เรื่องจีนไม่ปลื้มในนโยบายล้มเจ้านี่่มีหลักฐานไหมครับ
ใช้หลักจิตวิทยาเปรียบเทียบ พระมหากรุณาธิคุณของราชวงศ์ไทย ต่อผู้อพยพชาวจีนแท้+คนเชื้อสายจีนในไทย กับ หลักการปกครองของประธานาธิบดีประเทศอื่นๆ ต่อชาวจีนอพยพ ที่เข้าไปอาศัยอยู่ เช่น อินโดนีเซีย
ถึงในไทยจะมีพรรคคอมมินิสต์มาก่อตั้งฝังราก แต่เจ้านายฝ่ายไทยไม่โหด แล้วจีนจะลืมบุญคุณกันได้ยังไง?
ย้อนกลับไปในอดีตยาวนานเป็นพันปีมาแล้ว ที่ทุกๆ ต้นปี (มกราคม-พฤษภาคม) ลมมรสุมจะพัดจากทะเลจีนสู่อ่าวไทย เรือสำเภาจีนจะ เคลื่อนตามลมมรสุมนี้สู่แผ่นดินไทย พร้อมกับสินค้าและผู้คนที่เข้ามาติดต่อสัมพันธ์ และเมื่อถึงกลางปี (พฤษภาคม-กรกฎาคม) กระแสลมจะพัดย้อนกลับ พร้อมกับกองเรือสำเภาจีนคืนถิ่นบ้านเกิด เป็นเช่นนี้ปีแล้วปีเล่าไม่เคยขาดหาย
จำนวนชาวจีนที่ อพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารทวีจำนวนมากยิ่งขึ้นเป็นลำดับ นับตั้งแต่สมัยปลายกรุงศรีอยุธยาเรื่อยมาจนกระทั่งสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งตรงกับสมัยที่ชาวจีนอพยพออกนอกประเทศเป็นจำนวนมากด้วยเหตุผลที่ต่างกัน คือ...
@ ขณะนั้นประเทศจีนถูกปกครองโดยราชวงศ์ชิง ซึ่งเป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์แมนจูเลียที่คนจีนส่วนมากถือว่าเป็นกษัตริย์ต่างชาติ มิใช่ราชวงศ์ของชนชาติฮั่นที่เคยปกครองจีนมาแต่สมัยโบราณ ประกอบกับการปกครองของราชวงศ์นี้เต็มไปด้วยการกดขี่ข่มเหง และเข้มงวดกวดขันในชีวิตความเป็นอยู่ของพวกไพร่พลเมืองจีน
@ ระบบเศรษฐกิจของจีนในระบอบศักดินาจีนในสมัยปลาย โดยเฉพาะในสมัยของราชวงศ์ชิงนั้น เป็นระบบที่โหดร้ายทารุณ ประกอบกับแผ่นดินจีนใน ระยะนั้นประสบภัยธรรมชาติค่อนข้างถี่ บางปีก็แห้งแล้ง บางปีก็น้ำท่วม เฉลี่ยแล้วไม่ต่ำกว่าปีละครั้ง เนื่องจากไม่ได้รับการพัฒนาทางด้านชลประทาน คนจีนจึงพากันละทิ้งประเทศไปแสวงหาที่ทำกินใหม่ในต่างประเทศ
ชาวจีนที่อพยพลงมาทางใต้ ส่วนใหญ่อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีน ซึ่งติดกับทะเล เส้นทางคมนาคมในการอพยพที่สะดวกที่สุด คือ ทางเรือ ประเทศที่ชาวจีนอพยพ ลงมาทางใต้ ล้วนแล้วแต่มีพืชพันธุ์ธัญญาหารสมบูรณ์กว่าถิ่นฐานที่อยู่เดิม เช่น เวียดนาม ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฯลฯ ในขณะที่ถิ่นฐานเดิมที่ราบน้อย ถูกปกคลุมด้วยภูเขาฮกเกี้ยน ไม่เหมาะแก่การเพาะปลูก มีที่ดินที่ทำการเพาะปลูกประมาณ ครึ่งเอเคอร์ต่อคน (1 เอเคอร์ต่อคน = 2.5 ไร่) เมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่นของจีนในสมัยนั้น ที่ทำการเพาะปลูกตกประมาณ 1 เอเคอร์ต่อคน
สาเหตุข้างต้นทำให้มีชาวจีนอพยพเข้าไทยประมาณหนึ่งในสี่ของพลเมืองทั้งประเทศในขณะนั้น อันที่จริงชาวจีนอพยพ เข้าสู่ประเทศไทยในหลายทางด้วยกัน แต่ส่วนมากมักอพยพเข้ามาทางหัวเมืองชายทะเลของประเทศไทย ตั้งแต่ทางฝั่งตะวันออกของอ่าวไทย เรื่อยมาจนกระทั่งถึงฝั่งตะวันตก
ด้วยเหตุนี้ตามจังหวัดชายทะเล จึงมักมีคนจีนอาศัย รวมกลุ่มอยู่กันเป็นแห่งๆ นับตั้งแต่ จันทบุรี ระยอง ชลบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ชุมพร สุราษฎร์ธานี สงขลา เป็นต้น
