สมมุติ
ขึ้นศาลทหาร จะมีขั้นตอนอย่างไร แบบไหน เรียกทนายได้ไหม ผู้รู้อธิบายที
http://www.tambol.co...ary_court16.asp
การตั้งทนายให้จำเลย
จำเลยมีสิทธิแต่งทนายแก้ต่างในศาลทหารในเวลาปกติ และศาลทหารในเวลาไม่ปกติได้
แต่ศาลอาญาศึกหรือศาลที่พิจารณาพิพากษาคดีแทนศาลอาญาศึก ตามมาตรา ๔๐ และ
มาตรา ๔๓ นั้น ห้ามแต่งทนาย ทั้งนี้เป็นไปตามบทบัญญัติในมาตรา ๕๕ แห่งพระราช -
บัญญัติธรรมนูญศาลทหาร ฯ
นอกจากนั้น กฎหมายยังกำหนดเงื่อนไขการตั้งทนายให้จำเลยในศาลทหารไว้ดังต่อไปนี้
“มาตรา ๕๖ ภายใต้บังคับมาตรา ๕๕
(๑) ในคดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่สิบปีขึ้นไป ก่อนเริ่มพิจารณา ให้ศาลถามจำเลย
ว่ามีทนายหรือไม่ ถ้าไม่มีและจำเลยต้องการ ก็ให้ศาลตั้งทนายให้
(๒) ในคดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินห้าปี แต่ไม่ถึงสิบปี ถ้าจำเลยแถลงต่อศาลก่อน
เริ่มพิจารณาว่า จำเลยยากจน และต้องการทนาย ก็ให้ศาลตั้งทนายให้ ในการนี้ศาลอาจ
ไต่สวนเพื่อให้ได้ความว่า จำเลยเป็นคนยากจนจริง
ให้ศาลจ่ายเงินรางวัลแก่ทนายที่ศาลตั้งตาม (๑) และ (๒) ตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด”
การตั้งทนายให้แก่จำเลยในศาลพลเรือน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา ๑๗๓ ต่างกับการตั้งทนายในศาลทหาร ตรงเงื่อนไขการตั้งทนาย ซึ่งในศาลพลเรือน
คดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิตนั้น หากจำเลยไม่มีทนาย ศาลต้องตั้งทนายให้จำเลย และในคดี
ที่มีอัตราโทษจำคุกมากน้อยเท่าใดก็ตาม หรือคดีที่จำเลยอายุไม่เกิน ๑๘ ปี ในวันถูกฟ้อง หาก
จำเลยไม่มีทนายและต้องการทนาย ศาลก็ต้องตั้งทนายให้เช่นกัน
ทนายที่แก้ต่างให้จำเลย ไม่ว่าจะเป็นทนายที่ศาลตั้งให้ หรือทนายที่จำเลยแต่งเข้ามาใน
คดีเอง มี ๒ ประเภท คือ
๑. ทนาย ตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยทนาย พ.ศ.๒๔๙๙ ได้แก่ ข้าราชการ
กระทรวงกลาโหมที่มีพื้นความรู้นิติศาสตร์บัณฑิตโดยไม่จำกัดชั้นยศ และผู้บังคับบัญชา
อนุญาตให้ทำหน้าที่ทนายได้
๒. ทนายความ ตามพระราชบัญญัติทนายความ ฯ ซึ่งได้แก่ ทนายความพลเรือนที่ได้รับ
ใบอนุญาตว่าความจากสภาทนายความ
การโอนคดี
ในเรื่องการโอนคดีนั้น ศาลทหารกับศาลพลเรือนมีหลักการคล้ายคลึงกัน โดยพระราช -
บัญญัติธรรมนูญศาลทหาร ฯ บัญญัติว่า
“มาตรา ๕๗ เมื่อมีเหตุผลที่อาจเป็นการขัดขวาง หรือไม่สะดวก หรือไม่อาจดำเนินคดี
ในศาลทหารท้องถิ่นได้ ถ้าโจทก์หรือจำเลยยื่นเรื่องราวต่อศาลทหารสูงสุด ขอให้โอนคดีไปยัง
