“อุกฤษ”ร่อนจม.เปิดผนึก ชี้ศาลรธน.วินิจฉัยคดีโดยไร้กฎหมายรองรับ ส่อคำวินิจฉัยกว่า 350 คดีขาดความชอบธรรม
วันจันทร์ 21 เมษายน 2557 เวลา 17:02 น.
เมื่อวันที่21 เม.ย. นายอุกฤษ มงคลนาวิน ประธานกรรมการอิสระ ว่าด้วย การส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.) ทำจดหมายเปิดผนึกฉบับที่ 2 เรื่อง “ เมื่อศาลรัฐธรรมนูญเป็นฝ่ายที่ฝ่าฝืนหลักนิติธรรมเสียเองศาลรัฐธรรมนูญก็ควรที่จะต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ ” โดยระบุว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในคดีสำคัญหลายคดีที่ผ่านมาถูกวิพากษ์วิจารณ์มากว่ามีปัญหาเรื่องความยุติธรรมหลายคดีวินิจฉัยก้าวล่วงการใช้อำนาจอธิปไตยขององค์กรอื่น โดยไม่มีอำนาจขัดต่อหลักการแบ่งแยกอำนาจ และขัดต่อรัฐธรรมนูญ ขณะที่รัฐธรรมนูญมาตรา 216 วรรคหก บัญญัติว่าวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญต้องเป็นไปตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย วิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญประกอบมาตรา 300 วรรคห้า ที่บัญญัติว่าในระหว่างที่ยังมิได้มีการตราพ.ร.บ.ให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจออกข้อกำหนดเกี่ยวกับวิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัยได้แต่ทั้งนี้ต้องตรา พ.ร.บ.ดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี นับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ แต่จนถึงปัจจุบันเป็นเวลาเกือบ 7 ปีแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญก็ยังละเลยที่จะดำเนินการเพื่อให้มีกฎหมายดังกล่าว
นายอุกฤษระบุ ด้วยว่า นอกจากนี้ยังนำเอาข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วย วิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัยพ.ศ.2550 ที่ศาลรัฐธรรมนูญ เป็นผู้กำหนดขึ้นเองแต่เพียงฝ่ายเดียวมาใช้ในการพิจารณาและการทำคำวินิจฉัยเรื่อยมา ประเด็นที่หยิบยกขึ้นมานี้มีความสำคัญยิ่งกับประเทศที่ได้ชื่อว่าให้ความสำคัญต่อหลักนิติรัฐและนิติธรรมซึ่ง นับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณาวินิจฉัยคดีโดยไม่มีกฎหมายรองรับไปแล้วกว่า 350 เรื่อง แยกเป็น ทำในรูปคำวินิจฉัย 92 เรื่อง และที่ทำเป็นคำสั่งอีก 258 เรื่องการละเลยต่อหลักการดังกล่าวข้างต้นของศาลรัฐธรรมนูญส่งผลให้การพิจารณาวินิจฉัยคดีบิดเบี้ยว ขาดความชัดเจนในกระบวนการพิจารณาเพราะไม่มีกรอบแห่งการใช้อำนาจ คือ1.ไม่มีกำหนดระยะเวลาการพิจารณาในแต่ละประเภทคดีไว้ให้ชัดเจนส่งผลให้กระบวนการพิจารณาและการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในบางคดีกระทำไปด้วยความรีบเร่งผิดปกติ
นายอุกฤษระบุอีกว่า 2.การทำคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ผ่านมายังไม่มีความชัดเจนว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นองค์คณะทุกคนได้ทำคำวินิจฉัยส่วนตนพร้อมแถลงด้วยวาจาต่อที่ประชุมก่อนการลงมติ ตามที่รัฐธรรมนูญมาตรา 216 วรรคสอง กำหนดไว้หรือไม่ เพียงใด และ 3.ไม่มีการกำหนดเวลาที่ชัดเจนในการเผยแพร่คำวินิจฉัยกลางและคำวินิจฉัยส่วนตนในราชกิจจานุเบกษาส่งผลทำให้บางคดีมีการอ่านคำวินิจฉัยไปแล้วหลายเดือนแต่คำวินิจฉัยกลางยังไม่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ตามที่รัฐธรรมนูญมาตรา 216 วรรคสามกำหนดไว้ ดังนั้นการที่ศาลรัฐธรรมนูญไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญหรือการพิจารณาวินิจฉัยคดีโดยไม่มีกฎหมายรองรับรวมทั้งการละเลยต่อกระบวนการหรือวิธีพิจารณาคดีที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ดังกล่าวคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ผ่านมาย่อมมีปัญหาความไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่เป็นไปตามหลักนิติธรรมเสียเองและอาจทำให้คำวินิจฉัยดังกล่าวตกไปทั้งฉบับได้.
ที่มา http://www.dailynews...ไร้กฎหมายรองรับ
มีคนเคยวิจารณ์ไว้ลองอ่านดูครับ
วันเสาร์ ที่ 7 ธันวาคม 2556
Posted by พี่ขนฟู , ผู้อ่าน : 6677 , 12:05:32 น.
