฐประหาร ไม่ใช่”นักประชาธิปไตย”
นักการเมืองคนไหนที่ยอมรับให้”กองทัพ”มามีบทบาทจัดตั้งรัฐบาล
ก็ไม่ใช่”นักประชาธิปไตย”เช่นกัน
................................
เป็นความจริงที่การยกมือในสภาฯเพื่อเลือก”นายกรัฐมนตรี”เป็นกติกาตามรัฐธรรมนูญ
เหมือนกับการประมูลโครงการก่อสร้างว่าใครการเสนอราคาต่ำสุดเป็นผู้ชนะ
เป็น”กติกา”เหมือนกัน
แต่การทุจริตคอรัปชั่นที่เกิดขึ้น ไม่ได้เกิด”บนโต๊ะ”
การคอรัปชั่นเกิดจากกระบวนการ”ก่อน”การยื่นซองประมูล
ถ้ามีการใช้ผู้มีอิทธิพลข่มขู่คู่แข่งเพื่อให้”ฮั้ว”หรือไม่ให้ยื่นซองประมูลสู้
การประมูลนั้นถือว่าไม่โปร่งใส ต่อให้ยื่นซองราคาต่ำสุดตาม”กติกา”ก็ตาม
การจัดตั้งรัฐบาลก็เช่นกัน