ศาลทหารแห่งอื่น และศาลทหารสูงสุดอนุญาตตามคำขอนั้น ก็ให้สั่งโอนคดีไปยังศาลดั่งที่
ศาลทหารสูงสุดระบุไว้ คำสั่งของศาลทหารสูงสุดนี้ให้เป็นอันถึงที่สุด”
บทบัญญัติเกี่ยวกับการโอนคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในมาตรา ๒๖
ได้บัญญัติเหตุของการโอนคดีไว้ทำนองเดียวกันว่า หากลักษณะความผิด ฐานะของจำเลย
จำนวนจำเลย ความรู้สึกของประชาชนส่วนมาก หรือเหตุผลอย่างอื่นอาจมีการขัดขวางการ
ไต่สวนมูลฟ้อง หรือพิจารณา หรือน่ากลัวว่าจะเกิดความไม่สงบหรือเหตุร้ายอย่างอื่น โจทก์
หรือจำเลยอาจยื่นคำร้องต่อประธานศาลฎีกาให้โอนคดีไปยังศาลอื่นได้เช่นกัน
ข้อแตกต่างของเหตุผลในการโอนคดีของศาลทหารที่ต่างออกไปจากศาลพลเรือนประการ
หนึ่งก็คือ กรณีที่ไม่อาจดำเนินคดีในศาลทหารท้องถิ่นได้ เช่น ขณะฟ้องคดีจำเลยมียศจ่าสิบเอก
ถูกดำเนินคดีในศาลจังหวัดทหาร แต่ในระหว่างพิจารณาคดี จำเลยได้เลื่อนยศเป็นนายทหาร
ชั้นสัญญาบัตร ซึ่งศาลจังหวัดทหารไม่มีอำนาจพิจารณาคดีที่จำเลยมียศทหารชั้นสัญญาบัตร
ดังนี้ ต้องโอนคดีไปยังศาลมณฑลทหารหรือศาลทหารกรุงเทพที่มีอำนาจพิจารณาตามกฎหมาย
นอกจากกรณีดังกล่าว ในส่วนของศาลทหาร ยังมีการโอนคดีก่อนฟ้อง โดยส่งตัวผู้ต้องหาไป
ดำเนินคดีในศาลทหารแห่งอื่นได้ ตามบทบัญญัติในมาตรา ๑๘ แห่งพระราชบัญญัติธรรมนูญ
ศาลทหาร ฯ ซึ่งบัญญัติไว้ว่า
“มาตรา ๑๘ เมื่อมีคำร้องของอัยการทหาร หรือผู้ต้องหา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
มีอำนาจสั่งให้ส่งผู้ต้องหาไปดำเนินคดีในศาลทหารตามที่ร้องขอได้”
การปฏิบัติตามความในมาตรานี้ มักจะเป็นเรื่องที่จำเลยกระทำความผิดอาญาในพื้นที่ที่มี
เขตอำนาจศาลต่างกัน เช่น จำเลยหนีราชการไปจากหน่วยต้นสังกัดซึ่งตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ศาล
มณฑลทหารบกที่ ๑๔ จังหวัดชลบุรี และได้ไปกระทำความผิดอาญาอีกฐานหนึ่งในกรุงเทพ
มหานคร และถูกควบคุมตัวอยู่ในเรือนจำทหารที่กรุงเทพมหานคร ดั่งนี้ อัยการศาลมณฑล
ทหารบกที่ ๑๔ อาจร้องขอให้ส่งสำนวนคดีหนีราชการ ไปดำเนินคดีที่ศาลทหารกรุงเทพได้ โดย
รายงานเสนอผ่านไปทางสำนักงานอัยการทหาร เพื่อนำเรียนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
สั่งให้ส่งตัวผู้ต้องหาไปดำเนินคดีในศาลทหารกรุงเทพได้
การอุทธรณ์ฎีกา
ข้อกำหนดในการอุทธรณ์ฎีกาของศาลทหาร แตกต่างไปจากศาลพลเรือนหลายประการ
พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร ฯ บัญญัติว่า
“มาตรา ๖๑ ภายใต้บังคับมาตรา ๖๒ และมาตรา ๖๓ คำพิพากษาหรือคำสั่งของ