ส่วนอีกทางหนึ่งก็มาตามลำน้ำเจ้าพระยา ตามเส้นทางคมนาคมที่สะดวกในสมัยนั้นอย่าง เช่น ปากน้ำโพ จ.นครสวรรค์ สุพรรณบุรี ฯลฯ โดยเริ่มจากกรุงเทพฯ จากนั้นก็กระจายไปตามหัวเมืองและย่านการค้าจังหวัดต่างๆ จนทั่วประเทศ
ส่วนการอพยพเข้าสู่กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์นั้น มีอยู่เป็นจำนวนมาก เพราะธนบุรีและกรุงเทพฯ คือ จุดหมายปลายทางของเส้นทางเดินเรือ ในสมัยแรกนั้นเป็นการเดินทางมาเสี่ยงโชคกับเรือสินค้า ซึ่งเดินเรือติดต่อค้าขายระหว่างไทยกับจีนอยู่แล้ว แต่ในระยะหลังๆ เมื่อชาวจีนพากันละทิ้งถิ่นฐานมากขึ้น จึงมีเรือโดยสารที่เกิดจากการชักชวนกันเดินทางมายังทะเลจีนใต้เป็นการเฉพาะ*
*อ้างจากบทความเรื่อง บทบาทคนจีนต่อสภาวะเศรษฐกิจไทยในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ศ.สุคนธาภิรมย์
http://www.komchadluek.net/detail/20100223/49620/%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%99%E0%B8%96%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A2%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%96%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%281%29.html
ร.8 เสด็จเยาวราชแก้ปัญหา ท่าทีไม่พอใจชาวจีน
วันนี้ในอดีต วันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2489 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พร้อมด้วย สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช-ในปัจจุบัน) เสด็จเยี่ยมเยียนราษฎรด้วยการพระราชดำเนินที่เยาวราช สำเพ็ง ตั้งแต่เวลาเช้าจนถึงเที่ยง เป็นระยะทาง 3 กิโลเมตร และเสวยพระกระยาหารเที่ยงที่ชาวเยาวราชจัดถวายด้วย
เนื่องด้วยในเวลานั้นมีความขัดแย้งอย่างรุนแรงระหว่างคนไทยกับคนไทยเชื้อสาย จีนหรือชาวจีนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยโดยเฉพาะบริเวณเยาวราช ถึงกับมีการทำร้ายร่างกายคนไทยที่เข้าไปในบริเวณนี้ การเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนราษฎรครั้งนี้นับเป็นประวัติศาสตร์ครั้ง หนึ่งที่ต้องจารึกไว้ และเป็นการสลายความขัดแย้งทั้งหมดไปได้
ก่อนหน้าที่จะเสด็จพระราชดำเนินไม่นาน มีการเคลื่อนไหวของคนจีนในประเทศไทยที่แสดงออกถึงความไม่พอใจรัฐบาลไทยในขณะ นั้น อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่ 2ซึ่งประเทศญี่ปุ่นเป็นฝ่ายพ่ายแพ้และประเทศไทยซึ่งถูกบีบบังคับให้เป็น พันธมิตรกับประเทศญี่ปุ่นก็ต้องอยู่ในฐานะประเทศที่พ่ายแพ้สงครามเช่นกัน และต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งมีเงื่อนไขประการหนึ่งก็ คือ ให้กองทัพจีนส่งกำลังทหารเข้ามาปลดอาวุธทหารญี่ปุ่นในประเทศไทย แต่เนื่องจากรัฐบาลไทยห่วงใยในเรื่องความมั่นคงของชาติ และต้องการพลิกสถานการณ์มาเป็นฝ่ายสัมพันธมิตร จึงขอให้ทหารญี่ปุ่นยอมวางอาวุธ ต่อลอร์ด หลุยส์ เมาท์แบตเตน ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของอังกฤษ ประจำภาคเอเชียตะวันออกไกล ทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ชาวจีนขณะนั้น
