กรุงเทพธุรกิจ @ktnews 2 นา
"@NTRadio_NBC:สุรพงษ์ยันนายก ไม่เกี่ยวการออกคำสั่งสลายการชุมนุม เพราะเมื่อมีพรก.ฉุกเฉิน คนที่ดูแลรับผิดชอบคือ ผอ.ศรส.และหัวหน้าผู้รับผิดชอบ"
เออ!!! แล้วอีโง่นี่มันไม่ต้องรับผิดชอบอะไรเลยเหรอ ถ้าอย่างนั้นก็ ลาออกไปเถอะครับ
ไอ้ปึ้งเอ๋ย แน่ใจนะว่าไม่เกี่ยว !!
ตามกฎหมายเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี และอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ลงวันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๗ แล้ว นั้นอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ วรรคสอง และวรรคหก แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้บรรดาอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงตามกฎหมายโอนมาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการอนุญาต อนุมัติ สั่งการ บังคับบัญชา หรือช่วยในการป้องกัน แก้ไขปราบปราม ระงับยับยั้งในสถานการณ์ฉุกเฉินหรือฟื้นฟู หรือช่วยเหลือประชาชนในเขตท้องที่ที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ดังต่อไปนี้
๑. พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. ๒๕๕๑
๒. พระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๗
๓. พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒
๔. พระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. ๒๕๓๐
๕. พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. ๒๕๕๐
๖. พระราชบัญญัติควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ. ๒๔๙๓
๗. พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
๘. พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒
๙. พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๓๕
๑๐. พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืนพ.ศ. ๒๔๙๐
๑๑. พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐
๑๒. พระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๕๑
๑๓. พระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๒
๑๔. พระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. ๒๔๙๘
๑๕. พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช ๒๔๕๖
๑๖. พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๑๙
๑๗. พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒
๑๘. พระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๓๔
๑๙. พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. ๒๕๑๘
๒๐. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เฉพาะบทบัญญัติที่เกี่ยวกับมูลนิธิและสมาคม
๒๑. ประมวลกฎหมายอาญา
๒๒. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เฉพาะบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการใช้อำนาจสืบสวนและสอบสวน และการใช้อำนาจของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ
ทั้งนี้ ให้รวมถึงกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายดังกล่าวข้างต้นด้วยให้ผู้กำกับการปฏิบัติงานตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีตามมาตรา ๗ วรรคหก แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินพ.ศ. ๒๕๔๘ ใช้อำนาจตามประกาศนี้แทนนายกรัฐมนตรี และในการใช้อำนาจตามที่ได้รับมอบนี้ ผู้รับมอบต้องใช้ตามความจำ เป็นและเหมาะสม และให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย โดยระมัดระวังมิให้มีการปฏิบัติที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนเกินสมควรแก่เหตุในกรณีที่มีความจำเป็นต้องกำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีตามกฎหมายเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีเพิ่มเติม ให้ผู้กำกับการปฏิบัติงานตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป