หนูอ้อย, on 25 May 2014 - 09:30, said:
centrino14, on 25 May 2014 - 09:25, said:
Oh ม่ายนะ ประกาศ ฉ.๓๗/๒๕๕๗
ขึ้นศาลทหารนะจ๊ะ แกนตามทั้งหลาย
134340, on 25 May 2014 - 09:27, said:
1.ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ม.107 - ม.112 ได้ขึ้นศาลทหาร,
2.ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ม.113 - ม.118 ได้ขึ้นศาลทหาร ข้อนี้ยกเว้นการกระทำผิดในพื้นที่ พรบ.มั่นคง หรือ พรก.ฉุกเฉิน
ยินดีกับแก๊งหมิ่นเจ้าทั้งหลายด้วยนะฮะ
ลอยทวนลม, on 25 May 2014 - 09:28, said:
ศาลทหารเป็นยังไงครับ มันน่ากลัวกว่าศาลปกติตรงไหน เกิดมาก็เห็นแต่ในหนัง 
ชะอุ๋ยประกาศตัวใหม่
ความผิดหมิ่น ฯ ขึ้นศาลทหาร หมายถึงมีศาลเดียวไม่มีอุทธรณ์ ฎีกา
กระนั้นพวกลายจุ่ดเขียนปงเขียนป้าย
จะมาลองลีฟ..อะไรไม่ได้เด้อ
ไม่ถูกต้องนัก ยังไม่ได้มีกำหนดขอบเขตการรบ หรือ ยุทธบริเวณ
การแบ่งประเภทของศาลทหาร
การแบ่งประเภทของศาลทหาร
ในเรื่องที่เกี่ยวกับประเภทของศาลทหารนั้น ได้มีบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติธรรมนูญ
ศาลทหาร ฯ ตั้งแต่มาตรา ๖ ถึงมาตรา ๙ กล่าวคือ
ศาลทหาร แบ่งออกเป็น ๓ ชั้น คือ
ก. ศาลทหารชั้นต้น ได้แก่
๑) ศาลจังหวัดทหาร
๒) ศาลมณฑลทหาร
๓) ศาลทหารกรุงเทพ
๔) ศาลประจำหน่วยทหาร
ข. ศาลทหารกลาง
ค. ศาลทหารสูงสุด
การแบ่งชั้นของศาลทหารดังกล่าวนี้ มีลักษณะเช่นเดียวกับศาลยุติธรรมของฝ่ายพลเรือน
ที่แบ่งเป็น ๓ ชั้น คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา แต่ศาลทหารต่างไปจากศาล
พลเรือนตรงที่ว่า ศาลทหารนอกจากจะมีประเภทที่แบ่งเป็น ๓ ชั้นแล้ว ยังมีศาลทหารที่มี
ลักษณะพิเศษอีกประเภทหนึ่ง คือ “ศาลอาญาศึก” ซึ่งอาจจะตั้งขึ้นได้เมื่อหน่วยทหาร
เข้าทำการรบโดยมีกำหนดเขตยุทธบริเวณ เป็นศาลทหารชั้นเดียวที่มีบทบัญญัติไว้โดยเฉพาะ
ในมาตรา ๓๙ ถึงมาตรา ๔๔
ศาลทหารชั้นต้น
ตามความในมาตรา ๗ จะเห็นได้ว่า ศาลทหารชั้นต้นนั้นแยกออกเป็น ๔ ประเภท คือ
๑) ศาลจังหวัดทหาร
๒) ศาลมณฑลทหาร
๓) ศาลทหารกรุงเทพ และ
๔) ศาลประจำหน่วยทหาร
ในสามประเภทแรกเป็นศาลทหารที่มีอยู่เป็นการถาวร มีที่ทำการศาลตั้งอยู่ ณ สถานที่
ที่แน่นอน ส่วนศาลประจำหน่วยทหารในประเภทที่ ๔ เป็นศาลทหารที่ตั้งขึ้นเฉพาะกาล มิได้คง
สภาพถาวรอยู่ดังเช่นสามประเภทแรก
ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร ฯ บัญญัติไว้ว่า
“มาตรา ๘ วรรคแรก ทุกจังหวัดทหารให้มีศาลจังหวัดทหารศาลหนึ่ง เว้นจังหวัดทหารที่ตั้ง
กองบัญชาการมณฑลทหาร และทุกมณฑลทหาร ให้มีศาลมณฑลทหารศาลหนึ่ง เว้นมณฑล
ทหารที่ตั้งศาลทหารกรุงเทพ”
ในปัจจุบันนี้ จังหวัดทหารซึ่งเป็นจังหวัดทหารบกที่มีอยู่ มีจำนวนทั้งสิ้น ๓๖ จังหวัดทหารบก
ในจำนวนนี้เป็นจังหวัดทหารบกอันเป็นที่ตั้งกองบัญชาการมณฑลทหารบกเสีย ๑๓ แห่ง คงเหลือ
จังหวัดทหารบกที่ต้องมีศาลจังหวัดทหาร จำนวน ๒๓ แห่ง แต่ปรากฏว่าศาลจังหวัดทหารบกที่มี
อยู่ในขณะมีเพียง ๑๒ ศาล
สำหรับมณฑลทหาร ซึ่งเป็นมณฑลทหารบกทั้งหมด จำนวน ๑๓ มณฑลทหารบก แต่มณฑล
ทหารบกที่ ๑๑ เป็นที่ตั้งศาลทหารกรุงเทพ คงเหลือมณฑลทหารบกที่ต้องมีศาลมณฑลทหารบก
จำนวน ๑๒ แห่ง ซึ่งปัจจุบันมีศาลมณฑลทหารบกครบทั้ง ๑๒ แห่ง
ดังนั้น ศาลทหารชั้นต้นที่มีลักษณะถาวรจึงมีรวมทั้งสิ้น ๒๕ ศาล เป็นศาลทหารกรุงเทพ
ศาลหนึ่ง เป็นศาลทหารส่วนภูมิภาค คือ ศาลมณฑลทหารบก ๑๒ ศาล และศาลจังหวัดทหารบก
๑๒ ศาล ดังนี้ คือ
๑) ศาลมณฑลทหารบกที่ ๑๒ ตั้งอยู่ที่จังหวัดปราจีนบุรี มีศาลจังหวัดทหารบกฉะเชิงเทรา กับ
ศาลจังหวัดทหารบกสระแก้ว อยู่ในเขตพื้นที่ แต่ยังมิได้เปิดทำการทั้งสองแห่ง
๒) ศาลมณฑลทหารบกที่ ๑๓ ตั้งอยู่ที่จังหวัดลพบุรี มีศาลจังหวัดทหารบกสระบุรี อยู่ในเขต
พื้นที่ และเปิดทำการแล้ว
๓) ศาลมณฑลทหารบกที่ ๑๔ ตั้งอยู่ที่จังหวัดชลบุรี ไม่มีศาลจังหวัดทหารบกใดอยู่ในเขตพื้นที่
๔) ศาลมณฑลทหารบกที่ ๒๑ ตั้งอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา มีศาลจังหวัดทหารบกสุรินทร์ ซึ่ง
เปิดทำการแล้ว และมีศาลจังหวัดทหารบกบุรีรัมย์ ซึ่งยังไม่เปิดทำการ อยู่ในเขตพื้นที่
๕) ศาลมณฑลทหารบกที่ ๒๒ ตั้งอยู่ที่จังหวัดอุบลราชธานี มีศาลจังหวัดทหารบกร้อยเอ็ด
อยู่ในเขตพื้นที่และเปิดทำการแล้ว
๖) ศาลมณฑลทหารบกที่ ๒๓ ตั้งอยู่ที่จังหวัดขอนแก่น มีศาลจังหวัดทหารบกเลย อยู่ในเขต
พื้นที่ แต่ยังมิได้เปิดทำการ
๗) ศาลมณฑลทหารบกที่ ๒๔ ตั้งอยู่ที่จังหวัดอุดรธานี มีศาลจังหวัดทหารบกสกลนคร กับ
ศาลจังหวัดทหารบกนครพนม อยู่ในเขตพื้นที่ แต่ยังมิได้เปิดทำการทั้งสองศาล
๘) ศาลมณฑลทหารบกที่ ๓๑ ตั้งอยู่ที่จังหวัดนครสวรรค์ มีศาลจังหวัดทหารบกพิษณุโลก กับ
