ขอรายละเอียดข้อกฏหมายหน่อย
ถ้าประชามติคนออกไปใช้สิทธิไม่ถึงขึ้นก็เป็นโมฆะครับ ส่วนเลือกตั้ง สส คนที่เชื่อว่าคนใช้สิทธิไม่ถึงครึ่งเป็นโมฆะก็โดนหลอก
ถ้าไปโหวตโนคุณได้สิทธิคัดค้านการเลือกตั้งแถมมาด้วย
ถ้าเขตที่มีผู้สมัครคนเดียว โหวตโนมากกว่า ก็ต้องเลือกตั้งใหม่ รับสมัครใหม่
สังเกตจากการรณรงค์ให้เลือกตั้งจากรบ. และผู้สนับสนุนทั้งหลาย ว่าให้ไปเลือกตั้งให้ได้ แม้จะโหวตโนก็ได้ ขอแค่ให้ไปเลือกตั้ง
ดังนั้น จึงไม่ควรไปค่ะ อย่าเชื่อเรื่องให้ไปโหวตโนค่ะ
เรื่องนี้พูดกันเยอะและพูดกันมานาน และไม่รู้ว่ายังงัยแน่
ผมขอสรุปสั้นๆเลยว่า ถึงจะคะแนนโหวตโนมากกว่าคะแนนผู้สมัคร แต่มันก็แค่เลื่อนไปเลือกใหม่ไปเรื่อยๆ พอถึงครั้งที่กำหนด(จำไม่ได้ว่ากี่ครั้ง) ท้ายสุดเขาก็จะให้ผู้สมัครได้ตำแหน่ง สส.ไปอยู่ดีครับ
ส่วนไม่ออกไปเลือกตั้ง นี่ไม่เกี่ยวเลย ถึงคนที่ไปเลือกมีแค่คนเดียว ที่เหลือไม่ออกไปหมด (แต่ต้องไม่มีคะแนนโหวตโนเลยนะ) คนที่ได้คะแนนก็ได้เป็น สส. อยู่ดี
ดังนั้นสรุปแล้วถ้ามีเลือกตั้ง ยังงัยๆเพื่อไทยก็จะได้ สส. ก็ขึ้นอยู่แค่ว่าจะได้ช้าได้เร็ว
ขั้นตอนที่สำคัญที่สุดถ้าจะไม่ให้มีการเลือกตั้ง มันผ่านไปแล้ว คือขั้นตอนจับสลากกับขั้นตอนรับสมัคร เมื่อผ่านขั้นตอนนี้มาได้แล้ว ด้วยความสูยเสียของพวกเรา ก็ถือว่าเราพลาดท่าไปแล้ว
ที่เหลือก็มีแค่ไม่ให้มีการเลือกตั้งเกิดขึ้นให้ได้ ซึ่งการเลือกตั้งล่วงหน้ากำลังทำอยู่ จุดใหญ่อยู่ที่การลงคะแนนของ สส. ปารตี้ลิสท์ เพราะ สส.เขตในเขตภาคเหนือกับอีสาน กปปส ในจังหวัดนั้นๆไม่มีพลังพอจะไปขัดขวางท่หน้าเขตแน่นอน
ความหวังสุดท้ายอยู่ที่ภาคใต้ และ กทม ในการเลือกตั้งวันที่ 2 ต้องให้มีการลงคะแนนให้น้อยเขตที่สุดเท่านั้น
ง่ะ มีคนไปเลือกตั้งแค่คนเดียว ก็ได้เป็นสส. จริงเหรอคะ
ขอผู้รูกฏหมายด้วยค่ะ
มาตรา 88 ในเขตเลือกตั้งใด ถ้าในวันเลือกตั้งมีผู้สมัครแบบแบ่งเขตเลือกตั้งคนเดียว ผู้สมัครจะได้รับเลือกตั้งต่อเมื่อได้รับคะแนนเลือกตั้งไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น และมากกว่าจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนนเลือกตั้ง
ในกรณีที่ผู้สมัครได้รับคะแนนเลือกตั้งน้อยกว่าร้อยละยี่สิบของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น หรือไม่มากกว่าจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนน ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศให้มีการเลือกตั้งใหม่ในเขตเลือกตั้งนั้น โดยให้รับสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ และให้นำความในมาตรา 9 มาใช้บังคับ
ในการเลือกตั้งใหม่ตามวรรคสอง ถ้ามีผู้สมัครคนเดียว ให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม และถ้าผู้สมัครได้คะแนนเลือกตั้งน้อยกว่าร้อยละยี่สิบของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นอีก หรือได้ไม่มากกว่าจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนนเลือกตั้ง ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศให้มีการเลือกตั้งใหม่ โดยให้ดำเนินการตามวรรคสองอีกครั้งหนึ่ง
ในการเลือกตั้งใหม่ตามวรรคสาม ถ้ามีผู้สมัครคนเดียว ให้ผู้สมัครซึ่งได้คะแนนเลือกตั้งเป็นผู้ได้รับเลือกตั้ง โดยให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศผลการเลือกตั้งให้ผู้ได้รับเลือกตั้งภายในระยะเวลาตามมาตรา 8
ในกรณีที่มีการจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ตามวรรคสาม หากปรากฏว่าไม่มีผู้สมัครให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพิ่มเติม เพื่อให้ได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และให้นำความในวรรคสอง และวรรคสาม และความในส่วนที่ 5 ผู้สมัครและการสมัครรับเลือกตั้ง 2.การสมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา 89 ภายใต้บังคับมาตรา 88 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ให้ผู้สมัครซึ่งได้รับคะแนนเลือกตั้งมากที่สุดในเขตเลือกตั้งนั้นเป็นผู้ได้รับการเลือกตั้ง ในกรณีที่มีผู้ได้รับคะแนนเลือกตั้งมากที่สุดเท่ากันหลายคน ให้ใช้วิธีการจับสลากซึ่งต้องกระทำต่อหน้าคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งตามวิธีการที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด.................................................