หมวด : การเมือง
พิมพ์หน้านี้ โหวต 6 คน peeyingyai , TheSuphan และอีก 4 คนโหวตเรื่องนี้
เมื่อวันที่ 6 ธค.56 นายอุกฤษ มงคลนาวิน ประธานกรรมการอิสระว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.) กล่าวถึงข้อเสนอของ กปปส. ที่เรียกร้องให้มีการตั้งสภาประชาชน โดยอาศัยรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 ว่า ไม่ใช่ทางออกที่บอกว่าสภาประชาชนทำได้ตามมาตรา 3 ตนมองว่าไม่ใช่ และ เป็นไปไม่ได้ ตนมองว่าสิ่งที่ดีที่สุดการยึดเสียงของประชาชน 1 คนมี 1 สิทธิ 1 เสียง หากยึดแบบนั้นอาจทำให้รัฐบาลใช้รัฐธรรมนูญมาตรา 165 ทำประชามติถามความเห็นประชาชนทั้งประเทศ จำนวน 60 ล้านคน ว่าเอาด้วยหรือไม่กับสภาประชาชน วิธีนี้ถือว่าประชาชนมีส่วนร่วมมากที่สุด
“อย่าทำตามใจตัวเอง คนไทยทั้งประเทศมีกี่สิบล้านคน เปิดโอกาสให้ทำได้ โดยรัฐบาลถือเป็นปัญหาสำคัญ และเรียกปรึกษาประธานสภาฯ และประธานวุฒิสภา รวมถึงคณะรัฐมนตรีออกพระราชกำหนดทำประชามติ ต้องฟังคนทั้ง 60 ล้านคน ไม่ใช่ยึดแค่มวลมหาประชาชนที่มีสองแสนคน” นายอุกฤษกล่าว
"อย่างไรก็ตามผมมองว่าประเด็นที่เกิดขึ้น คือการไม่อยากให้มีการเลือกตั้ง เพราะเลือกตั้งกี่รอบก็แพ้ทุกที แต่ผมกลับมองว่าหากฝ่ายที่แพ้เลือกตั้งตลอดทำความดีจนนำหน้ารัฐบาลชุดปัจจุบันท้ายสุดก็จะสามารถเอาชนะและถึงตอนนั้นก็จะสามารถล้มล้างระบอบทักษิณได้" นายอุกฤษกล่าวทิ้งท้ายไว้ในที่สุด
จากบทบาทของนายอุกฤษ มงคลนาวินในระยะบั้นปลายของชีวิตที่ควรจะหลุดพ้นจากแวดวงการเมืองได้แล้วแต่กลับต้องมาเป็นเสาผุๆ ให้กับระบอบทักษิณ ด้วยระบบอุปถัมภ์ค้ำจุนที่มีต่อกัน ทำให้นายอุกฤษ มิได้มองถึงต้นเหตุของปัญหาที่ทำให้ประชาชนจำนวนมากต้องลุกขึ้นมาขับไล่รัฐบาล นั่นก็คือประชาชนที่ออกมาขับไล่รัฐบาลนั้นได้เห็นว่ารัฐบาลนี้หมดความชอบธรรมในการบริหารประเทศแล้วจากการที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยด้วยเสียงส่วนใหญ่ว่าร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าด้วยที่มาของ สว. ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ แต่รัฐบาล ยังดึงดันทูลเกล้าฯ เพื่อให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธย แก้ไขรัฐธรรมนูญ ในขณะที่ศาลรัฐธรรมนูญยังอยู่ระหว่างการพิจารณา อีกทั้งรัฐบาลไม่ยอมรับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญโดยยังมิได้มีการทูลเกล้าฯขอคืน ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ได้ทูลเกล้าฯ ไว้แต่อย่างใด
ในเมื่อประชาชนที่ออกมาขับไล่รัฐบาลเห็นว่ารัฐบาลหมดความชอบธรรมในการบริหารประเทศแล้ว การดำเนินการใดๆ ภายใต้รัฐบาลนี้ย่อมมิได้รับการยอมรับจากประชาชนทั้งสิ้น รวมทั้งการทำประชามติดังที่ นายอุกฤษ มงคลนาวิน ได้อุตส่าห์นำเสนอ ซึ่งเสมือนเป็นลมหายใจสุดท้ายของรัฐบาลในการหาทางออกที่จะบริหารประเทศต่อไป และก็น่าจะเป็นลมหายใจสุดท้ายของนายอุกฤษ มงคลนาวิน ในฐานะผู้อาวุโสทางกฎหมายและการเมือง ไปพร้อมกับรัฐบาลด้วย นับว่าเป็นลมหายใจสุดท้ายที่ไร้ค่าสิ้นดี
ขอโทษอีกทีครับ กรณีอุกฤษ สมาชิกเคยชำแหละไว้นานแล้ว แต่ผมลืมไป
อ้างอิง http://webboard.seri...มีชัย-ฤช/page-2
Edited by อาวุโสโอเค, 22 April 2014 - 08:21.