ศาลทหารในเวลาปกติ โจทก์หรือจำเลยอุทธรณ์หรือฎีกาได้ภายในสิบห้าวัน ผู้มีอำนาจ
แต่งตั้งตุลาการ ตามมาตรา ๓๐ หรือผู้มีอำนาจสั่งลงโทษอุทธรณ์หรือฎีกาได้ภายใน
สามสิบวัน ทั้งนี้นับแต่วันอ่านหรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษา หรือคำสั่งให้จำเลยฟัง
คำพิพากษา หรือคำสั่งของศาลทหารในเวลาไม่ปกติ และศาลอาญาศึก หรือศาลที่
พิจารณาพิพากษาคดีแทนศาลอาญาศึก ตามมาตรา ๔๐ และ มาตรา ๔๓ ห้ามอุทธรณ์
หรือฎีกา”
หลักเกณฑ์ในการอุทธรณ์ฎีกาของศาลทหาร แยกพิจารณาได้ดังนี้
๑. คำพิพากษา หรือคำสั่งที่อุทธรณ์ฎีกาได้นั้น ต้องเป็นคำพิพากษา หรือคำสั่งของ
ศาลทหารในเวลาปกติเท่านั้น
๒. ผู้มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้นั้น นอกจากโจทก์และจำเลยแล้ว ผู้มีอำนาจแต่งตั้งตุลาการ
และผู้มีอำนาจสั่งลงโทษ ตามมาตรา ๖๕ ก็มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้ด้วย
๓. อายุอุทธรณ์ฎีกานั้นกำหนดไว้แตกต่างกัน คือ โจทก์และจำเลยอุทธรณ์หรือฎีกาได้
ภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันอ่านหรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษา ส่วนผู้มีอำนาจแต่งตั้งตุลาการ
และผู้มีอำนาจสั่งลงโทษ อุทธรณ์หรือฎีกาได้ภายใน ๓๐ วัน
หลักเกณฑ์ดังกล่าว แตกต่างไปจากหลักเกณฑ์ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ตรงที่ในศาลพลเรือนนั้น คู่ความเป็นผู้มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกา และมีอายุอุทธรณ์และฎีกาภายใน
กำหนด ๑ เดือน นับแต่วันอ่านหรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ตาม
มาตรา ๑๙๘ และมาตรา ๒๑๖
นอกจากนี้ยังมีหลักเกณฑ์กรณีห้ามมิให้อุทธรณ์หรือฎีกา ในปัญหาข้อกฎหมายหรือในกรณี
ห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ไว้โดยเฉพาะในมาตรา ๖๒ และ ๖๓ อีกด้วย
การบังคับตามคำพิพากษา
การบังคับตามคำพิพากษาของศาลทหาร กฎหมายบัญญัติไว้ว่า
“มาตรา ๖๔ ภายใต้บังคับมาตรา ๒๔๖ ถึงมาตรา ๒๔๘ แห่งประมวลกฎหมายวิธี
พิจารณาความอาญา และมาตรา ๒๒ แห่งพระราชบัญญัติเรือนจำทหาร พุทธศักราช ๒๔๗๙
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเรือนจำทหาร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๐๐ คำพิพากษาของ
ศาลทหารเว้นแต่ศาลอาญาศึก หรือศาลที่มีพิจารณาพิพากษาคดีแทนศาลอาญาศึก
ตามมาตรา ๔๐ เมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว ให้ผู้มีอำนาจสั่งลงโทษจัดการให้เป็นไปตามคำ
พิพากษา ...