ศาลจังหวัดทหารบกเพชรบูรณ์ ซึ่งเปิดทำการแล้วทั้งสองศาล และศาลจังหวัดทหารบกตาก ซึ่ง
ยังมิได้เปิดทำการอีกศาลหนึ่งอยู่ในเขตพื้นที่
๙) ศาลมณฑลทหารบกที่ ๓๒ ตั้งอยู่ที่จังหวัดลำปาง มีศาลจังหวัดทหารบกอุตรดิตถ์ ซึ่งเปิด
ทำการแล้ว กับศาลจังหวัดทหารบกพะเยา และศาลจังหวัดทหารบกน่าน ซึ่งยังมิได้เปิดทำการ
ทั้งสองศาล อยู่ในเขตพื้นที่
๑๐) ศาลมณฑลทหารบกที่ ๓๓ ตั้งอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ มีศาลจังหวัดทหารบกเชียงราย
อยู่ในเขตพื้นที่ และเปิดทำการแล้ว
๑๑) ศาลมณฑลทหารบกที่ ๔๑ ตั้งอยู่ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช มีศาลจังหวัดทหารบกชุมพร
ซึ่งเปิดทำการแล้ว กับศาลจังหวัดทหารบกสุราษฎร์ธานี และศาลจังหวัดทหารบกทุ่งสง ซึ่งยัง
มิได้เปิดทำการทั้งสองศาลอยู่ในเขตพื้นที่
๑๒) ศาลมณฑลทหารบกที่ ๔๒ ตั้งอยู่ที่จังหวัดสงขลา มีศาลจังหวัดทหารบกปัตตานี อยู่ใน
เขตพื้นที่และเปิดทำการแล้ว
สำหรับศาลทหารกรุงเทพนั้น ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ของมณฑลทหารบกที่ ๑๑ จึงไม่มีศาล
มณฑลทหารบกที่ ๑๑ และจังหวัดทหารบกกรุงเทพเป็นที่ตั้งกองบัญชาการมณฑลทหารบกที่ ๑๑
จึงไม่มีศาลจังหวัดทหารบกกรุงเทพ แต่เนื่องจากมณฑลทหารบกที่ ๑๑ มีพื้นที่ครอบคลุมจังหวัด
ทหารบกอีกสามแห่งนอกเหนือไปจากจังหวัดทหารบกกรุงเทพ ซึ่งได้แก่ จังหวัดทหารบกราชบุรี
จังหวัดทหารบกเพชรบุรี และจังหวัดทหารบกกาญจนบุรี ซึ่งจังหวัดทหารบกดังกล่าวอยู่ใน
หลักเกณฑ์ตามมาตรา ๘ ที่ต้องมีศาลจังหวัดทหาร จึงมีการจัดตั้งศาลจังหวัดทหารบกราชบุรี
ศาลจังหวัดทหารบกเพชรบุรี และศาลจังหวัดทหารบกกาญจนบุรี ซึ่งเปิดทำการแล้วทั้งสามศาล
อยู่ภายใต้เขตอำนาจของศาลทหารกรุงเทพอีกชั้นหนึ่ง ส่วนความเกี่ยวพันระหว่างศาลมณฑล
ทหารบกกับศาลจังหวัดทหารบกที่อยู่ในเขตศาลมณฑลทหารบก และระหว่างศาลทหารกรุงเทพ
กับศาลจังหวัดทหารบก ที่อยู่ในเขตพื้นที่ของมณฑลทหารบกที่ ๑๑ นั้น จะได้กล่าวถึงต่อไปใน
เรื่องของอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลทหารชั้นต้น
ส่วนศาลประจำหน่วยทหาร เป็นศาลทหารชั้นต้นที่มิได้ตั้งขึ้นมาอย่างถาวร จะตั้งขึ้นได้
ภายใต้เงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๙ คือ
ก) เมื่อหน่วยทหารปฏิบัติหน้าที่อยู่นอกราชอาณาจักร หรือกำลังเดินทางเพื่อไปปฏิบัติหน้าที่
