.
หลักฐานที่ใช้ประกอบการยื่นคำร้องฯ ให้บุคคลมีอาวุธปืนติดตัว สำหรับประชาชนทั่วไป
1. รูปถ่ายหน้าตรง แต่งชุดสากล หรือชุดสุภาพ ไม่สวมหมวก ขนาด 1 นิ้ว 2 รูป
2. บัตรประชาชน (พร้อมสำเนา)
3. ทะเบียนบ้าน (พร้อมสำเนา)
4. ป.4 (ภูมิลำเนา ป.4 ต้องถูกต้องตรงกับทะเบียนบ้าน) พร้อมสำเนา 1 ชุด
5. หนังสือรับรองการทำงาน ลงนามโดยกรรมการซึ่งลงชื่อผูกพันบริษัทได้
6. หลักฐานการประกอบอาชีพ เช่น ในกรณีเป็นเจ้าของกิจการ จะใช้สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัทโดยการรับรองจากกรรมการซึ่งลงชื่อผูกพันบริษัทได้ หรือสำเนา ใบทะเบียนการค้า
7. สำเนาบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของบริษัท ในรอบ 1 ปี โดยการรับรองจากกรรมการ ใช้ในกรณี ที่เป็นเจ้าของกิจการหรือกรรมการผู้จัดการบริษัท หรือกรรมการผู้รับมอบอำนาจผูกพันบริษัท(คือ สเตทเมนท์ย้อนหลัง 1 ปี นั่นเองค่ะ)
และบริษัทดังกล่าว ต้องมีทุนจดทะเบียนตั้งแต่ 10,000,000 บาทขึ้นไปและมีเงินทุนหมุนเวียนในบัญชี กระแสรายวันของบริษัท ในรอบ 1 ปี ตั้งแต่ 1,000,000 ขึ้นไปเท่านั้น(ข้อนี้ ใช้กรณ๊ ยื่นขอในนามเจ้าของกิจการ หากท่านเป็๋นเจ้าของกิจการ)
8. บัญชีเงินฝากธนาคาร โดยการรับรองจากธนาคาร ถ่ายสำเนาทุกหน้า และรับรองทุกหน้าพร้อมตราประทับโดยธนาคาร(บัญชีฝากประจำ หรือออมทรัพย์ หรือ สำเนาพันธบัตรรัฐบาล หรือสำเนาสลากออมสิน )จำนวน 1,000,000 บาทขึ้นไป เป็นระยะเวลาไม่้น้อยกว่า 6 เดือน ติดต่อกันจนถึงวันที่ยื่นคำร้อง
9. สำเนาหลักฐานการเสียภาษีเงินได้ส่วนบุคคลในรอบปีที่ผ่าน(เอาบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีไปด้วยค่ะ)
10. ใบอนุญาตให้มี อวป ติดตัว พร้อมสำเนา 1 ชุด(ในกรณี เคยมี ป.12 มาก่อนแล้วน่ะค่ะ)
11. ใบรับรองแพทย์ กรณี ผู้ขอ มีอายุ ตั้งแต่ 75 ปีขึ้นไปค่ะ
12. หลักฐานแสดงเหตุผลความจำเป็น พิเศษมากกว่าปกติธรรมดา ที่ต้องการใช้เป็นหลักฐานประกอบในการพิจารณาอนุญาตให้มี อวป
การขออนุญาตมีอาวุธปืนติดตัว ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน ฯ พ.ศ. 2490 (แบบ ป.12) แบ่งเป็น 2 กรณีและมีขั้นตอนในการดำเนินการ ดังนี้
1. กรณีการขออนุญาตมีอาวุธปืนติดตัวในเขตกรุงเทพมหานครและทั่วราชอาณาจักร
ปัจจุบัน กระทรวงมหาดไทย ได้มีคำสั่งที่ 224/2549 ลงวันที่ 27 มิถุนายน 2549 เรื่อง จำกัดการออกใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัวในเขตกรุงเทพมหานครและทั่วราช อาณาจักร เป็นการชั่วคราว โดยให้ระงับการออกใบอนุญาตฯ หากบุคคลใดมีความจำเป็นพิเศษมากกว่าปกติธรรมดาและประสงค์จะขออนุญาตมีอาวุธ ปืนติดตัว จะต้องได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานโดยการอนุมัติของรัฐมนตรีว่าการกระทรวง มหาดไทย ทั้งนี้ จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2550 ดังนั้น การขออนุญาตมีอาวุธปืนติดตัวตามกรณีดังกล่าว จะต้องดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้
1.1 ผู้ขออนุญาตยื่นคำขอ ตามแบบ ป..1 ณ กองบังคับการทะเบียน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
1.2 เจ้าหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติ เอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
1.3 เสนอคณะกรรมการที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติแต่งตั้งเพื่อพิจารณา
1.4 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พิจารณาพร้อมเหตุผลความจำเป็น
1.5 กระทรวงมหาดไทยส่งเรื่องให้กรมการปกครอง เพื่อพิจารณาตรวจสอบก่อนเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
1.6 กรมการปกครอง ตรวจสอบเอกสารหลักฐานและเหตุผลความจำเป็น เสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (ผ่านปลัดกระทรวงมหาดไทย) เพื่อพิจารณา
1.7 กระทรวงมหาดไทย แจ้งผลการพิจารณา
1.8 กรมการปกครอง แจ้งผลการพิจาณาของรัฐมนตรีว่าการระทรวงมหาดไทยให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ทราบ
1.9 ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติออกใบอนุญาตและแจ้งผู้ขออนุญาตทราบ
1.10 ผู้ขออนุญาตขอรับใบอนุญาตพร้อมชำระค่าธรรมเนียม 1,000 บาท
2. กรณีการขออนุญาตมีอาวุธปืนติดตัวในเขตจังหวัด
2.1 ผู้ขออนุญาตยื่นคำขอต่อนายทะเบียนท้องที่ที่มีภูมิลำเนา
2.2 นายทะเบียนท้องที่ตรวจสอบคุณสมบัติ เอกสารหลักฐาน ส่งเรื่องให้จังหวัดพิจารณา
2.3 จังหวัดตรวจสอบ เอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เสนอคณะกรรมการที่ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งพิจารณา(ตามนัยหนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่ มท 0302/ว 1777 ลงวันที่ 31 กรกฎาคม 2523)
2.4 ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณาออกใบอนุญาตภายในเขตจังหวัด (แบบ ป.12) และแจ้งให้ ผู้ขออนุญาตทราบ
2.5 ผู้ขออนุญาตขอรับใบอนุญาตพร้อมชำระค่าธรรมเนียม 1,000 บาท
ที่มา : บทความน่ารู้นำเสนอโดย พ.อ.อ.สุริยาวุธ บุญญาวรารัตน์