ส่วนคำพิพากษาของศาลอาญาศึก หรือศาลที่พิจารณาพิพากษาคดีแทนศาลอาญาศึก
ตามมาตรา ๔๐ ให้ผู้มีอำนาจสั่งลงโทษจัดการให้เป็นไปตามคำพิพากษาได้ทีเดียว เว้นแต่
ผู้ต้องคำพิพากษาให้ประหารชีวิตเป็นหญิงและมีครรภ์อยู่ ให้รอไว้จนคลอดบุตรเสียก่อน
แล้วจึงประหารชีวิต
ในคดีที่อุทธรณ์ได้ตามพระราชบัญญัตินี้ ศาลทหารชั้นต้นมีหน้าที่ต้องส่งสำนวนคดีที่
พิพากษาให้ลงโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิตไปยังศาลทหารกลางในเมื่อไม่มีการ
อุทธรณ์คำพิพากษานั้น และคำพิพากษาเช่นว่านี้ยังไม่ถึงที่สุด เว้นแต่ศาลทหารกลางจะได้
พิพากษายืน”
จากบทบัญญัติดังกล่าว นอกจากจะกำหนดให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ
อาญา มาตรา ๒๔๖ ถึง มาตรา ๒๔๘ มาใช้บังคับแล้ว ยังกำหนดให้ “ผู้มีอำนาจสั่งลงโทษ”
เป็นผู้จัดการให้เป็นไปตามคำพิพากษาเมื่อคดีถึงที่สุด ซึ่งเป็นข้อแตกต่างไปจากการปฏิบัติ
ของศาลพลเรือน พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร ฯ บัญญัติเรื่อง “ผู้มีอำนาจสั่งลงโทษ”
ไว้ว่า
มาตรา ๖๕ ผู้มีอำนาจสั่งลงโทษ คือ
(๑) นายทหารผู้บังคับบัญชาจำเลยซึ่งมีตำแหน่งตั้งแต่ชั้นผู้บัญชาการกองพลขึ้นไป หรือมี
ตำแหน่งตั้งแต่ชั้นผู้บังคับกองพันขึ้นไป ที่อยู่ต่างท้องถิ่นกับผู้บังคับบัญชาตำแหน่งชั้นผู้
บัญชาการกองพลขึ้นไป เป็นผู้มีอำนาจสั่งลงโทษตามคำพิพากษาของศาลจังหวัดทหาร
ศาลมณฑลทหาร หรือศาลทหารกรุงเทพ
(๒) ผู้มีอำนาจแต่งตั้งตุลาการศาลทหารชั้นต้นเป็นผู้มีอำนาจสั่งลงโทษในกรณีที่จำเลย
อยู่ต่างท้องถิ่นกับผู้บังคับบัญชา หรือไม่อยู่ใต้บังคับบัญชาของทหาร
(๓) ผู้มีอำนาจแต่งตั้งตุลาการศาลประจำหน่วยทหาร หรือศาลอาญาศึกเป็นผู้มีอำนาจ
สั่งลงโทษตามคำพิพากษาของศาลนั้น ๆ”
การกำหนดว่า ผู้มีอำนาจสั่งลงโทษคือผู้ใดนั้น ต้องพิจารณาว่า จำเลยรับโทษในท้องถิ่น
ใดประกอบด้วย หากจำเลยต้องรับโทษตามคำพิพากษาอยู่ต่างท้องถิ่นกับผู้บังคับบัญชา
ก็จะมีผลทำให้บุคคลผู้มีอำนาจสั่งลงโทษตามคำพิพากษาที่จะต้องดำเนินการให้จำเลย
รับโทษตามคำพิพากษา เปลี่ยนแปลงไปด้วย คำว่า “ท้องถิ่น” ตามมาตรานี้ หมายถึง
จังหวัดในการทางปกครองของฝ่ายพลเรือน ตามแนวคำพิพากษาศาลทหารสูงสุดที่ ๖/๒๕๓๐
ซึ่งการกำหนดตัวผู้มีอำนาจสั่งลงโทษ อาจแยกพิจารณาเป็นกรณี ๆ ได้ดังนี้
๑. หากท้องถิ่นที่จำเลยต้องรับโทษเป็นท้องถิ่นที่มีผู้บังคับบัญชา ตำแหน่งผู้บัญชาการ
กองพล หรือเทียบเท่าขึ้นไปประจำอยู่ ผู้บังคับบัญชาของจำเลยผู้นั้นเป็นผู้มีอำนาจสั่งลงโทษ
กรณีที่ไม่มีผู้บัญชาการกองพลก็จะต้องเป็นผู้บังคับบัญชาที่มีตำแหน่งสูงกว่าขึ้นไปเป็นผู้มี
อำนาจสั่งลงโทษ
๒. หากในท้องถิ่นที่จำเลยรับโทษไม่มีผู้บังคับบัญชาตำแหน่งผู้บัญชาการกองพล หรือ
เทียบเท่าขึ้นไปประจำอยู่ แต่มีผู้บังคับบัญชาจำเลยซึ่งมีตำแหน่งตั้งแต่ชั้นผู้บังคับกองพัน หรือ
ผู้บังคับการกรมประจำอยู่ ก็ให้ผู้บังคับบัญชานั้นเป็นผู้มีอำนาจสั่งลงโทษ
๓. ในกรณีที่ในท้องถิ่นที่จำเลยรับโทษไม่มีผู้บังคับบัญชาประจำอยู่ หรือมีแต่ตำแหน่งไม่ถึง
ชั้นผู้บังคับกองพัน กรณีนี้ให้ผู้มีอำนาจแต่งตั้งตุลาการศาลทหารชั้นต้นที่มีเขตอำนาจ
ครอบคลุมท้องถิ่นที่จำเลยรับโทษ เป็นผู้มีอำนาจสั่งลงโทษ
๔. กรณีที่จำเลยต้องรับโทษตามคำพิพากษาของศาลประจำหน่วยทหาร หรือคำพิพากษา
ศาลอาญาศึก (ไม่ว่าจำเลยจะต้องรับโทษในท้องถิ่นใดก็ตาม) ผู้มีอำนาจสั่งลงโทษ ได้แก่
ผู้มีอำนาจแต่งตั้งตุลาการศาลประจำหน่วยทหาร หรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งตุลาการศาลอาญาศึก
ตามแต่กรณี
ในทางปฏิบัติ เมื่อศาลทหารมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำเลยแล้วจ่าศาลทหาร จะ
ดำเนินการออก “หมายแจ้งโทษเด็ดขาด” เพื่อบังคับโทษให้เป็นไปตามคำพิพากษา โดยใน
ตอนท้ายของแบบพิมพ์หมายดังกล่าว จะมีข้อความที่ให้ผู้มีอำนาจสั่งลงโทษ สั่งให้เรือนจำที่
จำเลยรับโทษอยู่ จัดการให้เป็นไปตามหมาย ทั้งนี้ เมื่อผู้มีอำนาจสั่งลงโทษลงชื่อแล้ว จึงส่ง
หมายดังกล่าวให้เรือนจำปฏิบัติต่อไป
มีข้อสังเกตว่า ผู้มีอำนาจสั่งลงโทษนี้นอกจากจะเป็นผู้จัดการให้เป็นไปตามคำพิพากษาแล้ว
ยังเป็นผู้มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกา ตามมาตรา ๖๑ อีกด้วย ดังได้กล่าวมาแล้วในเรื่องการอุทธรณ์ฎีกา
โดยสรุปจึงอาจกล่าวได้ว่า ในกระบวนยุติธรรมทหารนั้น ผู้บังคับบัญชาทหารมีส่วนเข้ามา
เกี่ยวข้องตั้งแต่เริ่มต้นในการตั้งผู้สอบสวนดำเนินคดี การควบคุมตัว การเป็นองค์คณะในการ
พิจารณาพิพากษา ตลอดจนการบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษาอันเป็นขั้นตอนสุดท้ายของ
กระบวนการ อันมีลักษณะแตกต่างไปจากกระบวนยุติธรรมของศาลพลเรือน ที่มีความสำคัญ
ในอันที่จะเป็นการผดุงความยุติธรรมให้แก่สังคมและประเทศชาติ อีกกระบวนการหนึ่งทีเดียว
อ่านเพิ่มเติม.
http://www.tambol.co...itary_court.asp
“A fool's brain digests philosophy into folly, science into superstition, and art into pedantry. Hence University education. ”George Bernard Shaw