นอกราชอาณาจักร และ
ข) หน่วยทหารนั้นมีกำลังทหารไม่น้อยกว่าหนึ่งกองพัน
ค) ได้มีการอนุมัติให้ตั้งศาลประจำหน่วยทหารขึ้นมาตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด
การกำหนดว่า กำลังทหารกองทัพใดมีจำนวนเท่าใด จึงจะถือว่าไม่น้อยกว่าหนึ่งกองพัน
ที่จะตั้งศาลประจำหน่วยทหารได้นั้น เป็นไปตาม “ข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ว่าด้วยกำหนด
กำลังทหารเพื่อการตั้งศาลประจำหน่วยทหาร พ.ศ.๒๔๙๙” ซึ่งมีหลักเกณฑ์ดังนี้
ก) หน่วยทหารซึ่งอัตรากำลังได้จัดเป็นหน่วยตั้งแต่หนึ่งกองพันขึ้นไป
ข) หน่วยทหารซึ่งอัตรากำลังได้จัดเป็นหน่วยตั้งแต่หนึ่งฝูงบินขึ้นไป
ค) หน่วยเรือของกองทัพเรือ
๑) เรือชั้นหนึ่ง ตั้งแต่หนึ่งลำขึ้นไป
๒) หมู่เรือ หรือหมวดเรือ ซึ่งมีจำนวนเรือตั้งแต่สองลำขึ้นไป
ง) กำลังทหารซึ่งมิได้จัดตามข้อ ก) ข) และ ค) เมื่อได้จัดเป็นหน่วยมีจำนวนทหารรวมได้
ไม่น้อยกว่า ๕๐๐ คน และผู้บังคับบัญชาของหน่วยทหารนั้นมีตำแหน่งไม่น้อยกว่าผู้บังคับ
กองพัน ผู้บังคับการเรือชั้นหนึ่ง ผู้บังคับฝูงบิน หรือเทียบเท่า
การตั้งศาลประจำหน่วยทหารนั้น ไม่จำเป็นว่าหน่วยทหารจะต้องเดินทางออกไปเพื่อทำ
สงคราม หรือทำการรบ แต่อาจเป็นการเดินทางออกไปนอกประเทศเพื่อภารกิจอื่น เช่น ออกไป
เพื่อร่วมในการซ้อมรบกับประเทศหนึ่งประเทศใด ออกไปเพื่อรักษาที่มั่นแห่งหนึ่งแห่งใด ตาม
มติขององค์การสหประชาชาติ หรืออาจไปเพื่อปฏิบัติภารกิจอย่างหนึ่งอย่างใดตามมติของ
องค์การสหประชาชาติก็ได้ อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ตราพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร ฯ ออก
ใช้บังคับเป็นต้นมา ยังไม่เคยมีการก่อตั้งศาลประจำหน่วยทหารขึ้นมาเลย ทั้งนี้อาจเนื่องมาจาก
การจัดตั้งศาลประจำหน่วยทหารในดินแดนประเทศอื่นนั้น เท่ากับเป็นการใช้สิทธิสภาพนอก
อาณาเขตในประเทศนั้น โดยจะต้องมีการตกลงกันในระดับรัฐบาล กับรัฐบาลของต่างประเทศ
ซึ่งจะต้องมีการตกลงระหว่างรัฐต่อรัฐที่ชัดเจน การดำเนินการจะต้องขอให้กระทรวงการ
ต่างประเทศเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
“A fool's brain digests philosophy into folly, science into superstition, and art into pedantry. Hence University education. ”George Bernard Shaw