Jump to content


Photo
* * * * * 1 votes

ถอนไปแล้ว 6 ฉบับ แต่สุดซอยยังอยู่


  • Please log in to reply
100 ความเห็นในกระทู้นี้

#101 พอล คุง

พอล คุง

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 11,014 posts

ตอบ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 23:19

 

 

   ยังเป็นประเด็นร้อนไม่รู้จบ.. สำหรับ ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ที่แปลงร่างกลายพันธุ์จากร่างเดิมของนายวรชัย เหมะ จนแทบจะหมดสิ้นและผ่านความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรไปแล้ว และกำลังจะเข้าสู่ที่ประชุมวุฒิสภาในวันที่ 11 พฤศจิกายนนี้

        แต่ถึงนาทีนี้มีแนวโน้มสูงว่า วุฒิสภาคงไม่รับหลักการและยับยั้งร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ที่ส่งมาจากสภาผู้แทนราษฎร แล้วส่งร่างกลับคืนมายังสภาผู้แทนราษฎร เห็นได้จากการที่นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา ได้นำทีม ส.ว.ออกมาแถลงข่าว ยืนยันว่า จะไม่รับหลักการร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับนี้

        ดังนั้น “ข้อกฎหมาย” ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ จึงต้องมาดูกันว่า หากวุฒิสภายับยั้งร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับนี้ มีอะไรบ้าง

        เริ่มจากกรณีที่หลังวุฒิสภาลงมติคว่ำร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับเจ้าปัญหานี้

        โดย มาตรา 148 วรรคแรกของรัฐธรรมนูญ บัญญัติว่า ร่าง พ.ร.บ.ที่ถูกวุฒิสภายับยั้ง สภาผู้แทนราษฎรจะยกขึ้นมาพิจารณาใหม่ได้ต่อเมื่อเวลา 180 วันได้ล่วงพ้นไปนับแต่วันที่วุฒิสภาส่งร่าง พ.ร.บ.นั้นคืนไปยังสภาผู้แทนราษฎร

        อธิบายความง่ายๆ ว่า นับแต่วุฒิสภาส่งร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมที่ถูกยับยั้งกลับคืนมายังสภาผู้แทนฯ สภาผู้แทนฯ จะหยิบฉวยเอาร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับนี้ขึ้นมาพิจารณาก่อนครบ 180 วัน หรือ 6 เดือน ไม่ได้ ต้องรอให้พ้นระยะเวลาดังกล่าวเสียก่อน จึงหยิบขึ้นมาพิจารณาใหม่ได้

        มาตรา 148 วรรคแรก ยังเขียนต่อไปว่า ถ้าสภาผู้แทนราษฎรลงมติยืนยันร่างด้วยคะแนนเสียงมากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎรแล้วให้ถือว่าร่างพระราชบัญญัตินั้นเป็นอันได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาและนายกรัฐมนตรีนำร่างดังกล่าวขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยได้

        แต่ก็มีคนสงสัยกันว่า ในกรณีที่สภาผู้แทนฯ ไม่ต้องการยืนยันร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม จำเป็นจะต้องมีการโหวตให้เห็นหรือไม่ หรือว่าสภาผู้แทนฯ ไม่หยิบร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ขึ้นมาพิจารณาอีก ก็ถือว่า ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ตกไปโดยปริยาย

        นายเสรี สุวรรณภานนท์ รองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 ไขปมเรื่องนี้ ว่า เมื่อพ้น 180 วันแล้ว ตามแนวทางปฏิบัติ ประธานสภาผู้แทนฯ ก็ต้องเรียกประชุมเพื่อแจ้งให้ทราบ“จากนั้นก็ต้อง ”โหวต” กันว่า จะยืนยันหรือหรือไม่ ซึ่งเมื่อเสียงยืนยันไม่มากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนฯ ก็ถือว่าสภาผู้แทนฯ ไม่ยืนยัน ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมก็ตกไป แต่ประธานสภาอาจใช้ศิลปะ เช่น ถามสมาชิกว่า ตามที่วุฒิสภายับยั้งร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับนี้ มีสมาชิกติดใจหรือไม่ หากในที่ประชุมเงียบ ไม่มีใครพูดอะไร ประธานสภาอาจใช้โอกาสผ่านไปวาระอื่นเลย โดยไม่ต้องโหวต อย่างนี้ก็ถือว่าสภาผู้แทนฯ ไม่ได้ยืนยันร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมได้เหมือนกัน แต่ไม่ใช่ว่าสภาผู้แทนฯ อยู่เฉยๆ ไม่ทำอะไรเลยหลังวุฒิสภายับยั้งร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ถ้าเป็นอย่างนั้น ยังถือว่า พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับนี้ค้างอยู่และยังไม่ตกไป  ซึ่งทำให้สมาชิกสภาผู้แทนฯ หยิบขึ้นมายืนยันได้อีก หรือหากมีสมาชิกสภาผู้แทนฯ ชุดใหม่เข้ามาแทนที่ก็ยังสามารถหยิบขึ้นมายืนยันได้อีก“

        มีอีกประเด็นหนึ่ง ที่คนยังสับสนว่า การถอนร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ซึ่งตอนนี้ผ่านความเห็นชอบจากสภาผู้แทนฯ ไปแล้ว และกำลังจะเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนฯ ทำได้หรือไม่

        คำตอบคือ เจ้าของร่างคือนายวรชัย เหมะ กับคณะ ที่เข้าชื่อกันเสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ยังมีสิทธิขอถอนได้ ซึ่งเมื่อทำเรื่องขอถอน ตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนฯ ข้อ 53 ที่กำหนดว่า “ญัตติที่บรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมแล้ว หากผู้เสนอญัตติจะถอนญัตติ หรือจะถอนชื่อจากการเป็นผู้ร่วมกันเสนอ ต้องได้รับความยินยอมของที่ประชุม”