กอรปกับการที่ประเทศจีนได้ให้สัญชาติจีนกับคนจีนที่เกิดนอกประเทศ ยิ่งทำให้เกิดกระแสชาตินิยมในหมู่ชาวจีนเป็นอย่างมาก คนจีนที่พักอาศัยในบริเวณย่านเยาวราช ราชชวงศ์สำเพ็ง ต่างได้แสดงออก ถึงความรู้สึกชาตินิยมด้วยการประดับธงชาติจีนตามร้านค้า บ้านเรือน เพื่อแสดงออกว่าตนเป็นคนจีนไม่ใช่คนไทย นอกจากนี้ ยังมีเหตุการณ์ทำร้ายคนไทยที่ผ่านเข้าไปในย่านของคนจีนที่เรียกกันว่า “เลี๊ยะพะ” รวมทั้งการหยุดงาน ปิดร้าน ทำให้เกิดภาวะสินค้าขาดแคลน นำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างคนไทยกับคนจีนในประเทศ
การตัดสินพระทัยของพระองค์ท่านในขั้นต้น ได้รับการทักท้วงเพราะรัฐบาลเกรงว่าจะผิดราชประเพณี แต่ทรงมีรับสั่งให้สำนักราชเลขานุการในพระองค์ แจ้งยืนยันให้รัฐบาลทราบ เพราะทั้งรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 ก็เคยเสด็จพระราชดำเนินมาแล้ว จึงมีหมายกำหนดการเสด็จประพาสเยี่ยมชาวจีนที่สำเพ็ง ในวันที่ 3 มิถุนายน 2489 และเมื่อชาวจีนในสำเพ็งได้ทราบข่าวอันน่ายินดีนี้ ต่างได้ร่วมแรงร่วมใจกันเก็บกวาดขยะสิ่งรกรุงรังเพื่อเตรียมสถานที่รอรับ เสด็จ
เมื่อล้นเกล้าทั้ง 2 พระองค์เสด็จพระราชดำเนินมาถึงในเวลา 9 นาฬิกาแล้ว นายกเทศมนตรีพระนคร เป็นผู้ถวายบังคมทูลเบิกผู้รักษาการแทนนายกสมาคมพาณิชย์จีน เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท แล้วเสด็จฯทอดพระเนตรชีวิตความเป็นอยู่ของชาวสำเพ็ง โดยชาวสำเพ็งได้จัดสร้างซุ้มรับเสด็จถึง 7 ซุ้ม มีการจัดตั้งโต๊ะหมูบูชา และประดับธงไตรรงค์ดูสวยงาม โดยที่ตลอดสองข้างทางมีคนจีนที่อาศัยในย่านนั้นเดินทางมาเฝ้าทูลละอองธุลี พระบาทเป็นจำนวนมาก และในระหว่างเสด็จพระราชดำเนิน บรรดาพ่อค้าชาวจีนได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายของมีค่า เช่น เครื่องกระเบื้อง และสิ่งของที่ทำด้วยหยก รวมทั้งถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศล รวม 13,000 บาท ซึ่งนับว่าเป็นเงินจำนวนมากในสมัยนั้น ซึ่งเงินจำนวนดังกล่าวได้ทรงตั้งเป็น “ ทุนพ่อค้าหลวง”และพระราชทานแก่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เพื่อให้เก็บดอกผล สำหรับรักษาพยาบาลผู้ป่วยที่ยากไร้
http://sakdaper.blog.../2013/06/8.html
30 ก.ย.2508 คอมมิวนิสต์อินโดนีเซีย ก่อการปฏิวัติ ในสมัยประธานาธิบดีซูการ์โน เพื่อหวังเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ แต่ถูก พล.ต.ซูฮาร์โต ปราบปรามได้ เพราะการปฏิวัติครั้งนี้ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน เป็นผู้สนับสนุน จึงนำไปสู่การแอนตี้ประเทศจีน, คนจีน และการสังหารคนอินโดนีเซียเชื้อสายจีน กับคนจีนในอินโดนีเซีย ในเวลาต่อมา
ตัวหนังสือจีน ถูกห้ามใช้ ให้เขียนตามเสียง ด้วยอักษรโรมันแทน ประเทศทั้งสอง เพิ่งมามีความสัมพันธ์อันดีกันใหม่ ตัวหนังสือจีน เริ่มใช้ได้ใหม่ ในราวๆ 25 ปีมานี้ (พรรค คม.อินโดนีเซีย ก็ถูก พรรค คม.จีน ลอยแพ เหมือน พรรค คม.ไทย พรรค คม.พม่า พรรค คม.มลายู ฯลฯ)
ลิงค์นี้เป็นหนังที่เกี่ยวกับการไล่ฆ่า คอมมิวนิสต์ในอินโดฯ ปี 2508
http://www.sac.or.th...?content_id=355