...................................................................................................................
...................................................................................................................
....ลองตีความกฎหมายจากทั้งมาตรา 88 แบะ 89 ดูครับ ดูจากเนื้อหาเพียวๆ ไม่ต้องเอาคำตีความจากใครเลย โดยมาตรา 88 เขียนถึงกรณีมีผู้สมัคร "คนเดียว" ส่วนมาตรา 89 เขียนถึงกรณีผู้สมัคร"หลายคน"
จะเห็นเลยว่ามาตรา 89 สั้นและชัดเจนมากตรงที่ว่า "ให้ผู้สมัครซึ่งได้รับคะแนนเลือกตั้งมากที่สุดในเขตเลือกตั้งนั้นเป็นผู้ได้รับการเลือกตั้ง..."
ไม่ได้มีระบุอะไรแนบท้ายทั้งข้างหน้าหรือข้างหลังเลยว่า แต่ต้องไม่น้อยกว่าเท่านั้นเท่านี้ของผู้มีสิทธิ์
นั่นคือได้รับคะแนนเลือกตั้งมากที่สุด ดังนั้นถ้ามีผู้สมัคร 5 คน 4คนได้คนละ 1 คะแนน คนที่ห้าได้ 2 คะแนน คนที่ห้าก็ได้เป็น สส.
ผมเข้าใจตามนี้ครับ ไม่ได้ฟังการตีความกฎหมายจากใครทั้งสิ้น
สองมาตราข้างต้นมาจากพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาพ.ศ. ๒๕๕๐
ซึ่งมาตรา 88 มีสองกรณีคือ
1. กรณีเขตเลือกตั้งใดมีผู้สมัครรับเลือกตั้งไม่ครบตามจำนวน สส ที่มีได้ในเขตนั้น
เช่น เขตบางแค จำนวน สส ที่มีได้ในเขตบางแคคือ 3 คน หากมีผู้สมัครรับเลือกตั้งเพียง 1 คน แล้วคะแนนการเลือกตั้งนับได้น้อยกว่าร้อยละ 20 ของจำนวนผู้มีสิทธิในเขตบางแคและน้อยกว่าจำนวนคะแนนของผู้ไม่ประสงค์ลงคะแนนหรือโหวตโน หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง กรณีนี้ ก็จะให้มีการลงคะแนนใหม่และหากคะแนนยังคงเหมือนเดิม ก็จะให้มีการลงคะแนนใหม่อีก เท่ากับให้ลงคะแนนเลือกตั้งใหม่ได้สองครั้ง
และหากคะแนนยังคงเหมือนเดิม ที่นี้ กฎหมายให้ กกต ประกาศรับเลือกตั้ง สส เพิ่มเติม เพื่อให้ได้ สส ครบ (คือ วนกลับไปรับสมัครเลือกตั้งใหม่อีกครั้งนั้นเอง) แล้วก็ดำเนินการเหมือนเดิม
2. กรณีเขตเลือกตั้งใดมีผู้สมัครรับเลือกตั้งครบตามจำนวน สส ที่มีได้ในเขตนั้น
หลักการเหมือนข้อ 1 ยกเว้นว่า พอลงคะแนนครั้งที่สองใหม่แล้ว ก็ให้ผู้ที่ได้คะแนนมากที่สุดเป็นผู้ได้รับเลือกไปเลย ไม่คำนึงถึงว่าได้คะแนนน้อยกว่าหรือไม่
ดังนั้น โดยส่วนตัวเห็นว่า ควรไปใช้สิทธิโดยไปกาในช่องไม่ประสงค์ลงคะแนนหรือโหวตโนจะมีผลดีมากกว่าการไม่ไปใช้สิทธิ เพราะการไม่ใปใช้สิทธิจะทำให้เราเสียสิทธิต่าง ๆ เช่น สิทธิในการถอดถอนต่าง ๆ ฯลฯ อันนี้ในกรณีที่เราไม่สามารถคัดค้านการเลือกตั้งได้
และแน่นอน หากเราสามารถคัดค้านการเลือกตั้งได้ การไม่มีการเลือกตั้งจะเป็นวิถีทางที่ดีที่สุด เพราะไม่เปลืองงบประมาณ และปลอดภัยจากการสุ่มเสี่ยงที่จะได้ไอ้พวกทรราชย์โกงกิน หน้าด้าน หน้าทน ไร้จริยธรรม ไร้คุณธรรม ไร้สมอง ทำเพื่ออำนาจและเงิน
Edited by Tofu, 26 January 2014 - 13:57.