        “เสรี“ อธิบายเรื่องนี้ว่า จากข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนข้อ 53 ชัดเจนว่า เจ้าของร่างกฎหมายจะขอถอนร่างเมื่อใดก็ได้ ซึ่งเมื่อมีการยื่นเรื่องขอถอนแล้ว ก็ต้องมีการนำเข้าที่ประชุมสภาผู้แทนฯ เพื่อลงมติ ซึ่งใช้เสียงข้างมากขององค์ประชุมสภาในวันนั้นว่าจะอนุมัติให้ถอนหรือไม่ หากที่ประชุมสภาผู้แทนฯ ลงมติให้ถอน ก็จะแจ้งเรื่องการถอนร่างไปยังวุฒิสภา ซึ่งวุฒิสภาก็จะคืนร่างกลับมาให้สภาผู้แทนราษฎร เพราะถือว่าเป็นร่างของสภาผู้แทนฯ”


        ดังนั้นการใช้วิธี “การถอนร่าง“ จึงเป็น “ทางออกที่ดี“ ทางหนึ่งของรัฐบาล เพราะการปล่อยให้ทอดระยะเวลานานถึง 180 วัน หรือ 6 เดือนหลังจากร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมถูกวุฒิสภายับยั้งนั้น ยาวนานเกินไปสำหรับประชาชนที่จะรอ เพราะมาถึงตอนนี้ประชาชนไม่ไว้วางใจรัฐบาลจากพฤติกรรมที่ผ่านมา รัฐบาลจึงต้องแสดงให้เห็นว่า ได้ถอยร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมอย่างแท้จริง

        มีบางคนเสนอว่า ให้รัฐบาลเลือกใช้วิธี “ยุบสภา” โดยมองว่าเป็นทางหนึ่งในการแก้วิกฤติการณ์ทางการเมืองในขณะนี้ได้ แล้วจะทำให้ร่างกฎหมายตกไปหรือไม่ คำตอบ คือ ไม่ตกไป ทั้งนี้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 153 ที่บัญญัติว่า ในกรณีที่ยุบสภา ภายหลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนฯ วุฒิสภา รัฐสภาแล้วแต่กรณี จะพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ “รัฐสภา“ ยังไม่ได้ให้ความเห็นชอบต่อไปได้ ถ้าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่ภายหลังเลือกตั้งร้องขอภายใน 60 วัน นับแต่วันเรียกประชุมรัฐสภาครั้งแรกหลังการเลือกตั้งและรัฐสภามีมติเห็นชอบด้วย แต่ถ้าคณะรัฐมนตรีไม่ได้ร้องขอภายในเวลาที่กำหนดเวลาดังกล่าวให้ร่างพระราชบัญญัติเป็นอันตกไป

        จะเห็นได้ว่า ร่าง พ.ร.บ.ที่ยังไม่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา หากมีการยุบสภา ร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับนี้ ยังไม่ตกไป หากรัฐบาลที่เข้ามาใหม่หลังการเลือกตั้งร้องขอต่อรัฐสภาและที่ประชุมรัฐสภาเห็นชอบ สภาผู้แทนฯ หรือวุฒิสภาแล้วแต่กรณี (ขึ้นอยู่ที่ว่าตอนที่ยุบสภา ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมยังอยู่ที่วุฒิสภา หรือถูกส่งกลับคืนมาที่สภาผู้แทนฯ) ก็หยิบขึ้นมาได้ แต่ถ้ารัฐบาลใหม่ไม่ร้องขอต่อรัฐสภาภายในเวลาที่กำหนด ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับนี้ ก็จะตกไป

....................

(หมายเหตุ : 'เงื่อนก.ม.พ.ร.บ.นิรโทษกรรม' : โอภาส บุญล้อมรายงาน)

 

 

 

 

ดอนยอ ช่วยอ่าน ตัวแดงใหญ่ ๆทีนะ

 

http://www.komchadlu...108/172294.html

 

รอดูการดริฟ ดอนยอ

 

ข้อ  53  เขาเขียนไว้แบบนี้  ที่เหลือ  อ. เสรีคิดเองมั้ง  มันจะถอนได้อย่างไร

ในเมือมันอยู่ในขั้นตอนพิจารณาของวุฒฯ  ไม่ใช่ของสภาผู้แทนฯถ้าจะถอนต้องถอนก่อนขั้นตอนนั้น

 

 

ข้อ ๕๓  ญัตติที่บรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมแล้ว หากผู้เสนอญัตติจะแก้ไข

เพิ่มเติมหรือจะถอนชื่อจากการเป็นผู้ร่วมกันเสนอ หรือผู้รับรองจะถอนการรับรองญัตติจะต้องได้

รับความยินยอมของที่ประชุม

 

 

อยากด่า เอ๊ง ว่า ไอ้ควายยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยย

 

เอ๊งไปอ่านข้อความทั้งหมดสิฟร๊ะ

 

ช่องทางถอน พรบ ก้อมีเยอะแยะ

 

อีกอย่าง เค้าเป็นถึง รองประธานสภา แถมยังข้างฝ่ายเอ๊ง อีก

 

เอ๊งเ-สือกมาว่า รองปรธานฝ่ายเอ๊ง อีก

 

โอ้วววววววววววววววววววววววว


ถึงตรูจะเลวยังไง ตรูก้อไม่ได้ขายชาติ เหมือนเสื้อแดงว่ะ เข้าใจนะ

 





ผู้ใช้ 4 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้

สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 4 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน